หน้า 1 จากทั้งหมด 1
การจับคู่ออเดอร์
โพสต์แล้ว: พุธ ก.ย. 27, 2006 4:59 pm
โดย สุมาอี้
สมมติว่ามีคน offer สูงสุดอยู่ที่ 10.00 บาท
ถ้าเราเมาส่งคำสีง bid ที่ 11.00 บาท เข้าไป
ระบบจะให้จบที่ราคา 10 หรือ 11 ครับ
ขอบคุณครับ
การจับคู่ออเดอร์
โพสต์แล้ว: พุธ ก.ย. 27, 2006 5:03 pm
โดย Boring Stock Lover
10 ครับ
การจับคู่ออเดอร์
โพสต์แล้ว: พุธ ก.ย. 27, 2006 5:08 pm
โดย สุมาอี้
แปลว่าระบบจะให้ราคาเท่ากับคำสั่งที่ตั้งอยู่ก่อนใช่ไหมครับ
แล้วคนที่ขายปตท.ไป 85 บาทเกิดขึ้นได้อย่างไรครับ ทันทีที่เขาตั้ง offer 85 บาท มันน่าจะ match กับออเดอร์ bid ที่สูงสุดอยู่ตอนนั้น แล้วจบที่ราคาเท่ากับราคา bid หรือเปล่าครับ :roll:
การจับคู่ออเดอร์
โพสต์แล้ว: พุธ ก.ย. 27, 2006 5:34 pm
โดย Boring Stock Lover
เป็นไปได้ว่า ถ้าไม่มีใครตั้งบิดเลยเวลานั้น หรือมีแต่น้อยมากกว่าจำนวนที่ออฟเฟอร์
บิด 2,000 ที 200
ส่งคำสั่ง
ออฟเฟอร์ 20,000 ที่ 85
แมทช์ 2,000 ที่ 200
ออฟเฟอร์ 18,000 ที่ 85
แล้วก็มีคนตาไวมือไว
ส่งคำสั่ง
บิด 18,000 ที่ 85 หรือสูงกว่า
แมทช์ 18,000 ที่ 85
การจับคู่ออเดอร์
โพสต์แล้ว: พุธ ก.ย. 27, 2006 5:39 pm
โดย MarginofSafety
เห็นด้วยกับคุณ BSL
ถ้ามีคน Bid รอมากกว่า Volume ที่ Offer ที่ 85
ไม่น่าจะเกิด Case นี้ครับ
ทดลองโดยการเคาะขายถูกๆก็ได้ครับ
Volume ที่ Offer จะจับคู่กับคนที่ตั้ง Bid สูงสุดในขณะนั้น ... :lol:
การจับคู่ออเดอร์
โพสต์แล้ว: พุธ ก.ย. 27, 2006 5:42 pm
โดย สุมาอี้
HVI เขียน:
ทดลองโดยการเคาะขายถูกๆก็ได้ครับ
เรื่อง.. :lol:
การจับคู่ออเดอร์
โพสต์แล้ว: พุธ ก.ย. 27, 2006 6:15 pm
โดย BHT
ผมเคยพลาดกดขายเป็นซื้อ แต่ว่าตั้งราคาสูงไว้ กลับมาได้ราคาตลาด
พอมารู้ ก็รีบขายทันที เพราะเห็นมีกำไรเล็กน้อย โชคดีไป :lol: :lol:
การจับคู่ออเดอร์
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.ย. 28, 2006 7:08 pm
โดย weraphat
ของ PTT นี้ไม่แน่ใจนะครับ แต่รู้สึกว่าจะเป็น PTT-F มันเลยไม่มีคนมา match
การจับคู่ออเดอร์
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ต.ค. 08, 2006 6:25 pm
โดย margoods
ถ้าเรา คียร์ซื้อ 11 บาท 1000หุ้น
แต่ที่ 10บาทมีคนวางขาย 200 หุ้น
ที่11 บาทมีคนวางขาย 2000หุ้น
เราก็จะได้ราคา 10 บาท มา200หุ้น
และที่ราคา 11 บาท 800หุ้นครับ
การจับคู่ออเดอร์
โพสต์แล้ว: จันทร์ ต.ค. 16, 2006 12:39 pm
โดย LooVE
อ่านกระทู้นี้แล้วกำลังมีข้อสงสัยเรื่อง bid กับ offer พอดี
ไม่ทราบว่าเข้าใจเช่นนี้ถูกไหม ?
