"คมช."เล็งรื้อสัมปทานโทรคมนาคม
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ม.ค. 19, 2007 8:35 am
กังวลระบบสื่อสารถูกต่างชาติยึดครองหวั่นข่าวนโยบายรัฐ-ความมั่นคงรั่ว ขณะที่ 8 คมช.เลิกใช้มือถือเอไอเอส
คมช.เผยกังวลเรื่องความมั่นคง เตรียมนัดรัฐบาลถกรื้อสัมปทานสื่อสาร-ดาวเทียม "สุรยุทธ์" รับห่วง "ทักษิณ" เคลื่อนไหวทางการเมือง ยันมาตรการตอบโต้สิงคโปร์พิจารณารอบคอบ กระทรวงไอซีที เรียกประชุมหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง หารือการควบคุมและป้องกันการดักฟังโทรศัพท์
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ที่ทำเนียบรัฐบาล ถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหลังจากใช้มาตรการทางการทูตตอบโต้สิงคโปร์ว่า ยังไม่มีข้อมูลเพิ่มเติมคิดว่าเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้น ได้พิจารณาอย่างรอบคอบแล้ว แต่ก็จำเป็นที่จะต้องแสดงสิ่งที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นมาตรการทางการทูต
ต่อข้อถามว่าจะขอความร่วมมือจากกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า หากจำได้คงจะทราบว่า คมช.ได้ทำสมุดปกขาวแจกไปยังสถานทูตไทยในต่างประเทศ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจและชี้แจงให้ปรากฏ และรัฐบาลก็ได้เชิญเอกอัครราชทูตประเทศต่างๆ มาชี้แจงถึงปัญหาของบ้านเมือง ตนคิดว่าทั้งสองด้านนี้ ได้ให้ข้อมูลกับประชาคมโลกไปพอสมควรแล้ว
ส่วนจะมีการใช้มาตรการด้านอื่นๆ เพิ่มหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ในขณะนี้คงติดตาม สถานการณ์อยู่ ยังไม่มีอะไรที่มีความจำเป็น คงจะตอบได้ว่ารัฐบาลจะติดตามสถานการณ์
ต่อข้อถามว่า การเคลื่อนไหวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ยังคงอยู่ในสายตาของรัฐบาลใช่หรือไม่ นายกฯ กล่าว "เป็นห่วงในเรื่องความเคลื่อนไหวทางการเมือง" เมื่อถามต่อว่าการเคลื่อนไหวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่มีผลกระทบต่อการเดินทางไปประชุมในต่างประเทศของท่านหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ไม่ได้มีผลกระทบ แต่มีผลกระทบภายในประเทศเรามากกว่า
คมช.-รัฐบาลเตรียมหารือร่วมกัน
วันเดียวกันนี้ (18 ม.ค.) พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบกและประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ให้สัมภาษณ์รายการ "สภาท่าพระอาทิตย์" ทางเอเอสทีวี ถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสิงคโปร์หลังไทยใช้มาตการทางการทูตตอบโต้ว่า แม้ว่าในความสัมพันธ์ทางทหารจะถือว่ายังดีอยู่ แต่มีความรู้สึกอึดอัดเหมือนกับคนไทยทั้งประเทศในเวลานี้ โดยเฉพาะในเรื่องเศรษฐกิจ ที่ไทยมีความสัมพันธ์กับสิงคโปร์ ซึ่งต่อไปนี้ทางคณะกรรมการร่วมระหว่าง คมช.กับรัฐบาลจะหารือกันในภาพรวมทั้งหมดอย่างใกล้ชิดในเร็วๆ นี้
