Cash Out
โพสต์แล้ว: เสาร์ พ.ย. 25, 2006 9:37 am
มาจาก กระทิงเขียว
ในบทบาทของ "นักเทคโอเวอร์" และอดีตมือบริหาร "เฮดจ์ฟันด์" (กองทุนบริหารความเสี่ยง) เอกยุทธ อัญชันบุตร ประธานกรรมการบริหารเครือโอเรียนเต็ล มาร์ท กรุ๊ป ประเทศอังกฤษ อธิบายถึง Cash Out หรือการ "เอาเงิน" หรือขายเพื่อเอากำไรออกมาล่วงหน้าว่า แบ่งได้เป็น 2 สเต็ป
สเต็ปแรก คือ สร้างธุรกิจแล้วเอาเข้าตลาด กระจายหุ้นขายส่วนหนึ่ง แต่อีกสเต็ปที่เหนือกว่าและน่าสนใจ คือ เอาเข้าตลาด แล้ว Cash Out อีกรอบหนึ่ง โดยขายหุ้นใหญ่ที่ตัวเองถืออยู่ออกไป และยังมีคอนแทร็คว่ายังบริหารได้ต่อ
"อย่างกรณีหุ้นชินคอร์ป หรือ ตันโออิชิ ค่อนข้างชัดเจนว่า Cash Out ได้ราคาดี
หรือเคพีเอ็น ตระกูลนี้เป็นรุ่นที่สามแล้วจากคุณถาวร พรประภา ต้องถือว่ารุ่นหลานนี่เก่ง Cash Out เป็น ผมเชื่อว่ารุ่นนี้จะมีอะไรให้เห็น....
ส่วนใหญ่นักธุรกิจระดับตระกูลเก่าๆ ของเมืองไทยก็รู้จักเรื่อง Cash Out กันหมดทุกคน พวกนี้จะเก็บไว้แค่ส่วนเดียว สังเกตได้พอเข้าตลาดสักพัก แต่ละคนก็ขายหุ้นออกไป เหลือไว้นิดหน่อยไว้นั่งบริหาร ส่วนใหญ่คนที่ทำธุรกิจมาและคล่องกับธุรกิจ มองมูลค่าหุ้นตัวเอง เมื่อถึงจุดหนึ่งเขาขายหมดแหละ ไม่มีใครเก็บไว้หรอก อาจเหลือติดไว้ส่วนหนึ่งเป็นชื่อติดไว้ ไม่ได้ขายขาด"
จากประสบการณ์ "Deal Maker" ที่ผ่านการทำดีลที่มาเลเซียมาแล้ว 60-70 ดีล ทั้งควบรวม และซื้อ-ขายกิจการจนเป็นอาชีพ เอกยุทธ บอกว่า สำหรับนักเทคโอเวอร์ตัวยงแล้ว จะไม่มีความรู้สึกแบบ Sentimantal กับตัวหุ้นหรือตัวธุรกิจเลย
"ผมจะไม่มีความรู้สึกชอบมากๆ หรือจะเก็บให้ลูกหลาน ไม่มี...มีแต่ว่าผมซื้อพันหนึ่ง ใครให้ผมแสน ให้ผมหมื่นนึงหรือเปล่า ถ้าให้ก็เอาไปเลย เป็นการลงทุน เป็นธุรกิจจริงๆ เข้าไปหาทีมแมเนจเมนท์แข็งๆ ไปบริหาร แล้ว Cash Out อย่างเดียว...แทบจะไม่มีความรู้สึกกับตัวธุรกิจ"
เอกยุทธบอกว่า จังหวะในการ Cash Out ไม่มีใครรู้หรอกว่าจุดสูงสุดอยู่ตรงไหน แต่ต้องรู้จักขายก่อนถึงจุดอิ่มตัว
