เรียนเพื่อรับใช้ประชาชน
โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.พ. 14, 2009 10:23 am
เรียนเพื่อรับใช้ประชาชน
ดร.โสภณ พรโชคชัย
ประธานกรรมการ มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย
นี่ก็ใกล้จบปีการศึกษาแล้ว ผมจึงขอถือโอกาสนี้เขียนบทความนี้ให้กับเยาวชนคนหนุ่มสาวที่กำลังจะจบการศึกษา ให้รู้จักตระหนักรู้ถึงภารกิจการรับใช้ประชาชน นอกเหนือจากการมุ่งสนใจกับตนเองที่ใบหน้า เสื้อผ้าหรือที่ศักดิ์ศรีที่ไร้สาระจนแสดงความเถื่อนด้วยการยกพวกตีกัน (ของนักเรียนช่างกล) ซึ่งเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ศกนี้ ที่หน้าศูนย์การค้ามาบุญครอง
สมัยผมเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อปี 2519 ก็มีคำพูดเท่ๆ ว่า ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน ตอนนั้นผมยังงงอยู่เหมือนกันว่า แล้วทำไมที่อื่นไม่สอนให้รักประชาชนบ้างหรือ อย่างไรก็ตามตอนผมเรียน ผมก็ไม่เคยได้ยินอาจารย์คนไหนสอนอย่างนี้ และเดี๋ยวนี้มีสอนหรือไม่ผมก็ไม่ทราบ
แต่ที่ผมอยากให้ทุกคนได้ทราบก็คือ จากข้อเท็จจริงแท้แน่นอน (Hard Facts) นั้น การเรียนเพื่อไปรับใช้ประชาชน เป็นภาระหน้าที่อันศักดิ์สิทธิ์ของนักศึกษาอย่างแท้จริง แต่นักศึกษาส่วนใหญ่ก็แทบไม่เคยสำนึกในข้อนี้ แต่อาจกลับทำตัวเป็นอภิสิทธิชน ผู้รับประโยชน์จากภาษีของประชาชน โดยไม่ได้ ให้ อะไรเป็นการตอบแทนบุญคุญของประชาชนเลย แถมเมื่อเป็นใหญ่เป็นโต ยังอาจกลับมาปล้นชิงผลประโยชน์ของประชาชนด้วยการทุจริตและประพฤติมิชอบเสียอีก
เรามาดูกันให้ชัด ๆ ว่า ทำไมเราจึงต้องศึกษาเพื่อรับใช้ประชาชน ท่านทราบหรือไม่ว่า
1. งบประมาณกระทรวงศึกษาธิการ ปี 2551 = 301,085 ล้านบาท
งบประมาณจำนวนนี้มีสัดส่วนถึงประมาณ 18% ของงบประมาณแผ่นดินทั้งประเทศ ซึ่งนับว่าไม่น้อยเลยที่รัฐจัดหามาเพื่อการศึกษาของประชาชน
2. จำนวนนักเรียน นักศึกษาทั่วประเทศ ณ ปี 2549 = 14,443,776 คน
ประเทศไทยมีประชากรอยู่ราว 65 ล้านคน นักเรียนนักศึกษาที่ส่วนมากยังไม่ได้เป็นผู้ผลิตใด ๆ แก่สังคม มีจำนวนถึงประมาณ 22% ของประชากรทั้งหมด นี่คืออนาคตของชาติที่ต้องดูแล
3. ค่าใช้จ่ายต่อนักเรียน นักศึกษา 1 คนต่อปีที่รัฐออกให้ = 20,845 บาท
ตัวเลขในข้อนี้เป็นผลจากการเอาข้อ 1 หารด้วยข้อ 2 นั้นเอง เงินจำนวนนี้มาจากภาษีอากรของประชาชนทั่วประเทศ ที่ออกให้กับประชากรที่เป็นเยาวชนที่ยังไม่เคยเสียภาษีสักบาท โดยหวังว่าเด็กและเยาวชนทั้งหลายจะเติบโต รู้สึกนึกที่จะ คืนกำไร โดยทำตัวเป็นกำลังสำคัญในการรับใช้ประชาชนและประเทศชาติในวันหน้า
4. งบประมาณของ สนง.คณะกรรมการการอุดมศึกษา ปี 2551 = 69,542 ล้านบาท
