"ซอคเจน" ถล่มหุ้นโลกอีกระลอก
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ม.ค. 24, 2008 8:45 pm
"ซอคเจน" ถล่มหุ้นโลกอีกระลอก
"ซอคเจน" พ่นพิษ ถล่มหุ้นทั่วโลกอีกระลอก รวมทั้งตลาดหุ้นไทยที่หนีวังวนไม่พ้น ขณะที่ผู้บริหาร ตลท. และนักวิเคราะห์ระบุ
ตลาดหุ้นไทยยังมีเสน่ห์ที่ P/E ต่ำ หนำซ้ำหลายบริษัทราคาหุ้นต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐาน เชื่อหลังพ้นวิกฤตเศรษฐกิจ ราคาหุ้นจะเด้งกลับมาแรง ในเวลาอันรวดเร็ว
* หุ้นไทยร่วงตามหุ้นทั่วโลกหลังเจอ "ซอคเจน" พ่นพิษ
ดัชนีตลาดหุ้นไทย วันที่ 24 มกราคม 2551 ปิดที่ระดับ 728.58 จุด ลดลง 12.07 จุด หรือ 1.63% มูลค่าการซื้อขาย 16,508.96 ล้านบาท และนักลงทุนต่างยังคงเทขายสุทธิอย่างต่อเนื่องอีก 2,213.56 ล้านบาท
โดยดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงเช้า ก่อนจะปรับตัวลดลงในช่วงบ่ายหลังมีข่าวต่างประเทศ รายงานว่า โซซิเอเต้ เจเนอราล (ซอคเจน) ซึ่งเป็นธนาคารรายใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของฝรั่งเศส ได้ออกมาเปิดเผยในวันนี้ว่า ทางธนาคารได้ตรวจพบการฉ้อโกงของเทรดเดอร์รายหนึ่งซึ่งอาจสร้างความเสียหายต่อทางธนาคารคิดเป็นมูลค่าราว 4.9 พันล้านยูโร (7.16 พันล้านดอลลาร์) หรือกว่า 230,000 ล้านบาท
พร้อมกันนี้ ธนาคารยังได้ประกาศปรับลดมูลค่าสินทรัพย์ทางบัญชีลงอีก 2.05 พันล้านยูโรที่เกี่ยวข้องกับภาวะสินเชื่อตึงตัวทั่วโลก และธนาคารมีแผนจะเพิ่มทุนอีก 5.5 พันล้านยูโรเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับงบดุลบัญชีของธนาคาร ส่งผลให้ตลาดหุ้นปารีสสั่งพักการซื้อขายหุ้น ซอคเจน ขณะที่ราคาหุ้น ซอคเจน ปิดดิ่งลง 4.15% สู่ 79.08 ยูโรเมื่อวันก่อน
มูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ทำให้หลายฝ่ายวิตกกังวลกับสถานภาพธนาคารต่างๆ โดยเฉพาะประเด็นการจัดการความเสี่ยง เพราะในอดีต "นิค ลีสัน" ซึ่งเป็นเทรดเดอร์ที่ทำการซื้อขายที่ผิดกฎธนาคารจนทำให้ธนาคารแบริ่งของอังกฤษล้มละลาย ก็ยังไม่สร้างความเสียหายได้มากขนาดนี้
ด้านดัชนีฮั่งเส็ง ตลาดหุ้นฮ่องกง ปิดตลาดลดลง 550.90 จุด หรือ 2.29% สู่ระดับ 23,539.27 จุด ทันทีที่ปรากฏข่าวนี้ขึ้นในตลาด หลังดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงกว่า 700 จุดในช่วงเช้า
* ซอคเจน ซ้ำเติมตลาดหุ้นไทย กระทบความเชื่อมั่น นลท.
นายสุวิทย์ มาไพศาลสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ภัทร จำกัด กล่าวว่าจากกรณีข้างต้นย่อมมีผลต่อความกังวลต่อนักลงทุนอย่างแน่นอน ซึ่งบริษัทฯ มองว่าในเรื่องของโอลิเวอร์ไวย์แมนนั้นเป็นการคาดการณ์จากผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมอยู่แล้ว ซึ่งในประเด็นดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นทั่วโลก โดยที่ผ่านมาได้มีการรับรู้ไปแล้วบางส่วนจึงไม่น่าจะเป็นเรื่องใหม่มากนัก
ทั้งนี้มองว่าในประเด็นดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยอย่างแน่นอน ซึ่งเป็นไปตามตลาดหุ้นทั่วโลก โดยสังเกตได้จากที่ผ่านมาเมื่อตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลง ตลาดหุ้นไทยก็จะปรับตัวลงตามเช่นกัน ขณะที่เม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นถือว่ายังน้อยมากเมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นต่างชาติจึงมีการโยกเงินออกไปพักเพื่อรอดูสถานการณ์
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของ ซอคเจน ซึ่งเป็นธนาคารรายใหญ่โดนฉ้อโกง ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกเริ่มหวาดกลัวผลกระทบบริษัทฯ ไม่สามารถให้คอมเม้นท์อะไรได้มากนักเพราะไม่ทราบแน่ชัดว่าซอคเจนเข้าไปลงทุนที่ตลาดใดบ้าง
นางภรณี ทองเย็น ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการสายงานวิจัย บล.เอเซียพลัส เปิดเผยว่า กรณี ซอคเจน จะทำให้เป็นการซ้ำเติมต่อความเชื่อมั่นต่อการลงทุนในตลาดทุน และเชื่อว่าจะกระทบต่อทิศทางการเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลก รวมถึง กระทบมายังการเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดหุ้นไทยในระยะนี้เช่นกัน นอกจากนี้ ตลาดหุ้นไทยในปัจจุบันก็ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่เข้าสู่ภาวะถดถอย หลังประสบปัญหาซับไพร์มในช่วงที่ผ่านมา
"การฉ้อโกงของ ซอคเจน ยิ่งเป็นการซ้ำเติมตลาดฯ และยังจะกระทบต่อความเชื่อมั่น ต่อการลงทุนในตลาดทุนให้หมดไปอีก และในปัจจุบันตลาดก็ถูกภาวะกดดันจากปัญหาซับไพร์มอยู่แล้ว ซึ่งมีกรณีดังกล่าวอีกก็ทำให้ตลาดขาดความเชื่อมั่นกว่าเดิม แต่ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเป็นการฉ้อโกงในลักษณะแบบไหน แต่ทั้งหมดก็จะกดดันต่อความเชื่อมั่นนักลงทุนแน่นอน" นางภรณี กล่าว