"ยกตัวอย่างธุรกิจกาแฟ ปีแรกเริ่มบูม ปีที่สองคนเปิดเยอะ พอมีคนมาเยอะ ผมต้องไปแล้ว ปล่อยในราคาที่พอใจ ยกตัวอย่างบ้านใร่กาแฟ ถ้าออกไปเมื่อสองปีที่แล้ว ผมว่าเขาได้เยอะ แต่ถ้าจะออกตอนนี้เหนื่อย อย่างสตาร์บัคส์เอง อนาคตก็เริ่มจะเหนื่อย เหมือนแมคโดนัลด์สมัยหนึ่ง มันจะอยู่ได้ระดับเดียว องค์กรใหญ่ขึ้น คำนวณได้เลย ถ้าทำธุรกิจจะรู้เลย จะรู้ว่าคู่แข่งเริ่มเยอะ ถ้าสู้ก็ต้องลงทุนเข้าไป แต่ถ้าเป็นผม...ผมก็จะออกก่อน"
ประเภทที่ "ออกไม่ทัน" อย่างเช่นกรณีทรูมูฟ (ตอนยังเป็นออเร้นจ์) พลาดจังหวะไม่ได้ Cash Out ในช่วงที่ราคาหุ้นขึ้นไปเกินมูลค่า
"อันนี้เป็นแทคติก ถ้า Cash Out ไม่เป็น ไม่รู้จังหวะในการขายก็ต้องมาตกอยู่ในธุรกิจตัวเอง และดิ้นต่อไป รออีกรอบหนึ่ง แล้วรอรอบหน้า ซึ่งอย่างน้อยต้องรอเป็นสิบปี แต่ส่วนใหญ่ถ้าพลาดโอกาสก็ยากแล้ว"
เอกยุทธ อธิบายว่า สมมติถ้าลงทุนไปพันล้าน ทำไป 3-4 ปี เปรียบเทียบผลตอบแทนกับฝากธนาคารได้ยีลด์ 6-7% หรือถ้าไปลงทุนในเฮดจ์ฟันด์ ไพรเวทฟันด์ได้ผลตอบแทน 20-25% ถ้ามีคนมาขอซื้อเสนอราคาแบบได้กำไรร้อยเปอร์เซ็นต์ อย่างนี้ ถ้าคุณไม่เอาก็ถือว่าคุณโลภมาก ส่วนใหญ่จะใช้คำว่าโง่กันเลย แต่เราถือว่าโลภ เพราะต้องเอาแล้ว เพราะไม่มีการลงทุนใดๆ ที่จะไปทางเดียว
"การ Cash Out พวกนี้ ก็ยังเหลือหุ้นส่วนหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะมีคอนแทร็คให้แมนเนจเมนท์อีกอย่างน้อย 3 ปี อย่างน้อยตัวเองก็ยังได้กุมธุรกิจต่อ อย่างคุณสวัสดิ์ (หอรุ่งเรือง อดีตเจ้าพ่อเหล็ก NSM) ใครๆ บอกแกถอย ผมว่าไม่ใช่ ผมว่าแก Cash Out ...ไม่ได้ออกไปมือเปล่า และเมื่อถอยออกไปก็ไปทำธุรกิจอสังหาฯ ที่มีอยู่ ก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจ"
หรืออย่างกรณีการ Cash Out เทขายหุ้นของกลุ่มผู้บริหารบล.ภัทร (PHATRA) หลังจากทำ MBO (Management Buyout) ซื้อหุ้นคืนจากเมอร์ริล ลินช์ พอปรับตัวได้ระดับหนึ่ง เข้าตลาด และเริ่มมีมูลค่า ก็ออกตัวไป (ขายหุ้น) ในราคาที่ค่อนข้างสูง
"จริงๆ ก็ถือว่าเอาเปรียบผู้ถือหุ้นรายย่อย เพราะอินฟอเมชั่นตัวเองมีอยู่ "
