หน้า 1 จากทั้งหมด 1
การเป็นนักลงทุนให้ประโยชน์อะไรกับประเทศชาติ และประชาชน
โพสต์แล้ว: เสาร์ เม.ย. 19, 2008 12:50 pm
โดย JK@VI
ผมสนใจการลงทุน เพราะคิดว่าเวลาแก่ไม่มีแรงก็ยังพอมีรายได้ แต่ลูกสาวผมถามว่า มันเป็น Zero Sum Game เป็นการทำเงินที่ไม่สร้างผลผลิต แต่ทำให้คนอื่นขาดทุน เขาบอกว่าคนเราคิดหาเงินก็ต้องดูที่มาของเงินด้วย คนเราต้องทำเงิน และมีเกียติด้วย ผมไม่รู้จะอธิบายลูกอย่างไรดี ผมรู้ว่าดี ไม่เช่นนั้นรัฐบาลคงไม่ส่งเสริม คนอื่นๆมีความคิดเห็นว่าอย่างไรบ้างครับ
การเป็นนักลงทุนให้ประโยชน์อะไรกับประเทศชาติ และประชาชน
โพสต์แล้ว: เสาร์ เม.ย. 19, 2008 1:00 pm
โดย ...
การเป็นนักลงทุนให้ประโยชน์อะไรกับประเทศชาติ และประชาชน
โพสต์แล้ว: เสาร์ เม.ย. 19, 2008 1:11 pm
โดย คนเรือ VI
นักลงทุนมักจะลืม จุดประสงค์ของ ตลาดหลักทรัพย์
ถ้าไม่มีการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ ธุรกิจ และ เศรษฐกิจจะโต ช้ากว่าปัจจุบันครับ
ธนาคารก็เป็นเครื่องมือหนึ่งในการระดมทุน จุดประสงค์เดียวกัน แต่ราคาถูกกว่า
ถ้าเรามองเป็นเกมส์ของราคา มันก็ไม่มีประโยชน์ครับ อาจจะเป็น zero sum game ถ้าเรามองเป็นการระดมทุนเพื่อให้ธุรกิจ และ เศรษฐกิจขับเคลื่อนไปได้อย่างเร็ว ก็เป็นประโยชน์ครับ
ที่มาของเงิน ถ้าไปปล้นเค้าก็เรื่องนึง ถ้าเอาไปซื้อบริษัทเพื่อหวังกำไรในอนาคต นั่นก็เรื่องนึง การซื้อขายหุ้น ก็เป็นการทำธุรกิจเช่นกัน เราซื้อส้มมาขาย ก็ไม่ต่างจากเราซื้อบริษัทขายส้ม เพื่อผลกำไรในอนาคต
อย่ามองในมุมของเกมส์ราคาอย่างเดียวครับ ทุกเหรียญมีสองด้านเสมอ
อีกอย่างหนึ่ง ถ้าเรามองในมุมของเกมส์ราคาแล้ว ถ้าสมมุติว่า ผมซื้อหุ้นมาตัวหนึ่ง ราคา 1 บาท ผมขายไปราคา 2 บาท คนซื้อต่อจากผมไป ไปขาย 4 บาท ......แล้วมันเป็น zero sum ยังไงครับ ????
อีกคนดีใจ อีกคนเสียใจเพราะขายหมู อย่างงี้อาจจะเป็น emotional zero sum ครับ
การเป็นนักลงทุนให้ประโยชน์อะไรกับประเทศชาติ และประชาชน
โพสต์แล้ว: เสาร์ เม.ย. 19, 2008 1:15 pm
โดย คนเรือ VI
ขออีกนิดครับ
ถ้าไม่มีทุน จะเอาอะไรไปสร้างการผลิต
เราเลยจากเศรษฐกิจแบบนั้นมาไกลมากแล้วครับ เป็นร้อยปีเลย
ผมเคยสงสัยว่าทำไม ประเทศ สยาม ถึงต้องกู้เงินมาสร้างรถไฟสายแรก เรามีแรงงาน เราน่าจะมีแร่ เราทำเองไม่ได้หรือไง ตอนสร้างวัง สร้างกรุงเทพ เรายังสร้างเองได้เลย
คำตอบก็เหมือนกันครับ ทำไมเราต้องมีทุน ก่อนที่จะผลิต ไม่งั้น เราคงไม่ต้องพึ่ง FDI
การเป็นนักลงทุนให้ประโยชน์อะไรกับประเทศชาติ และประชาชน
โพสต์แล้ว: เสาร์ เม.ย. 19, 2008 4:48 pm
โดย akekarat
ลูกสาวคุณมองแต่ผลที่เกิดขึ้นทางตรงไงครับ ไม่มองให้ลึก ๆ ว่าการลงทุนในตลาดหุ้น คือการสร้างงาน สร้างรายได้
เคยดูโฆษณา money channel มั๊งครับ ที่ว่า ไม่มีการลงทุน ไม่มีการจ้างงานน่ะ ผมว่าตรงดีนะ
ถ้าเป็นนักลงทุนจริง ๆ การนำเงินไปลงทุนในตลาดหุ้น อย่างน้อยก็เป็นการผลัดเปลี่ยนเงิน สร้างกระแสเศรษฐกิจ การซื้อหุ้นเพิ่มทุน ก็คือการให้เงินบริษัท ไปสร้างการลงทุนเพิ่ม ก่อให้เกิดการซื้อขาย จ้างงานมากขึ้น บริษัทก็ได้งานได้เงินกันเป็นทอด ๆ ลูกจ้างก็มีงานทำ มีเงินไปซื้อข้าวกิน
หรือแม้แต่นักเก็งกำไร ก็ถือว่ามีส่วนในระบบเศรษฐกิจ ในฐานะเป็นผู้ทำให้เกิด volume ในการซื้อขาย สร้างรายได้ ความมั่นคงให้บริษัทนายหน้า ลูกจ้างบริษัทมีงานทำ ไม่ตกงาน มีเงินไปซื้อของกินเป็นทอด ๆ ไป
แล้วอย่างนี้ จะบอกว่า การลงทุน เป็น Zero Sum Game ไม่สร้างผลผลิต ไม่สร้างงาน ไม่มีเกียรติ ได้อย่างไรครับ ???