bid = เสนอซื้อ offer = เสนอขาย
การเสนอซื้อ เช่น 100 บาท
ทุกราคาซึ่งมีคนเสนอขายต่ำกว่า 100 (เช่น 80) เราจะซื้อได้ทั้งหมด
โดยซื้อได้ที่ราคาซึ่งเขาเสนอขาย (80) (ไม่ใช่ราคาที่เราเสนอซื้อ (100))
สมมุติว่า ถ้าเราเห็นว่าราคาหุ้นตัวนี้ยังต่ำกว่าราคาที่ควรจะเป็นมาก ยังไงเราก็อยากได้หุ้นตัวนี้แน่ๆ ก็ตั้งราคาซื้อไว้สูงๆ ก่อน เพื่อเราจะได้หุ้นที่ต้องการแน่ๆ เช่นนี้เข้าใจถูกไหมครับ ?
margoods Posted: Sun Oct 08, 2006 6:25 pm Post subject:
ถ้าเรา คียร์ซื้อ 11 บาท 1000หุ้น
แต่ที่ 10บาทมีคนวางขาย 200 หุ้น
ที่11 บาทมีคนวางขาย 2000หุ้น
เราก็จะได้ราคา 10 บาท มา200หุ้น
และที่ราคา 11 บาท 800หุ้นครับ
จากที่คุณ margoods บอก
ผมเข้าใจว่า ระบบจะ match โดยคำนวณให้คนซื้อ ได้หุ้นในราคาที่ต่ำสุดเท่าที่จะทำได้ใช่ไหมครับ ?
กรณีของปตท.ที่คุณ สุมาอี้ยกตัวอย่าง
(ถ้าจำเหตุการณ์ไม่ผิด คือ คนขาย เขาเผลอขายต่ำกว่าราคาจริงมากใช่ไหมคับ ?)
สุมาอี้ Posted: Wed Sep 27, 2006 5:08 pm Post subject:
แล้วจบที่ราคาเท่ากับราคา bid หรือเปล่าครับ
ผมเข้าใจผิดรึเปล่าว่า
ไม่ว่าอย่างไรถ้ามีคนตั้งซื้อ(บิด)ที่ราคาสูงกว่า 85 (เช่น 100,90.. > 85)
คนที่เข้าซื้อ(เร็วกว่า) ก็ได้แน่นอน
โดยซื้อได้ที่ 85 บาท ตามราคา offer (ไม่ใช่ที่ 100 หรือ 90)?
การจับคู่ออเดอร์
โพสต์แล้ว: จันทร์ ต.ค. 16, 2006 12:45 pm
โดย LooVE
LooVE Posted: Mon Oct 16, 2006 12:39 pm Post subject:
โดยซื้อได้ที่ 85 บาท ตามราคา offer (ไม่ใช่ที่ 100 หรือ 90)?
ดังนั้น กรณี ปตท. นี้ ไม่ว่าอย่างไร ก็เกิดขึ้นแน่
หากมีคนสังเกตเห็นราคาที่เผลอขายต่ำกว่าความเป็นจริงนี้
(เพราะเขาจะรีบซื้อแน่นอน ยกเว้นเจอคนดีเห็นเข้าก่อน จะรีบโทรไปเตือนคนขาย ?)
