หน้า 1 จากทั้งหมด 1

ย้อนรอยวิกฤติเงินบาท จาก 2 กรกฎาคม 2540 ถึง 19 ธันวาคม 2549

โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 26, 2006 11:20 am
โดย คัดท้าย
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยครับ พูดถึงเรื่องมาตรการแบงก์ชาติ

ข้อมูลนี้ มาจาก eFinanceThai ครับ

ย้อนรอยวิกฤติเงินบาท … จาก 2 กรกฎาคม 2540 ถึง 19 ธันวาคม 2549

            ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานว่า เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่ามาตรการสำรองเงินนำเข้าระยะ
สั้นของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งถือได้ว่าเป็นมาตรการควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินทุน
(Capital Control Measures) ที่ได้ประกาศในเย็นในวันที่ 18 ธันวาคม 2549 นั้น โดยได้ทำ
ให้ดัชนีหุ้นไทย (SET Index) ร่วงลงถึง 108.71 จุดในวันที่ 19 ธันวาคม          ทั้งนี้ แม้ว่าทาง
การไทยจะยอมผ่อนคลายมาตรการดังกล่าวในเย็นวันดังกล่าว หลังจากพบว่าผลกระทบต่อตลาด
นั้นมีมากกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้ ซึ่งได้ช่วยให้ดัชนีหุ้นไทยดีดตัวขึ้นในวันที่ 20 ธันวาคม แต่ดัชนี
หุ้นก็ยังกลับมาปรับตัวลดลงอีกในวันถัดมา  ในขณะที่สำหรับนักลงทุนต่างชาตินั้น ก็ยังคงมีคำถาม
คาใจว่าทางการไทยจะกลับมาใช้มาตรการควบคุมเงินทุนไหลเข้า (Capital Control) อีกหรือ
ไม่ ถ้าหากเหตุการณ์แปรเปลี่ยนไปในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากเงินดอลลาร์สหรัฐฯอ่อน
ค่าลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯในปี 2550 ซึ่งอาจจะส่งผลให้เงินบาทรวมทั้งเงินใน
ภูมิภาคเอเซีย กลับมามีแนวโน้มปรับค่าขึ้นได้อีก

