หน้า 1 จากทั้งหมด 1
คิดอย่างไงกับธุรกิจค้าปลีกขนาดเล็ก ที่กำลังจะ(สมควร)ตาย
โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ย. 09, 2006 3:07 pm
โดย teetotal
ผมดูโทรทัศน์วันนี้ เห็นมีการเอาเรื่องนี้มาคุย
โดยเขาเชิญ ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการขยายตัวของธุรกิจขนาดใหญ่
เข้าไปในชุมชน เพราะเขาจะขายของไม่ได้ ไม่มีคนซื้อ
จะไม่มีเจ้าของร้านห่วย บริจาคเงินทำบุญ ให้วัด ให้โรงเรียนในชุมชน
(บริจาคทุกร้านหรือเปล่าก็ไม่รู้ แต่เอามาอ้าง)
ส่วนตัวผมก็ถือหุ้น ค้าปลีก ตัวหนึ่งอยู่เยอะ เหมือนกัน
เลยถือว่า นี่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับธุรกิจของผมด้วย
ก่อนอื่น ค้องออกตัวก่อนว่า เจตคติของผม ต่อเรื่องนี้ เอียงเอนไปทางสนับสนุน ห้างใหญ่นะครับ
ผมไปถามพวก เพื่อนๆ รวมทั้ง แม่บ้าน คนงาน คนสวน ที่ทำงานที่โรงงานที่ผมทำงานอยู่
เขาก็ชอบค้าปลีก ขนาดใหญ่ เป็นส่วนมาก เพราะ ของสด ใหม่ ถูก แอร์เย็น
และให้ความเห็น เหมือนผม ว่า โชว์ห่วย บางเจ้า สมควรเจ๊ง เพราะ มันแสดงความห่วยสมชื่อ
ของขาย ยัดใส่ตู้ ตากแดด จนฉลากซีด ของก็เก่า ราคาก็แพง
เช่น น้ำมันพืช มันก็ขายเต็มราคา 40 บาท ในขณะที่ ห้าง ขาย 33.50 บาท
เวลามีของแถม เช่น จาน ชาม ร้านห่วยมันก็ชักเอาออกเอาเก็บไว้ใช้เอง
แม้ว่า ลูกค้าจะซื้อ 1 ลัง ครบ ทวงมัน มันก็ไม่แถมให้
ในขณะที่ห้างแถมตลอดไม่เคยชัก
เคยรู้มาว่า บางห้างสามารถ ขายของขาดทุนได้ เพราะมันไปตกลงกะผู้ขาย supplier ว่า จะชำระเงินให้ในอีก 6 เดือน แต่ขอของมาขายก่อน เช่น ซื้อของมา 8.25 บาท ยังไม่ได้จ่ายเงิน แต่ เอามาขายลูกค้เอาเงินสดเลย แค่ 8.00 บาท แล้วเอาเงินไปหมุนในธุรกิจอื่น กว่าจะครบ 6 เดือนเงินโตเป็น 10 บาท ห้างก็เอาเงินไปจ่าย supplier แค่ 8.25 บาท
ของถูก ของดี ใครๆ ก็อยากซื้อ อย่างนี้ โชว์ห่วย สมควรเจ๊งใช่ไหม ของก็แพง เพราะ ผ่านหลายมือ
อำนาจการต่อรองก็ต่ำ ทุนก็เบาบาง
จนบางราย ไปรับของจากห้างใหญ่ มาขายเอากำไร
ถ้าอ้างว่า กลัวกำไรไปตกในมือต่างชาติ
ผมคิดว่า เขาน่าจะขายกิจการ เอาเงินไปซื้อหุ้นค้าปลีก น่าจะดีกว่า
เงินกำไรจากธุรกิจจะได้คืนแก่คนไทย
จะคุมการขยายสาขา ก็น่าจะแค่ อย่าให้ไปเปิดห้างใหญ่ แถบที่ รถติดมากๆ ก็น่าจะพอ
ถูกกว่า ดีกว่า ใครจะไม่ซื้อ
สรุปว่า ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ควรให้ความรู้แก่เจ้าของร้านห่วยให้ ไปซื้อหุ้น ลงทุนกะพวกค้าปลีกใหญ่ๆ จะดีกว่า แทนที่ จะ เก็บส่งเสริมให้อนุรักษ์ ความห่วยซึ่งนับวันจะแข่งไม่ได้เอาไว้ ในสังคม
ประชาชน จะได้ซื้อ ของราคาถูก คุณภาพดี ไม่ต้องผ่านมือ พ่อค้า คนกลาง หลายทอด
ประชาชนที่ใจดีบางคน จะได้ แบ่งเงินที่ประหยัดได้ ไปทำบุญให้วัดให้โรงเรียนโดยตรง
(สัดส่วน ประชาชนใจดีที่บริจาคเงิน คงจะไตกต่างจาก เจ้าของร้านห่วยใจดีที่บริจาคเงินช่วยสังคม ในอดีต วัด โรงเรียน สังคม ก็คงไม่ได้รับผลกระทบ ตามที่เขากล่าวอ้าง)
คิดอย่างไงกับธุรกิจค้าปลีกขนาดเล็ก ที่กำลังจะ(สมควร)ตาย
โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ย. 09, 2006 3:43 pm
โดย สามัญชน
หลายๆท่านแสดงความคิดเห็นไว้อย่างน่าสนใจมากครับ
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopi ... highlight=
ส่วนตัวผมเองเห็นว่า
เมื่อมีผู้ได้ผลประโยชน์ ก็ต้องมีผู้เสียผลประโยชน์
กำไรของโชห่วยก็มาจากการขาดทุนของลูกค้าผู้บริโภค
การย้ายโมเดิร์นเทรดออกไปอยู่นอกเมืองไกลๆสิบห้ากิโล ลูกค้าที่มีรถขับไปได้ก็ยังตามไปซื้อ แต่ก็เสียประโยชน์เรื่องค่าน้ำมันรถ แต่ถ้าดูแล้วคุ้มเขาก็ไป อันนี้แปลว่าคนรวยเอาตัวรอดได้
แต่ลูกค้าคนจนๆที่ไม่มีรถ เขาก็ไปไม่ได้ เขาก็ต้องซื้อโชห่วยใกล้บ้าน และเขาก็ต้องอุ้มชูโชห่วยนี้ต่อไปอย่างไม่มีทางเลี่ยง เขาอาจจะคิดว่า จนก็จนยังต้องมาซวยอีก ต้องมาอุ้มโชห่วยที่แสนห่วยแล้วก็ยังรวยกว่าเขาเสียด้วย จะเรียกว่า คนจนอุ้มคนรวยก็คงไม่ผิดมั้งครับ
คิดอย่างไงกับธุรกิจค้าปลีกขนาดเล็ก ที่กำลังจะ(สมควร)ตาย
โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ย. 09, 2006 4:01 pm
โดย hot
เหตุผลสำหรับผู้เสียผลประโยชน์ ฟังดูแล้ว
ก็มีเหตุผล เพราะ คนกลุ่มนี้ ถาม ว่าสู้เขาไม่ได้ตรงไหน
1.เงินทุน
2.ทีมการตลาด
3.ความเป็นมาตราฐาน คงย้อนกลับที่ข้อ1ใหม่
4.ระบบสั่งซื้อไม่สามารถขายถูกได้ เพราะไม่มีจุดต่อ
รองกับคู่ค้า
แต่ทำไมกลุ่มค้าปลีกรายย่อย ถึงไม่ล้มหายตายจากไป
จะระบบละ และอนาคตจะหายไปจากระบบค้าปลีกหรือ
ไม่
ผมว่าไม่นะ เหตุผล
คู่ค้าส่งทั่วไป หรือเกือบทั้งหมด
อยากให้กลุ่มค้าปลีก คงอยู่ เพื่อเป็นหนทางการตลาด
ทางหนึ่ง ที่ใช้ วางน้ำหนัก กับ ค้าปลีกขนาดใหญ่
แก้ปัญหาตรงนี้ได้ไหม
คงยาก
คนได้ประโยชน์ มัก มีผล เท่ากับ คนเสียผลประโยชน์
เหมือน มีด้าน มืด ต้องมีด้านสว่างนะผมว่า
คิดอย่างไงกับธุรกิจค้าปลีกขนาดเล็ก ที่กำลังจะ(สมควร)ตาย
โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ย. 09, 2006 4:29 pm
โดย teetotal
ชอบความคิด คุณ Eyore มากเลย
Eyore wrote:
ไหนๆก็จะคุมค้าปลีกแล้ว เพราะทำให้โชห่วยสูญพันธุ์
ผมขอเสนอให้คุมกำเนิดรถไฟฟ้าด้วยครับ เพราะทำให้แท็กซี่หมดอาชีพ
แต่พูดอย่างนี้ ขสมกอาจบอกว่า ผมนี่แหละกระทบที่สุด
รถเขียวอาจบอกว่า ขสมก นั่นแหละตัวดี ถือว่ามีรัฐบาลหนุนหลัง ขาดทุนทุกปีก็ยังวิ่งได้(ขายของต่ำกว่าทุน?)
แต่ก็ไม่แน่ เลิกปตทไปเลย ชาวบ้านจะได้กลับมาใช้สามล้อปั่น, รถลาก เหมือนสมัยโบราณ เป็นการช่วยเหลือคนจนให้มีอาชีพไปในตัว
กฟผ ก็ตัวดี ใช้ทุนหนามาขยายจนครอบคลุมทั่วประเทศแล้ว
รู้รึเปล่า ไม่มีใครใช้ไม้ขีดไฟ ใช้เทียนกันแล้ว ขายได้แต่วัด
เห็นใจคนทำตะเกียงบ้างรึเปล่า?
มือถือก็อีก ไม่มีใครใช้โทรศัพท์บ้านกันแล้ว ยิ่งโทรทางไกลราคาถูกกว่าโทรบ้านอีก แล้วใครจะใช้องค์การโทรศัพท์เนี่ย ที่แย่ไปกว่านั้น องค์การโทรเลขจะโดนปิดอยู่แล้ว เพราะแทบไม่มีคนใช้เลย
แล้วใครจะรับผิดชอบ
ปล่อยให้กลุ่มทุนขนาดใหญ่เหล่านี้มาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเราแบบนี้??