ถามด้วยความไม่รู้ครับ :? อยากตรวจสอบความเข้าใจตนเองว่าถูกไหม
การจับคู่ออเดอร์
โพสต์แล้ว: จันทร์ ต.ค. 16, 2006 1:31 pm
โดย อองตวน
ข้อมูลจาก web page ของตลาดหลักทรัพย์ครับ
วิธีการซื้อขายหลักทรัพย์
ผู้ลงทุนสามารถทำการซื้อขายหลักทรัพย์โดยผ่านระบบการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ได้ 2 วิธี ได้แก่
1. Automatic Order Matching (AOM)
เป็นวิธีการซื้อขายที่ผู้ซื้อและผู้ขายส่งการเสนอซื้อและเสนอขายด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเข้ามายังระบบ การซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ โดยที่ระบบคอมพิวเตอร์ของตลาดหลักทรัพย์จะทำการเรียงลำดับ และจับคู่คำสั่งซื้อขายให้โดยอัตโนมัติ
1.1 การจัดเรียงลำดับคำสั่งซื้อขาย เมื่อสามารถส่งคำสั่งซื้อขายเข้ามา ระบบการซื้อขายจะเก็บคำสั่งซื้อขายไว้ตั้งแต่เวลาที่ส่งคำสั่งซื้อขาย จนถึงสิ้นวันทำการ และจัดเรียงคำสั่งซื้อขายตามลำดับของราคาและเวลาที่ดีที่สุด (Price then Time Priority) โดยมีหลักการคือ
(1) คำสั่งซื้อที่มีราคาเสนอซื้อสูงที่สุดจะถูกจัดเรียงไว้ในลำดับที่หนึ่ง และถ้ามีราคาเสนอซื้อที่สูงกว่าถูกส่งเข้ามาใหม่ จะจัดเรียง ราคาเสนอซื้อที่สูงกว่าเป็นการเสนอซื้อในลำดับแรกก่อนและถ้ามีการเสนอซื้อในแต่ละราคามากกว่าหนึ่งรายการ ให้จัดเรียงตามเวลา โดยการเสนอซื้อที่ปรากฏในระบบการซื้อขายก่อนจะถูกจัดไว้เป็นการเสนอซื้อในลำดับก่อน
(2) คำสั่งขายที่มีราคาเสนอขายต่ำที่สุดจะถูกจัดเรียงไว้ในลำดับที่หนึ่ง และถ้ามีราคาเสนอขายที่ต่ำกว่าถูกส่งเข้ามาใหม่จะจัดเรียงราคาเสนอขายที่ต่ำกว่า เป็นการเสนอขายในลำดับแรกก่อนละถ้ามีการเสนอขายในแต่ละราคามากกว่าหนึ่งรายการให้จัดเรียงตามเวลา โดยการเสนอขายที่ปรากฏในระบบการซื้อขาย ก่อนจะถูกจัดไว้เป็นการเสนอขายในลำดับก่อน
1.2 การคำนวณหาราคาเปิด (Opening Price) และการคำนวณหาราคาปิด (Close Price)
ตลาดหลักทรัพย์ได้กำหนดให้คำนวณราคาเปิดหรือปิดใช้วิธี Call Market ในเวลาเปิดหรือปิดทำการซื้อขาย ที่ได้จากวิธี การแบบสุ่มเลือกเวลา (Random Time) โดยตลาดหลักทรัพย์จะกำหนดช่วงเวลาให้บริษัทสมาชิก ส่งคำสั่งซื้อขายที่ระบุราคา แบบไม่มีเงื่อนไขยกเว้นคำสั่งซื้อขายแบบ ATO (คำสั่งที่ต้องการซื้อขายหลักทรัพย์ ที่ราคาเปิด) หรือ ATC (คำสั่งที่ต้องการซื้อ ขายหลักทรัพย์ที่ราคาปิด) เข้ามาในระบบการซื้อขาย ของตลาดหลักทรัพย์โดยยังไม่มีการจับคู่ แต่ระบบการซื้อขายจะนำคำสั่ง ซื้อขายทั้งหมดมาคำนวณเพื่อหา ราคาเปิดหรือราคาปิด จากนั้นเมื่อถึงช่วงเวลาที่กำหนดระบบจะมีการ Random เพื่อหาเวลาเปิด หรือปิดการซื้อขาย หลักการคำนวณหาราคาเปิด/ราคาปิด ตลาดหลักทรัพย์ได้นำวิธี Call Market มาใช้ในการคำนวณหา ราคาเปิด / ปิด ดังนี้