ย้อนระลึกเหตุการณ์ปี 2539-2540
              การที่ทางการไทยออกมาต่อสู้กับนักเก็งกำไรเพื่อรักษาระดับค่าเงินบาทดังกล่าว ทำให้
ย้อนระลึกไปถึงเหตุการณ์เมื่อ 10 ปีที่แล้วในช่วงปี 2539-2540 ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าในที่สุด
แล้วก็ตามมาด้วยการประกาศลอยตัวค่าเงินบาทในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540  โดยในครั้งนั้น ธปท.
ได้ทุ่มเงินจำนวนมากเพื่อที่จะรักษาระดับเงินบาทที่เกือบจะผูกติดกับเงินดอลลาร์ฯที่ระดับ
ประมาณ 25 บาท/ดอลลาร์ฯ โดยเกรงว่าหากปล่อยให้เงินบาทลอยตัวตามคำแนะนำของ IMF ก็
จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อเอกชนไทยที่ได้ทำการก่อหนี้ต่างประเทศไว้เป็นจำนวนมากใน
ระหว่างช่วงเศรษฐกิจฟองสบู่ 2530-2539 (โดยยอดหนี้ต่างประเทศของไทย ณ สิ้นปี 2539 สูง
กว่าหนึ่งแสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เทียบกับทุนสำรองที่ในขณะนั้นอยู่มีต่ำกว่า 4 หมื่นล้าน
ดอลลาร์ฯ) แต่ในที่สุดแล้ว ทุนสำรองของประเทศที่ลดระดับลงอย่างรวดเร็วจากการถูกนำไปทุ่มสู้
เพื่อรักษาค่าเงินบาทดังกล่าว ทำให้ธปท.ต้องยอมปล่อยให้เงินบาทลอยตัวในวันที่ 2 ก.ค. 40 ซึ่ง
ตามมาด้วยภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรงเป็นประวัติการณ์ในปี 2540-2541
             แม้ว่าการดำเนินการในวันที่ 19 ธันวาคม 2549 ที่ผ่านมา จะเป็นการดำเนินการเพื่อ
รักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาทเหมือนกัน แต่เหตุการณ์ในปี 2539-2540 นั้นก็มีความแตกต่าง
กับเหตุการณ์ในปัจจุบันหลายประการ  ดังนี้
              เป้าหมายของการแทรกแซงค่าเงินบาทของธปท.ในช่วงปี 2539-2540 นั้น เป็นไป
เพื่อพยายามรักษาระดับค่าเงินบาทที่เกือบจะผูกติดกับค่าเงินดอลลาร์ฯที่ระดับ 25 บาท/
ดอลลลาร์ฯไว้มิให้ต้องอ่อนค่าลงจนกระทบภาคเอกชนไทยที่ได้ก่อหนี้ต่างประเทศไว้เป็นจำนวน
มากถึงกว่าแสนล้านดอลลาร์ฯ  ในขณะที่การแทรกแซงในปี 2549 ที่ผ่านมานั้น เป็นไปเพื่อมิให้
เงินบาทแข็งค่ามากและเร็วเกินไป เพื่อที่จะช่วยผู้ส่งออกเนื่องจากการส่งออกมีสัดส่วนกว่าร้อยละ
60 ของ GDP ของประเทศ เทียบกับเพียงร้อยละ 30 ในปี 2539 โดยดูเหมือนว่าทางการไทยไม่
ต้องการให้เงินบาทแข็งค่าเกินระดับ 35.0 บาท/ดอลลาร์ฯ ซึ่งถูกมองว่าเป็นระดับทางจิตวิทยาที่
สำคัญของตลาดค้าเงิน
             ทั้งนี้ การก่อหนี้ต่างประเทศจำนวนมากของภาคเอกชนไทยในช่วงฟองสบู่ก่อนปี 2539
นั้น เป็นผลจากภาวะการลงทุนที่เกินตัว และการเก็งกำไรอย่างกว้างขวางในภาคอสังหาริมทรัพย์
ซึ่งสะท้อนโดยภาวะการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศในช่วงนั้น (ขาดดุลมากถึง -8.1%
ของ GDP ในปี 2539) ในขณะที่ในปัจจุบันนี้ทางการไทยต้องการให้ความสำคัญต่อการส่งออก
เนื่องจากภาวะการใช้จ่ายในประเทศโดยเฉพาะการลงทุน ไม่ได้ขยายตัวมากอย่างที่ควรจะเป็น
อันเป็นผลจากปัจจัยลบหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นภาวะราคาน้ำมัน เงินเฟ้อ การปรับขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ย รวมทั้งสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ

ความแตกต่างระหว่างการป้องกันค่าเงินในของ ธปท. เมื่อ 10 ปีที่แล้ว และในปัจจุบัน
2539-2540
1. ประเด็นปัญหา
           เงินทุนไหลออก : เงินบาทที่ผูกติดกับเงินดอลลาร์ฯ ถูกโจมตีอย่างหนักในช่วงครึ่งหลัง
ของปี 2539 ต่อเนื่องไปจนถึงครึ่งแรกของปี 2540 จากที่นักลงทุนมีความกังวลต่อความไม่
สมดุลระหว่างฐานะหนี้ต่างประเทศและระดับทุนสำรองของไทย รวมทั้งปัญหาดุลบัญชีเดินสะพัด
(-8.1% ของ GDP) ท่ามกลางการชะลอตัวของการส่งออกในปี 2539 (การส่งออกติดลบ 1.9%
ในปี 2539)

2549
          เงินทุนไหลเข้า : เงินบาทแข็งค่าในอัตราที่สูงกว่าค่าเงินสกุลหลักในภูมิภาค โดยก่อนการ
ประกาศมาตรการในวันที่ 19 ธันวาคม 2549 เงินบาทแข็งค่าไปกว่า 16% จากปลายปี 2548
เทียบกับเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาคที่ส่วนใหญ่แข็งค่าไม่เกิน 7%  ทั้งนี้ การแข็งค่าของเงินบาท
ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่นักค้าเงินมองว่าหลังวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 เป็นต้นมา เงินบาท
แข็งค่าขึ้นน้อยเกินไปเมื่อเทียบกับเงินวอนของเกาหลีใต้และเงินสิงค์โปร์ดอลลาร์

2. สภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจในขณะนั้น
2539-2540
           การลงทุนเกินตัว โดยมีการก่อหนี้ต่างประเทศจำนวนมากของภาคเอกชนไทย ซึ่งเป็นผล
มาจากภาวะการลงทุนที่เกินตัวและการเก็งกำไรในภาคอสังหาริมทรัพย์ในช่วงเศรษฐกิจฟองสบู่
ระหว่างปี 2530-2539 โดยในปี 2539 เศรษฐกิจไทยมีสัดส่วนการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ
GDP สูงถึง  -8.1%

2549
           การลงทุนต่ำระดับ การที่เศรษฐกิจไทยต้องพึ่งพิงการส่งออกเป็นเพราะการลงทุนและการ
บริโภคถูกกระทบจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำมัน ภาวะเงินเฟ้อ การปรับขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ย และปัญหาการเมืองในประเทศ  โดยไทยมีดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลมาตลอดตั้งแต่ปี
2541 และเพิ่งจะกลับมาขาดดุลในปี 2548 ในสัดส่วน 4.4% ของ GDP

3. เป้าหมายของการป้องกันค่าเงินบาทของธปท.
            เพื่อรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาทและช่วยภาคเอกชนไทยที่ได้ก่อหนี้ต่างประเทศไว้เป็น
จำนวนมาก (ทั้งโดยตรงและผ่าน BIBF) โดยพยายามที่จะรักษาระดับเงินบาทที่เกือบจะผูกติด
กับเงินดอลลาร์ฯไว้ที่ประมาณ 25 บาท/ดอลลาร์ฯ
             เพื่อรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาทและช่วยผู้ส่งออก โดยป้องกันมิให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นไป
เกินระดับ 35.0 บาท/ดอลลาร์ฯ ที่ถูกมองว่าเป็นแนวต้านสำคัญทางจิตวิทยา

4. ผลการเข้าแทรกแซงของธปท.ต่อฐานะทุนสำรองของประเทศ
            ทุนสำรองลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากหมดไปกับการที่นักเก็งกำไรและนักลงทุนต่าง
ชาติ พากันถอนเงินออกโดยนำไปซื้อดอลลาร์สหรัฐฯ ณ ระดับที่ผูกติดไว้แน่นดังกล่าว ในขณะที่
ธปท.ต้องเป็นฝ่ายขายดอลลาร์ฯ ซึ่งส่งผลให้จากกลางปี 2539 จนถึงปลายปี 2540 ทุนสำรองสุทธิ
ที่หักการกู้ยืมผ่านธุรกรรม Swap ของธปท.ได้ลดลงไปรวมประมาณ 3.7 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ
           ทุนสำรองเพิ่มขึ้น จากการที่ ธปท. ต้องรับซื้อเงินดอลลาร์ฯและขายเงินบาทให้แก่ผู้นำ
เงินเข้ามา โดยจากปลายปี 2548 จนถึงวันที่ 8 ธ.ค. 2549 ทุนสำรองที่นับรวมฐานะการให้กู้ของ
ธปท.ผ่านธุรกรรม Swap ได้เพิ่มขึ้นรวมแล้วประมาณ 1.8 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ

5. ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย
2539-2540
           การปรับลดอย่างมากของระดับทุนสำรองฯทำให้ธปท.ต้องตัดสินใจลอยตัวค่าเงินบาทใน
วันที่ 2 ก.ค. 40 และขอรับความช่วยเหลือจาก IMF ในเดือนถัดมา ในขณะที่ภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้น
ของภาคเอกชน และการหดตัวของการลงทุนได้ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะถดถอยในปี
2540 และ 2541 อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยก็ได้ทยอยฟื้นตัว หลังจากที่ความเชื่อมั่นของนัก
ลงทุนเริ่มกลับคืนมา และจากการขยายตัวของการส่งออก

