โชคหรือฝีมือ?
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 05, 2006 8:00 pm
ในชีวิตของการเป็นลูกจ้างนั้น พวกเราเคยชินกับการถูกประเมินผลโดยดูจากปริมาณของงานที่ทำได้ ตัวอย่างเช่น พนักงานขายที่ทำยอดขายได้เข้าเป้าจะถือว่ามีผลงาน เป็นต้น แต่ในชีวิตของการเป็นนักลงทุนนั้น การวัดผลโดยดูจากผลงานเป็นสำคัญอาจไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องเสมอไป
สมมติว่ามีการพนันชนิดหนึ่งเป็นการทอยเหรียญบาทซึ่งคุณทราบว่าเหรียญถูกถ่วงเอาไว้ให้มีโอกาสที่จะออกหัวบ่อยกว่าก้อยเล็กน้อย ในการทอยเหรียญหนึ่งครั้ง คุณควรเลือกที่จะทายว่าเหรียญจะออกหัวเพราะคุณรู้ว่าโอกาสที่เหรียญจะออกหัวนั้นมีมากกว่า แต่ผลการทอยเหรียญที่ออกมานั้น เหรียญอาจจะออกก้อยก็ได้ เพราะการที่เหรียญถูกถ่วงไว้ให้มีโอกาสที่จะออกหัวมากกว่าก้อยไม่ได้แปลว่าเหรียญจะต้องออกหัวเสมอไป การที่เหรียญถูกถ่วงไว้เพียงแต่ทำให้เมื่อทอยเหรียญนั้นซ้ำกันหลายๆ ครั้งแล้ว ความถี่ที่เหรียญออกหัวจะต้องมากกว่าความถี่ที่เหรียญออกก้อยอย่างแน่นอนในระยะยาว อันเป็นไปตามกฎของค่าเฉลี่ย (Law of average)
ในการทอยเหรียญครั้งนั้น ถ้าบังเอิญเหรียญออกก้อยขึ้นมา การวัดผลโดยดูจากผลงานเป็นสำคัญจะต้องถือว่าคนที่ตัดสินใจเลือกทายว่าเหรียญออกหัวนั้นเป็นผู้ที่มีผลงานที่บกพร่อง ทั้งที่จริงๆ แล้ว การตัดสินใจเช่นนั้นเป็นการตัดสินใจที่สมเหตุผล ในขณะที่ คนที่ชอบวัดดวงโดยการเสี่ยงทายว่าเหรียญจะออกก้อยกลับจะเป็นผู้ที่ได้รับคำชมเชยไป
การลงทุนก็เป็นการตัดสินใจภายใต้สถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอน บางครั้งการตัดสินใจเลือกลงทุนในหุ้นตัวหนึ่งที่ทำอย่างละเอียดรอบคอบอาจให้ผลลัพธ์ที่ไม่น่าประทับใจก็ได้ ในขณะที่บางครั้งการสุ่มเลือกซื้อหุ้นบางตัวขึ้นมาแบบมั่วๆ กลับทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า การวัดผลการลงทุนจึงควรวัดจากวิธีการว่าได้ทำอย่างละเอียดรอบคอบโดยอาศัยหลักการลงทุนที่สมเหตุสมผลแล้วหรือไม่มากกว่าที่จะวัดจากผลลัพธ์ที่ออกมา ในการตัดสินใจลงทุนเพียงหนึ่งครั้งนั้น คนที่มีหลักการลงทุนที่มีเหตุผลมากกว่าอาจจะแพ้คนที่มีใช้วิธีการเลือกหุ้นแบบส่งเดชก็ได้ แต่ในระยะยาวแล้วคนที่มีหลักการลงทุนที่ดีกว่าย่อมต้องทำผลงานได้ดีกว่าอย่างแน่นอน
เช่นนี้แล้วเวลาที่คุณลงทุนผิดพลาดไปสักครั้งหนึ่ง ก็ไม่ควรด่วนสรุปว่าหลักการลงทุนที่ใช้อยู่เป็นหลักการที่ผิดพลาด การตัดสินผลงานของบรรดากองทุนรวมต่างๆ หรือแม้แต่ผลงานของพอร์ตการลงทุนของคุณเองก็เช่นเดียวกัน ไม่ควรตัดสินจากผลงานในช่วงเวลาสั้นๆ ที่ซึ่งความไม่แน่นอนยังบดบังความสามารถที่แท้จริงเอาไว้อยู่ ลองพิจารณาผลการดำเนินงานของกองทุนรวม Legg Mason Value Trust Fund ซึ่งเป็นกองทุนรวมเพียงกองทุนเดียวในสหรัฐฯ จากจำนวนทั้งหมดนับพันๆ กองที่สามารถเอาชนะดัชนี S&P 500 ได้ทุกปีเป็นเวลา 15 ปีติดต่อกัน
