ผลกระทบจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ส.ค. 05, 2007 12:35 am
ผลกระทบจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน
โดย ไกร โพธิ์งาม รองศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
มติชนรายวัน วันที่ 02 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10736
ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงที่สุดในโลก คาดว่าในปี ค.ศ.2020-2025 เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มที่จะแซงหน้าสหรัฐอเมริกา
แต่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนก่อให้เกิดผลกระทบหลายอย่าง เช่น ผลกระทบต่อความต้องการสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้น
ผลกระทบต่อการกระจายรายได้
ผลกระทบต่อการเก็งกำไรในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ผลกระทบต่อระดับการศึกษาของประชาชน
และผลกระทบต่อสภาวะโลกร้อน
ความต้องการสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้น
ประเทศใดก็ตามที่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มสูงขึ้นจะทำให้ความต้องการบริโภคสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น ทั้งความต้องการสินค้าที่ผลิตขึ้นเองภายในประเทศ และความต้องการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ เมื่อความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น จะทำให้ราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นทำให้ผู้ผลิตต้องการเพิ่มปริมาณการผลิตใหัมากขึ้น
แต่เมื่อปริมาณการผลิตมากเกินไปจะทำให้ราคาสินค้าลดต่ำลงเป็นวัฏจักร ดังเช่น ปัญหาที่เกิดกับราคาเนื้อหมูในประเทศจีน ขณะนี้ (ปี ค.ศ.2007) ราคาเนื้อหมูในประเทศจีนสูงขึ้นจากปีที่แล้ว 50% เนื้อหมูเป็นอาหารหลักของชาวจีน ประเทศจีนบริโภคหมูมากกว่าประเทศอื่นๆ ยกเว้นประเทศเยอรมนี
การที่ราคาเนื้อหมูแพงขึ้น ทำให้อัตราเงินเฟ้อของประเทศจีนสูงขึ้น เดือนพฤษภาคมปี ค.ศ.2007 อัตราเงินเฟ้อของจีน เท่ากับ 3.4% ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อเดือนเมษายนปีเดียวกันเท่ากับ 3%
สาเหตุที่ราคาเนื้อหมูสูงขึ้น เนื่องจาก โรคติดเชื้อชนิดหนึ่งได้คร่าชีวิตสุกร เป็นจำนวนถึง 20 ล้านตัว
อีกสาเหตุหนึ่งก็คือต้นทุนในการเลี้ยงสุกรสูงขึ้น นักเศรษฐศาสตร์ได้วิเคราะห์เรื่องนี้และให้เหตุผลว่าเป็นเรื่องของ "hog cycle" เนื่องจากในปี ค.ศ.2004 ราคาเนื้อหมูสูงมาก ทำให้ชาวจีนเลี้ยงสุกรมากขึ้น ทำให้ราคาเนื้อหมูลดลงในปี ค.ศ.2005 พอราคาเนื้อหมูลดลง ผู้เลี้ยงสุกรจึงลดจำนวนสุกรให้น้อยลงเป็นสาเหตุที่ทำให้ราคาเนื้อหมูปี ค.ศ.2007 สูงขึ้นอีกเป็นวัฏจักร (The Economist June 9th 2007 page 30)
พิจารณาจากสถานการณ์ในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มที่จะแซงหน้าสหรัฐ ภายในปี ค.ศ.2020-2025 เนื่องจากในขณะนี้ (ปี ค.ศ.2007) ประชากรจีนมีเป็นจำนวน 1,300 ล้านคน ในขณะที่สหรัฐอเมริกามีประชากรเพียง 300 ล้านคน