เอกยุทธ ยังตั้งข้อสังเกตว่า ประเด็นที่น่าสนใจที่ต้องมองลึกลงไปอีก สำหรับการ Cash Out ที่เกิดขึ้น บางดีลอาจเป็นการ "สมรู้ร่วมคิด" ระหว่างบริษัทมหาชนเหมือนกัน สร้างวอลุ่ม และราคาเกินจริงสูงกว่าที่ควรจะเป็น
"เช่น สมมติธุรกิจของคุณน่าจะมีมูลค่าสัก 2 พันล้าน อีกบริษัทมีเงินสดเหลือเยอะ ก็มาขายให้ในราคา 3-4 พันล้าน ก็มาจ่ายในมูลค่าที่ตกลงไว้ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งก็ไปแบ่งกัน ลักษณะนี้ในตลาดก็มีการทำกันเยอะ"
พร้อมตั้งข้อสังเกตเชิงลึกต่อว่า บางกรณีกลุ่มที่เข้ามาซื้อ เพราะมีเงินสดในกลุ่มเยอะเกินไป ถ้าหากไม่ซื้ออะไรเลยต้องเสียภาษี สู้นำเงินมาซื้อแล้วแบ่งส่วนต่างกันดีกว่า ราคาจริงอาจจะไม่ถึง แต่ซื้อราคาเพิ่มขึ้น เอาส่วนต่างมาแบ่งกัน ดีกว่ารอจนถึงสิ้นปีแล้วต้องเสียภาษี
"ถ้าดูไตรมาสสุดท้าย จะมีดีลประเภทนี้เกิดขึ้นเยอะ ถ้าทำไม่ทัน เขาก็จะทำบิ๊กล็อตกัน เพราะประเทศไทยเปิดโอกาสให้ทำบิ๊กล็อตได้ คือซื้อหุ้นมาราคาหนึ่งแล้วขายให้กับกลุ่มตัวเองราคาหนึ่ง ยอมทำขาดทุนไป คือ ไม่ต้องเสียภาษี
ส่วนพวกที่ซื้อแล้วเอามาต่อยอด จริงๆ ก็คงจะมี อย่างกรณีเอสแอนด์พีขายให้ไมเนอร์ อย่างนั้นก็เป็นไปได้สำหรับการต่อยอด"
ในบางกรณีเจ้าของ หรือผู้บริหาร จะใช้วิธี Cash Out เงินบริษัทมาเป็นเงินส่วนตัวเข้ากระเป๋าตัวเอง เช่น ซื้อธุรกิจหนึ่งในนามส่วนตัว พอธุรกิจเดินมาดีแล้ว ก็เอาขายให้บริษัทในเครือ แต่ไม่ได้ใช้ชื่อเดียวกัน แต่จะมีนอมินีอยู่ เพื่อไม่ให้เป็น Conflict Of Interest
ส่วนประเภทที่ซื้อธุรกิจมาปั้น แล้วขายต่อ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งของการลงทุน
"ผมเองก็ทำ คือ ซื้อธุรกิจ อยู่เมืองนอกเราก็ทำมาตลอด จะมีสองลักษณะ คือ ซื้อธุรกิจที่ยังไม่เข้าตลาดมาปรับปรุง เพิ่มทุน สร้างธุรกิจให้โตขึ้น หรือซื้อธุรกิจที่มีอยู่แล้วในตลาด แล้วมาปรับปรุงที่เรียกว่ารีสตัคเจอร์ เป็น Corporate Exercise คือ จะต้องมี Activity ตลอด"
เขาบอกว่า ถ้าไม่มีกิจกรรมอะไร จะไม่ตื่นเต้นเลย...
