เกษียณก่อนกำหนด/ ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.พ. 15, 2009 10:22 pm
โลกในมุมมองของ Value Investor 14 กุมภาพันธ์ 2552
Value Investor หนุ่มสาวผู้มุ่งมั่นจำนวนไม่น้อยมักคิดถึงเรื่องการ “เกษียณก่อนกำหนด” บางคนบอกว่าอยากเลิกทำงานประจำตั้งแต่อายุ 40-50 ปี โดยที่พวกเขามักวางแผนและกำหนดเป้าหมายว่าจะมีเงินเพียงพอที่จะใช้ไปได้ตลอดชีวิตโดยไม่ต้องทำงานหรือเรียกว่ามี “อิสรภาพทางการเงิน” ได้ในวันที่เกษียณ หลังจากนั้น เขาก็จะลงทุนเพียงอย่างเดียวและใช้ชีวิตและเวลาที่เหลือทำในสิ่งที่เขาชอบและเป็นประโยชน์ นั่นคือเป้าหมายสูงสุดและเป็นสิ่งที่ดี แต่ผมไม่แน่ใจว่าคนตั้งนั้นได้กำหนดเป้าอย่างสมจริงและมีเหตุผลดีพอหรือไม่ บางทีเขาอาจจะไม่รู้ว่าค่าใช้จ่ายที่เขาต้องใช้ในอนาคตนั้นอาจจะมากกว่าปัจจุบันที่เขายังเป็นหนุ่มโสดที่ไม่มีภาระต้องรับผิดชอบคนอื่นนอกจากตนเอง บางทีเขาอาจจะตั้งเป้าผลตอบแทนการลงทุนระยะยาวต่อปีโดยเฉลี่ยสูงกว่าที่เขาจะทำได้จริง ๆ เช่นตั้งไว้ถึงปีละ 15% ซึ่งเป็นสถิติระดับโลก เป็นต้น
ในฐานะของคนที่ผ่านชีวิตการ “เกษียณก่อนกำหนด” มาแล้ว ผมคิดว่าการตั้งเป้าหมาย “เกษียณก่อนกำหนด” อาจจะไม่มีความจำเป็นเลย ว่าที่จริงผมเองไม่เคยตั้งเป้าเกษียณก่อนกำหนดด้วยซ้ำ ผมคิดว่าชีวิตคนนั้นไม่มีวันเกษียณ วันที่เกษียณก็คือวันที่เราตาย ดังนั้น ผมจึงคิดแต่ว่าเราจะทำงานไปเรื่อย ๆ ถ้างานนั้นให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับแรงงานและเวลาที่เราเสียไปรวมถึงความเสี่ยงที่เกิดจากการทำงานนั้นด้วย การที่คิดว่าตนเองมีเงิน “พอ” นั้น เราอาจจะลืมเผื่อความปลอดภัย หรือ Margin Of Safety ไว้ ลองนึกดูว่า ถ้าเรามีเงินที่อยู่ในหุ้น 20 ล้านบาทแล้วเราคิดว่าเราสามารถเลิกทำงานประจำได้ เราลาออกจากงาน แต่แล้วตลาดเกิดวิกฤติราคาหุ้นของเราตกลงมาเหลือเพียง 10 ล้าน อิสรภาพทางการเงินของเราอาจจะหายไป ดังนั้น การทำงานประจำต่อไปเรื่อย ๆ อาจจะเป็นการเพิ่ม Margin Of Safety และทำให้เรามีเงินมากขึ้น รวยขึ้น และมีความสุขเพิ่มขึ้น
การที่จะ “เกษียณ” เมื่อไร ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องที่เราจะต้องพิจารณากันในช่วงเวลานั้น การตั้งเป้าล่วงหน้าไปไกล ๆ นั้นอาจจะเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมโดยเฉพาะถ้ามันจะทำให้เรากำหนดเป้าหมายหรือกลยุทธ์ที่บีบรัดตัวเองมากเกินไป ซึ่งอาจทำให้เราต้อง “เสียสละ” ความสุขมากเกินไป เพื่อที่จะไปถึง “เป้าหมาย” ที่เราคิดว่ามีความหมายมากในวันนี้แต่อาจจะไม่มีความหมายเมื่อเราไปถึง ผมคิดว่า “ชีวิตคือการเดินทาง” เราต้องพยายามมีความสุขกับมันตลอดเส้นทาง เป้าหมายของชีวิตที่เราพูดถึงนั้น แท้ที่จริงมันคือหลักไมล์ต่าง ๆ ที่เราวางแผนจะเดินผ่าน การมี “อิสรภาพทางการเงิน” นั้นเป็นหลักไมล์ที่สำคัญเพราะมันเป็นจุดที่ทำให้เราสามารถเลือกที่จะทำสิ่งที่เราชอบและมีความสุขได้ แต่ไม่ใช่หมายความว่าเราจะต้องเกษียณจากงานประจำถ้างานประจำนั้นยังให้ผลตอบแทนต่าง ๆ คุ้มค่าและเรา “เลือก” ที่จะทำต่อไป