นี่เป็นข้อมูลเพื่อที่จะพิจารณาถึงการจัดการศึกษาเฉพาะในระดับอุดมศึกษา ซึ่งเงินจำนวนนี้สูงถึงประมาณ 23% ของงบประมาณการจัดการศึกษาทั้งหมดของกระทรวงศึกษาธิการ
5. จำนวนนักศึกษา = 1,950,892 คน
นิสิต นักศึกษาที่เรียนในระดับปริญญาตรีขึ้นไปมีถึงเกือบ 2 ล้านคน หรือราว 14% ของนักเรียน นิสิตนักศึกษาทั่วประเทศ แต่ใช้เงินถึง 23% ของงบประมาณการศึกษาทั้งหมดในข้อ 4 การนี้แสดงว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการสร้าง ปัญญาชน
6. ค่าใช้จ่ายต่อนักศึกษา 1 คนต่อปีที่รัฐออกให้ = 35,646 บาท
เมื่อนำตัวเลขในข้อ 4 มาหารด้วยข้อ 5 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ค่าใช้จ่ายของนักศึกษาต่อคนเป็นเงิน 35,646 บาท มากกว่าของนักเรียน นิสิตและนักศึกษาโดยรวม
7. ค่าใช้จ่ายต่อนักเรียน 1 คนต่อปีที่รัฐออกให้ = 18,534 บาท
เมื่อได้ข้อมูลทั้งหมดข้างต้น เราจึงสามารถคำนวณได้ว่า เฉพาะส่วนที่เป็นนักเรียนต่ำกว่าปริญญาตรี รัฐบาลออกเงินให้เป็นเงินปีละ 18,534 บาท ซึ่งต่ำกว่าค่าใช้จ่ายของนักศึกษาระดับปริญญาตรี (35,646 บาท ตามข้อ 6) ขึ้นไปถึงเกือบเท่าตัว
8. ค่าใช้จ่ายของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ 30 กันยายน 2551 = 8,895 ล้านบาท
ในที่นี้ใช้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาเป็นกรณีตัวอย่าง ซึ่ง ณ ปีงบประมาณ 2551 มหาวิทยาลัยแห่งนี้มีค่าใช้จ่ายทั้งหมด 8,895 ล้านบาท
9. จำนวนนิสิตจุฬาฯ ทุกระดับชั้นทั้งหมด ณ ปีการศึกษา 2551 = 33,821 คน
ข้อมูลในส่วนของนักศึกษาพบว่ามีจำนวนนักศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไป ณ ปีการศึกษา 2551 จำนวน 33,821 คน ซึ่งถือว่าสูงมากเพราะเป็นสถาบันอุดมศึกษาขนาดใหญ่
10. ค่าใช้จ่ายโดยรวมต่อนิสิต 1 คน = 262,993 บาท
ในกรณีนี้จึงอาจอนุมานได้ว่า ค่าใช้จ่ายโดยรวมต่อนิสิต 1 คนเป็นเงินสูงถึง 262,993 บาท อย่างไรก็ตามเงินทั้งหมดไม่ได้เป็นเงินที่จัดการศึกษาโดยตรง แต่อาจเป็นค่าใช้จ่ายด้านอื่น ๆ เช่น การก่อสร้างอาคาร การพัฒนาอาจารย์หรืออื่น ๆ แต่ในที่นี้อนุโลมใช้ตัวเลขจำนวนนักศึกษามาหารเพื่อการทำความเข้าใจที่ง่ายและชัดเจน เพราะในระบบการศึกษา ถือว่านักศึกษาหรือผู้ใช้บริการคือศูนย์กลาง
11. งบประมาณจากรัฐให้กับจุฬาฯ ณ ปีงบประมาณ 2551 = 3,545 ล้านบาท
อย่างไรก็ตามจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใช้จ่ายเงินเฉพาะจากงบประมาณแผ่นดินเพียง 3,545 ล้านบาท แสดงว่าค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่มาจากเงินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเอง ซึ่งคงเป็นดอกผลจากค่าบริการวิชาการ ค่าเช่าที่ดิน-อาคาร เช่น มาบุญครอง สยามสแควร์ ฯลฯ เพื่อนำมาสนับสนุนกิจกรรมทางการศึกษาในรูปการต่าง ๆ
