News on วิธีบันทึกบัญชีใหม่
โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 07, 2007 8:12 pm
หวั่นวิธีบันทึกบัญชีใหม่กระทบการจ่ายปันผล บจ. ปีนี้
เหตุต้องนำกำไรบริษัทลูกใส่เป็นรายรับ จากเดิมบันทึกกำไรทั้งก้อน
อ.จุฬาฯระบุหลัง Q1/50 บจ.จะต้องเปลี่ยนวิธีบันทึกบัญชีใหม่ เชื่ออาจ
กระทบการจ่ายเงินปันผล เหตุจะนำกำไร บริษัทลูกมาเป็นรายได้รับจากเงินปันผล
จากเดิมบันทึกกำไรทั้งจำนวนโดยตรง พร้อมระบุมี บจ.ที่เปลี่ยนวิธีบันทึกบัญชีใหม่
แล้ว 2 บ. คือ TFI-SPPT
นายวรศักดิ์ ทุมมานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาบัญชีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการกลั่นกรองมาตรฐานบัญชีสภา
วิชาชีพบัญชี กล่าวว่า ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ฉบับ 26/2549 เรื่องของการปฏิบัติตามวิธี
การบัญชีเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 44 เรื่องงบการเงินรวมและการบัญชีสำหรับเงินลง
ทุนในบริษัทย่อยนั้น บริษัทจดทะเบียนจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชีจากส่วนได้เสียเป็น
วิธีราคาทุนสามารถกระทำได้สำหรับงบการเงินปี 2549 เป็นต้นไป โดยให้ปรับปรุงงบการเงินย้อน
หลัง หรืออาจใช้ราคาตามบัญชีในวันที่เปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชี โดยจะต้องคำนึงถึงรายการที่ได้
บันทึกตามวิธีส่วนได้เสียไปแล้วจะต้องไม่นำมาบันทึกซ้ำอีกในเวลาต่อมา เช่น เมื่อมีการบันทึก
กำไรจากบริษัทย่อยไว้แล้ว และหลังเปลี่ยนนโยบายบัญชีเป็นวิธีราคาทุน บริษัทย่อยต้องจ่ายเงิน
ปันผลมาให้ บริษัทใหญ่จะต้องไม่บันทึกเงินปันผลรับนั้นเป็นรายได้ซ้ำอีก แต่ให้นำไปปรับปรุงเงิน
ลงทุนที่ยกมาแทน
สำหรับบริษัทที่ไม่ต้องการจะใช้วิธีราคาทุนในปี 2549 ก็ให้ใช้วิธีส่วนได้เสียไปตาม
เดิมจนถึงสิ้นปี 2549 และให้ใช้วิธีราคาทุนเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 เป็นต้นไป ซึ่งบริษัท
จดทะเบียนส่วนใหญ่จะนำการบันทึกรายการแบบใหม่เข้ามาบันทึกในงบสิ้นไตรมาส1/50 โดยที่
ผ่านมามีเพียง 2บริษัทเท่านั้นที่ได้มีการปรับเปลี่ยนการบันทึกตามเกณฑ์มาตรฐานใหม่ คือ
บริษัท ไทยฟิล์มอินดัชตรี่ จำกัด (มหาชน) หรือ TFI และบริษัท ซิงเกิ้ล พอยท์ พาร์ท (ประเทศ
ไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ SPPT
เขากล่าวต่อว่า หากมีการบันทึกรายได้ตามมาตรฐานใหม่น่าจะส่งผลต่อการจ่ายเงิน
ปันผลให้กับผู้ถือหุ้น เนื่องจากตัวเลขผลการดำเนินงานของบริษัทที่แท้จริงจะปรากฎขึ้นทำให้การ
จ่ายเงินปันผลของบริษัทต่างๆอาจจะต้องลดลงหรือบางบริษัทอาจจะไม่สามารถจ่ายเงินปันผลได้
เพราะที่ผ่านมาส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทลูกจะไปบันทึกเป็นกำไรในงบการเงินรวมแต่หลังจากที่
เปลี่ยนจะมีการนำกำไรจากบริษัทลูกไปบันทึกเป็นรายรับจากเงินปันผล
อย่างไรก็ดี ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ก.ล.ต.) อยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อขอแก้กฎหมายในเรื่องการจ่ายเงินปันผลของบริษัทจด
ทะเบียน โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีบริษัทลูกเพราะที่ผ่านมาการพิจารณาจ่ายเงินปันผลจะพิจารณา
จากผลการดำเนินงานของบริษัทแม่หรือจากงบเดียวเป็นหลัก แต่สิ่งที่ควรพิจารณาคือการ
พิจารณาจ่ายเงินปันผลควรนำผลการดำเนินงานของบริษัทลูกประกอบด้วย
ทั้งนี้ ต้องการให้นักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุนในบริษัทจดทะเบียนแห่งใดแห่งหนึ่งควร
พิจารณางบการเงินให้ดี โดยไม่ควรดูเพียงกำไรสุทธิ งบดุล หรืองบกำไรขาดทุนแต่ควรพิจารณา