ในความเห็นของผมนั้น แผนของชีวิตที่เราควรมีและกำหนดให้ชัดเจนก็คือ แน่นอน เราควรมีเงินเท่าไรในแต่ละช่วงชีวิต เช่น เมื่ออายุ 40 ปี 50 ปี 60 ปี และในวันที่เราตายที่ 80 ปี เป็นต้น สิ่งที่ต้องนำมาคิดคำนวณก็คือ รายได้จากการทำงานที่ควรจะต้องเพิ่มขึ้น ผมคิดว่าควรตั้งไว้ว่าเงินรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละประมาณ 5-7% รายจ่ายนั้น สิ่งสำคัญก็คือ เรื่องของครอบครัว จะต้องคำนึงถึงเรื่องการเลี้ยงดูและให้การศึกษากับลูก ๆ และการดูแลพ่อแม่ถ้ามี ในกรณีนี้คนที่ยังเป็นโสดอาจจะคาดการณ์ได้ยากกว่าเพราะยังไม่มีสถิติและข้อมูลในอดีตและปัจจุบันที่จะบอกว่าต้องใช้เงินเท่าไร รายจ่ายอีกอย่างหนึ่งที่อาจจะต้องตั้งไว้ก็คือ รายจ่ายสำหรับรายการใหญ่ ๆ เช่น การซื้อบ้านเป็นของตนเองถ้ายังไม่มี การเดินทางท่องเที่ยวไกล ๆ หรือต่างประเทศ เช่น บางคนอาจตั้งว่าจะเดินทางเฉลี่ยปีละครั้งหรือสองปีครั้ง เป็นต้น
แผนการเงินที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ การออมและการลงทุน นี่อาจจะเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับการที่เราจะสามารถมีอิสรภาพทางการเงินก่อนอายุ 60 ปี ควรจะกำหนดเป็นเป้าหมายว่า เราจะออมโดยเฉลี่ยเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของรายได้ ผมคิดว่าอย่างน้อย 10 % นี่คงต้องคำนึงถึงรายจ่ายของแต่ละคนที่มีภาระไม่เท่ากัน คนที่มีบ้านอยู่แล้วส่วนใหญ่น่าจะสามารถเก็บออมได้ดีกว่าคนที่ไม่มีบ้านและต้องผ่อนส่งอยู่ จะเก็บออมกี่เปอร์เซ็นต์ก็ตาม ควรคำนึงถึงว่าเงินที่เหลืออยู่นั้นไม่ทำให้ชีวิตของเราขัดสนจนหาความสุขไม่ได้
การลงทุนเป็นเรื่องสำคัญไม่น้อยไปกว่าการออม ไม่ควรตั้งเป้าผลตอบแทนเกิน 10% ต่อปีโดยเฉลี่ยยกเว้นว่าคุณจะเป็นนักลงทุนที่มีฝีมือสูง ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ผมคิดว่าในระยะยาวหุ้นเป็นหลักทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงและมีความสะดวกในการทยอยลงทุนได้ดีกว่าหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอย่างอื่น ดังนั้น ควรตั้งเป้าว่าเงินออมของเรา อย่างน้อยจะต้องลงทุนในหุ้นไม่น้อยกว่า 50% โดยเฉลี่ย นั่นจะเป็นเครื่องมือในการคุมให้ตนเองอยู่กับหุ้นได้ในยามที่ตลาดหุ้น “ไม่ดี” ซึ่งมักจะเป็นโอกาสดีของการลงทุนในหุ้น
