หน้า 1 จากทั้งหมด 3
ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model
โพสต์แล้ว: จันทร์ มิ.ย. 02, 2008 2:43 am
โดย Coin Flipper
Model นี้เป็น model ที่ผมชอบมาก มันเหมือนการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ แต่ที่จริงแล้วมันมาเกี่ยวโยงกับการวิเคราะห์เชิงปริมาณ อย่างอัศจรรย์
ลองดูสมการง่ายๆ
กำไร = ( ราคาขายต่อหน่วย - ต้นทุนต่อหน่วย) X จำนวนที่ขายได้
แล้วมาเชื่อมโยงกับ Five Force
1. Rival competition ทำให้ราคาขายลดลง ต้นทุนสูงขึ้น
2. Potential to entry ทำให้ราคาขายลดลง จำนวนขายลดลง
3. Subtitute product จำนวนขายลดลง ราคาขายลดลง
4. Power of buyer ราคาขายลดลง
5. Power of supplier ต้นทุนต่อหน่วยเพิ่มขึ้น
จะเห็นว่าถ้าขาดข้อใดข้อหนึ่งก็จะทำให้กำไรลดลงหมด แต่ถ้าจะหาบริษัทที่สมบูรณ์ทั้ง 5 ด้านนั้นเป็นไปไม่ได้
ดังนั้น จึงอย่างให้เพื่อนๆ พี่ๆ ช่วยแสดงความเห็นว่า
ข้อไหนมีมากจะเป็นอันตรายที่สุด (ถ้าด้านนั้นไม่ดี จะไม่ซื้อหุ้นนั้นเด็ดขาด)
ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model
โพสต์แล้ว: จันทร์ มิ.ย. 02, 2008 2:53 pm
โดย Frioniel
ด้านไหนไม่รู้...
แต่ถ้าเขียน Five Force Model ตามหัวข้อนี้ ครูตอนประถมตีตายแน่ๆ :D
:lol: :lol: :lol: แวะมาแซวเล่นนะครับ ขำ ขำ อย่าซีเรียส
ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model
โพสต์แล้ว: อังคาร มิ.ย. 03, 2008 2:26 pm
โดย Mon money
[quote="Frioniel"]ด้านไหนไม่รู้...
แต่ถ้าเขียน Five Force Model ตามหัวข้อนี้ ครูตอนประถมตีตายแน่ๆ
ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model
โพสต์แล้ว: อังคาร มิ.ย. 03, 2008 2:56 pm
โดย path2544
[quote="Mon money"][quote="Frioniel"]ด้านไหนไม่รู้...
แต่ถ้าเขียน Five Force Model ตามหัวข้อนี้ ครูตอนประถมตีตายแน่ๆ
ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model
โพสต์แล้ว: อังคาร มิ.ย. 03, 2008 11:04 pm
โดย Mon money
ถ้า สามารถวิเคราะห์อุตสาหกรรมโดยรวมแล้ว และนำไปดูว่า ผู้บริหารสามารถวางตำแหน่งของธุรกิจถูกไหม ถ้าถูก และมียุทธศาสตร์
มันก็น่าจะนำไปซึ่ง ความน่าสนใจของอุตสาหกรรม และบริษัทนั้นๆๆ ไม่ใช่หรือครับ
น่าสนใจเพราะไม่มีผู่เล่นรายใหม่
น่าสนใจเพราะไม่มีสินค้าทดแทน
น่าสนใจเพราะลูกค้าต่อรองน้อย ไม่มีทางเลือก
น่าสนใจเพราะคู่ค้าอ่อนแอ
น่าสนใจเพราะการแข่งขันกันเองต่ำ
และถ้ากระโดดเข้าไป จะไปทำให้อะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง?
การลงทุนสร้างโรงงานใหม่ อาจไปเพิ่มsupply(เชื่อว่าต้องใหญ่เอาการ ไม่งั้นไม่คุ้ม) ทำให้แข่งขันสูงขึ้น คู่ค้าเล่นตัวได้มากขึ้น ลูกค้ามีทางเลือกมากขึ้น กำไรลดลง แล้วมันน่าสนใจตรงไหน?
แต่ที่วิเคราะห์5 forces เพื่อศึกษาโครงสร้างอุตสาหกรรมดูว่าไอ้ที่แข่งๆกันอยู่นี่มันแข่งกันที่อะไร และมันมีกำไรไหมและกำไรได้อย่างไร แนวโน้มการแข่งขันในอนาคตจะเป็นอย่างไร ทำไมไม่มีใครเข้าไปแข่งเพิ่ม เข้ายากหรือไงหรือมีขวากหนามขวางกั้น มีอะไรไปทดแทนมันได้ไหม
ที่นี้ถ้าเห็นภาพรวมแล้ว ก็หาดูช่องว่างในอุตสาหกรรมว่าจะแทรกลงตรงไหน วางตำแหน่งอย่างไร
จะวางตำแหน่งอย่างไรก็ไปดูว่าแรงไหนมันอ่อนแอสุด หรือปรับเปลี่ยนเคลื่อนย้ายแรงที่กดดันนั้นให้มันส่งเสริมเราซะเลย
ธุรกิจค้าปลีก แข่งกันที่ราคา ลูกค้ามีสิทธิเลือกใครถูกเอาคนนั้น ลดแรงกดดันลูกค้าด้วยการตั้งในทำเลที่สะดวก เดินทางไม่ไกล มีสินค้าให้เลือกมากๆและครบ(สุดท้ายมันก็ทำกันได้หมดแหละ) ที่นี้ทำอย่างไงให้คู่ค้าหมดแรง ก็ซื้อมันทีละมากๆ สร้างสาขาให้มากๆเข้าไว้ สร้างระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพ เป็นการสร้างอุปสรรคแก่ผู้เข้ามาใหม่ด้วย) จะเห็นว่าห้างค้าปลีก วางตำแหน่งไว้ที่แรงทั้งสองแรง ซึ่งเห็นแข่งขันอยู่สามยักใหญ่ น่าสนใจไหมละ
7-11 บอกไม่น่าสนใจ เลยออกแบบmodelใหม่ เพราะแรงกดดันจากsupplierทำให้ต่ำได้ถ้าซื้อแยอะๆ เน้นให้ลูกค้าสะดวกสุดๆ เอาร้านเล็กๆสินค้าที่ต้องใช้อยู่บ่อยๆ และแน่นอนมักจะซื้อกันทีละมากๆไม่ได้ อย่างนี้เรียกว่า Differentiation โดย Reshape the forces in company favor
