คุณ ih ครับ ภาค 13-14
โพสต์แล้ว: จันทร์ ธ.ค. 15, 2008 12:41 am
พอดีถามแล้วคิดว่าได้อะไรเยอะมาก
เลยนำมาโพสในนี้ด้วยนะครับ
ภาค 13
1.ไม่ทราบมีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับ 3 ยักษ์ดีทรอบด์ค่ายรถ
ใน usa เพราะไม่รู้จะล้มละลายกี่แห่ง และ เห็นว่าถ้า 3 ค่ายรถนี้
ล้มละลายน่าจะส่งผลกระทบต่อการว่างงาน ระดับ 2.5-3 ล้านคน
(ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 13-16 เดือน 11 หน้า 16)
เพราะจะส่งผลกระทบไปยัง supply ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย
ส่วนตัวไม่แน่ใจว่าตัวเลข 2-5-3 ล้านคนเวอร์ไปไหมน่ะครับ
และพี่ ih มีความเห็นเรื่องการล้มละลายของ 3 บริษัทนี้โอกาศเกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหน และถ้าเกิดจริงจะส่งผลกระทบแค่ไหนครับ
- ช่วงที่เศรษฐกิจสหรัฐและเศรษฐกิจโลกยังดีอยู่นั้น ค่ายรถ Big3 ของสหรัฐเองก็ไม่ได้อยู่ในสถานการณ์ที่ดีนัก โดยเฉพาะ GM หรือกระทั่ง Chrysler ซึ่งไปรวมกับ Daimler ที่ท้ายสุด Daimler ก็ต้องขาย Chrysler ออกมา
เหตุผลที่ค่ายรถ Big3 ของสหรัฐลำบากนั้นก็เพราะว่าเดิมทีค่ายรถทั้ง 3 นั้นก็พึ่งพาตลาดในประเทศเป็นหลัก โดยที่ไม่ได้เน้นการทำการตลาดต่างประเทศนักเพราะตลาดในประเทศนั้นใหญ่มากพอ และเราคนไทยก็เห็นว่าช่วงก่อนๆ นี้ค่ายรถ Big3 แทบจะไม่ได้เข้ามาลงทุนหรือทำการตลาดในบ้านเราเลย ก็จะเริ่มมีก็ตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมาแต่ก็ดูเหมือนว่าจะสายเกินไปเพราะรถอย่าง Chevrolet หรือ Ford ก็ไม่ได้รับความนิยมมากนักในปัจจุบัน และในช่วง 10-30 ปีก่อน คนอเมริกันก็นิยมซื้อรถสัญชาติอเมริกันด้วยกัน ซึ่งหากเราดูหนัง Hollywood ยุคก่อนๆ จะเห็นได้ชัดว่าแทบไม่เคยเห็นรถญี่ปุ่นในหนังเลยและมักจะเป็นรถคันใหญ่ๆ กินน้ำมัน แต่มา 10 ปีหลังนี้ รถยนต์ที่ได้รับความนิยมในสหรัฐและรถที่ได้รับการ vote ยอดเยี่ยมกลับกลายเป็นรถสัญชาติญี่ปุ่นมากขึ้น ด้วยเหตุผลเรื่องคุณภาพและความนิยมของตลาดมานิยมรถขนาดเล็กหรือกลางมากขึ้น จากราคาน้ำมันทีแพงขึ้น เช่น Lexus Honda Accord หรือ Nissan Infinity ( หน้าตาจะคล้ายๆ Teana บ้านเรา ) และค่ายรถญี่ปุ่นนั้นก็ได้มุ่งเน้นในเรื่องการลดต้นทุนการผลิตมากกว่า Big3 โดยเฉพาะการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีค่าแรงถูกกว่า
มีช่วงหนึ่งที่ Big3 มีสถานการณ์ที่ดีขึ้นมาบ้างใน 4-5 ปีก่อนคือ กระแสนิยมในรถ SUV ซึ่ง Ford และ Chrysler ทำได้ดีในรุ่น Escape และ Cherokee แต่เมื่อราคาน้ำมันเริ่มแพงใน 2-3 ปีที่ผ่านมาก็ทำให้ Big3 ก็ทำให้ยอดขาย SUV ลดลงและ Big3 ก็ตกอยู่ในสถานการณ์ลำบากอีกครั้งหนึ่ง
ดังนั้นจุดล้มเหลวของค่ายรถ Big3 ก็คือ การ focus อยู่ในตลาดในประเทศมากเกินไป และสินค้าเน้นรถขนาดใหญ่มากเกินไป และการที่เสียตลาดในประเทศให้กับรถจากญี่ปุ่น และเมื่อเสียตลาดในประเทศแล้วก็ไม่สามารถไปเปิดตลาดในต่างประเทศได้มากพอที่จะชดเชย นอกจากนี้ ต้นทุนการผลิตที่สูงกว่า ระบบเงินเดือนและสวัสดิการที่เป็นระบบบำนาญและการประกันสุขภาพก็เป็นปัจจัยกดดันต้นทุนของรถที่ผลิตในสหรัฐอเมริกา
ดังนั้นผมคิดว่าการที่ Big3 จะมีขนาดเล็กลงหรือถูกซื้อกิจการแยกส่วนนั้นมีความเป็นไปได้ครับแต่ไม่ได้มีสาเหตุหลักจากภาวะเศรษฐกิจครั้งนี้ แต่เป็นปัญหาโครงสร้างที่เกิดขึ้นมายาวนานและวิกฤติครั้งนี้เป็นตัวซ้ำเติมให้มันเลวร้ายลงไปมาก
2.อ่านเจอว่า จีเอ็ม ในไตรมาส 3 ยอดขายรถยนต์ทั่วโลก 2.1 ล้านคัน
ลดลง 11% yoy
อยากถาม่าทำไมยอดขายลดลงเพียงแค่นี้ถึงกับทำให้บริษัทนี้มีความเสี่ยงทื่จะล้มละลายได้เลยเหรอ
เป็นเพราะว่าบริษัทผลิตรถยนต์มี fix cost เยอะหรือครับ
- Fixed cost เยอะครับ ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้างพนักงาน ค่าเสื่อมราคา ดอกเบี้ย ค่าวิจัยพัฒนา ฯลฯ ดังนั้นเมื่อสถานการณ์เดิมเจียนอยู่เจียนไปอยู่แล้ว ยอดขายที่ลดลง 11% ก็เพียงพอที่จะทำให้มีปัญหาทางการเงินได้ครับ
ผมคิดว่ารัฐคงจะต้องเข้ามาช่วยเหลือ 3 บริษัทนี้ เพราะ to big to fail แต่จะมีการปรับโครงสร้างขนานใหญ่ด้วยการขายสินทรัพย์แบบแยกส่วน ยุบธุรกิจและตลาดที่ไม่สร้างกำไร เพื่อให้ธุรกิจมีขนาดเล็กลงที่สุดเท่าที่จะทำให้อยู่ต่อไปได้ครับ และต้องยอมรับว่า Big3 จะกลับไปใหญ่เหมือนเดิมไม่ได้อีกแล้วครับ
3.ส่วนนึงที่บริษัทค่ายใน usa ปะคองตัวไม่รอด ถ้าเทียบกับญี่ปุ่น
(ผมไม่เห็นเจอข่าวค่ายรถญี่ปุ่นมีปัญหา) เป็นเพราะว่า
ค่ายรถที่ us บริหารไม่ดี ไม่มี know how ถ้าเทียบกับญี่ปุ่น
อย่าง honda toyota
- คำตอบส่วนหนึ่งคงอยู่ในคำตอบข้อ 1 แล้ว จุดเด่นของเศรษฐกิจสหรัฐและคนอเมริกันคือ เรื่องความคิดสร้างสรรค์ ความยืดหยุ่นในการทำงาน และความสามารถในการทำงานร่วมกันเป็นทีมภายใต้ความแตกต่างทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านความคิด เชื้อชาติ สีผิว ศาสนา เราคงจะเห็นในหนัง Hollywood แล้วว่าบางทีในเรื่องคนทำงานก็ไม่ถูกกันแต่ถ้ามีเป้าหมายร่วมกันก็มักจะร่วมมือทำงานให้สำเร็จได้ หนังเรื่องหนึ่งที่ผมนึกถึงคือ LA Confidential ครับ
ส่วนจุดเด่นของคนญี่ปุ่นอยู่ที่ความขยัน อดทน และวินัยการทำงาน ซึ่งรถยนต์ก็นับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ผ่านจุดที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์มานานแล้ว ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จที่สำคัญคือ เรื่องต้นทุน ดังนั้นในระยะยาว ธุรกิจรถยนต์คงไม่ใช่ธุรกิจที่สหรัฐจะมีความได้เปรียบในการแข่งขันครับ แต่เช่นกันครับ เราก็คงไม่เห็นความสำเร็จของญี่ปุ่นในบาง area เช่นกันครับ เช่น การเป็นบริษัท software ขนาดใหญ่ การเป็นเจ้าของ website ระดับโลก การสร้างภาพยนตร์ การสำรวจอวกาศ อาวุธสงคราม ฯลฯ ดังนั้นเมื่อโลกปัจจุบันเป็นโลกของการที่คนที่ทำได้ดีกว่าคู่แข่งเท่านั้นจึงอยู่ได้ ดังนั้นดูเหมือนว่าสหรัฐคงมีพื้นที่ให้ยืนน้อยลงไปเรื่อยๆ ในอุตสาหกรรมรถยนต์ครับ
แต่อย่างที่ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ ผมจำไม่ได้ว่าใครเป็นคนคิดระหว่าง Krugman หรือ Porter ( น่าจะเป็น Krugman ) ก็คือ ทุกประเทศยังมีจุดยืนครับแต่คนละ segment ครับ และตามความนิยมของผู้บริโภคที่หลากหลายแตกต่างกัน เพราะสินค้าไม่สามารถทดแทนกันได้ และราคาไม่ได้เป็นปัจจัยเดียวในการกำหนดการตัดสินใจ คนญี่ปุ่นบางคนก็ยังขับ Benz คนยุโรปก็อาจจะชอบ Lexus หรือ Accord คนอเมริกันอาจจะฟังเครื่องเสียง Sony ในขณะที่ลำโพง medium to high end ของอเมริกาอย่าง Bose ก็ยังขายดีทั่วโลก ดังนั้นไม่ใช่ว่า Sony ทำเครื่องเสียง ลำโพงได้ถูกกว่าแล้วจะต้องทำให้ Bose เจ๊ง
4.ไม่แน่ใจว่าสัดส่วนตัว c หรือ consumtion ของประเทศญี่ปุ่นกับ usa ประเทศไหนเยอะกว่า เราจะพูดได้ไหมว่า สมมุติว่า usa ตัว c ของเขา เป็นสัดส่วนที่เยอะ
เทียบกับ i ,g,x-m ถ้าสัดส่วนนี้เยอะกว่า จะทำให้บริษัทอย่างค่ายรถได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจมากกว่า
- ดูแล้วสัดส่วน c ของญี่ปุ่นจะน้อยกว่าสหรัฐมากครับเพราะเศรษฐกิจญี่ปุ่นพึ่งพาการส่งออกและรายได้จากการลงทุนตั้งฐานการผลิตในต่างประเทศเยอะเพราะคนญี่ปุ่นมีการบริโภคน้อยกว่าและมีการออมมากกว่าคนอเมริกันเยอะครับ ส่วนบริษัทรถของญี่ปุ่นในระยะยาวน่าจะได้ประโยชน์จากยอดขายที่อยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา เช่น จีน อินเดีย ฯลฯ แต่จะได้รับผลกระทบระยะสั้นถึงกลางจากภาวะเศรษฐกิจโลก ดังนั้นบางทีการที่ Big3 มีปัญหาก็เป็นโอกาสในระยะยาวของค่ายรถญี่ปุ่น หรือค่ายรถของประเทศเกิดใหม่ เช่น Tata motor ที่จะเข้าไปซื้อกิจการ Brand name หรือโรงงานบางแห่งของ Big3 ได้ครับ
5 จริงๆแล้วเราควรดูข้อมูลของ gnp ประกอบกับการดู gdp มากน้อยแค่ไหนครับ
เพราะว่าถ้าคนในประเทศไปทำงานหรือมีรายได้ที่ต่างประเทศก็จะถือเป็น
gnp ของประเทศนั้นถูกไหมครับ
แบบนี้ประเทศญี่ปุ่นที่ ย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่นๆ
ก็จะทำให้ gdp ต่ำเกินจริง แต่ gnp จะสูง พูดแบบนี้ถูกไหมครับ
สรุปถ้าประเทศไหนอยากให้เศรษฐกิจชะลอตัว
ก็ใช้วิธีให้คนไปทำงานต่างประเทศ กับ ย้ายฐานการผลิต หรือป่าวครับ
- ถ้าคนไทยประเทศไปทำงานหรือมีรายได้ที่สหรัฐก็จะถือเป็น
gnp ของประเทศไทยครับ แต่จะไปมีส่วนเพิ่ม GDP ของประเทศสหรัฐครับ
ส่วนที่ประเทศญี่ปุ่นที่ ย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่นๆ ถ้าทำให้การจ้างงานในญี่ปุ่นลดลงก็จะทำให้ GDP ของญี่ปุ่นลดลงในส่วนการจ้างงานที่ลดลงครับ แต่ GNP จะสูงขึ้นมาครับ และจะได้ GDP ที่เพิ่มขึ้นหากบริษัทในประเทศส่งเงินกลับมาแล้วทำให้เกิดการใช้เงินจำนวนนี้ในประเทศญี่ปุ่นครับ