เมื่อถามถึงแนวโน้มการทบทวนการให้สิงคโปร์ใช้ฐานทัพในประเทศไทย ประธาน คมช.ย้ำว่า "ผลประโยชน์ของชาติมีหลายมิติ ซึ่งเวลานี้เรากังวลในเรื่องของความมั่นคง เรากังวลในเรื่องของดาวเทียม เรื่องโทรศัพท์ หรือสัมปทาน เราหนักใจ เพราะเวลานี้เราต้องใช้ผ่านตรงนั้น คิดว่ารัฐบาลต้องพิจารณาเรื่องนี้แน่นอน ที่ผ่านมาได้คุยกับประธานบอร์ดองค์การโทรศัพท์ไปแล้ว และต่อไปจะหารือกับรัฐบาลในภาพใหญ่กันอีกครั้ง เวลานี้ระบบโทรศัพท์ในบ้านเราต้องผ่านชุมสาย ไม่ใช่ของประเทศเรา เป็นของต่างชาติ ทำให้เรารู้สึกเป็นกังวล " พล.อ.สนธิ กล่าว
สนธิอยากเคลียร์ทักษิณนอกประเทศ
พล.อ.สนธิ ยังกล่าวถึงกำหนดการเดินทางไปเยือนจีนในวันที่ 21-24 มกราคมนี้ว่า ทางประเทศจีนได้เชิญมานานแล้ว แต่ที่ผ่านมาติดภารกิจจึงยังไม่มีโอกาสไป ที่ผ่านมาความสัมพันธ์ไทย-จีน ถือว่าดีมาก เขาเข้าใจเราดี แม้กระทั่งในช่วงเหตุการณ์ปฏิรูปฯ ซึ่งทางทูตจีนในประเทศไทยมีความคุ้นเคยกับเรา เขาวิเคราะห์สถานการณ์ถูก
ต่อข้อถามว่า ช่วงดังกล่าวจะมีโอกาสได้พบ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งมีข่าวว่ายังอยู่จีนหรือไม่ พล.อ.สนธิ กล่าวว่า รู้ข่าวมาว่า ในช่วงนั้นพ.ต.ท.ทักษิณจะไปญี่ปุ่น " แต่ผมคิดว่า ถ้าได้พบกันก็ดีเหมือนกัน จะได้พูดกันให้รู้เรื่องกันไปเลย เพราะถ้าพบกันข้างนอกน่าจะดีกว่าข้างใน " พล.อ.สนธิ กล่าวติดตลก
แหล่งข่าว คมช. เปิดเผยว่าภายหลังที่ พล.อ.สนธิ ได้แจ้งให้สมาชิก คมช. ทุกคนระวังการใช้โทรศัพท์ จึงทำให้สมาชิก คมช. ทั้ง 8 คน มีการเปลี่ยนแปลงเบอร์โทรศัพท์เคลื่อนที่ เพราะเกรงว่าจะถูกล้วงข้อมูลความลับ โดยมีการเปลี่ยนแปลงเลขหมายเดิมที่ใช้ของผู้ให้บริการเจ้าใหญ่เป็นระบบอื่นแทน
บัวแก้วแจ้งทูตญี่ปุ่น "ทักษิณ" เข้าประเทศอย่าซ้ำรอยสิงคโปร์
นายกิตติ วะสีนนท์ อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวยอมรับว่า ความสัมพันธ์ระหว่างไทย - สิงคโปร์ อาจต้องสะดุดลง ซึ่งฝ่ายไทยแสดงความกังวลกับสิงคโปร์มาโดยตลอดเกี่ยวกับเรื่องการพบปะกันระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กับรองนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ โดยที่นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้คุยกับนายจอร์จ เอี๋ยว รัฐมนตรีต่างประเทศของสิงคโปร์มากกว่า 3 ครั้ง และทางกระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งไปยังนายปีเตอร์ ชาน เอกอัครราชทูตสิงคโปร์ ประจำประเทศไทยแล้ว 3 ครั้ง ถึงความกังวลและข้อทักทวง แต่เหตุการณ์ดังกล่าวกลับเกิดขึ้นอีก
ส่วนจะทำความเข้าใจกับต่างชาติเกี่ยวกับสถานะของ พ.ต.ท.ทักษิณ หรือไม่นั้น นายกิตติ กล่าวว่า ประเด็นนี้เป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่แล้ว ส่วนเรื่องการสอบสวนหรือเรื่องคดีความก็เป็นเรื่องที่ประจักษ์ สถานเอกอัคราชทูตต่างประเทศในไทยก็ทราบดี ถ้ามีความคืบหน้าหรือข้อสรุป ทางกระทรวงจะแจ้งไปยังสถานเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ไทยทั่วโลกเพื่อไปแจ้งกับรัฐบาลที่ประจำการอยู่ในประเทศนั้นๆ ได้ทราบเป็นระยะ