จากแผนทั้งหมดที่กล่าวถึง เราก็อาจจะสามารถกำหนดหลักไมล์คร่าว ๆ ได้ว่าเราจะมี “อิสรภาพทางการเงิน” เมื่อเรามีอายุเท่าไร แผนที่ดีนั้น เราควรคำนึงถึงอัตราเงินเฟ้อที่ประมาณปีละ 3% ไว้ด้วย ซึ่งจะทำให้เงิน 20 ล้านบาทในวันนี้อาจจะไม่พอในวันที่เราจะมีอิสรภาพทางการเงินในอีก 20 ปีข้างหน้า เป็นไปได้ว่าเราอาจจะไม่มีอิสรภาพทางการเงินได้จริง ๆ ก่อนอายุ 60 ปี ซึ่งทำให้เราไม่สามารถเกษียณก่อนกำหนดได้ตามที่หวังไว้ อย่าเสียใจหรือท้อถอย ชีวิตคือ “การเดินทาง” เงินคือปัจจัยอย่างหนึ่งที่ทำให้การเดินทางง่าย สะดวก และน่ารื่นรมย์ แต่มันไม่จำเป็นต้องมากจนเหลือเฟือ คนรวยจำนวนมากกลับทุกข์มากกว่าคนชั้นกลาง เช่นเดียวกัน คนเกษียณก่อนกำหนดก็ไม่ได้มีความสุขกันทุกคน หลายคนที่ผมรู้จักบ่นว่า เขาไม่รู้จะทำอะไรหลังจากกลับจากการท่องเที่ยวหลายแห่งทั่วโลกหลังจากการเกษียณก่อนกำหนด
ข้อแนะนำสุดท้ายของผมสำหรับคนที่มองถึงการเกษียณก่อนกำหนดก็คือ เราต้องมั่นใจว่ามีสิ่งที่เราอยากทำจริง ๆ ทำแล้วมีความสุขจริงในระยะยาว ผมเตือนเรื่องนี้เพราะมักได้ยินคนบางคนพูดถึงเรื่องการสอนหนังสือหลังจากการเกษียณก่อนกำหนด เหตุผลก็คือ การบรรยายหรือการสอนหนังสือเล็ก ๆ น้อย ๆ นั้น ส่วนใหญ่เราจะรู้สึกดีมีความสุข แต่การสอนนักเรียนที่ต้องมาฟังเราทุกสัปดาห์เพื่อให้สอบได้นั้น บางทีเราอาจจะไม่รู้สึกสนุกหรืออยากทำก็ได้
Value Investor หนุ่มสาวผู้มุ่งมั่นจำนวนไม่น้อยมักคิดถึงเรื่องการ “เกษียณก่อนกำหนด” บางคนบอกว่าอยากเลิกทำงานประจำตั้งแต่อายุ 40-50 ปี โดยที่พวกเขามักวางแผนและกำหนดเป้าหมายว่าจะมีเงินเพียงพอที่จะใช้ไปได้ตลอดชีวิตโดยไม่ต้องทำงานหรือเรียกว่ามี “อิสรภาพทางการเงิน” ได้ในวันที่เกษียณ หลังจากนั้น เขาก็จะลงทุนเพียงอย่างเดียวและใช้ชีวิตและเวลาที่เหลือทำในสิ่งที่เขาชอบและเป็นประโยชน์ นั่นคือเป้าหมายสูงสุดและเป็นสิ่งที่ดี แต่ผมไม่แน่ใจว่าคนตั้งนั้นได้กำหนดเป้าอย่างสมจริงและมีเหตุผลดีพอหรือไม่ บางทีเขาอาจจะไม่รู้ว่าค่าใช้จ่ายที่เขาต้องใช้ในอนาคตนั้นอาจจะมากกว่าปัจจุบันที่เขายังเป็นหนุ่มโสดที่ไม่มีภาระต้องรับผิดชอบคนอื่นนอกจากตนเอง บางทีเขาอาจจะตั้งเป้าผลตอบแทนการลงทุนระยะยาวต่อปีโดยเฉลี่ยสูงกว่าที่เขาจะทำได้จริง ๆ เช่นตั้งไว้ถึงปีละ 15% ซึ่งเป็นสถิติระดับโลก เป็นต้น
