หน้า 1 จากทั้งหมด 1

ค่าเงินบาทที่สวิงกำลังโดนโจมตี เหรอปล่าวครับ

โพสต์แล้ว: เสาร์ ม.ค. 20, 2007 12:56 am
โดย Wang yun fat
อยากจะขอความรู้เกี่ยวกับค่าเงินช่วงนี้ว่าจะเหมือน ปี 40 หรือเปล่าครับจะได้ตั้งรับถูกครับ ขอบคุณครับ

ค่าเงินบาทที่สวิงกำลังโดนโจมตี เหรอปล่าวครับ

โพสต์แล้ว: เสาร์ ม.ค. 20, 2007 10:54 am
โดย ลุงทีม
อ่านตามlinkข้างล่างนะครับเผื่อจะได้คำตอบหรือแนวอะไรบ้าง...
ผมสงสัยว่าวิธีป้องกันการเก็งกำไรค่าเงินบาทแข็งทำกันอย่างไร
และมีข้อเสียหายต่อระบบการเงินอย่างไรถ้าเราพ่ายแพ้ และจะทำให้
เกิดต้มยำกุ้งรอบ๒ได้อย่างไร
ถ้าเทียบกับปี๒๕๔๐ เราป้องกันการโจมตีค่าเงินบาทไม่ให้อ่อนค่าลง
โดยเอา US Dollar ที่เป็นเงินสำรองไปสู้จนเงินสำรองหมด จึงเกิดวิกฤตขึ้น
แล้วคราวนี้เงินบาทแข็ง เราต้องทำอย่างไรครับ?
ธปท.ต้องทำตรงข้ามโดยซื้อUS Dollar มาเก็บไว้แทนและขายเงินบาท
ออกไป ซึ่งผลทำให้เงินสำรองรูปUS Doolar สูงขึ้น แล้วมันจะทำให้เกิด
ต้มยำกุ้งรอบใหม่ตามที่นสพ.บางฉบับว่าได้อย่างไร?ไม่เข้าใจ?
ไม่ทราบว่าผมเข้าใจถูกผิดอย่างไร?งงครับ.. รบกวนKhun IH ช่วยอธิบายด้วย
Thank you very much

โดยทั่วไป อัตราค่าเงินจะขึ้นลงความต้องการของเงินสกุลนั้นๆ ซึ่งถูกกำหนดโดยดุลการชำระเงินหรือ balance of payment

Balance of payment = ดุลการค้า + ดุลบริการ + บัญชีทุนเคลื่อนย้าย

ซึ่งดุลบัญชีเดินสะพัดที่เราพูดถึงกัน คือ ดุลการค้า + ดุลบริการ


บัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายนั้นประกอบด้วยหลายรายการเช่น

- เงินลงทุนทางตรงหรือ FDI ซึ่งมี 2 ทางคือ เงินลงทุนที่ต่างประเทศมาลงทุนสร้างโรงงานหรือทำกิจการบ้านเราหรือ inflow FDI และเงินลงทุนที่บริษัทของไทยไปลงทุนต่างประเทศ

- เงินลงทุนในหุ้นหรือตราสารหนี้ ( portfolio investment ) ซึ่งระยะรวมไปถึงกองทุนอสังหาริมทรัพย์ด้วย

- เงินปันผลหรือดอกเบี้ย ซึ่งเกิดจากการส่งผลตอบแทนที่ได้จาก 2 รายการแรก คือ FDI และ portfolio investment กลับประเทศ

- เงินที่เข้ามาเพื่อซื้อสินทรัพย์ต่างๆ ในประเทศไทย เช่น หุ้นบริษัทที่ไม่จดทะเบียน บ้านริมทะเล คอนโดมิเนียม ฯลฯ

- เงินโอนต่างๆ เช่น เงินที่คนไทยส่งไปต่างประเทศ ( ส่งลูกไปเรียน ฯลฯ ) หรือต่างประเทศโอนมายังประเทศไทย


