เหนือชั้น ...เหนือชิน
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มี.ค. 15, 2007 11:35 am
เงินไหลออก อย่างนี้ ค่าเงินคงอ่อนลงปะครับ
เหนือชั้นจ่ายปันผลสูงกว่ากำไร "เทมาเส็ก"ดูดเงินออก3หมื่นล้าน
จับตากระแสการเปลี่ยนแปลงหุ้นชินคอร์ป เผยเทมาเส็กเล่นเกมจ่ายเงินปันผล "ชินคอร์ปและ เอไอเอส" สูงกว่ากำไรของบริษัทเพื่อดึงเงินเข้ากระเป๋า เผยหลังซื้อหุ้นปีเศษรับเงินปันผลไปแล้วเกือบ 3 หมื่นล้าน บริษัทที่ปรึกษาการเงินชำแหละเทมาเส็กต้องการลดภาระความเสียหายจากการลงทุนในชินคอร์ปหลังเจอปัญหารุมสกรัม จึงดูดกำไรสะสมเข้ากระเป๋าตัวเองก่อนที่จะเทขายลดสัดส่วนการถือหุ้น
จากกระแสการเปลี่ยนของบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่กำลังคุกรุ่นอยู่ขณะนี้ ทั้งเรื่องข่าวการลาออกของนายบุญคลี ปลั่งศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มชิน รวมถึงเรื่องการเจรจาขายหุ้นเพื่อลดสัดส่วนการถือครองหุ้นของเทมาเส็กในชินคอร์ป หรือการตัดขายกิจการอย่างดาวเทียมไทยคม, แคปปิตอล โอเค รวมทั้งผลสอบเรื่อง "นอมินี" ที่ยังไม่มีคำตอบ
รายงานข่าวจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงการจ่ายเงินปันผลของบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ว่าหลังจากที่เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในชินคอร์ปและเอไอเอส ได้ใช้นโยบายการจ่ายเงินปันผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นในอัตราที่สูงเกินกว่ากำไรสุทธิของบริษัท โดยปี 2549 ชินคอร์ปมีกำไรสุทธิต่อหุ้น 1.09 บาท แต่ได้มีการจ่ายเงินปันผลถึง 2.30 บาทต่อหุ้น โดยงวดบัญชีปี 2549 ชินคอร์ปจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นรวม 7,989.55 ล้านบาท ขณะที่มีกำไรสุทธิเพียง 3,409 ล้านบาท
ในกรณีของเอไอเอสก็เช่นเดียวกัน บริษัทมีกำไรต่อหุ้น 5.50 บาท แต่บอร์ดมีการอนุมัติจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นถึง 6.30 บาท โดยมีการจ่ายเงินปันผลเป็นเม็ดเงินรวมถึง 18,608 ล้านบาท ขณะที่บริษัทมีกำไรสุทธิเพียง 16,256.02 ล้านบาท
แหล่งข่าวจากบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินแสดงความเห็นต่อกรณีดังกล่าวว่า โดยปกติการจ่ายเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียนจะนำกำไรบางส่วนมาแบ่งมาจ่ายเงินปันผลส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งเหลือเก็บไว้เพื่อใช้เป็นเงินลงทุน แต่ในกรณีของชินคอร์ปและเอไอเอสนั้นเป็นการจ่ายเงินปันผลเกินกว่ากำไรของบริษัท ซึ่งเท่ากับว่าต้องมีการดึงกำไรสะสมออกมาจ่ายให้กับผู้ถือหุ้น ซึ่งโดยปกติบริษัทก็จะไม่ทำเช่นนี้ เพราะอาจจะทำให้มองว่าผู้ถือหุ้นพยายามดูดเงินออกจากบริษัทซึ่งอาจจะมีผลให้ฐานะการเงินของบริษัทลดลง แต่ในกรณีของเทมาเส็กอาจเป็นได้ว่าผลจากที่ไม่สามารถดำเนินการตัดขายทรัพย์สินที่ไม่ต้องการได้ตามแผน ประกอบกับราคาหุ้นที่ลดลงมากทำให้บริษัทต้องการลดภาระความเสียหายจากการลงทุน
ดังนั้นสิ่งที่จะลดภาระการขาดทุนจากการซื้อหุ้นชินคอร์ป ก็คือผลตอบแทนจากเงินปันผล เพราะเทมาเส็กเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เกือบ 100% การจ่ายปันผลทำให้เทมาเส็กจะเป็นผู้ที่ได้รับผลตอบแทนโดยตรงเกือบทั้งหมด ก่อนที่จะมีการเทขายเพื่อลดสัดส่วนการถือครองให้ต่ำกว่า 50%