นายวีระชัย ครองสามสี ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.ฟาร์อีสท์ กล่าวถึงประเด็นดังกล่าว่า ไม่น่าจะกระทบต่อตลาดหุ้นไทย เนื่องจากซอคเจนนั้นเป็นธนาคารที่อยู่ในประเทศฝรั่งเศส และไม่ได้มีการลงทุนในไทยมากนัก แต่น่าจะมีผลต่อตลาดหุ้นยุโรป และราคาหุ้นของซอคเจนเองมากกว่า โดยประเด็นดังกล่าวจะทำให้ตลาดหุ้นยุโรปมีความปั่นป่วน และจะยังผลมากระทบต่อจิตวิทยาการลงทุนในตลาดหุ้นภูมิภาคเอเชีย รวมถึงตลาดหุ้นไทยด้วย
"น่าจะกระทบต่อซอคเจนเองเลยมากกว่า เพราะนอกจากเรื่องนี้แล้ว ธนาคารดังกล่าวยังมีการลงทุนซับไพร์มด้วย แต่นักลงทุนคงจะตั้งข้อสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้นกับระบบการตรวจสอบของสถาบันการเงินในยุโรป ถึงได้เกิดเหตุการอย่างนี้ และเกรงว่าอาจจะเป็นเหมือนกับกรณีของนาย นิค ลีสัน ซึ่งเป็นเทรดเดอร์ที่ทำการซื้อขายที่ผิดกฎธนาคาร จนทำให้ธนาคารแบริ่งของอังกฤษล้มละลาย ดังนั้นต้องระมัดระวังเรื่องดังกล่าวด้วย เพราะเงินฉ้อดกงในกรณีของซอคเจนนั้นวงเงินสูงมาก" นายวีระชัย กล่าว
อย่างไรก็ดี ที่ตลาดหุ้นไทยปรับลดลงแรงมากนั้นเป็นเพราะ นักลงทุนต่างชาตินั้นกระหน่ำเทขายหุ้นไม่เลิก เนื่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจของโลดที่ชะลอตัวลง จากเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่ถดถอย ขณะที่ปัจจัยภายในประเทศไทย เรื่องของทางการเมืองแม้ จะมีความชัดเจนระดับหนึ่งแต่ ก็ยังไม่เป็นรูปธะรม ในเรื่องของหน้าตาคณะรัฐบาล และทีมเศรษฐกิจ
* ข่าวร้ายรุมเร้าตลาดหุ้นเพียบ
เท่านั้นยังไม่พอ ตลาดหุ้นทั่วโลกยังผวากับข่าวร้ายที่ทยอยออกมาอย่างไม่ขาดสาย ทั้งข่าวจากสิงคโปร์ ที่ระบุว่า ตำรวจสิงคโปร์ ออกมาเปิดเผยในวันนี้ว่า อดีตเจ้าหน้าที่ซิตี้แบงก์ 7 คนถูกศาลสิงคโปร์ตั้งข้อหาว่าขโมยข้อมูลของลูกค้าก่อนที่จะลาออกไปร่วมงานกับยูบีเอส เอจี ซึ่งเป็นธนาคารคู่แข่ง ในปี 2006 ซึ่งเจ้าหน้าที่ทั้ง 7 คนนี้จะถูกตั้งข้อหารวมทั้งสิ้น 1,223 กระทงตามกฎหมายเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ในทางทุจริต ขณะที่สื่อสิงคโปร์รายงานว่า ข้อหาเหล่านี้มีโทษปรับมากกว่า 100,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ (70,000 ดอลลาร์สหรัฐ) หรือกว่า
2,300,000 บาท หรืออาจมีโทษจำคุกสูงสุดถึง 20 ปี
นอกจากนี้ รายงานข่าวต่างประเทศระบุว่า โอลิเวอร์ไวย์แมน บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำของสหรัฐฯ คาด อุตสาหกรรมการเงินโลกจะได้รับความเสียหายจากวิกฤตซับไพร์มสหรัฐฯเป็นมูลค่าอีกไม่ต่ำกว่า 300 พันล้านดอลลาร์ และตลาดเงินโลกจะมีความผันผวนตลอดอย่างน้อย 1-2 ปีข้างหน้า
โดยในบทวิเคราะห์ที่มีชื่อ 'We expect a stormy 2008' ของโอลิเวอร์ไวย์แมน ระบุว่า แม้รัฐบาล ธนาคารกลาง และหน่วยงานเศรษฐกิจในสหรัฐฯ และในหลายประเทศจะพยายามกู้วิกฤตที่เกิดขึ้นจากซับไพร์ม แต่คาดว่า ปัญหาใหญ่ต่างๆ ยังคงไม่หมดไป
"การชะลอตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอังกฤษและสเปน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงและทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ลดลงอย่างรุนแรง รวมถึงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกโดยรวม' ในบทวิเคราะห์ดังกล่าวระบุ
นอกจากนี้ โอลิเวอร์ไวย์แมนยังระบุด้วยว่า การชะลอตัวของตลาดหุ้นอินเดียและจีนยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลกปีนี้
ทั้งนี้ บทวิเคราะห์ของโอลิเวอร์ไวย์แมนได้เผยแพร่ออกมา 1 วัน ก่อนที่ ซอคเจน สถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ของฝรั่งเศสประกาศแผนเพิ่มทุน 8.02 พันล้านดอลลาร์ หลังพบธุรกรรมที่ผิดปกติที่อาจสร้างความเสียหายถึง 7.14 พันล้านดอลลาร์ ขณะเดียวกันยังได้รับความเสียหายจากการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับวิกฤตซับไพร์มอีก 2.99 พันล้านดอลลาร์
* วงใน เผยมาตรการกระตุ้นศก.สหรัฐฯ ใกล้ได้ข้อสรุปแล้ว
ล่าสุดสำนักข่าวเอพีรายงานว่า สมาชิกระดับแกนนำในสภาคองเกรสทั้งจากพรรคเดโมแครต และรีพับลิกันเปิดเผยว่า การหารือระหว่างสภาคองเกรสกับรัฐบาลสหรัฐฯ เกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจใกล้ได้ข้อสรุปแล้ว โดยคาดว่า จะมีการออกมาตรการลดภาษีฉุกเฉิน และเพิ่มสิทธิประโยชน์เพื่อกระตุ้นการลงทุน
'เราจะหารือต่ออีกวันในวันพรุ่งนี้ และใกล้จะได้ข้อสรุปแล้ว' นาย จอห์น โบห์เนอร์ แกนนำสมาชิกสภาคองเกรสพรรครีพับลิกันกล่าว
การเปิดเผยของนาย โบห์เนอร์เป็นสัญญาณว่า การหารือระหว่างนาง แนนซี่ เปโลซี่ ประธานสภาคองเกรส และนาย เฮนรี่ พอลสัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ซึ่งดำเนินมาแล้ว 3 ครั้งจะได้ข้อสรุปในการประชุมครั้งที่ 4 ซึ่งจะมีขึ้นคืนนี้ตามเวลาในประเทศไทย
นอกจากนี้ ยังมีกระแสข่าวสมาชิกสภาคองเกรสหลายคนที่ระบุว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯที่คาดว่าจะมูลค่าประมาณ 150 พันล้านดอลลาร์ อาจเพิ่มเป็น 250 พันล้านดอลลาร์
