มีบ้างไหม ในตลาด
โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 18, 2006 3:27 pm
เพื่อนๆใครพอจะทราบมั้ยครับ ว่ามีบริษัทไหนในตลาดที่ผลิตเกี่ยวกับพลังงานทดแทน เช่น เอธานอล น่ะครับ อยากจะทราบหน่อย
offshore-engineer เขียน: พลังงานทดแทนในความหมายของผมคือ สิ่งที่นำมาแทนการใช้น้ำมันละกันครับ ไม่ว่าจะเป็น น้ำมันที่ใช้สำหรับการขนส่ง หรือ น้ำมันเตาที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า หรือ ความร้อนต่าง ๆ
1. Natural Gas. ประเทศไทยใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าซะส่วนใหญ่ และก๊าซธรรมชาติก็มีอยู่ค่อนข้างพอเพียงไปอีกประมาณ 10 กว่าปีข้างหน้า หากรวมแหล่งสัมปทานในประเทศพม่าที่ PTTEP ถืออยู่ ผมก็เข้าใจว่าเราคงมีก๊าซใช้อย่างเหลือเฟือไปอีกหลายปี
ช่วงนี้ PTT หันมาเน้น NGV ค่อนข้างมาก และ รัฐบาลก็ให้การสนับสนุนต่างๆ นานา ปริมาณการใช้ก๊าซจึงน่าจะเติบโตต่อไปในอนาคต
ในปัจจุบันก็มีเทคโนโลยีที่ช่วยให้การขนส่งก๊าซทำได้ง่ายขึ้นนอกเหนือจากการส่งผ่านท่อ ซึ่งก็ออกมาในรูปของ LNG แต่จะต้องมีการสร้าง Infrastructure เช่น เรือขนส่ง ท่าเทียบเรือ และโรงแปลงของเหลวมาเป็นก๊าซ ซึ่งประเทศการ์ตากำลังลงทุนอยู่
นอกจากนี้ Shell สามารถเปลี่ยน NG ให้กลายเป็นน้ำมันดีเซลได้ ซึ่งเรียกชื่ออย่างเก๋ไก๋ว่า Gas-to-liquid (GTL)
บริษัทที่เข้าข่ายก็จะเป็น PTTEP และ PTT
2. Coal. ถ่านหินถือเป็นไฮโดรคาร์บอนที่มีคาร์บอนเยอะที่สุดก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ดีถ่านหินเกรด บิทูมินัสที่ใช้กันอยู่ทั่วไป ก็ยังถือว่าสะอาดผ่านเกณฑ์สิ่งแวดล้อมหากเทียบกับลิกไนต์
โดยมากถ่านหินจะใช้อยู่ในโรงอุตสาหกรรม เช่น โรงปูน โรงกระดาษ และ ใช้ในการผลิตไฟฟ้า ตามความเข้าใจของผม กฟผ เริ่มที่จะมีนโยบายหันมาใช้ถ่านหินในการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น เพื่อลดการผูกพันกับก๊าซธรรมชาติ
ประเทศในภูมิภาคเอเชียที่นำเข้าถ่านหินในปริมาณมาก คือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน หากลองเข้าไปดู Energy Mix จะเห็นว่า การใช้ถ่านหินเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนับจากปี 2003 ในขณะที่อัตราการใช้น้ำมันคงที่
นอกจากนี้ ถ่านหินยังสามารถนำมาแปลงเป็นน้ำมันดีเซลได้ โดยเรียกผลิตภัณฑ์นี้ว่า CTL หรือ Coal-to-liquid ซึ่งเป็นกระบวนการที่คิดค้นกันมาตั้งแต่สมัยนาซี ในปัจจุบัน บริษัท Sasol จากแอฟริกาใต้ เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้
ปริมาณถ่านหินสำรองมีเยอะมาก สามารถใช้ได้เป็นสิบๆปี
บริษัทที่เข้าข่าย ได้แก่ Banpu, Lanna และ UMS
3. Biofuel ประเภท Biodiesel ซึ่งได้จากน้ำมันปาล์ม หรือสบู่ดำ หรือ พืชที่มีน้ำมันอย่างอื่น หรือแม้กระทั่งน้ำมันพืชที่ใช้แล้ว เมื่อผ่านกระบวนการการผลิต เราจะได้สารที่เรียกว่า เมธิลเอสเตอร์ หรือ เมธิลแอลกอฮอล์ (ชื่อทางวิทยาศาสตร์อาจผิดพลาดได้ ต้องขออภัยด้วยครับ) ซึ่งสามารถนำมาผสมกับน้ำมันอีกทีในสัดส่วนอาจจะเป็น 5%, 10% หรือ 20%
บริษัทที่เข้าข่าย ได้แก่ BCP, PTT (ผ่านบริษัทลูก เช่น PTTCH) และบริษัทผู้จำหน่ายปาล์ม เช่น UVAN, UPOIC และ ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม
4. Biofuel ประเภท Ethanol หรือ รู้จักในชื่อของ Gasohol ซึ่งได้จากการผสมน้ำมันเบนซินกับEthanol โดยที่ Ethanol สามารถผลิตได้จากพืชจำพวก อ้อยหรือมันสำปะหลัง ในอเมริกาจะใช้ ข้าวโพด โดยใช้กากต่างๆ มาผ่านกระบวนการผลิต
ในปีก่อนหน้านี้ รัฐบาลมีความพยายามที่จะผลักดัน ให้ใช้ Ethanol แทน MTBE จนถึงขนาดที่ว่า จะยกเลิกการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน 95 เลยทีเดียว แต่การผลิต Ethanol ในระดับขนาดใหญ่ ผลักดันให้ราคาวัตถุดิบ เช่น กากน้ำตาล (หรือโมลาส) ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ราคา Ethanol สูงขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้ วัตถุดิบที่ใช้ยังขาดแคลนไม่สามารถหาได้ในประเทศ ทำให้รัฐต้องนำเข้า Ethanol โดยปริยาย
บริษัทที่เข้าข่ายได้แก่ PTT, TOP, LANNA (ผ่านบริษัทลูก Thai Agro Energy สำหรับงบไตรมาสที่หนึ่ง กำไรสุทธิจากกิจการ Ethanol มากกว่าจากกิจการถ่านหินเสียอีก) และพวกที่ผลิตน้ำตาล เช่น กลุ่มมิตรผล KSL