ต่อคำถามว่า มีกระแสว่า พ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางไปถึงประเทศญี่ปุ่นแล้วในวันที่ 18 มกราคมทางกระทรวงการต่างประเทศได้ชี้แจงกับทางญี่ปุ่นให้ทราบท่าที ก่อนเหมือนกรณีการไปเยือนสิงคโปร์หรือไม่ นายกิตติกล่าวว่ากระทรวงการต่างประเทศพูดคุยว่าจะปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติกับอดีตนายกฯ อย่างไรโดยทำความเข้าใจกับสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียวแล้ว ขณะเดียวกันนายสุวิทย์ สิมะสกุล ได้พูดคุยกับทางการญี่ปุ่นแล้วด้วย นอกจากนี้ รมว.ต่างประเทศก็เคยพูดคุยเรื่องดังกล่าวกับนายฮิเดอากิ โคบายาชิ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยด้วยเช่นกันในระหว่างงานเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น 120 ปีที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 16 มกราคมที่ผ่านมา
สิงคโปร์ยันการค้ากับไทยยังแน่นแฟ้น
นายลิ้ม ฮง เคียง รัฐมนตรีการค้าสิงคโปร์เปิดเผยเมื่อวานนี้ว่า ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสิงคโปร์กับไทยยังคงมีความแน่นแฟ้น แม้มีความไม่พอใจเกิดขึ้นกรณีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เดินทางเยือนสิงคโปร์ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา
"ปัจจัยพื้นฐานของความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจและการค้าของเรามีความแข็งแกร่งมาก" นายลิ้มกล่าวและว่า เจ้าหน้าที่สิงคโปร์ติดต่อหารือกับเจ้าหน้าที่ของไทยอยู่เสมอ และเจ้าหน้าที่ไทยก็มีความรู้เรื่องตลาดดีมาก
ประธาน กมธ.มั่นคงเตือนยุติโต้สิงคโปร์
ขณะที่ พล.อ.โชคชัย หงส์ทอง ประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ให้ความเห็นว่า เมื่อรัฐบาลได้ดำเนินมาตรการทางการทูตต่อสิงคโปร์ไปแล้ว ควรจะให้เรื่องจบลงแค่นี้ ไม่ควรให้มีการขยายผลต่อไปเพราะเกรงว่าจะกระทบกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากไทยและสิงคโปร์มีความสัมพันธ์ทางการทหารที่แนบแน่น อาจจะเรียกได้ว่าดีที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยทั้งตัวผู้นำกองทัพ หากมีการขยายผลต่อไปเกรงจะเกิดผลกระทบต่อผลประโยชน์ของประเทศ โดยเฉพาะในส่วนของแรงงานไทยในสิงคโปร์
บัวแก้วให้ทูตแจง ตปท.กู้ภาพลักษณ์
ด้านนายกิตติ วะสีนนท์ อธิบดีกรมสารนิเทศ ในฐานะโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ยอมรับว่า ประเทศไทยได้รับผลกระทบด้านภาพลักษณ์จากการตอบโต้สิงคโปร์ แต่การใช้มาตรการตอบโต้ทางการทูตที่ดำเนินมาตรการเฉพาะประเทศสิงคโปร์ ซึ่งในด้านภาพลักษณ์กระทรวงฯ ก็ต้องอธิบายให้ต่างชาติทราบความจริง นอกจากนี้ยังมีดำเนินการผ่านสถานทูต และกงศุลใหญ่ไทยทั่วโลกเปิดให้เอกอัครราชทูตได้ใช้ดุลยพินิจในการชี้แจงกับต่างประเทศเพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ความเข้าใจที่ดี
