จากข้อมูลของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย พบว่าปัจจุบันอุตสาหกรรมเหล็กทรงยาวโดยรวมในประเทศยังคงเป็นอุตสาหกรรมที่มีกำลังการผลิตมากกว่าความต้องการ (Over Capacity)
1 เวลาอ่าน เกี่ยวกับ ธุรกิจ เหล็ก มักจะได้ยินคำว่า กำลังการผลิต ดัง ตัวอย่าง ข้างต้น ทำให้ผมสับสนระหว่าง
การผลิต กับ กำลังการผลิต ครับ
คำว่า กำลังการผลิต การผลิต และ อัตราใช้กำลังการผลิต แปลว่าอะไรครับ และขอภาษา engด้วยครับ
เผื่อจะ search หา ข้อมูล
เวลาข้อมูลแจ้งว่า กำลังการผลิต เช่น 1 ล้าน ตัน หมายความว่าบริษัทผลิตได้เต็มกำลังที่ 1 ล้านตัน แต่ไม่ได้หมายความว่า ณ ตอนนี้จะผลิต 1 ล้านตันใช่ใหมครับ อาจจะผลิต แค่ 5 แสนตันก็ได้ใช่มะ
อีกอย่างบริษัทมักชอบแจ้ง กำลังการผลิต แต่ไม่บอกว่าผลิต อยู่กี่ตันๆ ก็ทำให้เราไม่ทราบ ปริมาณที่ผลิตจริงใช่มะ
2 เวลาขุดพบ เหมือง Commodity ใหม่ๆ เช่น เหมือง เหล็ก น้ำมัน สังกะสี เวลาเค้ารายงานเค้าจะรายงาน
ปริมาณ commodity ทั้งหมดในเหมือง ใหมครับ ว่าผลิตได้กี้ปีทั้งหมดกี่ล้านตัน เป็นต้น
หรือ รายงานแค่ว่า เหมืองนี้ ผลิตได้ กี่ตันๆ กี่ barrel ต่อ ปีเท่านั้น
3 เวลาขุดพบ เหมือง ใหม่ เหมืองนั้นมักจะเป็นของบริษัทที่มีสัมปทานในการ ขุด หรือ ทำ เหมือง หรือไม่ครับ หรือ ว่า สามารถ Shareเหมืองใหม่ กับบริษัท อื่นให้เข้ามาใช้ ทรัพยากรในเหมืองได้
4 เมื่ออายุสัมปทานหมดลง เหมือง ยังมีทรัพยากรอยู่ โดยส่วนใหญ่ เหมืองจะตกเป็นใคร ในกรณีที่
บริษัทเดิม ขอสัมปทานใหม่ไม่ได้ จะตกเป็นของรัฐ หรือจะให้รัฐจะให้บริษัทอื่นๆมาประมูลเหมืองกันใหม่ครับ
ขอบพระคุณอย่างสูงครับ
ขอถามผู้รู้เรื่อง เหล็ก commodity อื่นๆครับ
- krittapon_r
- Verified User
- โพสต์: 156
- ผู้ติดตาม: 0
ขอถามผู้รู้เรื่อง เหล็ก commodity อื่นๆครับ
โพสต์ที่ 2
ขอตอบเท่าที่รู้นะครับ
ข้อ 1
กำลังการผลิต: Capacity
การผลิต/ยอดผลิต : Production (ปริมาณสินค้าที่ผลิตได้จริง)
อัตราใช้กำลังการผลิต: Utilization Rate
ดังนั้นถ้ากำลังการผลิต 1 ล้านตัน อาจจะมีการผลิตแค่ 5 แสนก็ได้
ข้อ 2
ข้อมูลการผลิตของเหมืองโลหะนอกจาก Capacity กับ Production
แล้วจะมีค่า reserve (ปริมาณแร่สำรองประมาณการจากการสำรวจ-ปริมาณแร่ทั้งหมดที่น่าจะมีในแหล่งนั้น) กับ proven reserve (ปริมาณแร่สำรองที่พิสูตรได้แน่นอนแล้ว) ด้วย
ข้อ 3 ไม่แน่ใจ
ข้อ 4
ผมเข้าใจว่า ถ้าหมดสัมปทานและไม่ได้รับการต่อสัปทานก็ต้องคืนเหมืองและสิทธิในแร่ที่เหลือให้รัฐไป ซึ่งรัฐอาจเอาไปทำอะไรต่อก็ได้
ข้อ 1
กำลังการผลิต: Capacity
การผลิต/ยอดผลิต : Production (ปริมาณสินค้าที่ผลิตได้จริง)
อัตราใช้กำลังการผลิต: Utilization Rate
ดังนั้นถ้ากำลังการผลิต 1 ล้านตัน อาจจะมีการผลิตแค่ 5 แสนก็ได้
ข้อ 2
ข้อมูลการผลิตของเหมืองโลหะนอกจาก Capacity กับ Production
แล้วจะมีค่า reserve (ปริมาณแร่สำรองประมาณการจากการสำรวจ-ปริมาณแร่ทั้งหมดที่น่าจะมีในแหล่งนั้น) กับ proven reserve (ปริมาณแร่สำรองที่พิสูตรได้แน่นอนแล้ว) ด้วย
ข้อ 3 ไม่แน่ใจ
ข้อ 4
ผมเข้าใจว่า ถ้าหมดสัมปทานและไม่ได้รับการต่อสัปทานก็ต้องคืนเหมืองและสิทธิในแร่ที่เหลือให้รัฐไป ซึ่งรัฐอาจเอาไปทำอะไรต่อก็ได้