12. ค่าใช้จ่ายโดยรวมต่อนิสิต 1 คนที่รัฐออกให้ = 104,828 บาท
จากตัวเลขในข้อ 11 เมื่อนำมาหารด้วยจำนวนนิสิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็แสดงว่าค่าใช้จ่ายของนิสิตจุฬาฯ ในส่วนที่รัฐบาลออกให้โดยตรง เป็นเงินประมาณ 104,828 บาทต่อปี
13. รายได้ของจุฬาฯ จากการจัดการเรียนการสอน ปี 2551 = 2,045 ล้านบาท
จากข้อมูลของจุฬาฯ ระบุว่า รายได้ที่ได้จากการจัดเก็บค่าหน่วยกิต ค่าธรรมเนียม ค่าฝึกอบรมและอื่น ๆ จากนักศึกษานั้น เป็นรายได้ส่วนน้อยเพียง 16% ของแหล่งรายได้อื่น ๆ ซึ่งคำนวณได้เป็นเงินประมาณ 2,045 ล้านบาท
14. รายจ่ายที่นิสิตแต่ละคนจ่ายเองต่อปี = 60,451 บาท
จากตัวเลขในข้อ 13 เมื่อถูกหารด้วยจำนวนนิสิตทั้งหมดในจุฬาฯ ตามข้อ 9 ก็จะพบว่า นิสิตเสียค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายทางการศึกษาเป็นเงิน 60,451 บาทต่อคนต่อปี และนี่เป็นเพียงตัวเลขเฉลี่ย บางสาขาวิชาและบางสถาบันอาจสูงหรือต่ำกว่านี้
จากตัวเลขทั้งหมดข้างต้น จึงอาจสรุปได้ชัดเจนว่า ค่าใช้จ่ายหลัก ๆ ทางการศึกษานั้นมาจากภาษีอากรของประชาชน ดังนั้นเป้าหมายการศึกษาของเราจึงควรมุ่งไปที่การรับใช้ประชาชน อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน แนวคิดการศึกษาเพื่อรับใช้ประชาชนนั้น แทบไม่เคยมีใครสอนในสถาบันอุดมศึกษายุคใหม่ นี่แสดงว่าเราขาดการทดแทนคุณต่อประชาชนและประเทศชาติ
แต่บางท่านก็อาจมีข้อสงสัยว่า แล้วพวกที่เรียนสถาบันการศึกษาเอกชน จะถือตนว่าไม่ได้ รับ ประโยชน์จากภาษีของประชาชนจึงไม่ต้องแทนคุณประชาชนหรือไม่ ผมอยากเรียนว่าสถาบันเอกชนก็ได้รับการอุดหนุนจากรัฐในหลาย ๆ กรณี เช่น การอัดฉีดเพื่อพัฒนาอาจารย์ การให้เงินประจำตำแหน่งวิชาการ งบประมาณการวิจัย การกำกับดูแล ฯลฯ เชื่อว่าปีหนึ่ง ๆ นักศึกษาในมหาวิทยาลัยเอกชนก็ได้รับอานิสงส์จากภาษีอากรของประชาชน เป็นเงินไม่น้อยเช่นกัน
เยาวชนไทยจึงควรมาร่วมกันสร้างอุดมการณ์เพื่อชาติด้วยการมุ่งรับใช้ประชาชนเมื่อจบการศึกษาแล้ว ไม่ใช่มุ่งแต่กอบโกยเพื่อตนเองซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวงจรอุบาทว์ทำลายชาติ การรับใช้ประชาชนและประเทศชาติเป็นพันธกิจอันศักดิ์สิทธิ์ของนักศึกษา การเริ่มต้นคิดเพื่อส่วนรวม ย่อมเป็นมงคลต่อตนเอง และทำให้เกิดการเติบโตอย่างยั่งยืนในที่สุด
คงต้องปิดท้ายด้วยเพลง เป้าหมายการศึกษา {ก} ซึ่งแต่งโดยคุณนเรศ นโรปกรณ์ เมื่อราว 35 ปีก่อน ความว่า:
เพียงหวังจะเฟื้องฟุ้ง หรือจะมุ่งมาศึกษา