ไอซีที เรียกประชุมผู้ให้บริการการสื่อสาร
นายวิษณุ มีอยู่ โฆษกกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า วานนี้ (18 ม.ค.) กระทรวงไอซีที ได้เรียกประชุมหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารือด้านการควบคุมและป้องกันการดักฟังโทรศัพท์ โดยนายไกรสร พรสุธี ปลัดกระทรวงไอซีที เป็นประธาน โดยได้ขอความร่วมมือให้บริษัทเอกชนทุกราย เพิ่มกระบวนการควบคุมดูแลตู้สาขาและชุมสายต่างๆ ให้มีระบบป้องกันอย่างแน่นหนายิ่งขึ้น และห้ามบุคคลใดก็ตามที่ไม่มีความรับผิดชอบเข้า-ออกในพื้นที่ดังกล่าวโดยเด็ดขาด
ทั้งนี้ กระทรวงไอซีทีจะประสานกับ กทช. เพื่อเร่งรัดให้ออกกฎระเบียบที่ครอบคลุมครบวงจรมากขึ้นออกมา รวมทั้งปรึกษากับทาง สมช. และหน่วยงานความมั่นคงอื่นๆ เพื่อเตรียมมาตรการขั้นต่อไป
เอไอเอส "ท้าพิสูจน์" ความบริสุทธิ์
นายวิเชียร เมฆตระการ กรรมการผู้อำนวยการ บมจ. แอดวานซ์อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) กล่าวว่า บริษัทไม่เคยดักฟังการใช้งานโทรศัพท์มือถือของใคร เพราะไม่มีอุปกรณ์ ดังนั้น แม้ศาลสั่งให้ดำเนินการดังกล่าวก็คงทำให้ไม่ได้ เนื่องจากไม่มีอุปกรณ์ และไม่เคยจัดซื้อ เนื่องจากผิดกฎหมาย อีกทั้งยังไม่เกิดผลประโยชน์ในทางธุรกิจ หรือก่อให้เกิดผลกำไร
"บางประเทศเช่น ไต้หวัน จะให้มีการติดตั้งอุปกรณ์ดักฟังได้ แต่ประเทศไทยไม่มี ซึ่งเอไอเอส ไม่เห็นว่าต้องซื้ออุปกรณ์ดังกล่าว เพราะไม่ก่อให้เกิดรายได้ ถ้าจะซื้ออุปกรณ์ สู้เอางบไปขยายศักยภาพโครงข่ายให้ผู้บริโภคดีกว่า" นายวิเชียรกล่าว
โดยบริษัทยินดีให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าตรวจสอบได้ รวมถึงสามารถสอบถามไปยังผู้ผลิตอุปกรณ์ (ซัพพลายเออร์) ของเอไอเอส ทุกรายได้ เช่น โนเกีย ซีเมนส์ อีริคสัน
"ทรู" แนะรัฐเรียกขึ้นทะเบียนอุปกรณ์ดักฟัง
นายอธึก อัศวานันท์ รองประธานและหัวหน้าคณะผู้บริหารด้านกฎหมาย บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น และบริษัท ทรูมูฟ จำกัด กล่าวว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรื่องดังกล่าว เช่น กทช. หรือกระทรวงไอซีที ควรจะเป็นหน่วยงานรับผิดชอบออกสั่งการให้บุคคล องค์กรทั้งหน่วยงานราชการ และเอกชนที่มีอุปกรณ์ดักฟังการใช้โทรศัพท์ทั้งมือถือ และโทรศัพท์พื้นฐาน ให้แจ้งขึ้นทะเบียนไว้ และหากหน่วยงานใดมีเครื่องดักฟัง แต่ไม่แจ้งรัฐ ก็จะถูกตรวจสอบดำเนินการตามกฎเกณฑ์ที่จะออกต่อไป เพราะอุปกรณ์ดังกล่าวไม่มีประโยชน์ในทางธุรกิจ หรือสร้างผลกำไร ดังนั้นหากใครมีอุปกรณ์ดังกล่าวต้องตรวจสอบว่าใช้เพื่อเหตุใด
ขณะที่ พล.อ.ชูชาติ พรหมพระสิทธิ์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) กล่าวว่า ยอมรับว่ามีการขออนุญาตนำเข้าอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับดักฟังจริง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ และเตรียมทำการตรวจสอบรายละเอียดแล้วว่า มีการนำเข้ามาจำนวนเท่าใด และเป็นหน่วยงานใดบ้างที่มีอยู่ในครอบครอง
