" กีดกันการค้า " หลากรูปแบบกระหึ่มโลก !!!!!
โพสต์แล้ว: จันทร์ มี.ค. 02, 2009 7:11 pm
"กีดกันการค้า" หลากรูปแบบกระหึ่มโลก ตอบโต้ "Buy American" โอบามา
การ ผลักดันให้เงื่อนไขต้องซื้อวัตถุดิบ โดยเฉพาะเหล็กและเหล็กกล้าที่ใช้ในโครงการภาครัฐต้องผลิตในสหรัฐเท่านั้น หรือที่เรียกกันว่า เงื่อนไข Buy American กำลังส่งผลกระทบบานปลาย โดยนอกเหนือจากจะเผชิญกระแสคัดค้านจากกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ แล้ว ยังจุดความไม่พอใจขึ้นในหลายประเทศ และก่อพฤติกรรมตอบโต้ในลักษณะกีดกันการค้าและชาตินิยมจากบางประเทศในยุโรป แล้ว
ในอังกฤษกอร์ดอน บราวน์ นายกรัฐมนตรี กลับเผชิญกับการหยุดงานประท้วงของคนงานในโรงงานพลังงานและโรงกลั่น ต่อต้านการใช้แรงงานต่างประเทศเมื่อวันที่ 30 มกราคมที่ผ่านมา หลังจากบริษัทโทเทล โรงกลั่นน้ำมันของฝรั่งเศสตกลงให้สัญญาโครงการก่อสร้าง 200 ล้านปอนด์แก่บริษัทอิตาลีรายหนึ่ง ซึ่งมีแผนจะใช้แรงงานจากต่างประเทศ
ขณะ ที่รัฐบาลสเปนได้ตัดสินใจจ่ายเงินในรูปของผลประโยชน์ ผู้ว่างงานทุกอย่างที่มีแบบเหมาจ่ายให้แรงงานต่างชาติกลับประเทศ หากพวกเขาตอบตกลงที่จะไม่เดินทางกลับมาสเปนในระยะเวลาอย่างน้อย 3 ปี ถือเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการรับมือกับภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ
เช่นเดียว กับฝรั่งเศส หลังจากรัฐสภาอนุมัติแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ 2.6 หมื่นล้านยูโร มีข้อสังเกตถึงเป้าหมายของการใช้จ่ายเงินกระตุ้นเศรษฐกิจว่าลงไปที่โครงการ สาธารณูปโภค อาทิ ระบบรถไฟความเร็วสูง ซึ่งถือเป็นธุรกิจผูกขาดของกลุ่มทุนฝรั่งเศสอย่างอัลตอง และโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ที่กลุ่มอาเรอลาผูกขาดอยู่
ในอิตาลีรัฐบาล ได้จัดทำแผนช่วยเหลือทางการเงินแก่อุตสาห กรรมรถยนต์ 1.7 พันล้านดอลลาร์ แต่ได้ร้องขอให้ค่ายรถยนต์คงการผลิตในอิตาลี และจ่ายเงินให้กับซัพพลายเออร์ในประเทศ
แนวโน้มการกีดกันทางการค้ากำลังกลับมาอย่างรวดเร็วไม่จำกัดวงเฉพาะการตอบโต้นโยบายสหรัฐ แต่ยังสะท้อนความพยายามปกป้องธุรกิจภายใน
ดัง การเคลื่อนไหวของคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป (อียู)ตั้งกำแพงภาษีนำเข้าสูงสุด 25% เพื่อต่อต้านการทุ่มตลาดของเหล็กลวดจากจีนเป็นการชั่วคราว พร้อมทั้งขยับภาษีนำเข้าเหล็กเส้นซึ่งใช้ในการก่อสร้างจากมอลโดวาขึ้นอีก 4%
ไม่เพียงเท่านี้อียูยังนำมาตรการอุดหนุนการส่งออกสินค้าหลายชนิด อาทิ เนย และนมผง มาตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา
ปรากฏการณ์กีดกันทางการค้าด้วยมาตรการภาษี ยังพบเห็นในอาร์เจนตินา เอกวาดอร์ อินเดีย อินโดนีเซีย และรัสเซีย