เพียงเพื่อปริญญา เอาตัวรอดเท่านั้นฤา
แท้ควรสหายคิด และตั้งจิตร่วมยึดถือ
รับใช้ประชาคือ ปลายทางเราที่เล่าเรียน
หมายเหตุ:
ข้อมูลอ้างอิงตามข้อข้างต้น แสดงเป็นข้อ ๆ ในท้ายนี้:
1. งบประมาณ http://www.bb.go.th/FILEROOM/CABBBIWEBF ... 000038.PDF หน้า 98
2. http://www.moe.go.th/data_stat/Download ... ex2549.xls
4. รายงานประจำปี สนง.คณะกรรมการอุดมศึกษา ปี 2551 www.mua.go.th/data_main/51.pdf หน้า 159
5. http://www.moe.go.th/data_stat/Download ... ex2549.xls
8. รายงานประจำปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://www.chula.ac.th/chula/resources/ ... on/RE8.pdf
9. โปรดดู http://www.chula.ac.th/chula/resources/ ... on/RE4.pdf
11. งบประมาณจากรัฐให้จุฬาฯ http://www.bb.go.th/FILEROOM/CABBBIWEBF ... 000038.PDF หน้า 89
13. รายได้จากการจัดการเรียน = 16% ของรายได้ทั้งหมดของจุฬาฯ http://www.chula.ac.th/chula/resources/ ... on/RE6.pdf
{ก} ครั้งแรกที่เผยแพร่บทความนี้ในประชาไท (http://www.prachatai.com/05web/th/home/15535) ผมเขียนชื่อผู้แต่งผิด ดร.สมศักดิ์ เจียมธีระสกุลได้แสดงความเห็นทักท้วง จึงโปรดดูรายละเอียดได้ที่ http://www.prachatai.com/05web/th/home/ ... ilightNews และโปรดดูเนื้อเพลงและฟังเพลง เป้าหมายการศึกษา ได้ที่ http://www.purelovenet.com/HTML/Songs/Edu_Life.html
ดร.โสภณ พรโชคชัย
ประธานกรรมการ มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย
นี่ก็ใกล้จบปีการศึกษาแล้ว ผมจึงขอถือโอกาสนี้เขียนบทความนี้ให้กับเยาวชนคนหนุ่มสาวที่กำลังจะจบการศึกษา ให้รู้จักตระหนักรู้ถึงภารกิจการรับใช้ประชาชน นอกเหนือจากการมุ่งสนใจกับตนเองที่ใบหน้า เสื้อผ้าหรือที่ศักดิ์ศรีที่ไร้สาระจนแสดงความเถื่อนด้วยการยกพวกตีกัน (ของนักเรียนช่างกล) ซึ่งเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ศกนี้ ที่หน้าศูนย์การค้ามาบุญครอง
สมัยผมเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อปี 2519 ก็มีคำพูดเท่ๆ ว่า ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน ตอนนั้นผมยังงงอยู่เหมือนกันว่า แล้วทำไมที่อื่นไม่สอนให้รักประชาชนบ้างหรือ อย่างไรก็ตามตอนผมเรียน ผมก็ไม่เคยได้ยินอาจารย์คนไหนสอนอย่างนี้ และเดี๋ยวนี้มีสอนหรือไม่ผมก็ไม่ทราบ
แต่ที่ผมอยากให้ทุกคนได้ทราบก็คือ จากข้อเท็จจริงแท้แน่นอน (Hard Facts) นั้น การเรียนเพื่อไปรับใช้ประชาชน เป็นภาระหน้าที่อันศักดิ์สิทธิ์ของนักศึกษาอย่างแท้จริง แต่นักศึกษาส่วนใหญ่ก็แทบไม่เคยสำนึกในข้อนี้ แต่อาจกลับทำตัวเป็นอภิสิทธิชน ผู้รับประโยชน์จากภาษีของประชาชน โดยไม่ได้ ให้ อะไรเป็นการตอบแทนบุญคุญของประชาชนเลย แถมเมื่อเป็นใหญ่เป็นโต ยังอาจกลับมาปล้นชิงผลประโยชน์ของประชาชนด้วยการทุจริตและประพฤติมิชอบเสียอีก