ส่วนคำถามที่ว่าอัตราดอกเบี้ยจะมีผลต่อพื้นฐานของค่าเงินอย่างไร

ในส่วนของ FDI การลงทุนโดยบริษัทต่างประเทศ เช่น มาสร้างโรงงาน หรือสร้างห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ ทางบริษัทแม่จะต้องพิจารณาอัตราดอกเบี้ยของประเทศที่จะเข้ามาลงทุน เช่นหากประเทศนั้นคือประเทศไทย ถ้าอัตราดอกเบี้ยในประเทศไทยอยู่ระดับต่ำ บริษัทแม่ก็คงจะเน้นการโอนเงินลงทุนเข้ามาน้อยแต่จะกู้ในประเทศไทยในสัดส่วนมากกว่า แต่ถ้าดอกเบี้ยประเทศไทยสูง บริษัทแม่ก็อาจจะกู้จากประเทศตัวเอง ( ที่ดอกเบี้ยต่ำกว่า ) แล้วโอนเงินเข้ามาเมืองไทยแทน ดังนั้น ในกรณีที่ดอกเบี้ยประเทศไทยสูงกว่าต่างประเทศมากในระดับหนึ่ง ก็จะเกิดเงินไหลเข้าในลักษณะดังกล่าวสูง

ในส่วนของ portfolio investment อัตราดอกเบี้ยก็จะมีผลต่อความน่าสนใจการลงทุนในตราสารหนี้ซึ่งได้แก่ พันธบัตรรัฐบาลหรือหุ้นกู้เอกชน หาก 2 ประเทศมีลักษณะอื่นๆ ใกล้เคียงกัน แต่อัตราดอกเบี้ยต่างกัน จะเกิดเงินทุนไหลเข้าจากประเทศที่มีดอกเบี้ยต่ำกว่าไปยังประเทศที่มีดอกเบี้ยสูงกว่าครับ

อย่างไรก็ตาม เงินทุนที่ไหลเข้าในลักษณะ portfolio investment ในส่วน fixed income หรือตราสารหนี้นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย 2 ประเทศเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยอีกมากมายเช่น

- เสถียรภาพทางการเมือง

- แนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เนื่องจากหากเศรษฐกิจประเทศนั้นๆ ดีขึ้นหรือผลประกอบการบริษัทดีขึ้น ก็จะมีแนวโน้มที่จะได้รับการปรับอันดับเครดิต ซึ่งจะทำให้ราคาพันธบัตรและหุ้นกู้สูงขึ้น ในทางกลับกันถ้าเศรษฐกิจแย่และถูกลดอันดับ ราคาพันธบัตรและหุ้นกู้จะลดลง

- อัตราเงินเฟ้อ ที่เป็นตัวบอกแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในอนาคต รวมไปถึงการบอกอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ( อัตราดอกเบี้ย อัตราเงินเฟ้อ ) ของประเทศนั้น ยกตัวอย่างเช่น บางประเทศแม้ดอกเบี้ยสูงแต่สูงเพราะเงินเฟ้อประเทศนั้นๆ สูงมาก และหากถ้าอัตราเงินเฟ้อสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยก็จะทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบ ซึ่งแปลว่าผลตอบแทนจากการลงทุนเพื่อให้ได้ดอกเบี้ยในประเทศนั้นๆ ที่แท้จริงแล้วติดลบ

เช่น หากเงินเฟ้อประเทศ A 20% ดอกเบี้ย 10%

อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง = ดอกเบี้ยปกติ เงินเฟ้อ = 10% - 20% = -10 %

อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบ 10% หมายความว่าแม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะสูงถึง 10% แต่คนฝากเงินหรือคนซื้อพันธบัตรที่ได้ดอกเบี้ย 10% ท้ายสุดแล้วได้ผลตอบแทนติดลบหรือพูดง่ายๆ คือ จนลง เพื่อให้เห็นภาพผมขอยกตัวอย่างดังนี้ครับ

เมื่อต้นปี 2006 ของชิ้นหนึ่งราคา 100 บาท มีเงิน 1000 บาทซื้อของชิ้นนี้ได้ 10 ชิ้น

แต่หากเราไม่ซื้อของที่ว่านี้เมื่อต้นปี 2006 แต่นำเงิน 1000 บาทไปฝากธนาคารแล้วมาซื้อเมื่อต้นปี 2007 แทน

