หน้า 1 จากทั้งหมด 2

ระดมความคิด VI ทำอย่างไรให้ บาทอ่อนลง

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ค. 18, 2007 2:25 pm
โดย teetotal
เมื่อเช้าฟัง FM 105
เล่าเรื่อง การแก้ไขปัญหาบาทแข็ง  :twisted:
นักเศรษฐศาสตร์ ใน thaivi คิดไงกันบ้าง
อาจมีความคิดเด็ดๆ ที่กอบกู้วิกฤติมาจากที่นี่ก็ได้
ใครจะรู้  :o

ระดมความคิด VI ทำอย่างไรให้ บาทอ่อนลง

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ค. 18, 2007 2:31 pm
โดย odacroniandevil
I here no is dave (I have no idea) ครับ

รวมเงินกันไปซื้อหุ้นคืนที่ wall street ไม๊ครับ หุหุ

ระดมความคิด VI ทำอย่างไรให้ บาทอ่อนลง

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ค. 18, 2007 2:42 pm
โดย aor_vi
odacroniandevil เขียน:I here no is dave (I have no idea) ครับ

รวมเงินกันไปซื้อหุ้นคืนที่ wall street ไม๊ครับ หุหุ


อย่างนี้ต้องเป็นวาระแห่งชาติแล้วน่ะเนี้ย :wink:

ระดมความคิด VI ทำอย่างไรให้ บาทอ่อนลง

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ค. 18, 2007 2:51 pm
โดย Akajon
รายย่อยทำอะไรไม่ได้มาก ถ้าอยากช่วย ก็ซื้อดอลล่าห์ (ขายบาท) เพื่อพยุงค่าเงินบาท ไม่ให้ผันผวนไปมากกว่านี้ ในระยะแรก จะขาดทุนทางบัญชีพอสมควร แต่ในระยะยาว จะได้ 2 ต่อ คือ ค่าเงินกลับสู่สมดุล ถือเป็นการช่วยชาติทางอ้อมๆ และอีกส่วนก็คือได้กำไรค่าเงิน อันนี้ถือเป็นผลพลอยได้

ถ้าธนาคารพาณิชย์ไม่ผสมโรง เก็งกำไรเล่นงานค่าเงินบาท ทำกำไรบนความเสี่ยงของประเทศ รวมทั้งผู้ส่งออกไม่เทขายดอลล่าห์ ช่วยกันเก็บ ช่วยกันพยุง ปัญหาค่าเงิน น่าจะพอบรรเทาได้ ต่างชาติก็เริ่มเห็นว่ากำไรจะไม่เป็นกอบเป็นกำ เหมือนที่ผ่านๆ มา ก็จะเลิกสนใจเก็งบาทต่อไป

ส่วนหนึ่งก็ต้องขึ้นกับนโยบาย กับความเข้มงวดของ ธปท ด้วย ยาแรงอาจจะมีผลกระทบเป็นลูกคลื่น ไปยังหลาย sectors แต่ก็ควรทำ เพราะปัญหานี้ รอช้าไม่ได้

ระดมความคิด VI ทำอย่างไรให้ บาทอ่อนลง

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ค. 18, 2007 2:56 pm
โดย odacroniandevil
ลองอ่านอันนี้ดูนะครับ
การซื้อ dollars ตอนนี้อาจจะยิ่งแย่ก็ได้ครับ

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews ... 0000083400

จับตาดูฝูงอีแร้งในสงครามค่าเงิน
โดย หมายเหตุผู้จัดการ 17 กรกฎาคม 2550 17:32 น.
.
      หลังจากการเตือนภัยเกี่ยวกับอัตราค่าเงินบาทในรายการยามเฝ้าแผ่นดินของเอเอสทีวี และหลังจากการลงหมายเหตุเรื่อง "เงินบาทแข็งอ่อน...ผลประโยชน์ของใคร?" ไปแล้ว ก็เกิดความตื่นตัวอย่างกว้างขวาง ทำให้เกิดการปรึกษาหารือเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องนี้กันแทบทั่วทุกวงการที่เกี่ยวข้อง
     
      บรรดาฝูงอีแร้งที่เคยร่วมทำมาหากินในการปล้นชาติจากการโจมตีค่าเงินบาทในปี พ.ศ. 2540 ที่เคยหลบหัวหลบหางเข้าไปซุกหัวอยู่ภายใต้ระบอบทักษิณพักใหญ่ ก็โงหัวโผล่ออกมาแสดงความคิดความเห็นกันอย่างครึกโครม
     
      แม้กระทั่งนายกรัฐมนตรีก็ได้เชิญผู้เกี่ยวข้องจำนวนมากเข้าไปปรึกษาหารือกันในทำเนียบรัฐบาล และในที่สุดก็สั่งให้นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี เข้ารับผิดชอบดูแลเรื่องนี้อย่างเต็มตัว
     
      ในขณะที่ผู้รับคำสั่งก็ได้แสดงท่าทีดังที่ปรากฏในข่าวว่าอิดออด อิดเอื้อน และไม่ค่อยเต็มใจเท่าใดนัก เพราะได้แสดงท่าทีในเรื่องนี้มาก่อนแล้วในทำนองต่างกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง คือโบ้ยความรับผิดชอบทั้งหมดไปให้กับธนาคารแห่งประเทศไทย
     
      แต่ในที่สุดก็แถลงว่าจะปฏิบัติตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี
     
      ในเรื่องเดียวกันนี้ ยังมีข้อน่าสังเกตอยู่ตรงที่การแสดงความยอมรับของกระทรวงการคลังที่ว่า การดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทยโดยเฉพาะผู้บริหารเกี่ยวกับการป้องกันแก้ไขค่าเงินบาทอ่อนเกินไป
     
      พูดง่าย ๆ ก็คือมือไม่ถึงนั่นเอง แต่ก็ไม่ทำอะไร และไม่รับผิดชอบอะไร เพราะถ้าหากเห็นว่าการทำหน้าที่ของผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทยในเรื่องนี้ผิดพลาดล้มเหลวหรือแก้ไขปัญหาไม่ได้ ความรับผิดชอบก็จะอยู่ที่รัฐบาลโดยเฉพาะคือกระทรวงการคลัง
     
      เป็นความรับผิดชอบที่จะต้องพิจารณาว่าจะปลดผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยออกจากตำแหน่งหรือไม่ ไม่ใช่โบ้ยว่าไม่ใช่หน้าที่รับผิดชอบของรองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
     
      เราเคยกล่าวถึงเรื่องนี้มาเป็นลำดับและแทบทุกครั้งก็จะมีพวกอีแอบออกมากล่าวหาว่าร้ายว่าเป็นการพูดส่งเดช เป็นการนำเสนอโดยขาดความรู้ และเป็นการทำให้เกิดความเสียหาย
     
      แต่ทว่าความจริงก็ต้องเป็นความจริงอยู่วันยังค่ำ และบัดนี้ความจริงก็ประจักษ์ชัดแล้วมิใช่หรือว่าที่เราได้คาดการณ์เอาไว้ว่าในเดือนมิถุนายน 2550 ค่าเงินบาทจะอยู่ที่ระดับ 33 บาท มันก็เป็นจริงขึ้นแล้ว
     