เรามาดูกันให้ชัด ๆ ว่า ทำไมเราจึงต้องศึกษาเพื่อรับใช้ประชาชน ท่านทราบหรือไม่ว่า
1. งบประมาณกระทรวงศึกษาธิการ ปี 2551 = 301,085 ล้านบาท
งบประมาณจำนวนนี้มีสัดส่วนถึงประมาณ 18% ของงบประมาณแผ่นดินทั้งประเทศ ซึ่งนับว่าไม่น้อยเลยที่รัฐจัดหามาเพื่อการศึกษาของประชาชน
2. จำนวนนักเรียน นักศึกษาทั่วประเทศ ณ ปี 2549 = 14,443,776 คน
ประเทศไทยมีประชากรอยู่ราว 65 ล้านคน นักเรียนนักศึกษาที่ส่วนมากยังไม่ได้เป็นผู้ผลิตใด ๆ แก่สังคม มีจำนวนถึงประมาณ 22% ของประชากรทั้งหมด นี่คืออนาคตของชาติที่ต้องดูแล
3. ค่าใช้จ่ายต่อนักเรียน นักศึกษา 1 คนต่อปีที่รัฐออกให้ = 20,845 บาท
ตัวเลขในข้อนี้เป็นผลจากการเอาข้อ 1 หารด้วยข้อ 2 นั้นเอง เงินจำนวนนี้มาจากภาษีอากรของประชาชนทั่วประเทศ ที่ออกให้กับประชากรที่เป็นเยาวชนที่ยังไม่เคยเสียภาษีสักบาท โดยหวังว่าเด็กและเยาวชนทั้งหลายจะเติบโต รู้สึกนึกที่จะ คืนกำไร โดยทำตัวเป็นกำลังสำคัญในการรับใช้ประชาชนและประเทศชาติในวันหน้า
4. งบประมาณของ สนง.คณะกรรมการการอุดมศึกษา ปี 2551 = 69,542 ล้านบาท
นี่เป็นข้อมูลเพื่อที่จะพิจารณาถึงการจัดการศึกษาเฉพาะในระดับอุดมศึกษา ซึ่งเงินจำนวนนี้สูงถึงประมาณ 23% ของงบประมาณการจัดการศึกษาทั้งหมดของกระทรวงศึกษาธิการ
5. จำนวนนักศึกษา = 1,950,892 คน
นิสิต นักศึกษาที่เรียนในระดับปริญญาตรีขึ้นไปมีถึงเกือบ 2 ล้านคน หรือราว 14% ของนักเรียน นิสิตนักศึกษาทั่วประเทศ แต่ใช้เงินถึง 23% ของงบประมาณการศึกษาทั้งหมดในข้อ 4 การนี้แสดงว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการสร้าง ปัญญาชน
6. ค่าใช้จ่ายต่อนักศึกษา 1 คนต่อปีที่รัฐออกให้ = 35,646 บาท
เมื่อนำตัวเลขในข้อ 4 มาหารด้วยข้อ 5 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ค่าใช้จ่ายของนักศึกษาต่อคนเป็นเงิน 35,646 บาท มากกว่าของนักเรียน นิสิตและนักศึกษาโดยรวม
7. ค่าใช้จ่ายต่อนักเรียน 1 คนต่อปีที่รัฐออกให้ = 18,534 บาท
เมื่อได้ข้อมูลทั้งหมดข้างต้น เราจึงสามารถคำนวณได้ว่า เฉพาะส่วนที่เป็นนักเรียนต่ำกว่าปริญญาตรี รัฐบาลออกเงินให้เป็นเงินปีละ 18,534 บาท ซึ่งต่ำกว่าค่าใช้จ่ายของนักศึกษาระดับปริญญาตรี (35,646 บาท ตามข้อ 6) ขึ้นไปถึงเกือบเท่าตัว
8. ค่าใช้จ่ายของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ 30 กันยายน 2551 = 8,895 ล้านบาท
ในที่นี้ใช้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาเป็นกรณีตัวอย่าง ซึ่ง ณ ปีงบประมาณ 2551 มหาวิทยาลัยแห่งนี้มีค่าใช้จ่ายทั้งหมด 8,895 ล้านบาท