และถ้าประชากรจีนมีผู้ที่มีรายได้สูงอยู่เพียงร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ จีนจะมีขนาดผู้บริโภคกำลังซื้อสูงเทียบเท่าชาวอเมริกันในปัจจุบัน
การขยายตัวทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม เจ้าของกิจการของจีนจะสร้างความมั่งคั่งให้แก่จีน และผลักดันให้จีนกลายเป็นตลาดบริหารจัดการความมั่งคั่งที่ใหญ่ที่สุดของเอเชียนอกจากญี่ปุ่นภายใน 10 ปี หรือเร็วกว่านั้น
จากรายงานของเมอร์ริลลินช์ เมื่อปี ค.ศ.2006 คาดการณ์ว่าแผ่นดินใหญ่มีกลุ่มของผู้ที่มีรายได้สูงที่มีทรัพย์สินไม่ต่ำกว่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐ จำนวน 320,000 คน มีสินทรัพย์โดยรวมสูงถึง 1.59 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
ผลกระทบต่อการกระจายรายได้ของจีน
ประเทศจีนมีโรงงานผลิตสินค้าเป็นจำนวนมาก นับจากนี้ไปอีก 20 ปี 213 ล้านครัวเรือนของจีนจะมีรายได้สูงมาก
นอกจากนี้ ประชากรจีนจำนวน 100 ล้านคนจะหลุดพ้นจากความยากจน ในปี ค.ศ.1985 99% ของประชากรที่อาศัยอยู่ในตัวเมืองที่มีรายได้ต่ำกว่า 3 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อวัน แต่ในปี ค.ศ.2005 ประชากรจีนที่ยากจนเหล่านี้ลดลงเหลือเพียง 57%
เป็นที่คาดการณ์ว่าอีก 20 ปีข้างหน้า รายได้ของคนจีนจะเพิ่มขึ้น 8 เท่าของรายได้ในปัจจุบัน (ปี ค.ศ.2007) จะทำให้จำนวนคนยากจนในจีนลดลงเหลือเพียง 16% ของประชากรทั้งหมด
และจีนจะกลายเป็นประเทศที่มีมูลค่าการบริโภคสูงเป็นอันดับสามของโลกรองจากญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา (Newsweek May 28,2007 page 36)
ผลกระทบต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์และตลาดทุน
ตั้งแต่ปี ค.ศ.2000 เป็นต้นมา ประชาชนที่มีฐานะทางการเงินดีในเมืองใหญ่ๆ เช่น เซี่ยงไฮ้ ทำการลงทุนซื้อที่อยู่อาศัย เช่น ห้องชุดหรือบ้าน เพื่อการเก็งกำไร
ทางการจีนทราบเรื่องนี้ดี ได้พยายามทำทุกวิถีทางที่จะขจัดการเก็งกำไรในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ
นักวิชาการของจีนได้ให้ข้อเสนอแนะให้ประชาชนจีนลงทุนในตลาดทุน แต่เนื่องจากเศรษฐกิจจีนขยายตัวเร็วเกินไป ทำให้ราคาหุ้นเพิ่มสูงขึ้นมาก ในขณะเดียวกันประชาชนจีนไม่นิยมฝากเงินไว้กับธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากได้ผลตอบแทนเพียง 3% ต่อปีเท่านั้น ไม่แตกต่างจากอัตราเงินเฟ้อมากนัก
ทางการจีนจึงพยายามที่จะดึงดูดใจประชาชนให้ฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์ โดยวิธีการให้ธนาคารกลางของจีนเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก และเพิ่มอัตราเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ เพื่อลดการปล่อยกู้ให้กับประชาชน
