นี่ก็อุตสาหกรรมรถยนต์อีก
โพสต์แล้ว: อังคาร เม.ย. 29, 2003 9:23 pm
ส่งออกอุตฯ ยานยนต์ไตรมาสแรก 3.5 หมื่นล้าน
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในช่วงไตรมาสแรก (ม.ค.-มี.ค.) อุตสาหกรรมรถยนต์และรถจักรยานยนต์ไทย มีการส่งออกที่ขยายตัวอย่างชัดเจน โดยมีมูลค่ารวมทั้งอุตสาหกรรม 3.47 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 44%
โดยในส่วนของรถยนต์สำเร็จรูป (CBU) มีตัวเลขการส่งออกรวม 5.14 หมื่นคัน เพิ่มขึ้น 42% คิดเป็นมูลค่า 2.26 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 37% อย่างไรก็ตาม ในส่วนการส่งออกเครื่องยนต์ ลดลง 11% โดยมีมูลค่ารวม 1,266 ล้านบาท แต่ว่าการส่งออกชิ้นส่วนประกอบ และอะไหล่ ก็ยังคงมีตัวเลขการเติบโต โดยชิ้นส่วนมีมูลค่ารวม 6,620 ล้านบาท มากกว่าปีที่แล้ว 97% และอะไหล่รถยนต์ 498 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12%
ทางด้านอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์เริ่มต้นปีด้วยดี เมื่อการส่งออกมีการเติบโตในทุกสินค้า โดยในส่วนของการส่งออกทั้งรูปแบบซีบียู และชิ้นส่วนประกอบ (CKD) รวม 1.22 แสนคัน เพิ่มขึ้น 25% คิดเป็นมูลค่า 1,947 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 41% ทางด้านชิ้นส่วนมีการส่งออก 1,183 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 52% และอะไหล่ 551 เพิ่มขึ้น 155%
นายสุรพงษ์ กล่าวว่า ในด้านตัวเลขการผลิตช่วงไตรมาสแรกปีนี้ ก็มีการเติบโตเช่นกัน อันเป็นผลมาจากการที่ตลาดรถยนต์ขยายตัวทั้งตลาดในประเทศ และตลาดต่างประเทศ ซึ่งยอดรวมรถทุกประเภทมีทั้งสิ้น 1.62 แสนคัน เติบโต 43% โดยรถที่มีการผลิตสูงสุด คือปิกอัพ 1 ตัน 9.6 หมื่นคัน หรือเท่ากับ 59% ของการผลิตทั้งหมด และมากกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 32% และในจำนวนนี้เป็นการผลิตเพื่อส่งออก 3.3 หมื่นคัน
ทางด้านรถยนต์นั่งได้รับผลจากการเปิดตัวรถขนาดกลางและเล็กรุ่นใหม่ ที่ทำให้ความต้องการของตลาดขยายตัวอย่างชัดเจน ส่งผลให้การผลิตเพิ่มขึ้น 72% ด้วยยอด 6.14 หมื่นคัน ในจำนวนนี้เป็นการผลิตเพื่อส่งออก 1.79 หมื่นคัน เพิ่มขึ้น 86%--จบ--
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในช่วงไตรมาสแรก (ม.ค.-มี.ค.) อุตสาหกรรมรถยนต์และรถจักรยานยนต์ไทย มีการส่งออกที่ขยายตัวอย่างชัดเจน โดยมีมูลค่ารวมทั้งอุตสาหกรรม 3.47 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 44%
โดยในส่วนของรถยนต์สำเร็จรูป (CBU) มีตัวเลขการส่งออกรวม 5.14 หมื่นคัน เพิ่มขึ้น 42% คิดเป็นมูลค่า 2.26 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 37% อย่างไรก็ตาม ในส่วนการส่งออกเครื่องยนต์ ลดลง 11% โดยมีมูลค่ารวม 1,266 ล้านบาท แต่ว่าการส่งออกชิ้นส่วนประกอบ และอะไหล่ ก็ยังคงมีตัวเลขการเติบโต โดยชิ้นส่วนมีมูลค่ารวม 6,620 ล้านบาท มากกว่าปีที่แล้ว 97% และอะไหล่รถยนต์ 498 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12%
ทางด้านอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์เริ่มต้นปีด้วยดี เมื่อการส่งออกมีการเติบโตในทุกสินค้า โดยในส่วนของการส่งออกทั้งรูปแบบซีบียู และชิ้นส่วนประกอบ (CKD) รวม 1.22 แสนคัน เพิ่มขึ้น 25% คิดเป็นมูลค่า 1,947 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 41% ทางด้านชิ้นส่วนมีการส่งออก 1,183 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 52% และอะไหล่ 551 เพิ่มขึ้น 155%
นายสุรพงษ์ กล่าวว่า ในด้านตัวเลขการผลิตช่วงไตรมาสแรกปีนี้ ก็มีการเติบโตเช่นกัน อันเป็นผลมาจากการที่ตลาดรถยนต์ขยายตัวทั้งตลาดในประเทศ และตลาดต่างประเทศ ซึ่งยอดรวมรถทุกประเภทมีทั้งสิ้น 1.62 แสนคัน เติบโต 43% โดยรถที่มีการผลิตสูงสุด คือปิกอัพ 1 ตัน 9.6 หมื่นคัน หรือเท่ากับ 59% ของการผลิตทั้งหมด และมากกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 32% และในจำนวนนี้เป็นการผลิตเพื่อส่งออก 3.3 หมื่นคัน
ทางด้านรถยนต์นั่งได้รับผลจากการเปิดตัวรถขนาดกลางและเล็กรุ่นใหม่ ที่ทำให้ความต้องการของตลาดขยายตัวอย่างชัดเจน ส่งผลให้การผลิตเพิ่มขึ้น 72% ด้วยยอด 6.14 หมื่นคัน ในจำนวนนี้เป็นการผลิตเพื่อส่งออก 1.79 หมื่นคัน เพิ่มขึ้น 86%--จบ--