เงินฝากธนาคาร 1000 บาท เมื่อต้นปี 2007 จะเพิ่มเป็น 1100 บาท

ของดังกล่าว 100 บาท บวกเงินเฟ้อจะมีราคาเพิ่มเป็น 120 บาท

เงิน 1100 บาทซื้อของได้ 1100/120 = 9.2 ชิ้น

ดังนั้นเวลาผ่านไป 1 ปี เงินจำนวน 1000 บาทซื้อของได้น้อยลงจาก 10 ชิ้นเป็น 9.2 ชิ้น หรือแสดงว่าค่าของเงินน้อยลง

ดังนั้นการซื้อของได้จากเดิม 10 ชิ้นลดลงเหลือ 9.2 ชิ้นก็เท่ากับว่าผู้ฝากเงินจนลงประมาณ 10%

โดยทั่วไป การที่นักลงทุนต่างชาติจะเข้ามาฝากเงินหรือซื้อพันธบัตรที่ประเทศใดๆ นั้น ไม่ได้ดูดอกเบี้ยทั่วไปครับ แต่จะต้องพิจารณาดอกเบี้ยที่แท้จริงครับ หากประเทศใดมีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงสูง ก็จะมีโอกาสที่เงินทุนไหลเข้าสูง อย่างปัจจุบันประเทศไทยมีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงสูงขึ้นจากช่วงกลางปีก่อนค่อนข้างมากครับ ตามที่ผมจะอธิบายต่อข้างล่างครับ


ดังนั้นประเทศที่ค่าของเงินน้อยลงนั้น จะมีแนวโน้มที่ค่าเงินจะต้องอ่อนค่าลง ดังนั้นแม้ว่าประเทศนี้จะมีอัตราดอกเบี้ยสูงถึง 10% จะให้ผลตอบแทนสูงแต่การนำเงินเข้ามาลงทุนจึงมีผลขาดทุนจากค่าเงินซึ่งทำให้ผลตอบแทนสุทธิแล้วอาจจะต่ำกว่า 10% มากก็ได้

ดังนั้นหากให้เข้าใจง่ายก็คือ ส่วนต่างเงินเฟ้อระหว่าง 2 ประเทศ จะเป็นตัวแปรหนึ่งที่มีผลต่อแนวโน้มของค่าเงินระหว่าง 2 ประเทศอยู่ครับ

ดังนั้นในภาวะที่ประเทศมีเงินเฟ้อสูง มักจะส่งผลให้ประเทศนั้นๆ มีโอกาสขาดดุลการค้าเพราะเงินเฟ้อที่สูงหมายถึงต้นทุนการผลิตที่สูงและจะทำให้ประเทศนั้นๆ มีปัญหาในการแข่งขันของสินค้าส่งออก และสินค้านำเข้าจะมีราคาถูกกว่าราคาสินค้าที่ผลิตในประเทศ เมื่อขาดดุลการค้าก็จะทำให้ค่าเงินอ่อนค่า เกิดเงินทุนไหลออกซึ่งอาจจะทำให้ในประเทศมีปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน โดยเฉพาะยิ่งหากประเทศนั้นๆ มีปัญหาอื่นๆ ด้วยเช่น เสถียรภาพทางการเมือง ดังนั้นในภาวะที่เงินเฟ้อสูง ประเทศนั้นๆ มีแนวโน้มที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อลดเงินเฟ้อ และเพื่อดึงดูดในมีเงินทุนไหลเข้าเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาสภาพคล่อง

ในทางกลับกัน หากเงินเฟ้อต่ำ ก็จะทำให้มีโอกาสเกินดุลการค้าสูง ดังนั้นจะมีเงินทุนไหลเข้าจากดุลการค้า เมื่อเงินเฟ้อต่ำลงก็จะทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงเพิ่มขึ้นและทำให้ผลตอบแทนการลงทุนในตราสารหนี้นั้นน่าสนใจ ซึ่งอาจจะทำให้สภาพคล่องล้นระบบและนำพาให้เกิดการเก็งกำไรในตราสารต่างๆ เช่น หุ้น ตราสารหนี้ มากเกินควร และทำให้ค่าเงินแข็งเกินความจำเป็น ประเทศนั้นๆ จึงควรจะลดดอกเบี้ย เพื่อชะลอการไหลเข้าของเงินทุนครับ