2549
            การใช้มาตรการควบคุมเงินทุน (Capital Control) ของ ธปท.อาจส่งผลกระทบต่อ
ความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติในระยะสั้นบ้าง และกระทบต่อกระแสเงินทุนไหลเข้าจากต่าง
ประเทศ อย่างไรก็ตาม การที่ฐานะทุนสำรองของประเทศอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง และการที่ระบบ
สถาบันการเงินไทยยังคงมีสภาพคล่องอยู่ในเกณฑ์ดี ทำให้ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นไม่น่าจะมี
มากนัก โดยเฉพาะหากทางการไทยสามารถเร่งสร้างความเชื่อมั่นในการลงทุนให้กลับคืนมาได้
โดยเร็ว
ที่มา ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

             แม้ว่าการดำเนินการแทรกแซงค่าเงินของธปท.ในปัจจุบัน กับในช่วงปี 2539-2540 จะ
มีความแตกต่างกันหลายประการ แต่ผลที่ตามมาหลังการลอยตัวค่าเงินบาทในปี 2540 ก็คือ
ความชัดเจนของนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน และการทยอยกลับมาของความเชื่อมั่นของนักลงทุน
ในขณะที่ประเด็นปัญหาในขณะนี้ก็คือ นักลงทุนต่างชาติบางส่วนก็อาจจะยังคงมีความกังวลว่าทาง
การไทยจะกลับมาบังคับใช้มาตรการควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินทุนอีกหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
หากเงินดอลลาร์ฯตกอยู่ภายใต้แรงกดดันจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯในปี 2550 ซึ่ง
อาจจะส่งผลให้เงินบาทและเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาคกลับมาแข็งค่าขึ้นได้อีก
             สำหรับประเด็นทางด้านโครงสร้างเศรษฐกิจนั้น  ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเห็นว่า ประเด็น
หลัก ณ ขณะนี้ น่าจะอยู่ที่ว่า เศรษฐกิจไทยพึ่งการส่งออกในสัดส่วนที่สูงเกินไปถึงกว่าร้อยละ 60
ของ GDP ซึ่งย่อมจะสร้างแรงกดดันให้ทางการไทยจำต้องดำเนินการรักษาความสามารถในการ
แข่งขันของค่าเงินบาท เพื่อมิให้กระทบต่อการส่งออกและการขยายตัวของเศรษฐกิจของ
ประเทศ อย่างไรก็ตาม ค่าเงินนั้นมิใช่ปัจจัยสำคัญเพียงประการเดียวในการกำหนดความสามารถ
ในการแข่งขันของประเทศ แต่ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่า ผู้ส่งออกไทยควรที่จะสร้างมูลค่าเพิ่ม
ให้แก่สินค้าส่งออกให้มากขึ้น รวมทั้งการปรับโครงสร้างต้นทุนการผลิตให้อยู่ในระดับที่แข่งขันได้
ก็มีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้การส่งออกของไทยยืนหยัดในเวทีการค้าโลกได้ โดยตัวอย่างที่ดีน่าจะ
เป็นกรณีของญี่ปุ่นที่สามารถเอาตัวรอดได้หลังจากการแข็งค่าอย่างมากของเงินเยนจากข้อตกลง
Plaza Accord ในปี 1985 ซึ่งสหรัฐฯได้เข้าแทรกแซงตลาดเงินเพื่อให้ค่าเงินดอลลาร์ฯอ่อนตัว
ลง เพื่อที่จะช่วยบรรเทาปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐฯ

             นอกจากนี้ แม้การรักษาความสามารถในการแข่งขันของการส่งออกยังคงเป็นสิ่งที่จำ
เป็น               แต่ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่าแนวทางการแก้ปัญหาระยะกลางถึงระยะยาว น่าจะ
อยู่ที่การเสริมสร้างความแข็งแกร่งของการลงทุนในประเทศ และการทยอยลดการพึ่งพิงการส่ง
ออกลง เพื่อมิให้กลับมาสร้างแรงกดดันต่อการดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนเหมือนกับที่ได้
เกิดขึ้นในขณะนี้  ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่า ในเชิงนโยบายแล้ว การสร้างความแข็งแกร่ง
ของการลงทุนในประเทศสามารถดำเนินการได้ในหลายด้าน เช่น การวางกรอบกฎหมายที่เป็น
ธรรมและเกื้อหนุนการลงทุนทั้งแก่นักลงทุนในและต่างประเทศ  การเร่งพัฒนาโครงสร้าง
สาธารณูปโภคพื้นฐานที่จำเป็น โดยเฉพาะระบบการคมนาคมขนส่ง การบริหารทรัพยากรน้ำ และ
การจัดการด้านพลังงาน รวมทั้งการพัฒนาขีดความสามารถของกำลังแรงงานในประเทศ โดยการ
เพิ่มระดับคุณภาพของการศึกษาของไทย  ในขณะที่มาตรการเฉพาะหน้าอาจจะได้แก่ การเร่ง
ฟื้นฟูความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนต่างชาติว่า ทางการไทยยังคงมองว่าการลงทุนจากต่างประเทศเป็น
สิ่งที่สำคัญต่อเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะเงินลงทุนโดยตรงระยะยาว และยังคงให้ความสำคัญที่จะ
ดึงดูดเงินลงทุนดังกล่าว  ตลอดจนการสร้างความเชื่อมั่นในสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ
โดยการเร่งยกร่างรัฐธรรมนูญและจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งน่าจะส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นของ
นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ

ย้อนรอยวิกฤติเงินบาท จาก 2 กรกฎาคม 2540 ถึง 19 ธันวาคม 2549

โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 26, 2006 11:22 am
โดย คัดท้าย
สำหรับประเด็นทางด้านโครงสร้างเศรษฐกิจนั้น  ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเห็นว่า ประเด็น
หลัก ณ ขณะนี้ น่าจะอยู่ที่ว่า เศรษฐกิจไทยพึ่งการส่งออกในสัดส่วนที่สูงเกินไปถึงกว่าร้อยละ 60
ของ GDP
ซึ่งย่อมจะสร้างแรงกดดันให้ทางการไทยจำต้องดำเนินการรักษาความสามารถในการ
แข่งขันของค่าเงินบาท เพื่อมิให้กระทบต่อการส่งออกและการขยายตัวของเศรษฐกิจของ
ประเทศ อย่างไรก็ตาม ค่าเงินนั้นมิใช่ปัจจัยสำคัญเพียงประการเดียวในการกำหนดความสามารถ
ในการแข่งขันของประเทศ แต่ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่า ผู้ส่งออกไทยควรที่จะสร้างมูลค่าเพิ่ม
ให้แก่สินค้าส่งออกให้มากขึ้น รวมทั้งการปรับโครงสร้างต้นทุนการผลิตให้อยู่ในระดับที่แข่งขันได้
ก็มีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้การส่งออกของไทยยืนหยัดในเวทีการค้าโลกได้ โดยตัวอย่างที่ดีน่าจะ
เป็นกรณีของญี่ปุ่นที่สามารถเอาตัวรอดได้หลังจากการแข็งค่าอย่างมากของเงินเยนจากข้อตกลง
Plaza Accord ในปี 1985 ซึ่งสหรัฐฯได้เข้าแทรกแซงตลาดเงินเพื่อให้ค่าเงินดอลลาร์ฯอ่อนตัว
ลง เพื่อที่จะช่วยบรรเทาปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐฯ

ย้อนรอยวิกฤติเงินบาท จาก 2 กรกฎาคม 2540 ถึง 19 ธันวาคม 2549

โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 26, 2006 11:38 am
โดย Mon money
งานนี้เลี่ยงไม่ได้เลยว่าธปท.ถูกกดดันจากผู้ส่งออกจนทำให้ต้องคิดสั้นอย่างนี้

การฝืนตลาด มักจะนำมาซึ่งความเสียหายในระยะยาว อย่างกรณีนี้ ผู้ประกอบการจะไม่ยอมปรับตัวเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและช่วยตัวเองในระยะยาว แค่รอกดดัน ธปท.ก็ได้ การทำอย่างนี้คล้ายการบีบลูกโป่ง ยุบด้านหนึ่งไปโผล่อีกด้านหนึ่ง สุดท้ายปัญหาก็ยังอยู่ในลูกโป่งนั่นแหละ ไม่ไปไหน การแทรกแซงตลาดทำให้เกิดการบิดเบี้ยว วิเคราะห์ไม่ได้ เช่นการพยุงราคาน้ำมันที่ผ่านมา ทุกคนค้าน เพราะเห็นโทษ แต่งานนี้มีทั้งคนค้าน และเห็นด้วย เพราะมีผู้ได้ประโยชน์ และเสียประโยชน์