:la: :la:
คมช.เผยกังวลเรื่องความมั่นคง เตรียมนัดรัฐบาลถกรื้อสัมปทานสื่อสาร-ดาวเทียม "สุรยุทธ์" รับห่วง "ทักษิณ" เคลื่อนไหวทางการเมือง ยันมาตรการตอบโต้สิงคโปร์พิจารณารอบคอบ กระทรวงไอซีที เรียกประชุมหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง หารือการควบคุมและป้องกันการดักฟังโทรศัพท์
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ที่ทำเนียบรัฐบาล ถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหลังจากใช้มาตรการทางการทูตตอบโต้สิงคโปร์ว่า ยังไม่มีข้อมูลเพิ่มเติมคิดว่าเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้น ได้พิจารณาอย่างรอบคอบแล้ว แต่ก็จำเป็นที่จะต้องแสดงสิ่งที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นมาตรการทางการทูต
ต่อข้อถามว่าจะขอความร่วมมือจากกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า หากจำได้คงจะทราบว่า คมช.ได้ทำสมุดปกขาวแจกไปยังสถานทูตไทยในต่างประเทศ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจและชี้แจงให้ปรากฏ และรัฐบาลก็ได้เชิญเอกอัครราชทูตประเทศต่างๆ มาชี้แจงถึงปัญหาของบ้านเมือง ตนคิดว่าทั้งสองด้านนี้ ได้ให้ข้อมูลกับประชาคมโลกไปพอสมควรแล้ว
ส่วนจะมีการใช้มาตรการด้านอื่นๆ เพิ่มหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ในขณะนี้คงติดตาม สถานการณ์อยู่ ยังไม่มีอะไรที่มีความจำเป็น คงจะตอบได้ว่ารัฐบาลจะติดตามสถานการณ์
ต่อข้อถามว่า การเคลื่อนไหวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ยังคงอยู่ในสายตาของรัฐบาลใช่หรือไม่ นายกฯ กล่าว "เป็นห่วงในเรื่องความเคลื่อนไหวทางการเมือง" เมื่อถามต่อว่าการเคลื่อนไหวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่มีผลกระทบต่อการเดินทางไปประชุมในต่างประเทศของท่านหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ไม่ได้มีผลกระทบ แต่มีผลกระทบภายในประเทศเรามากกว่า
คมช.-รัฐบาลเตรียมหารือร่วมกัน
วันเดียวกันนี้ (18 ม.ค.) พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบกและประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ให้สัมภาษณ์รายการ "สภาท่าพระอาทิตย์" ทางเอเอสทีวี ถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสิงคโปร์หลังไทยใช้มาตการทางการทูตตอบโต้ว่า แม้ว่าในความสัมพันธ์ทางทหารจะถือว่ายังดีอยู่ แต่มีความรู้สึกอึดอัดเหมือนกับคนไทยทั้งประเทศในเวลานี้ โดยเฉพาะในเรื่องเศรษฐกิจ ที่ไทยมีความสัมพันธ์กับสิงคโปร์ ซึ่งต่อไปนี้ทางคณะกรรมการร่วมระหว่าง คมช.กับรัฐบาลจะหารือกันในภาพรวมทั้งหมดอย่างใกล้ชิดในเร็วๆ นี้