ส่วนใหญ่การย้ายฐานการผลิต น่าจะเป็นเหตุผลเรื่องการค่าแรงและต้นทุน ซึ่งมักจะเกิดกับประเทศที่เศรษฐกิจโตติดต่อกันนานๆ จนค่าแรงเริ่มแพง ซึ่งก็เคยเกิดกับญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี ดังนั้นประเทศที่ GDP โตสูงๆ มักจะนำมาซึ่งการที่ค่าแรงแพงจนต้องมีการย้ายฐานการผลิตและอาจจะทำให้ GDP โตน้อยลงได้
ส่วนเรื่องแรงงานไปทำงานต่างประเทศ จะตรงข้าม มักเกิดกับประเทศที่เศรษฐกิจในประเทศไม่ดีทำให้มีแรงงานว่างงานมากและกระตุ้นให้คนงานไปทำงานต่างประเทศมากขึ้น ยกตัวอย่างในกรณีของประเทศฟิลิปปินส์ที่มีคนออกไปทำงานต่างประเทศมากขึ้น ผมเคยอ่านคร่าวๆ เห็นว่า 15% ของรายได้ของประเทศมาจากแรงงานที่ไปทำงานต่างประเทศครับ
6.จริงๆแล้ว gdp ไทยขึ้นอยู่กับการส่งออกไม่เยอะใช่ไหมครับ
ที่เขาออกข่าวกันว่า export เป็น 70% แต่ว่าพอ เป็น net export หักนำเข้าแล้ว
เหลือแค่ 15% แบบนี้จริงๆแล้ว ไทยก็ไม่ได้พึ่งพิงส่งออกเยอะอย่างที่คิดสิครับ
- สินค้าบางอย่างส่งออกก็ไม่ได้ต้องนำเข้าวัตถุดิบอะไรเข้ามานัก เช่น สินค้าเกษตร ประมง ฯลฯ และสินค้านำเข้าบางอย่างก็ไม่ได้นำมาเพื่อผลิตเพื่อส่งออก เช่น น้ำมันที่ใช้ในการเดินทาง ขนส่ง หรือสินค้านำเข้าเพื่อบริโภคในประเทศ ดังนั้นคงดู net export อย่างเดียวไม่ได้ครับ อย่างไรก็ตาม ตัวเลขที่ตัวที่ต้องดูคือ import content ( สัดส่วนการนำเข้าวัตถุดิบ ) ของแต่ละอุตสาหกรรมส่งออก
ถ้าอุตสาหกรรมส่งออกไหนที่ import content ต่ำ เช่น 10% แปลว่านำเข้าวัตถุดิบเพื่อผลิต 10% และใช้วัตถุดิบในประเทศ 90% การส่งออกที่ลดลงจะกระทบกับเศรษฐกิจในประเทศสูงเพราะใช้วัตถุดิบในประเทศมากจึงกระทบกับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง
ถ้าอุตสาหกรรมส่งออกไหนที่ import content สูง เช่น 80% แปลว่านำเข้าวัตถุดิบเพื่อผลิต 80% และใช้วัตถุดิบในประเทศเพียง 20% การส่งออกที่ลดลงจะกระทบกับเศรษฐกิจในประเทศน้อยกว่า
อุตสาหกรรมที่ import content สูงๆ เช่น อิเลคทรอนิกส์ ทูน่ากระป๋อง
อุตสาหกรรมที่ import content ปานกลาง เช่น ยานยนต์
อุตสากหกรรมที่ import content ต่ำ เช่น เกษตร สินค้าเกษตรแปรรูป ( ยกเว้นทูน่ากระป๋อง ) ประมง
อีกธุรกิจหนึ่งที่สร้างรายได้จากต่างประเทศและมี import content ต่ำมากคือ ธุรกิจบริการ ได้แก่ ท่องเที่ยว รักษาพยาบาล ซึ่งรายได้ 100 บาทเป็นรายได้ของคนในประเทศเกือบทั้งหมดมีส่วนที่ต้องนำเข้ามาน้อยมาก และมีธุรกิจต่อเนื่องหลายอย่าง ดังนั้นรายได้จากการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นและลดลงจึงกระทบกับ GDP ได้มากพอสมควร และเป็นธุรกิจที่ไม่ใช้เครื่องจักรจึงเกี่ยวข้องกับการจ้างงานค่อนข้างมาก เพื่อให้เศรษฐกิจประเทศไทยคงอยู่ต่อไปได้ ขอความกรุณาอย่าได้มีการยึดหรือปิดสนามบินอีกเลยครับ เพราะจะทำให้มีคนตกงานหรือสูญเสียรายได้เพิ่มจำนวนมาก
7.ปกติเงินเฟ้อมักจะสูงเมื่อ gdp โตสูงใช่หรือไม่
แต่เหตุการ์ stagflation gdp ตกต่ำ ที่เงินเฟ้อสูง
แสดงว่าเงินเฟ้อน่าจะเกิดจาก
cost put ใช่ไหมครับ
- Stagflation คือ stagnant + deflation คือ เงินเฟ้อสูง เศรษฐกิจโตต่ำ ส่วนใหญ่จะเกิดจาก cost push ซึ่งเกิดจาก supply shock คือ การลดลงของจำนวนสินค้าที่เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตหรือบริโภค เช่น การลดลงของปริมาณการผลิตน้ำมัน หรือภาวะแห้งแล้งหรือภูมิอากาศที่ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลงมาก อย่างหลังจะพบบ่อยในเศรษฐกิจและสังคมในยุคก่อนๆ ที่สังคมเป็นสังคมเกษตรกรรมครับ
อย่างกรณีปัจจุบันจะเห็นว่าการที่ราคาน้ำมันแพงขึ้นไม่ได้เกิดจาก supply shock คือ การผลิตน้ำมันในช่วงที่ผ่านมายังอยู่ในภาวะปกติ แต่ที่น้ำมันแพงขึ้นนั้นเป็นผลจาก demand เพิ่ม ดังนั้นเมื่อเศรษฐกิจชะลอตัวลงราคาน้ำมันก็ลดลงมาอย่างรวดเร็ว ทำให้เศรษฐกิจโลกไม่เกิดภาวะ stagflation อย่างที่เคยกลัวกัน แต่ก็เลยเปลี่ยนไปกลัว depression กันแทนซึ่งรุนแรงพอๆ กับ stagflation เช่นกัน กล่าวคือ stagflation จะมีการว่างงานน้อยกว่าแต่มีภาวะข้าวยากหมากแพง แต่ depression นั้นราคาสินค้าไม่แพงแต่คนจะตกงานจำนวนมากกว่า
8. ตัวเลขการเติบโตของ gdp ไทยย้อนหลัง
มีการเติบโตถึง 14-15% ด้วยในช่วงปี 2530-2531
อยากทราบว่าการเติบโตช่วงนั้นหลักๆ
มาจากการเมืองมีเสถรียรภาพ และ มีการเปิดเสรีทางการค้าใหม่ๆใช่ไหมครับ
น่าจะเป็นยุคนายก ชาติชาย ใช่หรือไม่
พี่ ih คิดว่าเมื่อไหร่ไทยจะกลับไปมี gdp โตซัก 14-15% อีกครับ
ต้องมีเงื่อนไขอะไรบ้างครับ
- การเติบโต 2 หลักช่วงนั้นมีหลายปัจจัยครับ ที่สำคัญอีกอย่างคือ การที่ประเทศเปลี่ยนจากการพึ่งพิงภาคการเกษตรเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ ซึ่งมีเงินลงทุนเข้ามาตั้งโรงงานของต่างชาติจำนวนมาก และแรงงานจากภาคเกษตรเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม ผู้หญิงเข้าสู่ภาคแรงงานมากกว่าเดิมมาก ทำให้จำนวนแรงงานหรือ workforce เพิ่มขึ้นมาก
ในปัจจุบัน อัตราการเข้าสู่ภาคแรงงานของเพศหญิงไม่ได้เพิ่มแล้ว และแรงงานจากภาคเกษตรก็ไม่ได้เข้ามาสู่ภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นมากนัก รวมถึงการลงทุนของต่างชาติก็ไม่ได้มากมายเหมือนช่วงปี 2530 เพราะค่าแรงและต้นทุนการผลิตของไทยไม่ได้มีความได้เปรียบมากเหมือนเมื่อก่อน รวมถึงมีประเทศกำลังพัฒนาเกิดใหม่ที่เป็นทางเลือกอีก เช่น จีน อินเดีย หรือยุโรปตะวันออก
ดังนั้นการที่เราจะมี GDP โต 14-15% คงเป็นไปไม่ได้อีกแล้วครับ สามารถฟันธง และ confirm ได้เลยโดยไม่ต้องพึ่งหมอลักษณ์หรือหมอกฤษณ์ครับ
9. เงินที่จีนจะเอาไปกระตุ้นเศรษฐกิจ 4 ล้านๆหยวน
มีนักวิเคราห์บางคนบอกว่า อาจจะเอาเงินมาจากการขาย
พันธบัตร us ที่อยู่ในรูป reserve มีความเป็นไปได้ไหมครับ
และถ้าเป็นยังงั้นจริงจะส่งผลให้ค่าเงินดอลแข็งใช่ไหมครับ
- ถ้าจีนขายพันธบัตรสหรัฐ แล้วนำเงินกลับประเทศจะทำให้ค่าเงินดอลอ่อนนะครับ เพราะเป็นขายดอลล่าร์ซื้อหยวน
แต่โดยปกติแล้วเงินที่ใช้กระตุ้นเศรษฐกิจนั้นรัฐบาลสามารถออกพันธบัตรรัฐบาลและกู้เงินจากระบบ ( ผู้ฝากเงิน สถาบันการเงิน ) ได้ครับ แต่การกู้เงินจากระบบจะไปแย่งเงินจากภาคเอกชนมา ซึ่งจะไปลดทอน ( crowding out ) การลงทุนภาคเอกชนได้ ดังนั้นเพื่อลดผลของ crowding out ธนาคารกลางก็จะพิมพ์เงินเพิ่มมาส่วนหนึ่งเพื่อรองรับการใช้เงินเพิ่มขึ้นของภาครัฐด้วยครับ แต่การพิมพ์เงินเพิ่มจะต้องอยู่ในจำนวนที่เหมาะสมไม่มากเกินไปที่จะทำให้เกิดเงินเฟ้อสูงได้ครับ
แต่ในช่วงเศรษฐกิจแย่ๆ การใช้เงินของภาครัฐโดยชดเชยโดยการออกพันธบัตรรัฐบาลนั้นจะทดแทนการลงทุนภาคเอกชนและการบริโภคที่น่าจะลดลงในช่วงนั้นครับ กล่าวคือ เมื่อภาคธุรกิจและผู้บริโภคไม่กล้าใช้จ่าย ถ้าปล่อยเป็นเช่นนี้นานๆ เศรษฐกิจจะถดถอยไปเรื่อยๆ ภาครัฐต้องใช้จ่ายแทนครับ
หลักการบริหารการคลังก็จะเป็นลักษณะนี้ครับ เมื่อไหร่ที่เศรษฐกิจดี ภาคเอกชนและผู้บริโภคกล้าใช้เงิน ภาครัฐจะต้องประหยัดแทนครับคือ ควรมีงบประมาณเกินดุล แต่ถ้าเศรษฐกิจแย่ เอกชนไม่กล้าใช้เงิน ภาครัฐต้องใช้เงินแทนครับ คือ ควรมีงบประมาณขาดดุล
10.ตัวเลขการขาดดุลงบประมาณของ us ในเดือน ตุลาคม ออกมาที่
237200 ซึ้งมากกว่าเดือนตุลาปีที่แล้ว 4 เท่า และมากกว่าของ 6 เดือนแรก
ปีที่แล้วรวมกัน เข้าใจว่าเพราะไปช่วยเพิ่มทุนสถาบันการเงิน
แต่ตัวเลขที่ขาดดุลมากขนาดนี้ จะส่งผลยังไงตามมาครับ
เพราะว่ารัฐของต้องมีหนี้มากขึ้น ก็หมายถึงต้องออกพันธบัตรมาใช่ไหมครับ
ออกพันธบัตรเยอะๆจะทำให้ค่าเงินอ่อน เกี่ยวไหมครับ
สมมุติประเทศอื่นซื้อพันธบัตร us ไปก็เหมือนกับเงิน us ไหลออกใช่ปะครับ
- ต่อเนื่องจากข้อ 9 ครับ ปกติแล้วการออกพันธบัตรรัฐบาลมักจะตรงทำควบคู่กับการพิมพ์เงินเพิ่ม ซึ่งการพิมพ์เงินเพิ่มก็จะทำให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มและจะทำให้ค่าเงินอ่อนครับ แต่กรณีของสหรัฐจะพิเศษตรงที่พันธบัตรรัฐบาลถูกซื้อโดยรัฐบาลประเทศอื่นๆ เพื่อใช้เป็นทุนสำรองและนักลงทุนจากประเทศอื่นๆ ที่ต้องการการลงทุนแบบไม่มีความเสี่ยง ดังนั้นเมื่อประเทศอื่นซื้อพันธบัตรสหรัฐ ก็หมายความว่าจะต้องซื้อเงินดอลล่าร์ครับ ดังนั้นคือ เงินไหลเข้านะครับไม่ใช่ไหลออก และค่าเงินสหรัฐเลยไม่ค่อยอ่อนลงและอาจจะแข็งค่าขึ้นด้วยครับจากกรณีนี้
เหตุผลหนึ่งที่สหรัฐพิมพ์เงินเพิ่มได้ไม่ค่อยมีขีดจำกัด และยังไม่ค่อยทำให้เกิดเงินเฟ้อ เพราะมีหลายๆ ประเทศที่ใช้ธนบัตรสหรัฐควบคู่กับเงินสกุลของตัวเอง โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาที่การเมืองไม่มั่นคง หรือมีอัตราเงินเฟ้อสูงๆ เช่น โซเวียตสมัยก่อน แอฟริกา ละตินอเมริกาบางประเทศ ซึ่งเราอาจจะเคยเห็นในหนังแนวมาเฟียบางเรื่อง เปรียบเทียบก็เหมือนกับที่ประเทศลาวและพม่ายินดีที่จะรับเงินบาทในการซื้อขายและอาจจะยินดีรับมากกว่าเงินสกุลตัวเองในบางช่วงเวลา ธนบัตรสหรัฐจึงเป็น hard currency คือเงินสกุลแข็ง ซึ่งถูกนำมาใช้สื่อในการแลกเปลี่ยน ทำให้เงินดอลล่าร์จึงเหมือนแบงค์กงเต๊กคือ พิมพ์ออกมาได้เรื่อยๆ แต่ที่ต่างจากแบงค์กงเต็ก คือ มันใช้แลกเปลี่ยนสินค้าได้น่ะสิครับ เพราะความเชื่อมั่นในประเทศสหรัฐ In dollar, we trust ครับ
11. ทำไมตลาดหุ้น usa ถึงตกน้อยกว่าตลาดหุ้นที่อื่น ทั้งๆที่ usa เป็นต้นตอของปัญหารอบนี้ อย่างหุ้นเอเซียส่วนใหญ่ก็ลงมากกว่า 50% แต่ usa high
14000 ตอนนี้ยังมากกว่า 8000 เลยครับ เป็นเพราะว่านักลงทุนของเขาส่วนใหญ่
เป็นสถาบันที่ไม่ขี้ตกใจเหมือนประเทศอื่นๆปะครับ
- ก็เหมือนนักลงทุน VI ครับ เมื่อหุ้นลงแล้วเราคิดว่าจะถือเงินสดบางส่วน เราคงเลือกขายหุ้นที่เราชอบหรือมั่นใจน้อยที่สุด ดังนั้นถ้าประเทศสหรัฐมีปัญหาและสถาบันการเงินต้องขายหุ้นส่วนหนึ่งเพื่อนำเงินกลับมา ก็คงเลือกขายหุ้นในประเทศอื่นๆ ที่ไม่ใช่ประเทศตนเองก่อนครับ และอีกประการหนึ่ง คือ หุ้นใน DJ หรือ S&P หลายตัวนั้นมีลักษณะ Well diversified คือ มีรายได้จากทั่วโลก ยกตัวอย่างเช่น หุ้นอย่าง Coca Cola , P&G , Kellogg, Phillip Morris , Microsoft ซึ่งจะได้รับผลกระทบน้อยกว่า ซึ่งหุ้นพวกนี้มักจะแข็งกว่าตลาดครับ ดังนั้น จริงๆ แล้วหุ้นไทยบางตัวที่ส่งออกไปสหรัฐมากๆ ยังเสี่ยงกว่าหุ้นในสหรัฐอย่าง Coca Cola หรือ Phillip Morris ( บุหรี่ Marlboro ) เสียอีกครับ
12.ตามหลักเศรษฐศาสตร์ถ้าประเทศไหนยิ่งมี reserve เยอะก็จะทำให้ค่าเงินแข็งใช่หรือไม่ reserve ของจีนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนแซงญี่ปุ่น ถ้าเป็นแบบนี้ค่าเงินหยวนควรจะแข็งค่ากว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบันเยอะเลยใช่หรือไม่ครับ
- Reserve ที่เพิ่มขึ้นเกิดจากการ manage ค่าเงินเพื่อไม่ให้ค่าเงินแข็งเกินไปครับ กล่าวคือ ประเทศที่ใช้ fixed exchange rate อย่างจีน ถ้า reserve เพิ่มแสดงว่าธนาคารกลางมีการซื้อดอลล่าร์และขายเงินหยวน ซึ่งเกิดจากการที่จีนมีเงินดอลล่าร์เข้ามาจำนวนมากจากการเกินดุลการค้า ซึ่งการเกินดุลการค้าแสดงว่า การส่งออก ( เงินดอลล่าร์ที่ได้มา ) สูงกว่า การนำเข้า ( การใช้เงินดอลล่าร์ ) ดังนั้นเมื่อจำนวนที่ได้มานั้นมากกว่าความต้องการใช้ทำให้มีดอลล่าร์ส่วนเกิน หากธนาคารกลางไม่เข้าแทรกแซงก็จะทำให้ค่าเงินหยวนนั้นแข็งค่าขึ้น ( ดอลล่าร์แข็งค่าเทียบหยวน ) ซึ่งการที่จีนใช้ fixed exchange rate แสดงว่าจะปล่อยค่าเงินแข็งไม่ได้ ดังนั้นธนาคารกลางจีนจึงจำเป็นต้องซื้อดอลล่าร์เข้ามา จึงทำให้ reserve เพิ่มขึ้นครับ
อย่างไรก็ตาม การเพิ่ม reserve นั้นทำให้ธนาคารกลางประเทศนั้นๆ มีต้นทุน คือ เมื่อซื้อดอลล่าร์เข้าไปต้องมีการออกเงินหยวนเพื่อจ่ายออกไป ซึ่งจะทำให้ monetary base เพิ่มขึ้นซึ่งจะกระทบกับ money supply ซึ่งทำให้เกิดเงินเฟ้อ ทำให้ธนาคารกลางจะต้องต้องออกพันธบัตรเพื่อดูดสภาพคล่องส่วนเกิน หรือเรียกว่า sterilization ออกไป ซึ่งดอกเบี้ยพันธบัตรนั้นเป็นต้นทุนของธนาคารกลางในการมี reserve เพิ่มขึ้น
ดังนั้นประเทศที่มี reserve เพิ่มขึ้นมากๆ วันหนึ่งจะต้องปล่อยให้ค่าเงินแข็งขึ้นมาบ้างเพื่อให้การเกินดุลการค้าลดลง และตรงกันข้าม ประเทศที่ reserve ลดลงมากๆ หรือใกล้หมด จะต้องปล่อยให้ค่าเงินอ่อนค่าเพื่อให้เกินดุลการค้า ซึ่งประเทศไทยเมื่อปี 40 ก็เป็นเช่นนี้
คำตอบข้อนี้อาจจะซับซ้อนไปบ้างสำหรับเพื่อนๆ ที่ไม่ได้ผ่านวิชาเศรษฐศาสตร์มหภาค 101 มา แต่ยืนยันครับว่าเป็น course 101 คือ เบื้องต้นจริงๆ เพราะไม่ได้มีการวาด IS-LM หรือเข้าสมการใดๆ เลย และสามารถหาหนังสือมาอ่านเพิ่มได้ไม่ยากครับ ลองอ่าน เศรษฐศาสตร์มหภาค ของ อ. รัตนา สายคณิต ของคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ดูได้นะครับ
13.อยากทราบมุมมองว่าค่าเงินดอลในระยะ 2-3 ปีมีแนวโน้มแข็งขึ้นหรืออ่อนค่าลง เนื่องจากมีหลายเสียง บางคนบอกว่าตอนนี้แข็งขึ้นเพราะต้องนำเงินจากทั่วโลก
กลับไปแก้ปัญหาสถาบันการเงินทำให้ค่าเงินแข็งชั่วคราว แต่จริงๆพื้นฐานเศรษฐกิจของเขาไม่ดี แต่บางคนบอกว่าสภาวะตอนนี้ทุกคนต้องที่ที่เป็น safe heaven มากที่สุดนั้นก็คือ พันธบัตร usa ซึ้งทำให้ bond yield 10 ปี ตอนนี้ต่ำมาก
- ครับ ทุกคนมองว่าแม้เศรษฐกิจสหรัฐเลวร้ายเพียงใด พันธบัตรสหรัฐยังเป็นการลงทุนที่ปลอดภัยที่สุดอยู่ดีครับ เพราะทุกคนเชื่อว่าสหรัฐก็ยังน่าจะผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปได้ แต่หากผ่านไม่ได้จริงๆ คือสหรัฐล้ม ไม่ว่าถือเงินสกุลไหนก็ซวยอยู่ดีครับ หลายๆ ประเทศก็ยังเพิ่มเงินทุนสำรองที่เป็นสกุลดอลล่าร์อยู่ เหตุผลหนึ่งที่พันธบัตรสหรัฐหรือเงินดอลล่าร์เป็น safe heaven ก็เพราะเงินสกุลอื่นๆ เช่น ยูโร เยน ก็ยังไม่ได้เป็นทางเลือกที่ดีนักครับเพราะเศรษฐกิจประเทศเหล่านี้ก็ยังไม่ใช่ว่าดีครับ และอีกอย่างที่สำคัญคือ ราคาสินค้า commodity ต่างๆ ก็ยังซื้อขายกันเป็นเงินดอลล่าร์ซึ่งตรงนี้ก็ถือว่าเงินดอลล่าร์ก็ยังมีอิทธิพลสูงมากในตลาดโลก
14.ตามปกติแล้ว ถ้าดอกเบี้ยนโยบายของไทยสูงกว่าประเทศ usa(rp สูงกว่า fed fund) จะทำให้ค่าเงินแข็งใช่หรือไม่เพราะว่า เงินจากต่างประเทศจะเข้ามาในไทยเพื่อรับดอกเบี้ยที่สูงกว่า ฉะนั้นการที่แบงค์ชาติเพิ่งลดดอกเบี้ย r/p ลง 1% น่าจะทำให้ค่าเงินยิ่งอ่อนเร็วขึ้นใช่หริอไม่ เพราะส่วนต่างลดน้อยลง
ปัจจัยด้านดอกเบี้ยเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการไหลเข้าของออกของเงินเท่านั้นครับ การไหลเข้าออกของเงินขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ อีกมากครับ เช่น
- การคาดการเงินเฟ้อในอนาคต หากเงินเฟ้อประเทศไทยสูงกว่าประเทศอื่นๆ แม้ดอกเบี้ยสูงก็อาจจะไม่ดึงดูดให้เงินไหลเข้าเพราะว่าการที่เงินเฟ้อสูงจะทำให้มูลค่าของเงินนั้นลดลง ( เงิน 1 บาทซื้อสินค้าได้น้อยลง )
- เสถียรภาพทางการเมือง ความเสี่ยงของประเทศ เนื่องจากเงินที่ไหลเข้าต้องมีที่ไป เช่น ซื้อพันธบัตรรัฐบาล ดังนั้นนักลงทุนจะต้องดู default risk หรือ ความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ด้วย ดังนั้น แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยปากีสถานจะสูงกว่าสหรัฐ 1% หากเราเป็นนักลงทุนเราคงเลือกสหรัฐมากกว่า
- การเติบโตของเศรษฐกิจ ประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตสูงจะดึงดูดให้มีเงินลงทุนไหลเข้าในหุ้น อสังหาริมทรัพย์ และการลงทุนทางตรงอื่นๆ เช่น สร้างโรงงาน
อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยที่ลดลงก็จะมีส่วนที่ทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลงได้บ้างครับ แต่ตอนนี้อัตราดอกเบี้ยบ้านเรายังสูงกว่าดอกเบี้ยสหรัฐอยู่เหมือนกันครับ หาก ธปท. ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจในปีหน้า ผมคิดว่าอัตราดอกเบี้ย R/P ในปีหน้าควรจะลดลงอีกประมาณ 1.5% เป็นอย่างน้อยครับ
อันนี้เป็นภาค 14 แต่ยังถามตอบกันไม่จบนะครับ
1.หุ้นในกลุ่มบันเทิงอย่าง work ซึ้งเป็นผู้ผลิตรายการนั้นไม่เหมาะกับการลงทุนระยะยาวใช่ไหมเพราะธรรมชาติของคนต้องการความแปลกใหม่เสมอ
1.2ถ้ามีรายการที่โดนใจคนดูเกิดขึ้นเราควรจะหาจังหวะขายหุ้นทิ่งหรือไม่เพราะยากที่จะมีรายการใดที่อยู่ในกระแสความนิยมระยะยาวได้
1.3ผู้ผลิตรายการมีปัญหาอีกอย่างนึงก็คือต้องรักษาบุคลากรเก่งๆให้อยู่กับบริษัทได้
- ช่วงที่ WORK เข้าตลาดหุ้นก็เป็นช่วงที่ WORK ประสบความสำเร็จค่อนข้างสูง โดยครองส่วนแบ่งตลาดค่อนข้างสูงในส่วนของรายการประเภทเกมโชว์และ variety จุดเด่นของ WORK อยู่ที่ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างเกมโชว์และรายการต่างๆ และความสามารถของพิธีกร
แต่หลังจากเข้าตลาดหุ้นแล้วไม่สามารถก้าวขึ้นไปอีกระดับหนึ่งได้ และก็ต้องยอมรับว่าการที่ WORK จะโตจากระดับที่เข้าตลาดหุ้นก็ทำได้ลำบากครับเพราะตลาดมีอยู่ได้เพียงตลาดในประเทศเป็นหลักเท่านั้น คงจะไม่เหมือนบริษัทด้านนี้ในสหรัฐที่สามารถขยายฐานผู้ชมได้ทั่วโลกครับ นอกจากนี้ WORK ณ ปัจจุบันยังคงพึ่งพาบุคลากรหลัก 2 คน คือ คุณปัญญาและคุณประภาส ซึ่งดูเหมือนว่าตอนนี้ยังขาดคนใดคนหนึ่งไปยังไม่ได้ เลยเหมือนหลอดไฟ 2 หลอดที่ต่ออนุกรมกันครับ คือ ถ้าหลอดใดหลอดหนึ่งขาดก็จะทำให้อีกหลอดดับไปด้วย ดังนั้น การที่หุ้นลง ธุรกิจ WORK ไม่ได้แย่หรือเลวร้ายครับ เพียงแต่เข้าตลาดช่วงที่ peak ของธุรกิจไปแล้วครับ อีกบริษัทที่เข้าตลาดช่วง peak และหลังเข้าตลาดแล้วธุรกิจแย่ลงไปมากคือ Matching ครับ เพราะไปทำธุรกิจที่ตนเองไม่มีความถนัดคือ การสร้างภาพยนตร์ครับ
2.หุ้น อสมท ควรมี pe สูงกว่า bec ใช่ไหมในแง่ที่เป็นเจ้าของคลื่นแต่ bec ต้องไปเช่าคลื่นจาก อสมท
2.2ถ้าแบบนี้หุ้น อสมท ก็ควรมี beta ต่ำกว่า bec เพราะว่ามีสัดส่วนรายได้ที่สม่ำเสมอกว่าใช่ไหม
- บังเอิญนักลงทุนประเภทสถาบันให้ p/e ของ bec สูงกว่าเพราะอาจจะเห็นว่า bec เป็น บ. เอกชน มีประวัติการบริหารที่ดีมายาวนาน และ mcot ก็มีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่มีผลต่อธุรกิจและมีผลต่อผู้ที่จะมาเป็น ผู้อำนวยการ ครับ นอกจากนี้ หากตัดส่วนแบ่งค่าเช่าและสัมปทานจาก bec และ true vision ออกไปแล้วจะเห็นว่า mcot จะมีกำไรจากการดำเนินการธุรกิจหลัก ( ช่อง9 และรายการวิทยุ ) ไม่มากเท่าไหร่นักครับ ดังนั้นนักลงทุนส่วนหนึ่งอาจจะไม่แน่ใจว่ารายได้จากค่าสัมปทานจะมีอย่างต่อเนื่องแน่นอนในอนาคตครับ
2.3หุ้นกลุ่มนี้ถือว่ามี barry to entry การเข้ามาของรายใหม่ที่สูงหรือต่ำ เพราะว่า cable tv เถื่อนต่างๆไม่น่าจะใช้เงินลงทุนสูง
- ตลาด TV ประเทศไทยเป็นตลาด mass คือ ครอบคลุมประชากรกว่า 60 ล้านคน และคนไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่ใช้เวลาแต่ละวันในการดู TV มากกว่าประเทศอื่นๆ แต่กลับอ่านหนังสือน้อยกว่าประเทศอื่นมาก ดังนั้นตลาดรองอย่าง True vision หรือ เคเบิ้ลต่างๆ ยังครอบคลุมประชากรในกลุ่มที่ยังไม่มากนักครับ ดังนั้นสินค้าอุปโภคบริโภคที่ต้องการโฆษณาในระดับ mass จึงยังต้องเลือกโฆษณาทาง TV เป็นหลักอยู่ครับ ดังนั้นคู่แข่งทางตรงของ BEC MCOT ก็คือ Free TV ด้วยกันครับ และยังไม่มีแนวโน้มที่จะมี free TV ช่องใหม่เกิดขึ้นครับ
3.หุ้นโรงแรมเป็นหุ้นที่มีความน่าลงทุนต่ำเพราะเป็นธุรกิจที่ต้องลงทุนสูง และ เมื่อสร้างโรงแรมใหม่กว่าจะเต็มได้ก็ต้องใช้เวลานาน แถมถ้าไม่ใช่ฤดูท่องเที่ยวก็ไม่น่ามีคนมาเยอะ จริงๆแล้วหุ้นกลุ่มนี้ไม่น่าจะมี pe ที่สูงกว่าตลาด
ไม่ทราบว่าพี่ ih มีความเห็นว่ายังไง
- ปกติคนทำธุรกิจโรงแรมเวลาทำ feasibility study หรือหา Project IRR จะใช้สมมุติฐานคนเข้าพักเฉลี่ยทั้งปี 50-70% ครับ คือ ต้องอยู่ได้แม้ occupancy จะอยู่เพียง 50% ซึ่งหมายความว่าจะมีช่วง high และ low season ดังนั้นคงจะต้องดูว่าที่ occupancy rate 60-70% หุ้นโรงแรมนั้นจะมีกำไรมากน้อยเพียงใดครับ จุดเด่นของ รร. คงจะเป็นเรื่องการเป็นธุรกิจที่สามารถตั้งราคาบริการหรืออาหารได้สูงเมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนครับ และประเทศไทยก็เป็นประเทศที่มีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมาก ซึ่งเห็นได้จากยอดจำนวนเข้าออกสนามบินหลักคือ สุวรรณภูมิ นั้นติด 1 ใน 20 ของสนามบินทั่วโลก ดังนั้นธุรกิจโรงแรมที่ผ่านมานับว่าเป็นธุรกิจที่ประเทศไทยมีความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาดโลกครับ ที่ผ่านมาจึงมี p/e สูงกว่าตลาด เว้นเสียว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในพื้นฐานที่กระทบกับการท่องเที่ยวอย่างถาวรครับ
โรงแรมที่อยู่แหล่งท่องเที่ยวชายทะเลจะน่าสนใจกว่า รร. ที่อยู่เขตภูเขาครับเพราะว่าช่วง low season ของแหล่งท่องเที่ยวชายทะเลจะกินระยะเวลาน้อยกว่าและยอดเข้าพักไม่ต่ำลงมากนักเมื่อเปรียบเทียบกับรีสอร์ตที่ติดภูเขา เนื่องจากแหล่งท่องเที่ยวภูเขานั้นจะมี high เพียงช่วง ตุลาคม-กุมภาพันธ์ เท่านั้นครับ
4.2แต่ถ้าเป็นภาวะที่ดอกเบี้ยต่ำมากหุ้นโรงไฟฟ้าน่าจะมี pe สูงกว่าตลาดใช่ไหม เพราะว่า ตอนทำสัญญาโรงไฟฟ้าก็มากกว่าดอกเบี้ยไปแล้ว พูดไปก็เปรียบเหมือน bond ระยะยาวที่ log ดอกเบี้ยสูงๆไว้แล้ว
- ใช่ครับ จะสังเกตว่าหุ้นอย่าง RATCH EGCO เหมือนจะ outperform ตลาดหลังการลดดอกเบี้ย 1% ครั้งที่ผ่านมาครับ หุ้นโรงไฟฟ้ามีลักษณะบางประการที่คล้าย bond อยู่ แต่ก็มีสิ่งที่ไม่เหมือนตรงที่สัญญาโรงไฟฟ้ามีอายุสัมปทาน 30 ปีซึ่งจะมีความเสี่ยงตรงตอนหมดอายุสัมปทานว่าจะได้ต่อในเงื่อนไขอะไร และโครงสร้างรายได้ของโรงไฟฟ้าตามสัญญาสัมปทานนั้นจะไม่ได้เป็นแบบ flat rate คือ จะสูงสุดในช่วงกลางๆ ของอายุสัญญาและจะน้อยลงในช่วงท้ายๆ หรือมีลักษณะเป็นโค้งระฆังคว่ำครับ
5.ทำไมธนาคารขนาดเล็กในไทยจึงมักถูก take over จากธนาคารต่างประเทศ ผมแปลกใจว่าทำไมธนาคารต่างประเทศเหล่านั้นถึงไม่มาตั้งสาขาเองเลย หรือว่ามีกฎหมายอะไรห้ามไว้หรือไม่ครับ ส่วนตัวผมมองว่า การ take over ไปก็ได้สาขา ได้ระบบที่ลงเอาไว้ ได้พนักงานเลยไม่ตอ้งไปเริ่มต้นจาก 0
- มีกฎ ของ ธปท. ที่ให้ธนาคารต่างประเทศเปิดสาขาได้เพียงสาขาเดียวครับ ดังนั้นเราจึงเห็นว่าธนาคารต่างประเทศอย่าง HSBC ก็จะมีสาขาในประเทศไทยสาขาเดียว ผมไม่แน่ใจว่ากฎนี้ยังคงมีอยู่หรือไม่ครับ ส่วนที่มีการ take over สิ่งที่จะได้คือ สาขาและฐานลูกค้าครับ ส่วนพนักงานผมเองไม่แน่ใจว่าจริงๆ แล้วเค้าอยากได้ด้วยหรือเปล่า เพราะธนาคารขนาดเล็กหรือกลางที่ถูก ธ. ต่างชาติซื้อไปก็มีการปรับโครงสร้างองค์กร หรือ early retired อยู่พอสมควรครับ
6.หุ้นอย่าง tcap และ tisco จะมีความสัมพันธ์กับ gdp สูงกว่าหุ้นแบงค์ขนาดใหญ่ ใช่หรือไม่ เพราะว่าสองตัวนี้ปล่อยสินเชื่อรถยนต์เยอะ ซึ้งยอดขายรถยนต์สัมพันธ์กับ gdp สูง
- น่าจะเป็นเช่นนั้นครับ แต่ก็แปลกที่ tisco ก็ยังมี NPL ค่อนข้างต่ำและยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของธนาคารครับแสดงว่ามีการบริหารลูกหนี้ที่ดี แต่ปีหน้า loan growth น่าจะติดลบจากยอดขายรถที่แย่ลงครับ แต่การลดดอกเบี้ยจะส่งผลดีกับหุ้นที่ปล่อยสินเชื่อรถยนต์ครับเพราะจะทำให้ต้นทุนทางการเงินลดลง ในขณะที่ฝั่งรายได้คือ ดอกเบี้ยเงินกู้นั้นไม่ลดลง เพราะการผ่อนรถเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ครับ
7.ผมได้ยินนักวิเคราะห์ท่านนึงบอกว่าหุ้นธนาคารตอนนี้ถูกมาก โหยเขาใช่วิธี
p/bv valuation เขาให้เหตุผลว่า สมัยวิกฤติปี 40 หุ้นธนาคารยัง trade ที่ pbv ไม่ต่ำกว่า 1 เท่า แต่ตอนนี้หุ้นธนาคารหลายตัวต่ำกว่า bv มาก
เขาบอกว่าเขาไม่ใช่ pe เพราะว่า manipulate ง่าย จากการ provision
แต่ประเด็นคือ bv จะมีคุณภาพหรือไม่ เพราะคงยากที่จะไปวิเคราห์ว่า สินเชื่อที่เขาปล่อยกู้มีคุณภาพไหม ไม่ทราบว่ามีมุมมองอย่างไร นักวิเคราห์ท่านนั้นยีงบอกต่อไปอีกว่าตอนนี้หุ้นธนาคารสะท้อนข่าวร้ายไปหมดแล้ว
- p/bv อาจจะสูงขึ้นหากเศรษฐกิจถดถอยหนักจนทำให้ธนาคารบางแห่งอาจจะมีผลการดำเนินงานขาดทุนจากการตั้งสำรอง NPL ครับ ดังนั้น p/bv ตอนนี้สำหรับบางธนาคารจึงอาจจะยังไม่สามารถสรุปได้ว่าต่ำและถูกจนต้องรีบร้อนเข้าไปซื้อครับ และการถือหุ้นธนาคารนั้นเรารู้ข้อมูลน้อยมากครับโดยเฉพาะคุณภาพของลูกหนี้และการปล่อยสินเชื่อครับ
.มีคนบอกว่าหุ้นkk ในปี 43 วิ่งจาก 2 บาทไป 80 บาทอยากให้พี่ ih ช่วยเล่าใหัฟังหน่อยว่าตอนนั้นเกิดอะไรขึ้น เพราะว่าผมหาขัอมูลเรื่องนี้ไม่ได้เลย เรื่องมันต้อง 8-9 ปีมาแล้ว
- ในปี 40 มีการปิดกิจการ 58 ไฟแนนซ์ครับ แต่ในปี 42 มีเพียง 2 ไฟแนนซ์จาก 58 แห่งที่ถูกปิดสามารถดำเนินการต่อได้คือ KK และ ACL ดังนั้นหลังจากปลด SP แล้ว KK ก็สามารถเพิ่มทุนได้ทำให้พ้นขีดอันตราย และ KK สามารถเข้าประมูลหนี้จาก ปรส. มาบริหารได้จำนวนพอสมควรเลยครับ ทำให้กำไรดีขึ้นมามาก ประกอบกับปี 42 ตลาดหุ้นขึ้นจาก 300 จุดไป 500 กว่าจุด หุ้น KK จึงวิ่งยาวเลยครับ
เกณฑ์ในการเลือกปิดกิจการสถาบันการเงินตอนนั้นทางการใช้จำนวนและสัดส่วนที่สถาบันการเงินต่างๆ กู้ยืมเงินจากกองทุนฟื้นฟูฯ ครับ เลยทำให้สถาบันการเงินบางแห่งที่อาจจะไม่ได้ขาดสภาพคล่องหนักหรือมีปัญหาทางการเงินยากเกินเยียวยานั้นถูกปิดไปด้วยครับ
8.2แล้ววิกฤติรอบนี้น่าจะเป็นโอกาสในการซื้อ kk-w3 หรือไม่
ถ้าดูจากคำตอบข้อ 8.1 แล้วจะเห็นว่าสถานการณ์ตอนนั้นกับตอนนี้มีความแตกต่างกันอยู่หลายประการครับ และตอนนั้นราคา KK คือ 2-4 บาท แต่ KK-w3 ยังเกิน 4 บาทอยู่เลยครับ และดูเหมือนจะเป็น warrant มีอายุคงเหลืออีกไม่มากแล้วนะครับ เกรงว่าเศรษฐกิจจะฟื้นไม่ทัน warrant หมดอายุเสียก่อนครับ
9.นักวิเคราห์บางคนเชียร์หุ้นกลุ่มสื่อสารโดยให้เหตุผลว่า ตลาดมือถือเดิมนั้นอยู่ในขั้นอิ่มตัวแล้วโดยดูจาก ยอด penetration rate ที่ 93% นักวิเคราะห์ท่านนั้นให้เหตุผลว่า 3 g จะเป็น structural change ของกลุ่มสื่อสารโดยมีเหตุผลคร่าวๆดังนี้
-สัปทานเดิมของ 3 เจ้าใหญ่ที่ใกล้หมดอายุ ถ้าทำ license 3g ออกมาน่าจะมีอายุของ 3g ภายใต้สัมปทานใหม่ต่อปีอีก 30 ปี ถ้าสมมุติ 3g เริ่มลงทุนได้ปีหน้า ก็น่าจะหมดอายุประมาณปี 2582
ปกติที่ผมเห็นเวลานักวิเคราะห์คำนวณ DCF จะทำ terminal value คือ สมมุติว่าได้ต่อสัมปทานหลังหมดอายุสัมปทานอยู่แล้วด้วยเหมือนกันครับ คำถามที่ผมเองยังไม่มีเวลาหาคำตอบ คือ ทั้ง AIS DTAC และ TRUE จะสามารถได้รับสัมปทาน 3G ทั้ง 3 บริษัทเลยรึเปล่าครับ หรือต้องประมูลแข่งกันและมีบางบริษัทเท่านั้นที่ได้ไป คุณ Hong ทราบไหมครับ?
-ทุกวันนี้ 3 ค่ายใหญ่เสีย revenue sharing ประมาณ 25-30% แต่ถ้าทำ license 3 g น่าจะเสีย ลดลงมากสุดไม่น่าเกิน 17%
อย่างนั้นเลยเหรอครับ และหน่วยงานรัฐที่ได้ค่าสัมปทานน้อยลงจะตอบคำถามประชาชนและสหภาพอย่างไรครับ พอจะมีที่มาของข้อมูลนี้ไหมครับ?
-จะได้เพิ่มสัดส่วนรายได้จาก non-voice มากขึ้น หรือพูดง่ายๆว่าจะ
Create demand ใหม่ขึ้นมา
- ตอนนี้เราก็เป็น 2.5G อยู่แล้ว คือ มีการส่งภาพได้ในระดับหนึ่งผ่าน sms และ mms แต่ 3G น่าจะทำให้มีความสะดวก และรวดเร็วขึ้น แต่ผมคิดว่าตลาดมือถือเราตอนนี้เป็น mass แล้วครับ กลุ่มคนที่จะใช้ประโยชน์จาก 3G นั้นน่าจะอยู่ในวงที่ไม่มากนักครับ เพราะแม่ค้า คนงาน เกษตรกร คงไม่น่าจะสนใจหรือมีงบประมาณที่จะมา download ดูหนังหรือส่ง VDO ผ่านมือถืออะไรเท่าไหร่ครับ
อยากทราบมุมมองพี่ ih ว่าจะ change จริงไหมครับ structure
- ผมมองเพียงแค่เป็นพัฒนาการครับ แต่ไม่น่าจะทำให้ change อะไรมากครับ เว้นเสียว่าหากต้องลงทุนสูงๆ เช่น เป็นหมื่นล้าน แต่รายได้ที่เพิ่มขึ้นจาก non-voice ไม่มากเท่าที่คิด ก็อาจจะทำให้พื้นฐานหุ้นกลุ่มนี้ change ในทางแย่ลงได้ครับ คุ้นๆ ว่าผมเคยอ่านข่าวว่ากำไรของ บ. มือถือในยุโรปแย่ลงเพราะแย่งกันประมูล และลงทุนใน 3G ในจำนวนเงินที่สูง ลองตรวจสอบข้อมูลนี้ดูนะครับ
10.ไม่แน่ใจว่าสาเหตุที่หุ้นกลุ่มสื่อสารแข็งแกร่งกว่าตลาดเยอะมากจะเป็นเพราะมีข่าว 3 g หรือไม่ ดูแล้วหลายตัว pe ก็แพงแต่ราคาแข็งกว่าหุ้นค้าปลีกกับโรงพยาบาลด้วยซ้ำ ผมดูแล้วก็ไม่เข้าใจเหตุผลเหมือนกัน
ส่วนหนึ่งผมคิดว่า มือถือตอนนี้ถือว่าเป็นบริการที่มีความจำเป็นสูง และต้องซื้อบริการทุกวัน เปรียบได้กับปัจจัย 4 ประเภทอาหาร และยารักษาโรคไปแล้วครับ อย่างเสื้อผ้า บ้านแม้ยังต้องใส่ต้องอยู่อาศัยแต่ก็ชะลอการซื้อไปได้นาน แต่มือถือเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ไม่สามารถยกเลิกการใช้ได้ครับ ผมเห็นเศรษฐกิจไม่ค่อยดีก็ยังมีคนส่ง sms ไปตามรายการ TV ต่างๆ และดูจากข้อความที่ส่งไปแล้วผมรู้สึกว่าความคุ้มค่าเทียบกับเงินที่เสียไปครั้งละ 3 บาทนั้นมันน้อยมาก จน โน๊ต อุดม เอาไปแซวในเดี่ยวไมโครโฟน 7 ที่มีคนส่ง sms ไปในรายการข่าว TV ว่า ลำปางหนาวมาก อยากรู้มั้ยเนี่ย? เพียงแต่คนที่ส่งอาจจะเห็นว่ามันก็แค่ 3 บาทซึ่งเงิน 3 บาทจะซื้ออะไรได้อะไรทำนองนี้มั้งครับ และคนส่วนใหญ่ก็เป็นกลุ่มคนที่อายุไม่มากนักและส่วนใหญ่จะไม่ใช่คนที่หาเงินใช้เอง
จบข่าว
เลยนำมาโพสในนี้ด้วยนะครับ
ภาค 13
1.ไม่ทราบมีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับ 3 ยักษ์ดีทรอบด์ค่ายรถ
ใน usa เพราะไม่รู้จะล้มละลายกี่แห่ง และ เห็นว่าถ้า 3 ค่ายรถนี้
ล้มละลายน่าจะส่งผลกระทบต่อการว่างงาน ระดับ 2.5-3 ล้านคน
(ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 13-16 เดือน 11 หน้า 16)
เพราะจะส่งผลกระทบไปยัง supply ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย
ส่วนตัวไม่แน่ใจว่าตัวเลข 2-5-3 ล้านคนเวอร์ไปไหมน่ะครับ
และพี่ ih มีความเห็นเรื่องการล้มละลายของ 3 บริษัทนี้โอกาศเกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหน และถ้าเกิดจริงจะส่งผลกระทบแค่ไหนครับ
- ช่วงที่เศรษฐกิจสหรัฐและเศรษฐกิจโลกยังดีอยู่นั้น ค่ายรถ Big3 ของสหรัฐเองก็ไม่ได้อยู่ในสถานการณ์ที่ดีนัก โดยเฉพาะ GM หรือกระทั่ง Chrysler ซึ่งไปรวมกับ Daimler ที่ท้ายสุด Daimler ก็ต้องขาย Chrysler ออกมา
เหตุผลที่ค่ายรถ Big3 ของสหรัฐลำบากนั้นก็เพราะว่าเดิมทีค่ายรถทั้ง 3 นั้นก็พึ่งพาตลาดในประเทศเป็นหลัก โดยที่ไม่ได้เน้นการทำการตลาดต่างประเทศนักเพราะตลาดในประเทศนั้นใหญ่มากพอ และเราคนไทยก็เห็นว่าช่วงก่อนๆ นี้ค่ายรถ Big3 แทบจะไม่ได้เข้ามาลงทุนหรือทำการตลาดในบ้านเราเลย ก็จะเริ่มมีก็ตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมาแต่ก็ดูเหมือนว่าจะสายเกินไปเพราะรถอย่าง Chevrolet หรือ Ford ก็ไม่ได้รับความนิยมมากนักในปัจจุบัน และในช่วง 10-30 ปีก่อน คนอเมริกันก็นิยมซื้อรถสัญชาติอเมริกันด้วยกัน ซึ่งหากเราดูหนัง Hollywood ยุคก่อนๆ จะเห็นได้ชัดว่าแทบไม่เคยเห็นรถญี่ปุ่นในหนังเลยและมักจะเป็นรถคันใหญ่ๆ กินน้ำมัน แต่มา 10 ปีหลังนี้ รถยนต์ที่ได้รับความนิยมในสหรัฐและรถที่ได้รับการ vote ยอดเยี่ยมกลับกลายเป็นรถสัญชาติญี่ปุ่นมากขึ้น ด้วยเหตุผลเรื่องคุณภาพและความนิยมของตลาดมานิยมรถขนาดเล็กหรือกลางมากขึ้น จากราคาน้ำมันทีแพงขึ้น เช่น Lexus Honda Accord หรือ Nissan Infinity ( หน้าตาจะคล้ายๆ Teana บ้านเรา ) และค่ายรถญี่ปุ่นนั้นก็ได้มุ่งเน้นในเรื่องการลดต้นทุนการผลิตมากกว่า Big3 โดยเฉพาะการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีค่าแรงถูกกว่า
มีช่วงหนึ่งที่ Big3 มีสถานการณ์ที่ดีขึ้นมาบ้างใน 4-5 ปีก่อนคือ กระแสนิยมในรถ SUV ซึ่ง Ford และ Chrysler ทำได้ดีในรุ่น Escape และ Cherokee แต่เมื่อราคาน้ำมันเริ่มแพงใน 2-3 ปีที่ผ่านมาก็ทำให้ Big3 ก็ทำให้ยอดขาย SUV ลดลงและ Big3 ก็ตกอยู่ในสถานการณ์ลำบากอีกครั้งหนึ่ง
ดังนั้นจุดล้มเหลวของค่ายรถ Big3 ก็คือ การ focus อยู่ในตลาดในประเทศมากเกินไป และสินค้าเน้นรถขนาดใหญ่มากเกินไป และการที่เสียตลาดในประเทศให้กับรถจากญี่ปุ่น และเมื่อเสียตลาดในประเทศแล้วก็ไม่สามารถไปเปิดตลาดในต่างประเทศได้มากพอที่จะชดเชย นอกจากนี้ ต้นทุนการผลิตที่สูงกว่า ระบบเงินเดือนและสวัสดิการที่เป็นระบบบำนาญและการประกันสุขภาพก็เป็นปัจจัยกดดันต้นทุนของรถที่ผลิตในสหรัฐอเมริกา
ดังนั้นผมคิดว่าการที่ Big3 จะมีขนาดเล็กลงหรือถูกซื้อกิจการแยกส่วนนั้นมีความเป็นไปได้ครับแต่ไม่ได้มีสาเหตุหลักจากภาวะเศรษฐกิจครั้งนี้ แต่เป็นปัญหาโครงสร้างที่เกิดขึ้นมายาวนานและวิกฤติครั้งนี้เป็นตัวซ้ำเติมให้มันเลวร้ายลงไปมาก
2.อ่านเจอว่า จีเอ็ม ในไตรมาส 3 ยอดขายรถยนต์ทั่วโลก 2.1 ล้านคัน
ลดลง 11% yoy
อยากถาม่าทำไมยอดขายลดลงเพียงแค่นี้ถึงกับทำให้บริษัทนี้มีความเสี่ยงทื่จะล้มละลายได้เลยเหรอ
เป็นเพราะว่าบริษัทผลิตรถยนต์มี fix cost เยอะหรือครับ
- Fixed cost เยอะครับ ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้างพนักงาน ค่าเสื่อมราคา ดอกเบี้ย ค่าวิจัยพัฒนา ฯลฯ ดังนั้นเมื่อสถานการณ์เดิมเจียนอยู่เจียนไปอยู่แล้ว ยอดขายที่ลดลง 11% ก็เพียงพอที่จะทำให้มีปัญหาทางการเงินได้ครับ
ผมคิดว่ารัฐคงจะต้องเข้ามาช่วยเหลือ 3 บริษัทนี้ เพราะ to big to fail แต่จะมีการปรับโครงสร้างขนานใหญ่ด้วยการขายสินทรัพย์แบบแยกส่วน ยุบธุรกิจและตลาดที่ไม่สร้างกำไร เพื่อให้ธุรกิจมีขนาดเล็กลงที่สุดเท่าที่จะทำให้อยู่ต่อไปได้ครับ และต้องยอมรับว่า Big3 จะกลับไปใหญ่เหมือนเดิมไม่ได้อีกแล้วครับ
3.ส่วนนึงที่บริษัทค่ายใน usa ปะคองตัวไม่รอด ถ้าเทียบกับญี่ปุ่น
(ผมไม่เห็นเจอข่าวค่ายรถญี่ปุ่นมีปัญหา) เป็นเพราะว่า
ค่ายรถที่ us บริหารไม่ดี ไม่มี know how ถ้าเทียบกับญี่ปุ่น
อย่าง honda toyota
- คำตอบส่วนหนึ่งคงอยู่ในคำตอบข้อ 1 แล้ว จุดเด่นของเศรษฐกิจสหรัฐและคนอเมริกันคือ เรื่องความคิดสร้างสรรค์ ความยืดหยุ่นในการทำงาน และความสามารถในการทำงานร่วมกันเป็นทีมภายใต้ความแตกต่างทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านความคิด เชื้อชาติ สีผิว ศาสนา เราคงจะเห็นในหนัง Hollywood แล้วว่าบางทีในเรื่องคนทำงานก็ไม่ถูกกันแต่ถ้ามีเป้าหมายร่วมกันก็มักจะร่วมมือทำงานให้สำเร็จได้ หนังเรื่องหนึ่งที่ผมนึกถึงคือ LA Confidential ครับ
ส่วนจุดเด่นของคนญี่ปุ่นอยู่ที่ความขยัน อดทน และวินัยการทำงาน ซึ่งรถยนต์ก็นับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ผ่านจุดที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์มานานแล้ว ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จที่สำคัญคือ เรื่องต้นทุน ดังนั้นในระยะยาว ธุรกิจรถยนต์คงไม่ใช่ธุรกิจที่สหรัฐจะมีความได้เปรียบในการแข่งขันครับ แต่เช่นกันครับ เราก็คงไม่เห็นความสำเร็จของญี่ปุ่นในบาง area เช่นกันครับ เช่น การเป็นบริษัท software ขนาดใหญ่ การเป็นเจ้าของ website ระดับโลก การสร้างภาพยนตร์ การสำรวจอวกาศ อาวุธสงคราม ฯลฯ ดังนั้นเมื่อโลกปัจจุบันเป็นโลกของการที่คนที่ทำได้ดีกว่าคู่แข่งเท่านั้นจึงอยู่ได้ ดังนั้นดูเหมือนว่าสหรัฐคงมีพื้นที่ให้ยืนน้อยลงไปเรื่อยๆ ในอุตสาหกรรมรถยนต์ครับ
แต่อย่างที่ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ ผมจำไม่ได้ว่าใครเป็นคนคิดระหว่าง Krugman หรือ Porter ( น่าจะเป็น Krugman ) ก็คือ ทุกประเทศยังมีจุดยืนครับแต่คนละ segment ครับ และตามความนิยมของผู้บริโภคที่หลากหลายแตกต่างกัน เพราะสินค้าไม่สามารถทดแทนกันได้ และราคาไม่ได้เป็นปัจจัยเดียวในการกำหนดการตัดสินใจ คนญี่ปุ่นบางคนก็ยังขับ Benz คนยุโรปก็อาจจะชอบ Lexus หรือ Accord คนอเมริกันอาจจะฟังเครื่องเสียง Sony ในขณะที่ลำโพง medium to high end ของอเมริกาอย่าง Bose ก็ยังขายดีทั่วโลก ดังนั้นไม่ใช่ว่า Sony ทำเครื่องเสียง ลำโพงได้ถูกกว่าแล้วจะต้องทำให้ Bose เจ๊ง
4.ไม่แน่ใจว่าสัดส่วนตัว c หรือ consumtion ของประเทศญี่ปุ่นกับ usa ประเทศไหนเยอะกว่า เราจะพูดได้ไหมว่า สมมุติว่า usa ตัว c ของเขา เป็นสัดส่วนที่เยอะ
เทียบกับ i ,g,x-m ถ้าสัดส่วนนี้เยอะกว่า จะทำให้บริษัทอย่างค่ายรถได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจมากกว่า
- ดูแล้วสัดส่วน c ของญี่ปุ่นจะน้อยกว่าสหรัฐมากครับเพราะเศรษฐกิจญี่ปุ่นพึ่งพาการส่งออกและรายได้จากการลงทุนตั้งฐานการผลิตในต่างประเทศเยอะเพราะคนญี่ปุ่นมีการบริโภคน้อยกว่าและมีการออมมากกว่าคนอเมริกันเยอะครับ ส่วนบริษัทรถของญี่ปุ่นในระยะยาวน่าจะได้ประโยชน์จากยอดขายที่อยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา เช่น จีน อินเดีย ฯลฯ แต่จะได้รับผลกระทบระยะสั้นถึงกลางจากภาวะเศรษฐกิจโลก ดังนั้นบางทีการที่ Big3 มีปัญหาก็เป็นโอกาสในระยะยาวของค่ายรถญี่ปุ่น หรือค่ายรถของประเทศเกิดใหม่ เช่น Tata motor ที่จะเข้าไปซื้อกิจการ Brand name หรือโรงงานบางแห่งของ Big3 ได้ครับ
5 จริงๆแล้วเราควรดูข้อมูลของ gnp ประกอบกับการดู gdp มากน้อยแค่ไหนครับ
เพราะว่าถ้าคนในประเทศไปทำงานหรือมีรายได้ที่ต่างประเทศก็จะถือเป็น
gnp ของประเทศนั้นถูกไหมครับ
แบบนี้ประเทศญี่ปุ่นที่ ย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่นๆ
ก็จะทำให้ gdp ต่ำเกินจริง แต่ gnp จะสูง พูดแบบนี้ถูกไหมครับ
สรุปถ้าประเทศไหนอยากให้เศรษฐกิจชะลอตัว
ก็ใช้วิธีให้คนไปทำงานต่างประเทศ กับ ย้ายฐานการผลิต หรือป่าวครับ
- ถ้าคนไทยประเทศไปทำงานหรือมีรายได้ที่สหรัฐก็จะถือเป็น
gnp ของประเทศไทยครับ แต่จะไปมีส่วนเพิ่ม GDP ของประเทศสหรัฐครับ
ส่วนที่ประเทศญี่ปุ่นที่ ย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่นๆ ถ้าทำให้การจ้างงานในญี่ปุ่นลดลงก็จะทำให้ GDP ของญี่ปุ่นลดลงในส่วนการจ้างงานที่ลดลงครับ แต่ GNP จะสูงขึ้นมาครับ และจะได้ GDP ที่เพิ่มขึ้นหากบริษัทในประเทศส่งเงินกลับมาแล้วทำให้เกิดการใช้เงินจำนวนนี้ในประเทศญี่ปุ่นครับ
ส่วนใหญ่การย้ายฐานการผลิต น่าจะเป็นเหตุผลเรื่องการค่าแรงและต้นทุน ซึ่งมักจะเกิดกับประเทศที่เศรษฐกิจโตติดต่อกันนานๆ จนค่าแรงเริ่มแพง ซึ่งก็เคยเกิดกับญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี ดังนั้นประเทศที่ GDP โตสูงๆ มักจะนำมาซึ่งการที่ค่าแรงแพงจนต้องมีการย้ายฐานการผลิตและอาจจะทำให้ GDP โตน้อยลงได้
ส่วนเรื่องแรงงานไปทำงานต่างประเทศ จะตรงข้าม มักเกิดกับประเทศที่เศรษฐกิจในประเทศไม่ดีทำให้มีแรงงานว่างงานมากและกระตุ้นให้คนงานไปทำงานต่างประเทศมากขึ้น ยกตัวอย่างในกรณีของประเทศฟิลิปปินส์ที่มีคนออกไปทำงานต่างประเทศมากขึ้น ผมเคยอ่านคร่าวๆ เห็นว่า 15% ของรายได้ของประเทศมาจากแรงงานที่ไปทำงานต่างประเทศครับ
6.จริงๆแล้ว gdp ไทยขึ้นอยู่กับการส่งออกไม่เยอะใช่ไหมครับ
ที่เขาออกข่าวกันว่า export เป็น 70% แต่ว่าพอ เป็น net export หักนำเข้าแล้ว
เหลือแค่ 15% แบบนี้จริงๆแล้ว ไทยก็ไม่ได้พึ่งพิงส่งออกเยอะอย่างที่คิดสิครับ
- สินค้าบางอย่างส่งออกก็ไม่ได้ต้องนำเข้าวัตถุดิบอะไรเข้ามานัก เช่น สินค้าเกษตร ประมง ฯลฯ และสินค้านำเข้าบางอย่างก็ไม่ได้นำมาเพื่อผลิตเพื่อส่งออก เช่น น้ำมันที่ใช้ในการเดินทาง ขนส่ง หรือสินค้านำเข้าเพื่อบริโภคในประเทศ ดังนั้นคงดู net export อย่างเดียวไม่ได้ครับ อย่างไรก็ตาม ตัวเลขที่ตัวที่ต้องดูคือ import content ( สัดส่วนการนำเข้าวัตถุดิบ ) ของแต่ละอุตสาหกรรมส่งออก
ถ้าอุตสาหกรรมส่งออกไหนที่ import content ต่ำ เช่น 10% แปลว่านำเข้าวัตถุดิบเพื่อผลิต 10% และใช้วัตถุดิบในประเทศ 90% การส่งออกที่ลดลงจะกระทบกับเศรษฐกิจในประเทศสูงเพราะใช้วัตถุดิบในประเทศมากจึงกระทบกับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง
ถ้าอุตสาหกรรมส่งออกไหนที่ import content สูง เช่น 80% แปลว่านำเข้าวัตถุดิบเพื่อผลิต 80% และใช้วัตถุดิบในประเทศเพียง 20% การส่งออกที่ลดลงจะกระทบกับเศรษฐกิจในประเทศน้อยกว่า
อุตสาหกรรมที่ import content สูงๆ เช่น อิเลคทรอนิกส์ ทูน่ากระป๋อง
อุตสาหกรรมที่ import content ปานกลาง เช่น ยานยนต์
อุตสากหกรรมที่ import content ต่ำ เช่น เกษตร สินค้าเกษตรแปรรูป ( ยกเว้นทูน่ากระป๋อง ) ประมง
อีกธุรกิจหนึ่งที่สร้างรายได้จากต่างประเทศและมี import content ต่ำมากคือ ธุรกิจบริการ ได้แก่ ท่องเที่ยว รักษาพยาบาล ซึ่งรายได้ 100 บาทเป็นรายได้ของคนในประเทศเกือบทั้งหมดมีส่วนที่ต้องนำเข้ามาน้อยมาก และมีธุรกิจต่อเนื่องหลายอย่าง ดังนั้นรายได้จากการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นและลดลงจึงกระทบกับ GDP ได้มากพอสมควร และเป็นธุรกิจที่ไม่ใช้เครื่องจักรจึงเกี่ยวข้องกับการจ้างงานค่อนข้างมาก เพื่อให้เศรษฐกิจประเทศไทยคงอยู่ต่อไปได้ ขอความกรุณาอย่าได้มีการยึดหรือปิดสนามบินอีกเลยครับ เพราะจะทำให้มีคนตกงานหรือสูญเสียรายได้เพิ่มจำนวนมาก
7.ปกติเงินเฟ้อมักจะสูงเมื่อ gdp โตสูงใช่หรือไม่
แต่เหตุการ์ stagflation gdp ตกต่ำ ที่เงินเฟ้อสูง
แสดงว่าเงินเฟ้อน่าจะเกิดจาก
cost put ใช่ไหมครับ
- Stagflation คือ stagnant + deflation คือ เงินเฟ้อสูง เศรษฐกิจโตต่ำ ส่วนใหญ่จะเกิดจาก cost push ซึ่งเกิดจาก supply shock คือ การลดลงของจำนวนสินค้าที่เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตหรือบริโภค เช่น การลดลงของปริมาณการผลิตน้ำมัน หรือภาวะแห้งแล้งหรือภูมิอากาศที่ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลงมาก อย่างหลังจะพบบ่อยในเศรษฐกิจและสังคมในยุคก่อนๆ ที่สังคมเป็นสังคมเกษตรกรรมครับ
อย่างกรณีปัจจุบันจะเห็นว่าการที่ราคาน้ำมันแพงขึ้นไม่ได้เกิดจาก supply shock คือ การผลิตน้ำมันในช่วงที่ผ่านมายังอยู่ในภาวะปกติ แต่ที่น้ำมันแพงขึ้นนั้นเป็นผลจาก demand เพิ่ม ดังนั้นเมื่อเศรษฐกิจชะลอตัวลงราคาน้ำมันก็ลดลงมาอย่างรวดเร็ว ทำให้เศรษฐกิจโลกไม่เกิดภาวะ stagflation อย่างที่เคยกลัวกัน แต่ก็เลยเปลี่ยนไปกลัว depression กันแทนซึ่งรุนแรงพอๆ กับ stagflation เช่นกัน กล่าวคือ stagflation จะมีการว่างงานน้อยกว่าแต่มีภาวะข้าวยากหมากแพง แต่ depression นั้นราคาสินค้าไม่แพงแต่คนจะตกงานจำนวนมากกว่า
8. ตัวเลขการเติบโตของ gdp ไทยย้อนหลัง
มีการเติบโตถึง 14-15% ด้วยในช่วงปี 2530-2531
อยากทราบว่าการเติบโตช่วงนั้นหลักๆ
มาจากการเมืองมีเสถรียรภาพ และ มีการเปิดเสรีทางการค้าใหม่ๆใช่ไหมครับ
น่าจะเป็นยุคนายก ชาติชาย ใช่หรือไม่
พี่ ih คิดว่าเมื่อไหร่ไทยจะกลับไปมี gdp โตซัก 14-15% อีกครับ
ต้องมีเงื่อนไขอะไรบ้างครับ
- การเติบโต 2 หลักช่วงนั้นมีหลายปัจจัยครับ ที่สำคัญอีกอย่างคือ การที่ประเทศเปลี่ยนจากการพึ่งพิงภาคการเกษตรเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ ซึ่งมีเงินลงทุนเข้ามาตั้งโรงงานของต่างชาติจำนวนมาก และแรงงานจากภาคเกษตรเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม ผู้หญิงเข้าสู่ภาคแรงงานมากกว่าเดิมมาก ทำให้จำนวนแรงงานหรือ workforce เพิ่มขึ้นมาก
ในปัจจุบัน อัตราการเข้าสู่ภาคแรงงานของเพศหญิงไม่ได้เพิ่มแล้ว และแรงงานจากภาคเกษตรก็ไม่ได้เข้ามาสู่ภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นมากนัก รวมถึงการลงทุนของต่างชาติก็ไม่ได้มากมายเหมือนช่วงปี 2530 เพราะค่าแรงและต้นทุนการผลิตของไทยไม่ได้มีความได้เปรียบมากเหมือนเมื่อก่อน รวมถึงมีประเทศกำลังพัฒนาเกิดใหม่ที่เป็นทางเลือกอีก เช่น จีน อินเดีย หรือยุโรปตะวันออก
ดังนั้นการที่เราจะมี GDP โต 14-15% คงเป็นไปไม่ได้อีกแล้วครับ สามารถฟันธง และ confirm ได้เลยโดยไม่ต้องพึ่งหมอลักษณ์หรือหมอกฤษณ์ครับ
9. เงินที่จีนจะเอาไปกระตุ้นเศรษฐกิจ 4 ล้านๆหยวน
มีนักวิเคราห์บางคนบอกว่า อาจจะเอาเงินมาจากการขาย
พันธบัตร us ที่อยู่ในรูป reserve มีความเป็นไปได้ไหมครับ
และถ้าเป็นยังงั้นจริงจะส่งผลให้ค่าเงินดอลแข็งใช่ไหมครับ
- ถ้าจีนขายพันธบัตรสหรัฐ แล้วนำเงินกลับประเทศจะทำให้ค่าเงินดอลอ่อนนะครับ เพราะเป็นขายดอลล่าร์ซื้อหยวน
แต่โดยปกติแล้วเงินที่ใช้กระตุ้นเศรษฐกิจนั้นรัฐบาลสามารถออกพันธบัตรรัฐบาลและกู้เงินจากระบบ ( ผู้ฝากเงิน สถาบันการเงิน ) ได้ครับ แต่การกู้เงินจากระบบจะไปแย่งเงินจากภาคเอกชนมา ซึ่งจะไปลดทอน ( crowding out ) การลงทุนภาคเอกชนได้ ดังนั้นเพื่อลดผลของ crowding out ธนาคารกลางก็จะพิมพ์เงินเพิ่มมาส่วนหนึ่งเพื่อรองรับการใช้เงินเพิ่มขึ้นของภาครัฐด้วยครับ แต่การพิมพ์เงินเพิ่มจะต้องอยู่ในจำนวนที่เหมาะสมไม่มากเกินไปที่จะทำให้เกิดเงินเฟ้อสูงได้ครับ
แต่ในช่วงเศรษฐกิจแย่ๆ การใช้เงินของภาครัฐโดยชดเชยโดยการออกพันธบัตรรัฐบาลนั้นจะทดแทนการลงทุนภาคเอกชนและการบริโภคที่น่าจะลดลงในช่วงนั้นครับ กล่าวคือ เมื่อภาคธุรกิจและผู้บริโภคไม่กล้าใช้จ่าย ถ้าปล่อยเป็นเช่นนี้นานๆ เศรษฐกิจจะถดถอยไปเรื่อยๆ ภาครัฐต้องใช้จ่ายแทนครับ
หลักการบริหารการคลังก็จะเป็นลักษณะนี้ครับ เมื่อไหร่ที่เศรษฐกิจดี ภาคเอกชนและผู้บริโภคกล้าใช้เงิน ภาครัฐจะต้องประหยัดแทนครับคือ ควรมีงบประมาณเกินดุล แต่ถ้าเศรษฐกิจแย่ เอกชนไม่กล้าใช้เงิน ภาครัฐต้องใช้เงินแทนครับ คือ ควรมีงบประมาณขาดดุล
10.ตัวเลขการขาดดุลงบประมาณของ us ในเดือน ตุลาคม ออกมาที่
237200 ซึ้งมากกว่าเดือนตุลาปีที่แล้ว 4 เท่า และมากกว่าของ 6 เดือนแรก
ปีที่แล้วรวมกัน เข้าใจว่าเพราะไปช่วยเพิ่มทุนสถาบันการเงิน
แต่ตัวเลขที่ขาดดุลมากขนาดนี้ จะส่งผลยังไงตามมาครับ
เพราะว่ารัฐของต้องมีหนี้มากขึ้น ก็หมายถึงต้องออกพันธบัตรมาใช่ไหมครับ
ออกพันธบัตรเยอะๆจะทำให้ค่าเงินอ่อน เกี่ยวไหมครับ
สมมุติประเทศอื่นซื้อพันธบัตร us ไปก็เหมือนกับเงิน us ไหลออกใช่ปะครับ
- ต่อเนื่องจากข้อ 9 ครับ ปกติแล้วการออกพันธบัตรรัฐบาลมักจะตรงทำควบคู่กับการพิมพ์เงินเพิ่ม ซึ่งการพิมพ์เงินเพิ่มก็จะทำให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มและจะทำให้ค่าเงินอ่อนครับ แต่กรณีของสหรัฐจะพิเศษตรงที่พันธบัตรรัฐบาลถูกซื้อโดยรัฐบาลประเทศอื่นๆ เพื่อใช้เป็นทุนสำรองและนักลงทุนจากประเทศอื่นๆ ที่ต้องการการลงทุนแบบไม่มีความเสี่ยง ดังนั้นเมื่อประเทศอื่นซื้อพันธบัตรสหรัฐ ก็หมายความว่าจะต้องซื้อเงินดอลล่าร์ครับ ดังนั้นคือ เงินไหลเข้านะครับไม่ใช่ไหลออก และค่าเงินสหรัฐเลยไม่ค่อยอ่อนลงและอาจจะแข็งค่าขึ้นด้วยครับจากกรณีนี้
เหตุผลหนึ่งที่สหรัฐพิมพ์เงินเพิ่มได้ไม่ค่อยมีขีดจำกัด และยังไม่ค่อยทำให้เกิดเงินเฟ้อ เพราะมีหลายๆ ประเทศที่ใช้ธนบัตรสหรัฐควบคู่กับเงินสกุลของตัวเอง โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาที่การเมืองไม่มั่นคง หรือมีอัตราเงินเฟ้อสูงๆ เช่น โซเวียตสมัยก่อน แอฟริกา ละตินอเมริกาบางประเทศ ซึ่งเราอาจจะเคยเห็นในหนังแนวมาเฟียบางเรื่อง เปรียบเทียบก็เหมือนกับที่ประเทศลาวและพม่ายินดีที่จะรับเงินบาทในการซื้อขายและอาจจะยินดีรับมากกว่าเงินสกุลตัวเองในบางช่วงเวลา ธนบัตรสหรัฐจึงเป็น hard currency คือเงินสกุลแข็ง ซึ่งถูกนำมาใช้สื่อในการแลกเปลี่ยน ทำให้เงินดอลล่าร์จึงเหมือนแบงค์กงเต๊กคือ พิมพ์ออกมาได้เรื่อยๆ แต่ที่ต่างจากแบงค์กงเต็ก คือ มันใช้แลกเปลี่ยนสินค้าได้น่ะสิครับ เพราะความเชื่อมั่นในประเทศสหรัฐ In dollar, we trust ครับ
11. ทำไมตลาดหุ้น usa ถึงตกน้อยกว่าตลาดหุ้นที่อื่น ทั้งๆที่ usa เป็นต้นตอของปัญหารอบนี้ อย่างหุ้นเอเซียส่วนใหญ่ก็ลงมากกว่า 50% แต่ usa high
14000 ตอนนี้ยังมากกว่า 8000 เลยครับ เป็นเพราะว่านักลงทุนของเขาส่วนใหญ่
เป็นสถาบันที่ไม่ขี้ตกใจเหมือนประเทศอื่นๆปะครับ
- ก็เหมือนนักลงทุน VI ครับ เมื่อหุ้นลงแล้วเราคิดว่าจะถือเงินสดบางส่วน เราคงเลือกขายหุ้นที่เราชอบหรือมั่นใจน้อยที่สุด ดังนั้นถ้าประเทศสหรัฐมีปัญหาและสถาบันการเงินต้องขายหุ้นส่วนหนึ่งเพื่อนำเงินกลับมา ก็คงเลือกขายหุ้นในประเทศอื่นๆ ที่ไม่ใช่ประเทศตนเองก่อนครับ และอีกประการหนึ่ง คือ หุ้นใน DJ หรือ S&P หลายตัวนั้นมีลักษณะ Well diversified คือ มีรายได้จากทั่วโลก ยกตัวอย่างเช่น หุ้นอย่าง Coca Cola , P&G , Kellogg, Phillip Morris , Microsoft ซึ่งจะได้รับผลกระทบน้อยกว่า ซึ่งหุ้นพวกนี้มักจะแข็งกว่าตลาดครับ ดังนั้น จริงๆ แล้วหุ้นไทยบางตัวที่ส่งออกไปสหรัฐมากๆ ยังเสี่ยงกว่าหุ้นในสหรัฐอย่าง Coca Cola หรือ Phillip Morris ( บุหรี่ Marlboro ) เสียอีกครับ
12.ตามหลักเศรษฐศาสตร์ถ้าประเทศไหนยิ่งมี reserve เยอะก็จะทำให้ค่าเงินแข็งใช่หรือไม่ reserve ของจีนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนแซงญี่ปุ่น ถ้าเป็นแบบนี้ค่าเงินหยวนควรจะแข็งค่ากว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบันเยอะเลยใช่หรือไม่ครับ
- Reserve ที่เพิ่มขึ้นเกิดจากการ manage ค่าเงินเพื่อไม่ให้ค่าเงินแข็งเกินไปครับ กล่าวคือ ประเทศที่ใช้ fixed exchange rate อย่างจีน ถ้า reserve เพิ่มแสดงว่าธนาคารกลางมีการซื้อดอลล่าร์และขายเงินหยวน ซึ่งเกิดจากการที่จีนมีเงินดอลล่าร์เข้ามาจำนวนมากจากการเกินดุลการค้า ซึ่งการเกินดุลการค้าแสดงว่า การส่งออก ( เงินดอลล่าร์ที่ได้มา ) สูงกว่า การนำเข้า ( การใช้เงินดอลล่าร์ ) ดังนั้นเมื่อจำนวนที่ได้มานั้นมากกว่าความต้องการใช้ทำให้มีดอลล่าร์ส่วนเกิน หากธนาคารกลางไม่เข้าแทรกแซงก็จะทำให้ค่าเงินหยวนนั้นแข็งค่าขึ้น ( ดอลล่าร์แข็งค่าเทียบหยวน ) ซึ่งการที่จีนใช้ fixed exchange rate แสดงว่าจะปล่อยค่าเงินแข็งไม่ได้ ดังนั้นธนาคารกลางจีนจึงจำเป็นต้องซื้อดอลล่าร์เข้ามา จึงทำให้ reserve เพิ่มขึ้นครับ
อย่างไรก็ตาม การเพิ่ม reserve นั้นทำให้ธนาคารกลางประเทศนั้นๆ มีต้นทุน คือ เมื่อซื้อดอลล่าร์เข้าไปต้องมีการออกเงินหยวนเพื่อจ่ายออกไป ซึ่งจะทำให้ monetary base เพิ่มขึ้นซึ่งจะกระทบกับ money supply ซึ่งทำให้เกิดเงินเฟ้อ ทำให้ธนาคารกลางจะต้องต้องออกพันธบัตรเพื่อดูดสภาพคล่องส่วนเกิน หรือเรียกว่า sterilization ออกไป ซึ่งดอกเบี้ยพันธบัตรนั้นเป็นต้นทุนของธนาคารกลางในการมี reserve เพิ่มขึ้น
ดังนั้นประเทศที่มี reserve เพิ่มขึ้นมากๆ วันหนึ่งจะต้องปล่อยให้ค่าเงินแข็งขึ้นมาบ้างเพื่อให้การเกินดุลการค้าลดลง และตรงกันข้าม ประเทศที่ reserve ลดลงมากๆ หรือใกล้หมด จะต้องปล่อยให้ค่าเงินอ่อนค่าเพื่อให้เกินดุลการค้า ซึ่งประเทศไทยเมื่อปี 40 ก็เป็นเช่นนี้
คำตอบข้อนี้อาจจะซับซ้อนไปบ้างสำหรับเพื่อนๆ ที่ไม่ได้ผ่านวิชาเศรษฐศาสตร์มหภาค 101 มา แต่ยืนยันครับว่าเป็น course 101 คือ เบื้องต้นจริงๆ เพราะไม่ได้มีการวาด IS-LM หรือเข้าสมการใดๆ เลย และสามารถหาหนังสือมาอ่านเพิ่มได้ไม่ยากครับ ลองอ่าน เศรษฐศาสตร์มหภาค ของ อ. รัตนา สายคณิต ของคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ดูได้นะครับ
13.อยากทราบมุมมองว่าค่าเงินดอลในระยะ 2-3 ปีมีแนวโน้มแข็งขึ้นหรืออ่อนค่าลง เนื่องจากมีหลายเสียง บางคนบอกว่าตอนนี้แข็งขึ้นเพราะต้องนำเงินจากทั่วโลก
กลับไปแก้ปัญหาสถาบันการเงินทำให้ค่าเงินแข็งชั่วคราว แต่จริงๆพื้นฐานเศรษฐกิจของเขาไม่ดี แต่บางคนบอกว่าสภาวะตอนนี้ทุกคนต้องที่ที่เป็น safe heaven มากที่สุดนั้นก็คือ พันธบัตร usa ซึ้งทำให้ bond yield 10 ปี ตอนนี้ต่ำมาก
- ครับ ทุกคนมองว่าแม้เศรษฐกิจสหรัฐเลวร้ายเพียงใด พันธบัตรสหรัฐยังเป็นการลงทุนที่ปลอดภัยที่สุดอยู่ดีครับ เพราะทุกคนเชื่อว่าสหรัฐก็ยังน่าจะผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปได้ แต่หากผ่านไม่ได้จริงๆ คือสหรัฐล้ม ไม่ว่าถือเงินสกุลไหนก็ซวยอยู่ดีครับ หลายๆ ประเทศก็ยังเพิ่มเงินทุนสำรองที่เป็นสกุลดอลล่าร์อยู่ เหตุผลหนึ่งที่พันธบัตรสหรัฐหรือเงินดอลล่าร์เป็น safe heaven ก็เพราะเงินสกุลอื่นๆ เช่น ยูโร เยน ก็ยังไม่ได้เป็นทางเลือกที่ดีนักครับเพราะเศรษฐกิจประเทศเหล่านี้ก็ยังไม่ใช่ว่าดีครับ และอีกอย่างที่สำคัญคือ ราคาสินค้า commodity ต่างๆ ก็ยังซื้อขายกันเป็นเงินดอลล่าร์ซึ่งตรงนี้ก็ถือว่าเงินดอลล่าร์ก็ยังมีอิทธิพลสูงมากในตลาดโลก
14.ตามปกติแล้ว ถ้าดอกเบี้ยนโยบายของไทยสูงกว่าประเทศ usa(rp สูงกว่า fed fund) จะทำให้ค่าเงินแข็งใช่หรือไม่เพราะว่า เงินจากต่างประเทศจะเข้ามาในไทยเพื่อรับดอกเบี้ยที่สูงกว่า ฉะนั้นการที่แบงค์ชาติเพิ่งลดดอกเบี้ย r/p ลง 1% น่าจะทำให้ค่าเงินยิ่งอ่อนเร็วขึ้นใช่หริอไม่ เพราะส่วนต่างลดน้อยลง
ปัจจัยด้านดอกเบี้ยเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการไหลเข้าของออกของเงินเท่านั้นครับ การไหลเข้าออกของเงินขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ อีกมากครับ เช่น
- การคาดการเงินเฟ้อในอนาคต หากเงินเฟ้อประเทศไทยสูงกว่าประเทศอื่นๆ แม้ดอกเบี้ยสูงก็อาจจะไม่ดึงดูดให้เงินไหลเข้าเพราะว่าการที่เงินเฟ้อสูงจะทำให้มูลค่าของเงินนั้นลดลง ( เงิน 1 บาทซื้อสินค้าได้น้อยลง )
- เสถียรภาพทางการเมือง ความเสี่ยงของประเทศ เนื่องจากเงินที่ไหลเข้าต้องมีที่ไป เช่น ซื้อพันธบัตรรัฐบาล ดังนั้นนักลงทุนจะต้องดู default risk หรือ ความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ด้วย ดังนั้น แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยปากีสถานจะสูงกว่าสหรัฐ 1% หากเราเป็นนักลงทุนเราคงเลือกสหรัฐมากกว่า
- การเติบโตของเศรษฐกิจ ประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตสูงจะดึงดูดให้มีเงินลงทุนไหลเข้าในหุ้น อสังหาริมทรัพย์ และการลงทุนทางตรงอื่นๆ เช่น สร้างโรงงาน
อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยที่ลดลงก็จะมีส่วนที่ทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลงได้บ้างครับ แต่ตอนนี้อัตราดอกเบี้ยบ้านเรายังสูงกว่าดอกเบี้ยสหรัฐอยู่เหมือนกันครับ หาก ธปท. ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจในปีหน้า ผมคิดว่าอัตราดอกเบี้ย R/P ในปีหน้าควรจะลดลงอีกประมาณ 1.5% เป็นอย่างน้อยครับ
อันนี้เป็นภาค 14 แต่ยังถามตอบกันไม่จบนะครับ
1.หุ้นในกลุ่มบันเทิงอย่าง work ซึ้งเป็นผู้ผลิตรายการนั้นไม่เหมาะกับการลงทุนระยะยาวใช่ไหมเพราะธรรมชาติของคนต้องการความแปลกใหม่เสมอ
1.2ถ้ามีรายการที่โดนใจคนดูเกิดขึ้นเราควรจะหาจังหวะขายหุ้นทิ่งหรือไม่เพราะยากที่จะมีรายการใดที่อยู่ในกระแสความนิยมระยะยาวได้
1.3ผู้ผลิตรายการมีปัญหาอีกอย่างนึงก็คือต้องรักษาบุคลากรเก่งๆให้อยู่กับบริษัทได้
- ช่วงที่ WORK เข้าตลาดหุ้นก็เป็นช่วงที่ WORK ประสบความสำเร็จค่อนข้างสูง โดยครองส่วนแบ่งตลาดค่อนข้างสูงในส่วนของรายการประเภทเกมโชว์และ variety จุดเด่นของ WORK อยู่ที่ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างเกมโชว์และรายการต่างๆ และความสามารถของพิธีกร
แต่หลังจากเข้าตลาดหุ้นแล้วไม่สามารถก้าวขึ้นไปอีกระดับหนึ่งได้ และก็ต้องยอมรับว่าการที่ WORK จะโตจากระดับที่เข้าตลาดหุ้นก็ทำได้ลำบากครับเพราะตลาดมีอยู่ได้เพียงตลาดในประเทศเป็นหลักเท่านั้น คงจะไม่เหมือนบริษัทด้านนี้ในสหรัฐที่สามารถขยายฐานผู้ชมได้ทั่วโลกครับ นอกจากนี้ WORK ณ ปัจจุบันยังคงพึ่งพาบุคลากรหลัก 2 คน คือ คุณปัญญาและคุณประภาส ซึ่งดูเหมือนว่าตอนนี้ยังขาดคนใดคนหนึ่งไปยังไม่ได้ เลยเหมือนหลอดไฟ 2 หลอดที่ต่ออนุกรมกันครับ คือ ถ้าหลอดใดหลอดหนึ่งขาดก็จะทำให้อีกหลอดดับไปด้วย ดังนั้น การที่หุ้นลง ธุรกิจ WORK ไม่ได้แย่หรือเลวร้ายครับ เพียงแต่เข้าตลาดช่วงที่ peak ของธุรกิจไปแล้วครับ อีกบริษัทที่เข้าตลาดช่วง peak และหลังเข้าตลาดแล้วธุรกิจแย่ลงไปมากคือ Matching ครับ เพราะไปทำธุรกิจที่ตนเองไม่มีความถนัดคือ การสร้างภาพยนตร์ครับ
2.หุ้น อสมท ควรมี pe สูงกว่า bec ใช่ไหมในแง่ที่เป็นเจ้าของคลื่นแต่ bec ต้องไปเช่าคลื่นจาก อสมท
2.2ถ้าแบบนี้หุ้น อสมท ก็ควรมี beta ต่ำกว่า bec เพราะว่ามีสัดส่วนรายได้ที่สม่ำเสมอกว่าใช่ไหม
- บังเอิญนักลงทุนประเภทสถาบันให้ p/e ของ bec สูงกว่าเพราะอาจจะเห็นว่า bec เป็น บ. เอกชน มีประวัติการบริหารที่ดีมายาวนาน และ mcot ก็มีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่มีผลต่อธุรกิจและมีผลต่อผู้ที่จะมาเป็น ผู้อำนวยการ ครับ นอกจากนี้ หากตัดส่วนแบ่งค่าเช่าและสัมปทานจาก bec และ true vision ออกไปแล้วจะเห็นว่า mcot จะมีกำไรจากการดำเนินการธุรกิจหลัก ( ช่อง9 และรายการวิทยุ ) ไม่มากเท่าไหร่นักครับ ดังนั้นนักลงทุนส่วนหนึ่งอาจจะไม่แน่ใจว่ารายได้จากค่าสัมปทานจะมีอย่างต่อเนื่องแน่นอนในอนาคตครับ
2.3หุ้นกลุ่มนี้ถือว่ามี barry to entry การเข้ามาของรายใหม่ที่สูงหรือต่ำ เพราะว่า cable tv เถื่อนต่างๆไม่น่าจะใช้เงินลงทุนสูง
- ตลาด TV ประเทศไทยเป็นตลาด mass คือ ครอบคลุมประชากรกว่า 60 ล้านคน และคนไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่ใช้เวลาแต่ละวันในการดู TV มากกว่าประเทศอื่นๆ แต่กลับอ่านหนังสือน้อยกว่าประเทศอื่นมาก ดังนั้นตลาดรองอย่าง True vision หรือ เคเบิ้ลต่างๆ ยังครอบคลุมประชากรในกลุ่มที่ยังไม่มากนักครับ ดังนั้นสินค้าอุปโภคบริโภคที่ต้องการโฆษณาในระดับ mass จึงยังต้องเลือกโฆษณาทาง TV เป็นหลักอยู่ครับ ดังนั้นคู่แข่งทางตรงของ BEC MCOT ก็คือ Free TV ด้วยกันครับ และยังไม่มีแนวโน้มที่จะมี free TV ช่องใหม่เกิดขึ้นครับ
3.หุ้นโรงแรมเป็นหุ้นที่มีความน่าลงทุนต่ำเพราะเป็นธุรกิจที่ต้องลงทุนสูง และ เมื่อสร้างโรงแรมใหม่กว่าจะเต็มได้ก็ต้องใช้เวลานาน แถมถ้าไม่ใช่ฤดูท่องเที่ยวก็ไม่น่ามีคนมาเยอะ จริงๆแล้วหุ้นกลุ่มนี้ไม่น่าจะมี pe ที่สูงกว่าตลาด
ไม่ทราบว่าพี่ ih มีความเห็นว่ายังไง
- ปกติคนทำธุรกิจโรงแรมเวลาทำ feasibility study หรือหา Project IRR จะใช้สมมุติฐานคนเข้าพักเฉลี่ยทั้งปี 50-70% ครับ คือ ต้องอยู่ได้แม้ occupancy จะอยู่เพียง 50% ซึ่งหมายความว่าจะมีช่วง high และ low season ดังนั้นคงจะต้องดูว่าที่ occupancy rate 60-70% หุ้นโรงแรมนั้นจะมีกำไรมากน้อยเพียงใดครับ จุดเด่นของ รร. คงจะเป็นเรื่องการเป็นธุรกิจที่สามารถตั้งราคาบริการหรืออาหารได้สูงเมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนครับ และประเทศไทยก็เป็นประเทศที่มีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมาก ซึ่งเห็นได้จากยอดจำนวนเข้าออกสนามบินหลักคือ สุวรรณภูมิ นั้นติด 1 ใน 20 ของสนามบินทั่วโลก ดังนั้นธุรกิจโรงแรมที่ผ่านมานับว่าเป็นธุรกิจที่ประเทศไทยมีความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาดโลกครับ ที่ผ่านมาจึงมี p/e สูงกว่าตลาด เว้นเสียว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในพื้นฐานที่กระทบกับการท่องเที่ยวอย่างถาวรครับ
โรงแรมที่อยู่แหล่งท่องเที่ยวชายทะเลจะน่าสนใจกว่า รร. ที่อยู่เขตภูเขาครับเพราะว่าช่วง low season ของแหล่งท่องเที่ยวชายทะเลจะกินระยะเวลาน้อยกว่าและยอดเข้าพักไม่ต่ำลงมากนักเมื่อเปรียบเทียบกับรีสอร์ตที่ติดภูเขา เนื่องจากแหล่งท่องเที่ยวภูเขานั้นจะมี high เพียงช่วง ตุลาคม-กุมภาพันธ์ เท่านั้นครับ
4.2แต่ถ้าเป็นภาวะที่ดอกเบี้ยต่ำมากหุ้นโรงไฟฟ้าน่าจะมี pe สูงกว่าตลาดใช่ไหม เพราะว่า ตอนทำสัญญาโรงไฟฟ้าก็มากกว่าดอกเบี้ยไปแล้ว พูดไปก็เปรียบเหมือน bond ระยะยาวที่ log ดอกเบี้ยสูงๆไว้แล้ว
- ใช่ครับ จะสังเกตว่าหุ้นอย่าง RATCH EGCO เหมือนจะ outperform ตลาดหลังการลดดอกเบี้ย 1% ครั้งที่ผ่านมาครับ หุ้นโรงไฟฟ้ามีลักษณะบางประการที่คล้าย bond อยู่ แต่ก็มีสิ่งที่ไม่เหมือนตรงที่สัญญาโรงไฟฟ้ามีอายุสัมปทาน 30 ปีซึ่งจะมีความเสี่ยงตรงตอนหมดอายุสัมปทานว่าจะได้ต่อในเงื่อนไขอะไร และโครงสร้างรายได้ของโรงไฟฟ้าตามสัญญาสัมปทานนั้นจะไม่ได้เป็นแบบ flat rate คือ จะสูงสุดในช่วงกลางๆ ของอายุสัญญาและจะน้อยลงในช่วงท้ายๆ หรือมีลักษณะเป็นโค้งระฆังคว่ำครับ
5.ทำไมธนาคารขนาดเล็กในไทยจึงมักถูก take over จากธนาคารต่างประเทศ ผมแปลกใจว่าทำไมธนาคารต่างประเทศเหล่านั้นถึงไม่มาตั้งสาขาเองเลย หรือว่ามีกฎหมายอะไรห้ามไว้หรือไม่ครับ ส่วนตัวผมมองว่า การ take over ไปก็ได้สาขา ได้ระบบที่ลงเอาไว้ ได้พนักงานเลยไม่ตอ้งไปเริ่มต้นจาก 0
- มีกฎ ของ ธปท. ที่ให้ธนาคารต่างประเทศเปิดสาขาได้เพียงสาขาเดียวครับ ดังนั้นเราจึงเห็นว่าธนาคารต่างประเทศอย่าง HSBC ก็จะมีสาขาในประเทศไทยสาขาเดียว ผมไม่แน่ใจว่ากฎนี้ยังคงมีอยู่หรือไม่ครับ ส่วนที่มีการ take over สิ่งที่จะได้คือ สาขาและฐานลูกค้าครับ ส่วนพนักงานผมเองไม่แน่ใจว่าจริงๆ แล้วเค้าอยากได้ด้วยหรือเปล่า เพราะธนาคารขนาดเล็กหรือกลางที่ถูก ธ. ต่างชาติซื้อไปก็มีการปรับโครงสร้างองค์กร หรือ early retired อยู่พอสมควรครับ
6.หุ้นอย่าง tcap และ tisco จะมีความสัมพันธ์กับ gdp สูงกว่าหุ้นแบงค์ขนาดใหญ่ ใช่หรือไม่ เพราะว่าสองตัวนี้ปล่อยสินเชื่อรถยนต์เยอะ ซึ้งยอดขายรถยนต์สัมพันธ์กับ gdp สูง
- น่าจะเป็นเช่นนั้นครับ แต่ก็แปลกที่ tisco ก็ยังมี NPL ค่อนข้างต่ำและยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของธนาคารครับแสดงว่ามีการบริหารลูกหนี้ที่ดี แต่ปีหน้า loan growth น่าจะติดลบจากยอดขายรถที่แย่ลงครับ แต่การลดดอกเบี้ยจะส่งผลดีกับหุ้นที่ปล่อยสินเชื่อรถยนต์ครับเพราะจะทำให้ต้นทุนทางการเงินลดลง ในขณะที่ฝั่งรายได้คือ ดอกเบี้ยเงินกู้นั้นไม่ลดลง เพราะการผ่อนรถเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ครับ
7.ผมได้ยินนักวิเคราะห์ท่านนึงบอกว่าหุ้นธนาคารตอนนี้ถูกมาก โหยเขาใช่วิธี
p/bv valuation เขาให้เหตุผลว่า สมัยวิกฤติปี 40 หุ้นธนาคารยัง trade ที่ pbv ไม่ต่ำกว่า 1 เท่า แต่ตอนนี้หุ้นธนาคารหลายตัวต่ำกว่า bv มาก
เขาบอกว่าเขาไม่ใช่ pe เพราะว่า manipulate ง่าย จากการ provision
แต่ประเด็นคือ bv จะมีคุณภาพหรือไม่ เพราะคงยากที่จะไปวิเคราห์ว่า สินเชื่อที่เขาปล่อยกู้มีคุณภาพไหม ไม่ทราบว่ามีมุมมองอย่างไร นักวิเคราห์ท่านนั้นยีงบอกต่อไปอีกว่าตอนนี้หุ้นธนาคารสะท้อนข่าวร้ายไปหมดแล้ว
- p/bv อาจจะสูงขึ้นหากเศรษฐกิจถดถอยหนักจนทำให้ธนาคารบางแห่งอาจจะมีผลการดำเนินงานขาดทุนจากการตั้งสำรอง NPL ครับ ดังนั้น p/bv ตอนนี้สำหรับบางธนาคารจึงอาจจะยังไม่สามารถสรุปได้ว่าต่ำและถูกจนต้องรีบร้อนเข้าไปซื้อครับ และการถือหุ้นธนาคารนั้นเรารู้ข้อมูลน้อยมากครับโดยเฉพาะคุณภาพของลูกหนี้และการปล่อยสินเชื่อครับ
.มีคนบอกว่าหุ้นkk ในปี 43 วิ่งจาก 2 บาทไป 80 บาทอยากให้พี่ ih ช่วยเล่าใหัฟังหน่อยว่าตอนนั้นเกิดอะไรขึ้น เพราะว่าผมหาขัอมูลเรื่องนี้ไม่ได้เลย เรื่องมันต้อง 8-9 ปีมาแล้ว
- ในปี 40 มีการปิดกิจการ 58 ไฟแนนซ์ครับ แต่ในปี 42 มีเพียง 2 ไฟแนนซ์จาก 58 แห่งที่ถูกปิดสามารถดำเนินการต่อได้คือ KK และ ACL ดังนั้นหลังจากปลด SP แล้ว KK ก็สามารถเพิ่มทุนได้ทำให้พ้นขีดอันตราย และ KK สามารถเข้าประมูลหนี้จาก ปรส. มาบริหารได้จำนวนพอสมควรเลยครับ ทำให้กำไรดีขึ้นมามาก ประกอบกับปี 42 ตลาดหุ้นขึ้นจาก 300 จุดไป 500 กว่าจุด หุ้น KK จึงวิ่งยาวเลยครับ
เกณฑ์ในการเลือกปิดกิจการสถาบันการเงินตอนนั้นทางการใช้จำนวนและสัดส่วนที่สถาบันการเงินต่างๆ กู้ยืมเงินจากกองทุนฟื้นฟูฯ ครับ เลยทำให้สถาบันการเงินบางแห่งที่อาจจะไม่ได้ขาดสภาพคล่องหนักหรือมีปัญหาทางการเงินยากเกินเยียวยานั้นถูกปิดไปด้วยครับ
8.2แล้ววิกฤติรอบนี้น่าจะเป็นโอกาสในการซื้อ kk-w3 หรือไม่
ถ้าดูจากคำตอบข้อ 8.1 แล้วจะเห็นว่าสถานการณ์ตอนนั้นกับตอนนี้มีความแตกต่างกันอยู่หลายประการครับ และตอนนั้นราคา KK คือ 2-4 บาท แต่ KK-w3 ยังเกิน 4 บาทอยู่เลยครับ และดูเหมือนจะเป็น warrant มีอายุคงเหลืออีกไม่มากแล้วนะครับ เกรงว่าเศรษฐกิจจะฟื้นไม่ทัน warrant หมดอายุเสียก่อนครับ
9.นักวิเคราห์บางคนเชียร์หุ้นกลุ่มสื่อสารโดยให้เหตุผลว่า ตลาดมือถือเดิมนั้นอยู่ในขั้นอิ่มตัวแล้วโดยดูจาก ยอด penetration rate ที่ 93% นักวิเคราะห์ท่านนั้นให้เหตุผลว่า 3 g จะเป็น structural change ของกลุ่มสื่อสารโดยมีเหตุผลคร่าวๆดังนี้
-สัปทานเดิมของ 3 เจ้าใหญ่ที่ใกล้หมดอายุ ถ้าทำ license 3g ออกมาน่าจะมีอายุของ 3g ภายใต้สัมปทานใหม่ต่อปีอีก 30 ปี ถ้าสมมุติ 3g เริ่มลงทุนได้ปีหน้า ก็น่าจะหมดอายุประมาณปี 2582
ปกติที่ผมเห็นเวลานักวิเคราะห์คำนวณ DCF จะทำ terminal value คือ สมมุติว่าได้ต่อสัมปทานหลังหมดอายุสัมปทานอยู่แล้วด้วยเหมือนกันครับ คำถามที่ผมเองยังไม่มีเวลาหาคำตอบ คือ ทั้ง AIS DTAC และ TRUE จะสามารถได้รับสัมปทาน 3G ทั้ง 3 บริษัทเลยรึเปล่าครับ หรือต้องประมูลแข่งกันและมีบางบริษัทเท่านั้นที่ได้ไป คุณ Hong ทราบไหมครับ?
-ทุกวันนี้ 3 ค่ายใหญ่เสีย revenue sharing ประมาณ 25-30% แต่ถ้าทำ license 3 g น่าจะเสีย ลดลงมากสุดไม่น่าเกิน 17%
อย่างนั้นเลยเหรอครับ และหน่วยงานรัฐที่ได้ค่าสัมปทานน้อยลงจะตอบคำถามประชาชนและสหภาพอย่างไรครับ พอจะมีที่มาของข้อมูลนี้ไหมครับ?
-จะได้เพิ่มสัดส่วนรายได้จาก non-voice มากขึ้น หรือพูดง่ายๆว่าจะ
Create demand ใหม่ขึ้นมา
- ตอนนี้เราก็เป็น 2.5G อยู่แล้ว คือ มีการส่งภาพได้ในระดับหนึ่งผ่าน sms และ mms แต่ 3G น่าจะทำให้มีความสะดวก และรวดเร็วขึ้น แต่ผมคิดว่าตลาดมือถือเราตอนนี้เป็น mass แล้วครับ กลุ่มคนที่จะใช้ประโยชน์จาก 3G นั้นน่าจะอยู่ในวงที่ไม่มากนักครับ เพราะแม่ค้า คนงาน เกษตรกร คงไม่น่าจะสนใจหรือมีงบประมาณที่จะมา download ดูหนังหรือส่ง VDO ผ่านมือถืออะไรเท่าไหร่ครับ
อยากทราบมุมมองพี่ ih ว่าจะ change จริงไหมครับ structure
- ผมมองเพียงแค่เป็นพัฒนาการครับ แต่ไม่น่าจะทำให้ change อะไรมากครับ เว้นเสียว่าหากต้องลงทุนสูงๆ เช่น เป็นหมื่นล้าน แต่รายได้ที่เพิ่มขึ้นจาก non-voice ไม่มากเท่าที่คิด ก็อาจจะทำให้พื้นฐานหุ้นกลุ่มนี้ change ในทางแย่ลงได้ครับ คุ้นๆ ว่าผมเคยอ่านข่าวว่ากำไรของ บ. มือถือในยุโรปแย่ลงเพราะแย่งกันประมูล และลงทุนใน 3G ในจำนวนเงินที่สูง ลองตรวจสอบข้อมูลนี้ดูนะครับ
10.ไม่แน่ใจว่าสาเหตุที่หุ้นกลุ่มสื่อสารแข็งแกร่งกว่าตลาดเยอะมากจะเป็นเพราะมีข่าว 3 g หรือไม่ ดูแล้วหลายตัว pe ก็แพงแต่ราคาแข็งกว่าหุ้นค้าปลีกกับโรงพยาบาลด้วยซ้ำ ผมดูแล้วก็ไม่เข้าใจเหตุผลเหมือนกัน
ส่วนหนึ่งผมคิดว่า มือถือตอนนี้ถือว่าเป็นบริการที่มีความจำเป็นสูง และต้องซื้อบริการทุกวัน เปรียบได้กับปัจจัย 4 ประเภทอาหาร และยารักษาโรคไปแล้วครับ อย่างเสื้อผ้า บ้านแม้ยังต้องใส่ต้องอยู่อาศัยแต่ก็ชะลอการซื้อไปได้นาน แต่มือถือเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ไม่สามารถยกเลิกการใช้ได้ครับ ผมเห็นเศรษฐกิจไม่ค่อยดีก็ยังมีคนส่ง sms ไปตามรายการ TV ต่างๆ และดูจากข้อความที่ส่งไปแล้วผมรู้สึกว่าความคุ้มค่าเทียบกับเงินที่เสียไปครั้งละ 3 บาทนั้นมันน้อยมาก จน โน๊ต อุดม เอาไปแซวในเดี่ยวไมโครโฟน 7 ที่มีคนส่ง sms ไปในรายการข่าว TV ว่า ลำปางหนาวมาก อยากรู้มั้ยเนี่ย? เพียงแต่คนที่ส่งอาจจะเห็นว่ามันก็แค่ 3 บาทซึ่งเงิน 3 บาทจะซื้ออะไรได้อะไรทำนองนี้มั้งครับ และคนส่วนใหญ่ก็เป็นกลุ่มคนที่อายุไม่มากนักและส่วนใหญ่จะไม่ใช่คนที่หาเงินใช้เอง
จบข่าว