ขณะที่วันก่อน ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว โดยดัชนีดาวโจนส์เพิ่มขึ้นเกือบ 300 จุด เนื่องจากนักลงทุนมีความหวังว่า การลดอัตรดอกเบี้ยฉุกเฉินของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด ประกอบกับการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจะช่วยให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟื้นตัวจากภาวะถดถอยได้
อย่างไรก็ดี นายจอห์น สแปรตต์ ประธานคณะกรรมาธิการงบประมาณสภาคองเกรส กล่าวว่า จากการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในปีนี้อาจส่งผลให้สหรัฐฯ ขาดดุลงบประมาณสูงถึง 379 พันล้านดอลลาร์ หรือ กว่า 2 เท่าของการขาดดุลงบประมาณปีก่อน
* เมอร์ริลลินช์ ให้น้ำหนักลงทุนหุ้นไทยต่ำกว่าเฉลี่ย-มอร์แกนมองศก.โลกทรุดตามสหรัฐฯ
ด้านสถานการณ์การลงทุนในประเทศไทยนั้น สำนักข่าวต่างประเทศระบุว่า เมอร์ริล ลินช์ ได้ให้น้ำหนักการลงทุนตลาดหุ้นไทยต่ำ กว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อย (marginally underweight) หลังมองแนวโน้มเศรษฐกิจเติบโตต่ำสุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในเอเชีย รวมทั้งนโยบายเกี่ยวกับการลงทุนของต่างชาติยังไม่น่าสนใจเมื่อ เทียบกับประเทศในกลุ่มอาเซียน
โดยระบุคำสัมภาษณ์ของ นายแดเนียล คาซาลี รองประธานฝ่ายกลยุทธ์ด้านหุ้น ประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกของเมอร์ริลฯ ว่า การที่ไทยใช้มาตรการควบคุมเงินทุนไหลเข้าระยะสั้น เป็นการปิดกั้นเงินลงทุนจากต่างชาติด้วย "การใช้ capital control นั้น เป็นการหยุดการลงทุนต่างชาติที่จะไหล เข้าประเทศ และกล่าวด้วยว่า หากมองไปที่ภาคส่งออกของไทย ก็จะเห็นว่าอาจถูกกระทบจากการแข็งค่าของบาทได้ ขณะที่ภาพการเมืองยังไม่เอื้อต่อการลงทุนนัก
อย่างไรก็ตาม หุ้นบางกลุ่มในตลาดหุ้นไทยก็ยังน่าสนใจลงทุน เช่น กลุ่มสินค้า โภคภัณฑ์ "แต่เราก็ไม่ได้ underweight ประเทศไทยอย่างรุนแรง อย่างเช่นที่เรามีมุมมองต่อตลาดหุ้นเกาหลี และไต้หวัน เป็นเพราะยังมีหุ้นหลายตัว เป็นหุ้น commodities และได้กล่าวถึงการจัดอันดับการลงทุนในภูมิภาคเอเชียว่า ประเทศที่น่าสนใจ ลงทุนที่สุด 2 อันดับแรก คือ ฮ่องกง และ จีน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ
ขณะที่สามประเทศในอาเซียนที่ได้ให้น้ำหนักการลงทุนมากกว่า ตลาด (overweight) คือสิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ขณะที่จัดอันดับ "market weight" สำหรับอินโดนีเซีย เขากล่าวด้วยว่า กลุ่มที่น่าสนใจลงทุนในแถบเอเชีย คือ ด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน และสินค้าโภคภัณฑ์ (commodities) ส่วนกลุ่มที่ไม่น่าสนใจลงทุนคือ ธนาคารพาณิชย์ และเซมิคอนดัคเตอร์
ส่วนรายงานข่าวบนเว็บไซท์บลูมเบิร์กดอทคอมระบุว่า นายโรช กล่าวว่า เศรษฐกิจโลกต้องพึ่งพาการบริโภคจากสหรัฐฯ ซึ่งคิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำวกว่า 9.5 ล้านล้านดอลลาร์/ปี
'เศรษฐกิจโลกไม่มีทางรอดพ้นภาวะชะลอตัวรุนแรง เนื่องจากต้องอาศัยพลังการบริโภคจากสหรัฐฯถึงปีละ 9.5 ล้านล้านดอลลาร์' นายโรช กล่าว
ทั้งนี้ นายโรช กล่าวว่า นักลงทุนเริ่มคาดการณ์ถึงความเสี่ยงที่เศรษฐกิจโลกจะเผชิญภาวะซบเซาแล้ว ตั้งแต่ภาคบริโภคของสหรัฐฯ ประสบปัญหา ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อเศรษฐกิจโลก
* ปัจจัยกดดันในปท. ยังมาจากการเมือง-PTT-เงินไหลเข้าหลังดบ.ต่ำ
สำหรับปัจจัยภายในประเทศที่กดดันตลาดหุ้นไทย ยังคงเป็นปัจจัยหลักๆ ได้แก่ สถานการณ์ทางการเมือง ที่กำลังเข้าสู่ความสมบูรณ์แบบของการจัดตั้งคณะรัฐบาลชุดใหม่ โดยนักลงทุนยังคงรอว่าทีมเศรษฐกิจจะมีหน้าตาอย่างไร และจะมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างไร
นอกจากนี้ ยังมีผลกระทบจากคดี บมจ.ปตท. (PTT) ที่ยังไม่ข้อสรุปด้านการโอนท่อก๊าซ โดยวานนี้ (24 ม.ค.) นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยก่อนการเข้าหารือกับนายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับการคิดอัตราค่าเช่าท่อก๊าซของ PTT ว่า หากในการประชุมวันนี้ไม่เป็นที่พอใจของกระทรวงพลังงานก็จะไม่ตกลงใดๆ ด้วย
"บทสรุปจากนี้คือ ปตท.สามารถใช้ท่อก๊าซต่อไปได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าเช่า ซึ่งเป็นการดำเนินการที่ถูกต้องตามกฎหมาย พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจที่อยู่ข้างปตท. และพ.ร.บ.ดังกล่าวกระทรวงการคลังเป็นผู้ร่างขึ้นมาเอง" นายปิยสวัสดิ์ กล่าว
หลังการหารือในวันเดียวกัน มีข้อสรุปว่า การจ่ายค่าเช่าท่อก๊าซ จะจ่ายแบบขั้นบันได เริ่มตั้งแต่ 5-35% และ PTT ต้องจ่ายค่าเช่าท่อก๊าซย้อนหลังคืนกระทรวงการคลัง 2-3 พันล้านบาท รวมดอกเบี้ยและภาษี จากฐานรายได้ 5 ปี ที่ 3.6 พันล้านบาท ซึ่งบทสรุปนี้ต้องมาติดตามต่อว่าจะมีผลกระทบอย่างไรต่อไป
ขณะที่ บล.กิมเอ็ง ระบุว่า ยังมองการซื้อขายหุ้นไทยแกว่งตัวผันผวนเพราะแรงขายจากนักลงทุนต่างประเทศ และจิตวิทยาในประเทศที่ดูอ่อนแอ ซึ่งจะเห็นได้ว่าตลาดภูมิภาคได้ทะยานขึ้นแรงต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยฉุกเฉินครั้งใหญ่ของธนาคารกลางสหรัฐวานนี้ แต่ตลาดไทยกลับอ่อนตัวลงจากแรงขายสุทธิ 1.9 พันล้านบาทจากนักลงทุนต่างประเทศ
