** เกี่ยวกับ กองทุนวายุภักษ์ หนึ่ง **
โพสต์แล้ว: ศุกร์ มี.ค. 24, 2006 8:38 pm
พอดีไปเจอบทความหนึ่งในกรุงเทพธุรกิจ Bizweek เห็นว่าน่าสนใจดี เลย Copy เอามาให้อ่านน่ะครับ (เท็จจริงประการใด โปรดใช้วิจารณยานด้วยละกันครับ) ** ถ้าเป็นจริงนี่เอาเปรียบผู้ถือหุ้นกองทุนวายุภักษ์จังเลยนะเนี่ย
**************
สะกดรอย...กองทุน "วายุภักษ์ หนึ่ง"
กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ที่กำลังเดินแผน "จำกัด" การเติบโตของตัวเอง เพื่อป้องกันไม่ให้มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) สูงเกินไป...ด้วยลูกเล่นพิเศษ ที่สร้างให้ "กระทรวงการคลัง" รับผลประโยชน์แทนประชาชน (ผู้ถือหน่วยลงทุน)
ความเคลื่อนไหวของพอร์ตการลงทุนในตลาดหุ้นของ กองทุนรวม "วายุภักษ์ หนึ่ง" หลังจากกองทุนแห่งนี้เข้ามาร่วมวงซื้อขายในตลาดหุ้นได้ 2 ปีเศษ (เริ่มเทรดตั้งแต่ 27 ก.พ. 2547) โดยจะเน้นลงทุนในหุ้นสถาบันการเงิน รัฐวิสาหกิจ และธุรกิจที่กระทรวงการคลังถือหุ้นอยู่ และรับประกันผลตอบแทน (เงินปันผล) ให้ผู้ถือหน่วยขั้นต่ำที่ 3% ต่อปี
โดยจากข้อมูลวันที่ 17 มี.ค. 2549 กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ได้รายงานมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ (หลังหักหนี้สิน 6.36 หมื่นล้านบาท) ของกองทุนไว้ทั้งสิ้น 1.39 แสนล้านบาท ขณะที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแคป) ที่ปรากฏชื่อกองทุนวายุภักษ์เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ณ 21 มี.ค. 2549 คิดรวมได้จำนวน 2.06 แสนล้านบาท
หลังจากทีมข่าวได้ทำการสำรวจมูลค่า "เงินปันผล" ที่กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง จะได้รับจากการถือหุ้นอยู่ในหลักทรัพย์ต่างๆ พบว่า กองทุนยักษ์แห่งนี้มีโอกาสที่จะกวาดเงินปันผลจากผลประกอบการปี 2548 ไปได้กว่า 7,877 ล้านบาท ซึ่งเงินปันผลส่วนใหญ่ล้วนได้มาจากหุ้น "ปตท." (PTT) จำนวน 4,031 ล้านบาท ซึ่งปีนี้ PTT ประกาศจ่ายปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นมากถึง 9.25 บาทต่อหุ้น
แต่ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่าพฤติกรรมของกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่งคล้ายไม่ต้องการจะรับรู้กับเงินปันผลจากหุ้นบางตัว โดยจะใช้วิธี "โยกหุ้น" หรือ "สับเปลี่ยน" ผู้รับเงินปันผลเป็นกระทรวงการคลังโดยตรง...เพื่อไม่ให้เงินปันผลที่จะได้มา ตกไปถึงผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมวายุภักษ์หนึ่ง
โดยพบว่า การลงทุนใน "หุ้นบุริมสิทธิ ธ.ไทยพาณิชย์" (SCB-P) ถือเป็นหลักทรัพย์ที่กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ให้น้ำหนักลงทุนมากเป็น "อันดับสอง" รองจากหุ้น PTT แต่ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา กองทุนแห่งนี้ตั้งใจที่จะไม่รับรู้ประโยชน์จากเงินปันผลของ ธ.ไทยพาณิชย์ แม้สักครั้งเดียว