Makro บอกฟัดกันฝุ่นตลบ ไม่เอาด้วยหรอก เลยหนีไป HoReCa ขายส่งอาหารมันซะเลย สร้างsupplierรายเล็กรายน้อยขึ้นใหม่ ไม่ง้อรายใหญ่มากนัก กำลังต่อรองsupplierก็ไม่สูงแบบเรียกว่าโตไปด้วยกัน ลูกค้าที่มันหยิ่งนักก็ไม่เอา เอาแต่พวกที่ไม่เรื่องมากซื้อแยอะๆ เอาไปขายต่อ เงินทุนในการสร้างสาขาก็ต่ำ ทำเลไม่สำคัญมากนัก ขอให้มาแล้วมีของครบตามที่ต้องการ อย่างนี้ก็เรียกว่า Differentiation โดย Reshape the forces in company favor
อุตสาหกรรมพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ อันนี้น่าสนใจถ้าคิดจะศึกษา PS กับ LH ไม่ใช่คู่แข่งกัน เพราะวางตำแหน่งสินค้าไม่เหมือนกัน PSใช้แนวคิดเดียวกับธุรกิจค้าปลีก LH ใช้วิธีDifferentiation ทั้งสองบริษัทนี้วิเคราะห์ 5 forces แบบเดียวกันหรือเปล่า ก็ไม่รู้ได้ แต่เชื่อเถอะว่ามองกันคนละมุมแน่นอน
ถ้ามัวแต่ไปค้นหาความน่าสนใจของอุตสาหกรรมโดยไม่ดูสิ่งที่ควรศึกษาละก็เสร็จกัน ผมเคยติดบ่วงมันมาแล้ว พอดูว่าอุตสาหกรรมไม่น่าสนใจก็ไม่ไปดูเลยว่าแต่ละคนเขาทำอะไร แข่งกันอย่างไร เลยพลาดโอกาสดีๆไปมากมาย
ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model
โพสต์แล้ว: อังคาร มิ.ย. 03, 2008 11:15 pm
โดย noooon010
ขอบคุณพี่มนมากๆสำหรับคำชี้แนะนะครับ :D
ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model
โพสต์แล้ว: พุธ มิ.ย. 04, 2008 12:09 am
โดย ส.สลึง
ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model
โพสต์แล้ว: พุธ มิ.ย. 04, 2008 2:59 am
โดย Rocker
ผมก็ Vote ให้ อํานาจต่อรองผู้ซื้อ เช่นกัน หากต้องเลือกครับพี่ๆ
เหตุผลคือ
1 หาก อํานาจต่อรองซื้อสูง ถึงแม้ คู่แข่งจะมาก เข้าง่าย ทดแทนมี ต้นทุนสูง แต่สามารถตั้งราคาที่สูงจนมีกําไรได้ ด้วยลักษณะเฉพาะของธุรกิจนั้น เช่น
สินค้ามีคุณภาพสูงมากเมื่อเทียบกับสินค้าทดแทน
คุ้มค่ากว่า
ค่านิยมทางสังคม
ความเป็นเอกลักษณ์ ของสินค้า
2 ถึงแม้ องค์ประกอบอื่นผ่านหมดแต่ลูกค้า ไม่ยอมรับในตัวproductนั้น
ก็ขายยากอยู่ดี
สรุป ทํายังไงก็ได้ให้ขายได้และมีกําไร
แต่ในความเห็นส่วนตัวของผม
ผมคิดว่าควรวิเคราะห์องค์รวม 5 forcesจะขาดอันใดอัน1ไม่ได้ครับ
หากธุรกิจผ่านทั้ง 5 forces ก็แสดงว่ามี ความได้เปรียบทางการแข่งขันแบบยั่งยืน
ขอบคุณครับ
โพสต์แล้ว: พุธ มิ.ย. 04, 2008 9:17 am
โดย path2544
ขอบคุณครับพี่มนเป็นบทความที่ดีมากครับ เห็นภาพเลยครับ
เลยอยากขอความรู้พี่มนต่อครับ
ว่า แล้วเราสามารถนำ Five Force Model มาประยุคใช้กับ ตัวธุรกิจเองได้หรือไม่ครับ :idea: :idea:
เช่น 7-11 ทำไมถึงน่าสนใจ เพราะ
1. การเข้ามาของคู่แข่ง ทำได้ หรือ ไม่ ???
2. อำนาจต่อรองของ ผู้ขาย มีมากหรือไม่ ???
3. อำนาจต่อรองของผู้ซื้อ มีมากหรือไม่ ???
เป็นต้น (ข้ออื่นจำไม่ได้ล่ะ
)
แบบนี้ครับ :?: :?: :?:
ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มิ.ย. 05, 2008 8:41 am
โดย sattaya
ขอบคุณพี่มนครับ อธิบายได้เห็นภาพเลยครับ
ส่วนคำถามที่พี่ Coin Flipper ขอลองวิเคราะห์รายตัวโดยตั้งสมมุติฐานว่าบริษัททีวิเคราะห์มีศักยภาพสูงและอยู่ในอุตสาหกรรมนั้นแล้วนะครับ
1. Rival competition การแข่งขันกันสูงอาจมีผลกระทบก็จริงแต่ท้ายที่สุดแล้วบริษัทเล็กที่อ่อนแอจะค่อยๆหายไป ในระยะยาวบริษัทที่แข็งแกร่งจะอยู่ได้
2. Potential to entry ข้อนี้ตอบยากนะครับ ถ้าคู่แข่งรายใหม่เข้าได้ง่าย อุตสาหกรรมก็จะแข่งกันที่ราคาใครคุมต้นทุนได้ดีน่าจะเป็นผู้ชนะ
3. Subtitute product อันนี้น่ากลัวครับ ถึงบริษัทมีศักยภาพยังไงคงปรับตัวยาก ลองคิดถึง sony walkman หรือ ฟิล์มถ่ายภาพ ดูสิครับโดนเต็มๆ
4. Power of buyer อันนี้ก็แสบครับ แต่ถ้าอุตสาหกรรมไหนทีมีข้ออื่นเป็นจุดแข็งแต่จุดด้อยเป็นข้อนี้ข้อเดียวผมว่าไม่น่ากลัวมากนะครับ อย่างมากก็โตช้าแต่คงไม่ตาย
5. Power of supplier ข้อนี้ก็เป็นปัญหาพอสมควรแต่ถ้าโยนภาระให้ลูกค้าได้ก็หมดห่วง
สรุปแล้วถ้าถามว่าข้อไหนอันตรายสุดน่าจะเป็น Subtitute product ครับ
ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มิ.ย. 05, 2008 11:48 am
โดย samahara
7-11 เขาไม่ได้ขายของครับ เขาขายความสะดวก โดยใช้ทำเล เป็นหลัก ไม่รู้พี่ๆคิดว่าไง...
ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มิ.ย. 05, 2008 8:12 pm
โดย MO101
แล้ว 108 shop มี position ตรงไหนครับ
หรือว่ามาแบบฟลุ๊กๆ
ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มิ.ย. 05, 2008 8:21 pm
โดย แผ่วเบา
five force ซึ่ง Micheal E. Porter เขียนไว้นี้
มีประโยชน์มากในการทำธุรกิจเอง
เพราะเป็นการวิเคราะห์สภาวะที่อุตสาหกรรมนั้นๆดำรงอยู่
แต่ในขณะเดียวกันก็มีประโยชน์มากเช่นกันแม้เราเป็นแต่เพียงนักลงทุนในหุ้น
เพราะช่วยให้เราทราบว่าหุ้นในอุตสาหกรรมนั้นๆน่าสนใจที่จะซื้อหรือไม่
และนอกจากจะทราบถึงตัวอุตสาหกรรมโดยรวมแล้ว
ก็ยังนำมาใช้กับหุ้นรายตัวได้ด้วย
ลำดับความสำคัญนั้น ผมว่า เขาเรียงลำดับจากที่หนึ่งมาที่ห้าอยู่แล้ว
คือที่หนึ่งสำคัญที่สุด
ที่สองสำคัญรองลงมา
ผมเข้าใจว่าเขาไม่ได้ตั้งทฤษฎีนี้ขึ้นมาโดยการเรียงพลังเหล่านี้แบบไม่มีกฏมีเกณฑ์แต่อย่างใด
ยกตัวอย่าง พลังที่1.สำคัญกว่าพลังที่2. เพราะว่า
คู่แข่งที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันนั้น น่ากลัวกว่าผู้ที่จะเข้ามาใหม่อยู่บ้าง
แม้จะไม่มากไม่น้อย แต่ก็ถือว่าเหนือกว่าอยู่ดี
เพราะถือว่าเขามีประสบการณ์อยู่แล้ว
เขามีทั้งแนวคิดที่เป็นทฤษฎีและภาคปฏิบัติมาก่อน
ในขณะที่ผู้ที่มาใหม่นั้น อย่างน้อยๆก็จะขาดในเรื่องการปฏิบัติและประสบการณ์
เป็นต้น ยกตัวอย่างแค่นี้ก่อน
ดังนั้น เรื่องพลังทั้งห้านี้จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากและขาดไม่ได้ในการหาหุ้นที่น่าสนใจ
เพียงแต่มีกับดักอยู่บ้างเล็กน้อย
เพราะผลลัพธ์ของการวิเคราะห์พลังทั้งห้า
จะได้คำตอบออกมาว่า
อุตสาหกรรมไหนที่น่าสนใจ
และหุ้นตัวไหนในอุตสาหกรรมนั้นที่น่าซื้อ
น่าซื้อ หมายถึงว่า เป็นหุ้นที่มีพลังเหล่านี้มากกว่าใครๆ
ซึ่งเราสามารถนำมาจัดลำดับความเก่งได้
เพียงแต่กับดักอยู่ตรงที่ว่า
เมื่อได้คำตอบออกมาแล้ว
อย่าเพิ่งกระโดดเข้าไปซื้อเลย
แต่ต้องวิเคราะห์ต่อเนื่องอีกหนึ่งขั้นตอนเสียก่อนถึงน่าสนใจซื้อ
คือวิเคราะห์ว่า ณ.ราคานั้นๆ
หุ้นตัวนั้น undervalue มากแค่ไหน
หุ้นดีๆ เก่งๆ แต่ราคา overvalue แล้ว
ก็ทำให้เราขาดทุนได้ง่ายๆ
ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มิ.ย. 05, 2008 9:11 pm
โดย path2544
สุดยอดครับ
ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model
โพสต์แล้ว: ศุกร์ มิ.ย. 06, 2008 12:36 am
โดย Coin Flipper
คนโหลตตั้ง 20 คน แต่คนให้เหตุผลมี Sattaya คนเดียวเอง
ว่า แล้วเราสามารถนำ Five Force Model มาประยุคใช้กับ ตัวธุรกิจเองได้หรือไม่ครับ
เช่น 7-11 ทำไมถึงน่าสนใจ เพราะ
1. การเข้ามาของคู่แข่ง ทำได้ หรือ ไม่ ???
2. อำนาจต่อรองของ ผู้ขาย มีมากหรือไม่ ???
3. อำนาจต่อรองของผู้ซื้อ มีมากหรือไม่ ???
