อย่างนี้เค้าเรียก ซุก แล้ว ชิ่ง ... หรือเปล่าครับ ?
โพสต์แล้ว: ศุกร์ มิ.ย. 02, 2006 8:21 am
"ผอ.ฝ่ายบัญชี-กก.ตรวจสอบ"..แห่ลาออก สงสัยไว้ก่อน (อาจ) "ซ่อนขยะ" ไว้ใต้พรม
"ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี" และ "กรรมการตรวจสอบ" บริษัทในตลาดหุ้น..หนี "มือพอง" ชิ่ง "ลาออก" ไปแล้วกว่า 20 บริษัท คาดเซ็นรับรองงบการเงินไตรมาส 1/2549 อาจ "ซ่อนขยะ" ไว้ใต้พรม..ผลการดำเนินงานบริษัทเหล่านี้ "ขาดทุน-กำไรร่วง" ระนาว
นับตั้งแต่ต้นปี 2549 จนถึงปัจจุบัน ภายหลังบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ประกาศงบการเงินไตรมาส 1 ปี 2549 ปรากฏการณ์ข้อมูลที่น่าวิตกว่า มีผู้บริหารฝ่ายการเงิน และกรรมการตรวจสอบ ของ บจ. มากกว่า 20 บริษัท ต่างทยอยลาออกกันอย่างเงียบๆ
ท่ามกลางข้อมูล "งบการเงิน" ของบริษัทหลายแห่ง ถูกผู้ตรวจสอบบัญชี..ไม่รับรองความถูกต้อง
สำหรับหุ้นที่ประกาศผลประกอบการไตรมาส 1 ออกมาแล้ว โดยผู้สอบบัญชีไม่สามารถให้ความเชื่อมั่นต่องบการเงินฉบับดังกล่าว และสำนักงาน ก.ล.ต. อาจสั่งให้บริษัทต้องแก้ไขงบการเงิน
ได้แก่ งบการเงินของ บริษัท เพาเวอร์-พี (POWER) บริษัท อีสเทิร์นไวร์ (EWC) บริษัท บีเอ็นที เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ (BNT) บริษัท บางกอกรับเบอร์ (BRC) บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล (POMPUI) บริษัท เซ็นทรัลอุตสาหกรรมกระดาษ (CPICO) และ บริษัท แมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป (MGR)
ส่วน บริษัท ปิคนิค คอร์ปอเรชั่น (PICNI) ได้ขอเลื่อนการนำส่งงบการเงินงวดไตรมาส 1 ขณะที่งบการเงินงวดประจำปี 2548 ผู้สอบบัญชีก็ไม่รับรองความถูกต้อง
แต่ประเด็นที่น่าสนใจ ก็คือ เพียงไม่ถึง 5 เดือน (ม.ค.-พ.ค.) มีสัญญาณบางอย่างที่ระบุชัดว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงบการเงินของบริษัท อาจพบความผิดปกติบางอย่าง..กลัวว่าตัวเองต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบ จึงได้เลือกแนวทางการ "ลาออก" เป็นคำตอบสุดท้าย
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "กรรมการตรวจสอบ" ซึ่งถูกกำหนดขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบไว้อย่างชัดเจน คือ 1. สอบทานให้บริษัทมีรายงานทางการเงินอย่างถูกต้อง ครบถ้วน เชื่อถือได้ 2. ดูแลให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ 3. ให้ความเห็นในการแต่งตั้งผู้สอบบัญชี 4. ให้ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย 5. พิจารณารายการเกี่ยวโยงที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์
ทั้งหมดนี้ คือ หน้าที่หลักๆ ของ "กรรมการตรวจสอบ" เพราะฉะนั้น การลาออกจากตำแหน่งก่อนครบวาระ..จึงเป็นประเด็นที่ไม่ปกติ
ด้านบริษัทที่ผู้ที่รับผิดชอบ(หลัก)เกี่ยวกับงบการเงิน ขอ "ลาออก" ไปแล้ว เริ่มตั้งแต่ "วนิดา วรสินวัฒนา" ผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน ของ บริษัท แกรนด์ แอสเสท ดีเวลลอปเม้นท์ (GRAND) โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2549 ก่อนหน้านั้น "อนุพันธ์ สินาคม" รองประธานบริหารฝ่ายขายและการตลาด ของ GRAND ก็ได้ขอลาออกไปก่อนแล้ว