การเป็นนักลงทุนให้ประโยชน์อะไรกับประเทศชาติ และประชาชน
โพสต์แล้ว: เสาร์ เม.ย. 19, 2008 6:18 pm
โดย MindTrick
สอน หลักการของ เงินทุนดู แต่ต้องแปลงให้สอนแบบภาษาเด็กๆเข้าใจง่าย
บอกให้เค้ารู้ว่า ระบบเศษกิจ มันมีคนสองฝั่ง
คนที่เงินเหลือ กับ คนที่ขาดเงินทุน
และมีตัวกลางคือแบง คอยปล่อยกู้ ให้ ธุรกิจที่ดี+เก่ง แต่ขาดเงินทุนมาขยาย
หาอ่านเพิ่มเติมได้ ในหนังสือ Single license ที่มารวย ครับ
การเป็นนักลงทุนให้ประโยชน์อะไรกับประเทศชาติ และประชาชน
โพสต์แล้ว: เสาร์ เม.ย. 19, 2008 7:21 pm
โดย Likhit
ตรงที่สุดคือ การเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 % ไง เสียทั้ง2ขาซื้อและขาย ผ่านมาร์ ผ่านบลจ.ก็ต้องเสียภาษี กลางปี ภาษีสิน้ปีอีกราว 30%
ยังโดนภาษีเงินปันผลอีก 10% ส่วนเรื่องการสร้างงานต่อเนื่องหลายๆคนพูดไปแล้ว ถ้าคิดอย่างนี้ผมว่า ธนาคารชั่วร้ายกว่าเยอะ คนฝากเงินให้ดอกเบี้ย
ไม่เกิน2% คนมากู้คิดดอกเบี้ย 7% หรือมากกว่า พวกนี้ทำนาบนหลังคน ในอณาคตไม่ต้องรับประกันเงินฝากด้วย เห็นหรือยังว่าธนาคารชั่วร้ายกว่าเยอะ
คนเขาเอาเงินมาฝากถ้าไปทำเจ๊ง ไม่ต้องชดใช้ ไปเอาเงินคนอื่นมาแสวงหากำไรจากส่วนต่างมันง่ายจะตายไปลงทุนในหุ้นดีๆปันผลก็6-7 % แล้ว
การเป็นนักลงทุนให้ประโยชน์อะไรกับประเทศชาติ และประชาชน
โพสต์แล้ว: เสาร์ เม.ย. 19, 2008 8:50 pm
โดย kin
ความเห็นผมคิดว่ามันคือการสร้างผลผลิตที่มีประสิทธิผลที่สุดครับ
กรณีที่เรามีเงินเหลือแต่ไม่รู้จะทำอะไร เก็บเอาไว้เฉยๆ อย่างนี้เรียกว่าไม่สร้างผลผลิต
แต่กรณีที่เรานำเงินเหลือนี้ให้คนอื่นไปใช้ แล้วเขาสามารถสร้างรายได้กลับคืนมา เขาก็ได้เงินมาลงทุนต่อ และก็แบ่งให้เราส่วนหนึ่งตามที่ตกลงกันไว้ เรียกว่าได้ทั้งการสร้างงาน และได้เงินงอกเงยด้วย
ส่วนที่ว่าทำให้คนอื่นขาดทุนกรณีส่วนต่างราคาหุ้นนั้น ผมมองว่า เขาคนนั้นเต็มใจขายหุ้นตัวนั้นให้เรา ซึ่งเขาอาจมีเหตุผลใดก็ไม่อาจทราบได้ กลับเป็นเราที่ช่วยซื้อตามความประสงค์ของเขา ไม่งั้นถ้าคิดอย่างนี้กันหมด เขาก็ไม่รู้จะขายให้ใคร ครับ
ไม่รู้ถูกต้องแค่ไหนนะครับ อิอิอิ :oops: :oops:
การเป็นนักลงทุนให้ประโยชน์อะไรกับประเทศชาติ และประชาชน
โพสต์แล้ว: เสาร์ เม.ย. 19, 2008 11:17 pm
โดย frontosa
ลูกสาวรู้จักคำว่า Zero sum game ด้วย อายุเท่าไหร่แล้วครับ ไม่น่าจะอธิบายยาก
ตลาดหุ้นเป็นได้ทุกอย่างครับ แล้วแต่คนเล่นกับมันจะให้มันเป็นอะไร
การเป็นนักลงทุนให้ประโยชน์อะไรกับประเทศชาติ และประชาชน
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ เม.ย. 20, 2008 12:28 am
โดย คนเรือ VI
ลูกสาวรู้จักคำว่า Zero sum game ด้วย อายุเท่าไหร่แล้วครับ ไม่น่าจะอธิบายยาก
ผมว่าโตแล้วล่ะ น่าจะรู้จักระบบเศรษฐกิจด้วย ไม่น่าจะอธิบายยาก เพียงแต่ ตลาดหุ้น at first glance คนมักจะมี perception แบบนี้เสมอ
เพื่อนผมตอนผมเริ่มเข้าตลาดใหม่ๆ อายุ 22-23 ยังคิดแบบนี้เลย
การเป็นนักลงทุนให้ประโยชน์อะไรกับประเทศชาติ และประชาชน
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ เม.ย. 20, 2008 12:37 am
โดย Onokung
ผมว่าถ้า รู้คำว่า ซีโร่ซัม เกมส์ แล้ว
คำถามนี้น่าจะตอบได้ด้วยคำถามครับ
อย่างที่ พี่ JK@VI "ผมสนใจการลงทุน เพราะคิดว่าเวลาแก่ไม่มีแรงก็ยังพอมีรายได้ "
สมมุคิว่า เปลี่ยนเป็น "ผมสนใจการปลูกหอพัก เพราะคิดว่าเวลาแก่ไม่มีแรงก็ยังพอมีรายได้ " ...... ให้อะไรกับชาติและประชาชน
ยังไงก็แล้วแต่ ผมว่าตอบก็ไม่ค่อยเต็มปากเท่าไหร่ว่าให้อะไร กับชาติ
แต่ว่า ยังไงก็ตาม มันมีประโยชน์กับชาติและประชาชนมากกว่า เอาเงินทั้งหมดไว้ในธนาคารแน่นอนครับ
การเป็นนักลงทุนให้ประโยชน์อะไรกับประเทศชาติ และประชาชน
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ เม.ย. 20, 2008 5:31 am
โดย leaderinshadow
เพิ่มเติมครับ
นักลงทุน เป็นส่วนสำคัญในการช่วยสร้าง ระบบการตรวจสอบ
และสร้างบรรษัทภิบาลให้กับบริษัท
ตัวอย่างเช่น นักลงทุน VI อย่างพวกเรา ที่ตรวจสอบการทำงาน
ของผู้บริหาร หรือ กองทุน ที่มีการคัดกรอง หุ้นที่พวกเขาจะ
เลือกลงทุน ซึ่งจะเลือกลงทุนในบริษัทที่มีการบริหารงานที่ดี และมีประสิทธิภาพ
ผลคือทำให้หุ้นของบริษัทเหล่านี้มีราคาที่สูงขึ้น เพราะ กองทุน(ชอบหุ้นใหญ่)
นักลงทุนรายย่อย(ชอบหุ้นเล็กแต่ดี) เข้าเก็บหุ้น
เมื่อหุ้นราคาสูงหุ้น บริษัทเหล่านี้ ก็สามารถขายหุ้นเพิ่มทุน
ในราคาที่ดีได้ ต้นทุนทางการเงินก็ต่ำลง ส่งผลดีต่อการขยายกิจการ
(นึกถึง UMS SNC MINT ฯลฯ)
หรือถ้าบริษัทไม่ออกหุ้นเพิ่มทุนบริษัทก็อาจจะออกหุ้นกู้ ซึ่งถ้าเป็นบริษัทที่ดี รายย่อย กับ กองทุน
ก็จะเข้าไปซื้อ ซึ่งเป็นการ Support ด้านการเงิน
ทีนี้ พอกองทุนเข้าซื้อ พวกนี้ จะมีการตรวจสอบ บริษัทอยู่เสมอ
เพื่อปกป้องเงินลงทุนของพวกเขา เหมือนกับที่ การที่บริษัทไปกู้
ธนาคาร ธนาคาร ก็จะมีการตรวจสอบการทำงานของบรษัท
เพราะธนาคารก็จำเป็นต้อง ปกป้องเงินของพวกเขา เช่นกัน
การเป็นนักลงทุนให้ประโยชน์อะไรกับประเทศชาติ และประชาชน
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ เม.ย. 20, 2008 9:21 am
โดย ส.สลึง
JK@VI เขียน:...Zero Sum Game เป็นการทำเงินที่ไม่สร้างผลผลิต แต่ทำให้คนอื่นขาดทุน เขาบอกว่าคนเราคิดหาเงินก็ต้องดูที่มาของเงินด้วย คนเราต้องทำเงิน และมีเกียติด้วย...