"อย่างกลุ่มพวก Corporate Exercise ในเมืองไทย ถ้าจะมีก็จเรรัฐ (ปิงคลาศัย) พวกกลุ่ม D1 อันนี้ก็มีความคิดเดียวกับการ Cash Out ถ้าได้มูลค่าก็ Cash Out เพียงแต่ไม่ใช่ตระกูลเก่า แต่คนนี้ ในกลุ่มเขามีฝีมือ"
ประเภทเทคโอเวอร์แล้วรอจังหวะขาย ก็เป็นอีกวิธีที่เซียนรุ่นนี้กลับมาทำกัน เอกยุทธบอก ส่วนประเภทที่ Cash Out ลดสัดส่วนความเป็นเจ้าของแบบ "โดนบีบออก"ด้วย ก็อย่างเช่นบรรดาธุรกิจแบงก์ แบงก์กรุงเทพ แบงก์กสิกรไทย ที่กองทุนต่างชาติเข้ามาถือหุ้น แต่การบริหารไม่ได้หลุดจากมือ
ประเภท Cash Out เก่งๆ ซื้อเก่ง..ขายต่อเป็น ฟัน "ส่วนต่าง" ก้อนโต ตัวอย่างนี้ก็มีให้เห็นหลายเคส
" เคสที่น่าสนใจ อย่าง TSEC (บล.ทีเอสอีซี) ที่ไปประมูลใบอนุญาตมาจากฮ่องกงแบงก์ รู้สึกต้นทุนประมาณ 200-300 ล้าน มาขายหุ้นใหญ่ให้ธนาคารกรุงไทยไปประมาณ 400-500 ล้าน โดยที่ตัวเองยัง manage อยู่ อันนี้ก็เป็นการ Cash Out อีกลักษณะหนึ่ง คือ ผู้ที่ซื้อมาก็ได้ผลกำไรค่อนข้างดี และธุรกิจก็ยังอยู่กับตัวเอง และได้เงินสดขึ้นมา"
"อีกเคสของการ Cash Out ในเมืองไทยที่น่าสนใจมาก และได้เงินเยอะ คือเคสของน.พ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ บางกอกแอร์เวย์ส ที่ทำพร็อพเพอร์ตี้ฟันด์สนามบินสมุยมูลค่าหมื่นล้าน...อันนั้นคือการ Cash Out แบบฝีมือเลย คือ เขาได้ทุนและกำไรจากสนามบินกลับมาส่วนตัว" เอกยุทธกล่าว
ในบทบาทของ "นักเทคโอเวอร์" และอดีตมือบริหาร "เฮดจ์ฟันด์" (กองทุนบริหารความเสี่ยง) เอกยุทธ อัญชันบุตร ประธานกรรมการบริหารเครือโอเรียนเต็ล มาร์ท กรุ๊ป ประเทศอังกฤษ อธิบายถึง Cash Out หรือการ "เอาเงิน" หรือขายเพื่อเอากำไรออกมาล่วงหน้าว่า แบ่งได้เป็น 2 สเต็ป
สเต็ปแรก คือ สร้างธุรกิจแล้วเอาเข้าตลาด กระจายหุ้นขายส่วนหนึ่ง แต่อีกสเต็ปที่เหนือกว่าและน่าสนใจ คือ เอาเข้าตลาด แล้ว Cash Out อีกรอบหนึ่ง โดยขายหุ้นใหญ่ที่ตัวเองถืออยู่ออกไป และยังมีคอนแทร็คว่ายังบริหารได้ต่อ
"อย่างกรณีหุ้นชินคอร์ป หรือ ตันโออิชิ ค่อนข้างชัดเจนว่า Cash Out ได้ราคาดี
หรือเคพีเอ็น ตระกูลนี้เป็นรุ่นที่สามแล้วจากคุณถาวร พรประภา ต้องถือว่ารุ่นหลานนี่เก่ง Cash Out เป็น ผมเชื่อว่ารุ่นนี้จะมีอะไรให้เห็น....