"วิธีการก็คือ" เมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2548 ทางกระทรวงการคลังได้ทำการ "รับโอนหุ้น" SCB-P จำนวน 625.79 ล้านหุ้น มาจากกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนที่ "ธ.ไทยพาณิชย์" จะประกาศจ่ายปันผลให้แก่ผู้ที่ปรากฏชื่อในสมุดทะเบียนก่อนวันที่ 12 เม.ย. 2548 ...แล้วจึงมีการจ่ายเงินปันผลจริง ในวันที่ 28 เม.ย.2548
หลังจากรับเงินปันผลแล้ว "กระทรวงการคลัง" จึงค่อยโอนหุ้น SCB-P กลับไปให้กองทุนรวม "วายุภักษ์ หนึ่ง" ในจำนวนเดียวกับที่เคยรับโอนหุ้นมาก่อนหน้าวันรับปันผล เท่ากับว่า "กระทรวงการคลัง" จะรับประโยชน์จากหุ้น SCB-P เพียงรายเดียว...โดยที่ผู้ถือหน่วยลงทุนวายุภักษ์ (ประเภท ก) หมดสิทธิในเงินก้อนนั้นทันที
แล้วปีนี้ (2549) ก็เช่นกัน หลังจาก ธ.ไทยพาณิชย์ ประกาศจะจ่ายปันผลประจำปีหุ้นละ 3 บาท แต่ล่าสุดเมื่อ 15 มี.ค. 2549 ที่ผ่านมา ทางผู้บริหารกองทุน "วายุภักษ์ หนึ่ง" ได้ถอดหุ้น SCB-P และ SCB ออกจากพอร์ตโอนไปให้แก่ "กระทรวงการคลัง" อีกครั้งในจำนวน 628.84 ล้านหุ้น และ 15.21 ล้านหุ้นตามลำดับ เป็นการดักทางก่อนถึงกำหนดปิดสมุดทะเบียนเพื่อจ่ายเงินปันผลอีกเช่นกัน หมายความว่า "เงินปันผล" จาก "ธ.ไทยพาณิชย์" จำนวนกว่า 2,403 ล้านบาท (แบ่งเป็นเงินปันผล 2,357 ล้านบาทจากหุ้น SCB-P และอีก 45.6 ล้านบาทจากหุ้น SCB) จะไปตกแก่ "กระทรวงการคลัง" รับไว้เองอีกเช่นเคย และเชื่อได้ว่า หลังจาก "ธ.ไทยพาณิชย์" จ่ายปันผลเสร็จตามกำหนดในวันที่ 28 เม.ย. 2549 ก็คงจะได้เห็น "กระทรวงการคลัง" โอนหุ้น SCB และ SCB-P ทั้งหมดคืนไปให้แก่กองทุนรวมวายุภักษ์หนึ่งอีกครั้ง
นอกจากนี้ทีมข่าวกรุงเทพธุรกิจ BizWeek ยังสำรวจต่อไปที่ความเคลื่อนไหวของพอร์ตลงทุนกองทุนรวม "วายุภักษ์ หนึ่ง" ตั้งแต่ช่วง 31 ต.ค.2548-31 ม.ค. 2549 ซึ่งถือเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการเมืองไทย...โดยพบว่ากองทุนแห่งนี้เริ่มทยอย "ซอยหุ้น" ในพอร์ตออกมาขาย เพื่อปรับน้ำหนัก และยุทธศาสตร์การลงทุนในหุ้นแต่ละกลุ่ม โดยเฉพาะการลดน้ำหนักลงทุนในหุ้น "บิ๊กแคป" หลายๆ ตัว ตั้งแต่การซอยหุ้น "บ.ท่าอากาศยานไทย" (AOT) ออกมาขายแล้วกว่า 3 ล้านหุ้น ขายหุ้น "ธ.กรุงเทพ" (BBL) จำนวน 5.2 ล้านหุ้น รวมถึงการขายหุ้น "บ.ปูนซิเมนต์ไทย" (SCC) อีกจำนวน 1 ล้านหุ้น ตลอดจนยังได้ตัดขายหุ้นของ "บ.ผลิตไฟฟ้า" (EGCOMP) ออกไปบางส่วน เป็นจำนวน 1,235,700 หุ้น
ผู้บริการกองทุนวายุภักษ์ยังได้ดำเนินการ "ทิ้งหุ้น" แบบ "เกลี้ยงพอร์ต" ในหุ้น "บ.สหวิริยาสตีลอินดัสตรี" (SSI) จำนวน 114.98 ล้านหุ้น รวมถึงยังเทขายหุ้น "บ.วนชัย กรุ๊ป" (VNG) ออกไปอีกทั้งหมด จำนวน 13.30 ล้านหุ้น (ณ 31 มี.ค.2548 พบชื่อกองทุนวายุภักษ์เข้ามาถือ VNG จำนวน 13.30 ล้านหุ้น)