การเป็นผู้ถือหุ้น ก็คือการเป็นหุ้นส่วนของธุรกิจ เป็นเจ้าของกิจการครับ
กิจการที่ดี ทำประโยชน์ให้กับสังคมก็มีเยอะแยะ แล้วตอนไปประชุมผู้ถือหุ้น
ผมก็ไม่เคยได้ยินผู้ถือหุ้นคนไหนบอกว่าให้หยุดทำประโยชน์เพื่อสังคม
แล้วให้เอาเงินมาแบ่งกันเลยสักครั้ง
เรื่องการลงทุนในหุ้น ถ้าจะมองให้ลึกซึ้ง ความจริงมันก็หลักการลงทุนทั่วไปแหละครับ
จะลงทุนเพื่อตัวเอง ลงทุนส่งเดช ลงทุนเพื่อคนอื่น ก็คือการลงทุนเหมือนกัน
ถ้าจะยกตัวอย่างการไปซื้อที่ดินเปล่า จะเลือกเก็งกำไรก็ได้ ปล่อยให้รกทิ้งร้างก็ได้
สร้างบ้านไว้อยู่เองก็ได้ เอาไปถวายวัด หรือสร้างประโยชน์ให้สังคมอย่างอื่นก็ได้เหมือนกัน
เพราะฉะนั้น หุ้นจะเป็น Zero Sum Game หรือไม่ ?
จึงไม่เป็นนัยที่ผมจะตอบ เพราะมองกันต่างมุม
พิมพ์อธิบายจนมือผมหงิก
ตาคนอ่านแฉะ ก็คงไม่เข้าใจกันอยู่ดี :lol: แต่...
ไอเรื่อง
'เกียรติยศ' เนี่ย ความเห็นส่วนตัวนะครับ
"เกิดมามือเปล่าๆ ตายไปก็ตัวเปล่าๆ ของชั่วคราวเองครับ
แล้วการลงทุนในหุ้นจะทำตัวให้มีเกียรติก็ได้ ไร้เกียรติก็ได้ครับ ไม่เกี่ยวกัน"
คนละเรื่องเลยนา
...
ปล.
ไม่อยากพาดพิงว่ามีใคร หรือองค์กรใดอยู่ในตลาดหุ้นบ้าง แค่ทำความเข้าใจจากกระทู้นี้
ด้วยความเห็น และมุมมองของนักลงทุนจริงๆ (จากเวปแห่งนี้ที่ขาดแคลนนักพนัน) อธิบายจะดีกว่า...
ขอบคุณมากครับ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ เม.ย. 20, 2008 9:25 am
โดย JK@VI
ลูกสาวผมจบ ป. โท แล้วครับ การอธิบายยากกว่าอธิบายเด็กอีกครับ หากเป็นเด็กยังรับฟังบ้าง ผมว่าตลาดทุนใน USA เจริญมากเพราะชนชั้นกลาง หรือพวกทำงานงานกินเงินเดือน ลงทุนในตลาดหุ้นแทบทุกคน ผมว่าสำหรับคนไทยเรามีจำนวนไม่น้อย ที่ไม่เข้ามาค้าหุ้นเพราะมีทัศนคติที่ไม่ดีกับการลงทุน
เท่าที่อ่านมาผมรู้สึกว่านักค้าหุ้นเสียเปรียบธนาคารมาก เพราะเราให้เงินคนอื่นไปทำทุน โดยไม่มีสัญญาเงินกู้หรือหลักทรัพย์ หากลงในบริษัที่ดีผลตอบแทนก็ไม่มากกว่าธนาคาร แ่ต่หากลงในบริษัทที่ไม่ดีก็อาจสูญ
ผมแนะนำเพื่อนหลายคนให้เล่นหุ้น เพราะเห็นว่าเป็นการกระตุ้นให้เขารู้จักเก็บออม แต่เขากลับไม่สนใจกัน
บางคนบอกว่าเม็ดเงินที่ธุรกิจนำไปสร้างงาน ก็คือเงินที่ได้ตอน IPO เท่านั้น เ้งินที่เข้าตลาดไปตอนหลังๆไม่มีผลต่อการสร้างงาน
แต่ผมคิดว่าราคาหุ้นมันเป็นการคัดเลือกสายพันธุ์ ทำให้บริษัทที่ดีมีคนส่งเสริมมากขึ้น
ขอบคุณมากครับ สำหรับคำแนะนำผมจะส่ง Link ให้ลูกสาวมาอ่าน ผมว่าดีกว่าอธิบายด้วยตัวเอง
การเป็นนักลงทุนให้ประโยชน์อะไรกับประเทศชาติ และประชาชน
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ เม.ย. 20, 2008 9:46 am
โดย conan_kung
ผมลองมองอีกมุมนะครับ
ในกรณีที่เด็กเก่งๆ เรียนจบใหม่แล้วมาเป็น full time investor เลย
น่าเสียดายแทนประเทศชาติเหมือนกันนะครับ ... :roll:
การเป็นนักลงทุนให้ประโยชน์อะไรกับประเทศชาติ และประชาชน
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ เม.ย. 20, 2008 10:15 am
โดย miracle
ช่วยชาติอย่างไงหรือ
เป็นตัววัดของนักการเมืองตัวหนึ่ง ที่บอกว่า ผลงานของรัฐบาลของฉันดีกว่าชุดที่แล้ว ดัชนีตลาดหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น ...
