หน้า 1 จากทั้งหมด 1
อันตรายไปไหมที่ค่าพลังงานสูงขึ้น แต่นิสัยการใช้ไม่เคยเปลี่ย
โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.พ. 14, 2004 10:15 pm
โดย hot
ในอดีตที่ผ่านมา การที่พลังงานมีค่าสูงขึ้น
หรือแพงขึ้น ผู้ใช้จะรู้สักประหยัดใช้พลังงานให้คุ้มค่ามากที่สุด
แต่ในปัจจุบันไม่รู้ว่าผมคิดไปเองไหม
การใช้กับฟุ่ยเฟือยมากขึ้น และมีการสูญเสียมากกว่าแต่ก่อนอีก
ทำไมเป็นแบบนี้
อันตรายไปไหมที่ค่าพลังงานสูงขึ้น แต่นิสัยการใช้ไม่เคยเปลี่ย
โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.พ. 14, 2004 10:26 pm
โดย Jeng
อันตรายไปไหมที่ค่าพลังงานสูงขึ้น แต่นิสัยการใช้ไม่เคยเปลี่ย
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.พ. 15, 2004 8:39 pm
โดย thanwa
หลายบริษัทรายงานผลประกอบการที่ลดลง
โดยส่วนหนึ่งคือค่าใช้จ่ายถูกขึ้นมากกว่ารายได้ที่สูงขึ้น
หากมีการค่าไฟ และพลังงานสูงขึ้นไปอีก คงต้องกระทบผบประกอบการแน่นอน
คงต้องให้ความสนใจกับกิจการที่จะลงทุนเพิ่มขึ้นครับในช่วงนี้
Re: อันตรายไปไหมที่ค่าพลังงานสูงขึ้น แต่นิสัยการใช้ไม่เคยเป
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.พ. 15, 2004 9:21 pm
โดย ปรัชญา
hot เขียน:ในอดีตที่ผ่านมา การที่พลังงานมีค่าสูงขึ้น
หรือแพงขึ้น ผู้ใช้จะรู้สักประหยัดใช้พลังงานให้คุ้มค่ามากที่สุด
แต่ในปัจจุบันไม่รู้ว่าผมคิดไปเองไหม
การใช้กับฟุ่ยเฟือยมากขึ้น และมีการสูญเสียมากกว่าแต่ก่อนอีก
ทำไมเป็นแบบนี้
ยุครัฐบาลทุนนิยมครับ
ขายหุ้นรัฐวิสาหกิจถูกๆ (เป็นเกมส์ตั้งตัวของรัฐมนโท)
พวกรายย่อยนี่ น้ำจิ้ม ได้หุ้นจองคนละพัน2พัน
รัฐมนโทบวกเครือญาติอัดกันไปเป้นล้านๆ
ดูการจัดสรรหุ้นptt ก็แล้วกัน
นามสกุลอักษร จXXXXXX นำหน้าฟาดไปกี่ล้านหุ้น
ลองตรวจดู แล้ว ปปง กลต พวกนี้ไม่เคยคิดเลยหรือไง
นี่คือ........
เกมส์ฟอกหุ้นให้เป็นเงิน
อันตรายไปไหมที่ค่าพลังงานสูงขึ้น แต่นิสัยการใช้ไม่เคยเปลี่ย
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.พ. 17, 2004 9:52 am
โดย ayethebing
อีกหนึ่งสาเหตุครับที่ทำให้พลังงานบริโภคแพงขึ้น
กรุงเทพธุรกิจ
กฟผ.รับประเมินแผนลงทุนพลาด 4.6 หมื่นล้าน
ดันต้นทุนแฝงค่าเอฟที 4 ส.ต.