ทั้งนี้ แม้ตลาดไทยจะเป็นตลาดหุ้นที่ถูกที่สุดในเอเชียในด้านที่พีอีต่ำ แต่จะได้รับผลลบจากความเสี่ยงต่อวิกฤติการเงินในสหรัฐฯ มากที่สุดเพราะปัจจัยการเมืองไม่มีเสถียรภาพเทียบกับตลาดเพื่อนบ้าน นอกจากนั้น ข้อพิพาทเรื่องกรณีการเช่าท่อก๊าซของ PTT ได้ส่งผลลบไปถึงดัชนีฯ โดยรวมด้วย
* ตลท.แนะจังหวะนี้ ดีที่จะได้เก็บหุ้นถูกถือยาว 6 เดือน - 1 ปี
นายวิเชฐ ตันติวานิช รองผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า สำหรับในภาวะที่หุ้นทั่วโลกรวมทั้งตลาดหุ้นไทยปรับลดลงรุนแรงนั้น นักลงทุนควรใช้เป็นจังหวะในการซื้อหุ้นพื้นฐานดีราคาถูก ซึ่งปัจจุบันมีหลายหลักทรัพย์ที่ราคาต่ำกว่าที่ควรจะเป็น แต่การลงทุนจะต้องเป็นลักษณะการซื้อและถือระยะยาว 6 เดือนถึง 1 ปี เนื่องจากผลกระทบจากเศรษฐกิจต่างประเทศอาจไม่ได้มีผลโดยตรงกับผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทยซึ่งส่วนใหญ่มีอัตราการเติบโตดี
นอกจากนี้ ยังมองว่าหลังจากที่ปัญหาต่างๆ เริ่มคลี่คลายลง ราคาหุ้นจะปรับกลับขึ้นมาสูงอีกครั้งเช่นในอดีตที่ผ่านมาที่ทุกครั้งหลังวิกฤตเศรษฐกิจ 2-4 เดือน ราคาหุ้นทั่วโลกจะมีการปรับขึ้นอย่างรวดเร็ว และการที่ทางธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ปรับลดดอกเบี้ยไปแล้วถึง 0.75% และยังมีแนวโน้มว่าระยะอันใกล้นี้จะมีการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยนโยบายการลดดอกเบี้ยเพิ่มอีกนั้นย่อมจะมีผลให้ช่วงห่างระหว่างดอกเบี้ยทั้งในและนอกประเทศมีมากขึ้น และหาก ธปท. ไม่ได้ควบคุมระดับอัตราดอกเบี้ยในประเทศให้เหมาะสมก็อาจจะทำให้เกิด
ภาวะการไหลเข้าของเงินทุนเป็นจำนวนมาก และสะท้อนผลไปยังค่าเงินบาททำให้มีโอกาสที่จะแข็งค่าเพิ่มขึ้นอีกจากระดับปัจจุบัน
ส่วนอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมในประเทศถือว่ายังประเมินยาก เพราะปัจจุบันยังไม่มีการวิเคราะห์ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากปัญหาซับไพร์มที่ชัดเจน ซึ่งเรื่องดังกล่าวควรจะต้องให้ผู้ส่งออก แบงก์ชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือร่วมกันก่อนตัดสินใจเรื่องนโยบายดอกเบี้ยในประเทศ ขณะนี้ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% จะส่งผลบวกหรือลบต่อภาพรวมเศรษฐกิจเพียงใด ซึ่ง ตลท. มีความต้องการจะหารือร่วมกับ ธปท. เพื่อให้ได้ข้อสรุปเรื่องดังกล่าวด้วย
ทั้งนี้ ในส่วนของตลท.จะไม่ได้รับผลลบโดยตรงแต่ในส่วนของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จะประสบปัญหาในการออกขายหุ้นกู้ต่างประเทศซึ่งจะทำได้ยากขึ้นกว่าปกติ
"ปัจจุบันแม้จะมีมาตรการกันสำรองแต่เงินบาทก็ยังแข็งอยู่ ซึ่งถ้าจะยกเลิกตอนนี้ก็ยังตอบไม่ได้ว่าจะมีผลดีหรือผลเสียมากกว่ากัน แต่ในส่วนของเราคงไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง ยกเว้นการออกขายหุ้นกู้ของบริษัทจดทะเบียนเท่านั้น" นายวิเชฐ กล่าว
* หุ้นไทยหลุดแนวรับสำคัญ 740 จุด-แนะติดตามผลกระทบ ซอคเจน
นายสิทธิพร เจนในเมือง ผู้อำนวยการฝ่ายที่ปรึกษาการลงทุน บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลง หลังจากที่หลุดแนวรับทางเทคนิค 740 จุด ซึ่งถือเป็นสัญญาณไม่ค่อยดีนัก มีโอกาสที่จะปรับตัวลดลงไปถึงระดับ 730 จุด จึงมองว่าไม่ใช่จังหวะของการเข้าลงุทน แนะนำให้นักลงทุนชะลอการลงทุน รอดูสถานการณ์ภาพรวมตลาดหุ้นไทยไปก่อน
นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ บล.เอเซีย พลัส เปิดเผยว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยที่ปรับตัวลดลงในช่วงบ่ายวันนี้ เพราะได้รับแรงกดดันจากดัชนีในตลาดหุ้นภูมิภาคที่ส่วนใหญ่อ่อนตัวลลง เช่น ดัชนีฮั่งเส็ง ลดลง 550.90 จุด 2.29% ทำให้บรรยากาศการลงทุนแย่ลง ส่วนการที่เฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.75% ไม่ช่วยให้ภาพรวมดีขึ้นนั้น เพราะนักลงทุนตีความการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็น 2 ทางคือ เศรษฐกิจของสหรัฐฯแย่มากจนเฟดต้องปรับลดดอกเบี้ย ส่วนอีกประเด็นคือ เป็นการชะลอไม่ให้เศรษฐกิจสหรัฐฯถดถอยมากเป็นกว่าเดิม
ส่วนกลยุทธ์การลงทุนระยะสั้น ควรระมัดระวังการลงทุน ส่วนระยะกลางและยาว แนะนำถือ แนวรับ 730 จุด แนวต้าน 750 จุด
นายรณกฤต สารินวงศ์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.แอ๊ดคินซัน จำกัด ระบุว่า ตลาดหุ้นไทยที่ปรับลดลง น่าจะเกิดผลกระทบจาก ซอคเจน ซึ่งคงต้องตามไปดูว่าความเสียหายของซอคเจนมีอะไรบ้าง และ ซอคเจน ไปลงทุนต่างประเทศที่ไหนบ้าง รวมทั้งซอคเจนได้เข้ามาลงทุนในโบรกเกอร์ไทยบางโบรกเกอร์ด้วยหรือไม่
อย่างไรก็ตาม ดัชนีฯ พร้อมจะสร้างนิวโลว์อยู่แล้ว ดูจากฟอร์มแล้วน่าเป็นห่วง มองกรอบดัชนีฯ พรุ่งนี้มีแนวรับทางจิตวิทยาที่ 720 จุด และแนวต้าน 740 จุด ซึ่งต้องมีต่างชาติช่วยหนุนด้วย ส่วนกลยุทธ์การลงทุน คงต้องเลือกเล่นหุ้นตามกระแส เช่น กลุ่มพร็อพเพอร์ตี้ เช่น LPN และ SPALI ที่น่าจะได้รับผลดีจากอัตราดอกเบี้ยที่ปรับลดลง