      และในวันนี้ก็ยังแข็งค่าขึ้นต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง และขอบอกไว้ด้วยว่าขณะนี้ค่าเงินบาทในตลาดต่างประเทศแข็งกว่าในประเทศประมาณ 2 บาทกว่า คือในขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนในประเทศอยู่ที่ระดับ 33 บาทเศษต่อ 1 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ แต่ในต่างประเทศนั้นอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ระดับ 29 บาทเศษต่อ 1 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ
     
      มันเป็นแนวโน้มที่ชัดเจนและมีนัยยะที่สำคัญดังต่อไปนี้
     
      ประการแรก เพราะอัตราต่างกันมากถึง 2 บาทกว่า จึงเป็นแรงจูงใจให้มีการลักลอบขนเงินบาทออกไปต่างประเทศ เพราะเมื่อนำไปซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐในต่างประเทศก็จะซื้อได้ในราคา 29 บาทเศษ จากนั้นก็โอนเงินดอลลาร์ที่ซื้อได้เข้ามาในประเทศ ก็จะแลกเป็นเงินบาทได้ 33 บาทเศษ
     
      นั่นคือทุก 29 บาทเศษที่นำออกไปและนำกลับเข้ามาเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ จะได้กำไร 2 บาทเศษ จะมีธุรกิจอะไรเล่าที่ทำมาหากินได้กำไรมากมายขนาดนี้?
     
      เหตุทั้งนี้เกิดขึ้นได้ก็เพราะว่าประตูกักกันหรือตรวจสอบการขนเงินออกนอกประเทศไม่ว่าขนกันเป็นเงินสดหรือโดยทางโพยก๊วนขาดระบบการตรวจสอบและไม่มีมาตรการควบคุมที่ได้ผล
     
      ไม่เห็นหรือว่ามีคนลักลอบขนเงินบาทออกไปซื้อทีมฟุตบอลได้ร่วมหมื่นล้านบาท โดยที่วันนี้ผู้รับผิดชอบก็ไม่สามารถบอกได้ว่าเอาเงินออกไปได้อย่างไร มันน่าตกใจสักเพียงไหนเล่าพระคุณท่าน!
     
      ในประการนี้มันจะส่งผลกดดันให้มีการนำเงินบาทออกไปนอกประเทศ และยิ่งทำให้เงินบาทขาดแคลนในประเทศ และทำให้ค่าเงินบาทยิ่งแข็งค่าขึ้นทางหนึ่ง
     
      ประการที่สอง เงินที่ไหลเข้ามาในประเทศโดยเฉพาะที่ไหลเข้ามาในตลาดหุ้นแล้วกว่า 120,000 ล้านบาท และยังไหลเข้ามาไม่หยุดไม่หย่อนนั้น เมื่อเข้ามาแล้วก็มาเปลี่ยนเป็นเงินบาทซึ่งได้กำไรดังที่กล่าวมาแล้วในประการแรก
     
      เข้ามาในตลาดหุ้นก็เก็งกำไรตลาดหุ้นกันอีกต่อหนึ่ง แต่เนื่องจากความไม่เชื่อมั่นในความเป็นธรรมาภิบาลและในการดูแลหุ้นแต่ละตัวของผู้รับผิดชอบ ดังนั้นการเก็งกำไรในตลาดหุ้น จึงเป็นการเก็งกำไรเฉพาะกลุ่มคือกลุ่มธนาคารและกลุ่มพลังงานเป็นหลัก
     
      การที่เงินร้อนอยู่ในตลาดหุ้นถึง 120,000 ล้านบาท และพร้อมจะถอนออกไปเมื่อใดก็ได้นั้น จึงเท่ากับเป็นการวางระเบิดลูกใหญ่ไว้ในตลาดหุ้นไทย และเพราะเหตุนี้นี่เองเราจึงได้เตือนมายังแมงเม่าทั้งหลายให้ตั้งสติให้มั่น แล้วกำหนดจังหวะถอยออกจากตลาดหุ้นเสียให้ทันท่วงทีก่อนที่จะป่นปี้วายวอดครั้งใหม่
     
      เงินร้อน 120,000 ล้านบาทนี้จะต้องออกจากตลาดหุ้นในสักวันหนึ่งแน่ และวันใดที่มีการเทขายเพื่อนำเงินออกไปต่างประเทศ เมื่อนั้นตลาดหุ้นก็จะพังครืนลงมา
     
      ใครที่คิดจะขายตอนนั้นก็ขายไม่ทันเสียแล้ว คงจะติดค้างเติ่งอยู่เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2540
     
      และเมื่อตลาดหุ้นพังครืนลงมา ในขณะที่เงินบาทไหลออกไปต่างประเทศ ซึ่งพวกนักเก็งกำไรย่อมได้ผลกำไรมหาศาลอยู่แล้ว แต่ความพิบัติจะเกิดขึ้นกับประเทศไทย เพราะเมื่อมีการขายเงินบาทเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐออกไปต่างประเทศ ค่าเงินบาทก็ต้องอ่อนตัวลง
     
      จะอ่อนไปถึงไหนใครเล่าจะรู้ได้ แต่นั่นก็คือวงจรอุบาทว์ที่กำลังจะเกิดขึ้นซ้ำรอยปี 2540 อีกครั้งหนึ่ง แต่คราวนี้จะโดนสองเด้งเพราะโดนเด้งแข็งมารอบหนึ่งแล้ว เมื่อเผชิญกับเด้งอ่อนคือค่าเงินบาทอ่อน แล้วอะไรจะเกิดขึ้นเล่า?
     
      พวกฝูงอีแร้งที่โผล่หัวออกมา พออ้าปากก็เห็นไรฟันแล้ว พวกนี้มีข้อเสนอไปในทางเดียวกันว่าต้องซื้อดอลลาร์สหรัฐให้มาก โดยอ้างว่าการที่เอาเงินบาทไปซื้อดอลลาร์ให้มากหรือถือดอลลาร์ไว้ให้มากจะทำให้ค่าเงินบาทไม่แข็งค่าเกินไป
     
      ในใจลึก ๆ ของคนพวกนี้ยังคงต้องการให้เงินบาทแข็งอีกสักระยะหนึ่ง ทั้ง ๆ ที่ตอนนี้ก็แข็งมากพอแล้ว เป็นข้อเรียกร้องเดียวกันกับที่นายกสมาคมธนาคารแห่งประเทศไทยคือนายโอฬาร ไชยประวัติ เคยเสนอต่อรัฐบาลพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ในปี พ.ศ. 2540
     
      ก็อยากจะถามว่าที่ซื้อดอลลาร์กันมาก ๆ นั้นยังเจ๊งกันไม่พออีกหรือ?
     