ขณะเดียวกัน ยังพบการเก็บหุ้น "ไทยออยล์" (TOP) ตุนเข้าพอร์ตวายุภักษ์อย่างต่อเนื่องตลอดปี 2548 รวมทั้งสิ้น 7.93 ล้านหุ้น รวมทั้งยังมีการนำเงินก้อนใหญ่เข้าไปร่วมลงทุนอยู่ใน "ทีพีไอ" (TPI) อีกกว่า 1,950 ล้านหุ้น ที่ราคาต้นทุน 3.30 บาทต่อหุ้น และส่งผลให้ TPI กลายเป็นมูลค่าการลงทุน "อันดับสาม" ของพอร์ตวายุภักษ์ หนึ่งทันทีรองจาก PTT และ SCB-P ตามลำดับ
มีข้อมูลที่น่าสังเกตว่า ตลอดระยะเวลากว่า 2 ปีของกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ...มูลค่าหน่วยลงทุน (NAV) ของนักลงทุน (ประเภท ก.) ถูกกดให้ทรงตัวอยู่ในช่วงระหว่าง 10.60-10.70 บาท มาโดยตลอด ทั้งๆ ที่ต้นทุนของหุ้นส่วนใหญ่ที่กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ซื้อเข้ามา...ก็ค่อนข้างต่ำ ไม่ว่าจะเป็น PTT ที่ไปซื้อมาจาก "กระทรวงการคลัง" จำนวนกว่า 435 ล้านหุ้น (15.58%) มีต้นทุนเพียงหุ้นละ 63.35 บาท และ SCB-P มีต้นทุนหุ้นละ 31.35 บาท ...ขณะที่ราคาตลาดของหุ้นวันนี้กลับวิ่งไปไกลกว่ามาก
นอกจากนี้ ยังอาจมีหุ้นอีกมากที่กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง เข้าไปซื้อขาย (ระยะสั้น) แต่ไม่ปรากฏชื่อเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ตามเกณฑ์รายงานต่อ ก.ล.ต. รวมถึงยังมีการถ่ายเทผลประโยชน์จากเงินปันผล "จำนวนมาก" ไปให้กับ "กระทรวงการคลัง"
จากเหตุการณ์ทั้งหมด เป็นไปได้ที่ "กระทรวงการคลัง" ต้องการกด NAV ไม่ให้ขึ้นไปสูงมาก จนอาจสร้างภาระในภายหลังที่จะต้องซื้อคืนหน่วยลงทุนจากประชาชนทั้งหมดเมื่อกองทุนมีอายุครบกำหนด 10 ปี
ที่มา กรุงเทพธุรกิจ Bizweek
**************
สะกดรอย...กองทุน "วายุภักษ์ หนึ่ง"
กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ที่กำลังเดินแผน "จำกัด" การเติบโตของตัวเอง เพื่อป้องกันไม่ให้มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) สูงเกินไป...ด้วยลูกเล่นพิเศษ ที่สร้างให้ "กระทรวงการคลัง" รับผลประโยชน์แทนประชาชน (ผู้ถือหน่วยลงทุน)
ความเคลื่อนไหวของพอร์ตการลงทุนในตลาดหุ้นของ กองทุนรวม "วายุภักษ์ หนึ่ง" หลังจากกองทุนแห่งนี้เข้ามาร่วมวงซื้อขายในตลาดหุ้นได้ 2 ปีเศษ (เริ่มเทรดตั้งแต่ 27 ก.พ. 2547) โดยจะเน้นลงทุนในหุ้นสถาบันการเงิน รัฐวิสาหกิจ และธุรกิจที่กระทรวงการคลังถือหุ้นอยู่ และรับประกันผลตอบแทน (เงินปันผล) ให้ผู้ถือหน่วยขั้นต่ำที่ 3% ต่อปี
โดยจากข้อมูลวันที่ 17 มี.ค. 2549 กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ได้รายงานมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ (หลังหักหนี้สิน 6.36 หมื่นล้านบาท) ของกองทุนไว้ทั้งสิ้น 1.39 แสนล้านบาท ขณะที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแคป) ที่ปรากฏชื่อกองทุนวายุภักษ์เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ณ 21 มี.ค. 2549 คิดรวมได้จำนวน 2.06 แสนล้านบาท