ประเทศไทยเคยมีเงินเฟ้อสูงสุดในช่วงกลางปี 49 คือประมาณ 6% ซึ่งทางธปท. ได้แก้ปัญหาเงินเฟ้อได้ถูกทางด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ย R/P อยู่หลายครั้ง แต่ปัจจุบันเงินเฟ้อได้ลดลงเหลือ 2-3% แล้ว แต่อัตราดอกเบี้ยยังคงเดิม จึงทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของประเทศไทยเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงมีแนวโน้มที่จะเกิดเงินทุนไหลเข้ามาซื้อพันธบัตรและตราสารหนี้อื่นๆ ประกอบกับราคาน้ำมันที่อ่อนตัวทำให้ดุลการค้าเราดีขึ้น รวมไปถึงการเมืองที่เริ่มมีเสถียรภาพขึ้นมาบ้างหลังการรัฐประหาร จึงทำให้มีเงินไหลเข้ามาในประเทศหลายๆ ทางจึงทำให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นสิ่งที่รัฐบาลควรทำคือการลดดอกเบี้ยเพื่อลดอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงเพื่อชะลอการไหลเข้าของเงินทุนครับ

ซึ่งความรู้ดังกล่าวที่อธิบายนี้อยู่ในวิชาเศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้นครับ สามารถหาหนังสือมาอ่านเพิ่มเติมได้ครับ ผมคิดว่านักลงทุนแนว VI น่าจะมีความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นอยู่บ้างเช่นกันครับ

มาตรการการควบคุมการไหลเข้าของเงินทุนนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ครับ มีประเทศกำลังพัฒนาบางประเทศก็เคยใช้ เช่น ชิลี มาเลเชีย แต่ก็ไม่ได้เกิดผลดีในระยะยาวมากนัก ดังนั้นการพยายามคิดอะไรใหม่ๆ มาอย่างหนึ่งนั้นบางครั้งเราอาจจะไม่ได้คิดเป็นคนแรก แต่มีคนคิดมาแล้วและเคยลองทำแล้ว ซึ่งหากมีคนคิดมาแล้วแต่ปัจจุบันไม่ค่อยมีใครทำอยู่เลย ก็น่าจะเป็นตัวพิสูจน์แล้วว่ามันไม่น่าจะดี เพราะถ้าดีคงมีหลายๆ ประเทศใช้มาตรการควบคุมการไหลเข้าของเงินทุนอยู่แล้ว

ผมคิดว่าบางครั้ง ไข่ไก่ เป็นอาหารที่มีราคาถูก และทำเป็นอาหารก็อร่อยหลายอย่างเช่น ไข่เจียว ไข่ดาว ไข่ตุ๋น ไข่ยัดไส้ ฯลฯ และเป็นอาหารที่ทำไม่ยากนัก ซึ่งเปรียบเหมือนการดำเนินนโยบายบางอย่างเช่น ขึ้นหรือลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งไม่ต้องซับซ้อนมากนักอาจจะดีกว่าด้วยซ้ำ แต่การพยายามทำอะไรให้ซับซ้อน เช่น การควบคุมการไหลเข้าของเงิน ก็อาจจะเหมือนการพยายามคิดเมนูอาหารที่มันยากเกินไป เช่น ได้หูฉลามมา แทนที่จะทำซุปหูฉลามอย่างที่ควรจะทำ แต่กลับไปคิดหรือพยายามทำอะไรที่คนอื่นเข้าไม่ทำกัน หรือเคยลองแล้วแต่รู้ว่าไม่ได้ดีกว่าที่เคยทำอยู่ เช่น เอาหูฉลามไปชุบแป้งทอด ไปทำต้มยำหูฉลาม ฯลฯ ซึ่งการที่หูฉลามนั้นใช้ทำซุปหูฉลามไม่ไปทำอย่างอื่นก็เพราะได้พิสูจน์กันแล้วว่าการนำหูฉลามมาทำซุปนั้นเป็นสิ่งที่เหมาะสมที่สุด หรือนกกระจอกเทศส่วนใหญ่จะนำไปผัดพริกไทยดำหรือผัดฉ่า ไม่นำมาทำแกงจืดหรือนึ่งมะนาว ก็เปรียบเหมือนการพยายามออกมาตรการควบคุมการไหลเข้าของเงินทุน ฉันใดก็นั้นนั้นเอง  
 