9. จำนวนนิสิตจุฬาฯ ทุกระดับชั้นทั้งหมด ณ ปีการศึกษา 2551 = 33,821 คน
ข้อมูลในส่วนของนักศึกษาพบว่ามีจำนวนนักศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไป ณ ปีการศึกษา 2551 จำนวน 33,821 คน ซึ่งถือว่าสูงมากเพราะเป็นสถาบันอุดมศึกษาขนาดใหญ่
10. ค่าใช้จ่ายโดยรวมต่อนิสิต 1 คน = 262,993 บาท
ในกรณีนี้จึงอาจอนุมานได้ว่า ค่าใช้จ่ายโดยรวมต่อนิสิต 1 คนเป็นเงินสูงถึง 262,993 บาท อย่างไรก็ตามเงินทั้งหมดไม่ได้เป็นเงินที่จัดการศึกษาโดยตรง แต่อาจเป็นค่าใช้จ่ายด้านอื่น ๆ เช่น การก่อสร้างอาคาร การพัฒนาอาจารย์หรืออื่น ๆ แต่ในที่นี้อนุโลมใช้ตัวเลขจำนวนนักศึกษามาหารเพื่อการทำความเข้าใจที่ง่ายและชัดเจน เพราะในระบบการศึกษา ถือว่านักศึกษาหรือผู้ใช้บริการคือศูนย์กลาง
11. งบประมาณจากรัฐให้กับจุฬาฯ ณ ปีงบประมาณ 2551 = 3,545 ล้านบาท
อย่างไรก็ตามจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใช้จ่ายเงินเฉพาะจากงบประมาณแผ่นดินเพียง 3,545 ล้านบาท แสดงว่าค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่มาจากเงินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเอง ซึ่งคงเป็นดอกผลจากค่าบริการวิชาการ ค่าเช่าที่ดิน-อาคาร เช่น มาบุญครอง สยามสแควร์ ฯลฯ เพื่อนำมาสนับสนุนกิจกรรมทางการศึกษาในรูปการต่าง ๆ
12. ค่าใช้จ่ายโดยรวมต่อนิสิต 1 คนที่รัฐออกให้ = 104,828 บาท
จากตัวเลขในข้อ 11 เมื่อนำมาหารด้วยจำนวนนิสิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็แสดงว่าค่าใช้จ่ายของนิสิตจุฬาฯ ในส่วนที่รัฐบาลออกให้โดยตรง เป็นเงินประมาณ 104,828 บาทต่อปี
13. รายได้ของจุฬาฯ จากการจัดการเรียนการสอน ปี 2551 = 2,045 ล้านบาท
จากข้อมูลของจุฬาฯ ระบุว่า รายได้ที่ได้จากการจัดเก็บค่าหน่วยกิต ค่าธรรมเนียม ค่าฝึกอบรมและอื่น ๆ จากนักศึกษานั้น เป็นรายได้ส่วนน้อยเพียง 16% ของแหล่งรายได้อื่น ๆ ซึ่งคำนวณได้เป็นเงินประมาณ 2,045 ล้านบาท
14. รายจ่ายที่นิสิตแต่ละคนจ่ายเองต่อปี = 60,451 บาท
จากตัวเลขในข้อ 13 เมื่อถูกหารด้วยจำนวนนิสิตทั้งหมดในจุฬาฯ ตามข้อ 9 ก็จะพบว่า นิสิตเสียค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายทางการศึกษาเป็นเงิน 60,451 บาทต่อคนต่อปี และนี่เป็นเพียงตัวเลขเฉลี่ย บางสาขาวิชาและบางสถาบันอาจสูงหรือต่ำกว่านี้
จากตัวเลขทั้งหมดข้างต้น จึงอาจสรุปได้ชัดเจนว่า ค่าใช้จ่ายหลัก ๆ ทางการศึกษานั้นมาจากภาษีอากรของประชาชน ดังนั้นเป้าหมายการศึกษาของเราจึงควรมุ่งไปที่การรับใช้ประชาชน อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน แนวคิดการศึกษาเพื่อรับใช้ประชาชนนั้น แทบไม่เคยมีใครสอนในสถาบันอุดมศึกษายุคใหม่ นี่แสดงว่าเราขาดการทดแทนคุณต่อประชาชนและประเทศชาติ