รัฐบาล อาร์เจนตินาออกมาตรการที่กำหนดให้สินค้าหลายชนิดต้องได้รับการอนุญาตนำเข้า ก่อน อาทิ ชิ้นส่วนรถยนต์ สิ่งทอ ทีวี ของเล่นเด็ก รองเท้า และเครื่องหนัง ขณะที่เอกวาดอร์ปรับภาษี นำเข้าเพิ่มในสินค้า 940 รายการ ครอบคลุมตั้งแต่เนย ไก่งวง ขนมปังกรอบ โทรศัพท์มือถือ แว่นตา วัสดุก่อสร้าง จนถึงอุปกรณ์เพื่อการขนส่ง
ในเอเชีย อินเดียได้ขยับภาษีนำเข้าผลิตภัณฑ์เหล็กบางรายการแล้ว ขณะที่อินโดนีเซียกลับเลือกจำกัดจำนวนท่าเรือและสนามบินที่ให้บริการในฐานะ จุดนำเข้าสินค้าบางรายการ โดยเฉพาะอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ รองเท้า รวมถึงอาหารและเครื่องดื่ม อีกทั้งยังมีนโยบายให้ข้าราชการเกือบ 4 ล้านคนของประเทศใช้ผลิตภัณฑ์ในประเทศ ตั้งแต่รองเท้าจนถึงเครื่องจักรขนาดใหญ่ เพื่อช่วยให้เศรษฐกิจฝ่าวิกฤตไปได้
สำหรับรัสเซียเลือกแนวทางขึ้นภาษีนำเข้ารถยนต์มือสองเพื่อพยุงอุตสาหกรรมในประเทศ
ยิ่ง กว่านั้นเสียงสะท้อนของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการกีดกันทางการค้าบ่อยครั้งขึ้น และในหลายๆ เวที นับจากการประชุมระดับรัฐมนตรีคลัง อาเซียน+3 วาระพิเศษ ยังเป็นประเด็นที่น่าจับตามอง เนื่องจาก ในข้อสังเกตของนายกรัฐมนตรีได้พุ่งเป้าไปที่มาตรการที่ไม่ใช่ภาษี รวมถึงกรณีการใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยน (ค่าเงิน) เพื่อเอื้อประโยชน์แก่ประเทศตัวเองฝ่ายเดียวด้วย
นับถึงต้นเดือน กุมภาพันธ์ พบว่าค่าเงินอย่างน้อย 4 สกุลในเอเชียมีการลดค่าลงอย่างมาก ได้แก่ เงินวอนของเกาหลีใต้ที่ลดค่าลง 11.75% ดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลง 7.58% ดอลลาร์สิงคโปร์อ่อนค่าลง 5.56% และค่าเงินดอลลาร์ไต้หวันที่อ่อนลง 4.26%
อีกทั้งนายกฯอภิสิทธิ์ยังได้พาดพิงถึง "การเรียกเงินทุนกลับของบางประเทศ" ซึ่งสอดคล้องกับกระแสวิตกของนักเศรษฐศาสตร์ บางราย ซึ่งรวมถึงเจอราร์ด มินแนค ของมอร์แกน สแตนเลย์ ซึ่งได้ ตั้งข้อสังเกตถึงแนวโน้มของสิ่งที่เรียกว่า การกีดกันทาง การเงิน (financial protectionism)
กระแสการกีดกันรูปแบบใหม่เกิดขึ้นใน 2 ลักษณะ ได้แก่ การสั่งการให้ธนาคารและสถาบันการเงินในประเทศ ที่เข้าโครงการขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจะต้องเน้นการปล่อยกู้ในประเทศ และการกีดกันอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งเกิดขึ้นในรูปของการส่งเงินทุนที่กระจายอยู่ทั่วโลก ทั้งในรูปของเงินกู้และการลงทุนกลับประเทศ การลดลงของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในจีน ถึง 33% ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา เป็นตัวอย่างอันเด่นชัดของ แนวโน้มดังกล่าว