-----------------------------
เพิ่มเติม องค์การโทรศัพท์ นั่นแหละ ทำให้ ไปรษณีย์ รายได้ลดลง และไปรษณีย์นั่นแหละ ทำให้ ระบบ ม้าเร็ว นกพิราบ สื่อสารหายไป
คิดอย่างไงกับธุรกิจค้าปลีกขนาดเล็ก ที่กำลังจะ(สมควร)ตาย
โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ย. 09, 2006 4:56 pm
โดย สามัญชน
แต่ทำไมกลุ่มค้าปลีกรายย่อย ถึงไม่ล้มหายตายจากไป
จะระบบละ และอนาคตจะหายไปจากระบบค้าปลีกหรือ
ไม่
ผมว่าไม่นะ
ใช่ครับผมเห็นด้วยเพราะ
โชว์ห่วยบางแห่งก็ต่อสู้จนเอาตัวรอดได้ ได้ปรับปรุงร้านตัวเองหลายๆอย่างในเรื่องการดูแลลูกค้า จัดร้านดีขึ้น พูดจาดีขึ้น สินค้าก็มีคุณภาพมากขึ้นแข่งกันลดราคาลงก็เยอะ จนอยู่รอดได้
ลูกค้าอย่างผมก็ยินดีช่วยอีกแรงหนึ่ง บางอย่างแม้จะแพงกว่านิดๆก็ยังซื้อเพราะทำเลอยู่ใกล้กว่า ง่ายกว่า สะดวกกว่า คุ้นเคยมากกว่า
ส่วนบางร้านที่ไม่ยอมปรับปรุงตัวเอง เอาเปรียบเห็นๆ พูดจาห่วยๆ สินค้าหมดอายุ ย้อมแมว พวกนี้ก็สมควรจะสูญพันธ์และเปลี่ยนไปทำอย่างอื่นที่ดีกว่าจะดีกว่า
ถ้ารัฐบาลยังอุ้มพวกนี้โดยบีบผู้บริโภคทางอ้อม ผมว่า มันก็ไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภค ที่จริงผู้บริโภคโดนร้านพวกนี้เอาเปรียบมานานแล้วโดยไม่มีทางเลือก เพราะจะเลือกร้านอื่นๆก็ห่วยสมชื่อพอๆกัน ครั้นมีคนมาเสนอทางที่ดีกว่ารัฐก็ยังจะออกกฎโน่นกฎนี่มาข่มเหงกันอีก ผมว่าก็เกินไปหน่อย ผู้บริโภคเป็นพลเมืองชั้นสองหรืออย่างไร
คิดอย่างไงกับธุรกิจค้าปลีกขนาดเล็ก ที่กำลังจะ(สมควร)ตาย
โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ย. 09, 2006 9:37 pm
โดย thawattt
ตอนนี้ไม่ใข่ค้าปลีกรายเล็กจะเดือดร้อน ค้าปลีกรายใหญ่ก็เริ่มเดือดร้อนเหมือนกันครับ เพราะรายใหญ่ก็เริ่มพลาดเป้าการเปิดสาขาผลจากความเข้มงวดในการเปิดสาขาของค้าปลีกรายใหญ่ แต่จริง ๆ แล้ว แม็คโคร โดย Concept เป็นค้าส่ง แบบ Cash and Carring ไม่น่าจะโดยกระทบ แต่ก็โดนจนได้
ตรงนี้ผมจำได้ว่า ตอนที่ CP ขาย Tesco Lotus ในเมืองไทยออกไป เพราะทนกับกระแสต่อต้านค้าปลีกขนาดใหญ่ที่ถูกต่อต้านไม่ไหว จึงต้องหนีไปต่างประเทศคือประเทศจีนแทน ผมว่าการขยายค้าปลีกรายใหญ่ต่อไปคงยากลำบากขึ้นเรื่อย ๆ ครับ
ตรงนี้เป็นอุปสรรคของค้าปลีกใหญ่ แต่จะเป็นโอกาสของค้าปลีกเล็กหรือไม่ โดยเฉพาะ Cp7-11 ที่ยังขยายสาขาไปได้อย่างต่อเนื่องครับ
ข่าวจากผู้จัดการ วันที่ 7 กันยายน 2549
แม็คโคร ติดเบรกขยายสาขา เหตุปัญหาผังเมืองเป็นพิษ ส่งผลพลาดแผนของบริษัทแม่ที่กำชับให้เดปีละ 5 สาขา รอความหวังวอนรัฐมองรูปแบบทำธุรกิจมากกว่าการใช้ขนาดของสาขา ยังยืนยันปีหน้าตั้งหน้าตั้งตาหาพื้นที่ต่อ
นางอารีย์ วงศ์รัศมี ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายจัดซื้อสินค้าบริโภค บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินธุรกิจค้าส่งภายใต้ชื่อแม็คโคร เปิดเผยว่า บริษัทแม่ของแม็คโครมีนโยบายที่จะให้แม็คโครประเทศไทยขยายสาขาทุกปีเฉลี่ย 4- 5 สาขา แต่ที่ผ่านมายังติดปัญหาเรื่องของการหาพื้นที่ในการขยายสาขาอยู่ ทำให้เปิดเฉลี่ยได้ 1-3 สาขาเท่านั้น อีกทั้งในปัจจุบันนั้นกระแสเรื่องการต่อต้านค้าปลีกขนาดใหญ่จากผู้ประกอบการรายย่อยก็มีมากขึ้น ยิ่งทำให้ภาครัฐต้องเข้มงวดเรื่องของการควบคุมพื้นที่มากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้บริษัทฯยังประสบกับปัญหาในเรื่องของการขอใบอนุญาติก่อสร้าง เนื่องจากภาครัฐมีการออกกฎหมายในการควบคุมห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ ประกอบกับใบอนุญาตเดิมของแม็คโครถูกใช้ไปหมดแล้ว ทำให้การขยายสาขาต่อจากนี้ จะต้องขอใบอนุญาติในการขยายสาขาแต่ละครั้ง ทำให้แม็คโครไม่สามารถทำได้ตามเป้าที่วางไว้ได้