ในกรณีที่มีการเก็งกำไรค่าเงินในทางตรงกันข้ามกับสิ่งที่เกิดขึ้นในปี 2540 คือ แทนที่จะเก็งกันว่าค่าเงินบาทจะอ่อนลงแต่ในปัจจุบันมีการเก็งกำไรว่าค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้น

สิ่งที่นักเก็งกำไรทำก็คือ การซื้อเงินบาทซึ่งก็คือการขายดอลล่าร์ ( ความหมายเดียวกัน ) นั่นเอง แต่เนื่องจากเงินทุกสกุลจะให้ผลตอบแทนอย่างน้อยที่สุดและเสี่ยงน้อยสุด คือการซื้อพันธบัตรรัฐบาล ดังนั้นเมื่อกองทุนต่างชาติซื้อเงินบาทแล้วก็จะไม่ได้เอามากองเฉยๆ แต่ก็จะเข้ามาซื้อตราสารต่างๆ เช่น พันธบัตรรัฐบาล หรือแม้กระทั่งการซื้อหุ้น

แต่การที่นักเก็งกำไรต่างชาติขายดอลล่าร์ให้กับธนาคารและซื้อเงินบาทเกิดขึ้นเรื่อยๆ ก็จะทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเรื่อยๆ ธนาคารกลางมักจะเข้ามาแทรกแซงด้วยการขายเงินบาท ( ซื้อดอลล่าร์ ) ซึ่งจะทำให้ธนาคารกลางมีเงินทุนสำรองมากขึ้น

หลายคนอาจจะบอกว่าถ้าอย่างนั้นก็น่าจะดีเพราะการเก็งกำไรค่าเงินทำให้ธปท. ต้องซื้อดอลล่าร์ ซึ่งจะทำให้เงินทุนสำรองมากขึ้น เพราะตอนเกิดวิกฤติทุนสำรองเราหมด แต่การเก็งกำไรค่าเงินของกองทุนต่างชาติรอบนี้ทำให้ทุนสำรองเราเพิ่ม ( ตอนนี้เป็น 60 กว่าพันล้านเหรียญแล้วเยอะกว่าระดับก่อนเกิดวิกฤติปี 40 ที่เคยอยู่ประมาณ 38 พันล้านเหรียญเสียอีก ) ดังนั้นอะไรที่เป็นข้อเสียของเรื่องนี้บ้าง

ข้อดีก็มีอยู่ตรงที่เมื่อทุนสำรองเพิ่มก็จะทำให้เสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาคเราก็สูงขึ้น

ข้อเสียก็มีอยู่เช่นกันคือ

- การซื้อดอลล่าร์ของธปท. เข้าใจว่าทำมาตลอดทาง คือ ทำตั้งแต่ค่าเงินบาทต่ำกว่า 40 บาทต่อเหรียญลงมาถึง 35 บาทต่อเหรียญ ดังนั้นการที่ธปท. ซื้อดอลล่าร์ที่ 37-39 เหรียญแล้วปัจจุบันเหลือ 35 และหากไม่มีการออกมาตรการก็มีการเก็งกันว่าค่าเงินอาจจะเหลือ 30-32 ก็เท่ากับว่าธปท. จะมีผลขาดทุนจากการเข้าซื้ออัตราแลกเปลี่ยนจำนวนมาก ซึ่งเป็นเรื่องที่คล้ายๆ กับที่เคยเกิดตอนปี 2540 อยู่บ้างเหมือนกัน


ส่วนคำถามที่ตามมาคือ การขาดทุนจากการซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนของธปท. จะมีผลเสียอย่างไรบ้าง ผมเองต้องยอมรับว่าผมยังไม่ได้เข้าใจในระบบธนาคารกลางมากพอที่จะตอบคำถามนี้ได้ครับ แต่ก็จะส่งผลต่องบดุลของธปท. ครับ และความรุนแรงของปัญหาก็แปรผันตามจำนวนตัวเลขที่ขาดทุน ซึ่งปัจจุบันก็ยังไม่ได้มีการเปิดเผยตัวเลขดังกล่าวว่าธปท. ใช้เงินแทรกแซงไปเท่าไหร่และขาดทุนเท่าไหร่ แต่จำนวนที่แทรกแซงไปก็คงจะต้องใกล้เคียงกับเงินทุนสำรองที่เพิ่มขึ้นครับเพราะการใช้นโยบายค่าเงินแบบ managed float การเปลี่ยนแปลงของทุนสำรองจะต้องเกิดจากการเข้าซื้อหรือขายของธนาคารกลางครับ