สถิติตั้งแต่จัดตั้งกองทุนจนถึงปัจจุบัน (รวม 24 ปี)
ความถี่ที่ผลการดำเนินงานของกองทุนเอาชนะตลาดได้เมื่อวัดผลเป็นรายวัน : 51.9%
ความถี่ที่ผลการดำเนินงานของกองทุนเอาชนะตลาดได้เมื่อวัดผลเป็นรายเดือน : 54.0%
ความถี่ที่ผลการดำเนินงานของกองทุนเอาชนะตลาดได้เมื่อวัดผลเป็นรายไตรมาส : 56.3%
ความถี่ที่ผลการดำเนินงานของกองทุนเอาชนะตลาดได้เมื่อวัดผลเป็นรายปี : 83.3%
จะเห็นได้ว่า เมื่อวัดผลงานเป็นรายวัน กองทุนที่เก่งที่สุดในตลาดสามารถเอาชนะตลาดได้เพียง 51.9% หรือเก่งกว่าการใช้เหรียญบาทเสี่ยงทายเพียงแค่ 1.9% เท่านั้น แต่ถ้ายิ่งวัดผลงานเป็นช่วงที่ยาวขึ้นเรื่อยๆ กองทุนที่เก่งที่สุดนี้จะผลงานที่ทิ้งห่างดัชนีอย่างชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ แสดงให้เห็นว่าในระยะยาวแล้ว กฏแห่งค่าเฉลี่ยจะค่อยๆ แยกนักลงทุนที่เก่งออกจากนักลงทุนทั่วไป ดังนั้น การจะตัดสินว่าหลักการลงทุนที่คุณใช้อยู่เป็นหลักการที่ได้ผลหรือไม่จึงควรเป็นการวัดผลงานในระยะยาวยิ่งยาวเท่าไรก็ยิ่งดีเท่านั้น ในทำนองเดียวกัน ไม่มีความจำเป็นแต่ประการใดที่คุณจะต้องพยายามเอาชนะตลาดให้ได้ ทุกวัน ทุกเดือน หรือแม้แต่ทุกไตรมาส การตั้งเป้าหมายเช่นนั้นจะบีบบังคับให้คุณกลายเป็นนักลงทุนที่คิดสั้น ซึ่งจะส่งผลเสียต่อผลงานของพอร์ตของคุณในระยะยาวได้
สมมติว่ามีการพนันชนิดหนึ่งเป็นการทอยเหรียญบาทซึ่งคุณทราบว่าเหรียญถูกถ่วงเอาไว้ให้มีโอกาสที่จะออกหัวบ่อยกว่าก้อยเล็กน้อย ในการทอยเหรียญหนึ่งครั้ง คุณควรเลือกที่จะทายว่าเหรียญจะออกหัวเพราะคุณรู้ว่าโอกาสที่เหรียญจะออกหัวนั้นมีมากกว่า แต่ผลการทอยเหรียญที่ออกมานั้น เหรียญอาจจะออกก้อยก็ได้ เพราะการที่เหรียญถูกถ่วงไว้ให้มีโอกาสที่จะออกหัวมากกว่าก้อยไม่ได้แปลว่าเหรียญจะต้องออกหัวเสมอไป การที่เหรียญถูกถ่วงไว้เพียงแต่ทำให้เมื่อทอยเหรียญนั้นซ้ำกันหลายๆ ครั้งแล้ว ความถี่ที่เหรียญออกหัวจะต้องมากกว่าความถี่ที่เหรียญออกก้อยอย่างแน่นอนในระยะยาว อันเป็นไปตามกฎของค่าเฉลี่ย (Law of average)
ในการทอยเหรียญครั้งนั้น ถ้าบังเอิญเหรียญออกก้อยขึ้นมา การวัดผลโดยดูจากผลงานเป็นสำคัญจะต้องถือว่าคนที่ตัดสินใจเลือกทายว่าเหรียญออกหัวนั้นเป็นผู้ที่มีผลงานที่บกพร่อง ทั้งที่จริงๆ แล้ว การตัดสินใจเช่นนั้นเป็นการตัดสินใจที่สมเหตุผล ในขณะที่ คนที่ชอบวัดดวงโดยการเสี่ยงทายว่าเหรียญจะออกก้อยกลับจะเป็นผู้ที่ได้รับคำชมเชยไป
