หน้า 1 จากทั้งหมด 1

Purchasing Power Parity กับ การลงทุนในต่างประเทศ

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ค. 01, 2009 12:13 am
โดย Alastor
พอดีเพิ่งกลับจาก Switzerland มาครับ ตั้งใจพาแฟนไป honeymoon แต่ผมก็ใจวอกแวกแอบมองบริษัทที่โน่นไว้ด้วย รู้สึกที่โน่นมองไปทางไหนนอกจากธรรมชาติจะงดงาย ผู้คนเป็นมิตร (มากกว่า Germany เยอะ) แล้ว บริษัทที่ลงท้ายด้วย AG (ถ้าจำไม่ผิด Aktien Geschaeft = บริษัทมหาชน) เยอะมากๆ ตอนแรกผมนึกว่าตลาดเงินทุนจะโดนยึดโดยพวก Big Bank กันซะอีก

ตอนซื้อของฝากก็เจอ chocolate ยี่ห้อ Lindt ที่เป็นบริษัทมหาชน และมีรายได้จากทั่วโลกน่าจะเข้าข่าย "หุ้นที่หาไม่ได้ในเมืองไทย" ที่ผมตามหา แต่นอกจาก chocolate จะแพงแล้วหุ้นก็แพงตามไปด้วย -_-'

เท่าที่ผมดูๆของที่โน่นบางอย่างน่าจะคุณภาพเหมือนเมืองไทยเลยแต่แพงมาก เช่น Starbulks แก้วนึง 7.xx CHF ราวๆ 2 เท่าของเมืองไทย กินน้ำก๊อกก็ได้ฟ่ะ
พอเห็นของแพงๆแบบนี้ทำให้ผมนึกถึง ทฤษฎีเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนอันนึงที่เคยเรียนเมื่อนานมาแล้ว ที่อาจารย์สอนว่า ของที่เหมือนๆถึงแม้จะอยู่คนละที่ก็ต้องมีราคาเท่ากัน หรือ PPP (Purchasing Power Parity) ตัวอย่างก็มี Big Mac Index ซึ่งผมได้ยินมาว่า ระยะยาวแล้วค่าเงินของประเทศที่ Big Mac แพงกว่าก็จะลดลงๆ เข้าสู่จุดที่ BigMac ของทุกที่ในโลกมีราคาเท่ากัน

Purchasing Power Parity กับ การลงทุนในต่างประเทศ

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ค. 01, 2009 12:26 am
โดย Alastor
ถึงแม้ทฤษฎีนี้จะมีข้อโต้แย้งพอสมควร แต่พอผมนึกถึงเรื่องนี้ทำให้กังวลเรื่องการลงทุนในต่างประเทศเหมือนกัน เพราะนอกจากราคาสินทรัพย์จะเปลี่ยนไปแล้ว บริษัทที่เราลงทุนก็จะได้รับผลกระทบจากค่าเงินเช่นกัน ซึ่งส่วนตัวผมคิดว่า การทำนายทิศทางของค่าเงินในระยะเกิน 1 ปี ผมทำไม่ได้แน่ๆ การลงทุนในต่างประเทศน่าจะเป็นการลงทุนระยะยาวจริงๆ ไม่งั้นก็ เล่นรอบ, เล่นทำนายกำไรราย Quarter, ซื้อดักก่อน TVI ไป company visit ฯลฯ ในเมืองไทยก็กำไรงดงามอยู่แล้ว จะเหนื่อยไปทำไม :lol:

ผมคิดว่าก่อนเลือกประเทศที่ลงทุน น่าจะต้องดู PPP ประกอบไปด้วย ถ้าบริษัทที่เราเลือกลงทุนทำธุรกิจ Import มาขายสินค้าในประเทศ การที่ค่าเงินของประเทศนั้นอ่อนลง นอกจากเราจะขาดทุนจากมูลค่าสินทรัพย์ที่ลดลงแล้ว บริษัทที่เราลงทุนยังมีต้นทุนสินค้าแพงกว่าเดิมด้วย

