จากข่าวข้างล่างนี้ 1200 ล้านบาท ที่โดนกล่าวหาเนี่ย เค้าไปบันทึกไว้เป็นรายได้ตรงไหนครับ
คตส.พบพิรุธบัญชีของ SATTEL
คตส.พบพิรุธ ชินแซทเทลไลท์ ตกแต่งบัญชี จากกรณี เอ็กซิมแบงก์ปล่อยกู้พม่าและวก
กลับมาซื้อ 'ไอพีสตาร์' แต่ SATTEL นำเงินที่ได้จากการจ่ายค่าประกันไทยคม 3 จำนวน
1,200 ล้านบาท เข้ามาระบุเป็นรายได้ของบริษัท ชี้เหมือนปั่นราคา ยันมีหลักฐานเด็ดมัดเงินค่า
ประกัน 1.2 พันล้านคืนไอซีที
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ
(คตส.) เปิดเผยถึงว่า จากการตรวจสอบบัญชีรายได้ของบริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน)
หรือ SATTEL เพื่อหาความชัดเจนของเงินที่ได้มาจากกรณีที่ รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้
อนุมัติโครงการปล่อยเงินกู้ของธนาคารเพื่อการนำเข้าและการส่งออก (เอ็กซิมแบงก์) ให้รัฐบาล
พม่า 4,000 ล้านบาท ที่เป็นการกระทำผิดเชิงนโยบายเพราะรัฐบาลพม่านำเงินกู้ไปซื้อดาวเทียม
ไอพีสตาร์ ของบริษัท ชินแซทฯ เป็นมูลค่ารวมเกือบ 1 พันล้านบาท นั้น คตส. พบสิ่งที่น่าสงสัยเพิ่ม
เติมว่า เพราะเหตุใด บริษัทชินแซทฯ ถึงนำเงินที่ได้จากการจ่ายค่าประกันปัญหาที่เกิดขึ้นกับ
ระบบพลังงานของดาวเทียมไทยคม 3 จำนวน 33,028,690 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1,200
ล้านบาท เข้ามาระบุเป็นรายได้ของบริษัท
โดย คตส. ได้พบว่าการนำเงินจำนวนดังกล่าวมาเป็นรายได้ของบริษัทชินแซทฯนั้นทำ
ให้ ในปีที่เกิดธุรกรรมดังกล่าวบริษัทชินแซทฯ ได้จ่ายภาษีนิติบุคคลไปกว่า 300 ล้านบาท แต่พอ
ถึงในช่วงกลางปีเดียวกันก็สามารถมาขอหักคืนภาษีได้จำนวนมากขึ้น เสมือนเป็นการปั่นราคาให้
หุ้นของบริษัทดูดี มีความหวือหวา เนื่องจากมีรายได้ของผลประกอบการสูงขึ้นถึง 1,200 ล้านบาท
และจากการตรวจสอบยังพบอีกว่าเรื่องดังกล่าวมีการดำเนินการคล้ายคลึงกับการซื้อ - ขาย หุ้น
บริษัทชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ของ นายพานทองแท้ และ นางสาวพิณทองทา ชินวัตร
จากบริษัท แอมเพิลริช อินเวสเม้นท์ จำกัด เพราะมีการส่งบุคคลส่งหนังสือหารือไปยังกรม
สรรพากรก่อนว่ากรณีดังกล่าวต้องเสียภาษีหรือไม่ ซึ่งกรมสรรพากรก็ตอบกลับไปว่าไม่ต้องเสีย
ภาษีอีกด้วย
ทำไมบริษัทชินแซทฯ ถึงเอาเงินส่วนนี้ไปเป็นรายได้ของบริษัท เหมือนกับหลอกลวง
ชาวบ้านทั้งประเทศว่าหุ้นของบริษัทดี เพราะมีกำไรเยอะ ฐานะการเงินมั่นคง แต่แม้ว่ากระทรวง
ไอซีทีจะให้สัมปทานกับบริษัทชินแซทฯไปแล้วก็จริง แต่ดาวเทียมนั้นเมื่อหมดเวลาสัมปทานก็
ต้องกลับมาเป็นของเจ้าของรัฐบาลหรือกระทรวงไอซีทีเหมือนเดิม ดังนั้นชินแซทฯ ก็ต้องเป็นผู้
จ่ายค่าเบี้ยประกันเพื่อรักษาสภาพของดาวเทียม เมื่อเกิดการชำรุดเสียหายไอซีทีก็ต้องรับเงิน
ประกันดังกล่าวคืนแทนซึ่งเป็นเรื่องปกติ แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวยังกล่าวต่ออีกว่า คตส. มีหลักฐานสำคัญที่ระบุว่าเงินค่าชดเชยที่ได้จากการ
จ่ายค่าประกันปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบพลังงานของดาวเทียมไทยคม 3 จำนวน 33,028,690
ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1,200 ล้านบาท นั้นจะต้องตกเป็นของกระทรวงไอซีที แต่การกระทำ
ที่ผ่านมาของกระทรวงไอซีทีกลับดูเหมือนกับว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทชินแซทฯ ทำให้
ส่วนราชการเสียประโยชน์ โดยขณะนี้ คตส. กำลังตรวจสอบเรื่องดังกล่าวอย่างใกล้ชิด
คตส. ได้ตั้งข้อสังเกตในการปล่อยกู้ครั้งนี้อีกว่าเอ็กซิมแบงก์จะสามารถปล่อยกู้ใน
กรณีของบริษัท ชินแซทฯ ซึ่งรัฐบาลพม่าได้ซื้อดาวเทียมไอพีสตาร์ ได้หรือไม่ เพราะค่อนข้างจะ
ไม่ชัดเจนว่าโครงการดังกล่าวอยู่ในหมวดของการซื้อสินค้าหรือบริการ เพราะเป็นเพียงแค่ช่องดาว
เทียมซึ่งไม่ได้เกิดประโยชน์อะไรกับประเทศไทยเลย ซึ่งการปล่อยกู้ในวงเงินทั้งหมด 4,000 ล้าน
บาท ระยะเวลา 12 ปี ดอกเบี้ย 3% ต่อปีนั้น ประชาชนคนไทยต้องเป็นผู้จ่ายดอกเบี้ยส่วนต่างที่
เอ็กซิมฯ ไปขอกู้เงินจากที่อื่นในอัตราประมาณ 4.5% แหล่งข่าวกล่าว
ที่มา : น.ส.พ. กระแสหุ้น