เนื่องจากธนาคารกลางจีนตระหนักดีว่า การปล่อยเงินกู้ให้กับประชาชน เพิ่มขึ้นจะทำให้ GDP เพิ่มสูงขึ้นในอัตราที่สูงเกินไป จะทำให้เกิดเศรษฐกิจฟองสบู่ (bubble economy) ซึ่งทางการจีนให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก
ผลกระทบต่อระดับการศึกษาของประชาชน
จากการที่มูลค่าผลิตภัณฑ์รวมภายในประเทศของจีนอยู่ในระดับสูง รัฐบาลจีนจึงต้องการพัฒนาระดับการศึกษา ของประชาชนทุกเพศ เนื่องจากเพศหญิงได้รับการศึกษาน้อย สำหรับเพศชายโอกาสที่จะได้รับการศึกษามีมากกว่าเพศหญิง
หญิงจีนบางคนอายุใกล้จะ 40 ปี แต่ไม่เคยไปโรงเรียน ได้แต่ทำงานในไร่นา
ปี ค.ศ.1986 รัฐบาลรับประกันที่จะให้การศึกษาฟรี แก่นักเรียนตลอด 9 ปี แต่นโยบายนี้ไม่ได้รับการตอบสนอง โดยเฉพาะในชนบทโรงเรียนหลายแห่ง ยังเก็บเงินค่าเล่าเรียน และค่าอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียน
ในชนบทบางแห่งมารดาซึ่งเป็นโรคขาดอาหาร ต้องขายเลือดของตัวเองเพื่อให้ลูกได้เรียนหนังสือ
ทางการจีนได้สอบถามมารดาของเด็กนักเรียน ว่าทางการให้เด็กได้เรียนหนังสือโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ทำไมจึงต้องไปขายเลือด หญิงผู้นั้นอธิบายสาเหตุที่ต้องขายเลือด เนื่องจากต้องการนำเงินไปซื้อหนังสือให้ลูก (Newsweek June 18,2007 Page 28)
ชาวนาที่ยากจนบางราย เมื่อย้ายถิ่นฐานจากชนบท เข้ามาอยู่ในตัวเมือง จะมีปัญหาในการส่งลูกไปเข้าโรงเรียนของรัฐ เนื่องจากทางโรงเรียนไม่รับเด็กที่ย้ายมาจากที่อื่น หรือถ้ารับเข้าเรียน เด็กนักเรียนต้องเสียค่าธรรมเนียมในอัตราสูง
ดังนั้นในปี ค.ศ.2000 รัฐบาลจีนจึงประกาศว่าจะขจัดความไม่รู้หนังสือของประชาชนให้หมดไป และจะให้การศึกษาฟรี แก่ประชาชนตลอด 9 ปี ซึ่งเป็นการศึกษาขั้นบังคับ
ปี ค.ศ.2002 ได้มีการสำรวจและพบว่า ประชาชนที่ไม่รู้หนังสือลดลงจาก 22.3% ในปี ค.ศ.1992 เหลือเพียง 8.7% เท่านั้น (Newsweek June 18,2007 Page 28)
ผลกระทบต่อสภาวะโลกร้อน
ประเทศจีนเป็นประเทศที่อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในโลกเป็นที่คาดหมายกันว่าประมาณ ปี ค.ศ.2009 หรือ 2010 ประเทศจีนจะเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก อาทิ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุด นำมาซึ่งปัญหาโลกร้อน
และภายใน 25 ปีนี้ ก๊าซเรือนกระจกจากประเทศจีนจะมีปริมาณเป็นสองเท่าของปริมาณก๊าซเรือนกระจก ของบรรดาประเทศที่ร่ำรวยทั้งหลายรวมกัน ถ้าประเทศจีนไม่หาทางจำกัดปริมาณก๊าซเรือนกระจก เสียตั้งแต่วันนี้
การหารือกันระหว่างประธานาธิบดี Hu Jintao ของจีน กับประธานาธิบดี George W. Bush และผู้นำประเทศต่างๆ ในกลุ่ม G8 ที่ประเทศเยอรมัน โดยที่ประธานาธิบดี Bush วิพากษ์วิจารณ์ถึงการที่ประเทศต่างๆ ไม่ได้ให้ความสำคัญอย่างจริงจังกับปัญหาโลกร้อน