ผู้กำหนดนโยบายช่างน้ำหนักหรือยัง แล้วชั่งอย่างไง ช่วยบอกประชาชนหน่อยครับ

การเก็งกำไร ย่อมต้องมีเหตุและปัจจัยให้เห็นช่องในการที่จะเก็งกำไรได้ และโอกาสนั้นคืออะไร อยากให้ ธปท. ออกมาชี้แจงให้ประชาชนรู้สักหน่อย เห็นพูดกันแต่ผลที่เกิด เหตุยังอยู่ในความมืดอยู่เลย

ย้อนรอยวิกฤติเงินบาท จาก 2 กรกฎาคม 2540 ถึง 19 ธันวาคม 2549

โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 26, 2006 11:43 am
โดย คัดท้าย
ผมสงสัยแค่ว่า ความรุนแรงของภาคส่งออกที่เป็น 60% ของ GDP ไทย

ถ้ามันต้องฮวบๆๆ ลงในปีหน้าเพราะเงินบาทแข็งแล้วปรับตัวไม่ได้ (สาเหตุอะไรมะรู้)

เศรษฐกิจไทยจะกระทบอย่าไงรมั่ง อยากรู้เหมือนกัน ใครทราบช่วยประเมินให้ดูหน่อยครับ

คนไทยบอกว่า ทำไมบริษัทไทยรู้จักแต่ขายของถูกกว่าหรือไง ผมก็คิดว่า สงสัยจะรู้จักแค่นั้นครับ

เวลาไปเปิดฟอร์ม 56-1 ในหน้า "การวิจัยและพัฒนา" ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ไทย 90% หรือมากกว่ามั้งที่ผมเห็นว่าหน้านั้น เขียนว่า


- ไม่มี -

เขียนสั้นๆ กระชับ ได้ควา่มหมาย  :lol:

ผมก็ยังคิดเลยถ้าไม่มี แล้วจะขายแพงกว่า มันมีวิธียังไงมั่งบอกที

ย้อนรอยวิกฤติเงินบาท จาก 2 กรกฎาคม 2540 ถึง 19 ธันวาคม 2549

โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 26, 2006 11:51 am
โดย คัดท้าย
คัดท้าย เขียน:ผมสงสัยแค่ว่า ความรุนแรงของภาคส่งออกที่เป็น 60% ของ GDP ไทย

ถ้ามันต้องฮวบๆๆ ลงในปีหน้าเพราะเงินบาทแข็งแล้วปรับตัวไม่ได้ (สาเหตุอะไรมะรู้)

เศรษฐกิจไทยจะกระทบอย่าไงรมั่ง อยากรู้เหมือนกัน ใครทราบช่วยประเมินให้ดูหน่อยครับ

คนไทยบอกว่า ทำไมบริษัทไทยรู้จักแต่ขายของถูกกว่าหรือไง ผมก็คิดว่า สงสัยจะรู้จักแค่นั้นครับ

เวลาไปเปิดฟอร์ม 56-1 ในหน้า "การวิจัยและพัฒนา" ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ไทย 90% หรือมากกว่ามั้งที่ผมเห็นว่าหน้านั้น เขียนว่า


- ไม่มี -

เขียนสั้นๆ กระชับ ได้ควา่มหมาย  :lol:

ผมก็ยังคิดเลยถ้าไม่มี แล้วจะขายแพงกว่า มันมีวิธียังไงมั่งบอกที

อืม เจโช บอกผมว่า การวิจัยและพัฒนา เค้าจะปิดเป็นความลับ

หวังว่าหลายบริษัทจะปิดเป็นความลับนะครับ อย่า -- ไม่มี -- จริงๆแล้วกัน

ย้อนรอยวิกฤติเงินบาท จาก 2 กรกฎาคม 2540 ถึง 19 ธันวาคม 2549

โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 26, 2006 12:06 pm
โดย Mon money
ถ้าเป็นความลับก็บอกว่า "อยู่ในขบวนการพัฒนา ยังไม่สามารถเปิดเผยได้" ไม่ใช่มีแล้วบอกว่า "ไม่มี"

จากสภาพแวดล้อม ส่งให้สติปัญญาอันน้อยนิดของผม วิเคราะห์ว่า มัน"ไม่มี" จริงๆครับ

ย้อนรอยวิกฤติเงินบาท จาก 2 กรกฎาคม 2540 ถึง 19 ธันวาคม 2549

โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 26, 2006 12:09 pm
โดย jaychou
หรืออีกแง่หนึ่ง บริษัทที่ทำ R&D เป็นหลักก็อาจจะไม่อยากเข้ามาจดทะเบียนในตลาด ถ้าไม่จำเป็น

อย่าไปมองพวกสินค้าไฮเทคนะครับ ดูพวกเกษตร อาหาร เครื่องสำอาง สมุนไพร พวกนี้แหละ R&D เยอะ อย่างฟาร์มโชคชัย เค้ามีเครื่องสำอางทำจากนมออกมาขายแล้วนะครับ วันก่อนดูทีวีก็มีคนทำซุปกวางสกัดเป็นขวด เหมือนซุปไก่สกัด อะไรทำนองนั้น แต่บอกว่าปึ๋งปั๋งกว่ากันเยอะ  :lol:

ไวน์กระชายดำ ยาน้ำกระชายดำ พวกนี้ก็เป็นผลผลิตของ R&D ไทยๆครับ

ย้อนรอยวิกฤติเงินบาท จาก 2 กรกฎาคม 2540 ถึง 19 ธันวาคม 2549

โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 26, 2006 12:26 pm
โดย คัดท้าย
[quote="jaychou"]หรืออีกแง่หนึ่ง บริษัทที่ทำ R&D เป็นหลักก็อาจจะไม่อยากเข้ามาจดทะเบียนในตลาด ถ้าไม่จำเป็น

อย่าไปมองพวกสินค้าไฮเทคนะครับ ดูพวกเกษตร อาหาร เครื่องสำอาง สมุนไพร พวกนี้แหละ R&D เยอะ อย่างฟาร์มโชคชัย เค้ามีเครื่องสำอางทำจากนมออกมาขายแล้วนะครับ วันก่อนดูทีวีก็มีคนทำซุปกวางสกัดเป็นขวด เหมือนซุปไก่สกัด อะไรทำนองนั้น แต่บอกว่าปึ๋งปั๋งกว่ากันเยอะ

ย้อนรอยวิกฤติเงินบาท จาก 2 กรกฎาคม 2540 ถึง 19 ธันวาคม 2549

โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 26, 2006 1:19 pm
โดย chatchai
วันก่อน  ผมฟังรายการวิทยุ  สัมภาษณ์ผู้ส่งออกอัญมณีไทย

เขาบอกว่าอุตสาหกรรมอัญมณีไทยมีศักยภาพมาก  มีจุดแข็งอย่างนั้นอย่างนี้

แต่ผมก็สงสัยว่า  มีศักยภาพยังไง  ค่าเงินแข็งขึ้นมาสิบเปอร์เซ็นต์กว่าๆ  ก็บ่นว่าขายแล้วขาดทุนซะแล้ว  Margin ช่างน้อยจริงๆ  นี่หรืออุตสาหกรรมที่ไทยมีศักยภาพ

ย้อนรอยวิกฤติเงินบาท จาก 2 กรกฎาคม 2540 ถึง 19 ธันวาคม 2549

โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 26, 2006 1:39 pm
โดย adi
Mon money เขียน:ถ้าเป็นความลับก็บอกว่า "อยู่ในขบวนการพัฒนา ยังไม่สามารถเปิดเผยได้" ไม่ใช่มีแล้วบอกว่า "ไม่มี"

จากสภาพแวดล้อม ส่งให้สติปัญญาอันน้อยนิดของผม วิเคราะห์ว่า มัน"ไม่มี" จริงๆครับ
นั่นสิครับ 8)