ต่อมา เป็นการทำให้เงินมันหมุนไป เงินมันหมุนไป
ถ้าหากไม่เข้าตลาดหลักทรัพย์ กิจการไม่เป็นที่รู้จัก หรือ รู้จักเฉพาะวงแคบ
เมื่อกู้อะไรซักอย่างก็จ่ายดอกเบี้ยแพง แต่หากเข้าตลาด มีทางเลือกในการกู้ได้มากกว่าหนึ่งทาง เพราะ ผู้ถือหุ้นมีจำนวนมาก ประชาชนทั่วไปรู้จัก
การซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ทำให้เกิดผลต่อเนื่อง เกิดการจับจ่ายใช้เงินของประชาชน อันนี้เมื่อมันเป็น Zero Sum Game แล้ว มันก็ต้องมีคนได้ และ คนเสีย คนได้ก็เอาเงินที่ได้ไปลงทุนต่อ คนที่เสียอาจจะออกนอกตลาดหรือ เอาเงินมาใส่เพิ่มจนไม่มีปัญญาหามาใส่เพิ่มอีก
ส่วนเรื่องที่ว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยพัฒนาช้า
เนื่องจาก อคติของคนไทย
คนไทยนั้นคุ้ยเคยกับสิ่งที่ไม่มีความเสี่ยงเลย
เช่นฝากเงินกับธนาคาร ซื้อสลากออมสิน เป็นต้น มีความเสี่ยงต่ำถึงต่ำมากๆๆ ทำให้เงินไม่หดหาย แต่การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ มันเป็น Zero Sum Game คือมีได้มีเสีย ทำให้คนที่เสียบอกต่อแบบปากต่อปากว่ามันไม่ดี ทำให้ฉันหมดเงิน นั้นละทำให้ตลาดไม่พัฒนาต่อไปได้
แต่ตอนนี้ผมสังเกตเห็นว่า คนรุ่นใหม่ พวกอายุ18-25 ปี เริ่มลงทุนในตลาดหลักทรัพย์กันมากขึ้น ดูจากคนที่ไปประชุมผู้ถือหุ้น หรืองานสัมมนาของตลาดหลักทรัพย์ มีคนกลุ่มนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ใกล้ถึงเวลาบูม บูม บูม ของตลาดเนื่องจากผลการสะสมเงินของกลุ่มคนกลุ่มนี้อีกรอบหนึ่ง
การเป็นนักลงทุนให้ประโยชน์อะไรกับประเทศชาติ และประชาชน
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ เม.ย. 20, 2008 11:33 am
โดย akekarat
ถ้าอธิบายแล้วไม่ยอมเข้าใจ ต้องปล่อยไปครับ คนเรายิ่งเรียนสูงยิ่งทำใจยอมรับสิ่งที่เคยต่อต้านได้ยาก
ถึงมีคำกล่าวว่า people always resist changes ไงครับ
ยกเว้นแต่คนที่คนที่มีความหมายต่อเรา ควรแก่การพยายามทำความเข้าใจ ถึงค่อยน่าลำบากอธิบายหน่อย
กรณีลูกสาวคุณ ก็ค่อย ๆ เป็นค่อยไปก็ได้ครับ ส่วนกรณีเพื่อน ช่างเถอะครับ คนเรามันเห็นแตกต่างกันได้ ในตลาดหุ้นถึงมีทั้งซื้อและขายในเวลาเดียวกันไง
ถึงแม้ว่าเงินที่นำไปสร้างงาน คือตอน IPO หรือเพิ่มทุน แต่เงินที่นอกเหนือจากนั้น ก็นำไปสร้างงานให้พวกที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น broker marketing analysis tv หน่วยงานตลาดหลักทรัพย์ กลต ทั้งทางตรงและทางอ้อมทั้งนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง TAX และ VAT ในทุกครั้งที่ trade
ถ้ามองให้ดี คนที่ว่าการลงทุนในตลาดหุ้นเป็นการไม่สร้างคน สร้างงาน....
คุณลองถามกลับคนเหล่านั้นไปสิครับว่า คุณมีเงินฝากในธนาคารบ้างหรือเปล่า?
เอาเงินไปไว้ในธนาคาร มันแย่กว่ากันเยอะ ถึงแม้ว่าจะช่วยสร้างงานให้พนักงานธนาคารก็เหอะ
การเป็นนักลงทุนให้ประโยชน์อะไรกับประเทศชาติ และประชาชน
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ เม.ย. 20, 2008 12:20 pm
โดย J o r n
เรื่องนี้เข้าใจไม่ยาก
ถ้าตอบคำถามได้ว่า เพราะอะไร บริษัทเล็กๆ
จึงอยากเข้ามากระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์
นั่นคือคำตอบว่า เพราะอะไร จึงต้องมีนักลงทุน
การเป็นนักลงทุนให้ประโยชน์อะไรกับประเทศชาติ และประชาชน
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ เม.ย. 20, 2008 2:08 pm
โดย Linzhi
การคิดแบบนี้ ทำให้ระบบตลาดทุนไม่เติบโตเท่าที่ควรครับ
และเป็นสิ่งที่บอกว่า้ประเทศเรามีความรู้ด้านการเงินน้อย
ยุคผมไม่เคยเรียนด้านการเงินเลย ไม่มีสอนในตำรา ได้ยิน(ผิดๆ)มาแต่กับผู้ใหญ่
ยุคใหม่ ไม่รู้เป็นยังไง แต่ใครรู้ก่อนผมว่าได้เปรียบมหาศาล
เรื่องการวิวัฒนาการ
การที่มีคน(เก่งๆของประเทศ)ที่ลงทุนเต็มเวลา โดยไม่ได้สร้างมูลค่าอื่น ๆ ไม่ได้ทำงาน ไม่ได้แปลกอะไรสำหรับตอนนี้
แต่ก็จะมีซักวันที่ ตลาดหลักทรัพย์พัฒนาจนกระทั่งทำแบบนี้ไม่ค่อยได้แล้ว (เทียบผลตอบแทนตลาดกับค่าจ้างแรงงานแล้วไม่คุ้ม)
สุดท้ายก็จะเป็นแบบประเทศพัฒนาแล้วในปัจจุุบัน
(แต่ผมไม่รู้ว่าจะอีกซักกี่ปี)
การเป็นนักลงทุนให้ประโยชน์อะไรกับประเทศชาติ และประชาชน
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ เม.ย. 20, 2008 5:44 pm
โดย krittapon_r
ขอเสริมนิดหนึ่ง