เมื่อถามถึงแนวโน้มการทบทวนการให้สิงคโปร์ใช้ฐานทัพในประเทศไทย ประธาน คมช.ย้ำว่า "ผลประโยชน์ของชาติมีหลายมิติ ซึ่งเวลานี้เรากังวลในเรื่องของความมั่นคง เรากังวลในเรื่องของดาวเทียม เรื่องโทรศัพท์ หรือสัมปทาน เราหนักใจ เพราะเวลานี้เราต้องใช้ผ่านตรงนั้น คิดว่ารัฐบาลต้องพิจารณาเรื่องนี้แน่นอน ที่ผ่านมาได้คุยกับประธานบอร์ดองค์การโทรศัพท์ไปแล้ว และต่อไปจะหารือกับรัฐบาลในภาพใหญ่กันอีกครั้ง เวลานี้ระบบโทรศัพท์ในบ้านเราต้องผ่านชุมสาย ไม่ใช่ของประเทศเรา เป็นของต่างชาติ ทำให้เรารู้สึกเป็นกังวล " พล.อ.สนธิ กล่าว
สนธิอยากเคลียร์ทักษิณนอกประเทศ
พล.อ.สนธิ ยังกล่าวถึงกำหนดการเดินทางไปเยือนจีนในวันที่ 21-24 มกราคมนี้ว่า ทางประเทศจีนได้เชิญมานานแล้ว แต่ที่ผ่านมาติดภารกิจจึงยังไม่มีโอกาสไป ที่ผ่านมาความสัมพันธ์ไทย-จีน ถือว่าดีมาก เขาเข้าใจเราดี แม้กระทั่งในช่วงเหตุการณ์ปฏิรูปฯ ซึ่งทางทูตจีนในประเทศไทยมีความคุ้นเคยกับเรา เขาวิเคราะห์สถานการณ์ถูก
ต่อข้อถามว่า ช่วงดังกล่าวจะมีโอกาสได้พบ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งมีข่าวว่ายังอยู่จีนหรือไม่ พล.อ.สนธิ กล่าวว่า รู้ข่าวมาว่า ในช่วงนั้นพ.ต.ท.ทักษิณจะไปญี่ปุ่น " แต่ผมคิดว่า ถ้าได้พบกันก็ดีเหมือนกัน จะได้พูดกันให้รู้เรื่องกันไปเลย เพราะถ้าพบกันข้างนอกน่าจะดีกว่าข้างใน " พล.อ.สนธิ กล่าวติดตลก
แหล่งข่าว คมช. เปิดเผยว่าภายหลังที่ พล.อ.สนธิ ได้แจ้งให้สมาชิก คมช. ทุกคนระวังการใช้โทรศัพท์ จึงทำให้สมาชิก คมช. ทั้ง 8 คน มีการเปลี่ยนแปลงเบอร์โทรศัพท์เคลื่อนที่ เพราะเกรงว่าจะถูกล้วงข้อมูลความลับ โดยมีการเปลี่ยนแปลงเลขหมายเดิมที่ใช้ของผู้ให้บริการเจ้าใหญ่เป็นระบบอื่นแทน
บัวแก้วแจ้งทูตญี่ปุ่น "ทักษิณ" เข้าประเทศอย่าซ้ำรอยสิงคโปร์
นายกิตติ วะสีนนท์ อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวยอมรับว่า ความสัมพันธ์ระหว่างไทย - สิงคโปร์ อาจต้องสะดุดลง ซึ่งฝ่ายไทยแสดงความกังวลกับสิงคโปร์มาโดยตลอดเกี่ยวกับเรื่องการพบปะกันระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กับรองนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ โดยที่นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้คุยกับนายจอร์จ เอี๋ยว รัฐมนตรีต่างประเทศของสิงคโปร์มากกว่า 3 ครั้ง และทางกระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งไปยังนายปีเตอร์ ชาน เอกอัครราชทูตสิงคโปร์ ประจำประเทศไทยแล้ว 3 ครั้ง ถึงความกังวลและข้อทักทวง แต่เหตุการณ์ดังกล่าวกลับเกิดขึ้นอีก
ส่วนจะทำความเข้าใจกับต่างชาติเกี่ยวกับสถานะของ พ.ต.ท.ทักษิณ หรือไม่นั้น นายกิตติ กล่าวว่า ประเด็นนี้เป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่แล้ว ส่วนเรื่องการสอบสวนหรือเรื่องคดีความก็เป็นเรื่องที่ประจักษ์ สถานเอกอัคราชทูตต่างประเทศในไทยก็ทราบดี ถ้ามีความคืบหน้าหรือข้อสรุป ทางกระทรวงจะแจ้งไปยังสถานเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ไทยทั่วโลกเพื่อไปแจ้งกับรัฐบาลที่ประจำการอยู่ในประเทศนั้นๆ ได้ทราบเป็นระยะ