      มาตรการที่ว่านี้ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยขาดทุนไปแล้ว ณ วันสิ้นปี พ.ศ. 2549 ประมาณ 200,000 ล้านบาท และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 มาจนถึงวันนี้ก็ปรากฏชัดเจนแล้วไม่ใช่หรือว่าทุก 1 เหรียญดอลลาร์สหรัฐที่ไปซื้อไว้ล้วนขาดทุนทั้งสิ้น และขาดทุนมาตั้งแต่ดอลลาร์ละเกือบ 3 บาท มาถึงวันนี้ผลขาดทุนรวมจะเป็นเท่าใดกันแน่ ช่วยตอบหน่อยจะได้ไหม
     
      ขอเรียกร้องต่อรัฐบาล ต่อรองนายกรัฐมนตรี นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ และต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ ว่าพวกท่านไม่อาจเฉยเมยได้อีกแล้ว ไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบได้อีกแล้ว พวกท่านคือผู้รับผิดชอบต่อชะตากรรมเกี่ยวกับค่าเงินบาท และผลขาดทุนทั้งสิ้นทั้งปวงที่เกิดขึ้นจากการที่เข้าซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐของธนาคารแห่งประเทศไทย
     
      เราขอเรียกร้องว่าอย่าไปฟังเสียงพวกอีแร้งที่เคยปล้นชาติเมื่อปี 2540 มาแล้ว เหตุผลเรื่องการส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากเงินบาทแข็งนั้นเป็นผลประโยชน์ของทุนต่างชาติ ไม่ใช่ผลประโยชน์ของประชาชาติไทย
     
      แต่ทว่าต้องอุ้มชูเกื้อหนุนจุนเจือการส่งออกภาคเกษตรอย่างเต็มที่ เพราะนี่คือผลประโยชน์ของประชาชาติไทย
     
      ในปี 2540 การดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทยทำให้เกิดความเสียหายถึง 800,000 ล้านบาทเป็นอย่างน้อยโดยที่ไม่มีใครรับผิดชอบและนักปล้นชาติยังคงลอยนวล
     
      ในปี 2550 การดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทยทำให้เกิดความเสียหายเท่าใดแล้ว ต้องทำให้กระจ่าง มิฉะนั้นชาติจะล่มจมโดยไม่รู้สึกตัว การครั้งนี้ต้องมีผู้รับผิดชอบ
     
      เราขอวิงวอนให้สื่อมวลชนและประชาชนผู้รักชาติช่วยกันจับตาดูการแทรกและแอบแฝงตัวเข้ามาของฝูงอีแร้งที่เคยปล้นชาติเมื่อปี 2540 แล้วช่วยกันติดตามความเคลื่อนไหวและช่วยบอกกล่าวให้พี่น้องร่วมชาติได้รับรู้โดยทั่วกัน
     
      และต้องเตรียมตัวรับมือกับวิกฤตที่กำลังก่อตัวขึ้นอย่างหนักหน่วงรุนแรงแล้วให้ทันท่วงทีด้วย.

แก้เงินบาท

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ค. 18, 2007 3:01 pm
โดย soloman
ผมว่าน่าจะทำเป็นขั้นตอนนะครับโดยทำการเป็นลำดับ
1.เร่งส่งเสริมการไปลงทุนต่างประเทศมากขึ้นจะทำให้เงินที่เงิืน ดอลลาร์ที่เข้ามากับออกไปมีค่าสมดุลกัน
2. ยืดระยะเวลาการถือเงินดอลลาออกไป
3. ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหยุดทำการซื้ัอเงินดอลลาร์ได้แล้ว แต่ให้เอาเงินสำรองที่มีมากมายมาทำการบริหาร ให้เหมือนกับ สิงคโปร์ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ทำกัน ไม่ยึกติดกับ เงิน ดอลลาร์อย่างเดียวเพราะทำแล้วมีแต่ขาดทุน แล้วเงินที่ขาดทุนก็เงินพวกเราทั้งนั้น พูดแล้วขอเสียใจ จริง ๆ ที่เอาเงินประชาชนไปทำแบบนี้ แย่จัง
4.เร่งทำเมกกะโปรเจค หรืออะไรสั่งอย่างที่จำเป็นต้องนำเข้าสินค้าที่ต้องใช้เงินดอลลาร์ หรือส่งเสริมการนำเข้าให้มากขึ้น
5. ต่่อไปในวันข้างหน้าเงินที่จะเข้ามาลงทุนในไทยยิ่งจะมากขึ้นกว่าเดิมต้องเร่งการเตรียมการรับมือมากขึ้น

เรากังวลกันมากไป...

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ค. 18, 2007 3:08 pm
โดย path2544
เรื่องค่าเงินนั้น ผมว่าเรากังวลมากไปอ่ะ

จริงๆๆ ครั้งนี้มันต่างกับปี 40 มากนะ มันกลับด้านกันเลย

ตอนนี้ ธปท. ขาดทุนจริง แต่ขาดทุน เฉพาะตัวเลข และสิ่งที่จะทำให้ ธปท. ขาดทุนเป็นตัวเงินจริงได้มีแค่ อเมริกามันล้มละลายเท่านั้น และมีโอกาสสูงที่ ธปท. จะกลับมากำไรได้ (เพราะครั้งนี้คนต้องการเงินบาทมาก)

ไม่เหมือนกับตอนปี 40 ที่ขาดทุนแต่ตัวเลขเหมือนกัน แต่ธปท. กลับมีโอกาสขาดทุนจริงๆได้มากกว่า เพราะเราล้มละลายเอง (เพราะคนไม่ต้องการเงินบาท เลยขายคืนเรา เราไม่มีเงินพอไปรับซื้อไง)

ถ้าจะเปรียบก็คล้ายๆ หุ้นนะ

ระดมความคิด VI ทำอย่างไรให้ บาทอ่อนลง

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ค. 18, 2007 3:13 pm
โดย have a nice day
เอาดอลลาร์ที่มีอยู่เยอะไปซื้อทองในต่างประเทศดีมั้ย
แล้วเอากลับเข้ามาในประเทศ
จากนั้นค่อยพิมพ์แบ๊งค์ออกมาเพิ่มเพราะมีทองมาค้ำประกันเพิ่มแล้ว
ทีนี้ก็จะมีเงินบาทมากขึ้น ราคาของบาทก็จะได้ลงลดงัย

ปล. ผมมั่วเอานะครับ อย่าซีเรียส
:D

ระดมความคิด VI ทำอย่างไรให้ บาทอ่อนลง

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ค. 18, 2007 3:28 pm
โดย teetotal
เมกกะดปรเจค มีคนตอบไปแล้ว
แต่ยังไม่มีใครตอบเรื่องการศึกษา

ผมขอเสนอ การลงทุนด้านการศึกษา
การศึกษาทำให้คนฉลาดขึ้น เป็นการพัฒนาชาติระยะยาวครับ

เพิ่มทุนการศึกษาไปเรียนด้าน เศรษฐศาสตร์
การเงินระหว่างประเทศ
อนาคต ให้กลับมาทำงานที่แบงค์ชาติ

ถือว่า เป็นการลงทุนในต่างประเทศไหมครับ
แบงค์ชาติของเรา อาจจะยังขาดแคลนบุคลกร ด้าน การเงิน อยู่
เลยดำเนินนโยบาย เชิงรุก ในด้านอัตราแลกเปลี่ยนไม่ได้มากนัก
(ไม่มีคน คนไม่พอ นี่ทำอะไรลำบากนะครับ ใช่ไหม)