เป็นต้น (ข้ออื่นจำไม่ได้ล่ะ )
ลองเอา Five Forces มาวิเคราะห์กับ 7-11 ดู ( เขียนถูกแล้วนะครับครู อย่าตีผมนะ)
1. Rival competition ขนาดของกิจการคู่แข่งเล็กเกินกว่าจะสู้ 7-11ได้ เช่นพวก Family mart, 108 shop ดังนั้นการแข่งขันจึงไม่รุนแรง ไม่เหมือนกับพวกมือถือ ถึงผู้เล่นน้อยก็จริง แต่ขนาดของบริษัทพอฟัดพอเหวี่ยงกันได้ พวก makro big-c ก็ไม่ใช่คู่แข่งโดยตรง เพราะคนล่ะ position กัน
2. Potential to entry รายใหม่เข้ามาได้ยาก เพราะช่องทางการจัดจำหน่าย 7-11 กระจายไปทั่ว แม้บางที่ 7 จะตั้งห่างกันแค่ไม่กี่เมตร 7 ก็ยังเปิดติดกัน แม้จะทำให้เกิด Cannibalization แต่ขู่แข่งก็ไม่สามารถมาเปิดแข่งได้
3. Subtitute product สินค้าทดแทนยังไม่เห็นจะมี การซื้อผ่านเน็ต หรือ ซื้อทางโทรศัพท์ ก็ยังมาทดแทนไม่ได้ ด้วยวิถีชีวิตของคนไทย ถึงมาทดแทน 7-11 ก็สามารถทำได้ ซึ่งก็ทำอยู่
4. Power of buyer ในเมื่อ 7 อาศัยทำเลที่ตั้งเป็นจุดแข็ง ผู้ซื้อก็ต้องยอมจ่ายเงิน ซื้อของที่แพงกว่า whole sale ทั่วไป เพราะสะดวก และในยุคน้ำมันแพง จะนั่งรถไปซื้อไกลๆ ก็ไม่คุ้ม
5. Power of supplier ผู้ผลิตทุกรายย่อมอยากมาฝากขายกับ 7 สินค้าบางประเภทต้องทำสัญญากับ 7 เลยทีเดียว เช่น ไอติม เครื่องใช้ และ CP ก็มีผลิตภัณฑ์ที่ผลิตเองเยอะ เช่นพวกของกิน การจัดร้านจึงมักเอาของ housebrand มาวางไว้ตำแหน่งที่ดีกว่า เช่น หน้า counter เพื่อเพิ่มมาจิน ทำให้การต่อลองของ supplier มีน้อย
อ่าววิเคราะห์มามีแต่ข้อดีหมดซะงั้น :shock: ไม่ได้เชียซื้อหุ้น 7-11 นะ แค่วิเคราะห์ตามความคิดส่วนตัว
ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model
โพสต์แล้ว: ศุกร์ มิ.ย. 06, 2008 9:29 am
โดย NinjaTurtle
แผ่วเบา เขียน:
เพียงแต่มีกับดักอยู่บ้างเล็กน้อย
เพราะผลลัพธ์ของการวิเคราะห์พลังทั้งห้า
จะได้คำตอบออกมาว่า
อุตสาหกรรมไหนที่น่าสนใจ
และหุ้นตัวไหนในอุตสาหกรรมนั้นที่น่าซื้อ
น่าซื้อ หมายถึงว่า เป็นหุ้นที่มีพลังเหล่านี้มากกว่าใครๆ
ซึ่งเราสามารถนำมาจัดลำดับความเก่งได้
ขอแจมเสริมพี่แผ่วเบาด้วย ไม่ว่ากันนะครับ
หลังจากที่รู้ถึงพลังทั้งห้าแล้ว คงไม่ได้มามองว่าพลังไหนสำคัญกว่า แต่ต้องมองว่าแรงกดดันด้านไหนรุนแรง มีผลกระทบกดดันอุตสาหกรรมมากที่สุด
พอรู้แล้วก็ต้องตามไปดูด้วยว่าสิ่งที่บริษัทกำลังทำอยู่มีการปรับปรุงอะไรบ้างเพื่อรองกระแสพลังด้านไหนบ้าง หันไปเพิ่มหรือลด ปรับปรุงอะไร พยายามสร้างอะไร และหันไปจับกลุ่มลูกค้ากลุ่มไหน แตกต่างจากผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมรายอื่นๆหรือเปล่า
ดูด้วยว่าสิ่งที่บริษัททำได้เพิ่มคุณค่า Value อะไรให้กับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายบ้าง มีใครทำให้แบบนี้ได้ไหม แล้วก็ไปดูงบ เพื่อ confirm ผล แล้วก็ประเมิณมูลค่า ก่อนที่จะลงทุนครับ
ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model
โพสต์แล้ว: ศุกร์ มิ.ย. 06, 2008 10:41 am
โดย Mon money
นึกว่ากระทู้แบบนี้จะไม่ได้รับความนิยมเสียแล้ว
samahara เขียน:7-11 เขาไม่ได้ขายของครับ เขาขายความสะดวก โดยใช้ทำเล เป็นหลัก ไม่รู้พี่ๆคิดว่าไง...
ความสะดวกมีมูลค่าเท่าไรครับ? มีค่านะ เรียกว่า Value chain แต่มูลค่าไม่ได้อยู่แค่ความสะดวก บ้านผมมีร้านชำหน้าบ้าน สะดวกโครตๆ มีแต่คนมาซื้อเล็กๆน้อย มันมีปัจจัยอีกหลายอย่างครับ
ลองเอา Five Forces มาวิเคราะห์กับ 7-11 ดู ( เขียนถูกแล้วนะครับครู อย่าตีผมนะ)
1. Rival competition ขนาดของกิจการคู่แข่งเล็กเกินกว่าจะสู้ 7-11ได้ เช่นพวก Family mart, 108 shop ดังนั้นการแข่งขันจึงไม่รุนแรง ไม่เหมือนกับพวกมือถือ ถึงผู้เล่นน้อยก็จริง แต่ขนาดของบริษัทพอฟัดพอเหวี่ยงกันได้ พวก makro big-c ก็ไม่ใช่คู่แข่งโดยตรง เพราะคนล่ะ position กัน