"ซอคเจน" พ่นพิษ ถล่มหุ้นทั่วโลกอีกระลอก รวมทั้งตลาดหุ้นไทยที่หนีวังวนไม่พ้น ขณะที่ผู้บริหาร ตลท. และนักวิเคราะห์ระบุ
ตลาดหุ้นไทยยังมีเสน่ห์ที่ P/E ต่ำ หนำซ้ำหลายบริษัทราคาหุ้นต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐาน เชื่อหลังพ้นวิกฤตเศรษฐกิจ ราคาหุ้นจะเด้งกลับมาแรง ในเวลาอันรวดเร็ว
* หุ้นไทยร่วงตามหุ้นทั่วโลกหลังเจอ "ซอคเจน" พ่นพิษ
ดัชนีตลาดหุ้นไทย วันที่ 24 มกราคม 2551 ปิดที่ระดับ 728.58 จุด ลดลง 12.07 จุด หรือ 1.63% มูลค่าการซื้อขาย 16,508.96 ล้านบาท และนักลงทุนต่างยังคงเทขายสุทธิอย่างต่อเนื่องอีก 2,213.56 ล้านบาท
โดยดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงเช้า ก่อนจะปรับตัวลดลงในช่วงบ่ายหลังมีข่าวต่างประเทศ รายงานว่า โซซิเอเต้ เจเนอราล (ซอคเจน) ซึ่งเป็นธนาคารรายใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของฝรั่งเศส ได้ออกมาเปิดเผยในวันนี้ว่า ทางธนาคารได้ตรวจพบการฉ้อโกงของเทรดเดอร์รายหนึ่งซึ่งอาจสร้างความเสียหายต่อทางธนาคารคิดเป็นมูลค่าราว 4.9 พันล้านยูโร (7.16 พันล้านดอลลาร์) หรือกว่า 230,000 ล้านบาท
พร้อมกันนี้ ธนาคารยังได้ประกาศปรับลดมูลค่าสินทรัพย์ทางบัญชีลงอีก 2.05 พันล้านยูโรที่เกี่ยวข้องกับภาวะสินเชื่อตึงตัวทั่วโลก และธนาคารมีแผนจะเพิ่มทุนอีก 5.5 พันล้านยูโรเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับงบดุลบัญชีของธนาคาร ส่งผลให้ตลาดหุ้นปารีสสั่งพักการซื้อขายหุ้น ซอคเจน ขณะที่ราคาหุ้น ซอคเจน ปิดดิ่งลง 4.15% สู่ 79.08 ยูโรเมื่อวันก่อน
มูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ทำให้หลายฝ่ายวิตกกังวลกับสถานภาพธนาคารต่างๆ โดยเฉพาะประเด็นการจัดการความเสี่ยง เพราะในอดีต "นิค ลีสัน" ซึ่งเป็นเทรดเดอร์ที่ทำการซื้อขายที่ผิดกฎธนาคารจนทำให้ธนาคารแบริ่งของอังกฤษล้มละลาย ก็ยังไม่สร้างความเสียหายได้มากขนาดนี้
ด้านดัชนีฮั่งเส็ง ตลาดหุ้นฮ่องกง ปิดตลาดลดลง 550.90 จุด หรือ 2.29% สู่ระดับ 23,539.27 จุด ทันทีที่ปรากฏข่าวนี้ขึ้นในตลาด หลังดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงกว่า 700 จุดในช่วงเช้า
* ซอคเจน ซ้ำเติมตลาดหุ้นไทย กระทบความเชื่อมั่น นลท.
นายสุวิทย์ มาไพศาลสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ภัทร จำกัด กล่าวว่าจากกรณีข้างต้นย่อมมีผลต่อความกังวลต่อนักลงทุนอย่างแน่นอน ซึ่งบริษัทฯ มองว่าในเรื่องของโอลิเวอร์ไวย์แมนนั้นเป็นการคาดการณ์จากผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมอยู่แล้ว ซึ่งในประเด็นดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นทั่วโลก โดยที่ผ่านมาได้มีการรับรู้ไปแล้วบางส่วนจึงไม่น่าจะเป็นเรื่องใหม่มากนัก
ทั้งนี้มองว่าในประเด็นดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยอย่างแน่นอน ซึ่งเป็นไปตามตลาดหุ้นทั่วโลก โดยสังเกตได้จากที่ผ่านมาเมื่อตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลง ตลาดหุ้นไทยก็จะปรับตัวลงตามเช่นกัน ขณะที่เม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นถือว่ายังน้อยมากเมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นต่างชาติจึงมีการโยกเงินออกไปพักเพื่อรอดูสถานการณ์
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของ ซอคเจน ซึ่งเป็นธนาคารรายใหญ่โดนฉ้อโกง ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกเริ่มหวาดกลัวผลกระทบบริษัทฯ ไม่สามารถให้คอมเม้นท์อะไรได้มากนักเพราะไม่ทราบแน่ชัดว่าซอคเจนเข้าไปลงทุนที่ตลาดใดบ้าง
นางภรณี ทองเย็น ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการสายงานวิจัย บล.เอเซียพลัส เปิดเผยว่า กรณี ซอคเจน จะทำให้เป็นการซ้ำเติมต่อความเชื่อมั่นต่อการลงทุนในตลาดทุน และเชื่อว่าจะกระทบต่อทิศทางการเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลก รวมถึง กระทบมายังการเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดหุ้นไทยในระยะนี้เช่นกัน นอกจากนี้ ตลาดหุ้นไทยในปัจจุบันก็ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่เข้าสู่ภาวะถดถอย หลังประสบปัญหาซับไพร์มในช่วงที่ผ่านมา
"การฉ้อโกงของ ซอคเจน ยิ่งเป็นการซ้ำเติมตลาดฯ และยังจะกระทบต่อความเชื่อมั่น ต่อการลงทุนในตลาดทุนให้หมดไปอีก และในปัจจุบันตลาดก็ถูกภาวะกดดันจากปัญหาซับไพร์มอยู่แล้ว ซึ่งมีกรณีดังกล่าวอีกก็ทำให้ตลาดขาดความเชื่อมั่นกว่าเดิม แต่ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเป็นการฉ้อโกงในลักษณะแบบไหน แต่ทั้งหมดก็จะกดดันต่อความเชื่อมั่นนักลงทุนแน่นอน" นางภรณี กล่าว
นายวีระชัย ครองสามสี ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.ฟาร์อีสท์ กล่าวถึงประเด็นดังกล่าว่า ไม่น่าจะกระทบต่อตลาดหุ้นไทย เนื่องจากซอคเจนนั้นเป็นธนาคารที่อยู่ในประเทศฝรั่งเศส และไม่ได้มีการลงทุนในไทยมากนัก แต่น่าจะมีผลต่อตลาดหุ้นยุโรป และราคาหุ้นของซอคเจนเองมากกว่า โดยประเด็นดังกล่าวจะทำให้ตลาดหุ้นยุโรปมีความปั่นป่วน และจะยังผลมากระทบต่อจิตวิทยาการลงทุนในตลาดหุ้นภูมิภาคเอเชีย รวมถึงตลาดหุ้นไทยด้วย