- mineknight
- Verified User
- โพสต์: 43
- ผู้ติดตาม: 0
ขอถามผู้รู้เรื่อง เหล็ก commodity อื่นๆครับ
โพสต์ที่ 3
เสริมข้อ 4 นิดนึงครับ
สำหรับสัมปทานเหมือง เราเรียกว่าประทานบัตร ซึ่งโดยปกติเหมืองนั้น ไม่ค่อยจะมีแร่เหลือเมื่อประทานบัตรหมดหรอกครับ เพราะส่วนใหญ่ประทานบัตรมีอายุนานประมาณ 20 ปี ซึ่งกิจการเหมืองแร่มักจะกินแร่คนหมดก่อนที่มันจะหมดครับ ที่มีปัญหาส่วนใหญ่คือเมื่อกินแร่หมดแล้วต้องการเปิดแปลงใหม่ แต่ยังไม่ได้ประทานบัตร ทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อได้
ส่วนข้อ 3
ส่วนใหญ่กิจการเหมืองจะต้องมีการสำรวจแร่ก่อน ต้องมีความคุ้มค่ามาก ถึงจะเริ่มการบวนการขอประทานบัตร ซึ่งในการสำรวจนั้นจะต้องขออาญาบัตรเพื่อขออนุญาติในการสำรวจเสียก่อน(ต้องขออนุญาตเจ้าของที่ด้วย) และอีกนัยก็คือการจองพื้นที่ครับ
นั้นหมายความว่า ถ้าบริษัทA ทำเรื่องอาญาบัตรสำรวจแร่ไว้แปลงหนึ่ง สำรวจๆ หมดงบ ไปพักก่อน บริษัทB ก็สำรวจแปลงข้างๆ เจอแร่ และสายแร่ก็พาดผ่านที่ของแปลง บริษัทA
ดังนั้นบริษัท B จึงทำเรื่องขอประทานบัตร(รายละเอียดการทำเยอะ ทำกันเป็นปีครับ) เลยเริ่มซื้อที่และซื้อที่บริษัทA สำรวจอยู่ไปด้วย(บริษัทA แค่สำรวจยังไม่เริ่มซื้อที่) ถามว่าบริษัท B สามารถขอประทานบัตรทับอาญาบัตรบริษัทA ได้หรือไม่ ........ ตอบ ไม่ได้ครับ หากจะทำจริงต้องทำเรื่องกับบริษัทA ก่อน(ถ้าบริษัท A รู้ว่ามีแร่ เขาอาจจะทำเองหรือขายก็ได้)
สำหรับเรื่องแชร์กัน คิดว่าน่าจะเป็นการเจรจาตกลงกันมากกว่า (แต่ไม่ค่อยมีใครยกแพลนมาติดกันเท่าไร เลือกได้เขาก็หาพื้นที่ตัวเองดีกว่า)
สำหรับสัมปทานเหมือง เราเรียกว่าประทานบัตร ซึ่งโดยปกติเหมืองนั้น ไม่ค่อยจะมีแร่เหลือเมื่อประทานบัตรหมดหรอกครับ เพราะส่วนใหญ่ประทานบัตรมีอายุนานประมาณ 20 ปี ซึ่งกิจการเหมืองแร่มักจะกินแร่คนหมดก่อนที่มันจะหมดครับ ที่มีปัญหาส่วนใหญ่คือเมื่อกินแร่หมดแล้วต้องการเปิดแปลงใหม่ แต่ยังไม่ได้ประทานบัตร ทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อได้
ส่วนข้อ 3
ส่วนใหญ่กิจการเหมืองจะต้องมีการสำรวจแร่ก่อน ต้องมีความคุ้มค่ามาก ถึงจะเริ่มการบวนการขอประทานบัตร ซึ่งในการสำรวจนั้นจะต้องขออาญาบัตรเพื่อขออนุญาติในการสำรวจเสียก่อน(ต้องขออนุญาตเจ้าของที่ด้วย) และอีกนัยก็คือการจองพื้นที่ครับ
นั้นหมายความว่า ถ้าบริษัทA ทำเรื่องอาญาบัตรสำรวจแร่ไว้แปลงหนึ่ง สำรวจๆ หมดงบ ไปพักก่อน บริษัทB ก็สำรวจแปลงข้างๆ เจอแร่ และสายแร่ก็พาดผ่านที่ของแปลง บริษัทA
ดังนั้นบริษัท B จึงทำเรื่องขอประทานบัตร(รายละเอียดการทำเยอะ ทำกันเป็นปีครับ) เลยเริ่มซื้อที่และซื้อที่บริษัทA สำรวจอยู่ไปด้วย(บริษัทA แค่สำรวจยังไม่เริ่มซื้อที่) ถามว่าบริษัท B สามารถขอประทานบัตรทับอาญาบัตรบริษัทA ได้หรือไม่ ........ ตอบ ไม่ได้ครับ หากจะทำจริงต้องทำเรื่องกับบริษัทA ก่อน(ถ้าบริษัท A รู้ว่ามีแร่ เขาอาจจะทำเองหรือขายก็ได้)
สำหรับเรื่องแชร์กัน คิดว่าน่าจะเป็นการเจรจาตกลงกันมากกว่า (แต่ไม่ค่อยมีใครยกแพลนมาติดกันเท่าไร เลือกได้เขาก็หาพื้นที่ตัวเองดีกว่า)