คุณมีหุ้นไฟฟ้า หรือใช้ไฟฟ้ายอมให้ตั้งโรงไฟฟ้าติดบ้านคุณหรือ
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 09, 2007 11:11 am
จะไปสร้างที่ไหนก็ถูกต่อต้านจากชาวบ้าน
เสนอแบบเดิมๆอีกครั้ง ว่าสร้างมันตรงที่บริเวณคนใช้ไฟมากๆนี่แหละ
เอากลางกรุงเทพเลย จะดีมาก
กฟผ.' ถอยโรงไฟฟ้าทับสะแกใช้ก๊าชฯ ไอพีพีสะ ดุดผวาม็อบต้าน [9 ก.พ. 50 - 04:37]
นายวิศิษฎ์ อัครวิเนค กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (เอ็กโก) เปิดเผยถึงการจัดทำประชาพิจารณ์แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า หรือพีดีพี 2007 ที่ต้องถูกยกเลิกไปเพราะการคัดค้านของกลุ่มต่อต้านโรงไฟฟ้าทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 7 ก.พ. ว่า เรื่องดังกล่าวทำให้ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนมีความกังวลและเป็นห่วงว่าจะเกิดเป็นกระแสต่อต้านไปยังจังหวัดอื่นๆ ดังนั้น รัฐบาลจะต้องมีนโยบายชัดเจน เพราะหากจะส่งเสริมการกระจายเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า โดยการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน รัฐบาลก็ต้องมีการรับประกันความเสี่ยงที่เกิดจากการต่อต้าน เพื่อที่จะทำให้นักลงทุนกล้าที่จะลงทุน
การต่อต้านการทำประชาพิจารณ์ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่น่าเป็นห่วง เพราะหากไม่มีการทำประชาพิจารณ์ ว่าจะใช้เชื้อเพลิงใดผลิตไฟในระยะยาวเกิดขึ้นไม่ได้ การผลิตไฟฟ้าในโครงการผู้ผลิตอิสระรายใหญ่ หรือไอพีพี ที่แม้จะได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลให้ ก่อสร้างได้หลังการเปิดประมูลในเดือน เม.ย.นี้ ก็อาจทำให้การก่อสร้างถูกต่อต้านได้เช่นกัน โดยเฉพาะกับนักลงทุนที่ต้องการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง และหากรัฐบาลยกเลิกให้มีถ่านหินในไอพีพีรอบใหม่นี้ และให้ใช้เฉพาะก๊าซธรรมชาติ ก็จะกลายเป็นว่าเกิดการผูกขาดเชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติที่ขณะนี้มีสัดส่วนผลิตไฟสูงถึง 75% ซึ่งค่อนข้างจะผูกขาดในเรื่องของเชื้อเพลิง หรือหากจะใช้นิวเคลียร์ก็ยิ่งจะยากมากในการก่อสร้าง
นายวิศิษฎ์กล่าวกรณีที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เสนอตัวที่จะลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าทับสะแก ที่ประจวบคีรีขันธ์ ผมมองว่า กฟผ. ไม่ควรจะวางแผนชัดเจนในขณะนี้ เพราะยังไม่ได้ สอบถามชาวบ้านในพื้นที่ว่าจะยอมให้มีการก่อสร้างหรือไม่ ดังนั้น แผนพีดีพีที่กระทรวงพลังงานจะประกาศออกมาหลังการทำประชาพิจารณ์ ก็ควรระบุให้ชัดเจนเลยว่า ในช่วงเวลาใดที่ควรจะมีโรงไฟฟ้าถ่านหินและมีในปริมาณผลิตไฟเท่าใด สถานที่ตั้งอยู่แห่งใด เพื่อให้ได้ข้อยุติก่อนไปเริ่มต้นทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่นั้นๆ
ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงพลังงานว่า การจัดทำประชาพิจารณ์ พีดีพี 2007 ที่ถูกยกเลิกไปนั้น และล่าสุด กระทรวงพลังงานกำลังหาสถานที่ในการจัดสัมมนาอีกครั้งหนึ่งในเดือน ก.พ.นี้ เพื่อที่จะได้มีเวลาสรุปแผนพีดีพีที่ชัดเจนก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป โดยหากการประชาพิจารณ์ เป็นไปตามแผนดังกล่าว ก็จะทำให้การเปิดประมูลโครงการรับซื้อไฟไอพีพีได้ในเดือน เม.ย.นี้ ซึ่งผู้บริหารรายหนึ่งระบุว่าหากกรณีที่จะมีการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงถูกต่อต้านอย่างรุนแรง ก็อาจต้องยกเลิกการเปิดประมูลไอพีพีสำหรับกลุ่มโรงไฟฟ้าที่จะใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ส่วนกรณีของ กฟผ.ที่เตรียมพื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ อ.ทับสะแก กำลังการผลิต 2,100 เมกะวัตต์ หากไม่ได้รับอนุมัติจากรัฐบาลให้ก่อสร้าง กฟผ.ก็จะหันไปใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงแทน
ผู้สื่อข่าวรายงานจากกลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตไฟฟ้า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ว่า ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนยอมรับว่าการต่อต้านการทำประชาพิจารณ์เมื่อ 7 ก.พ. จะทำให้เอกชนทั้งในและต่างประเทศที่จะเข้ามาประมูลไอพีพีไม่มั่นใจต่อการเข้ามาลงทุนในไทย.