ผมก็มั่วๆ เอานะครับ อย่าซีเรียส  :D

ปล เวลาคัดเลือก ต้องเอาเด็กเก่งๆ ที่ไม่เห็นแก่ตัวไป
กลับมาจะได้รับใช้ชาติ ไม่ใช่พวกเกียรตินิยมที่พึ่งไม่ได้ในชั้นเรียน

ระดมความคิด VI ทำอย่างไรให้ บาทอ่อนลง

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ค. 18, 2007 3:34 pm
โดย teetotal
อย่าลงทุน ทำแบบ ลงทุนปลูกต้นไมh ที่ป้ายรถเมล์ในปีนี้ละกัน
เอากระถางเล็กๆ ไปแขวนๆ ตกแต่ง นานไปก็ตาย หาย ถูกขโมย

ต้องทำแบบ ท่าน พล ตรี จำลอง
ปลูกซุ้มการเวกพันโครงเหล็ก
20 ปี ยังดีอยู่เลย ลงทุนไม่เยอะด้วย  :lol:  :lol:  :lol:

ระดมความคิด VI ทำอย่างไรให้ บาทอ่อนลง

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ค. 18, 2007 3:40 pm
โดย phobenius
เปลี่ยนให้ถือเงินสด ออกนอกประเทศได้ คน ละ สอง ล้าน
จะดีมากๆ

ระดมความคิด VI ทำอย่างไรให้ บาทอ่อนลง

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ค. 18, 2007 4:27 pm
โดย ครรชิต ไพศาล
วิธี ลดค่าเงินบาท ก็ต้องลดความเชื่อมั่นในเงินบาท  :lol:

ให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศ
พิมพ์เงินบาทออกมาหมุนเวียนในตลาดเพิ่มอีกสัก 20%  :
โดยใช้เหตุจากความเชื่อมั่นในเงินบาท  กระดาษก็เป็นเงิน :lol:  :lol:

ผมรับรองมาตราการนี้  เงินบาทลดค่าแน่ๆ  :lol:  :lol:

ระดมความคิด VI ทำอย่างไรให้ บาทอ่อนลง

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ค. 18, 2007 4:36 pm
โดย Boring Stock Lover
การบินไทยแทนที่จะเช่าก็ซื้อเครื่องบินซะ

ระดมความคิด VI ทำอย่างไรให้ บาทอ่อนลง

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ค. 18, 2007 4:41 pm
โดย qingwen
สนับสนุนให้วัยรุ่นเปลี่ยนโทรศัพท์มือถือบ่อยๆ

สนับสนุนให้ใช้เครื่องสำอางค์ เสื้อผ้าจากนอกเยอะๆ

อย่าลืมกินเหล้านอก สูบบุหรี่นอกด้วย

ระดมความคิด VI ทำอย่างไรให้ บาทอ่อนลง

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ค. 18, 2007 4:49 pm
โดย mprandy
ออกไปซื้อสโมสรบอลอีกซัก 5-6 แห่ง (แมนยู ลิเวอร์พูล อาร์เซนอล เป็นต้น) เป็นการระบายดอลลาร์ที่ได้ผลดี

แถมได้อีกหลายเด้ง

ทีมบอลทีมโปรดก็จะตกเป็นสมบัติของคนไทย
สนับสนุนกีฬา ส่งเด็กฝีมือดีไปเป็นนักเตะ
สปอนเซอร์เสื้อจากที่ต้องไปให้ตปท. ก็ตกเป็นของคนไทย อัฐยายซื้อขนมยาย
ส่วนแบ่งอื่น ๆ

ระดมความคิด VI ทำอย่างไรให้ บาทอ่อนลง

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ค. 18, 2007 4:52 pm
โดย Akajon
ข่าว manager โดยเฉพาะเรื่องการเมือง หรือธุรกิจ (หุ้น) อ่านแล้วก็หารมากหน่อย ฟังหูไว้หู

ระดมความคิด VI ทำอย่างไรให้ บาทอ่อนลง

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ค. 18, 2007 4:57 pm
โดย odacroniandevil
wazzu เขียน:ข่าว manager โดยเฉพาะเรื่องการเมือง หรือธุรกิจ (หุ้น) อ่านแล้วก็หารมากหน่อย ฟังหูไว้หู

เห็นด้วยครับ

ระดมความคิด VI ทำอย่างไรให้ บาทอ่อนลง

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ค. 18, 2007 5:16 pm
โดย เสือเชอรี่
ผมว่าปัญหามาจากการเก็งกำไรระยะสั้นในตลาดหุ้น
ผมคิดแบบชาวบ้านแบบตรงๆ

ทำไมไม่คิดภาษีผลตอบแทนสำหรับต่างชาติที่ซื้อและขายหุ้นในเวลาไม่ถึง6เดือน

ระดมความคิด VI ทำอย่างไรให้ บาทอ่อนลง

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ค. 18, 2007 7:22 pm
โดย dino
:)  ตั้งท่าน...มาเป็นนาย ก อีกครั้ง
เพราะท่านเคยเซ็นต์ชื่อแกรกเดียว 27 บาท กลายเป็น 57 บาทได้ในไม่กี่วัน
เคยทำได้แล้ว ก็ทำได้อีก แหะ แหะ อ่ะ ล้อเล่น  :wink:

ระดมความคิด VI ทำอย่างไรให้ บาทอ่อนลง

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ค. 18, 2007 10:31 pm
โดย chatchai
เงินทุนสำรองเป็นเงินของใคร  เป็นเงินของประเทศไทยหรือว่าไม่ใช่  

หรือว่าเป็นเงินของต่างชาติที่นำมาฝากไว้  ซักพักอาจจะนำกลับคืนก็ได้

ถ้าไม่มีให้คืน  อะไรจะเกิดขึ้น

ระดมความคิด VI ทำอย่างไรให้ บาทอ่อนลง

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.ค. 19, 2007 10:30 am
โดย noom_sit
เรื่องนำเงินไปลงทุน นี่ต้องคิดดีๆนะครับ เงินที่เข้ามาเยอะๆ นี่ไม่ใช่ว่าเข้ามาแจกนะครับ แต่เข้ามาเพื่อพร้อมที่จะเอาออกไปได้อย่างรวดเร็ว ถ้าเราดันเอาเงินระยะสั้นไปลงทุนระยะยาว จะเกิดอะไรขึ้นในตอนที่เค้าจะเอาเงินออก

ผมว่า น่าจะเปิดโอกาสให้คนไทย สามารถฝากแบงค์ได้ในสกุลเงินต่างประเทศ เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลแต่ละคน สามารถบริหารความเสี่ยงในกระเป๋าเงินของตัวเอง

แต่ก่อนอื่น ในระยะเร่งด่วน ผมว่าในเมื่อ usd กำลังอ่อนค่า แบงค์ชาติน่าจะกระจาย port เงินทุนสำรองไปที่เงินสกุลอื่นๆ ให้มากขึ้นนะครับ เช่น หยวน เยน ยูโร ไม่ให้กระจุกแต่ usd