2. Potential to entry รายใหม่เข้ามาได้ยาก เพราะช่องทางการจัดจำหน่าย 7-11 กระจายไปทั่ว แม้บางที่ 7 จะตั้งห่างกันแค่ไม่กี่เมตร 7 ก็ยังเปิดติดกัน แม้จะทำให้เกิด Cannibalization แต่ขู่แข่งก็ไม่สามารถมาเปิดแข่งได้
3. Subtitute product สินค้าทดแทนยังไม่เห็นจะมี การซื้อผ่านเน็ต หรือ ซื้อทางโทรศัพท์ ก็ยังมาทดแทนไม่ได้ ด้วยวิถีชีวิตของคนไทย ถึงมาทดแทน 7-11 ก็สามารถทำได้ ซึ่งก็ทำอยู่
4. Power of buyer ในเมื่อ 7 อาศัยทำเลที่ตั้งเป็นจุดแข็ง ผู้ซื้อก็ต้องยอมจ่ายเงิน ซื้อของที่แพงกว่า whole sale ทั่วไป เพราะสะดวก และในยุคน้ำมันแพง จะนั่งรถไปซื้อไกลๆ ก็ไม่คุ้ม
5. Power of supplier ผู้ผลิตทุกรายย่อมอยากมาฝากขายกับ 7 สินค้าบางประเภทต้องทำสัญญากับ 7 เลยทีเดียว เช่น ไอติม เครื่องใช้ และ CP ก็มีผลิตภัณฑ์ที่ผลิตเองเยอะ เช่นพวกของกิน การจัดร้านจึงมักเอาของ housebrand มาวางไว้ตำแหน่งที่ดีกว่า เช่น หน้า counter เพื่อเพิ่มมาจิน ทำให้การต่อลองของ supplier มีน้อย
1
การแข่งขันในอุตสาหกรรม ผมว่ารุนแรงนะ ยิ่งกฎหมายโซนนิ่งออกมาแล้วยิ่งไปกดดันให้ยักษ์ค้าปลีกปรับModelใหม่ ลงมาสู้ จริงๆธุรกิจในpositionนี้แข่งกันด้วย ทำเล Logistic และ Data base ใครดีกว่ารวยกว่า
2
ผู้เข้ามาใหม่ ยากเอาการเพราะ เครือข่ายlogistic ฐานข้อมูล และทำเล เหล่านี้ จะทำให้เกิดต้นทุนที่คุ้มยากแล้ว ตรงนี้เป็น ปราการด่านสำคัญของรายใหม่
3
สิ่งทดแทน คงไม่มีใครซื้อซาลาเปาผ่านnetแน่นอน สิ่งที่ทดแทนกันมีแน่ แต่ตอนนี้ทำไปยังไม่คุ้ม ในอนาคตไม่แน่
4
ลูกค้า มีพลังแน่นอน ไม่งั้นลองขึ้นราคาดูเดะ ลูกค้าหายแน่นอน ส่วนนี้ต้องดูต้นทุนส่วนเพิ่มของลูกค้า ร้านประเภทนี้ใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูล เลือกสินค้ามาขาย สินค้าที่มีมูลค่าสูงจะไม่เห็นในร้านแบบนี้ หากขึ้นราคาสินค้าราคาสูงเหล่านี้ เรียกว่าทำให้ต้นทุนส่วนเพิ่มสูงขึ้น ลูกค้าไม่ซื้อแน่ ตรงนี้ร้านเขาก็ลดกำลังลูกค้าโดยเลือกสินค้าที่มุลค่าต่ำ และไม่นิยมซื้อจำนวนมากๆไปเก็บ ขอบอกว่าธุรกิจแบบนี้ Switching costต่ำ
5
ผู้ขายสินค้า เมื่อขนาดใหญ่พอเวลาซื้อสินค้าบางรายการเช่นกระดาษชำระ เขาจะใช้วิธีประมูล เอารายเดียวเหมากันไปเลย 3-5ปี บางรายการทำไม่ได้ เช่น มาม่า ไวไว ยำยำต้องมีครบ ซื้อมากๆก้แน่นอน ซื้อได้ถูก และได้เครดิตยาว
ที่นี้มาดูว่า ถ้ารายใหญ่ที่ Leverage ทรัพยากรของเดิมมาสู้กับ เขามีโอกาสแบ่งเค็กกินบ้างไหม? เค็กก้อนนี้มันน่ากิน ลองดูซิว่าที่เขาทำๆกันนะเข้าทางไหม และร้านทั้งหมดของซีพี(คนอื่นไม่เกี่ยว) เขากันรายอื่นไว้อย่างไง
ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model
โพสต์แล้ว: ศุกร์ มิ.ย. 06, 2008 10:57 am
โดย nanchan
ผมว่า Subtitute product เป็นปัจจัยที่น่ากลัวที่สุด
เพราะว่า สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เหนือกว่าการควบคุมของบริษัท
ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model
โพสต์แล้ว: ศุกร์ มิ.ย. 06, 2008 11:07 am
โดย sattaya
Coin Flipper เขียน:ลองเอา Five Forces มาวิเคราะห์กับ 7-11 ดู ( เขียนถูกแล้วนะครับครู อย่าตีผมนะ)
1. Rival competition ขนาดของกิจการคู่แข่งเล็กเกินกว่าจะสู้ 7-11ได้ เช่นพวก Family mart, 108 shop ดังนั้นการแข่งขันจึงไม่รุนแรง ไม่เหมือนกับพวกมือถือ ถึงผู้เล่นน้อยก็จริง แต่ขนาดของบริษัทพอฟัดพอเหวี่ยงกันได้ พวก makro big-c ก็ไม่ใช่คู่แข่งโดยตรง เพราะคนล่ะ position กัน