อย่างไรก็ตามแผนตั้งแต่ปีที่ผ่านมา บริษัทฯสามารถขยายสาขาได้เพียง 2 สาขา ได้แก่ สาขาที่จังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดตรัง ขณะที่ปีนี้บริษัทฯไม่สามารถขยายสาขาใหม่ได้เลย ทำให้ปัจจุบันแม็คโครมีสาขาทั้งสิ้น 29 สาขา ซึ่งปีหน้า บริษัทฯมีแผนขยายสาขาตามนโยบายที่วางไว้เช่นเดิม
อยากให้กฎหมายควบคุมค้าปลีกมีความชัดเจนในเรื่องของการขยายสาขา โดยภาครัฐต้องมองถึงรูปแบบการดำเนินธุรกิจของแต่ละห้างมากกว่าการมองขนาดสาขา เพราะที่ผ่านมา ลูกค้าของแม็คโครจะเป็นกลุ่มผู้ประกอบการ ร้านค้าโชวห่วยรายย่อยที่มาซื้อสินค้าแล้วนำไปจำหน่ายต่อถึง 50% ของยอดขายทั้งหมด 4 หมื่นล้านบาท ขณะที่ห้างค้าปลีกรายอื่นจะเป็นการขายสินค้าปลีกให้กับผู้บริโภคโดยตรง นางอารีย์กล่าว
ล่าสุด บริษัทฯเตรียมจัดงานมหกรรมครบเครื่องเรื่องอาหารและอุปกรณ์ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 27-29 ตุลาคม 2549 ที่อิมแพค เมืองทองธานี โดยเป็นงานที่รวบรวมพันธมิตรในธุรกิจอาหารมาร่วมออกบูทให้ความรู้กับสมาชิกที่เป็นกลุ่มผู้ประกอบการด้านโรงแรม ร้านอาหาร และธุรกิจจัดเลี้ยง คาดว่า จากการจัดงานครั้งนี้ จะมีผู้เข้าร่วม 8 หมื่นราย ซึ่งเพิ่มจากเดิมที่มีผู้ที่เข้ามามาร่วมงาน 50,000 รายในครั้งที่แล้วทั้งนี้สาเหตุที่ฐานลูกค้าเพิ่มมากขึ้นนั้นอาจเป็นเพราะการเพิ่มพื้นที่ รวมถึงการเพิ่มพันธมิตรที่มีความแข็งแกร่งกว่า 200 ราย ซึ่งคาดว่าสมาชิกใหม่จะมีเพิ่มมากขึ้นจากงานจากปัจจุบัน 1.7 ล้านราย หรือมีสมาชิกเพิ่มขึ้นทั้งปี 2-3 หมื่นราย
นายเอียน โคลวิน กรรมการผู้จัดการ แผนกยูนิลีเวอร์ ฟู๊ดโซลูชั่นยูนิลีเวอร์ กล่าวว่า เตรียมเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ในกลุ่มของฮอเรก้า (Horeca) ของ รสทิพย์ 3 รสชาติเพื่อกระตุ้นตลาดและยอดขายรวมโต 15 % จากเดิมที่กลุ่มนี้เติบโตเพียง 5% เท่านั้น
คิดอย่างไงกับธุรกิจค้าปลีกขนาดเล็ก ที่กำลังจะ(สมควร)ตาย
โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ย. 09, 2006 11:56 pm
โดย โอ@
แล้วทำไม TESCO ไม่ยอมให้ Lotus Express เป็นแฟรนไชส์ละครับ
แล้วก็ใช้โชว์ห่วยที่ต้องการเอาที่มาเปลี่ยนเป็น Lotus Express.... win win นะ
แต่ราคาก็ต้องสมเหตุสมผลหน่อย
คิดอย่างไงกับธุรกิจค้าปลีกขนาดเล็ก ที่กำลังจะ(สมควร)ตาย
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 10, 2006 12:07 am
โดย Accidental Hero
โอ@ เขียน:แล้วทำไม TESCO ไม่ยอมให้ Lotus Express เป็นแฟรนไชส์ละครับ
แล้วก็ใช้โชว์ห่วยที่ต้องการเอาที่มาเปลี่ยนเป็น Lotus Express.... win win นะ
แต่ราคาก็ต้องสมเหตุสมผลหน่อย
ผมว่าเพราะ ธุรกิจยังไม่อิ่มตัว ทำเองได้ผลตอบแทนดีกว่า
รอจนอิ่มตัวแล้ว อีกหน่อยคงเป็นแฟรนไชส์
คิดอย่างไงกับธุรกิจค้าปลีกขนาดเล็ก ที่กำลังจะ(สมควร)ตาย
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 10, 2006 8:16 am
โดย thawattt
ผมว่าเพราะ ธุรกิจยังไม่อิ่มตัว ทำเองได้ผลตอบแทนดีกว่า
รอจนอิ่มตัวแล้ว อีกหน่อยคงเป็นแฟรนไชส์
เห็นด้วยครับ ธุรกิจมีกำไร ก็ขอทำเองไปก่อน แต่เริ่มอิ่มตัว ก็ค่อยหาคนมาต่อยอดครับ เห็นด้วย เห็นด้วยครับ :lol:
คิดอย่างไงกับธุรกิจค้าปลีกขนาดเล็ก ที่กำลังจะ(สมควร)ตาย
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 10, 2006 1:07 pm
โดย phongphet
ขอเห็นแย้งหน่อยล้ะกันนะครับ
ค้าปลีก เป็นเรื่องของระดับรากหญ้า หากปล่อยให้การขยายโดยไม่ได้ควบคุม ก็เหมือนปลาใหญ่กินปลาเล็ก รายเล็กมิอาจสู้รายใหญ่ได้ อย่าว่าแต่ซุปเปร์สโตร์เลยครับ คอนวีเนี่ยนก็แย่แล้ว แต่ที่ไม่มีใครมาต่อต้านคอนวีเนี่ยนเท่าไหร่ เพราะคงไม่มีใครโต้โผต่อต้าน รายใหญ่เข้า ผู้เสียประโยชน์มากมายคือ ร้านค้าขายส่งขนาดใหญ่ ซึ่งเสียประโยชน์อย่างมหาศาล และผมคิดว่า เป็นโต้โผสำคัญในการเคลื่อนไหวต่อต้าน
ว่าด้วยเรื่องเศรษฐกิจ ผมยังคิดว่า รัฐต้องมีส่วนในการปกป้องกิจการของคนไทย หากไม่มีการปกป้องแล้ว ก็กลายเป็นรายใหญ่กินรายเล็ก คนไทยจะสู้ทุนต่างชาติได้อย่างไร