ในอีกรูปแบบนึง ถ้าเป็นบริษัท Export ค่าเงินที่ลดลง ถึงแม้เราจะขาดทุนจากราคาสินทรัพย์ แต่บริษัทที่เราลงทุนก็จะขายสินค้าได้ดีขึ้นกำไรมากกว่าเดิม ราคาหุ้นน่าจะขึ้น

Purchasing Power Parity กับ การลงทุนในต่างประเทศ

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ค. 01, 2009 12:31 am
โดย Alastor
ส่วนตัวผมคิดว่า สินค้าในเมืองไทยถูกมากๆ น่าจะเพราะประเทศเราส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์เยอะเลยใช้นโยบายเงินบาทอ่อน เช่นเดียวกับ ประเทศอื่นๆในเอเชีย ดังนั้นการจะไปหา Importor ในประเทศที่ค่าเงินจะเพิ่มขึ้นและมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่พอที่จะมีหุ้นระดับโลกได้ ผมว่า ยาก ดังนั้นการหาหุ้น Exportor น่าจะมีตัวเลือกมากกว่า

ถึงตอนนี้ผมมองบริษัทใน Singapore ไว้สองตัว แต่ไม่มีเงินเฮะ -_-' ผมคิดว่าน่าจะทำการบ้านให้มากๆซะหน่อย ปีหน้าไปซื้อก็ไม่น่าจะสาย ไม่รู้คนอื่นๆ เช่น เสี่ยเมืองเลย ไปถึงไหนแล้ว ไว้ว่างๆจะไปขอคำชี้แนะนะครับ :oops:

Purchasing Power Parity กับ การลงทุนในต่างประเทศ

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ค. 01, 2009 12:34 am
โดย กล้วยไม้ขาว
ถ้ามีสินค้าสองอย่างมีขายทั่วโลกเหมือนกัน
แต่ที่ประเทศนึง ของ A แำพงแต่ของ B ถูก
แล้วอีกประเทศ A ของ ถูกแต่ของ B แำพง

อย่างนี้ตามทฏษฎีเขาอธิบายเรื่องค่าเงินว่าควรเป็นอย่างไรครับ

Purchasing Power Parity กับ การลงทุนในต่างประเทศ

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ค. 01, 2009 12:42 am
โดย กล้วยไม้ขาว
พูดถึงเรื่องค่าเงินแล้ว
อยากรู้ว่ามีหลักการอย่างไรบ้าง ในการกำหนดค่าเงินสมัยก่อนที่จะมีตลาดทุนครับ

ไม่ทราบว่าำพอจะมีผู้ใดช่วยไขข้อข้องใจให้ได้บ้างครับ  :oops:

Purchasing Power Parity กับ การลงทุนในต่างประเทศ

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ค. 01, 2009 12:58 am
โดย Alastor
กล้วยไม้ขาว เขียน:ถ้ามีสินค้าสองอย่างมีขายทั่วโลกเหมือนกัน
แต่ที่ประเทศนึง ของ A แำพงแต่ของ B ถูก
แล้วอีกประเทศ A ของ ถูกแต่ของ B แำพง

