หน้า 1 จากทั้งหมด 1

อยากทราบวิธีการหาราคาหุ้นที่แท้จริง เพื่อเปรียบเทียบกับราคา

โพสต์แล้ว: พุธ มิ.ย. 14, 2006 4:24 pm
โดย ging17
ตอนนี้กำลังดูอยู่หลายตัวครับ สนใจทางด้านปัจจัยพื้นฐานนะครับ อ่านหนังสือมาหลายเล่มแล้ว แต่ไม่ค่อยค่อยใจเลยขอรบกวนหน่อยครับ อยากถามว่า
1. วิธีในการคำนวณหาราคาที่แท้จริง เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบกับราคาหุ้นปัจจุบัน มีกี่วิธีครับ แล้วคำนวณหายังไง ทั้งหุ้นที่จ่ายปันผล และไม่จ่ายปันผลนะครับ

2. ยกตัวอย่างในการคำนวณหุ้นให้ดูซัก 2-3 ตัวนะครับ ขอแบบละเอียดหน่อยนะครับ จะได้เก็บหุ้นเข้าพอร์ตซะที


ขอบคุณครับ

อยากทราบวิธีการหาราคาหุ้นที่แท้จริง เพื่อเปรียบเทียบกับราคา

โพสต์แล้ว: พุธ มิ.ย. 14, 2006 7:53 pm
โดย 007-s
ลองขึ้นไปอ่าน ทู้ ตระแกรงร่อน ที่ปักอยู่ด้านบน สิคะ

หนาหน่อย ค่อยๆอ่านค่ะ :D

อยากทราบวิธีการหาราคาหุ้นที่แท้จริง เพื่อเปรียบเทียบกับราคา

โพสต์แล้ว: อังคาร มิ.ย. 20, 2006 4:09 pm
โดย ss_apiwat
การหามูลค่าที่แท้จริง คงหมายถึงการหา Intrinsic Value ซึ่งจริงๆ แล้วมีหลายแนวคิด แต่แนวคิดนึงที่น่าสนใจ คือ แนวคิดของวอร์เรน บัฟเฟต ซึ่งเค้าอธิบายไว้ว่า Intrinsic Value หมายถึง มูลค่าของเงินที่จะได้ในอนาคตตลอดอายุของมัน โดยใช้อัตราคิดลดที่เหมาะสม เพื่อแปลงมูลค่าให้เป็นปัจจุบัน สำหรับบัพเฟตต์เอง จะลงทุนในหุ้นที่ราคาต่ำกว่า Intrinsic Value ซึ่ง ณ ราคานี้อาจจะมีมูลค่าสูงกว่า Book Value หลายเท่าก็ได้ ความแตกต่างระหว่าง Book Value และ Intrinsic Value บัพเฟตต์ ยกตัวอย่างดังนี้ (จริงๆ แล้ว เค้าไม่ได้ยกตัวเลขมา แต่ผมจะลองสมมติตัวเลขให้นะครับ เพื่อความเข้าใจ) โดยเค้ายกตัวอย่างเกี่ยวกับการเรียนหนังสือครับ สมมติว่า มีเด็กอยู่ 2 สอง ซึ่งเรียนจบชั้น ม.6 ทั้งคู่ คนนึงจบแล้วได้ทำงานทันที แต่อีกคนนึงเรียนต่อปริญญาตรีซึ่งในระหว่างเรียน ป.ตรีมีค่าใช้จ่ายประมาณ 120,000 บาท (เทอมละประมาณ 15,000 รวม 8 เทอม)ซึ่งซึ่งนั่นคือ Book Value นั่นเอง ต่อมาเมื่อนำรายได้เด็กสองคนนั้นมาเปรียบเทียบกัน สมมติเงินเดือนตามอัตราของราชการแล้วกันครับง่ายดี วุฒิ ม. 6 เงินเดือนประมาณ 4,700 บาท ป.ตรี เงินเดือน 6,300 บาท ทั้งนี้ผมไม่คิดถึงการเพิ่มเงินเดือนตามอายุงานนะครับ โดยคิดระยะเวลาการทำงาน 30 ปี (คิดว่าคงเกษียณช่วงนี้) สำหรับอัตราคิดลด บัพเฟตบอกว่าให้ใช้อัตราที่เหมาะสม ซึ่งเท่าที่อ่านงานของเค้าจะใช้อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว ประมาณ 6.5% ซึ่งจะได้ดังนี้ครับ

ปี 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 .......... 30

ป.ตรี 6,300 6,300 6,300 6,300 6,300 6,300 6,300 6,300 6,300 6,300     6,300

ม.6 4,700 4,700 4,700 4,700 4,700 4,700 4,700 4,700 4,700 4,700     4,700

ส่วนต่าง   1,600 1,600 1,600 1,600 1,600 1,600 1,600 1,600 1,600 1,600     1,600

ซึ่งจากตัวเลข เมื่อแปลงมูลค่าเงินส่วนต่างในอนาคตเป็นมูลค่าเงินในปัจจุบัน (ใช้โปรแกรม Excel จะง่ายมาก) จะได้เท่ากับ 20,894 บาท ซึ่งค่านี้เองที่เรียกว่า Intrinsic Value

บัพเฟตต์เอง อธิบายไว้ว่าหากค่า Intrinsic Value มีค่าสูงกว่า Book Value ก็แสดงว่าเงินที่ใช้ในการเรียนหนังสือเป็นการลงทุนที่ฉลาดทีเดียว แต่หากว่า Intrinsic Value ต่ำกว่า Book Value การเรียนหนังสือนั่นเป็นเรื่องไร้ความหมาย

หากดูจากตัวอย่างที่ยกตัวเลขให้ดูแล้ว Intrinsic Value = 20,894 บาท ในขณะที่ Book Value = 120,000 ก็จะพบว่า การเรียน ป.ตรี เป็นการลงทุนที่ไม่ดีเลย (จริงๆ แล้ว สรุปแบบนี้ไม่ค่อยถูกเท่าไร มันมีอะไรมากกว่านี้ เช่น ถ้าเรียน ป.ตรี จะสามารถก้าวหน้าในอาชีพได้สูงกว่าและเร็วกว่า ซึ่งเรื่องนั่น ผมไม่ได้เอามาคำนวณด้วย)

สำหรับผู้สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้จาก http://www.berkshirehathaway.com/ownman.pdf