วิธีดูหุ้น telecom sector โดย hongvalue
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ม.ค. 11, 2009 11:13 pm
พอดีมีพี่คนนึง บ้านอยู่แถวๆ ศาลาแดงหนึ่ง สอนผมมา อย่างละเอียดยิบๆๆ
รู้สึกพี่เขาจะไปเรียนมาจากโครงการอะไรซักอย่างเนี้ยแหละ
ผมเลยขออนุญาติคนพี่ท่านนั้นนำมาเล่าต่อ แบบง่ายๆ ในแบบฉบับของผมเอง
เชิญชมตอนแรกกันได้เลยครับ
จริงๆกลุ่มนี้แบ่งเป็น 4 กลุ่มย่อย
คือ
network service = advanc, dtac, true, tt&t, thcom ,csl, inet
system integrations = ait, forth ,jts ,mfec ,samtel
distribution =bliss, iec ,mlink, sim, svoa, synex, tks, twz
hoding =jas, samart ,shin
ขอพูดถึง network service ก่อน
พูดถึงหุ้นกลุ่มนี้ก็ต้องพูดถึงสัมปทานก่อน
สัมปทานจะแบ่งเป็นโทรศัพท์ fix line กับ mobile
fix line คนที่ได้สัมปทานจาก องค์กรโทรศัพท์คือ true ,tt&t
mobile คนได้จาก องค์กรคือ ais คนได้จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยคือ
dtac true
ประเด็นก็คือเมื่อก่อน dtac กับ true จ่ายค่าสัมปทานให้ การสื่อสาร
แต่ว่าสัญญาณไม่พอ(ประมาณนี้)เลยไปแชร์กับ องค์กรโทรศัพท์ด้วย
ทำให้ dtac true เสียค่าสัมปทานสองต่อก็คือ
ทั้งองค์กรณ์และการสื่อสาร แต่ advanc เสียสัปทานต่อเดียว
เรียกระบบนี้ว่า access charge
ต่อมา ntc หรือ กทช ได้กำหนดให้มีค่า ic คือ interconnection charge
ทำให้ dtac true ไม่จ่ายค่าสัมปทานให้การสื่อสารอีกต่อไป
แต่การสื่อสารไม่ยอมจึงฟ้องร้อง
ผม copy รายงานผู้สอบบัญชีมาให้อ่าน
ใครขี้เกียจอ่านให้ดูที่ผมทำสีแดงนะ
ตามที่กล่าวในหมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาลข้อ 24 เกี่ยวกับคดีฟ้องร้องระหว่างบริษัทฯกับบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (ทีโอที) โดยเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2549 บริษัทฯได้ทำหนังสือแจ้งให้ทีโอทีและบริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (กสท.) ทราบว่าบริษัทฯจะเปลี่ยนแปลงอัตราการคำนวณค่าเชื่อมโยงโครงข่ายโทรคมนาคม (Access Charge) ตามข้อตกลงเดิมที่ทำกับทีโอที และ จะชำระค่าตอบแทนการเชื่อมโยงโครงข่ายให้แก่ทีโอทีในอัตราค่าเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม (Interconnection Charge) ที่สอดคล้องกับกฎหมายหรือในอัตราค่าตอบแทนชั่วคราวที่คณะกรรมการ
กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ประกาศในระหว่างที่การเจรจากับทีโอทียังไม่แล้วเสร็จ โดยบริษัทฯได้บันทึกค่าเชื่อมโยงโครงข่ายโทรคมนาคม (Access Charge) ในอัตราค่าเชื่อมต่อโครงข่าย (Interconnection Charge) ดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 17 พฤศจิกายน 2549 ถึงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2550 ไว้แล้วในงบการเงินจำนวน 1,973 ล้านบาท แต่ทีโอทีได้แจ้งปฏิเสธที่จะรับเงินค่าตอบแทนการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม (Interconnection Charge) ดังกล่าว โดยทีโอทีได้แจ้งว่าบริษัทฯไม่มีสิทธิเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมกับทีโอทีเนื่องจากบริษัทฯมิได้เป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมจากกทช.และมิได้มีโครงข่ายโทรคมนาคมเป็นของตนเองและข้อตกลงเดิมก็มิได้ขัดต่อกฎหมายแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2550 บริษัทฯจึงได้ส่งจดหมายไปยังทีโอทีเพื่อแจ้งยกเลิกข้อเสนอของบริษัทฯในเรื่องที่บริษัทฯได้แสดงความประสงค์ที่จะชำระค่าเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม (Interconnection Charge) และได้แจ้งยกเลิกข้อตกลงการเชื่อมโยงโครงข่ายโทรคมนาคมเดิมทั้งสองฉบับ (Access Charge) บริษัทฯจึงมิได้บันทึกค่าเชื่อมโยงโครงข่ายโทรคมนาคม (Access Charge) ตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2550 จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2551 ในงบการเงิน เพราะเห็นว่าภาระที่จะต้องชำระค่าเชื่อมโยงโครงข่ายโทรคมนาคม (Access charge) ตามสัญญาเดิมได้สิ้นสุดลง
เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2550 ทีโอทีได้ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่ง เรียกร้องให้บริษัทฯและกสท.ร่วมกันชำระ ค่าเชื่อมโยงโครงข่ายโทรคมนาคม (Access Charge) ช่วงระหว่างวันที่ 17 พฤศจิกายน 2549 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2550 พร้อมดอกเบี้ยและภาษีมูลค่าเพิ่มรวมจำนวน 11,705 ล้านบาท และขอให้ชำระ ค่าเชื่อมโยงโครงข่าย (Access Charge) นับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 เป็นต้นไปต่อจนกว่าข้อตกลงระหว่าง ทีโอที กสท.และบริษัทฯจะสิ้นสุดลง และให้ชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1.25 ต่อเดือนนับแต่วันผิดนัดชำระของแต่ละงวดจนกว่าจะชำระให้แก่ทีโอทีครบถ้วน
จากความเห็นของที่ปรึกษากฎหมายของบริษัทฯ ผู้บริหารของบริษัทฯมีความเชื่อมั่นว่าบริษัทฯไม่มีภาระที่จะต้องชำระค่าเชื่อมโยงโครงข่าย (Access Charge) ตามข้อตกลงในจำนวนที่ทีโอทีฟ้องร้อง เนื่องจากข้อตกลงเดิมดังกล่าวไม่เป็นไปตามหลักกฎหมายในปัจจุบัน (ประกาศของกทช.) และบริษัทฯได้มีหนังสือบอกเลิกข้อตกลงเดิมแล้ว ผู้บริหารของบริษัทฯเชื่อว่าคำตัดสินของศาลไม่น่าจะส่งผลกระทบอย่างมีสาระสำคัญต่อฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ขณะนี้คดีดังกล่าวอยู่ภายใต้กระบวนการพิจารณาของศาล ผลของคดีดังกล่าวยังไม่สามารถระบุได้และขึ้นอยู่กับกระบวนการยุติธรรมในอนาคต
สรุปว่า dtac ถูกฟ้อง และเชื่อว่าจะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไร
ดังนั้นคนที่เล่น ais จะ save กว่าในกรณีที่ไม่โดนฟ้องแบบนี้
บางท่านบอกว่าราคาหุ้น dtac อยู่บนสมมุติฐานไม่ต้องเสียค่าปรับกรณี access charge แต่ถ้าเสียก็
(ผู้ถือหุ้น dtac ผมไม่ได้ว่าว่าอะไรหุ้นนะ แค่พูดรวมๆ)
จบตอนแรกก่อนนะ คงน่าเบื่อนะ เรื่องสัมปทาน
เดี่ยวจะมาเล่าต่อ เรื่อง interconnection charge มันทำให้รายได้ของ