"น่าจะกระทบต่อซอคเจนเองเลยมากกว่า เพราะนอกจากเรื่องนี้แล้ว ธนาคารดังกล่าวยังมีการลงทุนซับไพร์มด้วย แต่นักลงทุนคงจะตั้งข้อสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้นกับระบบการตรวจสอบของสถาบันการเงินในยุโรป ถึงได้เกิดเหตุการอย่างนี้ และเกรงว่าอาจจะเป็นเหมือนกับกรณีของนาย นิค ลีสัน ซึ่งเป็นเทรดเดอร์ที่ทำการซื้อขายที่ผิดกฎธนาคาร จนทำให้ธนาคารแบริ่งของอังกฤษล้มละลาย ดังนั้นต้องระมัดระวังเรื่องดังกล่าวด้วย เพราะเงินฉ้อดกงในกรณีของซอคเจนนั้นวงเงินสูงมาก" นายวีระชัย กล่าว
อย่างไรก็ดี ที่ตลาดหุ้นไทยปรับลดลงแรงมากนั้นเป็นเพราะ นักลงทุนต่างชาตินั้นกระหน่ำเทขายหุ้นไม่เลิก เนื่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจของโลดที่ชะลอตัวลง จากเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่ถดถอย ขณะที่ปัจจัยภายในประเทศไทย เรื่องของทางการเมืองแม้ จะมีความชัดเจนระดับหนึ่งแต่ ก็ยังไม่เป็นรูปธะรม ในเรื่องของหน้าตาคณะรัฐบาล และทีมเศรษฐกิจ
* ข่าวร้ายรุมเร้าตลาดหุ้นเพียบ
เท่านั้นยังไม่พอ ตลาดหุ้นทั่วโลกยังผวากับข่าวร้ายที่ทยอยออกมาอย่างไม่ขาดสาย ทั้งข่าวจากสิงคโปร์ ที่ระบุว่า ตำรวจสิงคโปร์ ออกมาเปิดเผยในวันนี้ว่า อดีตเจ้าหน้าที่ซิตี้แบงก์ 7 คนถูกศาลสิงคโปร์ตั้งข้อหาว่าขโมยข้อมูลของลูกค้าก่อนที่จะลาออกไปร่วมงานกับยูบีเอส เอจี ซึ่งเป็นธนาคารคู่แข่ง ในปี 2006 ซึ่งเจ้าหน้าที่ทั้ง 7 คนนี้จะถูกตั้งข้อหารวมทั้งสิ้น 1,223 กระทงตามกฎหมายเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ในทางทุจริต ขณะที่สื่อสิงคโปร์รายงานว่า ข้อหาเหล่านี้มีโทษปรับมากกว่า 100,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ (70,000 ดอลลาร์สหรัฐ) หรือกว่า
2,300,000 บาท หรืออาจมีโทษจำคุกสูงสุดถึง 20 ปี
นอกจากนี้ รายงานข่าวต่างประเทศระบุว่า โอลิเวอร์ไวย์แมน บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำของสหรัฐฯ คาด อุตสาหกรรมการเงินโลกจะได้รับความเสียหายจากวิกฤตซับไพร์มสหรัฐฯเป็นมูลค่าอีกไม่ต่ำกว่า 300 พันล้านดอลลาร์ และตลาดเงินโลกจะมีความผันผวนตลอดอย่างน้อย 1-2 ปีข้างหน้า
โดยในบทวิเคราะห์ที่มีชื่อ 'We expect a stormy 2008' ของโอลิเวอร์ไวย์แมน ระบุว่า แม้รัฐบาล ธนาคารกลาง และหน่วยงานเศรษฐกิจในสหรัฐฯ และในหลายประเทศจะพยายามกู้วิกฤตที่เกิดขึ้นจากซับไพร์ม แต่คาดว่า ปัญหาใหญ่ต่างๆ ยังคงไม่หมดไป
"การชะลอตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอังกฤษและสเปน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงและทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ลดลงอย่างรุนแรง รวมถึงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกโดยรวม' ในบทวิเคราะห์ดังกล่าวระบุ
นอกจากนี้ โอลิเวอร์ไวย์แมนยังระบุด้วยว่า การชะลอตัวของตลาดหุ้นอินเดียและจีนยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลกปีนี้
ทั้งนี้ บทวิเคราะห์ของโอลิเวอร์ไวย์แมนได้เผยแพร่ออกมา 1 วัน ก่อนที่ ซอคเจน สถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ของฝรั่งเศสประกาศแผนเพิ่มทุน 8.02 พันล้านดอลลาร์ หลังพบธุรกรรมที่ผิดปกติที่อาจสร้างความเสียหายถึง 7.14 พันล้านดอลลาร์ ขณะเดียวกันยังได้รับความเสียหายจากการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับวิกฤตซับไพร์มอีก 2.99 พันล้านดอลลาร์
* วงใน เผยมาตรการกระตุ้นศก.สหรัฐฯ ใกล้ได้ข้อสรุปแล้ว
ล่าสุดสำนักข่าวเอพีรายงานว่า สมาชิกระดับแกนนำในสภาคองเกรสทั้งจากพรรคเดโมแครต และรีพับลิกันเปิดเผยว่า การหารือระหว่างสภาคองเกรสกับรัฐบาลสหรัฐฯ เกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจใกล้ได้ข้อสรุปแล้ว โดยคาดว่า จะมีการออกมาตรการลดภาษีฉุกเฉิน และเพิ่มสิทธิประโยชน์เพื่อกระตุ้นการลงทุน
'เราจะหารือต่ออีกวันในวันพรุ่งนี้ และใกล้จะได้ข้อสรุปแล้ว' นาย จอห์น โบห์เนอร์ แกนนำสมาชิกสภาคองเกรสพรรครีพับลิกันกล่าว
การเปิดเผยของนาย โบห์เนอร์เป็นสัญญาณว่า การหารือระหว่างนาง แนนซี่ เปโลซี่ ประธานสภาคองเกรส และนาย เฮนรี่ พอลสัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ซึ่งดำเนินมาแล้ว 3 ครั้งจะได้ข้อสรุปในการประชุมครั้งที่ 4 ซึ่งจะมีขึ้นคืนนี้ตามเวลาในประเทศไทย
นอกจากนี้ ยังมีกระแสข่าวสมาชิกสภาคองเกรสหลายคนที่ระบุว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯที่คาดว่าจะมูลค่าประมาณ 150 พันล้านดอลลาร์ อาจเพิ่มเป็น 250 พันล้านดอลลาร์
ขณะที่วันก่อน ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว โดยดัชนีดาวโจนส์เพิ่มขึ้นเกือบ 300 จุด เนื่องจากนักลงทุนมีความหวังว่า การลดอัตรดอกเบี้ยฉุกเฉินของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด ประกอบกับการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจะช่วยให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟื้นตัวจากภาวะถดถอยได้
