ข้อคิดก่อนประกาศผลประกอบการ
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ส.ค. 10, 2007 9:00 am
บทความดีๆจากพี่มนครับ เผื่อใครไม่ได้เข้ามาอ่านที่หน้าแรก
ข้อคิดก่อนประกาศผลประกอบการ
Value Way
มนตรี นิพิฐวิทยา 10 สิงหาคม 2550
หลายวันที่ผ่านมานี้ตลาดหุ้นเกิดอาการหมดแรง ต่างชาติเกิดกลับลำมาขายต่อเนื่องอย่างไม่สนใจว่าตลาดหุ้นจะขึ้นหรือลง แต่ที่เห็นกันชัดๆคือ ต่างชาติเคยไล่ซื้อหุ้นกลุ่มไหน บริษัทไหน เวลาขายก็ไล่ขายกลุ่มนั้นบริษัทนั้นเช่นกัน จนทำให้ผมสังเกตเห็นชัดๆเลยว่าการขึ้นของตลาดหุ้นครั้งนี้เกิดจากการไหลของเงินทุนจากต่างประเทศ และเลือกที่จะซื้อหุ้นเฉพาะบริษัทเฉพาะกลุ่มจริงๆ ไม่ได้เข้าซื้อหุ้นทั้งตลาดอย่างที่เคยเป็นมา
สิ่งที่ผมเห็นอีกเหมือนกันคือ เห็นการขึ้นลงของหุ้นบางบริษัทที่มีปัจจัยพื้นฐานดีที่ขึ้นแล้วไม่ค่อยลง หรือขึ้นก็ขึ้นเลย ตลาดลงหุ้นนี้ก็ยังเฉยๆ จนอาจจะสรุปได้ว่าหุ้นขึ้นลงในช่วงที่ผ่านมานี้เกิดจากกระแสเงิน และผลประกอบการของบางบริษัท บางบริษัทที่นักลงทุนหลายๆคนคาดการไว้ว่าจะแสดงผลประกอบการที่โดดเด่นออกมานั้นราคาอาจจะปรับตัวสูงขึ้นเพื่อมารอรับข่าวก่อนหน้าแล้ว แต่พอผลประกอบการออกมาตามที่คาดไว้ราคาก็กลับลง ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่านักลงทุนที่เข้าซื้อหุ้นนั้นๆไว้ก็แค่เพียงเพื่อเก็งราคาหุ้นตามความคาดหมายที่กำลังจะออกมากันเป็นส่วนใหญ่
ผมเองเคยกล่าวไว้เสมอว่า การแสดงกำไรของบริษัทนั้นสามารถทำให้ออกมามากหรือน้อยก็ได้ตามแต่ที่ผู้บริหารอยากจะให้แสดงออกมาผ่านทางบัญชี ทั้งนี้มาตรฐานการบัญชีนั้นเปิดทางให้สามารถตั้งสำรองต่างๆได้แต่ต้องทำภายใต้ข้อกำหนดของมาตรฐาน และมีการเปิดเผยข้อมูลให้ชัดเจน แต่ปัญหาก็คือ จะมีสักกี่คนที่สนใจจะอ่านจะดูให้ละเอียด หลายคนอาศัยฟังคนอื่น อาศัยดูจากสื่อสาธารณะอื่นๆแล้วก็ซื้อเลย ที่เหลือวัดดวงเอา เรื่องนี้ขอย้ำอีกครั้งว่าอันตรายเป็นที่สุด เพราะใครมีข้อมูลมากกว่า(ในที่นี้หมายถึงใครหาและวิเคราะห์ข้อมูลได้มากกว่า)จะเป็นผู้ได้เปรียบและกำหนดกลยุทธ์เอาไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ถ้าเราเข้าไปโดยไม่มีอาวุธเลยก็เป็นที่แน่นอนว่า เสร็จเขาแน่ๆ เหมือนอย่างที่เคยกล่าวไว้ว่า “อย่าเล่นในเกมส์ที่เราเสียเปรียบ” หลีกเลี่ยงเสียจะดีกว่า
อีกประการหนึ่งที่อยากจะฝากเอาไว้ก็คือ คำว่า”เนื้อหาสำคัญกว่ารูปแบบ” และคำนี้เน้นหนักมากเมื่อเราเอาไว้ใช้ดูงบการเงิน หรือวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันของกิจการ
ในงบการเงินนั้นเวลาบริษัทเสนอรายงานทางการเงินตามงวดเวลา บริษัทจะมีรูปแบบการนำเสนอ เช่นแสดงกำไรจากการทำมาค้าขายปกติของบริษัท และอาจมีการแสดงกำไรจากการสินทรัพย์ สุดท้ายรวมกันเป็นกำไรนั่นเอง แต่รูปแบบของมันคือ ส่วนหนึ่งมาจากการดำเนินธุรกิจปกติ เช่นขายสินค้าหรือให้บริการซึ่งเป็นส่วนที่มีต่อเนื่องและเป็นหลักของกิจการ และส่วนที่ได้มาจากการขายสินทรัพย์ที่ซึ่งอาจจะไม่ได้มีการขายอย่างต่อเนื่อง แต่ถ้ามีจะทำให้เกิดกำไรที่ดูแล้วเติบโตจนน่าประหลาดใจ หรือแม้กระทั้งพยายามจะแสดงกำไรผ่านงบการเงินในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง แต่สุดท้ายก็เป็นเนื้อหาเดียวกัน เพียงอยากจะแสดงให้มันโดดเด่นขึ้นมา แน่นอนเป็นการหวังผลแน่ๆ
สิ่งที่อยากจะเอากลับมาเน้นย้ำกันอีกครั้งคือ กำไรที่แสดงออกทางงบกำไรขาดทุนนั้นเป็นกำไรทางบัญชี กำไรทางบัญชีนั้นไม่จำเป็นจะต้องเป็นกำไรที่เป็นเงินสด หลายคนอาจจะบอกว่าไม่เป็นไร มันก็กำไรเหมือนกัน แต่ผมจะบอกว่าถ้ามีแต่ตัวเลขกำไร แต่ไม่มีเงินสดใครจะทำมาค้าขายด้วยครับ ธนาคารไหนจะกล้าปล่อยกู้ ผู้ขายวัตถุดิบรายไหนกล้าขายของให้ ลูกค้าจะมั่นใจได้อย่างไรว่าจะมีของขายให้เขาได้ต่อเนื่อง
ที่ต้องมาย้ำกันอีกก็เพราะช่วงนี้เป็นช่วงประกาศผลประกอบการไตรมาสสอง หรือครึ่งปี ครึ่งทางสำหรับทุกบริษัทแล้วครับ เราในฐานะนักลงทุนควรทำการตรวจสอบผลงานของกิจการที่ตนเองได้ลงทุนไว้ และอาจจะตรวจสอบบริษัทที่หมายตาเอาไว้ได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง และระมัดระวังมากขึ้นครับ
ข้อคิดก่อนประกาศผลประกอบการ
Value Way
มนตรี นิพิฐวิทยา 10 สิงหาคม 2550
หลายวันที่ผ่านมานี้ตลาดหุ้นเกิดอาการหมดแรง ต่างชาติเกิดกลับลำมาขายต่อเนื่องอย่างไม่สนใจว่าตลาดหุ้นจะขึ้นหรือลง แต่ที่เห็นกันชัดๆคือ ต่างชาติเคยไล่ซื้อหุ้นกลุ่มไหน บริษัทไหน เวลาขายก็ไล่ขายกลุ่มนั้นบริษัทนั้นเช่นกัน จนทำให้ผมสังเกตเห็นชัดๆเลยว่าการขึ้นของตลาดหุ้นครั้งนี้เกิดจากการไหลของเงินทุนจากต่างประเทศ และเลือกที่จะซื้อหุ้นเฉพาะบริษัทเฉพาะกลุ่มจริงๆ ไม่ได้เข้าซื้อหุ้นทั้งตลาดอย่างที่เคยเป็นมา
สิ่งที่ผมเห็นอีกเหมือนกันคือ เห็นการขึ้นลงของหุ้นบางบริษัทที่มีปัจจัยพื้นฐานดีที่ขึ้นแล้วไม่ค่อยลง หรือขึ้นก็ขึ้นเลย ตลาดลงหุ้นนี้ก็ยังเฉยๆ จนอาจจะสรุปได้ว่าหุ้นขึ้นลงในช่วงที่ผ่านมานี้เกิดจากกระแสเงิน และผลประกอบการของบางบริษัท บางบริษัทที่นักลงทุนหลายๆคนคาดการไว้ว่าจะแสดงผลประกอบการที่โดดเด่นออกมานั้นราคาอาจจะปรับตัวสูงขึ้นเพื่อมารอรับข่าวก่อนหน้าแล้ว แต่พอผลประกอบการออกมาตามที่คาดไว้ราคาก็กลับลง ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่านักลงทุนที่เข้าซื้อหุ้นนั้นๆไว้ก็แค่เพียงเพื่อเก็งราคาหุ้นตามความคาดหมายที่กำลังจะออกมากันเป็นส่วนใหญ่
