มาตรฐานบัญชีใหม่
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. เม.ย. 26, 2007 8:43 am
เมื่อวานไปประชุม SE-ED มาน่ะครับ
ผู้ตรวจสอบบัญชีได้อธิบายถึงการบันทึกบัญชีด้วยมาตรฐานใหม่บัญชีใหม่โดยมีการปรับปรุงงบให้ดูด้วย เลยอยากมาแชร์ให้ฟังน่ะครับ
SE-ED มีบริษัทย่อย 2 บริษัท
1.บริษัท เอ็ม แอนด์ อี จำกัด
2.บริษัท เพลินพัฒน์ จำกัด
ราคาทุน วิธีส่วนได้ส่วนเสีย
เอ็ม แอนด์ อี จำกัด 100,000 19,898,733.71เพลินพัฒน์ จำกัด 83,000,000 69,332,091.51
ตามมาตรฐานบัญชีใหม่ให้บันทึเงินลงทุนในบริษํทด้วยราคาทุนเริ่มต้น โดยไม่ให้คิดตามวิธีส่วนได้ส่วนเสีย
กรณีที่ 1 บริษัท เอ็ม แอนด์ อี จำกัด
กำไร(ตามสัดส่วนเงินลงทุน) 3.4 ล้าน ปันผล 1 ล้าน
เดิม SE-ED รับรู้รายได้จากบริษัท เอ็ม แอนด์ อี จำกัด ตามวิธีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งเป็นจำนวนเงิน 3.4 ล้านบาท แต่ว่าตามมาตรฐานบัญชีใหม่ให้มีการรับรู้รายได้จากเงินปันผลเท่านั้นดังนั้น ในงบกำไรขาดทุน SE-ED จะต้องตัดกำไรออกไป 3.4 -1 = 2.4 ล้าน ออก ในงบกำไรขาดทุน
หน่วยเป็นล้านบาท
งบกำไรขาดทุน เดิม ใหม่
รายได้ 3XXX 3XXX
ส่วนแบ่งกำไรจากบริษํทร่วม 3.4 1
กำไรสุทธิ 209.19 206.79
ส่วนในงบดุล ให้บันทึกเงินลงทุนในบริษัทย่อยตามราคาทุนเริ่มต้น และให้หักกำไรที่เกินจากปันผลออกจากกำไรสะสม (3.4-1 = 2.4 )และหัก เอาส่วนของเงินลงทุนที่คิดโดยวิธีส่วนได้ส่วนเสีย ที่เกินกว่าราคาทุนออกจากกำไรสะสม (19.89 - 0.1 = 19.79) เช่นกัน
งบดุล เดิม ใหม่
สินทรัพย์
เงินลงทุนในบริษัทย่อย 19.89 0.1
ส่วนผู้ถือหุ้น
กำไรสะสม XXXX XXXX - 19.79 - 2.4
สรุป คือกรณีที่บริษัทย่อยกำไร ให้นับรายได้เฉพาะส่วนของเงินปันผลที่บริษํทย่อยส่งให้บริษัทแม่เท่านั้น
ส่วนในงบดุล เงินลงทุนในบริษัทย่อยให้ใช้ราคาทุนในการคิดมูลค่า ดังนั้นในการปรับงบดุลให้หักกำไรที่เกินจากปันผลออกจากกำไรสะสม และหัก เอาส่วนของเงินลงทุนที่คิดโดยวิธีส่วนได้ส่วนเสีย ที่เกินกว่าราคาทุนออกจากกำไรสะสม ด้วย
กำไรสะสม ใหม่ = กำไรสะสมเดิม - ส่วนต่างเงินลงทุนเริ่มแรกกับเงินลงทุนที่คิดตามวิธีส่วนได้ส่วนเสีย - ส่วนต่างรายได้ที่คิดจากวิธีส่วนได้ส่วนเสียกับ เงินปันผลที่จ่ายจริง
ซึ่งจะทำให้กำไรสะสมต่ำลง และมีผลให้ส่วนผู้ถือหุ้นต่ำลง ROE จะสูงขึ้น
กรณีที่2 บริษัท เพลินพัฒน์ จำกัด
เนื่องจากบริษัท เพลินพัฒน์จำกัดนั้นมีผลขาดทุน (ขาดทุน 8.8 ล้านบาท) แต่ตามหลักการบัญชีใหม่ให้มีการบันทึกเงินลงทุนตามราคาทุนหรือตามราคายุติธรรม ซึ่งต้องมีการปรับการด้อยค่าให้เท่ากับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงดังนั้น บริษัทจึงเหมือนรับรู้การขาดทุนเข้าไปตามวิธีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งทำให้งบไม่ต่างจากเดิม