ในฐานะของคนที่ผ่านชีวิตการ “เกษียณก่อนกำหนด” มาแล้ว ผมคิดว่าการตั้งเป้าหมาย “เกษียณก่อนกำหนด” อาจจะไม่มีความจำเป็นเลย ว่าที่จริงผมเองไม่เคยตั้งเป้าเกษียณก่อนกำหนดด้วยซ้ำ ผมคิดว่าชีวิตคนนั้นไม่มีวันเกษียณ วันที่เกษียณก็คือวันที่เราตาย ดังนั้น ผมจึงคิดแต่ว่าเราจะทำงานไปเรื่อย ๆ ถ้างานนั้นให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับแรงงานและเวลาที่เราเสียไปรวมถึงความเสี่ยงที่เกิดจากการทำงานนั้นด้วย การที่คิดว่าตนเองมีเงิน “พอ” นั้น เราอาจจะลืมเผื่อความปลอดภัย หรือ Margin Of Safety ไว้ ลองนึกดูว่า ถ้าเรามีเงินที่อยู่ในหุ้น 20 ล้านบาทแล้วเราคิดว่าเราสามารถเลิกทำงานประจำได้ เราลาออกจากงาน แต่แล้วตลาดเกิดวิกฤติราคาหุ้นของเราตกลงมาเหลือเพียง 10 ล้าน อิสรภาพทางการเงินของเราอาจจะหายไป ดังนั้น การทำงานประจำต่อไปเรื่อย ๆ อาจจะเป็นการเพิ่ม Margin Of Safety และทำให้เรามีเงินมากขึ้น รวยขึ้น และมีความสุขเพิ่มขึ้น
การที่จะ “เกษียณ” เมื่อไร ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องที่เราจะต้องพิจารณากันในช่วงเวลานั้น การตั้งเป้าล่วงหน้าไปไกล ๆ นั้นอาจจะเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมโดยเฉพาะถ้ามันจะทำให้เรากำหนดเป้าหมายหรือกลยุทธ์ที่บีบรัดตัวเองมากเกินไป ซึ่งอาจทำให้เราต้อง “เสียสละ” ความสุขมากเกินไป เพื่อที่จะไปถึง “เป้าหมาย” ที่เราคิดว่ามีความหมายมากในวันนี้แต่อาจจะไม่มีความหมายเมื่อเราไปถึง ผมคิดว่า “ชีวิตคือการเดินทาง” เราต้องพยายามมีความสุขกับมันตลอดเส้นทาง เป้าหมายของชีวิตที่เราพูดถึงนั้น แท้ที่จริงมันคือหลักไมล์ต่าง ๆ ที่เราวางแผนจะเดินผ่าน การมี “อิสรภาพทางการเงิน” นั้นเป็นหลักไมล์ที่สำคัญเพราะมันเป็นจุดที่ทำให้เราสามารถเลือกที่จะทำสิ่งที่เราชอบและมีความสุขได้ แต่ไม่ใช่หมายความว่าเราจะต้องเกษียณจากงานประจำถ้างานประจำนั้นยังให้ผลตอบแทนต่าง ๆ คุ้มค่าและเรา “เลือก” ที่จะทำต่อไป
ในความเห็นของผมนั้น แผนของชีวิตที่เราควรมีและกำหนดให้ชัดเจนก็คือ แน่นอน เราควรมีเงินเท่าไรในแต่ละช่วงชีวิต เช่น เมื่ออายุ 40 ปี 50 ปี 60 ปี และในวันที่เราตายที่ 80 ปี เป็นต้น สิ่งที่ต้องนำมาคิดคำนวณก็คือ รายได้จากการทำงานที่ควรจะต้องเพิ่มขึ้น ผมคิดว่าควรตั้งไว้ว่าเงินรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละประมาณ 5-7% รายจ่ายนั้น สิ่งสำคัญก็คือ เรื่องของครอบครัว จะต้องคำนึงถึงเรื่องการเลี้ยงดูและให้การศึกษากับลูก ๆ และการดูแลพ่อแม่ถ้ามี ในกรณีนี้คนที่ยังเป็นโสดอาจจะคาดการณ์ได้ยากกว่าเพราะยังไม่มีสถิติและข้อมูลในอดีตและปัจจุบันที่จะบอกว่าต้องใช้เงินเท่าไร รายจ่ายอีกอย่างหนึ่งที่อาจจะต้องตั้งไว้ก็คือ รายจ่ายสำหรับรายการใหญ่ ๆ เช่น การซื้อบ้านเป็นของตนเองถ้ายังไม่มี การเดินทางท่องเที่ยวไกล ๆ หรือต่างประเทศ เช่น บางคนอาจตั้งว่าจะเดินทางเฉลี่ยปีละครั้งหรือสองปีครั้ง เป็นต้น