อย่างไรก็ดี นายจอห์น สแปรตต์ ประธานคณะกรรมาธิการงบประมาณสภาคองเกรส กล่าวว่า จากการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในปีนี้อาจส่งผลให้สหรัฐฯ ขาดดุลงบประมาณสูงถึง 379 พันล้านดอลลาร์ หรือ กว่า 2 เท่าของการขาดดุลงบประมาณปีก่อน
* เมอร์ริลลินช์ ให้น้ำหนักลงทุนหุ้นไทยต่ำกว่าเฉลี่ย-มอร์แกนมองศก.โลกทรุดตามสหรัฐฯ
ด้านสถานการณ์การลงทุนในประเทศไทยนั้น สำนักข่าวต่างประเทศระบุว่า เมอร์ริล ลินช์ ได้ให้น้ำหนักการลงทุนตลาดหุ้นไทยต่ำ กว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อย (marginally underweight) หลังมองแนวโน้มเศรษฐกิจเติบโตต่ำสุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในเอเชีย รวมทั้งนโยบายเกี่ยวกับการลงทุนของต่างชาติยังไม่น่าสนใจเมื่อ เทียบกับประเทศในกลุ่มอาเซียน
โดยระบุคำสัมภาษณ์ของ นายแดเนียล คาซาลี รองประธานฝ่ายกลยุทธ์ด้านหุ้น ประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกของเมอร์ริลฯ ว่า การที่ไทยใช้มาตรการควบคุมเงินทุนไหลเข้าระยะสั้น เป็นการปิดกั้นเงินลงทุนจากต่างชาติด้วย "การใช้ capital control นั้น เป็นการหยุดการลงทุนต่างชาติที่จะไหล เข้าประเทศ และกล่าวด้วยว่า หากมองไปที่ภาคส่งออกของไทย ก็จะเห็นว่าอาจถูกกระทบจากการแข็งค่าของบาทได้ ขณะที่ภาพการเมืองยังไม่เอื้อต่อการลงทุนนัก
อย่างไรก็ตาม หุ้นบางกลุ่มในตลาดหุ้นไทยก็ยังน่าสนใจลงทุน เช่น กลุ่มสินค้า โภคภัณฑ์ "แต่เราก็ไม่ได้ underweight ประเทศไทยอย่างรุนแรง อย่างเช่นที่เรามีมุมมองต่อตลาดหุ้นเกาหลี และไต้หวัน เป็นเพราะยังมีหุ้นหลายตัว เป็นหุ้น commodities และได้กล่าวถึงการจัดอันดับการลงทุนในภูมิภาคเอเชียว่า ประเทศที่น่าสนใจ ลงทุนที่สุด 2 อันดับแรก คือ ฮ่องกง และ จีน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ
ขณะที่สามประเทศในอาเซียนที่ได้ให้น้ำหนักการลงทุนมากกว่า ตลาด (overweight) คือสิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ขณะที่จัดอันดับ "market weight" สำหรับอินโดนีเซีย เขากล่าวด้วยว่า กลุ่มที่น่าสนใจลงทุนในแถบเอเชีย คือ ด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน และสินค้าโภคภัณฑ์ (commodities) ส่วนกลุ่มที่ไม่น่าสนใจลงทุนคือ ธนาคารพาณิชย์ และเซมิคอนดัคเตอร์
ส่วนรายงานข่าวบนเว็บไซท์บลูมเบิร์กดอทคอมระบุว่า นายโรช กล่าวว่า เศรษฐกิจโลกต้องพึ่งพาการบริโภคจากสหรัฐฯ ซึ่งคิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำวกว่า 9.5 ล้านล้านดอลลาร์/ปี
'เศรษฐกิจโลกไม่มีทางรอดพ้นภาวะชะลอตัวรุนแรง เนื่องจากต้องอาศัยพลังการบริโภคจากสหรัฐฯถึงปีละ 9.5 ล้านล้านดอลลาร์' นายโรช กล่าว
ทั้งนี้ นายโรช กล่าวว่า นักลงทุนเริ่มคาดการณ์ถึงความเสี่ยงที่เศรษฐกิจโลกจะเผชิญภาวะซบเซาแล้ว ตั้งแต่ภาคบริโภคของสหรัฐฯ ประสบปัญหา ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อเศรษฐกิจโลก
* ปัจจัยกดดันในปท. ยังมาจากการเมือง-PTT-เงินไหลเข้าหลังดบ.ต่ำ
สำหรับปัจจัยภายในประเทศที่กดดันตลาดหุ้นไทย ยังคงเป็นปัจจัยหลักๆ ได้แก่ สถานการณ์ทางการเมือง ที่กำลังเข้าสู่ความสมบูรณ์แบบของการจัดตั้งคณะรัฐบาลชุดใหม่ โดยนักลงทุนยังคงรอว่าทีมเศรษฐกิจจะมีหน้าตาอย่างไร และจะมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างไร
นอกจากนี้ ยังมีผลกระทบจากคดี บมจ.ปตท. (PTT) ที่ยังไม่ข้อสรุปด้านการโอนท่อก๊าซ โดยวานนี้ (24 ม.ค.) นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยก่อนการเข้าหารือกับนายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับการคิดอัตราค่าเช่าท่อก๊าซของ PTT ว่า หากในการประชุมวันนี้ไม่เป็นที่พอใจของกระทรวงพลังงานก็จะไม่ตกลงใดๆ ด้วย
"บทสรุปจากนี้คือ ปตท.สามารถใช้ท่อก๊าซต่อไปได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าเช่า ซึ่งเป็นการดำเนินการที่ถูกต้องตามกฎหมาย พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจที่อยู่ข้างปตท. และพ.ร.บ.ดังกล่าวกระทรวงการคลังเป็นผู้ร่างขึ้นมาเอง" นายปิยสวัสดิ์ กล่าว
หลังการหารือในวันเดียวกัน มีข้อสรุปว่า การจ่ายค่าเช่าท่อก๊าซ จะจ่ายแบบขั้นบันได เริ่มตั้งแต่ 5-35% และ PTT ต้องจ่ายค่าเช่าท่อก๊าซย้อนหลังคืนกระทรวงการคลัง 2-3 พันล้านบาท รวมดอกเบี้ยและภาษี จากฐานรายได้ 5 ปี ที่ 3.6 พันล้านบาท ซึ่งบทสรุปนี้ต้องมาติดตามต่อว่าจะมีผลกระทบอย่างไรต่อไป
ขณะที่ บล.กิมเอ็ง ระบุว่า ยังมองการซื้อขายหุ้นไทยแกว่งตัวผันผวนเพราะแรงขายจากนักลงทุนต่างประเทศ และจิตวิทยาในประเทศที่ดูอ่อนแอ ซึ่งจะเห็นได้ว่าตลาดภูมิภาคได้ทะยานขึ้นแรงต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยฉุกเฉินครั้งใหญ่ของธนาคารกลางสหรัฐวานนี้ แต่ตลาดไทยกลับอ่อนตัวลงจากแรงขายสุทธิ 1.9 พันล้านบาทจากนักลงทุนต่างประเทศ