ข้อเสนอให้เจ้าของโชห่วยไปซื้อหุ้นค้าปลีก มันก็แปลกดีนะครับ คนไทยเล่นหุ้นกันกี่คน หุ้นซุปเปอร์ที่มีในตลาดก็มีเจ้าเดียว ก็คนไทยด้วยกันนี่แหละที่ต้องมาระดมทุน ส่วนตัวอื่น ไม่เห็นต่างชาติจำเป็นต้องมาระดมทุน
คิดอย่างไงกับธุรกิจค้าปลีกขนาดเล็ก ที่กำลังจะ(สมควร)ตาย
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 10, 2006 3:06 pm
โดย naris
ที่จริงว่าจะไม่โพสท์หัวข้อนี้แล้ว เพราะผมเหยียบเรือ2แคม จากฝั่งเจ้าของกิจการ(ซุปเปอร์มาร์เก็ต) และฝั่งนักลงทุน
และผมเองคลุกคลีอยู่ในวงการนี้มาจนพอรู้ใส้รู้พุงของพวกโมเดอร์นเทรด ว่าพวกเขาคิดอะไรอยู่ ทำไมโชว์ห่วยถึงได้กลัวนักกลัวหนา ความเห็นส่วนตัวของผมๆว่าที่น่ากลัวไม่ใช่ห้างใหญ่ๆ แต่เป็นหน่วยย่อยที่เขากำลังลดไซด์ลงมากินปลาซิวปลาสร้อย อีก4-5ปีคงจะเห็นผลชัดเจนซึ่งไม่ได้มีผลกระทบแต่โชว์ห่วย แต่กระเทือนไปถึงอุตสาหกรรมผู้ผลิตด้วย
แต่ความเห็นส่วนตัวของผม ผมไม่เคยแม้แต่จะคิดคัดค้านการขยายตัวของโมเดอร์นเทรด เพราะคิดว่านั่นคืดเทรนสมัยใหม่ซึ่งขวางไม่อยู่แน่นอน การปรับตัวของซุปเปอร์ของผมเองจึงต้อง หาพิชัยยุทธ์และสนามรบที่เราสร้างขึ้นมาเอง ที่ได้เปรียบห้างใหญ่ ซึ่งมันก็คงได้ผลระดับหนึ่ง
แต่มันก็เป็นข้อจำกัดที่ไม่ใช่ใครๆก็จะปรับเปลี่ยนได้ดั่งผม เนื่องจากติดอยู่ที่size(ไม่มีเนื้อที่เพียงพอต่อการจ้างบุคลากรมาเพิ่มเติม) and time(อาแปะและตาสีตาสาใช้เวลาเกือบทั้งหมดอยู่กับการคิดเงิน)และยังมีปัจจัยที่โชว์ห่วยยังสู้เขาไม่ได้อีกหลายๆข้อ และที่สำคัญที่สุดคือการเปิดความคิดที่จะเปลี่ยนแปลง หาจุดยืนใหม่ที่ทำให้โชว์ห่วยอยู่รอด ซึ่งถ้าเปิดการยอมรับต่อการเปลี่ยนแปลงได้จริง อาจทำให้มีผู้รอดชีวิตซัก20-30%
ในโลกของวงการธุรกิจเสรี คงจะหวังให้เกิดความเสมอภาพคงจะเป็นไปได้ยาก ผมก็คงมีแต่จะให้กำลังใจกับกลุ่มที่มีผลกระทบต่อห้างใหญ่ ที่กำลังทำตัวให้เล็กลงครับ
คิดอย่างไงกับธุรกิจค้าปลีกขนาดเล็ก ที่กำลังจะ(สมควร)ตาย
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 10, 2006 8:10 pm
โดย BHT
ฝรั่งมันน่าจะขายหุ้นออกไปนะ หรือไม่ก็ลอยแพพนักงานคนไทยสักแสนคนแกล้งซะ หรือไม่ก็แกล้งพวกซัพพลายเออร์
เอาให้สะใจไปเลย :twisted: :twisted:
คิดอย่างไงกับธุรกิจค้าปลีกขนาดเล็ก ที่กำลังจะ(สมควร)ตาย
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 10, 2006 8:18 pm
โดย Accidental Hero
[quote="BHT"]ฝรั่งมันน่าจะขายหุ้นออกไปนะ หรือไม่ก็ลอยแพพนักงานคนไทยสักแสนคนแกล้งซะ หรือไม่ก็แกล้งพวกซัพพลายเออร์
เอาให้สะใจไปเลย
คิดอย่างไงกับธุรกิจค้าปลีกขนาดเล็ก ที่กำลังจะ(สมควร)ตาย
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 10, 2006 8:21 pm
โดย BHT
[quote="Accidental Hero"][quote="BHT"]ฝรั่งมันน่าจะขายหุ้นออกไปนะ หรือไม่ก็ลอยแพพนักงานคนไทยสักแสนคนแกล้งซะ หรือไม่ก็แกล้งพวกซัพพลายเออร์
เอาให้สะใจไปเลย
คิดอย่างไงกับธุรกิจค้าปลีกขนาดเล็ก ที่กำลังจะ(สมควร)ตาย
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 12, 2006 3:30 am
โดย New Analyst
ประเด็นนี้น่าสนใจมากครับ จึงขอเข้ามาร่วมวงด้วยคน
ข้อมูลที่ 1 คือ CP ไม้ได้ขาย Lotus ให้กลุ่ม TESCO เพราะเหตุแรงต้านกระแสจากสังคม จนต้องย้ายไปบุกที่เมืองจีน แต่เป็นเพราะในช่วงภาวะวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ที่กลุ่ม CP มีปัญหาทางการเงินอย่างรุนแรง จนต้องเลือกวาจะขายกิจการอะไรอกไปดี จึงจะได้เลินสดมามากพอที่จะแก้ปัญหาได้ CP มีตัวเลือก 2 ตัวในขณะนั้น คือ ขาย 7-11 หรือขาย Lotus (ไม่นับที่ขายสดส่วนห้นใน Makro ไปก่อนหน้าแล้ว) ในที่สุด CP ตัดสินใจขาย Lotus เพราะถือว่า 7-11 มีโอกาสในอนาคตดีกว่า มีการแข่งขันน้อยกว่า และต่อยอดธุรกิจได้หลายอย่างมากกว่า โดยขอใช้สิทธิในชื่อ Lotus ในประเทศจีน และให้ลูกชายที่เคยคุม Lotus ในไทย และหุ้นส่วนฝรั่งที่เคยเป็นผู้บริหารจาก WalMart ไปช่วยกันบุกที่เมืองจีน