ต่อคำถามว่า มีกระแสว่า พ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางไปถึงประเทศญี่ปุ่นแล้วในวันที่ 18 มกราคมทางกระทรวงการต่างประเทศได้ชี้แจงกับทางญี่ปุ่นให้ทราบท่าที ก่อนเหมือนกรณีการไปเยือนสิงคโปร์หรือไม่ นายกิตติกล่าวว่ากระทรวงการต่างประเทศพูดคุยว่าจะปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติกับอดีตนายกฯ อย่างไรโดยทำความเข้าใจกับสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียวแล้ว ขณะเดียวกันนายสุวิทย์ สิมะสกุล ได้พูดคุยกับทางการญี่ปุ่นแล้วด้วย นอกจากนี้ รมว.ต่างประเทศก็เคยพูดคุยเรื่องดังกล่าวกับนายฮิเดอากิ โคบายาชิ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยด้วยเช่นกันในระหว่างงานเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น 120 ปีที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 16 มกราคมที่ผ่านมา
สิงคโปร์ยันการค้ากับไทยยังแน่นแฟ้น
นายลิ้ม ฮง เคียง รัฐมนตรีการค้าสิงคโปร์เปิดเผยเมื่อวานนี้ว่า ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสิงคโปร์กับไทยยังคงมีความแน่นแฟ้น แม้มีความไม่พอใจเกิดขึ้นกรณีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เดินทางเยือนสิงคโปร์ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา
"ปัจจัยพื้นฐานของความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจและการค้าของเรามีความแข็งแกร่งมาก" นายลิ้มกล่าวและว่า เจ้าหน้าที่สิงคโปร์ติดต่อหารือกับเจ้าหน้าที่ของไทยอยู่เสมอ และเจ้าหน้าที่ไทยก็มีความรู้เรื่องตลาดดีมาก
ประธาน กมธ.มั่นคงเตือนยุติโต้สิงคโปร์
ขณะที่ พล.อ.โชคชัย หงส์ทอง ประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ให้ความเห็นว่า เมื่อรัฐบาลได้ดำเนินมาตรการทางการทูตต่อสิงคโปร์ไปแล้ว ควรจะให้เรื่องจบลงแค่นี้ ไม่ควรให้มีการขยายผลต่อไปเพราะเกรงว่าจะกระทบกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากไทยและสิงคโปร์มีความสัมพันธ์ทางการทหารที่แนบแน่น อาจจะเรียกได้ว่าดีที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยทั้งตัวผู้นำกองทัพ หากมีการขยายผลต่อไปเกรงจะเกิดผลกระทบต่อผลประโยชน์ของประเทศ โดยเฉพาะในส่วนของแรงงานไทยในสิงคโปร์
บัวแก้วให้ทูตแจง ตปท.กู้ภาพลักษณ์
ด้านนายกิตติ วะสีนนท์ อธิบดีกรมสารนิเทศ ในฐานะโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ยอมรับว่า ประเทศไทยได้รับผลกระทบด้านภาพลักษณ์จากการตอบโต้สิงคโปร์ แต่การใช้มาตรการตอบโต้ทางการทูตที่ดำเนินมาตรการเฉพาะประเทศสิงคโปร์ ซึ่งในด้านภาพลักษณ์กระทรวงฯ ก็ต้องอธิบายให้ต่างชาติทราบความจริง นอกจากนี้ยังมีดำเนินการผ่านสถานทูต และกงศุลใหญ่ไทยทั่วโลกเปิดให้เอกอัครราชทูตได้ใช้ดุลยพินิจในการชี้แจงกับต่างประเทศเพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ความเข้าใจที่ดี
ไอซีที เรียกประชุมผู้ให้บริการการสื่อสาร
นายวิษณุ มีอยู่ โฆษกกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า วานนี้ (18 ม.ค.) กระทรวงไอซีที ได้เรียกประชุมหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารือด้านการควบคุมและป้องกันการดักฟังโทรศัพท์ โดยนายไกรสร พรสุธี ปลัดกระทรวงไอซีที เป็นประธาน โดยได้ขอความร่วมมือให้บริษัทเอกชนทุกราย เพิ่มกระบวนการควบคุมดูแลตู้สาขาและชุมสายต่างๆ ให้มีระบบป้องกันอย่างแน่นหนายิ่งขึ้น และห้ามบุคคลใดก็ตามที่ไม่มีความรับผิดชอบเข้า-ออกในพื้นที่ดังกล่าวโดยเด็ดขาด
ทั้งนี้ กระทรวงไอซีทีจะประสานกับ กทช. เพื่อเร่งรัดให้ออกกฎระเบียบที่ครอบคลุมครบวงจรมากขึ้นออกมา รวมทั้งปรึกษากับทาง สมช. และหน่วยงานความมั่นคงอื่นๆ เพื่อเตรียมมาตรการขั้นต่อไป
เอไอเอส "ท้าพิสูจน์" ความบริสุทธิ์
นายวิเชียร เมฆตระการ กรรมการผู้อำนวยการ บมจ. แอดวานซ์อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) กล่าวว่า บริษัทไม่เคยดักฟังการใช้งานโทรศัพท์มือถือของใคร เพราะไม่มีอุปกรณ์ ดังนั้น แม้ศาลสั่งให้ดำเนินการดังกล่าวก็คงทำให้ไม่ได้ เนื่องจากไม่มีอุปกรณ์ และไม่เคยจัดซื้อ เนื่องจากผิดกฎหมาย อีกทั้งยังไม่เกิดผลประโยชน์ในทางธุรกิจ หรือก่อให้เกิดผลกำไร
"บางประเทศเช่น ไต้หวัน จะให้มีการติดตั้งอุปกรณ์ดักฟังได้ แต่ประเทศไทยไม่มี ซึ่งเอไอเอส ไม่เห็นว่าต้องซื้ออุปกรณ์ดังกล่าว เพราะไม่ก่อให้เกิดรายได้ ถ้าจะซื้ออุปกรณ์ สู้เอางบไปขยายศักยภาพโครงข่ายให้ผู้บริโภคดีกว่า" นายวิเชียรกล่าว
โดยบริษัทยินดีให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าตรวจสอบได้ รวมถึงสามารถสอบถามไปยังผู้ผลิตอุปกรณ์ (ซัพพลายเออร์) ของเอไอเอส ทุกรายได้ เช่น โนเกีย ซีเมนส์ อีริคสัน
"ทรู" แนะรัฐเรียกขึ้นทะเบียนอุปกรณ์ดักฟัง
นายอธึก อัศวานันท์ รองประธานและหัวหน้าคณะผู้บริหารด้านกฎหมาย บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น และบริษัท ทรูมูฟ จำกัด กล่าวว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรื่องดังกล่าว เช่น กทช. หรือกระทรวงไอซีที ควรจะเป็นหน่วยงานรับผิดชอบออกสั่งการให้บุคคล องค์กรทั้งหน่วยงานราชการ และเอกชนที่มีอุปกรณ์ดักฟังการใช้โทรศัพท์ทั้งมือถือ และโทรศัพท์พื้นฐาน ให้แจ้งขึ้นทะเบียนไว้ และหากหน่วยงานใดมีเครื่องดักฟัง แต่ไม่แจ้งรัฐ ก็จะถูกตรวจสอบดำเนินการตามกฎเกณฑ์ที่จะออกต่อไป เพราะอุปกรณ์ดังกล่าวไม่มีประโยชน์ในทางธุรกิจ หรือสร้างผลกำไร ดังนั้นหากใครมีอุปกรณ์ดังกล่าวต้องตรวจสอบว่าใช้เพื่อเหตุใด
ขณะที่ พล.อ.ชูชาติ พรหมพระสิทธิ์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) กล่าวว่า ยอมรับว่ามีการขออนุญาตนำเข้าอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับดักฟังจริง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ และเตรียมทำการตรวจสอบรายละเอียดแล้วว่า มีการนำเข้ามาจำนวนเท่าใด และเป็นหน่วยงานใดบ้างที่มีอยู่ในครอบครอง
:la: :la: