ผู้แพ้เห็นปัญหาในโอกาส คนชนะเห็นโอกาสในปัญหา
โพสต์แล้ว: พุธ พ.ย. 12, 2003 10:36 am
วันนี้ ผมได้เอาหนังสือ ชีวะประวัติของท่านนายกทักษิณ ตามองดาว เท้าติดดิน
ซึ่งเรียบเรียง โดย วัลยา ซึ่งจัดพิมพ์ครั้งแรกใน นิตยสารมติชนสุดสัปดาห์ และ รวมเล่มครั้งแรกเมื่อ เม.ย. 2542
เล่มที่ผมซื้อมาอ่านนี้ พิมพ์ครั้งที่ 17 เมื่อ ก.ค. 2546
ผมอาจจะเชยที่เพิ่งหยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาอ่าน
แต่ผมก็ยังนึกว่ายังไม่สาย ที่ผมได้อ่าน ได้เห็นแนวความคิดของท่าน ตั้งแต่ท่านยังไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรี
ท่านพูด ถึงการบริหารที่ผมชอบมาก
เมื่อท่านมาเป็นนายก
สิ่งที่ท่านพูดไว้ได้สะท้อนออกมา ในผลงานโครงการของรัฐบาลที่ออกมาโดยไม่ขาดสาย
เพราะการเป็นผู้นำที่กล้าตัดสินใจ และ การกระจายอำนาจในการตัดสินใจ
โดยที่กระจายอำนาจ ให้ผู้ว่า ซีอีโอ
และ เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ท่านได้ กระจายอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี ให้ตัดสินใจทุกเรื่องที่รับผิดชอบรวมทั้งงบประมาณ
โดยตัวท่านจะทุ่มเท ไปทางการติดต่อกับต่างประเทศ และการขยายตลาดการค้ากับต่างประเทศ
ในหน้า 151 ในหนังสือ ตาดูดาว เท้าติดดิน
ท่านพูดว่า
%%%%%%
ผมให้ความสำคัญกับเรื่อง การตัดสินใจ ของบุคลากรหรือผู้บริหารมากที่สุด
ความเป็นผู้นำนอกจากควรมีสมบัติใฝ่หาความรู้ เท่าทันความเปลี่ยนแปลงและมีวิสัยทัศน์แล้ว ยังต้องเชี่ยวชาญในการบริหารให้คนที่เราเลือกเข้ามาหรือผู้ตาม ปฏิบัติไปสู่จุดที่ผู้นำคาดหวังไว้ด้วย
ผมพยายามกระตุ้นให้คนทำงานของผมรู้จักคิด เพราะธุรกิจคือความคิด ดังนั้น ผมจึงชื่นชอบผู้บริหารที่กล้าตัดสินใจมากกว่าที่ไม่กล้าตัดสินใจ
ถ้าไม่กล้าตัดสินใจ สิ่งที่ผิดก็ไม่ได้รับการแก้ไข สิ่งที่ต้องทำต้องปฏิบัติ ก็ไม่ถูกทำหรือมีการปฏิบัติ กิจการต่างๆ มันจะดำเนินไปได้อย่างไร
ส่วนเมื่อตัดสินใจแล้วผิดพลาด ผมจะเข้าใจและให้อภัยเสมอ เนื่องจากหากตัดสินใจผิด และรู้ตัวว่าผิดก็สามารถแก้ไขได้ แต่ถ้ามันถูก มันก็สำเร็จเลย ซึ่งเกิดประโยชน์มหาศาล
นอกจากนั้น การมีบุคลากรที่มีวิจารณญาณในการตัดสินใจดี ยังช่วยทำให้ขั้นตอนการทำงานกระชับ กะทัดรัดได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยทุกอย่างไม่จำเป็นต้องรวมศูนย์เข้ามาหาประธานแบบระบบเถ่าแก่ในสมัยก่อน