การลงทุนก็เป็นการตัดสินใจภายใต้สถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอน บางครั้งการตัดสินใจเลือกลงทุนในหุ้นตัวหนึ่งที่ทำอย่างละเอียดรอบคอบอาจให้ผลลัพธ์ที่ไม่น่าประทับใจก็ได้ ในขณะที่บางครั้งการสุ่มเลือกซื้อหุ้นบางตัวขึ้นมาแบบมั่วๆ กลับทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า การวัดผลการลงทุนจึงควรวัดจากวิธีการว่าได้ทำอย่างละเอียดรอบคอบโดยอาศัยหลักการลงทุนที่สมเหตุสมผลแล้วหรือไม่มากกว่าที่จะวัดจากผลลัพธ์ที่ออกมา ในการตัดสินใจลงทุนเพียงหนึ่งครั้งนั้น คนที่มีหลักการลงทุนที่มีเหตุผลมากกว่าอาจจะแพ้คนที่มีใช้วิธีการเลือกหุ้นแบบส่งเดชก็ได้ แต่ในระยะยาวแล้วคนที่มีหลักการลงทุนที่ดีกว่าย่อมต้องทำผลงานได้ดีกว่าอย่างแน่นอน
เช่นนี้แล้วเวลาที่คุณลงทุนผิดพลาดไปสักครั้งหนึ่ง ก็ไม่ควรด่วนสรุปว่าหลักการลงทุนที่ใช้อยู่เป็นหลักการที่ผิดพลาด การตัดสินผลงานของบรรดากองทุนรวมต่างๆ หรือแม้แต่ผลงานของพอร์ตการลงทุนของคุณเองก็เช่นเดียวกัน ไม่ควรตัดสินจากผลงานในช่วงเวลาสั้นๆ ที่ซึ่งความไม่แน่นอนยังบดบังความสามารถที่แท้จริงเอาไว้อยู่ ลองพิจารณาผลการดำเนินงานของกองทุนรวม Legg Mason Value Trust Fund ซึ่งเป็นกองทุนรวมเพียงกองทุนเดียวในสหรัฐฯ จากจำนวนทั้งหมดนับพันๆ กองที่สามารถเอาชนะดัชนี S&P 500 ได้ทุกปีเป็นเวลา 15 ปีติดต่อกัน
สถิติตั้งแต่จัดตั้งกองทุนจนถึงปัจจุบัน (รวม 24 ปี)
ความถี่ที่ผลการดำเนินงานของกองทุนเอาชนะตลาดได้เมื่อวัดผลเป็นรายวัน : 51.9%
ความถี่ที่ผลการดำเนินงานของกองทุนเอาชนะตลาดได้เมื่อวัดผลเป็นรายเดือน : 54.0%
ความถี่ที่ผลการดำเนินงานของกองทุนเอาชนะตลาดได้เมื่อวัดผลเป็นรายไตรมาส : 56.3%
ความถี่ที่ผลการดำเนินงานของกองทุนเอาชนะตลาดได้เมื่อวัดผลเป็นรายปี : 83.3%
จะเห็นได้ว่า เมื่อวัดผลงานเป็นรายวัน กองทุนที่เก่งที่สุดในตลาดสามารถเอาชนะตลาดได้เพียง 51.9% หรือเก่งกว่าการใช้เหรียญบาทเสี่ยงทายเพียงแค่ 1.9% เท่านั้น แต่ถ้ายิ่งวัดผลงานเป็นช่วงที่ยาวขึ้นเรื่อยๆ กองทุนที่เก่งที่สุดนี้จะผลงานที่ทิ้งห่างดัชนีอย่างชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ แสดงให้เห็นว่าในระยะยาวแล้ว กฏแห่งค่าเฉลี่ยจะค่อยๆ แยกนักลงทุนที่เก่งออกจากนักลงทุนทั่วไป ดังนั้น การจะตัดสินว่าหลักการลงทุนที่คุณใช้อยู่เป็นหลักการที่ได้ผลหรือไม่จึงควรเป็นการวัดผลงานในระยะยาวยิ่งยาวเท่าไรก็ยิ่งดีเท่านั้น ในทำนองเดียวกัน ไม่มีความจำเป็นแต่ประการใดที่คุณจะต้องพยายามเอาชนะตลาดให้ได้ ทุกวัน ทุกเดือน หรือแม้แต่ทุกไตรมาส การตั้งเป้าหมายเช่นนั้นจะบีบบังคับให้คุณกลายเป็นนักลงทุนที่คิดสั้น ซึ่งจะส่งผลเสียต่อผลงานของพอร์ตของคุณในระยะยาวได้