หลังจากทีมข่าวได้ทำการสำรวจมูลค่า "เงินปันผล" ที่กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง จะได้รับจากการถือหุ้นอยู่ในหลักทรัพย์ต่างๆ พบว่า กองทุนยักษ์แห่งนี้มีโอกาสที่จะกวาดเงินปันผลจากผลประกอบการปี 2548 ไปได้กว่า 7,877 ล้านบาท ซึ่งเงินปันผลส่วนใหญ่ล้วนได้มาจากหุ้น "ปตท." (PTT) จำนวน 4,031 ล้านบาท ซึ่งปีนี้ PTT ประกาศจ่ายปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นมากถึง 9.25 บาทต่อหุ้น
แต่ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่าพฤติกรรมของกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่งคล้ายไม่ต้องการจะรับรู้กับเงินปันผลจากหุ้นบางตัว โดยจะใช้วิธี "โยกหุ้น" หรือ "สับเปลี่ยน" ผู้รับเงินปันผลเป็นกระทรวงการคลังโดยตรง...เพื่อไม่ให้เงินปันผลที่จะได้มา ตกไปถึงผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมวายุภักษ์หนึ่ง
โดยพบว่า การลงทุนใน "หุ้นบุริมสิทธิ ธ.ไทยพาณิชย์" (SCB-P) ถือเป็นหลักทรัพย์ที่กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ให้น้ำหนักลงทุนมากเป็น "อันดับสอง" รองจากหุ้น PTT แต่ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา กองทุนแห่งนี้ตั้งใจที่จะไม่รับรู้ประโยชน์จากเงินปันผลของ ธ.ไทยพาณิชย์ แม้สักครั้งเดียว
"วิธีการก็คือ" เมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2548 ทางกระทรวงการคลังได้ทำการ "รับโอนหุ้น" SCB-P จำนวน 625.79 ล้านหุ้น มาจากกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนที่ "ธ.ไทยพาณิชย์" จะประกาศจ่ายปันผลให้แก่ผู้ที่ปรากฏชื่อในสมุดทะเบียนก่อนวันที่ 12 เม.ย. 2548 ...แล้วจึงมีการจ่ายเงินปันผลจริง ในวันที่ 28 เม.ย.2548
หลังจากรับเงินปันผลแล้ว "กระทรวงการคลัง" จึงค่อยโอนหุ้น SCB-P กลับไปให้กองทุนรวม "วายุภักษ์ หนึ่ง" ในจำนวนเดียวกับที่เคยรับโอนหุ้นมาก่อนหน้าวันรับปันผล เท่ากับว่า "กระทรวงการคลัง" จะรับประโยชน์จากหุ้น SCB-P เพียงรายเดียว...โดยที่ผู้ถือหน่วยลงทุนวายุภักษ์ (ประเภท ก) หมดสิทธิในเงินก้อนนั้นทันที
แล้วปีนี้ (2549) ก็เช่นกัน หลังจาก ธ.ไทยพาณิชย์ ประกาศจะจ่ายปันผลประจำปีหุ้นละ 3 บาท แต่ล่าสุดเมื่อ 15 มี.ค. 2549 ที่ผ่านมา ทางผู้บริหารกองทุน "วายุภักษ์ หนึ่ง" ได้ถอดหุ้น SCB-P และ SCB ออกจากพอร์ตโอนไปให้แก่ "กระทรวงการคลัง" อีกครั้งในจำนวน 628.84 ล้านหุ้น และ 15.21 ล้านหุ้นตามลำดับ เป็นการดักทางก่อนถึงกำหนดปิดสมุดทะเบียนเพื่อจ่ายเงินปันผลอีกเช่นกัน หมายความว่า "เงินปันผล" จาก "ธ.ไทยพาณิชย์" จำนวนกว่า 2,403 ล้านบาท (แบ่งเป็นเงินปันผล 2,357 ล้านบาทจากหุ้น SCB-P และอีก 45.6 ล้านบาทจากหุ้น SCB) จะไปตกแก่ "กระทรวงการคลัง" รับไว้เองอีกเช่นเคย และเชื่อได้ว่า หลังจาก "ธ.ไทยพาณิชย์" จ่ายปันผลเสร็จตามกำหนดในวันที่ 28 เม.ย. 2549 ก็คงจะได้เห็น "กระทรวงการคลัง" โอนหุ้น SCB และ SCB-P ทั้งหมดคืนไปให้แก่กองทุนรวมวายุภักษ์หนึ่งอีกครั้ง
