เริ่มต้นที่ตอนจบ
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ค. 24, 2007 10:06 pm
เริ่มต้นที่ตอนจบ
บทความ ของ วนิษา เรซ ผู้เชี่ยวชาญด้านอัจฉริยภาพ ปริญญาโท จากฮาร์วาร์ด
มีคนชอบถามหนูดีว่า จะใช้สมองอย่างไรถึงจะคุ้มค่า จะใช้ชีวิต ใช้เวลาอย่างไรถึงจะถือว่า
สมองของเราไม่ได้สูญเปล่า ด้วยความที่หนูดีเรียนมาด้านสมองและทำงานเป็นผู้เชี่ยวชาญ
ด้านอัจฉริยภาพ
จึงถูกถามในเรื่องนี้เป็นประจำ และก็เป็นคำถามที่ทำให้หนูดีสนุกมากที่จะตอบเสมอ
เพราะคำถามชนิดนี้ มีคำตอบได้มากมาย ไม่เคยตายตัว ใครตอบก็ไม่มีวันซ้ำกัน วันนี้ลองมาฟัง
นักวิจัย
ด้านสมองตอบคำถามนี้ดูกันเล่น ๆ ไหมคะ สมัยที่หนูดีเรียนอยู่ที่อเมริกา เคยถูกให้ทำแบบฝึกหัด
หนึ่งซึ่ง
เปลี่ยนแปลงชีวิตหนูดีไปตลอดกาลเลย คือเกม เริ่มต้นที่ตอนจบ โดยเกมนี้เล่นไม่ยาก แต่ใช้
เวลาพอสมควร หนูดี
เคยนำมาฝึกกับลูกศิษย์ของหนูดีบ่อย ๆ มีคนนั่งหลับตาไป ร้องไห้ไป มาหลายคนแล้ว เพราะเป็น
เกมที่ทำ
ให้เราได้ย้อนหลังกลับไปมองชีวิต ไม่ใช่แต่ต้นจนอวสาน แต่ว่ามองจากอวสาน มาตอนต้น ถ้า
พูดเปรียบเทียบ
เป็นภาษานักธุรกิจก็ต้องบอกว่า Begin with the end in mind. ก็คือ
การเริ่มต้นมาจากการมองเห็นภาพตอนจบ หรือสัมฤทธิผลของเรื่อง
เกมนี้เริ่มที่ หนูดีจะขอให้ผู้อ่าน ลองหาเวลาเงียบ ๆ อยู่กับตัวเองในตอนที่เราไม่มีเรื่องรีบร้อน
อันใดต้องไปทำ
แล้วให้นั่งลง หลับตาจินตนาการภาพตัวเรา ตอนอายุสักแปดสิบ โดยให้สมมติว่า เราจะต้อง
ตายตอนอายุสักแปดสิบ
และตอนนั้น เราเจ็บป่วยนอนอยู่บนเตียง หลังจากนั้น ให้เราลองจินตนาการ ย้อนกลับไปมองทั้งชีวิต
ของเราว่า
ที่ผ่านมา เราได้ใช้มันไปอย่างไรบ้าง เราใช้เวลาของเราทำอะไรไป เราวิ่งตามอะไร เราวุ่น
วายกับอะไร
เรารักใครเราไม่รักใคร ความสุข ความทุกข์ของเราเป็นผลจากอะไร แต่สองคำถามที่สำคัญที่
สุดก็คือ เราจะเสียดายที่สุด
หากเราตายไปโดยไม่ได้ทำอะไร .. เราจะเสียดายที่สุด หากเราไม่ได้ใช้เวลากับใคร หาก
เราตอบคำถามเหล่านี้ได้
อย่างกระจ่างชัด ก็จะมีเวลาบางช่วงที่เราจะไม่ใช้ไปอย่างที่เราใช้อยู่ จะมีกิจการบางกิจการ ที่
เราไม่เลือกจะก่อตั้ง
มีเพื่อนบางคนที่เราอาจจะเลิกคบ มีเงินบางก้อนที่เราจะปฏิเสธไม่รับสารพัดของสิ่งที่จะเกิดขึ้น
ถ้าเรามีเวลาถอยออกมา
จากชีวิต แล้วย้อนกลับไปมองเหมือนกับว่า เรากำลังดูหนังวิดิโอชีวิตของคนอื่นอยู่ แล้วก็วิจารณ์ว่าเขา
คนนั้นตอนยังมีชีวิตอยู่ น่าจะทำอะไรที่ควรทำ ทั้งหมดนี้ เป็นเทคนิคที่ง่ายดายและลึกซึ้ง เมื่อหนู
ดีลองทำแล้ว
เป็นประโยชน์อย่างยิ่งถึงขั้นหนูดีเปลี่ยนอาชีพ เปลี่ยนชีวิต เพราะจากที่เคยคิดอย่างเด็กอายุยี่สิบ
หนูดีกระโดดข้ามไปคิดแบบแปดสิบได้ ตอนนี้เลยเหมือนย้อนกลับมาใช้ชีวิตรอบสอง โดยอายุยังไม่ครบ
สาม
สิบเลยเหมือนมีสองชีวิตเลยค่ะ
เมื่อก่อนหนูดีเคยคิดว่า ความสำเร็จในชีวิตก็เหมือนกับการหาของใส่กล่องคนเก่งกว่าก็ใช้
เวลาเป็น ใช้ชีวิตคุ้ม ก็หาของมาใส่กล่องได้เร็วและมากกว่าคนอื่น แต่อีกปัจจัยที่ทำให้กล่องเต็มได้
ที่หนูดีไม่เคยคิดมาก่อนจะเล่นเกมนี้ก็คือ แค่เราเปลี่ยนขนาดกล่องให้เล็กลงซะมันก็เต็มได้โดยไม่ยาก
เย็นเลย ดังนั้น การใช้สมองให้เต็มที่ คุ้มค่า เพื่อให้ชีวิตมีสุขได้ครบด้านและง่ายดาย น่าจะอยู่ที่
ศักยภาพ
ในการถอยออกมาแล้วมองชีวิตจากมุมห่างออกไปอีกหน่อย มองย้อนกลับจากวันสุดท้ายของ
ชีวิตก็เป็นความท้าทายที่น่าสนุกอีกแบบหนึ่ง มันเปลี่ยนชีวิตหนูดีมาแล้ว ในทางที่ดีขึ้น
อย่างมหัศจรรย์ ด้วยคำถามง่ายๆ ไม่กี่คำถาม
แล้ววันนี้ ท่านผู้อ่านของหนูดีคิดว่า ชีวิตนี้ ไม่ได้ทำอะไรแล้วจะเสียดายที่สุดคะ และไม่ได้ใช้
เวลากับใครแล้วจะเสียดายที่สุดคะ
บทความ ของ วนิษา เรซ ผู้เชี่ยวชาญอัจฉริยภาพปริญญาโท จากฮาร์วาร์ด
บทความ ของ วนิษา เรซ ผู้เชี่ยวชาญด้านอัจฉริยภาพ ปริญญาโท จากฮาร์วาร์ด
มีคนชอบถามหนูดีว่า จะใช้สมองอย่างไรถึงจะคุ้มค่า จะใช้ชีวิต ใช้เวลาอย่างไรถึงจะถือว่า
สมองของเราไม่ได้สูญเปล่า ด้วยความที่หนูดีเรียนมาด้านสมองและทำงานเป็นผู้เชี่ยวชาญ
ด้านอัจฉริยภาพ
จึงถูกถามในเรื่องนี้เป็นประจำ และก็เป็นคำถามที่ทำให้หนูดีสนุกมากที่จะตอบเสมอ
เพราะคำถามชนิดนี้ มีคำตอบได้มากมาย ไม่เคยตายตัว ใครตอบก็ไม่มีวันซ้ำกัน วันนี้ลองมาฟัง
นักวิจัย
ด้านสมองตอบคำถามนี้ดูกันเล่น ๆ ไหมคะ สมัยที่หนูดีเรียนอยู่ที่อเมริกา เคยถูกให้ทำแบบฝึกหัด
หนึ่งซึ่ง
เปลี่ยนแปลงชีวิตหนูดีไปตลอดกาลเลย คือเกม เริ่มต้นที่ตอนจบ โดยเกมนี้เล่นไม่ยาก แต่ใช้
เวลาพอสมควร หนูดี
เคยนำมาฝึกกับลูกศิษย์ของหนูดีบ่อย ๆ มีคนนั่งหลับตาไป ร้องไห้ไป มาหลายคนแล้ว เพราะเป็น
เกมที่ทำ
ให้เราได้ย้อนหลังกลับไปมองชีวิต ไม่ใช่แต่ต้นจนอวสาน แต่ว่ามองจากอวสาน มาตอนต้น ถ้า
พูดเปรียบเทียบ
เป็นภาษานักธุรกิจก็ต้องบอกว่า Begin with the end in mind. ก็คือ
การเริ่มต้นมาจากการมองเห็นภาพตอนจบ หรือสัมฤทธิผลของเรื่อง
เกมนี้เริ่มที่ หนูดีจะขอให้ผู้อ่าน ลองหาเวลาเงียบ ๆ อยู่กับตัวเองในตอนที่เราไม่มีเรื่องรีบร้อน
อันใดต้องไปทำ
แล้วให้นั่งลง หลับตาจินตนาการภาพตัวเรา ตอนอายุสักแปดสิบ โดยให้สมมติว่า เราจะต้อง
ตายตอนอายุสักแปดสิบ
และตอนนั้น เราเจ็บป่วยนอนอยู่บนเตียง หลังจากนั้น ให้เราลองจินตนาการ ย้อนกลับไปมองทั้งชีวิต
ของเราว่า
ที่ผ่านมา เราได้ใช้มันไปอย่างไรบ้าง เราใช้เวลาของเราทำอะไรไป เราวิ่งตามอะไร เราวุ่น
วายกับอะไร
เรารักใครเราไม่รักใคร ความสุข ความทุกข์ของเราเป็นผลจากอะไร แต่สองคำถามที่สำคัญที่
สุดก็คือ เราจะเสียดายที่สุด
หากเราตายไปโดยไม่ได้ทำอะไร .. เราจะเสียดายที่สุด หากเราไม่ได้ใช้เวลากับใคร หาก
เราตอบคำถามเหล่านี้ได้
อย่างกระจ่างชัด ก็จะมีเวลาบางช่วงที่เราจะไม่ใช้ไปอย่างที่เราใช้อยู่ จะมีกิจการบางกิจการ ที่
เราไม่เลือกจะก่อตั้ง
มีเพื่อนบางคนที่เราอาจจะเลิกคบ มีเงินบางก้อนที่เราจะปฏิเสธไม่รับสารพัดของสิ่งที่จะเกิดขึ้น
ถ้าเรามีเวลาถอยออกมา
จากชีวิต แล้วย้อนกลับไปมองเหมือนกับว่า เรากำลังดูหนังวิดิโอชีวิตของคนอื่นอยู่ แล้วก็วิจารณ์ว่าเขา
คนนั้นตอนยังมีชีวิตอยู่ น่าจะทำอะไรที่ควรทำ ทั้งหมดนี้ เป็นเทคนิคที่ง่ายดายและลึกซึ้ง เมื่อหนู
ดีลองทำแล้ว
เป็นประโยชน์อย่างยิ่งถึงขั้นหนูดีเปลี่ยนอาชีพ เปลี่ยนชีวิต เพราะจากที่เคยคิดอย่างเด็กอายุยี่สิบ
หนูดีกระโดดข้ามไปคิดแบบแปดสิบได้ ตอนนี้เลยเหมือนย้อนกลับมาใช้ชีวิตรอบสอง โดยอายุยังไม่ครบ
สาม
สิบเลยเหมือนมีสองชีวิตเลยค่ะ
เมื่อก่อนหนูดีเคยคิดว่า ความสำเร็จในชีวิตก็เหมือนกับการหาของใส่กล่องคนเก่งกว่าก็ใช้
เวลาเป็น ใช้ชีวิตคุ้ม ก็หาของมาใส่กล่องได้เร็วและมากกว่าคนอื่น แต่อีกปัจจัยที่ทำให้กล่องเต็มได้
ที่หนูดีไม่เคยคิดมาก่อนจะเล่นเกมนี้ก็คือ แค่เราเปลี่ยนขนาดกล่องให้เล็กลงซะมันก็เต็มได้โดยไม่ยาก
เย็นเลย ดังนั้น การใช้สมองให้เต็มที่ คุ้มค่า เพื่อให้ชีวิตมีสุขได้ครบด้านและง่ายดาย น่าจะอยู่ที่
ศักยภาพ
ในการถอยออกมาแล้วมองชีวิตจากมุมห่างออกไปอีกหน่อย มองย้อนกลับจากวันสุดท้ายของ
ชีวิตก็เป็นความท้าทายที่น่าสนุกอีกแบบหนึ่ง มันเปลี่ยนชีวิตหนูดีมาแล้ว ในทางที่ดีขึ้น
อย่างมหัศจรรย์ ด้วยคำถามง่ายๆ ไม่กี่คำถาม
แล้ววันนี้ ท่านผู้อ่านของหนูดีคิดว่า ชีวิตนี้ ไม่ได้ทำอะไรแล้วจะเสียดายที่สุดคะ และไม่ได้ใช้
เวลากับใครแล้วจะเสียดายที่สุดคะ
บทความ ของ วนิษา เรซ ผู้เชี่ยวชาญอัจฉริยภาพปริญญาโท จากฮาร์วาร์ด