ถึงแม้ว่าเงินที่นำไปสร้างงาน คือตอน IPO หรือเพิ่มทุน แต่การที่มีตลาดรองก็เป็นการลดความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของผู้ที่ซื้อหุ้น IPO
หากไม่มีตลาดรองแล้ว ผู้ลงทุนคงต้องขอส่วนลดเพิ่มขึ้นตามความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นแน่นอน ซึ่งก็ทำให้ต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้น หรืออาจจะไม่ต่างจากการกู้แบงค์ก็ได้
อีกอย่างการที่บริษัทต่างๆเข้าตลาดหุ้นก็ทำให้มีการตรวจสอบ และการเปิดเผยข้อมูลมากขึ้น (คงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หลายบริษัทไม่กล้าเข้าตลาด)
และที่สำคัญที่สุด ถ้าไม่มีข้อมูลฟรีจากตลาดหุ้นและโบรกเกอร์ต่างๆ เวลาผมทำงานลำบากขึ้นเยอะ :mrgreen:
การเป็นนักลงทุนให้ประโยชน์อะไรกับประเทศชาติ และประชาชน
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ เม.ย. 20, 2008 9:15 pm
โดย BHT
กำไรกับปันผลที่ได้มา ผมเอาไปกินใช้นะ เงินก็หมุนอยู่ในระบบ ไม่ได้เอาไปฝังตุ่มซะหน่อย
เหรียญมีสองด้าน มองด้านเดียวก็ไม่เห็นอีกด้าน ลูกเต๋ามีหกด้าน มองเห็นพร้อมกันจริงๆ เอียงๆหน่อย ก็สามด้าน เหลืออีกสามด้านมองไม่เห็น
คงไม่พยายามพลิกไปมองอีกด้านมากกว่า ฟังอะไรมาก็ฝังใจไม่ยอมเปลี่ยน จริงๆไปเรียนเมืองนอกมา น่าจะเป็นคนที่ฟังด้วยเหตุผลนะ ไม่น่าหัวแข็งแบบนี้
การเป็นนักลงทุนให้ประโยชน์อะไรกับประเทศชาติ และประชาชน
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ เม.ย. 20, 2008 9:24 pm
โดย gradius173
ผมมองว่าการลงทุนไม่เป็นzero sum gameน่ะ แต่การเล่นหุ้นเป็น
การลงทุนในหุ้นเป็นการเอาเงินมาลงขันเพื่อให้บริษัทได้มีเงินสดไปทำการขยายกิจการด้วยต้นทุนที่ต่ำทำให้เกิดการผลิต การจ้างงาน เกิดประโยชน์กับประเทศ ผลตอบแทนของเรามีในรูปเงินปันผล และทรัพย์สินในส่วนที่เพิ่มขึ้นของบริษัท
ส่วนการเล่นหุ้นเป็นการเก็งกำไรเพื่อหวังส่วนต่างของราคาหุ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่ในตลาดทำ มันไม่เกิดการผลิตที่เป็นreal sector ไม่เป็นประโยชน์กับประเทศ
ทีนี้เราคงต้องดูเราก่อน ว่าเราเป็นประเภทไหนเราคิดว่าเราลงทุน หรือแค่เก็งกำไร แล้วคำตอบจะออกมาว่าเราได้ทำให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศเราไหม
รวบรวมและสรุป
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ เม.ย. 20, 2008 9:27 pm
โดย JK@VI
ความคิดเห็นและความรู้ที่ทุกท่านได้ระดมกันในกระทู้นี้ ผมเห็นว่าเป็นประโยชน์มาก หากใครจำเป็นต้องใช้งาน ผมได้รวบรวมเป็นข้อๆ ตามที่เข้าใจ หากตกของใคร ช่วยเพิ่มเิติมด้วยนะครับ หรือใครคิดประเด็นใหม่ๆได้ ก็ช่วยกันเพิ่มเิติมได้นะครับ
ประโยชน์ของการลงทุน
1. ทำให้เงินออมถึงมือผู้ประกอบการโดยไม่ต้องผ่านคนกลาง (ธนาคาร)
2. ทำให้ต้นทุนเงินมีราคาถูกลง และข้อผูกมัดน้อยลง ผู้ประกอบการประสพความสำเร็จได้ง่ายขึ้น เศรษฐกิจดีขึ้น
3. นักลงทุนช่วยตรวดสอบการทำงานและผลงานของผู้ประกอบการ
4. รัฐบาลได้ภาษีจากการซื้อขายไปพัฒนาประเทศ
5. ประชาชนรู้จักเก็บออมเพื่อนำไปลงทุน
6. ประชาชนมีความฉลาดด้านการเงิน
7. การลงทุนไม่ใช่ Zero Sum Game เนื่องจากมีผลผลิตและการเติบโตของธุรกิจเข้ามาในกองกลาง
8. เป็นการรักษาดุลของตลาดเงิน หากไม่มีการระดมทุนด้วยหุ้น ธนาคารจะกลายเป็นผู้ผูกขาดเงินทุน
9. เกิดการจ้างทางทางตรงของพนักงานและผู้เกี่ยวข้องกับตลาดหุ้น และมีการจ้างงานทางอ้อมจากการมีการลงทุนมากขึ้น
10. การสร้างนักลงทุนคือการสร้างผู้กล้าตัดสินรับความเสี่ยง และกล้าเป็นผู้ประกอบการเมื่อจังหวะมาถึง
11. ตลาดหุ้นเป็นแหล่งสร้างรายได้ของผู้มีเงินทุน แต่ไม่พร้อมบริหารกิจการ และแทนการฝากเงินกินดอกของผู้เกษียนอายุ
12. หากหุ้นหรือกิจการที่นักลงทุนถือหุ้นอยู่ สร้างผลผลิต หรือทำประโยชน์ให้สังคม ผู้ถือหุ้นก็มีส่วนสร้างประโยชน์ทางอ้อมเช่นกัน
13. ตลาดหุ้นเป็นตัวสะท้อนการบริหารบ้านเมือง ทำให้การเมืองและรัฐบาลอยู่กับร่องกับรอย ไม่ทำในเรื่องที่สังคมไม่ยอมรับ
การเป็นนักลงทุนให้ประโยชน์อะไรกับประเทศชาติ และประชาชน
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ เม.ย. 20, 2008 9:55 pm
โดย pises999
คำถามแบบนี้ น่าจะลองย้อนคิดนะครับว่า ก็ถ้ามันไม่ดี แล้วถ้ารัฐบาลห้ามไม่ให้มีการลงทุนลักษณะนี้ เลย ห้ามค้าหุ้นเก็งกำไร ให้ถือกินปันผลได้อย่างเดียว แบบนี้แล้วจะเกิดอะไรขึ้น ???
คนเราคิดอะไรก็แล้วแต่ มักคิดถึงแต่ข้อเสียของสิ่งที่ตนเองไม่เห็นด้วย แต่ข้อเสียของสิ่งที่ตนเองสนับสนุน มักจะไม่มอง
ช่วยๆกันคิดแบบนี้ดีครับ จะได้มีมุมมองมากขึ้น
Zero sum มีกรณีเดียวครับ คือ หุ้นบริษัทที่ถือนั่น ไม่ได้มีการพัฒนาขึ้นหรือตกต่ำลงอะไรเลย กี่ปีกี่ชาติ หุ้นมันก็ควรซื้อกันที่ราคานั้น ตัวอย่างเช่น
นาย A ซื้อ 10 ขายให้นาย B 11
นาย B ซื้อ 11 ขายให้นาย C 12
นาย C ซื้อ 12 ขายไม่ออกละ ต้องยอมขายให้นาย D ที่ราคา 10 เท่าเดิม
สรุป นาย A กำไร 1 , นาย B กำไร 1 , นาย C ขาดทุน 2 รวมกำไร 3 คน เท่ากับ 0 พอดี อย่างนี้อะ Zero Sum ใช่ปะ
แต่ในความเป็นจริง ถ้าบริษัทมีผลประกอบการออกมาดีมาก มีกำไรสะสมเพิ่มขึ้นเรื่่อยๆ ราคาหุ้นก็จะขยับขึ้นแน่นอน และเมื่อรวมผลกำไรของทุกคนที่ซื้อหุ้นผ่านมือไป ก็จะมีกำไรเกิดขึ้นแน่นอน มันไม่ Zero Sum ในทางกลับกัน ถ้าผลประกอบการของบริษัทออกมาเน่าๆ ราคามันตกลง เมื่อรวมผลกำไรของนักลงทุนทุกคนที่ซื้อหุ้นตัวนั้นผ่านมือไป มันก็จะติดลบขาดทุน มันก็ไม่ Zero อยู่ดี ไม่ใช่ว่า มีคนกำไร อีกคนก็ต้องขาดทุน มันอาจจะกำไรทุกคนหรือขาดทุนทุกคน ก็เป็นไปได้ทั้งนั้น
Zero Sum Games ใช้ในโมเดลที่เป็น Money Games ครับ อย่างเช่นพวกทำ MLM ห่วยๆ เอาเงินคนใหม่มาจ่ายคนเก่าโน่น อย่างนั้น Zero Sum แน่นอน
เขียนยาวไปละ เชิญท่านอื่นแสดงความเห็นต่อครับ อิๆ
การเป็นนักลงทุนให้ประโยชน์อะไรกับประเทศชาติ และประชาชน
โพสต์แล้ว: จันทร์ เม.ย. 21, 2008 10:39 am
โดย bad
ถ้าไม่มีตลาดหุ้น ให้นักลงทุนมาซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน ผมว่าบริษัทจะขายหุ้น ipo ได้ยากมากๆนะครับ (เพราะนักลงทุนซื้อหุ้นมาแล้ว พอจะใช้เงิน ก็ไม่รู้จะไปขายต่อใคร)
ดังนั้น การระดมทุน จึงจำเป็นต้องมีตลาดหุ้นทำหน้าที่เป็นตลาดรอง เพื่อทำให้การระดมทุนเพื่อขยายกิจการ (ในตลาดแรก) ทำได้โดยสะดวกนะครับ
ลองคิดดูง่ายๆ ก็ได้ว่า ถ้ายกเลิกตลาดหุ้นไป จะหาคนซื้อหุ้น ipo ในระดับพันล้าน คงเป็นเรื่องลำบากมากๆนะครับ
การเป็นนักลงทุนให้ประโยชน์อะไรกับประเทศชาติ และประชาชน
โพสต์แล้ว: จันทร์ เม.ย. 21, 2008 12:08 pm
โดย Glaxo
ไม่ใช่ zero sum ครับ เนื่องจากมีคนเข้าออกเรื่อยๆ
ทุกราคาที่เราซื้อมาหรือขายไปก็เกิดจากการตัดสินใจของทุกฝ่าย
ส่วนการลงทุนถือเป็นการสร้างประโยชน์ครับ เนื่องจากบริษัทต้องสร้าง value เพิ่มมากขึ้นให้กับตัวบริษัทเองและสังคม ไม่อย่างนั้นหลายคนคงไม่ลงทุนในบริษัทนั้นแน่
ประโยชน์ของตลาดหุ้น คุณสุมาอี้เคยเขียนบทความไว้กระจ่างดีค่ะ
โพสต์แล้ว: พุธ เม.ย. 23, 2008 9:55 pm
โดย srikamneard
http://api.settrade.com/blog/1001ii/100 ... /09/27/159
ทำไมต้องมีตลาดหุ้น /นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์
"ตลาดหุ้น" ที่ชาวบ้านซื้อขายหุ้นกันอยู่ทุกวันนี้จัดอยู่ในประเภท ตลาดรอง (Secondary Market) ของตลาดทุน ส่วน ตลาดหลัก (Primary Market) จริงๆ ของตลาดทุนซึ่งเป็นตลาดที่กิจการทั้งหลายใช้ระดมทุนเพื่อขยายกิจการ คือ "ตลาด IPO" หรือที่เรานิยมเรียกกันติดปากว่า "หุ้นจอง"
เมื่อกิจการขายหุ้นจอง เงินที่ได้จะเข้าบริษัทเพื่อนำไปใช้ในกิจการ หลังจากนั้นบริษัทก็มักจะนำหุ้นของบริษัทเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหุ้นเพื่อให้หุ้นของบริษัทกลายเป็นสินค้าตัวหนึ่งที่สามารถซื้อขายเปลี่ยนมือในตลาดหุ้นได้ หลังจากนี้แล้ว การซื้อขายหุ้นของบริษัทในตลาดหุ้นจะเป็นเพียงแค่การเปลี่ยนมือไปมาระหว่างนักลงทุนเท่านั้น ไม่ได้มีเม็ดเงินเข้าสู่บริษัทเพื่อนำไปใช้ในกิจการอีกต่อไป นั่นคือ สิ่งที่ใช้แยกความแตกต่างระหว่างตลาดหลักกับตลาดรองก็คือ เมื่อมีการขายหุ้นแล้ว เงินไปไหน ถ้าเป็นตลาดหลัก เงินจะเข้าสู่บริษัท แต่ถ้าเป็นตลาดรอง เงินจะเข้ากระเป๋าผู้ที่ขายหุ้น
ประเด็นนี้ทำให้มีบางคนกล่าวหาตลาดหุ้นว่า ไม่ได้สร้างประโยชน์ให้กับสังคม เพราะเงินไม่ได้เข้าบริษัทเพื่อก่อให้เกิดการลงทุนในระบบเศรษฐกิจจริงๆ เงินเพียงแต่ไหลจากกระเป๋าของนักลงทุนคนหนึ่งไปยังกระเป๋าของนักลงทุนอีกคนหนึ่งไปเรื่อยๆ เท่านั้นและนักลงทุนในตลาดหุ้นก็หากินด้วยการซื้อหุ้นมาในราคาหนึ่งแล้วขายออกไปในราคาที่สูงกว่าแล้วเก็บกำไรเข้ากระเป๋า บางคนถึงกับบอกว่าน่าจะยกเลิกตลาดหุ้นไปเลยเหลือไว้แต่ตลาด IPO ก็พอ