ระดมความคิด VI ทำอย่างไรให้ บาทอ่อนลง

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.ค. 19, 2007 10:44 pm
โดย KB
พิมพ์เงินเพิ่มครับ เหมือนอเมกา เงินอ่อนแน่นอน เพิ่มแบบเป็นขั้นเป็นตอนนะ ไม่เพิ่มทีเดียว ส่งสัญญาณให้พวกเก็งกำไรรู้

ระดมความคิด VI ทำอย่างไรให้ บาทอ่อนลง

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.ค. 20, 2007 2:55 am
โดย san

โค้ด: เลือกทั้งหมด

อย่าลงทุน ทำแบบ ลงทุนปลูกต้นไมh ที่ป้ายรถเมล์ในปีนี้ละกัน 
เอากระถางเล็กๆ ไปแขวนๆ ตกแต่ง นานไปก็ตาย หาย ถูกขโมย 
อ่า.....จะบอกอะไรให้  ไอพวกปลูกแล้ว ตาย  นี่   หรือว่า  ทำแล้ว ต้องซ่อมบ่อยๆ นี่  ของชอบของพวกนั้นแหล่ะครับ

มันจะได้มี  เปอเซง  เยอะๆ บ่อยๆ ไง

สมรักษ์ชอบพูดว่าไงรู้ป่าวครับ   อิอิอิ
.......ผมไม่ได้โม้....

ระดมความคิด VI ทำอย่างไรให้ บาทอ่อนลง

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.ค. 20, 2007 10:57 am
โดย wattae
หามาตรการเด็ดๆ ช๊อคตลาดหุ้นอีกซักรอบครับ แหะๆ :D

โรงงานถุงมือยางเข้าคิวปิดกิจการ [20 ก.ค. 50 - 04:41]

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.ค. 20, 2007 11:52 am
โดย Akajon
โรงงานถุงมือยางเข้าคิวปิดกิจการ [20 ก.ค. 50 - 04:41]

นายประชัย กองวารี นายกสมาคมผู้ผลิตถุงมือยางไทย เปิดเผยถึงผลกระทบของค่าเงินบาทแข็งอย่างต่อเนื่องว่า อุตสาหกรรมถุงมือยางส่งออกเกือบ 100% ได้รับผลกระทบหนักมาก จากปีที่แล้วค่าเงินบาทอยู่ที่ 40-42 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ปัจจุบันอยู่ที่ 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้รายได้ที่หากเปลี่ยนเป็นเงินบาทหายไปทันที 7-9 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเฉพาะโรงงานผลิตถุงมือยางขนาดเล็ก ถ้าส่งออกได้เดือนละ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เงินจะหายไปทันทีโรงงานละ 7 ล้านบาท จึงไม่ สามารถอยู่ได้ ถ้ารัฐบาลไม่เร่งแก้ไขโดยเร็ว โรงงานเหล่านี้จะต้องปิดตัวลงแน่ ไม่เฉพาะอุตสาหกรรมถุงมือยางเท่านั้น แต่อุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรชนิดอื่นก็ได้รับผลกระทบอย่างหนักเช่นเดียวกัน

“แต่ละปีไทยส่งออกถุงมือยางคิดเป็นมูลค่า 27,000 ล้านบาท แต่กำลังถูกประเทศคู่แข่งสำคัญทั้งจีน เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย และอินเดีย แย่งตลาด เพราะไทยค่าเงินบาทแข็ง ไม่สามารถแข่งขันกับประเทศเหล่านี้ได้ ก่อนหน้านี้เคยเรียกร้องกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แต่เรื่องก็เงียบหาย ทั้งๆที่รัฐบาลบอกว่าจะดูแลทั้งระบบ แต่วันนี้กำลังจะพังกันหมด เพราะอุตสาหกรรมจะทยอยปิดกิจการ ซึ่งก็จะส่งผลต่อเนื่องถึงเกษตรกร ถ้าเข้ามาดูแลช้า ก็ไม่ได้ผล เพราะโรงงานจะปิดตัวแล้ว และยังมีคนในรัฐบาลบางคนให้สัมภาษณ์ว่าช่วงค่าเงินบาทแข็ง ให้นำเข้าเครื่องจักรมาปรับปรุงประสิทธิภาพ ขอถามกลับว่าใช้สมองส่วนไหนคิด จะเอาเงินที่ไหนไปซื้อ เพราะจะเจ๊งกันหมดแล้ว สัปดาห์หน้าจะประชุมกรรมการสมาคมถุงมือยาง เพื่อเคลื่อนไหวเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหาโดยเร็ว”

นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกสมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ กล่าวว่า ค่าเงินบาทแข็งขึ้น ส่งผลต่อขีดความสามารถการแข่งขันของผู้ส่งออกข้าวลดลง เพราะคู่แข่งส่งออกข้าวที่สำคัญคือเวียดนาม ค่าเงินค่อนข้างจะคงที่มา 2 ปี แต่ไทยกลับแข็งค่าขึ้นเรื่อยๆ ขณะนี้ข้าวชนิดเดียวกันของไทยแพงกว่าเวียดนามตันละ 40 ดอลลาร์สหรัฐฯ ผู้นำเข้าจึงหันไปซื้อข้าวจากเวียดนามแทน และแค่สัปดาห์ที่ผ่านมา ข้าวไทยปรับราคาขึ้นไปตันละ 10 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งที่ส่งออกทุกวันนี้เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ทำไว้ แต่ปัจจุบันคำสั่งซื้อล่วงหน้าช่วง 2-3 เดือนถัดไปเงียบไปหมดแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าห่วงมาก เกษตรกรจะได้รับผลกระทบ เพราะราคาขายข้าวในประเทศที่เกษตรกรขายได้จะลดลงแน่ เมื่อถึงเวลานั้นจะอยู่ในภาวะที่น่าวิตกอย่างมาก.

ข่าวจาก ไทยรัฐ
ที่มา http://www.thairath.co.th/news.php?sect ... tent=54588

=======================

ปัญหาการว่างงาน กับหนี้เสีย (NPL) ที่จะตามมา จะมีผลกระทบกับระบบเศรษฐกิจโดยรวมพอสมควร จะรุนแรง หรือหนักเบาแค่ไหน ก็ขึ้นกับการแก้ปัญหาของรัฐบาล

ระดมความคิด VI ทำอย่างไรให้ บาทอ่อนลง

โพสต์แล้ว: เสาร์ ส.ค. 04, 2007 1:22 pm
โดย OutOfMyMind
ไม่มีประเทศที่เจริญแล้วประเทศไหนที่เงินอ่อนหรอกครับ
ผมว่าเงินแข็งหน่ะดีแล้ว
สิ่งที่ต้องทำไม่ใช่คิดอย่างไรให้เงินอ่อน
แต่ เร่งเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของเรา ให้ทันเงินแข็งดีกว่า