ถึงแม้ว่า Family mart , 108 shop และร้านโชวห่วยจะเล็กมากจนสู้ 7-11 ได้ยากแต่พี่ coin ลืม lotus express ไปนะครับ จะบอกว่า whole sale ไม่ใช่คู่แข่งโดยตรงก็ไม่ถูกซะทีเดียวนะครับ ถ้าผมซื้อของหลายอย่างผมเลือกไปซื้อที่ lotus, big-c แล้วคงไม่แวะซื้อขนมจีบ ซาลาเปาที่ 7-11 ก่อนกลับหรอกครับ
2. Potential to entry รายใหม่เข้ามาได้ยาก เพราะช่องทางการจัดจำหน่าย 7-11 กระจายไปทั่ว แม้บางที่ 7 จะตั้งห่างกันแค่ไม่กี่เมตร 7 ก็ยังเปิดติดกัน แม้จะทำให้เกิด Cannibalization แต่ขู่แข่งก็ไม่สามารถมาเปิดแข่งได้
ข้อนี้น่าจะเป็นเพราะศักยภาพของคู่แข่งมีไม่พอนะครับ เนื่องจาก 7-11 ใช้กลยุทธ differentiation และตอนนี้มีแต่คู่แข่งเล็กๆ ที่ไม่สามารถใช้กลยุทธด้านราคา หากมีรายใหญ่อย่าง lotus เข้ามาเล่นแล้วใช้กลยุทธด้านราคาก็น่ากลัวอยู่นะครับ
3. Subtitute product สินค้าทดแทนยังไม่เห็นจะมี การซื้อผ่านเน็ต หรือ ซื้อทางโทรศัพท์ ก็ยังมาทดแทนไม่ได้ ด้วยวิถีชีวิตของคนไทย ถึงมาทดแทน 7-11 ก็สามารถทำได้ ซึ่งก็ทำอยู่
ผมว่าพวก Big-c, lotus, คาร์ฟู, โชวห่วย ฯลฯ นั่นแหละครับสินค้าทดแทน
4. Power of buyer ในเมื่อ 7 อาศัยทำเลที่ตั้งเป็นจุดแข็ง ผู้ซื้อก็ต้องยอมจ่ายเงิน ซื้อของที่แพงกว่า whole sale ทั่วไป เพราะสะดวก และในยุคน้ำมันแพง จะนั่งรถไปซื้อไกลๆ ก็ไม่คุ้ม
ถ้าผู้ซื้อมีทางให้เลือกย่อมเลือกซื้อของที่ถูกกว่า สะดวกกว่า แต่เนื่องจากจำนวนผู้ซื้อมีมากแรงกดดันจากผู้ซื้อจึงมีไม่มากครับ
5. Power of supplier ผู้ผลิตทุกรายย่อมอยากมาฝากขายกับ 7 สินค้าบางประเภทต้องทำสัญญากับ 7 เลยทีเดียว เช่น ไอติม เครื่องใช้ และ CP ก็มีผลิตภัณฑ์ที่ผลิตเองเยอะ เช่นพวกของกิน การจัดร้านจึงมักเอาของ housebrand มาวางไว้ตำแหน่งที่ดีกว่า เช่น หน้า counter เพื่อเพิ่มมาจิน ทำให้การต่อลองของ supplier มีน้อย
สาเหตุหนึ่งที่ power of supplier ของ 7-11 เพราะจำนวนที่มากมายของสาขาของ 7-11 ทำให้ปริมาณการซื้อมีจำนวนมหาศาล ในทางกลับกันใครเป็น supplier ของ 7-11 จึงโดน power of buyer เข้าเต็มๆ
ผมมิได้มีเจตนามาโต้แย้งนะครับ แต่พยายามจะมองอีกมุมหนึ่งเท่านั้น
พี่ coin วิเคราะห์ 5 force แล้วไม่วิเคราะห์ swot ด้วยหรือครับ
ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model
โพสต์แล้ว: ศุกร์ มิ.ย. 06, 2008 11:27 am
โดย NinjaTurtle
nanchan เขียน:ผมว่า Subtitute product เป็นปัจจัยที่น่ากลัวที่สุด
เพราะว่า สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เหนือกว่าการควบคุมของบริษัท
เห็นด้วยครับพี่
แต่ว่า กว่ามันจะมามันไม่ใช่มาแล้วก็ตูมเลยที่เดียว เจ้าเก่าก็ต้องมีวิสัยทัศน์พอตัว ไม่งั้นก็ตาย
DAP(digital audio player) หรือ เครื่องเล่น MP3(ทั้งๆที่มันเล่นได้มากกว่าไฟล์ MP3 อะนะ) มาอยู่นาน 2-3 ปีแล้ว
แต่ค่ายเพลงเองนั่นแหละทำอะไรไม่ถูก ปรับตัวไม่ได้ ต
ลาดต้องการเพลงที่เป็นไฟล์ดิจิตอล คนอยากใช้แต่หาเพลงไมได้
Napster มาให้โหลดฟรีๆ ก็Boom ถึงมันจะเป็นการละเมิดลิขสิทธ์ก็เถอะ แต่ความนิยมขนาดนี้แสดงว่าตลาดต้องการ
ค่ายเพลงเอาแต่ต่อต้านหาทางฟ้องร้อง ไม่ได้คิดหาทางออกว่านี่มันเป็นที่ต้องการของตลาดนะ ตลาดต้องการเพลงที่มาใช้กับเครื่องเล่น DAP
จนมาเจอ Itune ของ Apple ที่ตอนนี้กลายเป็นคนที่ควบคุม Distibution channal ไปแล้ว อุตสาหกรรมขายแผ่น CD ก็แทบจะหายไปเลย
ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model
โพสต์แล้ว: ศุกร์ มิ.ย. 06, 2008 12:34 pm
โดย nanchan
ผมก็เห็นด้วยว่ามันจะค่อยๆคลืบคลานเข้ามา
เพราะดูเหมือนกว่าผู้บริโภคจะค่อยๆซึมซับก็จะใช้เวลานานซักนิด
และก็มีหลายบริษัทที่ไม่ค่อยสนใจมองที่ความต้องการผู้บริโภคอย่างแท้จริง
จนถึงเวลาก็ต้องรับสภาพไปตามกาลเวลา
แต่ก็มีบางสินค้า ที่อาจจะแทนที่ในระยะเวลาอันสั้นได้เหมือนกัน
