เกษตรกรบ้านเรา !!!!
โพสต์แล้ว: พุธ ม.ค. 03, 2007 11:52 am
ศึกหนักปศุสัตว์ ปี"50 ราคาดิ่งเหว... ต้องปรับตัวเพื่ออยู่รอด
แม้ย่างเข้าสู่ปีใหม่ 2550 แล้ว แต่ความบอบช้ำของเกษตรกรในภาคการผลิตและผู้ส่งออกสินค้าเกษตรที่ต้องเผชิญมาตลอดช่วงปี 2549 ยังคงบาดแผลเรื้อรังมิทันจางหาย และก็ดูทีท่าว่าจะต้อง เตรียมพร้อมรับมือกับภาวะวิกฤตที่จะถล่มเข้ามาอีกระลอกในช่วงไตรมาส 1 ปี 2550 ทันที
โดยเฉพาะเกษตรกรในภาคปศุสัตว์ที่ต้องเผชิญปัญหาอย่างหนัก เริ่มจากผลพวงจากภาวะผลผลิตล้นตลาดของไก่เนื้อ ไก่ไข่ และสุกรต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2549 ทำให้ส่งผลต่อเนื่องถึง ทิศทางราคาสินค้าปศุสัตว์ในปี 2550 ให้อยู่ในภาวะดิ่งหัวลง อีกทั้งมาตรการกีดกันทางการค้าที่ตามมาระลอกแล้วระลอกเล่า
ขณะที่ภาวะค่าเงินบาทที่แข็งตัวขึ้นต่อเนื่องจนขึ้นไปแตะระดับสูงสุดประมาณ 35.12 บาทต่อดอลลาร์ เมื่อช่วงกลางเดือนธันวาคม 2549 ทำให้ภาคการส่งออกสินค้าเกษตรที่จะขายล่วงหน้าในช่วงไตรมาส 1 ระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม 2550 ถึงจุดชะงักงัน โดยเฉพาะสินค้าส่งออกหลัก เช่น ข้าว กุ้งและไก่ไม่สามารถส่งไปขายแข่งกับประเทศอื่นได้ เพราะค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าขึ้นกว่าเงินสกุลอื่นถึงกว่า ร้อยละ 12-14
การส่งออกกุ้ง นอกจากจะต้องเผชิญกับ ค่าบาทที่แข็งขึ้นในช่วงสุดท้ายของไตรมาส 4 ปี 2549 แล้ว ยังถูกกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (AD) ส่งผลให้ บริษัทผู้ส่งออกกุ้งส่วนใหญ่ต้องยอมประนีประนอมกับผู้ฟ้อง กลุ่มพันธมิตรชาวประมงกุ้งภาคใต้ 8 มลรัฐ (The Southern Shrimp Alliance หรือ SSA) ด้วยการจ่ายเงินพิเศษ เพื่อขอคงอัตราภาษี AD ไว้ที่ร้อยละ 5.79-6.82% ต่อไปอีก 1 ปี
ทั้งหมดนี้ส่งผลให้ราคากุ้งขาวแวนนาไมด์ ณ ตลาดทะเลไทย ได้ปรับตัวลดลงมาอย่าง ต่อเนื่อง จาก 159.48 บาท/50 ตัว /ก.ก. ในเดือนมกราคม-มิถุนายน หล่นลงมาเหลือ 120-130 บาท/50 ตัว/ก.ก. ในเดือนธันวาคม ในขณะที่ราคากุ้งกุลาดำต้นปี 2549 อยู่ที่ประมาณ 200 บาท/50 ตัว/ก.ก. ปัจจุบันราคาเหลืออยู่ประมาณ 130-135 บาท/50 ตัว/ก.ก.เท่านั้น
จน สมาคมกุ้งไทยได้คาดการณ์แนวโน้มการส่งออกกุ้งในปี 2550 จะขยายตัวร้อยละ 20 หรือเพิ่มขึ้นจากปี 2549 ซึ่งคาดว่าจะมีการส่งออกกุ้งได้ 340,000 ตัน ในด้านราคาคาดว่าจะมีแนวโน้มสูงขึ้นเช่นกัน อาจจะมากกว่ามูลค่าการส่งออกในปีนี้ที่ 80,000 ล้านบาท โดยตลาดหลักในการส่งออกยังคงเป็นตลาดสหรัฐ-สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ทั้งนี้การผลิตกุ้งในปี 2550 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 550,000 ตัน โดยมีสัดส่วนกุ้งขาวแวนนาไมด์ร้อยละ 98 หรือ 509,600 ตัน กุ้งกุลาดำร้อยละ 2 หรือปริมาณ 10,400 ตัน และกุ้งก้ามกรามประมาณ 10,000 ตัน