แหล่งข่าวกล่าวว่า เม็ดเงินโดยรวมที่เทมาเส็กได้รับเงินปันผลจากหุ้นชินคอร์ปและเอไอเอส ตั้งแต่เข้ามาซื้อหุ้นเมื่อ 23 มกราคม 2549 โดยรวมอยู่ที่ประมาณ 28,814 ล้านบาท ซึ่งงวดแรกเป็นการรับเงินปันผลจากงวดครึ่งปีหลังของปี 2548 โดยมีการจ่ายปันผลหลังเทมาเส็กเข้ามาซื้อหุ้นเพียง 2-3 เดือน ซึ่งครั้งนั้นเทมาเส็กได้รับเงินไปประมาณ 10,198 ล้านบาท และงวดประจำปี 2549 อีกประมาณ 18,615 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นผลตอบแทนการลงทุนที่ไม่น้อยเช่นกัน และจากการแข็งค่าของเงินบาทก็ทำให้เทมาเส็กได้กำไรจากการนำเงินออกไปด้วยอีกอย่างน้อย 2 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
ทั้งนี้ เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ เข้าซื้อหุ้นชินคอร์ป 1,487.74 ล้านหุ้น ด้วยมูลค่า 7.3 หมื่นล้านบาทเมื่อ 23 มกราคม 2549 และได้มีการทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์ทำให้เทมาเส็กถือหุ้นชินคอร์ปรวม 3,076.76 ล้านหุ้น ซึ่งเทมาเส็กก็ได้รับผลตอบแทนการลงทุนกลับไปในทันที จากการประกาศจ่ายเงินปันผล (งวด 6 เดือนหลังปี 2548) ของหุ้นชินคอร์ปในราคาหุ้นละ 1.35 บาท คิดเป็นมูลค่า 4,153.63 ล้านบาท
และในส่วนของหุ้นเอไอเอสที่ประกาศจ่ายปันผลหุ้นละ 3.30 บาท โดยที่เทมาเส็กถือหุ้นในเอไอเอสผ่านทางชินคอร์ปสัดส่วน 42.86% หรือ 1,263.71 ล้านหุ้น นอกจากนี้ยังถือหุ้นผ่านทางบริษัทสิงคโปร์ เทเลคอมอีก 568 ล้านหุ้น หรือ 19.24% ทำให้เทมาเส็กได้รับเงินปันผลของ เอไอเอสงวดแรก 6,044.64 ล้านบาท รวมเทมาเส็กรับเงินปันผลงวดแรก 10,198.27 ล้านบาท
เหนือชั้นจ่ายปันผลสูงกว่ากำไร "เทมาเส็ก"ดูดเงินออก3หมื่นล้าน
จับตากระแสการเปลี่ยนแปลงหุ้นชินคอร์ป เผยเทมาเส็กเล่นเกมจ่ายเงินปันผล "ชินคอร์ปและ เอไอเอส" สูงกว่ากำไรของบริษัทเพื่อดึงเงินเข้ากระเป๋า เผยหลังซื้อหุ้นปีเศษรับเงินปันผลไปแล้วเกือบ 3 หมื่นล้าน บริษัทที่ปรึกษาการเงินชำแหละเทมาเส็กต้องการลดภาระความเสียหายจากการลงทุนในชินคอร์ปหลังเจอปัญหารุมสกรัม จึงดูดกำไรสะสมเข้ากระเป๋าตัวเองก่อนที่จะเทขายลดสัดส่วนการถือหุ้น
จากกระแสการเปลี่ยนของบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่กำลังคุกรุ่นอยู่ขณะนี้ ทั้งเรื่องข่าวการลาออกของนายบุญคลี ปลั่งศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มชิน รวมถึงเรื่องการเจรจาขายหุ้นเพื่อลดสัดส่วนการถือครองหุ้นของเทมาเส็กในชินคอร์ป หรือการตัดขายกิจการอย่างดาวเทียมไทยคม, แคปปิตอล โอเค รวมทั้งผลสอบเรื่อง "นอมินี" ที่ยังไม่มีคำตอบ
รายงานข่าวจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงการจ่ายเงินปันผลของบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ว่าหลังจากที่เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในชินคอร์ปและเอไอเอส ได้ใช้นโยบายการจ่ายเงินปันผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นในอัตราที่สูงเกินกว่ากำไรสุทธิของบริษัท โดยปี 2549 ชินคอร์ปมีกำไรสุทธิต่อหุ้น 1.09 บาท แต่ได้มีการจ่ายเงินปันผลถึง 2.30 บาทต่อหุ้น โดยงวดบัญชีปี 2549 ชินคอร์ปจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นรวม 7,989.55 ล้านบาท ขณะที่มีกำไรสุทธิเพียง 3,409 ล้านบาท