ข้อมูลที่ 2 นายกสมาคมค้าส่ง เคยให้สัมภาษณ์เมื่อนานมาแล้วว่า จริงๆ แล้ว ร้านสะดวกซื้ออย่าง 7-11 นั่นแหละ ที่เป็นตัวกระทบต่อร้านโชห่วย ไม่ใช่พวกซูเปอร์เซ็นเตอร์ เพราะร้านโชห่วยเป็นร้านสะดวกซื้อ ที่ต้องอาศัยจุดเด่นในเชิงแนวคิด คือ ขายความสะดวกที่ใกล้กลุ่มเป้าหมาย นอกจากนั้น จริงๆ แล้ว ร้านโชห่วยและพวกค้าส่งในพื้นที่ ต่างเป็นลูกค้าของพวกซูเปอร์เซ็นเตอร์ (รวมถึงแมคโครด้วย) ที่มาซื้อเอาของไปขายต่ออีกที เนื่องจากได้ราคาต่ำกว่าซื้อจากซัพพลายเออร์เอง โดยพวกโชห่วยซื้อของที่ลดราคามากๆ ไปจากหน้าร้าน ส่วนพวกค้าส่งจะซื้อจากหลังร้าน (ของซูเปอร์เซ็นเตอร์) ที่ได้ราคาดีกว่าราคาส่งปกติมาก ดังนั้น จริงๆ กลับเป็นการเกือกูลพวกโชห่วยให้สู้กับ 7-11 ได้ดีขึ้น เนื่องจากมีต้นทุนต่ำลงในหลายรายการที่ต้องมีการแข่งขันราคากัน ทำให้ได้เปรียบในการแข่งขันส่วนนี้กับ 7-11 ที่ไม่ได้เน้นเรื่องราคาต่ำ
ข้อมูลที่ 3 นายกสมาคมค้าส่ง ออกโรงว่า ปัญหาที่ต้องการจริงๆ ไม่ใช่คุมการเติบโตของพวกซูเปอร์เซ็นเตอร์ เพราะเข้าใจกระแสความต้องการของผู้บริโภค หากแต่ต้องการให้การแข่งขันเป็นธรรมมากขึ้น โดยไม่ไปบิดเบือนราคาที่ต่ำเกินต้นทุน พูดง่ายๆ คือ ไม่ต้องการให้พวกซูเปอร์เซ็นเตอร์ใช้กลยุทธ์การตั้งราคาสินค้าบางรายการต่ำเกินกว่าต้นทุน เพียงเพื่อดึงลูกค้ามา แล้วอ้างว่าจำกัดจำนวนขาย หรือมีขายเพียงจำนวนน้อยเท่านั้น ซึ่งเป็นการใช้การตลาดมาบิดเบือนราคามากไป จึงต้องการผลักดัน "กฎหมายการค้าที่เป็นธรรม" ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว
ข้อมูลที่ 4 TESCO Lotus Express (ในไทย) คงไม่มีการเปิดขายแฟรนไชส์เหมือนอย่าง 7-11 เพราะเป็นโมเดลธุรกิจของเขาที่มาจากอังกฤษ คือ ตัวแม่ทำเองหมด
ข้อมูลที่ 5 พวกที่ห่วงการโตของซูเปอร์เเซ็นเตอร์มากหน่อย คือ ซัพพลายเออร์รายใหญ่ เพราะกลัวการที่ถูกบีบเงื่อนไขการค้าในรูปแบบต่าง ๆ ทีทำให้สภาพการทำกำไรลดลงฮวบ ยิ่งซูเปอร์เซ็นเตอร์ขยายตัวมาก ยิ่งถูกบีบ และทางรอดน้อยลง เพราะช่องทางการขายอื่นมีสัดส่วนน้อยลงเรื่อยๆ ขณะเดียวกัน ก็กลัวการเกิดสินค้า House Brand ที่ทำให้สินค้าหลักของตนมีโอกาสถูกเขี่ยออกจากตลาดได้ในเวลาไม่นานนัก เพราะไม่ผลิตให้ ก็ถูกขู่ว่าจะจ้างโรงงานอื่นให้ได้เกิด ผลิตให้ ก็เท่ากับแข่งขันกับสินค้าหลักของตน
คงเข้ามาเสริมเท่านี้ก่อนครับ
คิดอย่างไงกับธุรกิจค้าปลีกขนาดเล็ก ที่กำลังจะ(สมควร)ตาย
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 12, 2006 10:31 am
โดย Invisible hand
ผมเห็นด้วยกับคุณ New Analyst ครับว่าร้านโชห่วยได้รับผลกระทบจาก 7-11 มากกว่า Lotus Makro ฯลฯ เสียอีก และหากเราไปเดิน Makro หรือ Lotus ก็จะเห็นกลุ่มลูกค้าที่มากันสามี ภรรยา หรือพาลูกๆ มาด้วย ที่ซื้อทีนึงประมาณ 2-3 รถเข็นใหญ่และซื้อสินค้าเหมือนๆ กันเป็นแพ็ค แล้วขนขึ้นรถปิคอัพกลับ ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้คือกลุ่มร้านโชห่วย
คำถามที่ผมตั้งคำถามในใจก็คือ ถ้าผมเป็นเจ้าของร้านโชห่วย ทำไมไม่นั่งรอที่ร้านแล้วให้ยี่ปั๊ว หรือ supplier มาส่งของ ทำไมต้องมา Makro เพื่อซื้อสินค้ากลับไป ซึ่งต้องเหนื่อยยกของขึ้นรถ ลงรถ เจ้าของร้านโชห่วยหลายคนอายุก็ 50 กว่าๆ แล้ว ไม่รู้ว่ากลับบ้านจะเคล็ดขัดยอกบ้างหรือเปล่า เหตุผลที่นึกได้ก็คือ การมาซื้อของที่ Makro คงจะถูกกว่าซื้อจากยี่ปั๊ว ซาปั๊ว หรือไม่ก็สินค้าบางอย่าง supplier ไม่ยอมมาส่ง ดังนั้นข้อสรุปหนึ่งที่ผมได้คือ Hypermarket อย่าง Makro Lotus น่าจะช่วยให้ชีวิตของโชห่วยดีขึ้นส่วนหนึ่งครับ
สินค้าที่เดิมโชห่วยขายดี ก็มักจะเป็นสินค้าที่ลูกค้าไม่ได้ตั้งใจซื้อทีละมากๆ บางครั้งซื้อเพราะความสะดวก เช่น บุหรี่ เหล้า น้ำปลา ขนม น้ำอัดลม ซึ่งสินค้ากลุ่มดังกล่าวเป็นสินค้าที่หลายๆ คนเปลี่ยนไปซื้อที่ 7-11 แทน ตอนนี้สินค้าที่ยังทำให้โชห่วยอยู่ได้คือ การขายเหล้าขาว ( ในหลายๆ พื้นที่ ) หรือบุหรี่
