Value Way:เคน ฮีพเนอร์ โดย วิบูลย์ พึงประเสริฐ
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ค. 15, 2008 9:14 am
Value Way ฉบับวันที่ 14 กรกฏาคม 2551
โดยวิบูลย์ พึงประเสริฐ
เคน ฮีพเนอร์
จากบทความฉบับที่แล้วได้กล่าวถึงเรื่องของผู้จัดการกองทุนที่ฮอตที่สุดในตอนนี้นั่นคือ เคน ฮีพเนอร์ (Ken Heebner) เขาเป็นผู้จัดการกองทุนของบริษัทจัดการกองทุนรวมซีจีเอ็ม (CGM- Capital Growth Management) กองทุนใหญ่ที่สุดของซีจีเอ็มคือ ซีจีเอ็ม โฟกัส (CGM Focus) มีเงินลงทุนในการดูแลถึง 7 พันล้านเหรียญ หรือกว่า 2 แสนล้านบาท ผลตอบแทนย้อนหลังของซีจีเอ็มโฟกัสอยู่ที่ปีละ 39% ทบต้นในเวลา 5 ปีและผลตอบแทนทบต้น 24% ต่อปีในช่วงเวลา10 ปีตั้งแต่ปี 1998 เป็นต้นมา ซึ่งมากกว่าดัชนีเอสแอนด์พีที่มีผลตอบแทนทบต้นเพียงปีละ 4% เท่านั้น
มีบทสัมภาษณ์เคน ฮีพเนอร์ที่น่าสนใจ นักลงทุนทั่วไปสามารถได้ประโยชน์จากหลักการลงทุนของเขาจากบทสัมภาษณ์นี้
ถาม: วิธีการลงทุนของคุณแปลกแตกต่างจากคนอื่นมาก คุณจะอธิบายหลักการลงทุนของคุณอย่างไร
ฮีพเนอร์: ผมคิดว่าผมไม่เคยตอบคำถามนี้ได้ดีเลยสักครั้ง นั่นอาจเป็นเหตุผลว่าผู้จัดการกองทุนคนอื่นๆอาจมีความสามารถในการขายมากกว่าผม เท่าที่ผ่านมาผมสามารถทำเงินได้มากเมื่อคนอื่นๆไม่เห็นด้วยกับวิธีการลงทุนของผม ผมตอบแทนที่ดีมากๆของผมมักเกิดขึ้นเมื่อผมใช้กลยุทธการลงทุนแบบสวนกระแส (Contrarian Strategy) เมื่อผมพบบางอย่างที่แตกต่างจากคนอื่นๆ และสิ่งนั้นสามารถสนับสนุนการลงทุนของผมได้จากการวิเคาระห์ข้อมูลเชิงลึก ผมจะซื้อหุ้นเหล่านั้นเป็นจำนวนมากในพอร์ต
เหมือนการลงทุนในธุรกิจน้ำมันของผมในปี 2004 คนส่วนใหญ่ในช่วงนั้นคิดว่าน้ำมันจะกลับไปอยู่ที่ราคา 25 เหรียญต่อบาร์เรล หรือการลงทุนของผมในธุรกิจสถาบันการเงินใปี 1982 ขณะที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 15 เปอร์เซนต์ต่อปี ผมอยากหาสิ่งเหล่านี้เจอทุกๆปีแต่ไม่สามารถ
ถาม: ทำไมกองทุนของคุณถึงไม่เป็นที่นิยมของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพส่วนใหญ่
ฮีพเนอร์: เพราะคนส่วนใหญ่กลัวความผันผวนของผลตอบแทนของผม พวกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไม่ต้องการให้ผลตอบแทนแตกต่างจากดัชนีตลาดหุ้น ซึ่งนั่นเป็นปัญหาของผม เพราะผมไม่สนใจดัชนีตลาด
ถาม: ทำไมคุณถึงไม่ชอบลงทุนในหุ้นเทคโนโลยี่
ฮีพเนอร์: ธุรกิจเทคโนโลยี่มาการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาก ถึงแม้คุณจะพบบริษัทที่มีความสามารถในการแข่งขัน แต่มันก็สูญเสียความสามารถนี้อย่างรวดเร็ว นอกเหนือจากนั้นในการลงทุนของผม ผมต้องการข้อมูลที่ผมสามารถใช้ตรวจสอบการลงทุนได้อย่างต่อเนื่อง เช่น ถ้าเป็นบริษัทค้าปลีก ผมก็จะดูยอดขายของแต่ละสาขา ถ้าเป็นสินค้าโภคภัณท์ ผมก็จะดูราคาของสินค้าเหล่านั้น แต่ถ้าเป็นบริษัทที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี่ ข้อมูลต่างๆเหล่านี้แทบจะดูไม่ได้