นั้นเป็นความคิดของคนที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ลองคิดดูว่า ถ้าหากไม่มีตลาดรอง ตลาดหลักจะอยู่ได้หรือไม่ คงแทบไม่เหลือนักลงทุนคนไหนที่จะกล้าซื้อหุ้นจองจากบริษัทอีกต่อไป เพราะนักลงทุนเหล่านั้นย่อมรู้ว่าเมื่อซื้อมาแล้วจะไม่สามารถขายหุ้นนั้นต่อให้ใครได้หรือถ้าขายได้ก็ต้องขายขาดทุนมากๆ เพื่อให้มีใครสักคนยอมซื้อ ดังนั้นเหตุผลที่แท้จริงที่ต้องมีตลาดหุ้นก็เพื่อให้ตลาดหลักสามารถดำรงอยู่ได้นั่นเอง
บางคนคิดว่าการที่รถยนต์มีตลาดมือสองนั้นทำให้ตลาดมือหนึ่งแย่ลง เพราะตลาดมือสองจะแย่งลูกค้าส่วนหนึ่งของตลาดมือหนึ่งไป แต่ที่จริงแล้ว ลองคิดดูว่า ถ้าผู้บริโภคซื้อรถยนต์มาแล้ว ห้ามขายต่อโดยเด็ดขาด จะมีผู้บริโภคที่กล้าซื้อรถยนต์มือหนึ่งมากขึ้นหรือน้อยลง ทุกวันนี้มีคนส่วนหนึ่งที่กล้าซื้อรถใหม่บ่อยๆ ก็เพราะเขารู้ว่าเขาสามารถขายต่อในตลาดมือสองเมื่อไรก็ได้ ขาดทุนนิดหน่อยแสนสองแสนถือว่ากำไรใช้ เลยทำให้ตลาดรถใหม่ขายดี ฉันใดก็ฉันนั้น ตลาดรองช่วยส่งเสริมตลาดหลักด้วยการทำให้สินค้าของตลาดหลักกลายเป็นสินค้าที่มีสภาพคล่องสูง คนที่ซื้อหุ้นจองไปแล้วหากวันดีคืนดีเกิดมีความจำเป็นต้องใช้เงินด่วนขึ้นมาก็ไม่ต้องกลัวว่าจะขายต่อให้ใครไม่ได้
มีบางคนอยากเห็นตลาดหุ้นมีแต่นักลงทุนระยะยาวอย่างเดียวไม่มีนักเก็งกำไรระยะสั้นเพราะพวกเขามีทัศนคติในแง่ลบการคำว่า "เก็งกำไร" แต่ที่จริงแล้ว ลองคิดดูให้ดี ถ้าในตลาดหุ้นมีแต่นักลงทุนทั้งหมด ไม่มีใครเป็นนักเก็งกำไรเลย สภาพคล่องในตลาดหุ้นคงหายไปมากกว่า 95% ถ้าการขายหุ้นออกในตลาดหุ้นกับการไปเร่ขายหุ้นด้วยตนเองนอกตลาดหุ้นมีความยากลำบากเท่ากันเพราะหาคนซื้อได้ยากก็ไม่รู้ว่าจะมีตลาดหุ้นเอาไว้เพื่ออะไร ดังนั้น ตลาดหุ้นที่มีคุณค่าต้องเป็นตลาดที่มีคนจำนวนหนึ่งในตลาดยินดีที่จะซื้อหรือขายหุ้นบ่อยๆ โดยแลกกับโอกาสทำกำไรเล็กๆ น้อยๆ ทุกวันเพื่อสร้างสภาพคล่องให้กับคนที่เป็นนักลงทุน กล่าวคือทำให้คนที่เป็นนักลงทุนระยะยาวสามารถขายหุ้นออกได้เสมอ (โดยไม่ต้องขายขาดทุนมากๆ) เมื่อใดก็ตามที่พวกเขามีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงินแบบเร่งด่วน พูดง่ายๆ ก็คือการซื้อๆ ขายๆ ของนักเก็งกำไรช่วยลด liquidity risk ให้กับคนที่เป็นนักลงทุนนั่นเอง
โดยส่วนตัว ผมไม่เห็นด้วยกับแนวคิดที่ว่าเป้าหมายของการพัฒนานักลงทุนรายย่อยคือการทำให้นักลงทุนรายย่อยหันมาลงทุนระยะยาวกันให้หมด สิ่งที่ผมอยากเห็นมากกว่าคือทำอย่างไรนักลงทุนรายย่อยจึงจะเป็นนักลงทุนที่มีภูมิต้านทาน กล่าวคือ ตัดสินใจจากข้อมูลที่สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาได้เป็นหลัก ไม่ถูกชักจูงไปได้ง่าย ไม่เชื่อข่าวลือข่าวปล่อยต่างๆ ไม่แห่ตามกันโดยขาดวิจารณาณของตนเอง ส่วนจะเป็นนักเก็งกำไรระยะสั้น นักเทคนิค หรือนักลงทุนระยะยาวนั้น ผมกลับคิดว่าไม่ใช่ประเด็นสำคัญ นักลงทุนทุกแบบล้วนแต่มีคุณค่าต่อตลาดทุนทั้งสิ้น หากตั้งใจจะเป็นนักเทคนิคก็ควรศึกษาเทคนิคให้จริงจัง คนที่เล่นสั้นหลายคนที่ผมรู้จักเป็นคนที่ไม่ยอมเชื่ออะไรง่ายๆ ผมก็ไม่เคยรู้สึกเป็นห่วงพวกเขาเลย เพราะผมมั่นใจว่าคนนิสัยแบบนี้จะสามารถเอาตัวรอดในตลาดหุ้นได้อย่างแน่นอน
ประโยชน์ของตลาดหุ้นในอีกบทความหนึ่งของคุณสุมาอี้ค่ะ
โพสต์แล้ว: พุธ เม.ย. 23, 2008 10:05 pm
โดย srikamneard
"เคล็ดลับที่ทำให้สหรัฐอเมริกาสามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำของโลกใน 3 อุตสาหกรรมนี้ได้ก็เพียงแค่เพราะ สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีตลาดทุนที่ดีที่สุดที่สุดในโลก"
เมกา / นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์
ถ้าไม่นับเครื่องบินรบแล้ว สหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำอย่างแท้จริงใน 3 อุตสาหกรรม คือ ซอฟต์แวร์ ไบโอเทค และภาพยนตร์
คุณว่าอะไรทำให้สหรัฐฯ ยิ่งใหญ่ใน 3 อุตสาหกรรมนี้?