ระดมความคิด VI ทำอย่างไรให้ บาทอ่อนลง

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ส.ค. 12, 2007 4:19 pm
โดย numyak
mprandy เขียน:ออกไปซื้อสโมสรบอลอีกซัก 5-6 แห่ง (แมนยู ลิเวอร์พูล อาร์เซนอล เป็นต้น) เป็นการระบายดอลลาร์ที่ได้ผลดี

แถมได้อีกหลายเด้ง

ทีมบอลทีมโปรดก็จะตกเป็นสมบัติของคนไทย
สนับสนุนกีฬา ส่งเด็กฝีมือดีไปเป็นนักเตะ
สปอนเซอร์เสื้อจากที่ต้องไปให้ตปท. ก็ตกเป็นของคนไทย อัฐยายซื้อขนมยาย
ส่วนแบ่งอื่น ๆ

:cool:  :cheers:  :cool:
ความคิดนี้ เด็ดดวง ป.พงษ์สว่าง จริงๆๆ

ระดมความคิด VI ทำอย่างไรให้ บาทอ่อนลง

โพสต์แล้ว: พุธ ส.ค. 15, 2007 12:49 am
โดย toon

วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3922 (3122)
บาทแข็ง โทษใครดี ? - คอลัมน์ มองซ้าย มองขวา

คอลัมน์ มองซ้าย มองขวา

โดย ณ พัฒน์

ช่วงนี้เรื่องค่าเงินบาทแข็งปึ๋งปั๋งเป็นประเด็นร้อนของสังคม เห็นทีจะไม่พูดถึงไม่ได้เสียแล้วครับ

ผมว่าเป็นเรื่องดีนะครับ ที่ประเด็นด้านเศรษฐกิจเป็นที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง นักเศรษฐศาสตร์อย่างผมจะได้เลิกอธิบายเพื่อนบ้านเสียทีว่า เรียนเศรษฐศาสตร์ไปทำไม

แต่เท่าที่อ่านดูตามหน้าหนังสือพิมพ์ เหมือนว่าแบงก์ชาติจะเป็นแพะบูชายัญปรากฏการณ์บาทแข็งรอบนี้ไปแล้ว ผมอยากลองอธิบายดูสักหน่อยว่า ที่ผ่านมาทำไมบาทถึงแข็ง แล้วบาทแข็งเป็นความผิดของใคร แล้วเราจะแก้ไขปัญหานี้ยังไงดี

ก่อนอื่นคงต้องขอเสนอความเห็นส่วนตัวก่อนว่า ค่าของเงินบาทที่แข็งตัวอยู่ในขณะนี้ ไม่น่าจะเป็นเหตุการณ์เลวร้ายขนาดชาติจะล่มจม แบบที่หลายๆ คนกำลังพะวงกันอยู่ เพราะอย่าลืมนะครับ แค่เมื่อสิบปีที่แล้วค่าเงินบาทก็เคยแข็งกว่านี้ตั้งเยอะ ไม่เห็นผู้ส่งออกสมัยนั้นจะออกมาตีโพย ตีพายว่า ค่าเงินบาทแข็งเกินไปเลย

และระหว่างสิบปีที่ผ่านมา ผมไม่คิดว่าต้นทุนการผลิตสินค้าบ้านเราจะเพิ่มขึ้นเร็วกว่าประเทศ คู่แข่ง จนทำให้ค่าเงินที่อ่อนค่ากว่าตอนก่อนวิกฤตกว่า 20-30 เปอร์เซ็นต์ ในขณะนี้จะทำให้ผู้ส่งออกบ้านเราแข่งกับประเทศอื่นไม่ได้ (เมื่อเทียบกับตอนก่อนเกิดวิกฤต) แต่ผมเข้าใจว่า ผู้ผลิต ห่วงมากกว่า คือความมีเสถียรภาพของเงินบาท เพราะสินค้าส่งออกของไทยต้องพึ่งพาส่วนประกอบจากการนำเข้าไม่น้อย ถ้าผู้ผลิตต้องนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศตอนค่าเงินบาทอ่อน แล้วส่งสินค้าออกตอนค่าเงินบาทแข็ง กำไรก็คงหดหาย หรืออาจจะขาดทุนได้ และแน่นอนครับ ผู้ส่งออกสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มในประเทศเยอะๆ เช่น สินค้าเกษตร คงได้รับผลกระทบมากกว่า ผู้ผลิตสินค้าที่ใช้วัตถุดิบจากการนำเข้า

แต่อย่าลืมนะครับ ว่าบาทแข็งก็มีคนได้ประโยชน์เหมือนกัน บริษัทที่มีหนี้เป็นเงินสกุลต่างประเทศคงได้เห็นหนี้ก้อนเล็กลงเมื่อแปลงเป็นเงินบาท หรือคนที่ใช้ของนำเข้าก็คงได้จ่ายน้อยลง ถ้าโชคดีเราคงได้เห็นราคาน้ำมันในประเทศปรับตัวลงในไม่ช้า (ถ้าเราจ่ายเงินคืนกองทุนน้ำมันหมด) หรือถ้าใครกำลังจะซื้อรถยนต์ ก็ฝากบอกบริษัทรถด้วยครับ ว่าลดราคาลงได้แล้ว บาทแข็งมาตั้งเยอะแล้ว (!)

เรื่องค่าเงินแข็งนี้ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะกับ ค่าเงินบาทเท่านั้นนะครับ มันเป็นแฟชั่นที่กำลังนิยมกันอยู่ในขณะนี้ และเป็นแฟชั่นที่ทำให้ผู้กำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจในหลายๆ ประเทศเกาหัวกันแกรกๆ

ดังนั้นเวลาผมได้ยินหลายๆ คนพูดว่า เงินบาทแข็งที่สุดในโลก ผมเถียงครับว่าไม่จริงเด็ดขาด อย่างแรกคือบอกไม่ได้หรอกครับว่า "แข็ง" ที่สุดเนี่ย แปลว่าอะไร ถ้าเทียบกับระดับราคาในประเทศ ค่าที่แท้จริงของเงินบาทยังอ่อนกว่าชาวบ้านเขาอีกเยอะครับ

จะบอกว่าแข็งค่าขึ้นเร็วที่สุด ก็ยังถูกแค่ครึ่งเดียว จริงอยู่เงินบาทเราอาจจะแข็งขึ้นเร็วที่สุดในภูมิภาค เมื่อเทียบกับค่าเงินเมื่อปีที่แล้ว ถ้าเทียบกันยาวกว่านั้น เราเทียบประเทศอื่นอย่างเกาหลีไม่ได้หรอกครับ เพราะตอนนี้เงินวอนของเกาหลีใต้เกือบจะกลับไปยืนที่ระดับก่อนวิกฤตแล้วครับ ทั้งๆ ที่ตอนหลังเกิดวิกฤต เงินวอนของเกาหลีใต้ ก็อ่อนตัวไปไกลกว่าเงินบาทของเราเสียอีกครับ

หรือจะดูอย่างบราซิล ที่ค่าเงินอ่อนตัวลงไปถึงเกือบๆ 4 reals ต่อดอลลาร์ หลังวิกฤตปี 2002 แต่ตอนนี้เงินเขาแข็งไปจนเหลือไม่ถึง 2 reals ต่อดอลลาร์แล้ว แบบนี้น่าปวดหัวแทนไหมละครับ