ในกรณีของเอไอเอสก็เช่นเดียวกัน บริษัทมีกำไรต่อหุ้น 5.50 บาท แต่บอร์ดมีการอนุมัติจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นถึง 6.30 บาท โดยมีการจ่ายเงินปันผลเป็นเม็ดเงินรวมถึง 18,608 ล้านบาท ขณะที่บริษัทมีกำไรสุทธิเพียง 16,256.02 ล้านบาท
แหล่งข่าวจากบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินแสดงความเห็นต่อกรณีดังกล่าวว่า โดยปกติการจ่ายเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียนจะนำกำไรบางส่วนมาแบ่งมาจ่ายเงินปันผลส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งเหลือเก็บไว้เพื่อใช้เป็นเงินลงทุน แต่ในกรณีของชินคอร์ปและเอไอเอสนั้นเป็นการจ่ายเงินปันผลเกินกว่ากำไรของบริษัท ซึ่งเท่ากับว่าต้องมีการดึงกำไรสะสมออกมาจ่ายให้กับผู้ถือหุ้น ซึ่งโดยปกติบริษัทก็จะไม่ทำเช่นนี้ เพราะอาจจะทำให้มองว่าผู้ถือหุ้นพยายามดูดเงินออกจากบริษัทซึ่งอาจจะมีผลให้ฐานะการเงินของบริษัทลดลง แต่ในกรณีของเทมาเส็กอาจเป็นได้ว่าผลจากที่ไม่สามารถดำเนินการตัดขายทรัพย์สินที่ไม่ต้องการได้ตามแผน ประกอบกับราคาหุ้นที่ลดลงมากทำให้บริษัทต้องการลดภาระความเสียหายจากการลงทุน
ดังนั้นสิ่งที่จะลดภาระการขาดทุนจากการซื้อหุ้นชินคอร์ป ก็คือผลตอบแทนจากเงินปันผล เพราะเทมาเส็กเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เกือบ 100% การจ่ายปันผลทำให้เทมาเส็กจะเป็นผู้ที่ได้รับผลตอบแทนโดยตรงเกือบทั้งหมด ก่อนที่จะมีการเทขายเพื่อลดสัดส่วนการถือครองให้ต่ำกว่า 50%
แหล่งข่าวกล่าวว่า เม็ดเงินโดยรวมที่เทมาเส็กได้รับเงินปันผลจากหุ้นชินคอร์ปและเอไอเอส ตั้งแต่เข้ามาซื้อหุ้นเมื่อ 23 มกราคม 2549 โดยรวมอยู่ที่ประมาณ 28,814 ล้านบาท ซึ่งงวดแรกเป็นการรับเงินปันผลจากงวดครึ่งปีหลังของปี 2548 โดยมีการจ่ายปันผลหลังเทมาเส็กเข้ามาซื้อหุ้นเพียง 2-3 เดือน ซึ่งครั้งนั้นเทมาเส็กได้รับเงินไปประมาณ 10,198 ล้านบาท และงวดประจำปี 2549 อีกประมาณ 18,615 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นผลตอบแทนการลงทุนที่ไม่น้อยเช่นกัน และจากการแข็งค่าของเงินบาทก็ทำให้เทมาเส็กได้กำไรจากการนำเงินออกไปด้วยอีกอย่างน้อย 2 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
ทั้งนี้ เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ เข้าซื้อหุ้นชินคอร์ป 1,487.74 ล้านหุ้น ด้วยมูลค่า 7.3 หมื่นล้านบาทเมื่อ 23 มกราคม 2549 และได้มีการทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์ทำให้เทมาเส็กถือหุ้นชินคอร์ปรวม 3,076.76 ล้านหุ้น ซึ่งเทมาเส็กก็ได้รับผลตอบแทนการลงทุนกลับไปในทันที จากการประกาศจ่ายเงินปันผล (งวด 6 เดือนหลังปี 2548) ของหุ้นชินคอร์ปในราคาหุ้นละ 1.35 บาท คิดเป็นมูลค่า 4,153.63 ล้านบาท
และในส่วนของหุ้นเอไอเอสที่ประกาศจ่ายปันผลหุ้นละ 3.30 บาท โดยที่เทมาเส็กถือหุ้นในเอไอเอสผ่านทางชินคอร์ปสัดส่วน 42.86% หรือ 1,263.71 ล้านหุ้น นอกจากนี้ยังถือหุ้นผ่านทางบริษัทสิงคโปร์ เทเลคอมอีก 568 ล้านหุ้น หรือ 19.24% ทำให้เทมาเส็กได้รับเงินปันผลของ เอไอเอสงวดแรก 6,044.64 ล้านบาท รวมเทมาเส็กรับเงินปันผลงวดแรก 10,198.27 ล้านบาท