หนังสือต้องห้าม "ทรัพย์ศาสตร์"
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มี.ค. 30, 2008 1:16 am
ทรัพย์ศาสตร์ : เศรษฐศาสตร์ต้องห้าม
ความทุกข์ยากของชาวนาที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ ทั้งจากพ่อค้าคนกลางและพ่อค้าส่งออก ส่งผลให้พระยาสุริยานุวัตรเขียน ทรัพย์ศาสตร์ ขึ้น ทั้งในแง่ของการวิเคราะห์และชี้ทางออก แต่หนังสือเล่มนี้กลับถูกห้าม
ถึงแม้เศรษฐศาสตร์จะเป็นวิชาที่ศึกษาได้ทั่วไปในปัจจุบัน แต่ถ้าค้นลงไปในประวัติศาสตร์กลับพบว่า ก่อนปฏิวัติสยาม ๒๔๗๕ เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาต้องห้าม เห็นได้จากที่มีการห้ามหนังสือ ทรัพย์ศาสตร์ ของพระยาสุริยานุวัตร การห้ามหนังสือเล่มนี้ เกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งถือกันว่าเป็น “ยุคทองของนักหนังสือพิมพ์”
พระยาสุริยานุวัตร อดีตเสนาบดีกระทรวงพระมหาสมบัติ นอกจากจะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารนโยบายเศรษฐกิจแล้ว ท่านยังมีความเชื่อเรื่องความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจด้วย ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านเสนอให้โอนกิจการฝิ่นจากเจ้าภาษีนายอากรมาสู่รัฐบาลเพื่อขจัดการรั่วไหลของรายได้ และจะได้นำเงินมาพัฒนาประเทศ แต่เมื่อนโยบายถูกต่อต้านจนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ มีพระราชหัตถเลขาแนะนำให้ท่านลาออก ชีวิตราชการของท่านจึงยุติด้วยวัยเพียง ๔๕ ปี
หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว ท่านก็ได้อุทิศเวลาที่เหลือทุ่มเทให้แก่การเขียนตำราทางเศรษฐศาสตร์เล่มแรกของสยามที่ชื่อว่า ทรัพย์ศาสตร์ เนื้อหาในเล่มนอกจากการวิจารณ์การดำเนินนโยบายที่ไม่ส่งเสริมการสะสมทุน จนเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ประเทศล้าหลังแล้ว ท่านยังชี้ให้เห็นการขูดรีดส่วนเกินทางเศรษฐกิจของชาวนาไปให้แก่พ่อค้าคนกลางและพ่อค้าส่งออกในรูปแบบของการปล่อยกู้ดอกเบี้ยสูงและการกดราคาข้าวเปลือกอีกต่อหนึ่ง
ทันทีที่ ทรัพย์ศาสตร์ ๒ เล่มแรกตีพิมพ์ออกมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๔ (จากที่วางแผนไว้ว่าจะมีทั้งหมด ๓ เล่ม) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็มีรับสั่งให้พระยาสุริยานุวัตรยุติการเขียน หลังจากนั้นทรงเขียนบทวิจารณ์ “ทรัพย์ศาสตร์ (เล่ม ๑) ตามความเห็นของเอกชนผู้ได้อ่านหนังสือเท่านั้น” ในนามปากกา “อัศวพาหุ” ลงในวารสาร สมุทรสาร ทรงเห็นว่า ทรัพย์ศาสตร์ จะทำให้คนไทยแตกแยกเป็นชนชั้น เพราะในสยามประเทศนั้น เว้นแต่พระเจ้าแผ่นดินแล้ว “ใคร ๆ ก็เสมอกันหมด” ทรงเห็นว่าผู้เขียน “ตั้งใจยุแหย่ให้คนไทยเกิดฤศยาแก่กันและแตกความสามัคคีกัน” เพราะเขียนเรื่องความต่างทางรายได้
ทรัพย์ศาสตร์ จึงต้องยุติลงเพียงเล่ม ๒ เท่านั้นท่ามกลางความทุกข์ใจอย่างยิ่งของผู้เขียน และเมื่อผลัดแผ่นดิน เหตุการณ์ก็ยิ่งเลวร้ายลง เพราะในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นถึงกับมีการแก้ไขกฎหมายอาญากำหนดความผิดของการสอนลัทธิเศรษฐกิจ โดยมีโทษสูงสุด ๑๐ ปี และให้ปรับไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท ทรัพย์ศาสตร์ จึงกลายเป็นหนังสือต้องห้ามสมบูรณ์แบบ
กว่าที่วิชาเศรษฐศาสตร์จะกลับมาสู่สาธารณะอีกครั้งก็เมื่อมีการสถาปนามหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๗ “ลัทธิเศรษฐกิจ” ได้รับการบรรจุเป็นวิชาหนึ่งในหลักสูตรธรรมศาสตร์บัณฑิต และพระยาสุริยานุวัตรก็ได้เขียนทรัพย์ศาสตร์ เล่ม ๓ ออกมาในชื่อ เศรษฐศาสตร์และการเมือง
หลังจากนั้นไม่นานท่านก็ถึงแก่กรรมในวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๔๗๙ เหลือทิ้งไว้แต่มรดกล้ำค่าที่คนจะจดจำไปตลอดกาล นั่นคือหนังสือที่ชื่อ ทรัพย์ศาสตร์
------------------