แม้ว่า Lotus BigC Makro จะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการในประเทศในหลายๆ ธุรกิจอยู่ แต่หากมองในแง่ผลดี ก็จะพบว่ามีผลดีต่อประสิทธิภาพในระบบเศรษฐกิจมาก เพราะเป็นการลดช่องว่างทางราคาระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค โดยอาศัยประสิทธิภาพการจัดการของ Superstore เหล่านี้ โดยเฉพาะในเรื่อง logistic และ supply chain นอกจากนี้ การบีบราคากับ supplier แม้จะดูโหดร้ายแต่ก็มีข้อดีก็คือทำให้ supplier ต่างๆ ต้องไปดำเนินกิจกรรมเพื่อประหยัดต้นทุนการผลิต หรือเป็นการลดกำไรส่วนเกินของ supplier บางราย ซึ่งก็เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจเช่นกัน สิ่งที่อาจจะเป็นตัวพิสูจน์บ้างก็คือ เศรษฐกิจไทยมีเงินเฟ้อที่ไม่สูงนักมาหลายปีแล้ว แม้กระทั่ง 1-2 ปีนี้ที่ราคาน้ำมันขึ้น 30-50% แต่เงินเฟ้อก็ยังอยู่ที่ 5-6% หรือเศรษฐกิจสหรัฐที่มีการขยายตัวสูงมาเป็น 10 ปีแต่คุมเงินเฟ้ออยู่ตลอด นอกจากความสามารถของ Greenspan แล้ว คงจะต้องขอบคุณ Walmart ด้วย แม้ว่า Walmart จะถูกด่ามากกว่าถูกชมมาตลอด โดยเฉพาะประเด็นที่ถูกด่าเรื่องการปฎิบัติต่อแรงงาน
ดังนั้นคำถามก็คือ ที่ประท้วงๆ กันอยู่ ไปประท้วงผิดเป้าหมายหรือเปล่า หรืออีกคำถาม ที่ประท้วงๆ กันอยู่ คือ โชห่วยจริงๆ หรือเปล่าครับ
คิดอย่างไงกับธุรกิจค้าปลีกขนาดเล็ก ที่กำลังจะ(สมควร)ตาย
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 12, 2006 11:14 am
โดย MisterK
ที่อยากเสริมอีกอย่างคือไม่ควรโยงประเด็นเรื่องต่างชาติมาเข้ากับเรื่อง Modern Trade เพราะไม่ได้มีแต่บริษัทต่างชาติที่ทำธุรกิจนี้ เดี๋ยวนี้เวลาอยากหาแนวร่วมนี่มักจะเจอคำพูดแบบเดี๋ยวต่างชาติกอบโกยไปได้เยอะ ซึ่งทำให้คนฟังหลงประเด็นกันประจำ
โชวห่วยที่ผมเห็นส่วนใหญ่ก็ไปซื้อสินค้าจากพวก macro, lotus มาขาย เพราะราคาถูกกว่าที่ supplier มาส่งให้เสียอีก ลูกค้าอย่างผมก็ไม่ใช่ว่าจะขับรถไปซื้อของซะทุกอย่าง ค่าเดินทางไม่ได้คุ้มอยู่แล้ว ไปทีก็ต้องซื้อของคราวละมาก ๆ แต่ยังไงก็ต้องมีรายการเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ซื้อกับร้านค้าแถวบ้านอยู่เสมอ ที่อื่นเป็นยังไงผมไม่รู้เหมือนกัน แต่โชวห่วยแถวบ้านผมช่วง 4-5 ปีมานี้เปิดเพิ่มอีกสองร้านทั้ง ๆ ที่ Lotus ก็มาเปิดอยู่ไม่ไกลมาก
กลุ่มที่กระทบมาก ๆ น่าจะเป็นยี่ปั๊ว ซาปั๊วที่โดนตัดออกจากวงจรมากกว่า แต่สมัยก่อนคนก็กล่าวหาว่าพ่อค้าคนกลางหลาย ๆ ทอดเป็นตัวทำให้สินค้าแพง พอสมัยนี้เกิด Modern Trade ที่ลดขั้นตอนลงก็เกิดข้อกล่าวหาว่าทำลายพ่อค้าคนกลางอีก
สิ่งทีน่าเป็นห่วงของ Modern Trade ก็คงมีเรื่องอำนาจต่อรองที่สูงเกินไปทำให้เกิดการผูกขาด (ไม่ว่าจะเป็นบริษัทไทยหรือเทศก็ตาม) ถ้าจะมีกฏหมายน่าจะเป็นกฏหมายป้องกันการผูกขาดหรือทำการค้าที่ไม่เป็นธรรม เช่นการตั้งราคาสูงหรือต่ำเกินความเป็นจริง หรือการบีบคู่ค้าด้วยเงื่อนไขที่เกินกว่าจะยอมรับแต่ต้องยอมรับเพราะไม่มีทางเลือก เป็นต้น
คิดอย่างไงกับธุรกิจค้าปลีกขนาดเล็ก ที่กำลังจะ(สมควร)ตาย
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 12, 2006 12:09 pm
โดย chatchai
แล้ว HOME PRO HOME WORK ละส่งผลต่อร้านค้าปลีกวัสดุก่อสร้างหรือเปล่าครับ
คิดอย่างไงกับธุรกิจค้าปลีกขนาดเล็ก ที่กำลังจะ(สมควร)ตาย
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 12, 2006 3:14 pm
โดย Belffet
กำลังจะตายน่ใช่ครับ
แต่พวกเขา ไม่"สมควร"ตายครับ
คิดอย่างไงกับธุรกิจค้าปลีกขนาดเล็ก ที่กำลังจะ(สมควร)ตาย
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 12, 2006 6:43 pm
โดย frontosa
คำว่าสมควรตายฟังดูโหดร้ายเกินไป...