แต่บางท่านก็อาจมีข้อสงสัยว่า แล้วพวกที่เรียนสถาบันการศึกษาเอกชน จะถือตนว่าไม่ได้ รับ ประโยชน์จากภาษีของประชาชนจึงไม่ต้องแทนคุณประชาชนหรือไม่ ผมอยากเรียนว่าสถาบันเอกชนก็ได้รับการอุดหนุนจากรัฐในหลาย ๆ กรณี เช่น การอัดฉีดเพื่อพัฒนาอาจารย์ การให้เงินประจำตำแหน่งวิชาการ งบประมาณการวิจัย การกำกับดูแล ฯลฯ เชื่อว่าปีหนึ่ง ๆ นักศึกษาในมหาวิทยาลัยเอกชนก็ได้รับอานิสงส์จากภาษีอากรของประชาชน เป็นเงินไม่น้อยเช่นกัน
เยาวชนไทยจึงควรมาร่วมกันสร้างอุดมการณ์เพื่อชาติด้วยการมุ่งรับใช้ประชาชนเมื่อจบการศึกษาแล้ว ไม่ใช่มุ่งแต่กอบโกยเพื่อตนเองซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวงจรอุบาทว์ทำลายชาติ การรับใช้ประชาชนและประเทศชาติเป็นพันธกิจอันศักดิ์สิทธิ์ของนักศึกษา การเริ่มต้นคิดเพื่อส่วนรวม ย่อมเป็นมงคลต่อตนเอง และทำให้เกิดการเติบโตอย่างยั่งยืนในที่สุด
คงต้องปิดท้ายด้วยเพลง เป้าหมายการศึกษา {ก} ซึ่งแต่งโดยคุณนเรศ นโรปกรณ์ เมื่อราว 35 ปีก่อน ความว่า:
เพียงหวังจะเฟื้องฟุ้ง หรือจะมุ่งมาศึกษา
เพียงเพื่อปริญญา เอาตัวรอดเท่านั้นฤา
แท้ควรสหายคิด และตั้งจิตร่วมยึดถือ
รับใช้ประชาคือ ปลายทางเราที่เล่าเรียน
หมายเหตุ:
ข้อมูลอ้างอิงตามข้อข้างต้น แสดงเป็นข้อ ๆ ในท้ายนี้:
1. งบประมาณ http://www.bb.go.th/FILEROOM/CABBBIWEBF ... 000038.PDF หน้า 98
2. http://www.moe.go.th/data_stat/Download ... ex2549.xls
4. รายงานประจำปี สนง.คณะกรรมการอุดมศึกษา ปี 2551 www.mua.go.th/data_main/51.pdf หน้า 159
5. http://www.moe.go.th/data_stat/Download ... ex2549.xls
8. รายงานประจำปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://www.chula.ac.th/chula/resources/ ... on/RE8.pdf
9. โปรดดู http://www.chula.ac.th/chula/resources/ ... on/RE4.pdf
11. งบประมาณจากรัฐให้จุฬาฯ http://www.bb.go.th/FILEROOM/CABBBIWEBF ... 000038.PDF หน้า 89
13. รายได้จากการจัดการเรียน = 16% ของรายได้ทั้งหมดของจุฬาฯ http://www.chula.ac.th/chula/resources/ ... on/RE6.pdf
{ก} ครั้งแรกที่เผยแพร่บทความนี้ในประชาไท (http://www.prachatai.com/05web/th/home/15535) ผมเขียนชื่อผู้แต่งผิด ดร.สมศักดิ์ เจียมธีระสกุลได้แสดงความเห็นทักท้วง จึงโปรดดูรายละเอียดได้ที่ http://www.prachatai.com/05web/th/home/ ... ilightNews และโปรดดูเนื้อเพลงและฟังเพลง เป้าหมายการศึกษา ได้ที่ http://www.purelovenet.com/HTML/Songs/Edu_Life.html