ทั้ง นี้ วันที่ 28 มกราคมที่ผ่านมา สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติด้วยคะแนนเสียง 244 ต่อ 188 ผ่านร่างกฎหมายการลงทุนใหม่ และการฟื้นฟูอเมริกา (American Recovery and Reinvestment Act) ของประธานาธิบดีโอบามาแล้ว
ในวัน เดียวกันนั้น สภาผู้แทนราษฎรยังได้อนุมัติข้อกำหนด อันเป็นเงื่อนไขประกอบแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจในส่วนของการลงทุน ในโครงการภาครัฐว่า จะต้องจัดซื้อเหล็กและเหล็กกล้าที่ผลิต ในสหรัฐเท่านั้น
แนว คิด "ซื้อของอเมริกัน" (Buy American) ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในโครงการภาครัฐด้านสาธารณูปโภค แต่สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐยังอนุมัติให้มีการแก้ไขข้อกำหนดเพิ่มเติมให้สำนัก ความปลอดภัยด้านการคมนาคมขนส่ง จัดซื้อชุดเครื่องแบบที่ผลิตโดยสหรัฐในลักษณะเดียวกับข้อกำหนดของกระทรวง กลาโหม
การตัดสินใจเพิ่มเติมข้อกำหนดดังกล่าว ซึ่งมีชื่อเรียกว่า "ซื้อของอเมริกัน" มีขึ้นท่ามกลางกระแสการคัดค้านจากหอการค้าอเมริกัน และจากกลุ่มธุรกิจอื่นๆ ซึ่งแสดงความวิตกว่า การกระทำดังกล่าวอาจเป็นตัวอย่างไม่ดีให้ประเทศอื่นๆ พิจารณาแผนกระตุ้นเศรษฐกิจในลักษณะนี้ออกมาเช่นกัน
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0212
การ ผลักดันให้เงื่อนไขต้องซื้อวัตถุดิบ โดยเฉพาะเหล็กและเหล็กกล้าที่ใช้ในโครงการภาครัฐต้องผลิตในสหรัฐเท่านั้น หรือที่เรียกกันว่า เงื่อนไข Buy American กำลังส่งผลกระทบบานปลาย โดยนอกเหนือจากจะเผชิญกระแสคัดค้านจากกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ แล้ว ยังจุดความไม่พอใจขึ้นในหลายประเทศ และก่อพฤติกรรมตอบโต้ในลักษณะกีดกันการค้าและชาตินิยมจากบางประเทศในยุโรป แล้ว
ในอังกฤษกอร์ดอน บราวน์ นายกรัฐมนตรี กลับเผชิญกับการหยุดงานประท้วงของคนงานในโรงงานพลังงานและโรงกลั่น ต่อต้านการใช้แรงงานต่างประเทศเมื่อวันที่ 30 มกราคมที่ผ่านมา หลังจากบริษัทโทเทล โรงกลั่นน้ำมันของฝรั่งเศสตกลงให้สัญญาโครงการก่อสร้าง 200 ล้านปอนด์แก่บริษัทอิตาลีรายหนึ่ง ซึ่งมีแผนจะใช้แรงงานจากต่างประเทศ
ขณะ ที่รัฐบาลสเปนได้ตัดสินใจจ่ายเงินในรูปของผลประโยชน์ ผู้ว่างงานทุกอย่างที่มีแบบเหมาจ่ายให้แรงงานต่างชาติกลับประเทศ หากพวกเขาตอบตกลงที่จะไม่เดินทางกลับมาสเปนในระยะเวลาอย่างน้อย 3 ปี ถือเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการรับมือกับภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ
เช่นเดียว กับฝรั่งเศส หลังจากรัฐสภาอนุมัติแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ 2.6 หมื่นล้านยูโร มีข้อสังเกตถึงเป้าหมายของการใช้จ่ายเงินกระตุ้นเศรษฐกิจว่าลงไปที่โครงการ สาธารณูปโภค อาทิ ระบบรถไฟความเร็วสูง ซึ่งถือเป็นธุรกิจผูกขาดของกลุ่มทุนฝรั่งเศสอย่างอัลตอง และโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ที่กลุ่มอาเรอลาผูกขาดอยู่
ในอิตาลีรัฐบาล ได้จัดทำแผนช่วยเหลือทางการเงินแก่อุตสาห กรรมรถยนต์ 1.7 พันล้านดอลลาร์ แต่ได้ร้องขอให้ค่ายรถยนต์คงการผลิตในอิตาลี และจ่ายเงินให้กับซัพพลายเออร์ในประเทศ
แนวโน้มการกีดกันทางการค้ากำลังกลับมาอย่างรวดเร็วไม่จำกัดวงเฉพาะการตอบโต้นโยบายสหรัฐ แต่ยังสะท้อนความพยายามปกป้องธุรกิจภายใน
ดัง การเคลื่อนไหวของคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป (อียู)ตั้งกำแพงภาษีนำเข้าสูงสุด 25% เพื่อต่อต้านการทุ่มตลาดของเหล็กลวดจากจีนเป็นการชั่วคราว พร้อมทั้งขยับภาษีนำเข้าเหล็กเส้นซึ่งใช้ในการก่อสร้างจากมอลโดวาขึ้นอีก 4%
ไม่เพียงเท่านี้อียูยังนำมาตรการอุดหนุนการส่งออกสินค้าหลายชนิด อาทิ เนย และนมผง มาตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา
ปรากฏการณ์กีดกันทางการค้าด้วยมาตรการภาษี ยังพบเห็นในอาร์เจนตินา เอกวาดอร์ อินเดีย อินโดนีเซีย และรัสเซีย
รัฐบาล อาร์เจนตินาออกมาตรการที่กำหนดให้สินค้าหลายชนิดต้องได้รับการอนุญาตนำเข้า ก่อน อาทิ ชิ้นส่วนรถยนต์ สิ่งทอ ทีวี ของเล่นเด็ก รองเท้า และเครื่องหนัง ขณะที่เอกวาดอร์ปรับภาษี นำเข้าเพิ่มในสินค้า 940 รายการ ครอบคลุมตั้งแต่เนย ไก่งวง ขนมปังกรอบ โทรศัพท์มือถือ แว่นตา วัสดุก่อสร้าง จนถึงอุปกรณ์เพื่อการขนส่ง
ในเอเชีย อินเดียได้ขยับภาษีนำเข้าผลิตภัณฑ์เหล็กบางรายการแล้ว ขณะที่อินโดนีเซียกลับเลือกจำกัดจำนวนท่าเรือและสนามบินที่ให้บริการในฐานะ จุดนำเข้าสินค้าบางรายการ โดยเฉพาะอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ รองเท้า รวมถึงอาหารและเครื่องดื่ม อีกทั้งยังมีนโยบายให้ข้าราชการเกือบ 4 ล้านคนของประเทศใช้ผลิตภัณฑ์ในประเทศ ตั้งแต่รองเท้าจนถึงเครื่องจักรขนาดใหญ่ เพื่อช่วยให้เศรษฐกิจฝ่าวิกฤตไปได้
สำหรับรัสเซียเลือกแนวทางขึ้นภาษีนำเข้ารถยนต์มือสองเพื่อพยุงอุตสาหกรรมในประเทศ
ยิ่ง กว่านั้นเสียงสะท้อนของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการกีดกันทางการค้าบ่อยครั้งขึ้น และในหลายๆ เวที นับจากการประชุมระดับรัฐมนตรีคลัง อาเซียน+3 วาระพิเศษ ยังเป็นประเด็นที่น่าจับตามอง เนื่องจาก ในข้อสังเกตของนายกรัฐมนตรีได้พุ่งเป้าไปที่มาตรการที่ไม่ใช่ภาษี รวมถึงกรณีการใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยน (ค่าเงิน) เพื่อเอื้อประโยชน์แก่ประเทศตัวเองฝ่ายเดียวด้วย