ถาม: อะไรคือสิ่งที่คุณเรียนรู้จากช่วงปลายปี 90
ฮีพเนอร์: ในช่วงนั้นคนที่ทำผลตอบแทนได้ดีที่สุด คือคนที่ซื้อหุ้นที่มีมูลค่าสูงเกินจริง (Overvalued stock) และถือหุ้นเหล่านั้นไว้จนราคามันสูงมากๆและขายมันออกไปก่อนที่ตลาดจะถล่ม ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมไม่รู้ว่าจะทำอย่างนั้นได้อย่างไร ผมลงทุนบนพื้นฐานของกิจการ เช่น บริษัทมีผลประกอบการเท่านี้ ราคาหุ้นควรจะเป็นเท่าไหร่
ข้อผิดพลาดอย่างร้ายแรงของผมก็คือ การที่ผมตัดสินใจลงทุนตามกระแสเพื่อความสบายใจของผู้ถือหน่วยลงทุน ผมซื้อหุ้นเทคโนโลยี่บางตัวเช่น Cisco ถึงแม้ผมจะบอกกับตัวเองว่ามันมีราคาสูงเกินจริง แต่ผมก็ยังซื้อมันอยู่ดีเพราะต้องการผลตอบแทนที่ดีเหมือนคนอื่น สิ่งที่เกิดขึ้นคือการถือหุ้นเหล่านี้ทำให้ผมกังวล และสุดท้ายผมก็ต้องขายมันขาดทุนเพราะผมไม่เข้าใจมันดีพอ จริงๆผมไม่ควรซื้อมันเลยมากกว่า
ถาม: ได้ข่าวว่าคุณไม่เคยลาพักร้อน
ฮีพเนอร์: ผมลาพักร้อนครั้งสุดท้ายราวๆปี 1980 (20 ปีที่แล้ว) บางครั้งผมก็เลิกงานในวันศุกร์เร็วหน่อยเพื่อไปเล่นเรือใบ แต่ผมไม่ต้องการหยุดพักร้อนเพื่อพักผ่อน เพราะตลาดหุ้นเป็นการพักผ่อนของผม
ถาม: ผมเดาว่าคุณคงไม่อยากเกษียณอายุการทำงาน
ฮีพเนอร์: ผมมีความสุขกับสิ่งที่ผมทำในปัจจุบัน ดังนั้นผมยังไม่มีกำหนดเกียณอายุแต่อย่างใด
โดยวิบูลย์ พึงประเสริฐ
เคน ฮีพเนอร์
จากบทความฉบับที่แล้วได้กล่าวถึงเรื่องของผู้จัดการกองทุนที่ฮอตที่สุดในตอนนี้นั่นคือ เคน ฮีพเนอร์ (Ken Heebner) เขาเป็นผู้จัดการกองทุนของบริษัทจัดการกองทุนรวมซีจีเอ็ม (CGM- Capital Growth Management) กองทุนใหญ่ที่สุดของซีจีเอ็มคือ ซีจีเอ็ม โฟกัส (CGM Focus) มีเงินลงทุนในการดูแลถึง 7 พันล้านเหรียญ หรือกว่า 2 แสนล้านบาท ผลตอบแทนย้อนหลังของซีจีเอ็มโฟกัสอยู่ที่ปีละ 39% ทบต้นในเวลา 5 ปีและผลตอบแทนทบต้น 24% ต่อปีในช่วงเวลา10 ปีตั้งแต่ปี 1998 เป็นต้นมา ซึ่งมากกว่าดัชนีเอสแอนด์พีที่มีผลตอบแทนทบต้นเพียงปีละ 4% เท่านั้น
มีบทสัมภาษณ์เคน ฮีพเนอร์ที่น่าสนใจ นักลงทุนทั่วไปสามารถได้ประโยชน์จากหลักการลงทุนของเขาจากบทสัมภาษณ์นี้
ถาม: วิธีการลงทุนของคุณแปลกแตกต่างจากคนอื่นมาก คุณจะอธิบายหลักการลงทุนของคุณอย่างไร
ฮีพเนอร์: ผมคิดว่าผมไม่เคยตอบคำถามนี้ได้ดีเลยสักครั้ง นั่นอาจเป็นเหตุผลว่าผู้จัดการกองทุนคนอื่นๆอาจมีความสามารถในการขายมากกว่าผม เท่าที่ผ่านมาผมสามารถทำเงินได้มากเมื่อคนอื่นๆไม่เห็นด้วยกับวิธีการลงทุนของผม ผมตอบแทนที่ดีมากๆของผมมักเกิดขึ้นเมื่อผมใช้กลยุทธการลงทุนแบบสวนกระแส (Contrarian Strategy) เมื่อผมพบบางอย่างที่แตกต่างจากคนอื่นๆ และสิ่งนั้นสามารถสนับสนุนการลงทุนของผมได้จากการวิเคาระห์ข้อมูลเชิงลึก ผมจะซื้อหุ้นเหล่านั้นเป็นจำนวนมากในพอร์ต