โดยประธานาธิบดี Bush ให้ความเห็นว่า ประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในปริมาณมากมีทั้งหมด 15 ประเทศ ประเทศเหล่านี้ควรจะมีการวางแผนที่ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกให้ได้ภายใน 10 ถึง 20 ปีนี้ ก่อนที่สภาวะโลกร้อนจะวิกฤตมากไปกว่านี้ (International Herald Tribune newspapers June 5,2007 page 1,8)
นานาประเทศต้องการให้จีนลดการปล่อยมลภาวะ ซึ่งเป็นสาเหตุของการทำให้โลกร้อน แต่ทางการจีนกลับชี้แจงว่าประเทศที่ปล่อยมลภาวะมากที่สุดคือ สหรัฐอเมริกา โดยจีนเสนอให้คิดปริมาณมลภาวะเฉลี่ยต่อประชากร 1 คน
Mr.Ma Kai รัฐมนตรี ที่รับผิดชอบเรื่องนี้แจงว่า ภายในปี ค.ศ.2010 การผลิตกระแสไฟฟ้าของจีน จะใช้พลังงานน้ำเป็นส่วนใหญ่ และรัฐบาลจีนกำลังสร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์อีก 4 แห่ง ซึ่งจะช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก
นอกจากนี้ จีนสามารถประหยัดการใช้น้ำมันได้มากกว่าสหรัฐอเมริกา เช่น รถยนต์ในประเทศจีน ใช้น้ำมัน 6.9 ลิตรสำหรับระยะทาง 100 กิโลเมตร (34 miles ต่อ แกลลอน) ในขณะที่รถยนต์ในสหรัฐอเมริกา ใช้น้ำมัน 9.8 ลิตร ต่อระยะทาง 100 กิโลเมตร
และภายในปี ค.ศ.2008 รถยนต์ในประเทศจีนจะใช้น้ำมันเพียง 6.5 ลิตร ต่อระยะทาง 100 กิโลเมตร ซึ่งเป็นการประหยัดพลังงานได้มาก
นอกจากนี้ รัฐบาลจีนสามารถลดอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรได้ และโครงการอีกอย่างหนึ่งที่จีนทำคือ การปลูกป่า (reforestation) ป่าไม้ในประเทศจีนสามารถลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ถึง 5,000 ล้านตัน ตลอดระยะเวลา 25 ปีที่ผ่านมา (The Economist June 9th 2007 page 30,34)
โดย ไกร โพธิ์งาม รองศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
มติชนรายวัน วันที่ 02 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10736
ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงที่สุดในโลก คาดว่าในปี ค.ศ.2020-2025 เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มที่จะแซงหน้าสหรัฐอเมริกา
แต่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนก่อให้เกิดผลกระทบหลายอย่าง เช่น ผลกระทบต่อความต้องการสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้น
ผลกระทบต่อการกระจายรายได้
ผลกระทบต่อการเก็งกำไรในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ผลกระทบต่อระดับการศึกษาของประชาชน
และผลกระทบต่อสภาวะโลกร้อน
ความต้องการสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้น
ประเทศใดก็ตามที่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มสูงขึ้นจะทำให้ความต้องการบริโภคสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น ทั้งความต้องการสินค้าที่ผลิตขึ้นเองภายในประเทศ และความต้องการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ เมื่อความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น จะทำให้ราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นทำให้ผู้ผลิตต้องการเพิ่มปริมาณการผลิตใหัมากขึ้น