เสนอแบบเดิมๆอีกครั้ง ว่าสร้างมันตรงที่บริเวณคนใช้ไฟมากๆนี่แหละ
เอากลางกรุงเทพเลย จะดีมาก
กฟผ.' ถอยโรงไฟฟ้าทับสะแกใช้ก๊าชฯ ไอพีพีสะ ดุดผวาม็อบต้าน [9 ก.พ. 50 - 04:37]
นายวิศิษฎ์ อัครวิเนค กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (เอ็กโก) เปิดเผยถึงการจัดทำประชาพิจารณ์แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า หรือพีดีพี 2007 ที่ต้องถูกยกเลิกไปเพราะการคัดค้านของกลุ่มต่อต้านโรงไฟฟ้าทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 7 ก.พ. ว่า เรื่องดังกล่าวทำให้ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนมีความกังวลและเป็นห่วงว่าจะเกิดเป็นกระแสต่อต้านไปยังจังหวัดอื่นๆ ดังนั้น รัฐบาลจะต้องมีนโยบายชัดเจน เพราะหากจะส่งเสริมการกระจายเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า โดยการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน รัฐบาลก็ต้องมีการรับประกันความเสี่ยงที่เกิดจากการต่อต้าน เพื่อที่จะทำให้นักลงทุนกล้าที่จะลงทุน
การต่อต้านการทำประชาพิจารณ์ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่น่าเป็นห่วง เพราะหากไม่มีการทำประชาพิจารณ์ ว่าจะใช้เชื้อเพลิงใดผลิตไฟในระยะยาวเกิดขึ้นไม่ได้ การผลิตไฟฟ้าในโครงการผู้ผลิตอิสระรายใหญ่ หรือไอพีพี ที่แม้จะได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลให้ ก่อสร้างได้หลังการเปิดประมูลในเดือน เม.ย.นี้ ก็อาจทำให้การก่อสร้างถูกต่อต้านได้เช่นกัน โดยเฉพาะกับนักลงทุนที่ต้องการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง และหากรัฐบาลยกเลิกให้มีถ่านหินในไอพีพีรอบใหม่นี้ และให้ใช้เฉพาะก๊าซธรรมชาติ ก็จะกลายเป็นว่าเกิดการผูกขาดเชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติที่ขณะนี้มีสัดส่วนผลิตไฟสูงถึง 75% ซึ่งค่อนข้างจะผูกขาดในเรื่องของเชื้อเพลิง หรือหากจะใช้นิวเคลียร์ก็ยิ่งจะยากมากในการก่อสร้าง
นายวิศิษฎ์กล่าวกรณีที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เสนอตัวที่จะลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าทับสะแก ที่ประจวบคีรีขันธ์ ผมมองว่า กฟผ. ไม่ควรจะวางแผนชัดเจนในขณะนี้ เพราะยังไม่ได้ สอบถามชาวบ้านในพื้นที่ว่าจะยอมให้มีการก่อสร้างหรือไม่ ดังนั้น แผนพีดีพีที่กระทรวงพลังงานจะประกาศออกมาหลังการทำประชาพิจารณ์ ก็ควรระบุให้ชัดเจนเลยว่า ในช่วงเวลาใดที่ควรจะมีโรงไฟฟ้าถ่านหินและมีในปริมาณผลิตไฟเท่าใด สถานที่ตั้งอยู่แห่งใด เพื่อให้ได้ข้อยุติก่อนไปเริ่มต้นทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่นั้นๆ
ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงพลังงานว่า การจัดทำประชาพิจารณ์ พีดีพี 2007 ที่ถูกยกเลิกไปนั้น และล่าสุด กระทรวงพลังงานกำลังหาสถานที่ในการจัดสัมมนาอีกครั้งหนึ่งในเดือน ก.พ.นี้ เพื่อที่จะได้มีเวลาสรุปแผนพีดีพีที่ชัดเจนก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป โดยหากการประชาพิจารณ์ เป็นไปตามแผนดังกล่าว ก็จะทำให้การเปิดประมูลโครงการรับซื้อไฟไอพีพีได้ในเดือน เม.ย.นี้ ซึ่งผู้บริหารรายหนึ่งระบุว่าหากกรณีที่จะมีการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงถูกต่อต้านอย่างรุนแรง ก็อาจต้องยกเลิกการเปิดประมูลไอพีพีสำหรับกลุ่มโรงไฟฟ้าที่จะใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ส่วนกรณีของ กฟผ.ที่เตรียมพื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ อ.ทับสะแก กำลังการผลิต 2,100 เมกะวัตต์ หากไม่ได้รับอนุมัติจากรัฐบาลให้ก่อสร้าง กฟผ.ก็จะหันไปใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงแทน
ผู้สื่อข่าวรายงานจากกลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตไฟฟ้า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ว่า ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนยอมรับว่าการต่อต้านการทำประชาพิจารณ์เมื่อ 7 ก.พ. จะทำให้เอกชนทั้งในและต่างประเทศที่จะเข้ามาประมูลไอพีพีไม่มั่นใจต่อการเข้ามาลงทุนในไทย.