ดูเหมือนว่าหลายๆท่านในเวปเรานี่ ประโยชน์นิยมมากจริงๆนะครับ
จะว่าถูกก็คงมีส่วนถูกนะครับ :(
คิดอย่างไงกับธุรกิจค้าปลีกขนาดเล็ก ที่กำลังจะ(สมควร)ตาย
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 12, 2006 8:31 pm
โดย tanate
โชวห่วยจะตายอย่างแน่นอนครับ
ถ้าคุณเปิดหน้าร้านในหมู่บ้านอยู่ก่อนแล้ว
วันดีคืนดี มี7-11 มาลง ห่างจากร้านโชวห่วยคุณประมาณ 3-4 หลัง
โชวห่วยของคุณศูนย์เสียรายได้อย่างแน่นอน
แต่คุณยังพอต่อสู้โดยใช้ราคาที่ถูกกว่าในสินค้าบางราคาที่ซื้อมาจาก Lotus
Big C บวกกับอัทยาศัยความเป็นกันเอง คุยเก่งเข้าไว้
แต่เหมือนเป็นคนมีกรรม Lotus Express มาเปิดตรงข้ามร้านโชวห่วยของคุณ
ทางแก้โดยใช้ราคาต่ำ ก็ต่ำมากราคาเท่าLotusไม่ค่อยได้ เพราะต้องมีต้นทุนบริหาร้านโชวห่วย ยอดรายได้ก็ตกลงเรื่อยๆ สุดท้ายก็ปิดโชวห่วยไปเองครับ
อัทยาศัยดีอย่างไร แต่ถ้าของเหมือนกันคนรวยหรือคนจนก็ชอบซื้อของถูกกว่าเสมอครับ รวมถังตัวผมเองด้วย
ทางแก้ปัญหานี้มีทางออกครับ
ถ้ารัฐบาลตั้งsupermart เองให้มากพอ และหยุดการเพิ่มสาขาของBigC lotus และ อื่นๆ เพื่อควบคุมราคาให้เป็นธรรมทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค
ไม่ใช้ให้Supermart บีบจนไม่เหลือกำไร แถมผลิตสินค้าแข่งอีก
อย่าลืมบริษัทพวกนี้ กำไรส่งกลับประเทศแม่เขาครับ เงินหมุนในประเทศไทย
ถึง5 รอบหรือเปล่า
ประเทศชาติมีแต่เงินไหลออก ครับ
คิดอย่างไงกับธุรกิจค้าปลีกขนาดเล็ก ที่กำลังจะ(สมควร)ตาย
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 12, 2006 9:19 pm
โดย chatchai
tanate เขียน:ทางแก้ปัญหานี้มีทางออกครับ
ถ้ารัฐบาลตั้งsupermart เองให้มากพอ และหยุดการเพิ่มสาขาของBigC lotus และ อื่นๆ เพื่อควบคุมราคาให้เป็นธรรมทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค
ผมว่าคงไม่ใช่ทางออกที่ดีนัก
1. ให้รัฐบาลตั้ง Supermarket เอง อะไรจะรับประกันว่าสู้รายเดิมได้
2. หยุดสาขาของ BIGC LOTUS ด้วยเหตุผลอะไรครับ จะขัดกับการค้าเสรีหรือไม่ แล้วค้าปลีกรายใหญ่ในอุตสาหกรรมอื่นละครับ
3. ควบคุมราคาให้เป็นธรรม จะได้หรือครับ เท่าไรถึงเรียกว่าเป็นธรรม
คิดอย่างไงกับธุรกิจค้าปลีกขนาดเล็ก ที่กำลังจะ(สมควร)ตาย
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 12, 2006 9:38 pm
โดย Belffet
รัฐสวัสดิการ อาจจะช่วยได้นะครับ
เหอเหอ
แต่พวกบริษัทข้ามชาติคงเบื่อเมืองไทยไปเลย
ทีนี้ต้องเลือกแล้วล่ะ ว่าจะเห็นแก่คนยากคนจน คนทำมาหากินในเมืองไทย
หรือว่าบริษัทข้ามชาติ และเม็ดเงินมหาศาลที่มาลงทุนเมืองไทย
อะไรสำคัญกว่ากัน อันไหนคือคนส่วนใหญ่
เรามีเมืองไทยไว้ทำไม
คำถามที่คุณจะต้องตอบ
(จะโดนจับเพราะเป็นฝ่ายซ้ายมั๊ยเนี่ยเรา)