(1) เป็นราคาที่ทำให้เกิดการซื้อขายมากที่สุดเมื่อแรกเปิดทำการซื้อขายประจำวัน
(2) ในกรณีที่ราคาตาม (1) มีมากกว่าหนึ่งราคา ให้ใช้ราคาที่ใกล้เคียงราคาซื้อขายครั้งสุดท้ายในวันทำการก่อนหน้ามากที่สุด
(3) ในกรณีที่ราคาตาม (2) มีมากกว่าหนึ่งราคา ให้ใช้ราคาที่สูงกว่า
1.3 การจับคู่การซื้อขาย (Matching) เมื่อคำสั่งซื้อขายผ่านเข้ามาในระบบซื้อขายแล้ว ระบบซื้อขายจะตรวจสอบว่าคำสั่งนั้นสามารถจับคู่กับคำสั่ง ด้านตรงข้ามได้ทันทีหรือไม่ ถ้าคำสั่งนั้นสามารถจับคู่ได้ทันที ระบบก็จะทำการจับคู่ให้ แต่ถ้าคำสั่งนั้น ไม่สามารถจับคู่ได้ ระบบจะจัดเรียงคำสั่ง ซื้อขายนั้นตามหลักการ Price then Time Priority ตามที่กล่าวข้างต้น
2. Put-through (PT)
เป็นการซื้อขายที่ผู้ซื้อและผู้ขายได้ทำการต่อรองเพื่อตกลงซื้อขายกัน (Dealing) แล้วจึงบันทึกรายการ ซื้อขายนั้นเข้ามา ในระบบซื้อขาย (Put-through) โดยที่การซื้อขายแบบ PT จะไม่นำกฎเกณฑ์ในเรื่อง การกำหนด Ceiling & Floor และ ช่วงราคา (Spread) มาใช้ และบริษัทสมาชิกสามารถประกาศ โฆษณา (Advertise) การเสนอซื้อหรือ เสนอขายของตน ผ่านระบบการซื้อขายได้
การซื้อขายภายใต้ระบบ PT สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
(1) การซื้อขายระหว่างสมาชิก (Two-firm Put-through) มีหลักเกณฑ์ที่สำคัญดังนี้
หากมีการตกลงซื้อขายกันแล้ว ให้สมาชิกผู้ขายบันทึกรายการซื้อขายเข้ามาในระบบการซื้อขายก่อน จากนั้นให้สมาชิกผู้ซื้อทำการรับรองรายการซื้อขาย (Approve) โดยจะต้องบันทึกรายการซื้อขาย เข้ามาในระบบภายใน 15 นาที นับตั้งแต่มีการตกลงซื้อขายกัน หากบันทึกรายการซื้อขายดังกล่าวไม่ทัน ในช่วงเวลาซื้อขายนั้นๆ ให้บันทึกเข้ามาภายใน 15 นาทีแรกของช่วงเวลาซื้อขายถัดไป
หลังจากผู้ซื้อ Approve รายการแล้ว รายการซื้อขายดังกล่าวจะถูกบันทึกเข้ามายังระบบซื้อขายของ ตลาดหลักทรัพย์
(2) การซื้อขายโดยสมาชิกผู้ซื้อและผู้ขายเป็นรายเดียวกัน (One-firm Put-through) มีหลักเกณฑ์ที่ สำคัญดังนี้
หากมีการตกลงซื้อขายกัน ให้สมาชิกบันทึกรายการซื้อขายเข้ามายังตลาดหลักทรัพย์ภายใน 15 นาที นับตั้งแต่มีการตกลงซื้อขายกัน หาก Key รายการซื้อขายดังกล่าวไม่ทันในช่วงเวลา ซื้อขายนั้นๆ ให้ Key เข้ามาภายใน 15 นาทีแรกของช่วงเวลาซื้อขายถัดไป