ส่งออกไก่แย่ ถูกอียูใช้โควตาภาษี
ด้านการส่งออกไก่เนื้อ ภายใต้สถานการณ์ไข้หวัดนกที่ยังไม่หมดไปจากประเทศไทย ปรากฏผู้ส่งออกไก่ปรุงสุกไทยต้องถูก สหภาพยุโรป "จำกัด" ปริมาณการนำเข้าด้วยการนำระบบ โควตาภาษีมาใช้ มีผลเดือนมีนาคม 2550 โดยกำหนดโควตา ไก่หมักเกลือให้ฝ่ายไทยจำนวน 92,610 ตัน จากโควตารวมที่ให้ทั้งหมด 264,245 ตัน มีอัตราภาษีในโควตาร้อยละ 15.4 ภาษีนอกโควตา 1,300 EU/ตัน กับโควตาไก่ปรุงสุกให้ฝ่ายไทย 160,033 ตัน จากโควตารวมทั้งหมด 250,953 ตัน มีอัตราภาษีในโควตาร้อยละ 8 ภาษีนอกโควตา 1,024 EU/ตัน
ในขณะที่ญี่ปุ่นซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักรองลงมาจากสหภาพยุโรป ก็ปฏิเสธที่จะเพิ่มการรับรองโรงงานไก่แปรรูปของไทย จากปัจจุบันที่มีอยู่ทั้งหมด 54 โรงงาน ทั้งๆ ที่ฝ่ายไทยมีการเปิดโรงงานไก่แปรรูปเพิ่มขึ้นอีกไม่ต่ำกว่า 6 โรงงาน ส่งผลให้ผู้ส่งออกไทยไม่สามารถเพิ่มปริมาณการส่งออกไก่แปรรูปไปยัง ตลาดญี่ปุ่น เพื่อทดแทนตลาดสหภาพยุโรปได้ และเมื่อสถานการณ์การส่งออกเนื้อไก่ดูตีบตันเช่นนี้ ผลผลิตเนื้อไก่ที่เหลือจึงถูกทุ่มลงมาตลาดภายในประเทศทันที
โดย นายสัตวแพทย์ไชยศักดิ์ บุญประสพธนโชติ นายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่พันธุ์ กล่าวถึงการเลี้ยงไก่ตลอดปี 2549 และทิศทางการเลี้ยงและการส่งออกไก่เนื้อปี 2550 ว่า จากปริมาณผลผลิตไก่ออกสู่ตลาด 16-17 ล้านตัวต่อสัปดาห์ ในขณะนี้ถือเป็นปริมาณที่มากเกินความต้องการ เห็นได้จากราคาไก่ใหญ่ซึ่งปกติช่วงเทศกาลปีใหม่มีการบริโภคมาก ราคาไก่เป็นหน้าฟาร์มน่าจะประมาณ 32 บาท/กิโลกรัม แต่ปัจจุบันราคาลงมาประมาณ 28-29 บาท/กิโลกรัม แสดงให้เห็นว่ามีปริมาณไก่เนื้อล้นอยู่ในตลาดมาก ประกอบกับสต๊อกที่ยังเหลืออยู่คาดว่า จะไม่ต่ำกว่า 60,000-70,000 ตัน ถ้าจะให้ปริมาณที่พอดีและไม่ส่งผลกระทบต่อราคาให้ทุกคนอยู่ได้ น่าจะปรับลดให้เหลือประมาณ 13 ล้านตัว/สัปดาห์
ผู้เลี้ยงไก่ไข่ดิ้น แก้ปัญหาไข่ล้นตลาด
ขณะที่ทางกลุ่มบริษัทผู้ผลิตลูกไก่และผู้เลี้ยงไก่ไข่ได้ประชุมมีการวิเคราะห์สถานการณ์การเลี้ยงไก่ไข่ในรอบปี 2549 ที่ผ่านมาปรากฏราคาขายเฉลี่ยตลอดปี "ต่ำกว่า" ต้นทุน และหากสถานการณ์ราคาข้าวโพดซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักปรับตัวสูงขึ้นถึง 7 บาทกว่าต่อกิโลกรัมขนาดนี้แล้ว ก็จะยิ่งส่งผลต่อต้นทุนการเลี้ยงมาก