ผู้ตรวจสอบบัญชีได้อธิบายถึงการบันทึกบัญชีด้วยมาตรฐานใหม่บัญชีใหม่โดยมีการปรับปรุงงบให้ดูด้วย เลยอยากมาแชร์ให้ฟังน่ะครับ
SE-ED มีบริษัทย่อย 2 บริษัท
1.บริษัท เอ็ม แอนด์ อี จำกัด
2.บริษัท เพลินพัฒน์ จำกัด
ราคาทุน วิธีส่วนได้ส่วนเสีย
เอ็ม แอนด์ อี จำกัด 100,000 19,898,733.71เพลินพัฒน์ จำกัด 83,000,000 69,332,091.51
ตามมาตรฐานบัญชีใหม่ให้บันทึเงินลงทุนในบริษํทด้วยราคาทุนเริ่มต้น โดยไม่ให้คิดตามวิธีส่วนได้ส่วนเสีย
กรณีที่ 1 บริษัท เอ็ม แอนด์ อี จำกัด
กำไร(ตามสัดส่วนเงินลงทุน) 3.4 ล้าน ปันผล 1 ล้าน
เดิม SE-ED รับรู้รายได้จากบริษัท เอ็ม แอนด์ อี จำกัด ตามวิธีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งเป็นจำนวนเงิน 3.4 ล้านบาท แต่ว่าตามมาตรฐานบัญชีใหม่ให้มีการรับรู้รายได้จากเงินปันผลเท่านั้นดังนั้น ในงบกำไรขาดทุน SE-ED จะต้องตัดกำไรออกไป 3.4 -1 = 2.4 ล้าน ออก ในงบกำไรขาดทุน
หน่วยเป็นล้านบาท
งบกำไรขาดทุน เดิม ใหม่
รายได้ 3XXX 3XXX
ส่วนแบ่งกำไรจากบริษํทร่วม 3.4 1
กำไรสุทธิ 209.19 206.79
ส่วนในงบดุล ให้บันทึกเงินลงทุนในบริษัทย่อยตามราคาทุนเริ่มต้น และให้หักกำไรที่เกินจากปันผลออกจากกำไรสะสม (3.4-1 = 2.4 )และหัก เอาส่วนของเงินลงทุนที่คิดโดยวิธีส่วนได้ส่วนเสีย ที่เกินกว่าราคาทุนออกจากกำไรสะสม (19.89 - 0.1 = 19.79) เช่นกัน
งบดุล เดิม ใหม่
สินทรัพย์
เงินลงทุนในบริษัทย่อย 19.89 0.1
ส่วนผู้ถือหุ้น
กำไรสะสม XXXX XXXX - 19.79 - 2.4
สรุป คือกรณีที่บริษัทย่อยกำไร ให้นับรายได้เฉพาะส่วนของเงินปันผลที่บริษํทย่อยส่งให้บริษัทแม่เท่านั้น
ส่วนในงบดุล เงินลงทุนในบริษัทย่อยให้ใช้ราคาทุนในการคิดมูลค่า ดังนั้นในการปรับงบดุลให้หักกำไรที่เกินจากปันผลออกจากกำไรสะสม และหัก เอาส่วนของเงินลงทุนที่คิดโดยวิธีส่วนได้ส่วนเสีย ที่เกินกว่าราคาทุนออกจากกำไรสะสม ด้วย
กำไรสะสม ใหม่ = กำไรสะสมเดิม - ส่วนต่างเงินลงทุนเริ่มแรกกับเงินลงทุนที่คิดตามวิธีส่วนได้ส่วนเสีย - ส่วนต่างรายได้ที่คิดจากวิธีส่วนได้ส่วนเสียกับ เงินปันผลที่จ่ายจริง
ซึ่งจะทำให้กำไรสะสมต่ำลง และมีผลให้ส่วนผู้ถือหุ้นต่ำลง ROE จะสูงขึ้น
กรณีที่2 บริษัท เพลินพัฒน์ จำกัด
เนื่องจากบริษัท เพลินพัฒน์จำกัดนั้นมีผลขาดทุน (ขาดทุน 8.8 ล้านบาท) แต่ตามหลักการบัญชีใหม่ให้มีการบันทึกเงินลงทุนตามราคาทุนหรือตามราคายุติธรรม ซึ่งต้องมีการปรับการด้อยค่าให้เท่ากับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงดังนั้น บริษัทจึงเหมือนรับรู้การขาดทุนเข้าไปตามวิธีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งทำให้งบไม่ต่างจากเดิม