ถ้าจะบอกว่าเป็นเพราะโปรแกรมเมอร์ของสหรัฐฯ เขียนโปรแกรมได้เก่ง ก็คงจะไม่ใช่ ทุกวันนี้โปรแกรมเมอร์ในบริษัทซอฟต์แวร์ของสหรัฐฯ เต็มไปด้วยคนอินเดีย ในอุตสาหกรรมไบโอเทคก็เช่นเดียวกัน บริษัทไบโอเทคของสหรัฐฯ นำเข้านักวิทยาศาสตร์จากเอเชียเป็นจำนวนมาก
อุตสาหกรรมทั้ง 3 อุตสาหกรรมนี้ไม่ค่อยจะเหมือนกันเท่าไร แต่มีอยู่อย่างหนึ่งที่เหมือนกันมากก็คือ ทั้ง 3 อุตสาหกรรมนี้เป็นอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงทางธุรกิจสูงมาก
ธุรกิจไบโอเทคต้องใช้เงิน 500 ล้านเหรียญฯ ในการพิสูจน์ให้รัฐบาลเห็นว่ายาตัวหนึ่งปลอดภัยต่อผู้บริโภคจริง ซึ่งยาแต่ละตัวมีโอกาสที่จะผ่านด่านอรหันต์ของ FDA ได้น้อยมากๆ กว่าจะรู้ว่ายาไม่ผ่านก็ต้องใช้เวลาประมาณ 7 ปี เมื่อไม่ผ่านก็จะไม่สามารถขายได้ ทำให้บริษัทผู้วิจัยยานั้นขาดทุนทันที 500 ล้านเหรียญฯ โดยไม่ได้อะไรกลับมาเลย การผลิตซอฟต์แวร์ก็เช่นเดียวกัน ต้องเริ่มต้นด้วยการจ้างโปรแกรมเมอร์ชั้นดีมาทำ R&D เป็นเวลานานกว่าจะคลอดซอฟต์แวร์เวอร์ชั่นแรกออกมาได้ แต่ซอฟต์แวร์ที่จะประสบความสำเร็จทางการตลาดนั้นมีน้อยมาก เพราะอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์มีลักษณะ winner take all กล่าวคือ สุดท้ายแล้วจะมีแค่ซอฟต์แวร์ยี่ห้อที่มีคนใช้มากที่สุดยี่ห้อเดียวเท่านั้นที่อยู่รอด ธุรกิจภาพยนตร์ก็เช่นเดียวกัน โอกาสที่หนังเรื่องหนึ่งจะประสบความสำเร็จนั้นไม่แน่นอน และหนังส่วนใหญ่ก็มักจะขาดทุน
ธุรกิจทั้ง 3 ประเภทนี้ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้จากธนาคารพาณิชย์ได้เลย เพราะความเสี่ยงของธุรกิจอยู่ในระดับที่สูงมากเกินกว่าที่ผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยแค่ MLR+ ไม่เพียงพอที่จะชดเชยความเสี่ยงที่ธนาคารพาณิชย์จะไม่ได้รับชำระเงินต้นคืนได้เลย มิหน่ำซ้ำ ธุรกิจเหล่านี้ยังใช้เงินไปกับเงินเดือนบุคลากรเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ไม่มีสินทรัพย์ในการประกอบการเช่น ที่ดิน หรือ โรงงาน เมื่อไม่มีสินทรัพย์ค้ำประกัน การที่จะอนุมัติวงเงินกู้ก็เป็นไปได้ยาก ธุรกิจทั้ง 3 อย่างนี้จึงต้องพึ่งพาแหล่งเงินในรูปของทุนหรือ Equity เท่านั้น
เคล็ดลับที่ทำให้สหรัฐอเมริกาสามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำของโลกใน 3 อุตสาหกรรมนี้ได้ก็เพียงแค่เพราะ สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีตลาดทุนที่ดีที่สุดที่สุดในโลก ธุรกิจทั้งหลายจึงสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ทุกรูปแบบและทุกระดับความเสี่ยงทั้ง ตลาดหุ้น, Venture Capital, Private Equity, Business Angel, Briding finance, LBO, REIT, Derivatives, commodity futures, Asset-Backed Securities, CDO, Securitization, SPV, Hedge Funds, Mutual Funds etc.
ศักยภาพของคนไทยกับคนอเมริกันที่จริงแล้วก็ไม่ได้ต่างกัน คนแบบสตีเวน สปิลเบิร์ก ที่เมืองไทยเราก็มี เพียงแต่ สปิลเบิร์กที่อเมริกา 100 คนที่มีไอเดียดีๆ อาจสามารถระดมทุนได้สำเร็จ 10-20 คน ในขณะที่ สปิลเบิร์กที่เมืองไทย 100 คน ไม่มีใครสามารถระดมทุนได้สำเร็จเลยสักคนเดียว ในกรณีของสตีป จอปส์ บิลเกตต์ ก็เช่นเดียวกัน ซิลิคอนแวลเล่ย์ก็สร้างได้ด้วยอาศัยทุนของพวกนักลงทุนที่เรียกว่า Venture Capital หรือผลงานวิจัยเกี่ยวกับไบโอเทคก็เช่นเดียวกัน ข้อได้เปรียบนี้ถ้าเป็นแค่ 1-2 กรณีก็คงจะไม่มีผลอะไร แต่ความได้เปรียบเรื่องทุนติดต่อกัน 50 ปีทำให้ธุรกิจเหล่านี้ในสหรัฐฯ สามารถผงาดขึ้นมาเป็นผู้นำของโลกได้ในที่สุด ส่วนประเทศไทยนั้น ตลอด50 ปีที่ผ่านมา เราพึ่งพาธนาคารพาณิชย์เป็นแหล่งเงินทุนหลักแหล่งเดียว ดังนั้น โอกาสที่ไทยจะประสบความสำเร็จในอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงสูงๆ เหล่านี้จึงแทบไม่มีเลย ประเทศที่อาศัยธนาคารเป็นแหล่งระดมทุนหลักจะแข่งขันได้แต่ธุรกิจเปิดโรงงานผลิตสินค้าเท่านั้น
มาช่วยกันพัฒนาตลาดทุนของเราเถิดครับ เลิกคิดกันได้แล้วว่าตลาดทุนไม่สำคัญเพราะไม่ใช่ Real Sector ความคิดเช่นนี้ทำให้หลายอุตสาหกรรมพัฒนาไม่ได้ครับ
การเป็นนักลงทุนให้ประโยชน์อะไรกับประเทศชาติ และประชาชน
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. เม.ย. 24, 2008 10:22 am
โดย Radio
ขอบคุณ คุณ Srikamneard บทความนี้ดีมากๆ
ผมจะได้ใช้อธิบายกับคนที่มองตลาดหลักทรัพย์
ในแง่ลบ
การเป็นนักลงทุนให้ประโยชน์อะไรกับประเทศชาติ และประชาชน
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. เม.ย. 24, 2008 7:56 pm
โดย srikamneard
ถ้าสนใจบทความดีๆ ของคุณนรินทร์ แนะนำให้เข้าไปอ่านที่เซ็ทเทรดดอทคอม ในเมนูเว็บบล็อคค่ะ มีบทความเกี่ยวกับการลงทุนในหุ้นเยอะเชียว เพราะคุณนรินทร์เขียนสัปดาห์ละ 1 ชิ้นค่ะ