ข้อมูลด้านบนจาก http://www.sarakadee.com/web/modules.ph ... &artid=611
------------------
ความทุกข์ยากของชาวนาที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ ทั้งจากพ่อค้าคนกลางและพ่อค้าส่งออก ส่งผลให้พระยาสุริยานุวัตรเขียน ทรัพย์ศาสตร์ ขึ้น ทั้งในแง่ของการวิเคราะห์และชี้ทางออก แต่หนังสือเล่มนี้กลับถูกห้าม
ถึงแม้เศรษฐศาสตร์จะเป็นวิชาที่ศึกษาได้ทั่วไปในปัจจุบัน แต่ถ้าค้นลงไปในประวัติศาสตร์กลับพบว่า ก่อนปฏิวัติสยาม ๒๔๗๕ เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาต้องห้าม เห็นได้จากที่มีการห้ามหนังสือ ทรัพย์ศาสตร์ ของพระยาสุริยานุวัตร การห้ามหนังสือเล่มนี้ เกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งถือกันว่าเป็น “ยุคทองของนักหนังสือพิมพ์”
พระยาสุริยานุวัตร อดีตเสนาบดีกระทรวงพระมหาสมบัติ นอกจากจะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารนโยบายเศรษฐกิจแล้ว ท่านยังมีความเชื่อเรื่องความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจด้วย ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านเสนอให้โอนกิจการฝิ่นจากเจ้าภาษีนายอากรมาสู่รัฐบาลเพื่อขจัดการรั่วไหลของรายได้ และจะได้นำเงินมาพัฒนาประเทศ แต่เมื่อนโยบายถูกต่อต้านจนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ มีพระราชหัตถเลขาแนะนำให้ท่านลาออก ชีวิตราชการของท่านจึงยุติด้วยวัยเพียง ๔๕ ปี
หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว ท่านก็ได้อุทิศเวลาที่เหลือทุ่มเทให้แก่การเขียนตำราทางเศรษฐศาสตร์เล่มแรกของสยามที่ชื่อว่า ทรัพย์ศาสตร์ เนื้อหาในเล่มนอกจากการวิจารณ์การดำเนินนโยบายที่ไม่ส่งเสริมการสะสมทุน จนเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ประเทศล้าหลังแล้ว ท่านยังชี้ให้เห็นการขูดรีดส่วนเกินทางเศรษฐกิจของชาวนาไปให้แก่พ่อค้าคนกลางและพ่อค้าส่งออกในรูปแบบของการปล่อยกู้ดอกเบี้ยสูงและการกดราคาข้าวเปลือกอีกต่อหนึ่ง
ทันทีที่ ทรัพย์ศาสตร์ ๒ เล่มแรกตีพิมพ์ออกมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๔ (จากที่วางแผนไว้ว่าจะมีทั้งหมด ๓ เล่ม) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็มีรับสั่งให้พระยาสุริยานุวัตรยุติการเขียน หลังจากนั้นทรงเขียนบทวิจารณ์ “ทรัพย์ศาสตร์ (เล่ม ๑) ตามความเห็นของเอกชนผู้ได้อ่านหนังสือเท่านั้น” ในนามปากกา “อัศวพาหุ” ลงในวารสาร สมุทรสาร ทรงเห็นว่า ทรัพย์ศาสตร์ จะทำให้คนไทยแตกแยกเป็นชนชั้น เพราะในสยามประเทศนั้น เว้นแต่พระเจ้าแผ่นดินแล้ว “ใคร ๆ ก็เสมอกันหมด” ทรงเห็นว่าผู้เขียน “ตั้งใจยุแหย่ให้คนไทยเกิดฤศยาแก่กันและแตกความสามัคคีกัน” เพราะเขียนเรื่องความต่างทางรายได้
ทรัพย์ศาสตร์ จึงต้องยุติลงเพียงเล่ม ๒ เท่านั้นท่ามกลางความทุกข์ใจอย่างยิ่งของผู้เขียน และเมื่อผลัดแผ่นดิน เหตุการณ์ก็ยิ่งเลวร้ายลง เพราะในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นถึงกับมีการแก้ไขกฎหมายอาญากำหนดความผิดของการสอนลัทธิเศรษฐกิจ โดยมีโทษสูงสุด ๑๐ ปี และให้ปรับไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท ทรัพย์ศาสตร์ จึงกลายเป็นหนังสือต้องห้ามสมบูรณ์แบบ
กว่าที่วิชาเศรษฐศาสตร์จะกลับมาสู่สาธารณะอีกครั้งก็เมื่อมีการสถาปนามหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๗ “ลัทธิเศรษฐกิจ” ได้รับการบรรจุเป็นวิชาหนึ่งในหลักสูตรธรรมศาสตร์บัณฑิต และพระยาสุริยานุวัตรก็ได้เขียนทรัพย์ศาสตร์ เล่ม ๓ ออกมาในชื่อ เศรษฐศาสตร์และการเมือง
หลังจากนั้นไม่นานท่านก็ถึงแก่กรรมในวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๔๗๙ เหลือทิ้งไว้แต่มรดกล้ำค่าที่คนจะจดจำไปตลอดกาล นั่นคือหนังสือที่ชื่อ ทรัพย์ศาสตร์
------------------
ข้อมูลด้านบนจาก http://www.sarakadee.com/web/modules.ph ... &artid=611
------------------