นับถึงต้นเดือน กุมภาพันธ์ พบว่าค่าเงินอย่างน้อย 4 สกุลในเอเชียมีการลดค่าลงอย่างมาก ได้แก่ เงินวอนของเกาหลีใต้ที่ลดค่าลง 11.75% ดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลง 7.58% ดอลลาร์สิงคโปร์อ่อนค่าลง 5.56% และค่าเงินดอลลาร์ไต้หวันที่อ่อนลง 4.26%
อีกทั้งนายกฯอภิสิทธิ์ยังได้พาดพิงถึง "การเรียกเงินทุนกลับของบางประเทศ" ซึ่งสอดคล้องกับกระแสวิตกของนักเศรษฐศาสตร์ บางราย ซึ่งรวมถึงเจอราร์ด มินแนค ของมอร์แกน สแตนเลย์ ซึ่งได้ ตั้งข้อสังเกตถึงแนวโน้มของสิ่งที่เรียกว่า การกีดกันทาง การเงิน (financial protectionism)
กระแสการกีดกันรูปแบบใหม่เกิดขึ้นใน 2 ลักษณะ ได้แก่ การสั่งการให้ธนาคารและสถาบันการเงินในประเทศ ที่เข้าโครงการขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจะต้องเน้นการปล่อยกู้ในประเทศ และการกีดกันอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งเกิดขึ้นในรูปของการส่งเงินทุนที่กระจายอยู่ทั่วโลก ทั้งในรูปของเงินกู้และการลงทุนกลับประเทศ การลดลงของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในจีน ถึง 33% ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา เป็นตัวอย่างอันเด่นชัดของ แนวโน้มดังกล่าว
ทั้ง นี้ วันที่ 28 มกราคมที่ผ่านมา สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติด้วยคะแนนเสียง 244 ต่อ 188 ผ่านร่างกฎหมายการลงทุนใหม่ และการฟื้นฟูอเมริกา (American Recovery and Reinvestment Act) ของประธานาธิบดีโอบามาแล้ว
ในวัน เดียวกันนั้น สภาผู้แทนราษฎรยังได้อนุมัติข้อกำหนด อันเป็นเงื่อนไขประกอบแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจในส่วนของการลงทุน ในโครงการภาครัฐว่า จะต้องจัดซื้อเหล็กและเหล็กกล้าที่ผลิต ในสหรัฐเท่านั้น
แนว คิด "ซื้อของอเมริกัน" (Buy American) ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในโครงการภาครัฐด้านสาธารณูปโภค แต่สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐยังอนุมัติให้มีการแก้ไขข้อกำหนดเพิ่มเติมให้สำนัก ความปลอดภัยด้านการคมนาคมขนส่ง จัดซื้อชุดเครื่องแบบที่ผลิตโดยสหรัฐในลักษณะเดียวกับข้อกำหนดของกระทรวง กลาโหม
การตัดสินใจเพิ่มเติมข้อกำหนดดังกล่าว ซึ่งมีชื่อเรียกว่า "ซื้อของอเมริกัน" มีขึ้นท่ามกลางกระแสการคัดค้านจากหอการค้าอเมริกัน และจากกลุ่มธุรกิจอื่นๆ ซึ่งแสดงความวิตกว่า การกระทำดังกล่าวอาจเป็นตัวอย่างไม่ดีให้ประเทศอื่นๆ พิจารณาแผนกระตุ้นเศรษฐกิจในลักษณะนี้ออกมาเช่นกัน
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0212