ผมถือว่าผู้บริหารที่ไม่กล้าตัดสินใจคือ คนครึ่งคน ผมจะไม่เก็บไว้ในบริษัทเพราะเป็นการเสียเวลา คนไม่ตัดสินใจจะทำให้บริษัทเสียโอกาส การทำธุรกิจก็เสี่ยงอยู่แล้ว เราจะใช้คนที่ไม่กล้าตัดสินใจเพื่อเพิ่มความเสี่ยงให้กับธุรกิจของเราอีกทำไม
ผมจึงให้อำนาจการตัดสินใจกับผู้บริหารสูงมาก โดยตัวผมจะทำหน้าที่พี่เลี้ยงเท่านั้น คอยดูแลกำกับเฉพาะกรณีสำคัญ จนคนทำงานแต่ละคนสามารถตัดสินใจในเรื่องใหญ่ๆแทนผมได้หมด และด้วยเหตุผลนี้เอง ผมจึงสามารถวางมือได้ดังตั้งใจ เนื่องจากตัวเองไม่ต้องมาคอยนั่งเป็นประธานว่าการมันไปทุกเรื่องนั่นเอง
%%%%%%%%%%
และในช่วงที่ท่านทำธุรกิจล้มเหลว จากการทำร้านผ้าไหม โรงหนัง เป็นหนี้ธนาคารถึง 30 ล้าน
ท่านกล่าวไว้ในหน้า 104 ว่า
ผมมีนิสัยอย่างหนึ่งคือไม่ชอบแพ้ ไม่ยอมปล่อยให้ตัวเองถึงทางตันแล้วค่อยหาทางออก ด้วยเหตุนี้เอง ก่อนกิจการภาพยนต์จะดิ่งลงต่ำสุดผมก็ขยับไปสู่ธุรกิจอื่นแล้ว
( และ คำพูดข้างล่างนี้ก็เหมาะสำหรับนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์อย่างพวกเราในช่วงนี้ ท่านพูดไว้ว่า )
ผู้แพ้เห็นปัญหาทุกครั้งที่มีโอกาส ส่วนคนชนะเห็นโอกาสทุกครั้งที่มีปัญหา แม้ว่าโอกาสที่เห็นนั้นอาจสำเร็จหรือพลั้งพลาดบ้างในภายหลัง
(ท่าน ทุบโรงหนัง แล้วสร้างคอนโดมีเนียน และแล้วท่านก็พลาดอีก กลายเป็นต้องเป็นหนี้ธนาคาร ถึง 200 ล้าน บาท ท่านก็เดินหน้าสู่ธุรกิจอื่นอีกต่อไป จนมาประสบความสำเร็จ ในธุรกิจโทรคมนาคม ดังปัจจุบัน)
ซึ่งเรียบเรียง โดย วัลยา ซึ่งจัดพิมพ์ครั้งแรกใน นิตยสารมติชนสุดสัปดาห์ และ รวมเล่มครั้งแรกเมื่อ เม.ย. 2542
เล่มที่ผมซื้อมาอ่านนี้ พิมพ์ครั้งที่ 17 เมื่อ ก.ค. 2546
ผมอาจจะเชยที่เพิ่งหยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาอ่าน
แต่ผมก็ยังนึกว่ายังไม่สาย ที่ผมได้อ่าน ได้เห็นแนวความคิดของท่าน ตั้งแต่ท่านยังไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรี
ท่านพูด ถึงการบริหารที่ผมชอบมาก
เมื่อท่านมาเป็นนายก
สิ่งที่ท่านพูดไว้ได้สะท้อนออกมา ในผลงานโครงการของรัฐบาลที่ออกมาโดยไม่ขาดสาย
เพราะการเป็นผู้นำที่กล้าตัดสินใจ และ การกระจายอำนาจในการตัดสินใจ
โดยที่กระจายอำนาจ ให้ผู้ว่า ซีอีโอ
และ เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ท่านได้ กระจายอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี ให้ตัดสินใจทุกเรื่องที่รับผิดชอบรวมทั้งงบประมาณ
โดยตัวท่านจะทุ่มเท ไปทางการติดต่อกับต่างประเทศ และการขยายตลาดการค้ากับต่างประเทศ
ในหน้า 151 ในหนังสือ ตาดูดาว เท้าติดดิน
ท่านพูดว่า
%%%%%%
ผมให้ความสำคัญกับเรื่อง การตัดสินใจ ของบุคลากรหรือผู้บริหารมากที่สุด
