คิดยังไงกับข่าวนี้ครับ?
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ม.ค. 18, 2007 2:42 pm
จากไทยรัฐ http://www.thairath.co.th/news.php?sect ... tent=33844
ผู้สื่อข่าวรายงานถึงผลจากการออกมาตรการสำรองเงินทุนระยะสั้น จากต่างประเทศ 30% ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาเพื่อทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.ที่ผ่านมาว่า นักวิชาการได้มีการตั้งข้อสังเกตถึงมาตรการดังกล่าวว่า หลังจากมีผลในทางปฏิบัติได้ประมาณ 1 เดือนก็ปรากฏว่าค่าเงินบาทก็ยังไม่อ่อนค่าลงตามที่ ธปท.ต้องการ นอกจากนั้น ผลจากมาตรการดังกล่าวยังไม่ช่วยลดผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ธปท.เข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาท ในช่วงปี 2548-2549 ที่ผ่านมา จึงแสดงให้เห็นว่า มาตรการนี้ไม่ได้ส่งผลดีต่อค่าเงินบาทอย่างแท้จริง
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ธปท.ได้มีการประเมินในเบื้องต้นถึงวงเงินใช้จ่ายการออกพันธบัตร ธปท. และผลขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้ในการดูแลการแข็งค่าของค่าเงินบาท ณ สิ้นปี 2549 ของ ธปท.ว่าอยู่ที่ประมาณ 199,000 ล้านบาท โดยประเมินว่า เงินตราต่างประเทศที่ ธปท.รับซื้อทันที (spot) ตลอดทั้งปี 2549 อยู่ที่ 22,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย 5 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ธปท.จะขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งสิ้น 110,000 ล้านบาท
ขณะเดียวกัน ธปท. ได้ซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (swap) อยู่ที่ 7,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และถ้าคิดในลักษณะเดียวกัน (ขาดทุน 5 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ) จะขาดทุนประมาณ 35,000 ล้านบาท รวมเป็นผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 145,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ ธปท.ยังมีรายจ่ายอัตราดอกเบี้ยพันธบัตร ธปท.ที่ออกมาเพื่อดูดซับสภาพคล่องจากการปล่อยเงินบาทแลกเงินดอลลาร์ ในปี 2549 ซึ่งมียอดคงค้างจากการออกพันธบัตร 900,000 ล้านบาท เฉลี่ยอัตราดอกเบี้ย 6% ธปท.จึงต้องจ่ายเงิน เพื่อดูดซับสภาพคล่องออกจากตลาดเงินอีก 54,000 ล้านบาท ทำให้ยอดความเสียหายของ ธปท.จากอัตราแลกเปลี่ยนและการออกพันธบัตรสูงถึง 199,000 ล้านบาท
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ ในปี 2548 ซึ่งเป็นปีที่ค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าต่อเนื่องเช่นกัน ธปท. ได้รายงานผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทสุทธิ 7,943 ล้านบาท เท่ากับว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา (ปี 2548-2549) ธปท.มีผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการดูแลค่าเงินบาท ประมาณ 206,943 ล้านบาท
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า ผลขาดทุนจากการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนของ ธปท.ที่ระดับ 200,000-300,000 ล้านบาท เป็นวงเงินที่น้อยมากเมื่อเทียบกับทุนสำรองทางการระหว่างประเทศที่มีสูงถึง 2,369,500 ล้านบาท หรือ 66,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และการขาดทุนนี้ถือว่าทางการยอมขาดทุนแทนภาคเอกชน ไม่เช่นนั้นเอกชนจะได้รับผลกระทบจากการแข็งขึ้นของค่าเงินบาทมากกว่าที่เป็นอยู่.
- อยากทราบความเห็นเกี่ยวกับข่าวนี้ของทุกท่านนะครับ ส่วนตัวผมคิดว่าไม่คุ้มเลยที่รัฐจะต้องยอมขาดทุนแทนภาคเอกชนขนาดนี้ (ถ้าซักหลักหมื่นล้านยังพอว่า) แล้วถ้า ธปท. ยังดำเนินนโยบายแบบนี้ไปเรื่อยๆคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นครับ? ขาดทุน 10% ของทุนสำรองระหว่างประเทศมันก็ไม่น้อยนะ
ผู้สื่อข่าวรายงานถึงผลจากการออกมาตรการสำรองเงินทุนระยะสั้น จากต่างประเทศ 30% ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาเพื่อทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.ที่ผ่านมาว่า นักวิชาการได้มีการตั้งข้อสังเกตถึงมาตรการดังกล่าวว่า หลังจากมีผลในทางปฏิบัติได้ประมาณ 1 เดือนก็ปรากฏว่าค่าเงินบาทก็ยังไม่อ่อนค่าลงตามที่ ธปท.ต้องการ นอกจากนั้น ผลจากมาตรการดังกล่าวยังไม่ช่วยลดผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ธปท.เข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาท ในช่วงปี 2548-2549 ที่ผ่านมา จึงแสดงให้เห็นว่า มาตรการนี้ไม่ได้ส่งผลดีต่อค่าเงินบาทอย่างแท้จริง
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ธปท.ได้มีการประเมินในเบื้องต้นถึงวงเงินใช้จ่ายการออกพันธบัตร ธปท. และผลขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้ในการดูแลการแข็งค่าของค่าเงินบาท ณ สิ้นปี 2549 ของ ธปท.ว่าอยู่ที่ประมาณ 199,000 ล้านบาท โดยประเมินว่า เงินตราต่างประเทศที่ ธปท.รับซื้อทันที (spot) ตลอดทั้งปี 2549 อยู่ที่ 22,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย 5 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ธปท.จะขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งสิ้น 110,000 ล้านบาท
ขณะเดียวกัน ธปท. ได้ซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (swap) อยู่ที่ 7,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และถ้าคิดในลักษณะเดียวกัน (ขาดทุน 5 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ) จะขาดทุนประมาณ 35,000 ล้านบาท รวมเป็นผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 145,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ ธปท.ยังมีรายจ่ายอัตราดอกเบี้ยพันธบัตร ธปท.ที่ออกมาเพื่อดูดซับสภาพคล่องจากการปล่อยเงินบาทแลกเงินดอลลาร์ ในปี 2549 ซึ่งมียอดคงค้างจากการออกพันธบัตร 900,000 ล้านบาท เฉลี่ยอัตราดอกเบี้ย 6% ธปท.จึงต้องจ่ายเงิน เพื่อดูดซับสภาพคล่องออกจากตลาดเงินอีก 54,000 ล้านบาท ทำให้ยอดความเสียหายของ ธปท.จากอัตราแลกเปลี่ยนและการออกพันธบัตรสูงถึง 199,000 ล้านบาท
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ ในปี 2548 ซึ่งเป็นปีที่ค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าต่อเนื่องเช่นกัน ธปท. ได้รายงานผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทสุทธิ 7,943 ล้านบาท เท่ากับว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา (ปี 2548-2549) ธปท.มีผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการดูแลค่าเงินบาท ประมาณ 206,943 ล้านบาท
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า ผลขาดทุนจากการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนของ ธปท.ที่ระดับ 200,000-300,000 ล้านบาท เป็นวงเงินที่น้อยมากเมื่อเทียบกับทุนสำรองทางการระหว่างประเทศที่มีสูงถึง 2,369,500 ล้านบาท หรือ 66,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และการขาดทุนนี้ถือว่าทางการยอมขาดทุนแทนภาคเอกชน ไม่เช่นนั้นเอกชนจะได้รับผลกระทบจากการแข็งขึ้นของค่าเงินบาทมากกว่าที่เป็นอยู่.
- อยากทราบความเห็นเกี่ยวกับข่าวนี้ของทุกท่านนะครับ ส่วนตัวผมคิดว่าไม่คุ้มเลยที่รัฐจะต้องยอมขาดทุนแทนภาคเอกชนขนาดนี้ (ถ้าซักหลักหมื่นล้านยังพอว่า) แล้วถ้า ธปท. ยังดำเนินนโยบายแบบนี้ไปเรื่อยๆคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นครับ? ขาดทุน 10% ของทุนสำรองระหว่างประเทศมันก็ไม่น้อยนะ