ถ้าถามว่าทำไมเงินบาทถึงแข็ง ถ้าตอบแบบเอากำปั้นนักเศรษฐศาสตร์ทุบดิน คงต้องบอกว่าเพราะดีมานด์เงินบาทมันเยอะกว่าซัพพลาย หรือตอบแบบฟังรู้เรื่องหน่อยก็คงต้องบอกว่า เพราะมีความต้องการซื้อเงินบาทมากกว่าความต้องการขายเงินบาท

ถ้าจะวิเคราะห์กันลึกลงไปกว่านั้น ผมแนะนำให้ผู้สนใจลองแวะเข้าไปดูที่ดุลบัญชีชำระเงิน ในเว็บของแบงก์ชาติครับ ที่น่าสนใจคือแรงกดดันที่ทำให้เงินบาทแข็งมาตั้งแต่ปีที่แล้ว ไม่ได้มาจากเงินทุนไหลเข้าอย่างเดียว แต่ส่วนหนึ่งได้รับผลมาจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด (เพราะเราส่งออกมากกว่านำเข้า) โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้วเป็นต้นมา เราเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนละกว่าพันล้านดอลลาร์เลยทีเดียว ในขณะที่ดุลบัญชีการเงินบวกบ้าง ลบบ้าง แล้วแต่อารมณ์

ที่เราเกินดุลบัญชีเดินสะพัดทั้งๆ ที่เงินบาทแข็ง เป็นเครื่องชี้ว่าความสามารถทางการแข่งขันของเรายังสู้เขาได้ (แต่ถ้าแข็งมากกว่านี้ก็ไม่แน่) และส่วนหนึ่งยังได้รับผลมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนที่อ่อนปวกเปียก ตัวเลขเบื้องต้นของบัญชีรายได้ประชาชาติชี้ว่าการลงทุนในไตรมาสที่หนึ่งของปีนี้ติดลบเป็นครั้งแรกในรอบหลายปี ส่งผลให้การนำเข้าชะลอตัว (ทั้งๆ ที่ราคาสินค้านำเข้าถูกลงเพราะค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น)

ดูเหมือนว่าแรงกดดันต่อค่าเงินบาทดูเหมือนส่วนหนึ่งจะเป็นสาเหตุด้านโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ไม่ใช่แรงเก็งกำไรค่าเงินอย่างเดียว ดังนั้นการแทรกแซงค่าเงินคงทำไปไม่ได้ตลอดแน่ๆ

ประเด็นหนึ่งที่ผมอยากเถียงแทนแบงก์ชาติ คือประเด็นที่ว่าแบงก์ชาติออกพันธบัตร ธปท. ออกมาปริมาณมากเพื่อดูดซับสภาพคล่อง จนทำให้แบงก์ชาติขาดทุนมหาศาล เพราะมีคนเข้าใจผิดกันเยอะ

สาเหตุที่แบงก์ชาติขาดทุนไม่ใช่เพราะว่าแบงก์ชาติออกพันธบัตรนะครับ แต่เป็นเพราะค่าเงินบาทแข็งต่างหาก มันยังไงเหรอครับ

เวลาแบงก์ชาติเข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาท คือการเข้าซื้อดอลลาร์แล้วขายเงินบาท ในทางบัญชีคือแบงก์ชาติเพิ่มฝั่งสินทรัพย์ (คือเงินดอลลาร์) แล้วเพิ่มฝั่งหนี้สิน ซึ่งอาจจะเป็นในรูปเงินบาทที่หมุนเวียนในระบบ หรือเงินบาทในบัญชีของธนาคารพาณิชย์ที่ฝากไว้ที่แบงก์ชาติ

การแทรกแซงค่าเงินของแบงก์ชาติจึงเป็นการเพิ่มปริมาณเงินในระบบ (หรือที่คนชอบพูดกันว่าเป็นการพิมพ์แบงก์นั่นแหละครับ) เพื่อไม่ให้ปริมาณเงินในระบบมีมากเกินไปจนทำให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อ แบงก์ชาติจึงต้องดูดซับเงินบาทออกจากระบบบ้างเป็นครั้งคราว การดูดซับเงินบาทนี้ แบงก์ชาติก็สามารถทำได้ด้วยการขายสินทรัพย์ในประเทศ (เช่น พันธบัตรรัฐบาลที่แบงก์ชาติถือไว้) หรือการออกหนี้สินเพิ่ม (เช่น ออกพันธบัตร ธปท.)

ถ้าแบงก์ชาติออกพันธบัตรก็เป็นการเปลี่ยน รูปแบบของหนี้สินของแบงก์ชาติ จากหนี้ที่ทุกคน รู้จักดีในชื่อ "ธนบัตร" (อย่าลืมนะครับว่า เงินทุกบาททุกสตางค์ที่เราใช้อยู่เนี่ย ถือเป็น "หนี้" ของธนาคารกลาง) หรือจากบัญชีของธนาคารพาณิชย์ มาเป็นพันธบัตร แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปคือ ธนบัตรและบัญชีของธนาคารพาณิชย์ที่ฝากไว้กับแบงก์ชาติเนี่ย นับเป็นส่วนหนึ่งของปริมาณเงิน แต่พันธบัตรไม่นับครับ ปริมาณเงินในระบบจึงลดลง แต่มูลค่ารวมฝั่งหนี้สินของแบงก์ชาติไม่ได้เปลี่ยนไปเลย จากการดูดซับสภาพคล่องดังกล่าว

แต่แบงก์ชาติเกิดขาดทุนก็ตอนที่ค่าเงินบาทแข็งขึ้น (หรือมูลค่าเงินสกุลต่างประเทศอ่อนตัวลง) เพราะฝั่งสินทรัพย์ของแบงก์ชาติอยู่ในรูปเงินสกุลต่างประเทศ แต่หนี้สินอยู่ในรูปเงินบาท

นอกจากนี้ธนบัตรเป็นหนี้ที่แบงก์ชาติไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย แต่แบงก์ชาติต้องจ่ายดอกเบี้ยพันธบัตร แต่ตราบใดที่ผลตอบแทนที่ได้จากเงินสำรองสกุลต่างประเทศมากกว่าต้นทุนของพันธบัตรที่ใช้ดูดสภาพคล่อง แบงก์ชาติก็ไม่ต้องห่วงเรื่องต้นทุนการดูดซับสภาพคล่อง แต่มันมีปัญหาตรงที่แบงก์ชาติต้องเข้าไปรับความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในอนาคต (เพราะพันธบัตรส่วนใหญ่มีระยะเวลาไถ่ถอนสั้น ต้อง rollover อยู่บ่อยๆ) ถ้าดอกเบี้ยในประเทศสูงขึ้น หรืออัตราดอกเบี้ยต่างประเทศลดลง บัญชีแบงก์ชาติอาจจะโผล่ตัวแดงมากกว่าที่ควรได้ครับ

แม้ว่าการขาดทุนเหล่านี้จะเป็นการขาดทุนทางบัญชีไม่มีผลต่อความมั่นคงของแบงก์ชาติแต่อย่างใด (ในระยะสั้น) เพราะแบงก์ชาติเป็นคนพิมพ์ธนบัตรเอง ถ้าใครเอาพันธบัตรมาขอเงินคืน แบงก์ชาติก็มีธนบัตรพอใช้หนี้ได้ตามกฎหมายแน่นอนครับ แต่เรื่องบัญชีอาจจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้ครับ ถ้าหนี้นี้พอกพูนขึ้นมากๆ จนไปสร้างความบิดเบือนในตลาดการเงิน หรือถ้าธนาคารกลางต้องออกหนี้ใหม่เพื่อจ่ายหนี้เก่าบ่อยๆ ก็อาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นของธนาคารกลางได้ หรือถ้ารัฐบาล (ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของแบงก์ชาติ) เกิดหงุดหงิดเมื่อเริ่มรู้สึกว่าแบงก์ชาติขาดทุนบ่อย และไม่ส่งผลกำไรเข้าคลังสักที หรือถ้าแบงก์ชาติต้องบากหน้าไปขออนุญาตรัฐบาลเพิ่มทุนในกรณี ที่แบงก์ชาติขาดทุนจนส่วนทุนหดหาย

แต่ในระยะสั้นปัญหาเรื่องแบงก์ชาติขาดทุน ไม่ได้อยู่ที่ว่าแบงก์ชาติออกพันธบัตรหรือเปล่า แต่อยู่ที่ว่าแบงก์ชาติควรเข้าไปแทรกแซงค่าเงินหรือเปล่า ถ้าแบงก์ชาติไม่แทรกแซงเลย ค่าเงินก็อาจจะแข็งแบบพรวดพราดมากกว่านี้ คนคงบ่นเยอะกว่านี้ และแบงก์ชาติก็คงขาดทุนเยอะกว่านี้

แต่ถ้าแบงก์ชาติเข้าไปแทรกแซงเต็มที่ แบงก์ชาติก็คงสะสมเงินสำรองได้มากกว่านี้ และในขณะเดียวกันก็คงต้องมีหนี้สินมากกว่านี้ แต่เงินบาทก็คงแข็งอยู่ดีแหละครับ เพราะสุดท้ายแล้ว แบงก์ชาติคงไม่สามารถฝืนแรงกดดันได้ทั้งหมด และแบงก์ชาติก็ต้องคงขาดทุนอยู่ดี

ที่ร่ายยาวมาทั้งหมดนี้ ผมอยากจะชี้ให้เห็นว่า สถานการณ์แบบที่เรากำลังประสบอยู่ในปัจจุบัน ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับผู้กำหนดนโยบายเลยครับ ยิ่งถูกแรงกระหน่ำทั้งจากฝั่งดุลบัญชีเดินสะพัด และดุลบัญชีการเงินพร้อมๆ กัน ด้วยเครื่องมือการดำเนินนโยบายที่จำกัด และเป้าหมายการดำเนินนโยบายที่ค้ำคออยู่ (เป้าหมายการดำเนินนโยบายการเงินไม่ใช่รักษาค่าเงินนะครับ แต่คือการรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจ) น่าเห็นใจคนเป็นธนาคารกลางของประเทศครับ (จริงๆ แล้วเรื่องทำให้เงินบาทอ่อนนี่ง่ายมากครับ แค่ทำตัวแบบไร้ระเบียบ แทรกแซงแบบไม่ต้องดูดซับสภาพคล่องไปเรื่อยๆ รับรองครับเงินบาทอ่อนแน่นอน แต่สิ่งที่จะเสียไปคือความเชื่อมั่นในธนาคารกลาง และอัตราเงินเฟ้ออาจจะพุ่งไม่หยุด ซึ่งผมว่ามันเลวร้ายกว่าค่าเงินบาทแข็งหลายเท่าครับ)

แต่ผมว่ามีประเทศอื่นโชคร้ายกว่าเราอีกครับ บ้านเรายังสามารถลดดอกเบี้ยกล้อมแกล้มไปได้ เพราะเงินเฟ้อไม่สูงนัก และยังอยู่ในช่วงขาลง แต่บางประเทศที่มีปัญหาเงินเฟ้อแถมด้วยอย่าง Iceland หรือ New Zealand นี่สิครับ ดอกเบี้ย ก็ลดไม่ได้ เพราะจะทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น พอเห็นดอกเบี้ยสูง เงินต่างประเทศยิ่งวิ่งเข้าหา เงินก็ยิ่งแข็งขึ้นไปอีก แก้ยากครับแบบนี้

สิ่งหนึ่งที่ผมว่าน่าจะมีส่วนช่วยแก้ปัญหาเงินแข็งของเราในปัจจุบันได้ คือนโยบายการคลังน่าจะมีส่วนร่วมด้วยครับ อย่างน้อยก็ในช่วงที่การลงทุนภาคเอกชนชะลอตัว กระทรวงการคลังน่าจะเข้ามาเป็นผู้นำในการเพิ่มการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีประโยชน์ต่อการเพิ่มผลผลิต ใช้ประโยชน์ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยในประเทศต่ำ ไม่ต้องไประดมทุนต่างประเทศให้เสี่ยงเปล่าๆ แม้ว่าอาจจะไม่ได้เห็นผลทันตา แต่ก็น่าจะช่วยทำให้เศรษฐกิจกระเตื้อง พร้อมๆ ค่าเงินที่น่าจะอ่อนตัวลงจากการนำเข้าที่สูงขึ้น

แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น เมื่อเราดำรงอยู่ในระบบการเงินโลกที่พลิกผันได้อย่างรวดเร็ว ก็อย่าชะล่าใจว่าเงินบาทจะแข็งตลอดไปแล้วกันครับ พรุ่งนี้สภาพคล่องในตลาดการเงินโลกอาจจะหดหาย และเงินบาทอาจจะอ่อนพรวดพราดก็ได้ใครจะรู้ บริหารความเสี่ยงกันให้ดีๆ ครับ[/quote]

ระดมความคิด VI ทำอย่างไรให้ บาทอ่อนลง

โพสต์แล้ว: จันทร์ ส.ค. 27, 2007 5:25 pm
โดย nut776
ธปท คงต้องคิดเรืองเงินเฟ้อด้วยคับ
ถ้าใช้วิธีที่พื่ๆบอก เช่น พิมพ์แบงค์  
ความเสียหายที่เกิดภายหลังการแก้ปัญหาไม่มีใครบอกได้ครับ
ต้องระวัง

My idea

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ต.ค. 07, 2007 7:48 pm
โดย ktoa
My ideas are:

1) The government should set up a government fund like Tamasek or CIC. This will help spending outside country while baht is appreciating.
2) The government should increase supporting companies who has capability to invest outside thailand by issuing new policys to support them.
3) The mega project should be started to expedite spending domestically and get advantage from strengthen baht. If we import during this time, it will be cheaper and help baht depreciated.
4) Lower R/P rate to keep more space with US Federal rate
5 Last but most important, we should change our government.