ความเป็นผู้นำนอกจากควรมีสมบัติใฝ่หาความรู้ เท่าทันความเปลี่ยนแปลงและมีวิสัยทัศน์แล้ว ยังต้องเชี่ยวชาญในการบริหารให้คนที่เราเลือกเข้ามาหรือผู้ตาม ปฏิบัติไปสู่จุดที่ผู้นำคาดหวังไว้ด้วย
ผมพยายามกระตุ้นให้คนทำงานของผมรู้จักคิด เพราะธุรกิจคือความคิด ดังนั้น ผมจึงชื่นชอบผู้บริหารที่กล้าตัดสินใจมากกว่าที่ไม่กล้าตัดสินใจ
ถ้าไม่กล้าตัดสินใจ สิ่งที่ผิดก็ไม่ได้รับการแก้ไข สิ่งที่ต้องทำต้องปฏิบัติ ก็ไม่ถูกทำหรือมีการปฏิบัติ กิจการต่างๆ มันจะดำเนินไปได้อย่างไร
ส่วนเมื่อตัดสินใจแล้วผิดพลาด ผมจะเข้าใจและให้อภัยเสมอ เนื่องจากหากตัดสินใจผิด และรู้ตัวว่าผิดก็สามารถแก้ไขได้ แต่ถ้ามันถูก มันก็สำเร็จเลย ซึ่งเกิดประโยชน์มหาศาล
นอกจากนั้น การมีบุคลากรที่มีวิจารณญาณในการตัดสินใจดี ยังช่วยทำให้ขั้นตอนการทำงานกระชับ กะทัดรัดได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยทุกอย่างไม่จำเป็นต้องรวมศูนย์เข้ามาหาประธานแบบระบบเถ่าแก่ในสมัยก่อน
ผมถือว่าผู้บริหารที่ไม่กล้าตัดสินใจคือ คนครึ่งคน ผมจะไม่เก็บไว้ในบริษัทเพราะเป็นการเสียเวลา คนไม่ตัดสินใจจะทำให้บริษัทเสียโอกาส การทำธุรกิจก็เสี่ยงอยู่แล้ว เราจะใช้คนที่ไม่กล้าตัดสินใจเพื่อเพิ่มความเสี่ยงให้กับธุรกิจของเราอีกทำไม
ผมจึงให้อำนาจการตัดสินใจกับผู้บริหารสูงมาก โดยตัวผมจะทำหน้าที่พี่เลี้ยงเท่านั้น คอยดูแลกำกับเฉพาะกรณีสำคัญ จนคนทำงานแต่ละคนสามารถตัดสินใจในเรื่องใหญ่ๆแทนผมได้หมด และด้วยเหตุผลนี้เอง ผมจึงสามารถวางมือได้ดังตั้งใจ เนื่องจากตัวเองไม่ต้องมาคอยนั่งเป็นประธานว่าการมันไปทุกเรื่องนั่นเอง
%%%%%%%%%%
และในช่วงที่ท่านทำธุรกิจล้มเหลว จากการทำร้านผ้าไหม โรงหนัง เป็นหนี้ธนาคารถึง 30 ล้าน
ท่านกล่าวไว้ในหน้า 104 ว่า
ผมมีนิสัยอย่างหนึ่งคือไม่ชอบแพ้ ไม่ยอมปล่อยให้ตัวเองถึงทางตันแล้วค่อยหาทางออก ด้วยเหตุนี้เอง ก่อนกิจการภาพยนต์จะดิ่งลงต่ำสุดผมก็ขยับไปสู่ธุรกิจอื่นแล้ว
( และ คำพูดข้างล่างนี้ก็เหมาะสำหรับนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์อย่างพวกเราในช่วงนี้ ท่านพูดไว้ว่า )
ผู้แพ้เห็นปัญหาทุกครั้งที่มีโอกาส ส่วนคนชนะเห็นโอกาสทุกครั้งที่มีปัญหา แม้ว่าโอกาสที่เห็นนั้นอาจสำเร็จหรือพลั้งพลาดบ้างในภายหลัง
(ท่าน ทุบโรงหนัง แล้วสร้างคอนโดมีเนียน และแล้วท่านก็พลาดอีก กลายเป็นต้องเป็นหนี้ธนาคาร ถึง 200 ล้าน บาท ท่านก็เดินหน้าสู่ธุรกิจอื่นอีกต่อไป จนมาประสบความสำเร็จ ในธุรกิจโทรคมนาคม ดังปัจจุบัน)