นอกจากนี้ทีมข่าวกรุงเทพธุรกิจ BizWeek ยังสำรวจต่อไปที่ความเคลื่อนไหวของพอร์ตลงทุนกองทุนรวม "วายุภักษ์ หนึ่ง" ตั้งแต่ช่วง 31 ต.ค.2548-31 ม.ค. 2549 ซึ่งถือเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการเมืองไทย...โดยพบว่ากองทุนแห่งนี้เริ่มทยอย "ซอยหุ้น" ในพอร์ตออกมาขาย เพื่อปรับน้ำหนัก และยุทธศาสตร์การลงทุนในหุ้นแต่ละกลุ่ม โดยเฉพาะการลดน้ำหนักลงทุนในหุ้น "บิ๊กแคป" หลายๆ ตัว ตั้งแต่การซอยหุ้น "บ.ท่าอากาศยานไทย" (AOT) ออกมาขายแล้วกว่า 3 ล้านหุ้น ขายหุ้น "ธ.กรุงเทพ" (BBL) จำนวน 5.2 ล้านหุ้น รวมถึงการขายหุ้น "บ.ปูนซิเมนต์ไทย" (SCC) อีกจำนวน 1 ล้านหุ้น ตลอดจนยังได้ตัดขายหุ้นของ "บ.ผลิตไฟฟ้า" (EGCOMP) ออกไปบางส่วน เป็นจำนวน 1,235,700 หุ้น
ผู้บริการกองทุนวายุภักษ์ยังได้ดำเนินการ "ทิ้งหุ้น" แบบ "เกลี้ยงพอร์ต" ในหุ้น "บ.สหวิริยาสตีลอินดัสตรี" (SSI) จำนวน 114.98 ล้านหุ้น รวมถึงยังเทขายหุ้น "บ.วนชัย กรุ๊ป" (VNG) ออกไปอีกทั้งหมด จำนวน 13.30 ล้านหุ้น (ณ 31 มี.ค.2548 พบชื่อกองทุนวายุภักษ์เข้ามาถือ VNG จำนวน 13.30 ล้านหุ้น)
ขณะเดียวกัน ยังพบการเก็บหุ้น "ไทยออยล์" (TOP) ตุนเข้าพอร์ตวายุภักษ์อย่างต่อเนื่องตลอดปี 2548 รวมทั้งสิ้น 7.93 ล้านหุ้น รวมทั้งยังมีการนำเงินก้อนใหญ่เข้าไปร่วมลงทุนอยู่ใน "ทีพีไอ" (TPI) อีกกว่า 1,950 ล้านหุ้น ที่ราคาต้นทุน 3.30 บาทต่อหุ้น และส่งผลให้ TPI กลายเป็นมูลค่าการลงทุน "อันดับสาม" ของพอร์ตวายุภักษ์ หนึ่งทันทีรองจาก PTT และ SCB-P ตามลำดับ
มีข้อมูลที่น่าสังเกตว่า ตลอดระยะเวลากว่า 2 ปีของกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ...มูลค่าหน่วยลงทุน (NAV) ของนักลงทุน (ประเภท ก.) ถูกกดให้ทรงตัวอยู่ในช่วงระหว่าง 10.60-10.70 บาท มาโดยตลอด ทั้งๆ ที่ต้นทุนของหุ้นส่วนใหญ่ที่กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ซื้อเข้ามา...ก็ค่อนข้างต่ำ ไม่ว่าจะเป็น PTT ที่ไปซื้อมาจาก "กระทรวงการคลัง" จำนวนกว่า 435 ล้านหุ้น (15.58%) มีต้นทุนเพียงหุ้นละ 63.35 บาท และ SCB-P มีต้นทุนหุ้นละ 31.35 บาท ...ขณะที่ราคาตลาดของหุ้นวันนี้กลับวิ่งไปไกลกว่ามาก
นอกจากนี้ ยังอาจมีหุ้นอีกมากที่กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง เข้าไปซื้อขาย (ระยะสั้น) แต่ไม่ปรากฏชื่อเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ตามเกณฑ์รายงานต่อ ก.ล.ต. รวมถึงยังมีการถ่ายเทผลประโยชน์จากเงินปันผล "จำนวนมาก" ไปให้กับ "กระทรวงการคลัง"
จากเหตุการณ์ทั้งหมด เป็นไปได้ที่ "กระทรวงการคลัง" ต้องการกด NAV ไม่ให้ขึ้นไปสูงมาก จนอาจสร้างภาระในภายหลังที่จะต้องซื้อคืนหน่วยลงทุนจากประชาชนทั้งหมดเมื่อกองทุนมีอายุครบกำหนด 10 ปี
ที่มา กรุงเทพธุรกิจ Bizweek