แต่เมื่อปริมาณการผลิตมากเกินไปจะทำให้ราคาสินค้าลดต่ำลงเป็นวัฏจักร ดังเช่น ปัญหาที่เกิดกับราคาเนื้อหมูในประเทศจีน ขณะนี้ (ปี ค.ศ.2007) ราคาเนื้อหมูในประเทศจีนสูงขึ้นจากปีที่แล้ว 50% เนื้อหมูเป็นอาหารหลักของชาวจีน ประเทศจีนบริโภคหมูมากกว่าประเทศอื่นๆ ยกเว้นประเทศเยอรมนี
การที่ราคาเนื้อหมูแพงขึ้น ทำให้อัตราเงินเฟ้อของประเทศจีนสูงขึ้น เดือนพฤษภาคมปี ค.ศ.2007 อัตราเงินเฟ้อของจีน เท่ากับ 3.4% ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อเดือนเมษายนปีเดียวกันเท่ากับ 3%
สาเหตุที่ราคาเนื้อหมูสูงขึ้น เนื่องจาก โรคติดเชื้อชนิดหนึ่งได้คร่าชีวิตสุกร เป็นจำนวนถึง 20 ล้านตัว
อีกสาเหตุหนึ่งก็คือต้นทุนในการเลี้ยงสุกรสูงขึ้น นักเศรษฐศาสตร์ได้วิเคราะห์เรื่องนี้และให้เหตุผลว่าเป็นเรื่องของ "hog cycle" เนื่องจากในปี ค.ศ.2004 ราคาเนื้อหมูสูงมาก ทำให้ชาวจีนเลี้ยงสุกรมากขึ้น ทำให้ราคาเนื้อหมูลดลงในปี ค.ศ.2005 พอราคาเนื้อหมูลดลง ผู้เลี้ยงสุกรจึงลดจำนวนสุกรให้น้อยลงเป็นสาเหตุที่ทำให้ราคาเนื้อหมูปี ค.ศ.2007 สูงขึ้นอีกเป็นวัฏจักร (The Economist June 9th 2007 page 30)
พิจารณาจากสถานการณ์ในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มที่จะแซงหน้าสหรัฐ ภายในปี ค.ศ.2020-2025 เนื่องจากในขณะนี้ (ปี ค.ศ.2007) ประชากรจีนมีเป็นจำนวน 1,300 ล้านคน ในขณะที่สหรัฐอเมริกามีประชากรเพียง 300 ล้านคน
และถ้าประชากรจีนมีผู้ที่มีรายได้สูงอยู่เพียงร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ จีนจะมีขนาดผู้บริโภคกำลังซื้อสูงเทียบเท่าชาวอเมริกันในปัจจุบัน
การขยายตัวทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม เจ้าของกิจการของจีนจะสร้างความมั่งคั่งให้แก่จีน และผลักดันให้จีนกลายเป็นตลาดบริหารจัดการความมั่งคั่งที่ใหญ่ที่สุดของเอเชียนอกจากญี่ปุ่นภายใน 10 ปี หรือเร็วกว่านั้น
จากรายงานของเมอร์ริลลินช์ เมื่อปี ค.ศ.2006 คาดการณ์ว่าแผ่นดินใหญ่มีกลุ่มของผู้ที่มีรายได้สูงที่มีทรัพย์สินไม่ต่ำกว่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐ จำนวน 320,000 คน มีสินทรัพย์โดยรวมสูงถึง 1.59 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
ผลกระทบต่อการกระจายรายได้ของจีน
ประเทศจีนมีโรงงานผลิตสินค้าเป็นจำนวนมาก นับจากนี้ไปอีก 20 ปี 213 ล้านครัวเรือนของจีนจะมีรายได้สูงมาก
นอกจากนี้ ประชากรจีนจำนวน 100 ล้านคนจะหลุดพ้นจากความยากจน ในปี ค.ศ.1985 99% ของประชากรที่อาศัยอยู่ในตัวเมืองที่มีรายได้ต่ำกว่า 3 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อวัน แต่ในปี ค.ศ.2005 ประชากรจีนที่ยากจนเหล่านี้ลดลงเหลือเพียง 57%
เป็นที่คาดการณ์ว่าอีก 20 ปีข้างหน้า รายได้ของคนจีนจะเพิ่มขึ้น 8 เท่าของรายได้ในปัจจุบัน (ปี ค.ศ.2007) จะทำให้จำนวนคนยากจนในจีนลดลงเหลือเพียง 16% ของประชากรทั้งหมด
และจีนจะกลายเป็นประเทศที่มีมูลค่าการบริโภคสูงเป็นอันดับสามของโลกรองจากญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา (Newsweek May 28,2007 page 36)
ผลกระทบต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์และตลาดทุน
ตั้งแต่ปี ค.ศ.2000 เป็นต้นมา ประชาชนที่มีฐานะทางการเงินดีในเมืองใหญ่ๆ เช่น เซี่ยงไฮ้ ทำการลงทุนซื้อที่อยู่อาศัย เช่น ห้องชุดหรือบ้าน เพื่อการเก็งกำไร
ทางการจีนทราบเรื่องนี้ดี ได้พยายามทำทุกวิถีทางที่จะขจัดการเก็งกำไรในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ
นักวิชาการของจีนได้ให้ข้อเสนอแนะให้ประชาชนจีนลงทุนในตลาดทุน แต่เนื่องจากเศรษฐกิจจีนขยายตัวเร็วเกินไป ทำให้ราคาหุ้นเพิ่มสูงขึ้นมาก ในขณะเดียวกันประชาชนจีนไม่นิยมฝากเงินไว้กับธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากได้ผลตอบแทนเพียง 3% ต่อปีเท่านั้น ไม่แตกต่างจากอัตราเงินเฟ้อมากนัก
ทางการจีนจึงพยายามที่จะดึงดูดใจประชาชนให้ฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์ โดยวิธีการให้ธนาคารกลางของจีนเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก และเพิ่มอัตราเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ เพื่อลดการปล่อยกู้ให้กับประชาชน
เนื่องจากธนาคารกลางจีนตระหนักดีว่า การปล่อยเงินกู้ให้กับประชาชน เพิ่มขึ้นจะทำให้ GDP เพิ่มสูงขึ้นในอัตราที่สูงเกินไป จะทำให้เกิดเศรษฐกิจฟองสบู่ (bubble economy) ซึ่งทางการจีนให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก
ผลกระทบต่อระดับการศึกษาของประชาชน
จากการที่มูลค่าผลิตภัณฑ์รวมภายในประเทศของจีนอยู่ในระดับสูง รัฐบาลจีนจึงต้องการพัฒนาระดับการศึกษา ของประชาชนทุกเพศ เนื่องจากเพศหญิงได้รับการศึกษาน้อย สำหรับเพศชายโอกาสที่จะได้รับการศึกษามีมากกว่าเพศหญิง
หญิงจีนบางคนอายุใกล้จะ 40 ปี แต่ไม่เคยไปโรงเรียน ได้แต่ทำงานในไร่นา
ปี ค.ศ.1986 รัฐบาลรับประกันที่จะให้การศึกษาฟรี แก่นักเรียนตลอด 9 ปี แต่นโยบายนี้ไม่ได้รับการตอบสนอง โดยเฉพาะในชนบทโรงเรียนหลายแห่ง ยังเก็บเงินค่าเล่าเรียน และค่าอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียน
ในชนบทบางแห่งมารดาซึ่งเป็นโรคขาดอาหาร ต้องขายเลือดของตัวเองเพื่อให้ลูกได้เรียนหนังสือ
ทางการจีนได้สอบถามมารดาของเด็กนักเรียน ว่าทางการให้เด็กได้เรียนหนังสือโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ทำไมจึงต้องไปขายเลือด หญิงผู้นั้นอธิบายสาเหตุที่ต้องขายเลือด เนื่องจากต้องการนำเงินไปซื้อหนังสือให้ลูก (Newsweek June 18,2007 Page 28)
ชาวนาที่ยากจนบางราย เมื่อย้ายถิ่นฐานจากชนบท เข้ามาอยู่ในตัวเมือง จะมีปัญหาในการส่งลูกไปเข้าโรงเรียนของรัฐ เนื่องจากทางโรงเรียนไม่รับเด็กที่ย้ายมาจากที่อื่น หรือถ้ารับเข้าเรียน เด็กนักเรียนต้องเสียค่าธรรมเนียมในอัตราสูง
ดังนั้นในปี ค.ศ.2000 รัฐบาลจีนจึงประกาศว่าจะขจัดความไม่รู้หนังสือของประชาชนให้หมดไป และจะให้การศึกษาฟรี แก่ประชาชนตลอด 9 ปี ซึ่งเป็นการศึกษาขั้นบังคับ
ปี ค.ศ.2002 ได้มีการสำรวจและพบว่า ประชาชนที่ไม่รู้หนังสือลดลงจาก 22.3% ในปี ค.ศ.1992 เหลือเพียง 8.7% เท่านั้น (Newsweek June 18,2007 Page 28)
ผลกระทบต่อสภาวะโลกร้อน
ประเทศจีนเป็นประเทศที่อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในโลกเป็นที่คาดหมายกันว่าประมาณ ปี ค.ศ.2009 หรือ 2010 ประเทศจีนจะเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก อาทิ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุด นำมาซึ่งปัญหาโลกร้อน
และภายใน 25 ปีนี้ ก๊าซเรือนกระจกจากประเทศจีนจะมีปริมาณเป็นสองเท่าของปริมาณก๊าซเรือนกระจก ของบรรดาประเทศที่ร่ำรวยทั้งหลายรวมกัน ถ้าประเทศจีนไม่หาทางจำกัดปริมาณก๊าซเรือนกระจก เสียตั้งแต่วันนี้
การหารือกันระหว่างประธานาธิบดี Hu Jintao ของจีน กับประธานาธิบดี George W. Bush และผู้นำประเทศต่างๆ ในกลุ่ม G8 ที่ประเทศเยอรมัน โดยที่ประธานาธิบดี Bush วิพากษ์วิจารณ์ถึงการที่ประเทศต่างๆ ไม่ได้ให้ความสำคัญอย่างจริงจังกับปัญหาโลกร้อน
โดยประธานาธิบดี Bush ให้ความเห็นว่า ประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในปริมาณมากมีทั้งหมด 15 ประเทศ ประเทศเหล่านี้ควรจะมีการวางแผนที่ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกให้ได้ภายใน 10 ถึง 20 ปีนี้ ก่อนที่สภาวะโลกร้อนจะวิกฤตมากไปกว่านี้ (International Herald Tribune newspapers June 5,2007 page 1,8)
นานาประเทศต้องการให้จีนลดการปล่อยมลภาวะ ซึ่งเป็นสาเหตุของการทำให้โลกร้อน แต่ทางการจีนกลับชี้แจงว่าประเทศที่ปล่อยมลภาวะมากที่สุดคือ สหรัฐอเมริกา โดยจีนเสนอให้คิดปริมาณมลภาวะเฉลี่ยต่อประชากร 1 คน
Mr.Ma Kai รัฐมนตรี ที่รับผิดชอบเรื่องนี้แจงว่า ภายในปี ค.ศ.2010 การผลิตกระแสไฟฟ้าของจีน จะใช้พลังงานน้ำเป็นส่วนใหญ่ และรัฐบาลจีนกำลังสร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์อีก 4 แห่ง ซึ่งจะช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก
นอกจากนี้ จีนสามารถประหยัดการใช้น้ำมันได้มากกว่าสหรัฐอเมริกา เช่น รถยนต์ในประเทศจีน ใช้น้ำมัน 6.9 ลิตรสำหรับระยะทาง 100 กิโลเมตร (34 miles ต่อ แกลลอน) ในขณะที่รถยนต์ในสหรัฐอเมริกา ใช้น้ำมัน 9.8 ลิตร ต่อระยะทาง 100 กิโลเมตร
และภายในปี ค.ศ.2008 รถยนต์ในประเทศจีนจะใช้น้ำมันเพียง 6.5 ลิตร ต่อระยะทาง 100 กิโลเมตร ซึ่งเป็นการประหยัดพลังงานได้มาก
นอกจากนี้ รัฐบาลจีนสามารถลดอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรได้ และโครงการอีกอย่างหนึ่งที่จีนทำคือ การปลูกป่า (reforestation) ป่าไม้ในประเทศจีนสามารถลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ถึง 5,000 ล้านตัน ตลอดระยะเวลา 25 ปีที่ผ่านมา (The Economist June 9th 2007 page 30,34)