แผนการเงินที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ การออมและการลงทุน นี่อาจจะเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับการที่เราจะสามารถมีอิสรภาพทางการเงินก่อนอายุ 60 ปี ควรจะกำหนดเป็นเป้าหมายว่า เราจะออมโดยเฉลี่ยเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของรายได้ ผมคิดว่าอย่างน้อย 10 % นี่คงต้องคำนึงถึงรายจ่ายของแต่ละคนที่มีภาระไม่เท่ากัน คนที่มีบ้านอยู่แล้วส่วนใหญ่น่าจะสามารถเก็บออมได้ดีกว่าคนที่ไม่มีบ้านและต้องผ่อนส่งอยู่ จะเก็บออมกี่เปอร์เซ็นต์ก็ตาม ควรคำนึงถึงว่าเงินที่เหลืออยู่นั้นไม่ทำให้ชีวิตของเราขัดสนจนหาความสุขไม่ได้
การลงทุนเป็นเรื่องสำคัญไม่น้อยไปกว่าการออม ไม่ควรตั้งเป้าผลตอบแทนเกิน 10% ต่อปีโดยเฉลี่ยยกเว้นว่าคุณจะเป็นนักลงทุนที่มีฝีมือสูง ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ผมคิดว่าในระยะยาวหุ้นเป็นหลักทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงและมีความสะดวกในการทยอยลงทุนได้ดีกว่าหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอย่างอื่น ดังนั้น ควรตั้งเป้าว่าเงินออมของเรา อย่างน้อยจะต้องลงทุนในหุ้นไม่น้อยกว่า 50% โดยเฉลี่ย นั่นจะเป็นเครื่องมือในการคุมให้ตนเองอยู่กับหุ้นได้ในยามที่ตลาดหุ้น “ไม่ดี” ซึ่งมักจะเป็นโอกาสดีของการลงทุนในหุ้น
จากแผนทั้งหมดที่กล่าวถึง เราก็อาจจะสามารถกำหนดหลักไมล์คร่าว ๆ ได้ว่าเราจะมี “อิสรภาพทางการเงิน” เมื่อเรามีอายุเท่าไร แผนที่ดีนั้น เราควรคำนึงถึงอัตราเงินเฟ้อที่ประมาณปีละ 3% ไว้ด้วย ซึ่งจะทำให้เงิน 20 ล้านบาทในวันนี้อาจจะไม่พอในวันที่เราจะมีอิสรภาพทางการเงินในอีก 20 ปีข้างหน้า เป็นไปได้ว่าเราอาจจะไม่มีอิสรภาพทางการเงินได้จริง ๆ ก่อนอายุ 60 ปี ซึ่งทำให้เราไม่สามารถเกษียณก่อนกำหนดได้ตามที่หวังไว้ อย่าเสียใจหรือท้อถอย ชีวิตคือ “การเดินทาง” เงินคือปัจจัยอย่างหนึ่งที่ทำให้การเดินทางง่าย สะดวก และน่ารื่นรมย์ แต่มันไม่จำเป็นต้องมากจนเหลือเฟือ คนรวยจำนวนมากกลับทุกข์มากกว่าคนชั้นกลาง เช่นเดียวกัน คนเกษียณก่อนกำหนดก็ไม่ได้มีความสุขกันทุกคน หลายคนที่ผมรู้จักบ่นว่า เขาไม่รู้จะทำอะไรหลังจากกลับจากการท่องเที่ยวหลายแห่งทั่วโลกหลังจากการเกษียณก่อนกำหนด
ข้อแนะนำสุดท้ายของผมสำหรับคนที่มองถึงการเกษียณก่อนกำหนดก็คือ เราต้องมั่นใจว่ามีสิ่งที่เราอยากทำจริง ๆ ทำแล้วมีความสุขจริงในระยะยาว ผมเตือนเรื่องนี้เพราะมักได้ยินคนบางคนพูดถึงเรื่องการสอนหนังสือหลังจากการเกษียณก่อนกำหนด เหตุผลก็คือ การบรรยายหรือการสอนหนังสือเล็ก ๆ น้อย ๆ นั้น ส่วนใหญ่เราจะรู้สึกดีมีความสุข แต่การสอนนักเรียนที่ต้องมาฟังเราทุกสัปดาห์เพื่อให้สอบได้นั้น บางทีเราอาจจะไม่รู้สึกสนุกหรืออยากทำก็ได้