อย่างพวกอาหารเป็นต้น หรือสิ่งของจำเป็นอื่นๆ
แต่ยังไงสิ่งเหล่านี้มันก็จะมีสัญญาณให้เห็นก่อนบ้าง
ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model
โพสต์แล้ว: ศุกร์ มิ.ย. 06, 2008 12:37 pm
โดย nanchan
ผมว่าหัวข้อSubtitue productนั้น
เป็นหัวข้อที่แคบจนเกินไป ที่จะทำให้บริษัทมองเห็นภาพออกก่อนการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้น
จริงๆเค้าน่าจะใช้คำว่า Subtitute Things ซะมากกว่า
สุดยอดๆๆ
โพสต์แล้ว: ศุกร์ มิ.ย. 06, 2008 11:21 pm
โดย path2544
สุดยอดๆๆ จริงๆๆ ครับ
เป็นการวิเคราะห์เชิงคุณภาพที่ดีมากๆๆ ครับ
แต่
เราจะเอามันไปประเมินมูลค่าหุ้น ดังนั้น ถ้า แปลงมันเป็นเชิงปริมาณ ได้ คงดีนะครับ
ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มิ.ย. 08, 2008 12:01 pm
โดย Saran
nanchan เขียน:ผมก็เห็นด้วยว่ามันจะค่อยๆคลืบคลานเข้ามา
เพราะดูเหมือนกว่าผู้บริโภคจะค่อยๆซึมซับก็จะใช้เวลานานซักนิด
และก็มีหลายบริษัทที่ไม่ค่อยสนใจมองที่ความต้องการผู้บริโภคอย่างแท้จริง
จนถึงเวลาก็ต้องรับสภาพไปตามกาลเวลา
พออ่านแล้วนึกถึงธุรกิจอาหารกระป๋องว่าจะโดนพวกโฟรเซ่น ฟู้ดส์ มาแทนที่หรือป่าว
Re: สุดยอดๆๆ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มิ.ย. 08, 2008 10:58 pm
โดย Mon money
พออ่านแล้วนึกถึงธุรกิจอาหารกระป๋องว่าจะโดนพวกโฟรเซ่น ฟู้ดส์ มาแทนที่หรือป่าว
ใช่แล้ว สิ่งทดแทน การเดินทางทางอากาศคือ การเดินทางด้วย รถยนต์ รถไฟ เรือ ฯลฯ
สิ่งที่ทดแทน CD เพลงคือ Music Digital files ทั้งนี้เพราะการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีมันทำให้คนเปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อหาเพลงมาสร้างความบันเทิง หากอากู๋กับเฮียฮ้อยังก้มหน้าก้มตาขายเพลงบนCDอยู่ละก็เดี้ยงแน่ๆ
path2544 เขียน:สุดยอดๆๆ จริงๆๆ ครับ
เป็นการวิเคราะห์เชิงคุณภาพที่ดีมากๆๆ ครับ
แต่
เราจะเอามันไปประเมินมูลค่าหุ้น ดังนั้น ถ้า แปลงมันเป็นเชิงปริมาณ ได้ คงดีนะครับ
ไปดูที่งบการเงินซิ
แข่งขันสูงมีคู่แข่งเข้ามาเพิ่ม กำไรน้อย เงินสดน้อย ต้องลงทุนมากๆเพื่อหนีการแข่งขัน
กำลังsupplierสูง จ่ายเงินเร็ว หรือซื้อเงินสด
กำลังผู้ซื้อสูง เก็บเงินช้า กำลังผู้ซื้อไม่สูง เก็บเงินเร้ว หรือเก็บเงินสด
สองแรงนี้ทำให้ต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนมากน้อยตามแต่กำลังที่กดดันมา
มีสิ่งทดแทน(เอาใจป๋านันหน่อย) ยอดขายลดไปเรื่อยๆ
ทั้งหมดจะสะท้อนผ่านงบการเงิน(ที่จำเป็นต้องทำให้สะอาดเสียก่อน) อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
งบการเงินคือผลที่ได้จากการดำเนินธุรกิจ เหตุมันอยู่ที่การดำเนินธุรกิจ
บางอุตสาหกรรมการแข่งขันรุนแรงมาก แรงพลักดันทั้งหมดล้วนรุนแรง หลายบริษัทในอุตสาหกรรมกำไรน้อยถึงขาดทุน แต่ก็มีบริษัทที่กำไรดีกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม เพราะมันอยู่ที่ว่าบริษัทจะวางตำแหน่งอย่างไง
ใครจะรับอาสาวิเคราะห์หุ้นยอดนิยมในอดีตอย่าง SNC บ้าง ผมยินดีจะร่วมวิเคราะห์ด้วย ที่ไม่ทำเองเพราะไม่เคยมีหุ้นนี้เลย ไม่มีข้อมูลเชิงลึก ผู้ถือหุ้นเดิมที่มีก็แบ่งๆกันเป็นวิทยาทาน
ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model
โพสต์แล้ว: จันทร์ มิ.ย. 09, 2008 9:33 am
โดย samahara
เห็นด้วยครับพี่..
อย่างน้อยก็พอที่จะเป็นวิทยาทานแก่พวกผม..มือใหม่ในนี้
บางทีการพยายามนั่งนึกเองโดยไม่มีตัวอย่างมันก็ไม่ค่อยสนุกเลย..
ถ้าจะลองทดสอบกับตัวเองเลย..ว่าถูกไม่ถูก..งบก็จำกัดเหลือเกิน..
ถ้าไม่เป็นการรบกวนเกินไป...ผมว่าประสบการณ์ของพี่นั่นแหละครับ..ที่สำคัญ
ขอบคุณครับ.
ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model
โพสต์แล้ว: อังคาร มิ.ย. 10, 2008 1:05 pm
โดย Saran
Mon money เขียน:
ใครจะรับอาสาวิเคราะห์หุ้นยอดนิยมในอดีตอย่าง SNC บ้าง ผมยินดีจะร่วมวิเคราะห์ด้วย ที่ไม่ทำเองเพราะไม่เคยมีหุ้นนี้เลย ไม่มีข้อมูลเชิงลึก ผู้ถือหุ้นเดิมที่มีก็แบ่งๆกันเป็นวิทยาทาน
ผมก็ไม่มีหุ้นนี้เหมือนกัน (แต่อนาคตไม่แน่ :lol:)
เลยขอมาประเดิมก่อนก็แล้วกัน ใครจะมาต่อยอด ติยอดก็ว่ากันไป
มาเริ่มที่ Five Force
1. Rival competition
- SNC เป็นธุรกิจ OEM ซึ่งการแข่งขันกันเองระหว่างบริษัท OEM ด้วยกันเองน่าจะน้อย เพราะแต่ละรายจะมีคำสั่งซื้อจากลูกค้าหลักของตัวเองอยู่แล้ว บวกกับอุตสาหกรรมการผลิตแอร์บ้าน แอร์รถยนต์ยังอยู่ในช่วงกำลังเติบโต บริษัทจึงโตด้วยการเพิิ่มส่วนแบ่งของ market share ที่โตขึ้นมากกว่าการไปแย่งคำส่ังซื้อมาจากบริษัทอื่น
2. Potential to entry
- ธุรกิจแบบ OEM เป็นธุรกิจที่มี margin ค่อนข้างต่ำ ผมถือว่าเป็นคูน้ำที่กว้างมากพอที่ทำให้บริษัทที่อยู่ข้างนอกไม่กล้าโดดเข้ามาแข่งด้วย เพราะบริษัทที่อยู่ในตลาดนี้ได้ต้องมีส่วนแบ่งในตลาดสูงมากพอสมควร ไม่งั้นจะไม่ได้ประโยชน์จาก economy of scale ⇒ ต้นทุนสูงกว่าคู่แข่งโดยเฉลี่ย
3. Subtitute product
- คิดไม่ออกครับ ช่วยหน่อย
4. Power of buyer
- SNC นั้นได้วางแผนเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลูกค้าในการผลิตสินค้าให้มีต้นทุนที่ต่ำกว่าการที่ลูกค้าจะทำการผลิตเอง ซึ่งเป็นการเพิ่ม value ให้กับทั้ง SNC และลูกค้าของ SNC ดังนั้นอำนาจการต่อรองของลูกค้าจะมีอยู่ทางเดียวคือในกรณีที่ลูกค้าสามารถหาหรือผลิตชิ้นส่วนได้ในราคาที่ต่ำกว่า SNC ทำได้
5. Power of supplier
- โดยส่วนตัว ผมคิดว่าเป็นความเสี่ยงหลักของธุรกิจ เพราะในกรณีที่ราคาวัตถุดิบผันผวน ดังเช่นในตอนนี้ บริษัทนั้นไม่สามารถล็อกราคาวัตถุดิบ หรือไปหาวัตถุดิบอย่างอื่นที่ราคาต่ำกว่ามาทำแทน
ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model
โพสต์แล้ว: อังคาร มิ.ย. 10, 2008 2:33 pm
โดย Sumotin
ผมเลือก Subtitute product แต่ต้องเป็น subtitute product ที่แข็งแรงมากๆ เช่น การเปลี่ยนยุคของ โทรเลข มาเป็น โทรศัพท์ :lol: อื่นๆ อีกมากมาย
ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model
โพสต์แล้ว: อังคาร มิ.ย. 10, 2008 7:45 pm
โดย sattaya
ผมรู้ธุรกิจของ SNC แค่ผิวๆ ขอร่วมแจมด้วยคนครับ
Saran เขียน:
ผมก็ไม่มีหุ้นนี้เหมือนกัน (แต่อนาคตไม่แน่ :lol:)
เลยขอมาประเดิมก่อนก็แล้วกัน ใครจะมาต่อยอด ติยอดก็ว่ากันไป
มาเริ่มที่ Five Force
1. Rival competition
ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model
โพสต์แล้ว: อังคาร มิ.ย. 10, 2008 8:13 pm
โดย Mon money
ข้อนี้ผมว่าแข่งกันดุเดือดอยู่นะครับ คู่แข่งนอกจาก OEM ด้วยกันแล้วยังมีเจ้าของ Brand เป็นคู่แข่งอีก เพราะถ้าทำราคาไม่ได้ต่ำกว่าเค้า เค้าคงไม่ยกมาให้เราทำหรอก
สูงครับ ก็คุณบอกเองว่ามาร์จินต่ำ ถ้าแข่งไม่สูง มาร์จินไม่ต่ำหรอก อีกทั้งOEM ญี่ปุ่นในไทยก็มีหลายรายนะจะบอกให้
นอกจาก margin จะต่ำแล้วยังต้องใช้ฝีมือสูงพอสมควร economy of scale เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ SNC ได้งานจากลูกค้า
Scale Economy ก็สำคัญ Learning curve ยิ่งสำคัญ Process ก็สำคัญ แต่ผมว่า New Entry เข้าไม่ยากหรอก ผมไม่รู้ว่า SNC ทำอย่างไงจึงสามารถสร้าง Scale Economyในส่วนชิ้นส่วน(ธุรกิจเดิม)ได้อย่างรวดเร็ว ใครรู้บอกหน่อย
สินค้าทดแทน OEM น่าจะเป็นตัวลูกค้าเอง เพราะลูกค้าต้องประเมินว่าจะผลิตเองหรือ outsource
Make or Buy ขึ้นอยู่กับ Economic Value added ของสินค้า กับ Marketing แอร์บ้าน แอร์รถ ผมเชื่อว่า Value added โดยเปรียบเทียบของแต่ละ Brandไม่ต่างกันมาก การoutsourceเป็นทางเลือกที่ฉลาดของเจ้าของBrand ที่แข็งแกร่ง เพราะPricing เอง รู้supply Demand ในตลาด ไม่commitยอดที่คิดว่าทำไม่ได้ ยืดหยุ่นกว่า สิ่งทดแทนตอนนี้อาจยังเห็นไม่ชัด แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มี
power of buyer สำหรับ SNC ผมคิดว่ามีสูงมากเนื่องจาก SNC พึ่งพาลูกค้ารายใหญ่ๆ น้อยราย และการที่งานขันน็อตที่ขาดทุนใน Q1 เกิดขึ้นส่วนหนึ่งน่าจะเป็นคำสั่งของลูกค้าด้วยแหละครับ
อันนี้สูงมาก และ Switching cost ต่ำเอามากๆ น่ากลัวครับ เข้าป้องกันอย่างไง ผมไม่ค่อยชอบคำว่า "มีความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า ทำงานร่วมกันมาโดยตลอด" ผมเชื่อว่า คนอื่นก็ทำได้ เพราะเรื่องอย่างนี้มัน B2B
ข้อนี้ผมเห็นตรงข้าม เพราะ ในเมื่อ SNC ทำงานจนถึงระดับ economy of scale แล้วการสั่งซื้อวัตถุดิบจะมีปริมาณมากมายจนสามารถต่อรองกับ supplier ได้ ส่วนราคาของวัตถุดิบที่ผันผวนนั้นสามารถเจรจากับลูกค้าได้ครับ
อยู่ที่ว่าจะใหญ่พอไหมครับ ผมเห็นทำไอ้โน้นนิด ไอ้นี่หน่อย กระโดดไปทำไอ้นั่นอีกแล้ว คือโดยรวมแล้วใหญ่ แต่ไม่ใหญ่ทั้งหมด เล็กๆ หลายเล็กๆมารวมกันเลยดูใหญ่หรือเปล่า?
ใครมีข้อมูลพื้นฐาน ไม่เห็นมาแชร์กันเลย