แต่ที่แน่ๆ ธปท. ไม่อยากเห็นตัวเลขขาดทุนดังกล่าวแน่ๆ ครับจึงเป็นที่มาของมาตรการ 30% อย่างที่เราเห็นกัน

- ข้อเสียข้อที่ 2 คือ การที่ ธปท. มีการขายบาทให้นักลงทุนต่างชาติ ซึ่งนักลงทุนต่างชาติก็ไม่ได้นำเงินมากองเฉยๆ แต่ก็มาซื้อสินทรัพย์ต่างๆ จึงทำให้สภาพคล่อง ( เงินบาท ) ในระบบจะสูงขึ้นเรื่อยๆ และจะก่อให้เกิดเงินเฟ้อและการเก็งกำไรในสินทรัพย์ต่างๆ อย่างที่ไม่ควรจะเป็น ธปท. จึงจำเป็นต้องดูสภาพคล่องในระบบออกไปโดยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ออกขายสู่ระบบการเงิน หรือที่เรียกว่า Sterilization ( เป็นศัพท์เศรษฐศาสตร์ ไม่ใช่การถนอมอาหารนะครับ ) ซึ่งธปท. จะต้องเป็นคนรับต้นทุนการออกพันธบัตร คือ ดอกเบี้ยพันธบัตรจำนวนมาก และยิ่งมีเงินไหลเข้ามาเก็งกำไร ต้นทุนการออกพันธบัตรของธปท. ก็ยิ่งสูงขึ้น


ดังนั้น ภาวะการเข้ามาเก็งกำไรค่าเงิน แม้ว่าจะเป็นการเก็งให้บาทแข็ง หากเป็นการแข็งค่ากว่าพื้นฐานที่ควรจะเป็นย่อมไม่ใช่สิ่งดีแน่ เพราะจะกระทบกับผู้ส่งออกและสร้างความผันผวนกับตลาดเงิน

แต่จะส่งผลถึงให้ประเทศเข้าสู่วิกฤติเหมือนปี 2540 นั้นคงจะไม่ถึงขนาดนั้น เพราะตอนนั้นทุนสำรองเราหมด ปัจจุบันมีเพิ่มขึ้นมาก และหนี้ระบบสถาบันการเงินที่กู้ไปลงทุนในโครงการที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือคุ้มกับการลงทุนในช่วงก่อนปี 2540 ก็มีจำนวนมาก เท่าที่ผมทราบในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ ยังไม่เคยเห็นประเทศไทยเกิดวิกฤตเพราะมีเงินทุนสำรองเพิ่มขึ้นจำนวนมากครับ

ดังนั้นเพื่อชะลอการไหลเข้าของเงินทุน ธนาคารกลางประเทศนั้นๆ พึงที่จะใช้ยาขนานเบาก่อน เช่น การลดดอกเบี้ย และหากไม่ได้ผลจึงค่อยๆ เพิ่มขนาดของยาขึ้นไป แต่การกำหนดมาตรการ 30% นั้นเป็นยาขนานแรงเกินไปครับ


หลายคนเลยเริ่มพูดเรื่องวิกฤติ แต่ผมคิดว่าบางทีอาจจะไม่ได้เกิดเพราะการเก็งกำไรค่าเงินบาทรอบนี้ แต่มีโอกาสเกิดวิกฤติขนาดย่อมถึงปานกลางเพราะมาตรการของธนาคารกลางเสียด้วยซ้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากไม่ได้มีการยกเลิกมาตรการ 30% สำหรับการลงทุนในหุ้นและการลงทุนทางตรงก็ไม่ทราบว่าปัจจุบันนี้จะเป็นอย่างไรกันบ้างครับ


http://www.bbznet.com/scripts3/view.php ... r=numtopic