เหมือนการลงทุนในธุรกิจน้ำมันของผมในปี 2004 คนส่วนใหญ่ในช่วงนั้นคิดว่าน้ำมันจะกลับไปอยู่ที่ราคา 25 เหรียญต่อบาร์เรล หรือการลงทุนของผมในธุรกิจสถาบันการเงินใปี 1982 ขณะที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 15 เปอร์เซนต์ต่อปี ผมอยากหาสิ่งเหล่านี้เจอทุกๆปีแต่ไม่สามารถ
ถาม: ทำไมกองทุนของคุณถึงไม่เป็นที่นิยมของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพส่วนใหญ่
ฮีพเนอร์: เพราะคนส่วนใหญ่กลัวความผันผวนของผลตอบแทนของผม พวกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไม่ต้องการให้ผลตอบแทนแตกต่างจากดัชนีตลาดหุ้น ซึ่งนั่นเป็นปัญหาของผม เพราะผมไม่สนใจดัชนีตลาด
ถาม: ทำไมคุณถึงไม่ชอบลงทุนในหุ้นเทคโนโลยี่
ฮีพเนอร์: ธุรกิจเทคโนโลยี่มาการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาก ถึงแม้คุณจะพบบริษัทที่มีความสามารถในการแข่งขัน แต่มันก็สูญเสียความสามารถนี้อย่างรวดเร็ว นอกเหนือจากนั้นในการลงทุนของผม ผมต้องการข้อมูลที่ผมสามารถใช้ตรวจสอบการลงทุนได้อย่างต่อเนื่อง เช่น ถ้าเป็นบริษัทค้าปลีก ผมก็จะดูยอดขายของแต่ละสาขา ถ้าเป็นสินค้าโภคภัณท์ ผมก็จะดูราคาของสินค้าเหล่านั้น แต่ถ้าเป็นบริษัทที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี่ ข้อมูลต่างๆเหล่านี้แทบจะดูไม่ได้
ถาม: อะไรคือสิ่งที่คุณเรียนรู้จากช่วงปลายปี 90
ฮีพเนอร์: ในช่วงนั้นคนที่ทำผลตอบแทนได้ดีที่สุด คือคนที่ซื้อหุ้นที่มีมูลค่าสูงเกินจริง (Overvalued stock) และถือหุ้นเหล่านั้นไว้จนราคามันสูงมากๆและขายมันออกไปก่อนที่ตลาดจะถล่ม ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมไม่รู้ว่าจะทำอย่างนั้นได้อย่างไร ผมลงทุนบนพื้นฐานของกิจการ เช่น บริษัทมีผลประกอบการเท่านี้ ราคาหุ้นควรจะเป็นเท่าไหร่
ข้อผิดพลาดอย่างร้ายแรงของผมก็คือ การที่ผมตัดสินใจลงทุนตามกระแสเพื่อความสบายใจของผู้ถือหน่วยลงทุน ผมซื้อหุ้นเทคโนโลยี่บางตัวเช่น Cisco ถึงแม้ผมจะบอกกับตัวเองว่ามันมีราคาสูงเกินจริง แต่ผมก็ยังซื้อมันอยู่ดีเพราะต้องการผลตอบแทนที่ดีเหมือนคนอื่น สิ่งที่เกิดขึ้นคือการถือหุ้นเหล่านี้ทำให้ผมกังวล และสุดท้ายผมก็ต้องขายมันขาดทุนเพราะผมไม่เข้าใจมันดีพอ จริงๆผมไม่ควรซื้อมันเลยมากกว่า
ถาม: ได้ข่าวว่าคุณไม่เคยลาพักร้อน
ฮีพเนอร์: ผมลาพักร้อนครั้งสุดท้ายราวๆปี 1980 (20 ปีที่แล้ว) บางครั้งผมก็เลิกงานในวันศุกร์เร็วหน่อยเพื่อไปเล่นเรือใบ แต่ผมไม่ต้องการหยุดพักร้อนเพื่อพักผ่อน เพราะตลาดหุ้นเป็นการพักผ่อนของผม
ถาม: ผมเดาว่าคุณคงไม่อยากเกษียณอายุการทำงาน
ฮีพเนอร์: ผมมีความสุขกับสิ่งที่ผมทำในปัจจุบัน ดังนั้นผมยังไม่มีกำหนดเกียณอายุแต่อย่างใด