กฟผ.รับประเมินแผนลงทุนผิดพลาดกว่า 4.6 หมื่นล้านบาท เป็นต้นทุนแฝงในค่าเอฟที 4 ส.ต.ต่อหน่วย พรหมินทร์ ชี้สัญญาซื้อขายก๊าซเสียเปรียบ เรียกร้องความเสียหายจากผู้ผลิตไม่ได้ แม้ส่งมอบล่าช้า
น.พ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ยอมรับว่าการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (เอฟที) ช่วงเดือน ก.พ.-พ.ค. นี้ อีก 12.6 สตางค์ต่อหน่วย จาก 2.51 บาทต่อหน่วย เป็น 2.63 บาทต่อหน่วย เนื่องจากการไฟฟ้าผฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)ประเมินแผนการลงทุนผิดพลาด ทำให้ต้นทุนผลิตไฟฟ้าทั้งค่าเชื้อเพลิงและค่าพร้อมจ่ายการซื้อขายก๊าซเพิ่มขึ้น
โดย กฟผ. ชี้แจงว่า ประมาณการเดิมปี 2546 จะมีค่าเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าทั้งสิ้น 100,876 ล้านบาท แต่มีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง 128,935 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 28,059 ล้านบาท ขณะที่ค่าพร้อมจ่ายประมาณการว่าจะมี 19,417 ล้านบาท แต่เกิดขึ้นจริง 38,171 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18,754 ล้านบาท เมื่อรวมค่าใช้จ่ายที่คำนวณผิดผลาดรวมทั้งสิ้น 46,813 ล้านบาท โดยต้นทุนที่เพิ่มขึ้นทั้งหมดนำมารวมไว้ในค่าเอฟทีที่เพิ่มขึ้น 4 ส.ต.ต่อหน่วย
สำหรับต้นทุนที่ประมาณการผิดพลาดนั้น เนื่องจากแหล่งก๊าซเยตะกุนในพม่าไม่สามารถส่งมอบก๊าซได้ตามสัญญา เพราะต้องหยุดการผลิต เพื่อขยายกำลังการผลิตช่วง ส.ค.2546-มี.ค.2547 เพิ่มขึ้นจาก 260 ล้านลูกบาศก์ฟุต เป็น 400 ลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ซึ่งระหว่างที่ไม่สามารถส่งมอบก๊าซได้ กฟผ. ต้องจ่ายค่าพร้อมจ่ายล่วงหน้าให้ผู้ผลิตตามสัญญาไปก่อน แม้ไม่ได้ผิดสัญญา
น.พ.พรหมินทร์ ยังระบุว่า สัญญาซื้อขายก๊าซระหว่างผู้ผลิตกับผู้ซื้อ หากมีเหตุสุดวิสัยเกิดขึ้นจนไม่สามารถส่งมอบก๊าซได้ตามสัญญา ผู้ซื้อจะไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ผลิตได้ แม้ว่าผู้ซื้อจะมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นก็ไม่สามารถผลักภาระให้ผู้ผลิตได้ แต่รัฐบาลจะดูแลส่วนนี้ให้ดีที่สุด และพยายามไม่ให้ค่าไฟฟ้าปรับเพิ่มขึ้นมากเกินไป
"หากช่วงใดที่ค่าไฟสูงเกินเหตุ รัฐบาลจะพยายามไม่ให้เพิ่มเกิน 10% ต่อปี เพราะปกติโครงสร้างค่าไฟฟ้าจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือค่าเชื้อเพลิง 50% และค่าใช้จ่ายการลงทุนอีก 50% โดยค่าเอฟทีที่ขึ้นอีก 12.16 ส.ต.ครั้งนี้ ไม่เกี่ยวกับการแปรรูป กฟผ." รมว.พลังงานย้ำ
ทั้งนี้ กฟผ. มีค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิงที่หันมาใช้น้ำมันเตาผลิตไฟฟ้าแทนก๊าซเพิ่มขึ้น 1.10 บาทต่อหน่วย ค่าน้ำมัน 2.20 บาทต่อหน่วย จากปีที่ผ่านมาใช้น้ำมันเตา 500 ล้านลิตร ปีนี้คาดว่าจะเพิ่มเป็น1,000 ล้านลิตร และเพิ่มเป็น 4,000 ล้านลิตร ในปี 2548 คาดว่าค่าไฟฟ้าตั้งแต่ปีนี้ถึงปี 2549 จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามต้นทุนสูงขึ้น จึงอนุมัติให้เพิ่มค่าเอฟที
อย่างไรก็ตามรัฐบาลกำลังพิจารณาให้ กฟผ. สร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเพิ่มและหาพลังงานอื่นมาทดแทนก๊าซมากขึ้น รวมถึงใช้กลไกการเงินมาลดต้นทุน โดยอาจจะนำกำไรที่ได้จากการแปรรูป กฟผ. มาตั้งเป็นกองทุนเพื่อชดเชยค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะต้องหารือกับกระทรวงการคลังอีกครั้งว่าสามารถทำได้หรือไม่
ด้านนายบรรพต แสงเขียว ผู้ช่วยผู้ว่าการนโยบายและแผน กฟผ. กล่าวว่า โครงการโรงไฟฟ้าสงขลา เดิมมีแผนสร้างที่ อ.จะนะ เงินลงทุน 15,000 ล้านบาท กำหนดเสร็จปี 2550 แต่หากต้องการลดต้นทุนต้องก่อสร้างให้เสร็จปี 2549 จะช่วยประหยัดต้นทุนได้ 5,000 ล้านบาท คิดเป็นค่าไฟฟ้า 5 สตางค์ต่อหน่วย
ประชาขนตาดำๆ รับเคราะห์ไปจากความผิดพลาดของกฟผ. อย่างนี้อะไรเป็นแรงจูงใจให้กฟผ. ผลิตไฟฟ้าให้ได้ต้นทุนต่ำที่สุดกันครับ