โดยปัจจุบันราคาไข่คละหน้าฟาร์มราคาประมาณ 1.70 บาท/ฟอง ขณะที่ต้นทุนเฉลี่ยประมาณ 1.90-2 บาท/ฟอง ขณะที่ ปริมาณไข่ไก่ในประเทศยังมากเกินความต้อง การในการบริโภคอยู่อีกประมาณ 2 ล้านฟอง จากปัจจุบันผลิตได้ประมาณ 27 ล้านฟอง/วัน แต่ความต้องการในการบริโภคมีประมาณ 25 ล้านฟอง/วัน ดังนั้นหากปี 2550 ยังคงมีปริมาณการเลี้ยงไก่ไข่เพิ่มขึ้นและการผลิตไข่ไก่ยังออกสู่ตลาดเท่าเดิม ราคาไข่ไก่คงไม่สามารถขยับขึ้นได้ ที่ประชุมจึงเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องปรับลดปริมาณการนำเข้าปู่ย่าพันธุ์/พ่อแม่พันธุ์ (G.P./P.S.) ลงจากปี 2549 ที่นำเข้า 420,000 ตัว จะต้องปรับลดไปประมาณ ร้อยละ 5-10 จึงจะแก้ปัญหาได้
หมูเกิดสงครามข่าวลือ ราคาดิ่งไม่หยุด
สถานการณ์ราคาหมูหน้าฟาร์มปัจจุบันได้ปรับลงเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 36-38 บาท/ก.ก. จากเดิมที่ 44-45 บาท/ก.ก.ซึ่งถือเป็นการปรับลงในภาวะที่ค่อนข้าง "ผิดปกติ" เนื่องจากราคาปรับลงเร็วมาก แต่คนเลี้ยงยังมีหมูให้จับขายได้ ในปี 2550 มีแนวโน้มว่าปริมาณหมูจะออกสู่ตลาดมากขึ้น โดยเฉพาะหมูจากฟาร์มขนาดใหญ่ ทำให้การแข่งขันยิ่งรุนแรงขึ้นถึงขั้นที่หลายคนวิเคราะห์ว่า
อนาคตการเลี้ยงหมูจะเหมือนการเลี้ยงไก่ มีเฉพาะผู้เลี้ยงรายใหญ่เท่านั้นที่แข่งขันและอยู่รอดได้ และจะมีการ "จับมือ" กันทำตลาด ส่วนผู้เลี้ยงรายกลาง/รายเล็กที่ปรับตัวไม่ได้ก็จะค่อยๆ หายไปจากวงการ
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... 2007/01/01
แม้ย่างเข้าสู่ปีใหม่ 2550 แล้ว แต่ความบอบช้ำของเกษตรกรในภาคการผลิตและผู้ส่งออกสินค้าเกษตรที่ต้องเผชิญมาตลอดช่วงปี 2549 ยังคงบาดแผลเรื้อรังมิทันจางหาย และก็ดูทีท่าว่าจะต้อง เตรียมพร้อมรับมือกับภาวะวิกฤตที่จะถล่มเข้ามาอีกระลอกในช่วงไตรมาส 1 ปี 2550 ทันที
โดยเฉพาะเกษตรกรในภาคปศุสัตว์ที่ต้องเผชิญปัญหาอย่างหนัก เริ่มจากผลพวงจากภาวะผลผลิตล้นตลาดของไก่เนื้อ ไก่ไข่ และสุกรต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2549 ทำให้ส่งผลต่อเนื่องถึง ทิศทางราคาสินค้าปศุสัตว์ในปี 2550 ให้อยู่ในภาวะดิ่งหัวลง อีกทั้งมาตรการกีดกันทางการค้าที่ตามมาระลอกแล้วระลอกเล่า
ขณะที่ภาวะค่าเงินบาทที่แข็งตัวขึ้นต่อเนื่องจนขึ้นไปแตะระดับสูงสุดประมาณ 35.12 บาทต่อดอลลาร์ เมื่อช่วงกลางเดือนธันวาคม 2549 ทำให้ภาคการส่งออกสินค้าเกษตรที่จะขายล่วงหน้าในช่วงไตรมาส 1 ระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม 2550 ถึงจุดชะงักงัน โดยเฉพาะสินค้าส่งออกหลัก เช่น ข้าว กุ้งและไก่ไม่สามารถส่งไปขายแข่งกับประเทศอื่นได้ เพราะค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าขึ้นกว่าเงินสกุลอื่นถึงกว่า ร้อยละ 12-14
การส่งออกกุ้ง นอกจากจะต้องเผชิญกับ ค่าบาทที่แข็งขึ้นในช่วงสุดท้ายของไตรมาส 4 ปี 2549 แล้ว ยังถูกกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (AD) ส่งผลให้ บริษัทผู้ส่งออกกุ้งส่วนใหญ่ต้องยอมประนีประนอมกับผู้ฟ้อง กลุ่มพันธมิตรชาวประมงกุ้งภาคใต้ 8 มลรัฐ (The Southern Shrimp Alliance หรือ SSA) ด้วยการจ่ายเงินพิเศษ เพื่อขอคงอัตราภาษี AD ไว้ที่ร้อยละ 5.79-6.82% ต่อไปอีก 1 ปี
ทั้งหมดนี้ส่งผลให้ราคากุ้งขาวแวนนาไมด์ ณ ตลาดทะเลไทย ได้ปรับตัวลดลงมาอย่าง ต่อเนื่อง จาก 159.48 บาท/50 ตัว /ก.ก. ในเดือนมกราคม-มิถุนายน หล่นลงมาเหลือ 120-130 บาท/50 ตัว/ก.ก. ในเดือนธันวาคม ในขณะที่ราคากุ้งกุลาดำต้นปี 2549 อยู่ที่ประมาณ 200 บาท/50 ตัว/ก.ก. ปัจจุบันราคาเหลืออยู่ประมาณ 130-135 บาท/50 ตัว/ก.ก.เท่านั้น
จน สมาคมกุ้งไทยได้คาดการณ์แนวโน้มการส่งออกกุ้งในปี 2550 จะขยายตัวร้อยละ 20 หรือเพิ่มขึ้นจากปี 2549 ซึ่งคาดว่าจะมีการส่งออกกุ้งได้ 340,000 ตัน ในด้านราคาคาดว่าจะมีแนวโน้มสูงขึ้นเช่นกัน อาจจะมากกว่ามูลค่าการส่งออกในปีนี้ที่ 80,000 ล้านบาท โดยตลาดหลักในการส่งออกยังคงเป็นตลาดสหรัฐ-สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ทั้งนี้การผลิตกุ้งในปี 2550 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 550,000 ตัน โดยมีสัดส่วนกุ้งขาวแวนนาไมด์ร้อยละ 98 หรือ 509,600 ตัน กุ้งกุลาดำร้อยละ 2 หรือปริมาณ 10,400 ตัน และกุ้งก้ามกรามประมาณ 10,000 ตัน
ส่งออกไก่แย่ ถูกอียูใช้โควตาภาษี
ด้านการส่งออกไก่เนื้อ ภายใต้สถานการณ์ไข้หวัดนกที่ยังไม่หมดไปจากประเทศไทย ปรากฏผู้ส่งออกไก่ปรุงสุกไทยต้องถูก สหภาพยุโรป "จำกัด" ปริมาณการนำเข้าด้วยการนำระบบ โควตาภาษีมาใช้ มีผลเดือนมีนาคม 2550 โดยกำหนดโควตา ไก่หมักเกลือให้ฝ่ายไทยจำนวน 92,610 ตัน จากโควตารวมที่ให้ทั้งหมด 264,245 ตัน มีอัตราภาษีในโควตาร้อยละ 15.4 ภาษีนอกโควตา 1,300 EU/ตัน กับโควตาไก่ปรุงสุกให้ฝ่ายไทย 160,033 ตัน จากโควตารวมทั้งหมด 250,953 ตัน มีอัตราภาษีในโควตาร้อยละ 8 ภาษีนอกโควตา 1,024 EU/ตัน
ในขณะที่ญี่ปุ่นซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักรองลงมาจากสหภาพยุโรป ก็ปฏิเสธที่จะเพิ่มการรับรองโรงงานไก่แปรรูปของไทย จากปัจจุบันที่มีอยู่ทั้งหมด 54 โรงงาน ทั้งๆ ที่ฝ่ายไทยมีการเปิดโรงงานไก่แปรรูปเพิ่มขึ้นอีกไม่ต่ำกว่า 6 โรงงาน ส่งผลให้ผู้ส่งออกไทยไม่สามารถเพิ่มปริมาณการส่งออกไก่แปรรูปไปยัง ตลาดญี่ปุ่น เพื่อทดแทนตลาดสหภาพยุโรปได้ และเมื่อสถานการณ์การส่งออกเนื้อไก่ดูตีบตันเช่นนี้ ผลผลิตเนื้อไก่ที่เหลือจึงถูกทุ่มลงมาตลาดภายในประเทศทันที
โดย นายสัตวแพทย์ไชยศักดิ์ บุญประสพธนโชติ นายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่พันธุ์ กล่าวถึงการเลี้ยงไก่ตลอดปี 2549 และทิศทางการเลี้ยงและการส่งออกไก่เนื้อปี 2550 ว่า จากปริมาณผลผลิตไก่ออกสู่ตลาด 16-17 ล้านตัวต่อสัปดาห์ ในขณะนี้ถือเป็นปริมาณที่มากเกินความต้องการ เห็นได้จากราคาไก่ใหญ่ซึ่งปกติช่วงเทศกาลปีใหม่มีการบริโภคมาก ราคาไก่เป็นหน้าฟาร์มน่าจะประมาณ 32 บาท/กิโลกรัม แต่ปัจจุบันราคาลงมาประมาณ 28-29 บาท/กิโลกรัม แสดงให้เห็นว่ามีปริมาณไก่เนื้อล้นอยู่ในตลาดมาก ประกอบกับสต๊อกที่ยังเหลืออยู่คาดว่า จะไม่ต่ำกว่า 60,000-70,000 ตัน ถ้าจะให้ปริมาณที่พอดีและไม่ส่งผลกระทบต่อราคาให้ทุกคนอยู่ได้ น่าจะปรับลดให้เหลือประมาณ 13 ล้านตัว/สัปดาห์
ผู้เลี้ยงไก่ไข่ดิ้น แก้ปัญหาไข่ล้นตลาด
ขณะที่ทางกลุ่มบริษัทผู้ผลิตลูกไก่และผู้เลี้ยงไก่ไข่ได้ประชุมมีการวิเคราะห์สถานการณ์การเลี้ยงไก่ไข่ในรอบปี 2549 ที่ผ่านมาปรากฏราคาขายเฉลี่ยตลอดปี "ต่ำกว่า" ต้นทุน และหากสถานการณ์ราคาข้าวโพดซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักปรับตัวสูงขึ้นถึง 7 บาทกว่าต่อกิโลกรัมขนาดนี้แล้ว ก็จะยิ่งส่งผลต่อต้นทุนการเลี้ยงมาก
โดยปัจจุบันราคาไข่คละหน้าฟาร์มราคาประมาณ 1.70 บาท/ฟอง ขณะที่ต้นทุนเฉลี่ยประมาณ 1.90-2 บาท/ฟอง ขณะที่ ปริมาณไข่ไก่ในประเทศยังมากเกินความต้อง การในการบริโภคอยู่อีกประมาณ 2 ล้านฟอง จากปัจจุบันผลิตได้ประมาณ 27 ล้านฟอง/วัน แต่ความต้องการในการบริโภคมีประมาณ 25 ล้านฟอง/วัน ดังนั้นหากปี 2550 ยังคงมีปริมาณการเลี้ยงไก่ไข่เพิ่มขึ้นและการผลิตไข่ไก่ยังออกสู่ตลาดเท่าเดิม ราคาไข่ไก่คงไม่สามารถขยับขึ้นได้ ที่ประชุมจึงเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องปรับลดปริมาณการนำเข้าปู่ย่าพันธุ์/พ่อแม่พันธุ์ (G.P./P.S.) ลงจากปี 2549 ที่นำเข้า 420,000 ตัว จะต้องปรับลดไปประมาณ ร้อยละ 5-10 จึงจะแก้ปัญหาได้
หมูเกิดสงครามข่าวลือ ราคาดิ่งไม่หยุด
สถานการณ์ราคาหมูหน้าฟาร์มปัจจุบันได้ปรับลงเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 36-38 บาท/ก.ก. จากเดิมที่ 44-45 บาท/ก.ก.ซึ่งถือเป็นการปรับลงในภาวะที่ค่อนข้าง "ผิดปกติ" เนื่องจากราคาปรับลงเร็วมาก แต่คนเลี้ยงยังมีหมูให้จับขายได้ ในปี 2550 มีแนวโน้มว่าปริมาณหมูจะออกสู่ตลาดมากขึ้น โดยเฉพาะหมูจากฟาร์มขนาดใหญ่ ทำให้การแข่งขันยิ่งรุนแรงขึ้นถึงขั้นที่หลายคนวิเคราะห์ว่า
อนาคตการเลี้ยงหมูจะเหมือนการเลี้ยงไก่ มีเฉพาะผู้เลี้ยงรายใหญ่เท่านั้นที่แข่งขันและอยู่รอดได้ และจะมีการ "จับมือ" กันทำตลาด ส่วนผู้เลี้ยงรายกลาง/รายเล็กที่ปรับตัวไม่ได้ก็จะค่อยๆ หายไปจากวงการ
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... 2007/01/01