network service เปลี่ยนไปจากเมื่อก่อนมากน้อยแค่ไหน
และนักลงทุนจะคาดการณ์รายได้จากส่วนนี้ยังไง ขอไปนอนก่อนล่ะ
รู้สึกพี่เขาจะไปเรียนมาจากโครงการอะไรซักอย่างเนี้ยแหละ
ผมเลยขออนุญาติคนพี่ท่านนั้นนำมาเล่าต่อ แบบง่ายๆ ในแบบฉบับของผมเอง
เชิญชมตอนแรกกันได้เลยครับ
จริงๆกลุ่มนี้แบ่งเป็น 4 กลุ่มย่อย
คือ
network service = advanc, dtac, true, tt&t, thcom ,csl, inet
system integrations = ait, forth ,jts ,mfec ,samtel
distribution =bliss, iec ,mlink, sim, svoa, synex, tks, twz
hoding =jas, samart ,shin
ขอพูดถึง network service ก่อน
พูดถึงหุ้นกลุ่มนี้ก็ต้องพูดถึงสัมปทานก่อน
สัมปทานจะแบ่งเป็นโทรศัพท์ fix line กับ mobile
fix line คนที่ได้สัมปทานจาก องค์กรโทรศัพท์คือ true ,tt&t
mobile คนได้จาก องค์กรคือ ais คนได้จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยคือ
dtac true
ประเด็นก็คือเมื่อก่อน dtac กับ true จ่ายค่าสัมปทานให้ การสื่อสาร
แต่ว่าสัญญาณไม่พอ(ประมาณนี้)เลยไปแชร์กับ องค์กรโทรศัพท์ด้วย
ทำให้ dtac true เสียค่าสัมปทานสองต่อก็คือ
ทั้งองค์กรณ์และการสื่อสาร แต่ advanc เสียสัปทานต่อเดียว
เรียกระบบนี้ว่า access charge
ต่อมา ntc หรือ กทช ได้กำหนดให้มีค่า ic คือ interconnection charge
ทำให้ dtac true ไม่จ่ายค่าสัมปทานให้การสื่อสารอีกต่อไป
แต่การสื่อสารไม่ยอมจึงฟ้องร้อง
ผม copy รายงานผู้สอบบัญชีมาให้อ่าน
ใครขี้เกียจอ่านให้ดูที่ผมทำสีแดงนะ
ตามที่กล่าวในหมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาลข้อ 24 เกี่ยวกับคดีฟ้องร้องระหว่างบริษัทฯกับบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (ทีโอที) โดยเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2549 บริษัทฯได้ทำหนังสือแจ้งให้ทีโอทีและบริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (กสท.) ทราบว่าบริษัทฯจะเปลี่ยนแปลงอัตราการคำนวณค่าเชื่อมโยงโครงข่ายโทรคมนาคม (Access Charge) ตามข้อตกลงเดิมที่ทำกับทีโอที และ จะชำระค่าตอบแทนการเชื่อมโยงโครงข่ายให้แก่ทีโอทีในอัตราค่าเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม (Interconnection Charge) ที่สอดคล้องกับกฎหมายหรือในอัตราค่าตอบแทนชั่วคราวที่คณะกรรมการ
กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ประกาศในระหว่างที่การเจรจากับทีโอทียังไม่แล้วเสร็จ โดยบริษัทฯได้บันทึกค่าเชื่อมโยงโครงข่ายโทรคมนาคม (Access Charge) ในอัตราค่าเชื่อมต่อโครงข่าย (Interconnection Charge) ดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 17 พฤศจิกายน 2549 ถึงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2550 ไว้แล้วในงบการเงินจำนวน 1,973 ล้านบาท แต่ทีโอทีได้แจ้งปฏิเสธที่จะรับเงินค่าตอบแทนการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม (Interconnection Charge) ดังกล่าว โดยทีโอทีได้แจ้งว่าบริษัทฯไม่มีสิทธิเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมกับทีโอทีเนื่องจากบริษัทฯมิได้เป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมจากกทช.และมิได้มีโครงข่ายโทรคมนาคมเป็นของตนเองและข้อตกลงเดิมก็มิได้ขัดต่อกฎหมายแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2550 บริษัทฯจึงได้ส่งจดหมายไปยังทีโอทีเพื่อแจ้งยกเลิกข้อเสนอของบริษัทฯในเรื่องที่บริษัทฯได้แสดงความประสงค์ที่จะชำระค่าเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม (Interconnection Charge) และได้แจ้งยกเลิกข้อตกลงการเชื่อมโยงโครงข่ายโทรคมนาคมเดิมทั้งสองฉบับ (Access Charge) บริษัทฯจึงมิได้บันทึกค่าเชื่อมโยงโครงข่ายโทรคมนาคม (Access Charge) ตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2550 จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2551 ในงบการเงิน เพราะเห็นว่าภาระที่จะต้องชำระค่าเชื่อมโยงโครงข่ายโทรคมนาคม (Access charge) ตามสัญญาเดิมได้สิ้นสุดลง
เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2550 ทีโอทีได้ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่ง เรียกร้องให้บริษัทฯและกสท.ร่วมกันชำระ ค่าเชื่อมโยงโครงข่ายโทรคมนาคม (Access Charge) ช่วงระหว่างวันที่ 17 พฤศจิกายน 2549 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2550 พร้อมดอกเบี้ยและภาษีมูลค่าเพิ่มรวมจำนวน 11,705 ล้านบาท และขอให้ชำระ ค่าเชื่อมโยงโครงข่าย (Access Charge) นับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 เป็นต้นไปต่อจนกว่าข้อตกลงระหว่าง ทีโอที กสท.และบริษัทฯจะสิ้นสุดลง และให้ชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1.25 ต่อเดือนนับแต่วันผิดนัดชำระของแต่ละงวดจนกว่าจะชำระให้แก่ทีโอทีครบถ้วน
จากความเห็นของที่ปรึกษากฎหมายของบริษัทฯ ผู้บริหารของบริษัทฯมีความเชื่อมั่นว่าบริษัทฯไม่มีภาระที่จะต้องชำระค่าเชื่อมโยงโครงข่าย (Access Charge) ตามข้อตกลงในจำนวนที่ทีโอทีฟ้องร้อง เนื่องจากข้อตกลงเดิมดังกล่าวไม่เป็นไปตามหลักกฎหมายในปัจจุบัน (ประกาศของกทช.) และบริษัทฯได้มีหนังสือบอกเลิกข้อตกลงเดิมแล้ว ผู้บริหารของบริษัทฯเชื่อว่าคำตัดสินของศาลไม่น่าจะส่งผลกระทบอย่างมีสาระสำคัญต่อฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ขณะนี้คดีดังกล่าวอยู่ภายใต้กระบวนการพิจารณาของศาล ผลของคดีดังกล่าวยังไม่สามารถระบุได้และขึ้นอยู่กับกระบวนการยุติธรรมในอนาคต
สรุปว่า dtac ถูกฟ้อง และเชื่อว่าจะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไร
ดังนั้นคนที่เล่น ais จะ save กว่าในกรณีที่ไม่โดนฟ้องแบบนี้
บางท่านบอกว่าราคาหุ้น dtac อยู่บนสมมุติฐานไม่ต้องเสียค่าปรับกรณี access charge แต่ถ้าเสียก็
(ผู้ถือหุ้น dtac ผมไม่ได้ว่าว่าอะไรหุ้นนะ แค่พูดรวมๆ)
จบตอนแรกก่อนนะ คงน่าเบื่อนะ เรื่องสัมปทาน
เดี่ยวจะมาเล่าต่อ เรื่อง interconnection charge มันทำให้รายได้ของ
network service เปลี่ยนไปจากเมื่อก่อนมากน้อยแค่ไหน
และนักลงทุนจะคาดการณ์รายได้จากส่วนนี้ยังไง ขอไปนอนก่อนล่ะ