ทั้งนี้ แม้ตลาดไทยจะเป็นตลาดหุ้นที่ถูกที่สุดในเอเชียในด้านที่พีอีต่ำ แต่จะได้รับผลลบจากความเสี่ยงต่อวิกฤติการเงินในสหรัฐฯ มากที่สุดเพราะปัจจัยการเมืองไม่มีเสถียรภาพเทียบกับตลาดเพื่อนบ้าน นอกจากนั้น ข้อพิพาทเรื่องกรณีการเช่าท่อก๊าซของ PTT ได้ส่งผลลบไปถึงดัชนีฯ โดยรวมด้วย
* ตลท.แนะจังหวะนี้ ดีที่จะได้เก็บหุ้นถูกถือยาว 6 เดือน - 1 ปี
นายวิเชฐ ตันติวานิช รองผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า สำหรับในภาวะที่หุ้นทั่วโลกรวมทั้งตลาดหุ้นไทยปรับลดลงรุนแรงนั้น นักลงทุนควรใช้เป็นจังหวะในการซื้อหุ้นพื้นฐานดีราคาถูก ซึ่งปัจจุบันมีหลายหลักทรัพย์ที่ราคาต่ำกว่าที่ควรจะเป็น แต่การลงทุนจะต้องเป็นลักษณะการซื้อและถือระยะยาว 6 เดือนถึง 1 ปี เนื่องจากผลกระทบจากเศรษฐกิจต่างประเทศอาจไม่ได้มีผลโดยตรงกับผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทยซึ่งส่วนใหญ่มีอัตราการเติบโตดี
นอกจากนี้ ยังมองว่าหลังจากที่ปัญหาต่างๆ เริ่มคลี่คลายลง ราคาหุ้นจะปรับกลับขึ้นมาสูงอีกครั้งเช่นในอดีตที่ผ่านมาที่ทุกครั้งหลังวิกฤตเศรษฐกิจ 2-4 เดือน ราคาหุ้นทั่วโลกจะมีการปรับขึ้นอย่างรวดเร็ว และการที่ทางธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ปรับลดดอกเบี้ยไปแล้วถึง 0.75% และยังมีแนวโน้มว่าระยะอันใกล้นี้จะมีการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยนโยบายการลดดอกเบี้ยเพิ่มอีกนั้นย่อมจะมีผลให้ช่วงห่างระหว่างดอกเบี้ยทั้งในและนอกประเทศมีมากขึ้น และหาก ธปท. ไม่ได้ควบคุมระดับอัตราดอกเบี้ยในประเทศให้เหมาะสมก็อาจจะทำให้เกิด
ภาวะการไหลเข้าของเงินทุนเป็นจำนวนมาก และสะท้อนผลไปยังค่าเงินบาททำให้มีโอกาสที่จะแข็งค่าเพิ่มขึ้นอีกจากระดับปัจจุบัน
ส่วนอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมในประเทศถือว่ายังประเมินยาก เพราะปัจจุบันยังไม่มีการวิเคราะห์ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากปัญหาซับไพร์มที่ชัดเจน ซึ่งเรื่องดังกล่าวควรจะต้องให้ผู้ส่งออก แบงก์ชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือร่วมกันก่อนตัดสินใจเรื่องนโยบายดอกเบี้ยในประเทศ ขณะนี้ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% จะส่งผลบวกหรือลบต่อภาพรวมเศรษฐกิจเพียงใด ซึ่ง ตลท. มีความต้องการจะหารือร่วมกับ ธปท. เพื่อให้ได้ข้อสรุปเรื่องดังกล่าวด้วย
ทั้งนี้ ในส่วนของตลท.จะไม่ได้รับผลลบโดยตรงแต่ในส่วนของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จะประสบปัญหาในการออกขายหุ้นกู้ต่างประเทศซึ่งจะทำได้ยากขึ้นกว่าปกติ
"ปัจจุบันแม้จะมีมาตรการกันสำรองแต่เงินบาทก็ยังแข็งอยู่ ซึ่งถ้าจะยกเลิกตอนนี้ก็ยังตอบไม่ได้ว่าจะมีผลดีหรือผลเสียมากกว่ากัน แต่ในส่วนของเราคงไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง ยกเว้นการออกขายหุ้นกู้ของบริษัทจดทะเบียนเท่านั้น" นายวิเชฐ กล่าว
* หุ้นไทยหลุดแนวรับสำคัญ 740 จุด-แนะติดตามผลกระทบ ซอคเจน
นายสิทธิพร เจนในเมือง ผู้อำนวยการฝ่ายที่ปรึกษาการลงทุน บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลง หลังจากที่หลุดแนวรับทางเทคนิค 740 จุด ซึ่งถือเป็นสัญญาณไม่ค่อยดีนัก มีโอกาสที่จะปรับตัวลดลงไปถึงระดับ 730 จุด จึงมองว่าไม่ใช่จังหวะของการเข้าลงุทน แนะนำให้นักลงทุนชะลอการลงทุน รอดูสถานการณ์ภาพรวมตลาดหุ้นไทยไปก่อน
นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ บล.เอเซีย พลัส เปิดเผยว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยที่ปรับตัวลดลงในช่วงบ่ายวันนี้ เพราะได้รับแรงกดดันจากดัชนีในตลาดหุ้นภูมิภาคที่ส่วนใหญ่อ่อนตัวลลง เช่น ดัชนีฮั่งเส็ง ลดลง 550.90 จุด 2.29% ทำให้บรรยากาศการลงทุนแย่ลง ส่วนการที่เฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.75% ไม่ช่วยให้ภาพรวมดีขึ้นนั้น เพราะนักลงทุนตีความการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็น 2 ทางคือ เศรษฐกิจของสหรัฐฯแย่มากจนเฟดต้องปรับลดดอกเบี้ย ส่วนอีกประเด็นคือ เป็นการชะลอไม่ให้เศรษฐกิจสหรัฐฯถดถอยมากเป็นกว่าเดิม
ส่วนกลยุทธ์การลงทุนระยะสั้น ควรระมัดระวังการลงทุน ส่วนระยะกลางและยาว แนะนำถือ แนวรับ 730 จุด แนวต้าน 750 จุด
นายรณกฤต สารินวงศ์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.แอ๊ดคินซัน จำกัด ระบุว่า ตลาดหุ้นไทยที่ปรับลดลง น่าจะเกิดผลกระทบจาก ซอคเจน ซึ่งคงต้องตามไปดูว่าความเสียหายของซอคเจนมีอะไรบ้าง และ ซอคเจน ไปลงทุนต่างประเทศที่ไหนบ้าง รวมทั้งซอคเจนได้เข้ามาลงทุนในโบรกเกอร์ไทยบางโบรกเกอร์ด้วยหรือไม่
อย่างไรก็ตาม ดัชนีฯ พร้อมจะสร้างนิวโลว์อยู่แล้ว ดูจากฟอร์มแล้วน่าเป็นห่วง มองกรอบดัชนีฯ พรุ่งนี้มีแนวรับทางจิตวิทยาที่ 720 จุด และแนวต้าน 740 จุด ซึ่งต้องมีต่างชาติช่วยหนุนด้วย ส่วนกลยุทธ์การลงทุน คงต้องเลือกเล่นหุ้นตามกระแส เช่น กลุ่มพร็อพเพอร์ตี้ เช่น LPN และ SPALI ที่น่าจะได้รับผลดีจากอัตราดอกเบี้ยที่ปรับลดลง