ส่วนใหญ่นักธุรกิจระดับตระกูลเก่าๆ ของเมืองไทยก็รู้จักเรื่อง Cash Out กันหมดทุกคน พวกนี้จะเก็บไว้แค่ส่วนเดียว สังเกตได้พอเข้าตลาดสักพัก แต่ละคนก็ขายหุ้นออกไป เหลือไว้นิดหน่อยไว้นั่งบริหาร ส่วนใหญ่คนที่ทำธุรกิจมาและคล่องกับธุรกิจ มองมูลค่าหุ้นตัวเอง เมื่อถึงจุดหนึ่งเขาขายหมดแหละ ไม่มีใครเก็บไว้หรอก อาจเหลือติดไว้ส่วนหนึ่งเป็นชื่อติดไว้ ไม่ได้ขายขาด"
จากประสบการณ์ "Deal Maker" ที่ผ่านการทำดีลที่มาเลเซียมาแล้ว 60-70 ดีล ทั้งควบรวม และซื้อ-ขายกิจการจนเป็นอาชีพ เอกยุทธ บอกว่า สำหรับนักเทคโอเวอร์ตัวยงแล้ว จะไม่มีความรู้สึกแบบ Sentimantal กับตัวหุ้นหรือตัวธุรกิจเลย
"ผมจะไม่มีความรู้สึกชอบมากๆ หรือจะเก็บให้ลูกหลาน ไม่มี...มีแต่ว่าผมซื้อพันหนึ่ง ใครให้ผมแสน ให้ผมหมื่นนึงหรือเปล่า ถ้าให้ก็เอาไปเลย เป็นการลงทุน เป็นธุรกิจจริงๆ เข้าไปหาทีมแมเนจเมนท์แข็งๆ ไปบริหาร แล้ว Cash Out อย่างเดียว...แทบจะไม่มีความรู้สึกกับตัวธุรกิจ"
เอกยุทธบอกว่า จังหวะในการ Cash Out ไม่มีใครรู้หรอกว่าจุดสูงสุดอยู่ตรงไหน แต่ต้องรู้จักขายก่อนถึงจุดอิ่มตัว
"ยกตัวอย่างธุรกิจกาแฟ ปีแรกเริ่มบูม ปีที่สองคนเปิดเยอะ พอมีคนมาเยอะ ผมต้องไปแล้ว ปล่อยในราคาที่พอใจ ยกตัวอย่างบ้านใร่กาแฟ ถ้าออกไปเมื่อสองปีที่แล้ว ผมว่าเขาได้เยอะ แต่ถ้าจะออกตอนนี้เหนื่อย อย่างสตาร์บัคส์เอง อนาคตก็เริ่มจะเหนื่อย เหมือนแมคโดนัลด์สมัยหนึ่ง มันจะอยู่ได้ระดับเดียว องค์กรใหญ่ขึ้น คำนวณได้เลย ถ้าทำธุรกิจจะรู้เลย จะรู้ว่าคู่แข่งเริ่มเยอะ ถ้าสู้ก็ต้องลงทุนเข้าไป แต่ถ้าเป็นผม...ผมก็จะออกก่อน"
ประเภทที่ "ออกไม่ทัน" อย่างเช่นกรณีทรูมูฟ (ตอนยังเป็นออเร้นจ์) พลาดจังหวะไม่ได้ Cash Out ในช่วงที่ราคาหุ้นขึ้นไปเกินมูลค่า
"อันนี้เป็นแทคติก ถ้า Cash Out ไม่เป็น ไม่รู้จังหวะในการขายก็ต้องมาตกอยู่ในธุรกิจตัวเอง และดิ้นต่อไป รออีกรอบหนึ่ง แล้วรอรอบหน้า ซึ่งอย่างน้อยต้องรอเป็นสิบปี แต่ส่วนใหญ่ถ้าพลาดโอกาสก็ยากแล้ว"
เอกยุทธ อธิบายว่า สมมติถ้าลงทุนไปพันล้าน ทำไป 3-4 ปี เปรียบเทียบผลตอบแทนกับฝากธนาคารได้ยีลด์ 6-7% หรือถ้าไปลงทุนในเฮดจ์ฟันด์ ไพรเวทฟันด์ได้ผลตอบแทน 20-25% ถ้ามีคนมาขอซื้อเสนอราคาแบบได้กำไรร้อยเปอร์เซ็นต์ อย่างนี้ ถ้าคุณไม่เอาก็ถือว่าคุณโลภมาก ส่วนใหญ่จะใช้คำว่าโง่กันเลย แต่เราถือว่าโลภ เพราะต้องเอาแล้ว เพราะไม่มีการลงทุนใดๆ ที่จะไปทางเดียว
"การ Cash Out พวกนี้ ก็ยังเหลือหุ้นส่วนหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะมีคอนแทร็คให้แมนเนจเมนท์อีกอย่างน้อย 3 ปี อย่างน้อยตัวเองก็ยังได้กุมธุรกิจต่อ อย่างคุณสวัสดิ์ (หอรุ่งเรือง อดีตเจ้าพ่อเหล็ก NSM) ใครๆ บอกแกถอย ผมว่าไม่ใช่ ผมว่าแก Cash Out ...ไม่ได้ออกไปมือเปล่า และเมื่อถอยออกไปก็ไปทำธุรกิจอสังหาฯ ที่มีอยู่ ก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจ"
หรืออย่างกรณีการ Cash Out เทขายหุ้นของกลุ่มผู้บริหารบล.ภัทร (PHATRA) หลังจากทำ MBO (Management Buyout) ซื้อหุ้นคืนจากเมอร์ริล ลินช์ พอปรับตัวได้ระดับหนึ่ง เข้าตลาด และเริ่มมีมูลค่า ก็ออกตัวไป (ขายหุ้น) ในราคาที่ค่อนข้างสูง
"จริงๆ ก็ถือว่าเอาเปรียบผู้ถือหุ้นรายย่อย เพราะอินฟอเมชั่นตัวเองมีอยู่ "
เอกยุทธ ยังตั้งข้อสังเกตว่า ประเด็นที่น่าสนใจที่ต้องมองลึกลงไปอีก สำหรับการ Cash Out ที่เกิดขึ้น บางดีลอาจเป็นการ "สมรู้ร่วมคิด" ระหว่างบริษัทมหาชนเหมือนกัน สร้างวอลุ่ม และราคาเกินจริงสูงกว่าที่ควรจะเป็น
"เช่น สมมติธุรกิจของคุณน่าจะมีมูลค่าสัก 2 พันล้าน อีกบริษัทมีเงินสดเหลือเยอะ ก็มาขายให้ในราคา 3-4 พันล้าน ก็มาจ่ายในมูลค่าที่ตกลงไว้ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งก็ไปแบ่งกัน ลักษณะนี้ในตลาดก็มีการทำกันเยอะ"
พร้อมตั้งข้อสังเกตเชิงลึกต่อว่า บางกรณีกลุ่มที่เข้ามาซื้อ เพราะมีเงินสดในกลุ่มเยอะเกินไป ถ้าหากไม่ซื้ออะไรเลยต้องเสียภาษี สู้นำเงินมาซื้อแล้วแบ่งส่วนต่างกันดีกว่า ราคาจริงอาจจะไม่ถึง แต่ซื้อราคาเพิ่มขึ้น เอาส่วนต่างมาแบ่งกัน ดีกว่ารอจนถึงสิ้นปีแล้วต้องเสียภาษี
"ถ้าดูไตรมาสสุดท้าย จะมีดีลประเภทนี้เกิดขึ้นเยอะ ถ้าทำไม่ทัน เขาก็จะทำบิ๊กล็อตกัน เพราะประเทศไทยเปิดโอกาสให้ทำบิ๊กล็อตได้ คือซื้อหุ้นมาราคาหนึ่งแล้วขายให้กับกลุ่มตัวเองราคาหนึ่ง ยอมทำขาดทุนไป คือ ไม่ต้องเสียภาษี
ส่วนพวกที่ซื้อแล้วเอามาต่อยอด จริงๆ ก็คงจะมี อย่างกรณีเอสแอนด์พีขายให้ไมเนอร์ อย่างนั้นก็เป็นไปได้สำหรับการต่อยอด"
ในบางกรณีเจ้าของ หรือผู้บริหาร จะใช้วิธี Cash Out เงินบริษัทมาเป็นเงินส่วนตัวเข้ากระเป๋าตัวเอง เช่น ซื้อธุรกิจหนึ่งในนามส่วนตัว พอธุรกิจเดินมาดีแล้ว ก็เอาขายให้บริษัทในเครือ แต่ไม่ได้ใช้ชื่อเดียวกัน แต่จะมีนอมินีอยู่ เพื่อไม่ให้เป็น Conflict Of Interest
ส่วนประเภทที่ซื้อธุรกิจมาปั้น แล้วขายต่อ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งของการลงทุน
"ผมเองก็ทำ คือ ซื้อธุรกิจ อยู่เมืองนอกเราก็ทำมาตลอด จะมีสองลักษณะ คือ ซื้อธุรกิจที่ยังไม่เข้าตลาดมาปรับปรุง เพิ่มทุน สร้างธุรกิจให้โตขึ้น หรือซื้อธุรกิจที่มีอยู่แล้วในตลาด แล้วมาปรับปรุงที่เรียกว่ารีสตัคเจอร์ เป็น Corporate Exercise คือ จะต้องมี Activity ตลอด"
เขาบอกว่า ถ้าไม่มีกิจกรรมอะไร จะไม่ตื่นเต้นเลย...
"อย่างกลุ่มพวก Corporate Exercise ในเมืองไทย ถ้าจะมีก็จเรรัฐ (ปิงคลาศัย) พวกกลุ่ม D1 อันนี้ก็มีความคิดเดียวกับการ Cash Out ถ้าได้มูลค่าก็ Cash Out เพียงแต่ไม่ใช่ตระกูลเก่า แต่คนนี้ ในกลุ่มเขามีฝีมือ"
ประเภทเทคโอเวอร์แล้วรอจังหวะขาย ก็เป็นอีกวิธีที่เซียนรุ่นนี้กลับมาทำกัน เอกยุทธบอก ส่วนประเภทที่ Cash Out ลดสัดส่วนความเป็นเจ้าของแบบ "โดนบีบออก"ด้วย ก็อย่างเช่นบรรดาธุรกิจแบงก์ แบงก์กรุงเทพ แบงก์กสิกรไทย ที่กองทุนต่างชาติเข้ามาถือหุ้น แต่การบริหารไม่ได้หลุดจากมือ
ประเภท Cash Out เก่งๆ ซื้อเก่ง..ขายต่อเป็น ฟัน "ส่วนต่าง" ก้อนโต ตัวอย่างนี้ก็มีให้เห็นหลายเคส
" เคสที่น่าสนใจ อย่าง TSEC (บล.ทีเอสอีซี) ที่ไปประมูลใบอนุญาตมาจากฮ่องกงแบงก์ รู้สึกต้นทุนประมาณ 200-300 ล้าน มาขายหุ้นใหญ่ให้ธนาคารกรุงไทยไปประมาณ 400-500 ล้าน โดยที่ตัวเองยัง manage อยู่ อันนี้ก็เป็นการ Cash Out อีกลักษณะหนึ่ง คือ ผู้ที่ซื้อมาก็ได้ผลกำไรค่อนข้างดี และธุรกิจก็ยังอยู่กับตัวเอง และได้เงินสดขึ้นมา"
"อีกเคสของการ Cash Out ในเมืองไทยที่น่าสนใจมาก และได้เงินเยอะ คือเคสของน.พ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ บางกอกแอร์เวย์ส ที่ทำพร็อพเพอร์ตี้ฟันด์สนามบินสมุยมูลค่าหมื่นล้าน...อันนั้นคือการ Cash Out แบบฝีมือเลย คือ เขาได้ทุนและกำไรจากสนามบินกลับมาส่วนตัว" เอกยุทธกล่าว