ถึงงบกระแสเงินสดและหมายเหตุประกอบงบการเงินว่ามีความผิดปกติหรือสอดคล้องกันหรือไม่
เหตุต้องนำกำไรบริษัทลูกใส่เป็นรายรับ จากเดิมบันทึกกำไรทั้งก้อน
อ.จุฬาฯระบุหลัง Q1/50 บจ.จะต้องเปลี่ยนวิธีบันทึกบัญชีใหม่ เชื่ออาจ
กระทบการจ่ายเงินปันผล เหตุจะนำกำไร บริษัทลูกมาเป็นรายได้รับจากเงินปันผล
จากเดิมบันทึกกำไรทั้งจำนวนโดยตรง พร้อมระบุมี บจ.ที่เปลี่ยนวิธีบันทึกบัญชีใหม่
แล้ว 2 บ. คือ TFI-SPPT
นายวรศักดิ์ ทุมมานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาบัญชีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการกลั่นกรองมาตรฐานบัญชีสภา
วิชาชีพบัญชี กล่าวว่า ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ฉบับ 26/2549 เรื่องของการปฏิบัติตามวิธี
การบัญชีเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 44 เรื่องงบการเงินรวมและการบัญชีสำหรับเงินลง
ทุนในบริษัทย่อยนั้น บริษัทจดทะเบียนจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชีจากส่วนได้เสียเป็น
วิธีราคาทุนสามารถกระทำได้สำหรับงบการเงินปี 2549 เป็นต้นไป โดยให้ปรับปรุงงบการเงินย้อน
หลัง หรืออาจใช้ราคาตามบัญชีในวันที่เปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชี โดยจะต้องคำนึงถึงรายการที่ได้
บันทึกตามวิธีส่วนได้เสียไปแล้วจะต้องไม่นำมาบันทึกซ้ำอีกในเวลาต่อมา เช่น เมื่อมีการบันทึก
กำไรจากบริษัทย่อยไว้แล้ว และหลังเปลี่ยนนโยบายบัญชีเป็นวิธีราคาทุน บริษัทย่อยต้องจ่ายเงิน
ปันผลมาให้ บริษัทใหญ่จะต้องไม่บันทึกเงินปันผลรับนั้นเป็นรายได้ซ้ำอีก แต่ให้นำไปปรับปรุงเงิน
ลงทุนที่ยกมาแทน
สำหรับบริษัทที่ไม่ต้องการจะใช้วิธีราคาทุนในปี 2549 ก็ให้ใช้วิธีส่วนได้เสียไปตาม
เดิมจนถึงสิ้นปี 2549 และให้ใช้วิธีราคาทุนเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 เป็นต้นไป ซึ่งบริษัท
จดทะเบียนส่วนใหญ่จะนำการบันทึกรายการแบบใหม่เข้ามาบันทึกในงบสิ้นไตรมาส1/50 โดยที่
ผ่านมามีเพียง 2บริษัทเท่านั้นที่ได้มีการปรับเปลี่ยนการบันทึกตามเกณฑ์มาตรฐานใหม่ คือ
บริษัท ไทยฟิล์มอินดัชตรี่ จำกัด (มหาชน) หรือ TFI และบริษัท ซิงเกิ้ล พอยท์ พาร์ท (ประเทศ
ไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ SPPT
เขากล่าวต่อว่า หากมีการบันทึกรายได้ตามมาตรฐานใหม่น่าจะส่งผลต่อการจ่ายเงิน
ปันผลให้กับผู้ถือหุ้น เนื่องจากตัวเลขผลการดำเนินงานของบริษัทที่แท้จริงจะปรากฎขึ้นทำให้การ
จ่ายเงินปันผลของบริษัทต่างๆอาจจะต้องลดลงหรือบางบริษัทอาจจะไม่สามารถจ่ายเงินปันผลได้
เพราะที่ผ่านมาส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทลูกจะไปบันทึกเป็นกำไรในงบการเงินรวมแต่หลังจากที่
เปลี่ยนจะมีการนำกำไรจากบริษัทลูกไปบันทึกเป็นรายรับจากเงินปันผล
อย่างไรก็ดี ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ก.ล.ต.) อยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อขอแก้กฎหมายในเรื่องการจ่ายเงินปันผลของบริษัทจด
ทะเบียน โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีบริษัทลูกเพราะที่ผ่านมาการพิจารณาจ่ายเงินปันผลจะพิจารณา
จากผลการดำเนินงานของบริษัทแม่หรือจากงบเดียวเป็นหลัก แต่สิ่งที่ควรพิจารณาคือการ
พิจารณาจ่ายเงินปันผลควรนำผลการดำเนินงานของบริษัทลูกประกอบด้วย
ทั้งนี้ ต้องการให้นักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุนในบริษัทจดทะเบียนแห่งใดแห่งหนึ่งควร
พิจารณางบการเงินให้ดี โดยไม่ควรดูเพียงกำไรสุทธิ งบดุล หรืองบกำไรขาดทุนแต่ควรพิจารณา
ถึงงบกระแสเงินสดและหมายเหตุประกอบงบการเงินว่ามีความผิดปกติหรือสอดคล้องกันหรือไม่