อย่างนี้ตามทฏษฎีเขาอธิบายเรื่องค่าเงินว่าควรเป็นอย่างไรครับ
PPP มันมีข้อแย้งอ่ะครับ ที่ผมจำได้ คือ ราคาสินค้าไม่ได้บอกว่า ต้นทุนสินค้าจริงๆเป็นเท่าไหร่ เช่น ของ A ขายในประเทศ P มี Profit Margin 20% แต่ของ A เหมือนกันขายในประเทศ Q อาจจะมี Profit Margin แค่ 5% แบบนี้ของ A ในประเทศ P ก็สามารถมีราคาสูงกว่าในประเทศ Q ได้เนื่องจาก Margin ที่ดีกว่า (ด้วยสาเหตุใดก็ตามแต่) โดยไม่เกี่ยวข้องกับค่าเงินเลย
อีกเรื่องนึงคือคุณภาพของสินค้า ที่อาจจะวัดออกมาเป็นตัวเลขได้ยาก
เรื่องสุดท้ายที่ผมพอจะนึกออกคือ ต่อให้สินค้าราคาไม่เท่ากัน แต่คนไม่สามารถซื้อสินค้าจากที่นึงไปขายอีกที่นึงเพื่อทำ arbitrage ได้ดังเช่นในทฤษฎี เนื่องจากมีต้นทุนการขนส่งหรือ barrier อื่นๆ ทำให้สินค้าอย่างเดียวกันในสองประเทศสามารถมีราคาต่างกันนี้

ข้อจำกัดเหล่านี้ ทำให้ PPP เป็นทฤษฎีที่ใช้ราคาสินค้าเป็นตัวบอกค่าเงิน แต่ราคาสินค้าจริงๆแล้วกลับไม่ได้บอกเราทุกอย่าง ทำให้การเคลื่อนไหวของค่าเงินสามารถวิ่งสวนกับ PPP ได้ ที่ผมเรียนจำได้ว่ามีทฤษฎีอยู่ 5 อัน อีก 4 ตัวต้องไปแคะหัวดูก่อนอ่ะครับ แต่ที่ผมคิดว่า PPP น่าจะเหมาะที่สุดสำหรับโครงการไปลงทุนในต่างประเทศของผมเพราะมันใช้ทำนายค่าเงินในระยะ"ยาว" ซึ่งอาจจะยาวกว่าที่นักลงทุนจะสามารถอดทนรอได้ก็เป็นได้ครับ

Purchasing Power Parity กับ การลงทุนในต่างประเทศ

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ค. 01, 2009 7:51 pm
โดย chode
ผมว่าตลาดสินค้าบางอย่างเริ่มเป็นไปตามPPP แล้วนะครับใน ebay amazon
แต่ต้องบวกค่าส่งและค่าธรรมเนียมแบงก์

แต่ตลาดแรงงานยังไม่เสรี
PPPคงเกิดแต่สินค้าที่ซื้อขายออนไลน์ได้

Purchasing Power Parity กับ การลงทุนในต่างประเทศ

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ค. 01, 2009 9:21 pm
โดย romee
Alastor เขียน:การลงทุนในต่างประเทศน่าจะเป็นการลงทุนระยะยาวจริงๆ ไม่งั้นก็ เล่นรอบ, เล่นทำนายกำไรราย Quarter, ซื้อดักก่อน TVI ไป company visit ฯลฯ ในเมืองไทยก็กำไรงดงามอยู่แล้ว จะเหนื่อยไปทำไม :lol:
:la:  จี๊ดครับ มันจี๊ดดดด

ปล.ไปสวิสมา ไปทะเลสาบลูเซินป่ะครับ เห็นเขาว่าสวยสุดๆ จริงป่าวหว่า

Re: Purchasing Power Parity กับ การลงทุนในต่างประเทศ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.ค. 02, 2009 3:22 pm
โดย mrgoodtime
Alastor เขียน:Starbulks แก้วนึง 7.xx CHF ราวๆ 2 เท่าของเมืองไทย กินน้ำก๊อกก็ได้ฟ่ะ
555 :D

Purchasing Power Parity กับ การลงทุนในต่างประเทศ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.ค. 02, 2009 4:47 pm
โดย กล้วยไม้ขาว
chode เขียน:ผมว่าตลาดสินค้าบางอย่างเริ่มเป็นไปตามPPP แล้วนะครับใน ebay amazon
แต่ต้องบวกค่าส่งและค่าธรรมเนียมแบงก์

แต่ตลาดแรงงานยังไม่เสรี
PPPคงเกิดแต่สินค้าที่ซื้อขายออนไลน์ได้
ถ้าอย่างนี้ก็น่าคิดนะครับ ว่าปัจจัยที่ทำให้ PPP เกิดขึ้นในโลกออนไลน์ได้เนี่ยมันคืออะำไรบ้าง

อย่างแรกเนี่ยผมว่าเรื่องของระยะทางนี่สำคัญที่สุดเลย เำพราะโลกออนไลน์ไม่มีระยะทาง
คนซื้อเวลาเลือกดูไม่ต้องนั่งรถไป คนขายเวลาจะขายไม่ต้องส่งไปที่ร้านเพื่อตั้งโชว์ ไม่มีุำภาษีนำเข้าบวกในราคา (ไม่แน่ใจว่ามันบวกเอาทีหลังรวมในค่าส่งไหม)

Re: Purchasing Power Parity กับ การลงทุนในต่างประเทศ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.ค. 03, 2009 12:19 pm
โดย mprandy
Alastor เขียน: ตอนซื้อของฝากก็เจอ chocolate ยี่ห้อ Lindt ที่เป็นบริษัทมหาชน และมีรายได้จากทั่วโลกน่าจะเข้าข่าย "หุ้นที่หาไม่ได้ในเมืองไทย" ที่ผมตามหา แต่นอกจาก chocolate จะแพงแล้วหุ้นก็แพงตามไปด้วย -_-'
อ่านบทความอันลึกซึ้งของน้อง Alastor แล้วรู้อยู่ที่เดียว :lovl:

คอนเฟิร์มว่า Lindt นี่เป็นหนึ่งในสุดยอด chocolate จริง ๆ ที่คุณภาพไม่หนีกันก็เช่น Godiva และ Ghirardelli

อูยยย... :ep: อ้วนดีจริง ๆ

Re: Purchasing Power Parity กับ การลงทุนในต่างประเทศ

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ค. 07, 2009 11:13 pm
โดย Alastor
mprandy เขียน:
อ่านบทความอันลึกซึ้งของน้อง Alastor แล้วรู้อยู่ที่เดียว :lovl:
กรรม ขออภัยที่เขียนให้งงครับ :P

รู้สึกว่าที่นั่นจะอร่อยแต่ chocolate นะครับ อาหารทั่วไปเค็มมาก ไตทนได้ไงเนี่ย -_-' อร่อยที่สุดที่นั่นคือ Kebap ครับ :lol:

Purchasing Power Parity กับ การลงทุนในต่างประเทศ

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ค. 14, 2009 1:14 pm
โดย Ryuga
ไปสวิช เขาว่าต้องกินฟูดอง ฟองดูนี่ครับ ชีสตึ๋งหนืดมาก  :lol:  :lol:

Purchasing Power Parity กับ การลงทุนในต่างประเทศ

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ค. 19, 2009 9:40 am
โดย สวนหย่อม
Alastor เขียน:ซื้อดักก่อน TVI ไป company visit ฯลฯ ในเมืองไทยก็กำไรงดงามอยู่แล้ว จะเหนื่อยไปทำไม :lol:
อืม ....  :lol:

Re: Purchasing Power Parity กับ การลงทุนในต่างประเทศ

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ค. 19, 2009 9:44 am
โดย สวนหย่อม
mprandy เขียน: อ่านบทความอันลึกซึ้งของน้อง Alastor แล้วรู้อยู่ที่เดียว :lovl:

คอนเฟิร์มว่า Lindt นี่เป็นหนึ่งในสุดยอด chocolate จริง ๆ ที่คุณภาพไม่หนีกันก็เช่น Godiva และ Ghirardelli

อูยยย... :ep: อ้วนดีจริง ๆ
อันนี้ถ้าใครอยากลองชิม ผมเคยเห็นมีขายที่ paragon นะครับ  :ep: