หน้า 1 จากทั้งหมด 1

มาดูประวัติ Timothy F. Geithner แค่ประกาศชื่อ

โพสต์แล้ว: เสาร์ พ.ย. 22, 2008 8:51 am
โดย Dech
ทำให้  DOW จากปริ่มๆ กลายเป็น บสก 494.13 +6.54%
8,046.42 ยืนเหนือ 8000 ได้อีกครั้ง

ทอง บวก 57 ยืนเหนือ 800 ได้อีก

แต่น้ำมันยังไม่กระดิก ยังไม่ถึง 50 เหมือนเดิม


มาดูประวัติเขาหน่อยครับ

http://en.wikipedia.org/wiki/Timothy_F._Geithner

Timothy Franz Geithner (last name pronounced /ˈgaɪtnər/; born August 18, 1961) is the 9th president of the Federal Reserve Bank of New York. In that role he also serves as Vice Chairman of the Federal Open Market Committee (FOMC).

Geithner was born in Brooklyn, New York City, to Mr. and Mrs. Peter F. Geithner of Larchmont, New York. He completed high school at International School Bangkok, Thailand,[1] and then attended Dartmouth College, graduating with a B.A. in government and Asian studies in 1983. After, he obtained an M.A. in International Economics and East Asian Studies from Johns Hopkins University's School of Advanced International Studies in 1985. He has studied Japanese and Chinese and has lived in East Africa, India, Thailand, China, and Japan.

He is married to Carole M. Sonnenfeld, a Dartmouth classmate, and with her has two children, Elise and Benjamin.[2] In spare time he fly-fishes, plays tennis and surfs.[3] Geithner is Jewish.[4]

After completing his studies, Geithner worked for Kissinger and Associates in Washington, D.C., for three years and then joined the International Affairs division of the U.S. Treasury Department in 1988.

In 1999 he was promoted to Under Secretary of the Treasury for International Affairs and served under Treasury Secretaries Robert Rubin and Lawrence Summers.

In 2002 he left the Treasury to join the Council on Foreign Relations as a Senior Fellow in the International Economics department. He then worked for the International Monetary Fund as the director of the Policy Development and Review Department until moving to the Federal Reserve in October 2003.[5] In 2006 he became a member of the influential Washington-based financial advisory body, the Group of Thirty.

On November 21, 2008, it was reported that President-elect Barack Obama had decided to nominate Geithner for the position of Treasury Secretary

-------------
ดูเหมือนเราได้ผู้เชี่ยวชาญ เอเชีย มาอีกคนแล้วสิครับ ...
ดูแล้วตลาดไทยได้ข่าวดีอีกแล้วครับ

มาดูประวัติ Timothy F. Geithner แค่ประกาศชื่อ

โพสต์แล้ว: เสาร์ พ.ย. 22, 2008 9:56 am
โดย Dech
มาดูใหม่ ผมว่าที่น้ำมัน ไม่ขึ้น คงเป็นข่าวออกมาท้ายตลาดมากๆ ตลาดน้ำมันคงปิดไปก่อนมั้งครับ

มาดูประวัติ Timothy F. Geithner แค่ประกาศชื่อ

โพสต์แล้ว: เสาร์ พ.ย. 22, 2008 4:58 pm
โดย ssuwan
ช่วยเล่าหน่อยครับ ว่าเขาพูดเรื่องอะไร ทำให้ down ขึ้นครับ ตกข่าว เมือวานดู down ตอน 3 ทุ่มกว่าๆ เห็นแล้วเลิกดู มาตอนเช้าดูอีกทีอาวไหงมาบวกแรง

ขอบคุณครับ

มาดูประวัติ Timothy F. Geithner แค่ประกาศชื่อ

โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ย. 25, 2008 4:01 pm
โดย 121
นี่แบบไทยๆ ง่ายๆ วิจารณ์อีกนิด ...

จาก  ข่าวหุ้น  25 พย.

ทิม เกธเนอร์ มือใหม่หัดขับ

บารัก โอบาม่า กำลังเล่นเกมเสี่ยงใหม่ เมื่อเขาประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรีคลังอายุแค่ 46 ปี ทิโมธี เกธเนอร์ เทคโนแครตอาชีพ เข้ารับงานใหญ่เพื่อพลิกฟื้นเศรษฐกิจอเมริกาที่กำลังย่ำแย่

วอลล์สตรีทขานรับชื่อของเกธเนอร์อย่างดีเยี่ยมในทันที เมื่อดัชนีหุ้นรีบาวด์กลับหลายร้อยจุดในวันศุกร์ที่ผ่านมา เพราะมีความคุ้นเคยกับชื่อดังกล่าวได้ดี เนื่องจากเคยเป็นประธานเฟดฯสาขานิวยอร์ก (ซึ่งเป็นเฟดฯสาขาที่มีอิทธิพลมากที่สุดในบรรดาเฟดฯของรัฐต่างๆ)มาก่อน

ไม่เพียงเท่านั้น ตามประวัติแล้ว เกธเนอร์ก็เคยอยู่ในทีมงานที่ประสบความสำเร็จในการจัดการกับด้านการคลังมาแล้วภายใต้รัฐมนตรีคลัง 2 คนของพรรคเดโมแครต คือ โรเบิร์ต รูบิน กับ ลอเรนซ์ ซัมเมอร์ ในยุคของบิล คลินตัน

คำถามก็คือว่า บทบาทที่เคยอยู่เบื้องหลังของเกธเนอร์ เมื่อมาอยู่ข้างหน้า จะดีเด่นเหมือนคนที่เคยทำสำเร็จมาแล้วหรือไม่? ยังเป็นโจทย์ที่ต้องติดตามดูกันต่อไป แต่ก็นับว่า โอบามา ถือเป็นคนที่กล้าหาญมากในการตัดสินใจเลือกคนหนุ่มขนาดนี้เข้ามารับตำแหน่งสำคัญยิ่งในคณะรัฐบาล

ตามประวัติเกธเนอร์ ไม่มีพื้นฐานความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์เอาเสียเลย เพราะเรียนปริญญาตรีทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้านเอเชียศึกษาจากวิทยาลัยดาร์ทมัธ และต้องติดตามพ่อที่ทำงานให้กับมุลนิธิฟอร์ดไปตระเวนหลายประเทศนอกอเมริกา เช่น ญี่ปุ่น อินเดีย ไทย จีน และ ซิมบับเว ก่อนที่จะกลับไปเรียนต่อปริญญาโทที่จอห์น ฮ็อปกินส์ในสาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

หลังจากจบปริญญาโท เกธเนอร์เข้าทำงานให้กับทีมงานของเฮนรี่ คิสซิงเกอร์ เป็นเวลานาน 3 ปี และ ย้ายไปทำงานให้กับหน่วยงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของกระทรวงการคลังสหรัฐฯใน ค.ศ. 1988 จากนั้นก็ได้ใช้ความสามารถในการสร้างสัมพันธ์ส่วนตัวที่เกงฉกาจเกินวัย เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นผู้บริหารงานสำคัญในกระทรวง การคลัง ตั้งแต่แผนกนโยบายการคลังและการเงิน จนขึ้นเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการ และผู้ช่วยรัฐมนตรีคลังด้านกิจการระหว่างประเทศในยุคของโรเบิร์ต รูบิน

ว่ากันว่า เขาเป็นหนึ่งในทีมงานที่ศึกษา และวางแผนออกมาตรการให้กับทางการอเมริกันและไอเอ็มเอฟในการกู้วิกฤตของเอเชีย โดยเฉพาะเกาหลีใต้ หลังจากเกิดวิกฤตต้มยำกุ้งที่ลุกลามขึ้นใน ค.ศ. 1997 แต่ไม่มีหลักฐานยืนยันว่า เขามีส่วนคัดค้านการเข้ามาช่วยไทยของสหรัฐฯมากน้อยเพียงใด

ความสัมพันธ์อันแน่นหนาทางการเมืองเช่นนี้ ทำให้เขาเข้าเป็นสมาชิกคนหนึ่งในสภาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือ Council for Foreign Relations (CFR) องค์กรที่ทรงอิทธิพลอย่างยิ่งของกลุ่มทุนและเทคโนแครตอเมริกัน

แล้วในต้นปีค.ศ. 2546 เขาก็ได้เข้าเป็นประธานเฟดฯสาขานิวยอร์ค ที่มีอายุน้อยที่สุด ต่อจากประธานคนเก่า บิล แมคโดนัฟ พร้อมกับรับตำแหน่งรองประธานคณะกรรมการFOMC ของเฟดฯ ผลก็คือให้เขาก้าวขึ้นมาเป็นผู้บริหารระบบการเงินการคลังอันดับสามรองลงมาจากรัฐมนตรีคลังและประธานเฟดฯเลยทีเดียว

ตำแหน่งแห่งอำนาจของเกธเนอร์ยังพุ่งต่อไม่หยุด เมื่อ 2 ปีก่อน เขากลายเป็นหนึ่งในคณะกรรมการที่ปรึกษาที่เรียกว่า Group of Thirty ในทำเนียบขาวด้วย

นอกเหนือจากเส้นสายอันแน่นหนาทางการเมืองนี้แล้ว เขายังมีสายสัมพันธ์ส่วนตัวที่ดีเยี่ยมกับคนเหล่านี้ ผู้ซึ่งคาดกันว่า จะมาเป็นทีมงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจทำเนียบขาวหรือกระทรวงการคลังอย่าง อี. เจอราลด์ คอร์ริแกน กรรมการบริหารปัจจุบันของโกลด์แมน แซคส์ จอห์น เธอิน ซีอีโอ.ปัจจุบันของเมอร์ริล ลินช์ พอล โวล์คเกอร์ อดีตประธานเฟด ปีเตอร์ ปีเตอร์สัน อดีตรัฐมนตรีพาณิชย์ และ เจมส์ ดีมอน ประธานธนาคาร เจพี มอร์แกนปัจจุบัน

บทบาทล่าสุดก่อนหน้านี้ 3 เดือน คือ เป็นผู้อยู่เบื้องหลังมาตรการช่วยเหลือกรณีแบร์ สเติร์น ล้มละลาย โดยการให้กู้ยืมของเฟดฯมูลค่า 2.9 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แก่ เจ พี มอร์แกน เพื่อเข้าไปซื้อกิจการของแบร์ สเติร์น อีกต่อหนึ่ง

สายสัมพันธ์ และพฤติกรรมจากการทำงานของเกธเนอร์ ทำให้คนเป็นจำนวนไม่น้อยยอมรับว่า เขามิใช่คนหนุ่มไร้ประสบการณ์อย่างเด็ดขาด แต่คำถามที่ตามมาก็คือว่า แวดวงแห่งสายสัมพันธ์ดังกล่าว ก็ไม่ต่างอะไรกันกับสายสัมพันธ์ของเฮนรี่ พอลสัน รัฐมนตรีคลังที่ล้มเหลวในปัจจุบันของบุช จูเนียร์นั่นเอง...แล้วจะทำอะไรได้ดีกว่าพอลสันได้อย่างไรกัน?

คำตอบคงต้องวัดกันที่ผลงานเป็นรูปธรรมหลังวันที่ 22 มกราคมปีหน้าเป็นต้นไปว่า รัฐมนตรีคลังที่ไม่ได้มีความรู้พื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ แต่มีผลงานรูปธรรมในฐานะเทคโนแครตในกระทรวงการคลังมาโชกโชนคนนี้ จะรับมือกับปัญหาได้มากน้อยและดีเพียงใด

หรือจะเป็นแค่มือใหม่หัดขับธรรมดา?........................