ผมเองเคยกล่าวไว้เสมอว่า การแสดงกำไรของบริษัทนั้นสามารถทำให้ออกมามากหรือน้อยก็ได้ตามแต่ที่ผู้บริหารอยากจะให้แสดงออกมาผ่านทางบัญชี ทั้งนี้มาตรฐานการบัญชีนั้นเปิดทางให้สามารถตั้งสำรองต่างๆได้แต่ต้องทำภายใต้ข้อกำหนดของมาตรฐาน และมีการเปิดเผยข้อมูลให้ชัดเจน แต่ปัญหาก็คือ จะมีสักกี่คนที่สนใจจะอ่านจะดูให้ละเอียด หลายคนอาศัยฟังคนอื่น อาศัยดูจากสื่อสาธารณะอื่นๆแล้วก็ซื้อเลย ที่เหลือวัดดวงเอา เรื่องนี้ขอย้ำอีกครั้งว่าอันตรายเป็นที่สุด เพราะใครมีข้อมูลมากกว่า(ในที่นี้หมายถึงใครหาและวิเคราะห์ข้อมูลได้มากกว่า)จะเป็นผู้ได้เปรียบและกำหนดกลยุทธ์เอาไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ถ้าเราเข้าไปโดยไม่มีอาวุธเลยก็เป็นที่แน่นอนว่า เสร็จเขาแน่ๆ เหมือนอย่างที่เคยกล่าวไว้ว่า “อย่าเล่นในเกมส์ที่เราเสียเปรียบ” หลีกเลี่ยงเสียจะดีกว่า
อีกประการหนึ่งที่อยากจะฝากเอาไว้ก็คือ คำว่า”เนื้อหาสำคัญกว่ารูปแบบ” และคำนี้เน้นหนักมากเมื่อเราเอาไว้ใช้ดูงบการเงิน หรือวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันของกิจการ
ในงบการเงินนั้นเวลาบริษัทเสนอรายงานทางการเงินตามงวดเวลา บริษัทจะมีรูปแบบการนำเสนอ เช่นแสดงกำไรจากการทำมาค้าขายปกติของบริษัท และอาจมีการแสดงกำไรจากการสินทรัพย์ สุดท้ายรวมกันเป็นกำไรนั่นเอง แต่รูปแบบของมันคือ ส่วนหนึ่งมาจากการดำเนินธุรกิจปกติ เช่นขายสินค้าหรือให้บริการซึ่งเป็นส่วนที่มีต่อเนื่องและเป็นหลักของกิจการ และส่วนที่ได้มาจากการขายสินทรัพย์ที่ซึ่งอาจจะไม่ได้มีการขายอย่างต่อเนื่อง แต่ถ้ามีจะทำให้เกิดกำไรที่ดูแล้วเติบโตจนน่าประหลาดใจ หรือแม้กระทั้งพยายามจะแสดงกำไรผ่านงบการเงินในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง แต่สุดท้ายก็เป็นเนื้อหาเดียวกัน เพียงอยากจะแสดงให้มันโดดเด่นขึ้นมา แน่นอนเป็นการหวังผลแน่ๆ
สิ่งที่อยากจะเอากลับมาเน้นย้ำกันอีกครั้งคือ กำไรที่แสดงออกทางงบกำไรขาดทุนนั้นเป็นกำไรทางบัญชี กำไรทางบัญชีนั้นไม่จำเป็นจะต้องเป็นกำไรที่เป็นเงินสด หลายคนอาจจะบอกว่าไม่เป็นไร มันก็กำไรเหมือนกัน แต่ผมจะบอกว่าถ้ามีแต่ตัวเลขกำไร แต่ไม่มีเงินสดใครจะทำมาค้าขายด้วยครับ ธนาคารไหนจะกล้าปล่อยกู้ ผู้ขายวัตถุดิบรายไหนกล้าขายของให้ ลูกค้าจะมั่นใจได้อย่างไรว่าจะมีของขายให้เขาได้ต่อเนื่อง
ที่ต้องมาย้ำกันอีกก็เพราะช่วงนี้เป็นช่วงประกาศผลประกอบการไตรมาสสอง หรือครึ่งปี ครึ่งทางสำหรับทุกบริษัทแล้วครับ เราในฐานะนักลงทุนควรทำการตรวจสอบผลงานของกิจการที่ตนเองได้ลงทุนไว้ และอาจจะตรวจสอบบริษัทที่หมายตาเอาไว้ได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง และระมัดระวังมากขึ้นครับ