ฟัน'คลินิก'ขายยาแพงพาณิชย์ผนึก'อย.'ตั้งทีมกำกับราคาขาย
'พาณิชย์' ตั้งคณะอนุกรรมการคุมราคายารักษาโรค หลังผู้บริโภคร้องโรงพยาบาล-คลินิก
ขายยาแพง ห่วงคนจนเข้าไม่ถึงยาต้านมะเร็ง-โรคหลอดเลือด โดยคณะกรรมการดังกล่าวประกอบ
ด้วยตัวแทนจาก กรมการค้าภายใน ,อย., กรมทรัพย์สินทางปัญญา ,เอ็นจีโอ
และสมาคมยารักษาโรค
นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในการ
ประชุมคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้า และบริการ(กกร.)ที่มีนายเกริกไกร จีระแพทย์ รมว.
พาณิชย์ เป็นประธานเมื่อเร็วๆ นี้ได้มีมติให้ กกร.ตั้ง คณะอนุกรรมการพิจารณาแนวทางการกำกับ
ดูแลราคายารักษาโรคขึ้น มาทำหน้าที่พิจารณาหามาตรการในการกำกับดูแลราคายารักษาโรคให้
เกิดความเป็นธรรมต่อผู้บริโภค ตามข้อเสนอของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค โดยจะคัดเลือกจากตัวแทน
จากหน่วยงานที่เกี่ยวโดยมีตัวแทนจาก กรมการค้าภายใน สำนักงานอาหารและยา(อย.) กรม
ทรัพย์สินทางปัญญา มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และสมาคมยารักษาโรค
'เราได้รับการร้องเรียนจากผู้บริโภคว่ายารักษาโรคบางชนิดมีราคาสูงมากโดยเฉพาะยาที่
มีสิทธิบัตร แม้ว่าอายุความคุ้มครองจะหมดลงแล้ว แต่ราคาก็ไม่ได้ลดลง แถมยังแพงกว่าประเทศ
อื่นๆในภูมิภาค ดังนั้นเราจำเป็นต้องตั้งอนุกรรมการฯขึ้นมากำกับดูแลราคาให้เป็นธรรมโดย
เฉพาะยารักษาโรคที่มีความจำเป็นต่อการรักษา โดยจะต้องดูแลให้มีการกำหนดราคาจำหน่ายให้
เป็นธรรมไม่สูงเกินไป โดยจะเป็นคณะอนุกรรมการฯ รูปแบบที่ถาวรเหมือนกับคณะอนุกรรมการ
ดูแลสินค้าเหล็กเส้น โดยจะทำงานต่อเนื่อง หากมีใครร้องเรียน หรือมีข้อมูลอะไรก็สามารถส่งผ่าน
มายังเวทีนี้ได้'นายศิริพล กล่าว
น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ซึ่งเป็นองค์กรเอกชน(เอ็นจีโอ)กล่าวว่า
ตนได้เสนอให้ กกร.เข้ามาควบคุมราคายารักษาโรคในบ้านเรา เพราะขณะนี้มียาบางประเภทที่ใช้
รักษาโรคมะเร็ง โรคติดเชื้อ โรคหลอดเลือด มีการตั้งราคาแพงมากๆ ขณะที่ผู้ขายมีน้อยรายทำ
ให้เกิดการผูกขาดประชาชนผู้มีรายได้น้อยเข้าไม่ถึงยา รวมทั้งยังไม่สามารถเบิกตัวยาดังกล่าว
จากประกันสังคม หรือบัตร30 บาทได้
ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมา กกร.ก็ขึ้นบัญชียาเป็นสินค้าควบคุม 1
ใน 35 รายการ แต่มาตรการที่ควบคุมก็ไม่เข้มงวดอะไรไม่ได้เข้ามาดูราคาอย่างจริงจัง แถม
ผลิตภัณฑ์ยาที่ควบคุมจำนวน 6 รายการในปัจจุบันเป็นพวกยาแก้ไข้ แก้ปวด สำลีพันแผล
ปลาสเตอร์ ซึ่งมีราคาถูกอยู่แล้ว เพราะมีผู้ผลิตออกมาขายจำนวนมาก ทำให้การคุมแทบจะไม่มี
ประโยชน์อะไร เลย
สำหรับผู้บริโภค มูลนิธิฯต้องการให้เข้ามาคุมราคายารักษาโรคที่มีการผูกขาดการขาย
มากกว่า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นยาที่มีสิทบัตรจากต่างประเทศ และเป็นยาที่เราจำเป็นต้องใช้ กระทรวง
พาณิชย์ ต้องทำเรื่องนี้อย่างจริงจัง
'เพราะขนาดเรื่องของการปราบปรามซีดีเถื่อน กกร.ยังมีการออกมาตรการคุ้มเข้มเรื่อง
การแจ้งต้นทุน การขนย้าย เข้มงวด ทั้งๆ ที่ซีดีไม่ใช้สินค้าจำเป็นต่อประชาชนและเป็นเรื่อง
ประโยชน์ของภาคธุรกิจบันเทิง แต่เรื่องยารักษาโรคเป็นประโยชน์โดยตรงของผู้บริโภคซึ่งคนส่วน
ใหญ่ของประเทศจึงจำเป็นต้องเร่งหาแนวทางดูแลราคาโดยด่วน'น.ส.สารี กล่าว
ที่มา : หนังสือพิมพ์ แนวหน้า
Information that may affect earnings of hospital stocks
-
- Verified User
- โพสต์: 160
- ผู้ติดตาม: 0