"สุวัจ ตัณฑ์กำเนิด" ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีและการเงิน บริษัท วินโคสท์ อินดัสเทรียล พาร์ค (WIN) ก็เพิ่งขอลาออกไป โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2549 "เกรียงไกร เศรษฐไกรกุล" กรรมการอิสระ และ กรรมการตรวจสอบ บริษัท อาร์เอส (RS) ลาออกมีผลตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2549
"เจมส์ แพทริค เคลลี่" กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย (SINGER) ก็ขอลาออกจากตำแหน่ง เพราะมีส่วนทำให้บริษัท "ขาดทุน" อย่างหนัก เพื่อเปิดทางให้ "ขวัญชัย โหมดประดิษฐ์" อดีตผู้บริหารจากค่าย "แคปปิตอล โอเค" มานั่งแทน
อีกคนที่ขอลาออก คือ "จินตนา ธีรภานุ" กรรมการ และ ผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน บริษัท กู๊ดเยียร์ (ประเทศไทย) "ประเสริฐ กุลสมภพ" กรรมการ และกรรมการตรวจสอบ บริษัท คาสเซ่อร์พีค โฮลดิ้งส์ (CPH) "สมพร เวชพาณิชย์" กรรมการ และ ประธานกรรมการตรวจสอบ บริษัท ฮั้วฟง รับเบอร์ (ไทยแลนด์) และ "ศักดิ์ชัย วัฒนเดชะกุล" ผู้อำนวยการสายบัญชีและการเงิน บริษัท แมงป่อง (PONG) ก็ได้ยื่นหนังสือขอลาออกจากตำแหน่งรับผิดชอบด้านการเงินของบริษัท
ด้านบริษัท เอ็นอีพี อสังหาริมทรัพย์และอุตสาหกรรม (NEP) มีผู้บริหารในตำแหน่งสำคัญขอลาออก คือ "นิสันติ์ ประธานราษฎร์นิกร" กรรมการผู้จัดการบริษัท และ "พลโท ปริญญา ชัยสุกวัฒน์" ขอลาออกจากตำแหน่งกรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ
ขณะที่ บริษัท เพาเวอร์-พี (POWER) มีกรรมการ และผู้บริหารขอลาออกเป็นจำนวนมาก ที่น่าจับตา คือ "รพี อสัมภินพงศ์" กรรมการตรวจสอบของบริษัท และ "วันชัย ดีเมฆ" ผู้บริหารในตำแหน่งกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ที่ยื่นหนังสือลาออก ตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน 2549
"ร้อยตรี เสรี โอสถานุเคราะห์" กรรมการและกรรมการตรวจสอบ ของบริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ (NWR) ก็แจ้งการลาออก เช่นเดียวกับ "สุรัตน์ ลีลาทวีวัฒน์" ผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน บริษัท ผลิตภัณฑ์คอนกรีตชลบุรี (CCP) "เสน่ห์ ปานจันทร์" กรรมการและกรรมการตรวจสอบ บริษัท บางสะพานบาร์มิล (BSBM) และ "ทรงวุฒิ ชินวัตร" กรรมการ และกรรมการตรวจสอบ ของ บริษัท สตาร์ ซานิทารีแวร์ (STAR) ก็ได้แสดงความประสงค์ยื่นหนังสือลาออกต่อบริษัท
กรรมการบริษัท โกลเบล็ก โฮลดิ้ง แมนเนจเม้นท์ (GBX) "ช่วงชัย นะวงศ์" ที่นั่งควบตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล.โกลเบล็ก ก็ยื่นใบลาออก โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2549 ที่จากไปพร้อมกับ "มาร์เก็ตติ้ง" ในสังกัดนับร้อยคน
ด้านบริษัท อกริเพียว โฮลดิ้งส์ (APURE) "คุณากร เมฆใจดี" และ "โอฬาร อุยะกุล" ซึ่งเป็นกรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ ของบริษัท ก็พร้อมใจกันขอลาออก..อย่างน่าสงสัย ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2549
บริษัท บางกอกรับเบอร์ (BRC) ซึ่งอยู่ระหว่างฟื้นฟูกิจการ ได้รับแจ้งจาก "ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช" ขอลาออกจากตำแหน่งกรรมการ และ ประธานกรรมการตรวจสอบ ในที่สุดผู้สอบบัญชีก็ไม่รับรองงบการเงินของบริษัท ขณะที่ "ชนิตร ชาญชัยณรงค์" กรรมการตรวจสอบ ของบริษัท โกลบอล คอนเน็คชั่นส์ (GC) ก็ขอลาออกก่อนครบวาระ
อีกคนที่น่าจับตา "ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์" ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการ และกรรมการตรวจสอบ ของบริษัท ยัวซ่า แบตเตอรี่ (ประเทศไทย) ก็ทิ้งบริษัทท่ามกลางตัวเลข "ขาดทุน" ที่โผล่ขึ้นจำนวนมาก
บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ (GOLD) มีกรรมการ และผู้บริหารตำแหน่งสำคัญๆ ลาออกจำนวนมาก อาทิเช่น "ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ" ขอลาออกจากกรรมการบริษัท ส่วน "ชาญชัย บัวชุม" ลาออกจากตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชี และการเงิน (CFO) ตั้งแต่ปลายปี 2548 ก่อนที่จะเห็น "กำไร" ปรากฏในงบการเงินไตรมาส 1 ปี 2549 ภายใต้ผลงานของ CFO คนใหม่ที่ชื่อ "วันชัย ศรีหิรัญรัศมี"
จากการตรวจสอบของทีมข่าว "กรุงเทพธุรกิจ BizWeek" ยังพบประเด็นที่น่าสังเกตอีกว่า บจ.ที่มีผู้บริหารฝ่ายการเงิน และกรรมการตรวจสอบ ยื่นหนังสือลาออก ส่วนใหญ่แล้วจะมีผลการดำเนินงานไตรมาส 1 ปี 2549 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ในบางบริษัทแสดงตัวเลข "ขาดทุน" จำนวนมากในงบการเงิน หรือไม่ก็มี "กำไรเทียม" ทางบัญชี "โป่ง" ให้เห็น
"ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี" และ "กรรมการตรวจสอบ" บริษัทในตลาดหุ้น..หนี "มือพอง" ชิ่ง "ลาออก" ไปแล้วกว่า 20 บริษัท คาดเซ็นรับรองงบการเงินไตรมาส 1/2549 อาจ "ซ่อนขยะ" ไว้ใต้พรม..ผลการดำเนินงานบริษัทเหล่านี้ "ขาดทุน-กำไรร่วง" ระนาว
นับตั้งแต่ต้นปี 2549 จนถึงปัจจุบัน ภายหลังบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ประกาศงบการเงินไตรมาส 1 ปี 2549 ปรากฏการณ์ข้อมูลที่น่าวิตกว่า มีผู้บริหารฝ่ายการเงิน และกรรมการตรวจสอบ ของ บจ. มากกว่า 20 บริษัท ต่างทยอยลาออกกันอย่างเงียบๆ
ท่ามกลางข้อมูล "งบการเงิน" ของบริษัทหลายแห่ง ถูกผู้ตรวจสอบบัญชี..ไม่รับรองความถูกต้อง
สำหรับหุ้นที่ประกาศผลประกอบการไตรมาส 1 ออกมาแล้ว โดยผู้สอบบัญชีไม่สามารถให้ความเชื่อมั่นต่องบการเงินฉบับดังกล่าว และสำนักงาน ก.ล.ต. อาจสั่งให้บริษัทต้องแก้ไขงบการเงิน
ได้แก่ งบการเงินของ บริษัท เพาเวอร์-พี (POWER) บริษัท อีสเทิร์นไวร์ (EWC) บริษัท บีเอ็นที เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ (BNT) บริษัท บางกอกรับเบอร์ (BRC) บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล (POMPUI) บริษัท เซ็นทรัลอุตสาหกรรมกระดาษ (CPICO) และ บริษัท แมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป (MGR)
ส่วน บริษัท ปิคนิค คอร์ปอเรชั่น (PICNI) ได้ขอเลื่อนการนำส่งงบการเงินงวดไตรมาส 1 ขณะที่งบการเงินงวดประจำปี 2548 ผู้สอบบัญชีก็ไม่รับรองความถูกต้อง
แต่ประเด็นที่น่าสนใจ ก็คือ เพียงไม่ถึง 5 เดือน (ม.ค.-พ.ค.) มีสัญญาณบางอย่างที่ระบุชัดว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงบการเงินของบริษัท อาจพบความผิดปกติบางอย่าง..กลัวว่าตัวเองต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบ จึงได้เลือกแนวทางการ "ลาออก" เป็นคำตอบสุดท้าย
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "กรรมการตรวจสอบ" ซึ่งถูกกำหนดขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบไว้อย่างชัดเจน คือ 1. สอบทานให้บริษัทมีรายงานทางการเงินอย่างถูกต้อง ครบถ้วน เชื่อถือได้ 2. ดูแลให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ 3. ให้ความเห็นในการแต่งตั้งผู้สอบบัญชี 4. ให้ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย 5. พิจารณารายการเกี่ยวโยงที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์
ทั้งหมดนี้ คือ หน้าที่หลักๆ ของ "กรรมการตรวจสอบ" เพราะฉะนั้น การลาออกจากตำแหน่งก่อนครบวาระ..จึงเป็นประเด็นที่ไม่ปกติ
ด้านบริษัทที่ผู้ที่รับผิดชอบ(หลัก)เกี่ยวกับงบการเงิน ขอ "ลาออก" ไปแล้ว เริ่มตั้งแต่ "วนิดา วรสินวัฒนา" ผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน ของ บริษัท แกรนด์ แอสเสท ดีเวลลอปเม้นท์ (GRAND) โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2549 ก่อนหน้านั้น "อนุพันธ์ สินาคม" รองประธานบริหารฝ่ายขายและการตลาด ของ GRAND ก็ได้ขอลาออกไปก่อนแล้ว
"สุวัจ ตัณฑ์กำเนิด" ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีและการเงิน บริษัท วินโคสท์ อินดัสเทรียล พาร์ค (WIN) ก็เพิ่งขอลาออกไป โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2549 "เกรียงไกร เศรษฐไกรกุล" กรรมการอิสระ และ กรรมการตรวจสอบ บริษัท อาร์เอส (RS) ลาออกมีผลตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2549
"เจมส์ แพทริค เคลลี่" กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย (SINGER) ก็ขอลาออกจากตำแหน่ง เพราะมีส่วนทำให้บริษัท "ขาดทุน" อย่างหนัก เพื่อเปิดทางให้ "ขวัญชัย โหมดประดิษฐ์" อดีตผู้บริหารจากค่าย "แคปปิตอล โอเค" มานั่งแทน
อีกคนที่ขอลาออก คือ "จินตนา ธีรภานุ" กรรมการ และ ผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน บริษัท กู๊ดเยียร์ (ประเทศไทย) "ประเสริฐ กุลสมภพ" กรรมการ และกรรมการตรวจสอบ บริษัท คาสเซ่อร์พีค โฮลดิ้งส์ (CPH) "สมพร เวชพาณิชย์" กรรมการ และ ประธานกรรมการตรวจสอบ บริษัท ฮั้วฟง รับเบอร์ (ไทยแลนด์) และ "ศักดิ์ชัย วัฒนเดชะกุล" ผู้อำนวยการสายบัญชีและการเงิน บริษัท แมงป่อง (PONG) ก็ได้ยื่นหนังสือขอลาออกจากตำแหน่งรับผิดชอบด้านการเงินของบริษัท
ด้านบริษัท เอ็นอีพี อสังหาริมทรัพย์และอุตสาหกรรม (NEP) มีผู้บริหารในตำแหน่งสำคัญขอลาออก คือ "นิสันติ์ ประธานราษฎร์นิกร" กรรมการผู้จัดการบริษัท และ "พลโท ปริญญา ชัยสุกวัฒน์" ขอลาออกจากตำแหน่งกรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ
ขณะที่ บริษัท เพาเวอร์-พี (POWER) มีกรรมการ และผู้บริหารขอลาออกเป็นจำนวนมาก ที่น่าจับตา คือ "รพี อสัมภินพงศ์" กรรมการตรวจสอบของบริษัท และ "วันชัย ดีเมฆ" ผู้บริหารในตำแหน่งกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ที่ยื่นหนังสือลาออก ตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน 2549
"ร้อยตรี เสรี โอสถานุเคราะห์" กรรมการและกรรมการตรวจสอบ ของบริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ (NWR) ก็แจ้งการลาออก เช่นเดียวกับ "สุรัตน์ ลีลาทวีวัฒน์" ผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน บริษัท ผลิตภัณฑ์คอนกรีตชลบุรี (CCP) "เสน่ห์ ปานจันทร์" กรรมการและกรรมการตรวจสอบ บริษัท บางสะพานบาร์มิล (BSBM) และ "ทรงวุฒิ ชินวัตร" กรรมการ และกรรมการตรวจสอบ ของ บริษัท สตาร์ ซานิทารีแวร์ (STAR) ก็ได้แสดงความประสงค์ยื่นหนังสือลาออกต่อบริษัท
กรรมการบริษัท โกลเบล็ก โฮลดิ้ง แมนเนจเม้นท์ (GBX) "ช่วงชัย นะวงศ์" ที่นั่งควบตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล.โกลเบล็ก ก็ยื่นใบลาออก โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2549 ที่จากไปพร้อมกับ "มาร์เก็ตติ้ง" ในสังกัดนับร้อยคน
ด้านบริษัท อกริเพียว โฮลดิ้งส์ (APURE) "คุณากร เมฆใจดี" และ "โอฬาร อุยะกุล" ซึ่งเป็นกรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ ของบริษัท ก็พร้อมใจกันขอลาออก..อย่างน่าสงสัย ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2549
บริษัท บางกอกรับเบอร์ (BRC) ซึ่งอยู่ระหว่างฟื้นฟูกิจการ ได้รับแจ้งจาก "ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช" ขอลาออกจากตำแหน่งกรรมการ และ ประธานกรรมการตรวจสอบ ในที่สุดผู้สอบบัญชีก็ไม่รับรองงบการเงินของบริษัท ขณะที่ "ชนิตร ชาญชัยณรงค์" กรรมการตรวจสอบ ของบริษัท โกลบอล คอนเน็คชั่นส์ (GC) ก็ขอลาออกก่อนครบวาระ
อีกคนที่น่าจับตา "ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์" ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการ และกรรมการตรวจสอบ ของบริษัท ยัวซ่า แบตเตอรี่ (ประเทศไทย) ก็ทิ้งบริษัทท่ามกลางตัวเลข "ขาดทุน" ที่โผล่ขึ้นจำนวนมาก
บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ (GOLD) มีกรรมการ และผู้บริหารตำแหน่งสำคัญๆ ลาออกจำนวนมาก อาทิเช่น "ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ" ขอลาออกจากกรรมการบริษัท ส่วน "ชาญชัย บัวชุม" ลาออกจากตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชี และการเงิน (CFO) ตั้งแต่ปลายปี 2548 ก่อนที่จะเห็น "กำไร" ปรากฏในงบการเงินไตรมาส 1 ปี 2549 ภายใต้ผลงานของ CFO คนใหม่ที่ชื่อ "วันชัย ศรีหิรัญรัศมี"
จากการตรวจสอบของทีมข่าว "กรุงเทพธุรกิจ BizWeek" ยังพบประเด็นที่น่าสังเกตอีกว่า บจ.ที่มีผู้บริหารฝ่ายการเงิน และกรรมการตรวจสอบ ยื่นหนังสือลาออก ส่วนใหญ่แล้วจะมีผลการดำเนินงานไตรมาส 1 ปี 2549 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ในบางบริษัทแสดงตัวเลข "ขาดทุน" จำนวนมากในงบการเงิน หรือไม่ก็มี "กำไรเทียม" ทางบัญชี "โป่ง" ให้เห็น