หน้า 1 จากทั้งหมด 2

ขนมปังนี่สุดยอดจริงๆ

โพสต์แล้ว: จันทร์ มี.ค. 20, 2006 11:34 am
โดย tt
ไม่ได้ดูแป๊ปเดียว PB ราคาจะเท่า PR แล้ว อะไรมันจะขนาดนั้น
ขึ้นอย่างเดียวไม่มีลง

ขนมปังนี่สุดยอดจริงๆ

โพสต์แล้ว: จันทร์ มี.ค. 20, 2006 1:43 pm
โดย fantasia
มาแนวเดียวกับ SVOA-IT อีกแล้วครับ

มูลค่าหุ้นตามราคาตลาดของ PB ที่ PR ถืออยู่ = 1050 ล้าน
Market Cap ของ PR = 1176 ล้าน
ตลาดตีมูลค่าธุรกิจเฉพาะมาม่าเส้นขาว, โจ๊กมาม่าแค่ 126 ล้านเองหรือนี่

ขนมปังนี่สุดยอดจริงๆ

โพสต์แล้ว: จันทร์ มี.ค. 20, 2006 2:37 pm
โดย CEO
คุณ jay ใส่เสน่ห์ลงไปแน่ๆเลย

สาวแก่แม่ม่ายรุมซื้อกันใหญ่

ขนมปังสุดยอด

โพสต์แล้ว: อังคาร มี.ค. 21, 2006 3:44 pm
โดย setsmart
ก็จะไม่ให้ขึ้นได้อย่างไร ในเมื่อ
1. ตราสินค้า Farm House ขายดีกว่าคู๋แข่งในธุรกิจเดียวกัน  สินค้าหมด Shelf ตลอด ในขณะที่สินค้าคู่แข่งเหลือเยอะมาก
2. นั่งรถไปตามถนน ก็จะเห็นรถบรรทุกของ Farm House วิ่งทั่วไปหมด
3. ภาษีนำเข้าแป้งสาลีจากต่างประเทศ ที่เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตขนมปัง ลดลงเหลือเพียง 5%
4. มีสินค้าใหม่ใหม่ๆ ลงมาในตลาดให้ลูกค้าได้ลองตลอด

ด้วยเหตุเหล่านี้ทำให้ผู้ที่มีหุ้นอยู่ไม่ยอมขายหุ้นออกมาในตลาด  เพราะส่วนใหญ่อยากร่วมเป็นเจ้าของโรงงานผลิตขนมปังนั่นเอง

ขนมปังนี่สุดยอดจริงๆ

โพสต์แล้ว: อังคาร มี.ค. 21, 2006 9:28 pm
โดย NURINGRX
ผมก็มีอยู่ และไม่ยอมขายแน่นอน ถ้าปัจจัยไม่เปลี่ยนแปลง
เสียดายอย่างเดียว ราคาขึ้นตลอด เคยตัดสินใจจะซื้อเพิ่มที่ 60 กว่าบาท
ทีหนึ่ง แต่ไม่กล้า ราคาตอนนี้เลยไม่กล้าซื้อใหญ่เลย วันนี้ปิด 96 บาทแล้ว
หวังว่าจะมีโอกาสซื้อเพิ่มเมื่อสถานะการเหมาะสม

ขนมปังครับ

โพสต์แล้ว: อังคาร มี.ค. 21, 2006 9:53 pm
โดย worapong
เรียนท่านผู้ถือหุ้นทุกท่าน กระผมต้องกินขนมปังทุกวัน ก็อยากจะอุดหนุนฟาร์มเฮ้านะครับ แต่ติดที่เค้าใส่สารกันบูด ผมกลัวว่ากินทุกวันแล้วมันไม่ค่อยดี ถ้าท่านไปประชุมผู้ถือหุ้น วานบอกคุณพิพัฒน์พะเนียงวิทย์ด้วยครับ ว่าให้ช่วยลองทำแบบไร้สารกันบูดมาขายบ้าง เห็นของท็อปส์เค้าก็ทำอยู่ ผมเลยต้องยอมเป็นลูกค้าท็อปส์ครับ

ขนมปังนี่สุดยอดจริงๆ

โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 22, 2006 9:46 am
โดย pong
วันที่  21  มีนาคม  2549

เรื่อง  แจ้งมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 3/2549
เรียน  กรรมการและผู้จัดการ
     ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

     บริษัท เพรซิเดนท์ เบเกอรี่ จำกัด (มหาชน)  ได้จัดประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ
ครั้งที่ 3/2549 ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 21  มีนาคม 2549 เวลา 10.00 น. ณ  อาคาร
อิตัลไทยทาวเวอร์  ชั้น 16 เลขที่ 2034/75 , 76    ถนนเพชรบุรีตัดใหม่   แขวง
บางกะปิ  เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร  ซึ่งมีมติสำคัญ ดังนี้
1.  พิจารณาจัดสรรเงินกำไร และการจ่ายเงินปันผลประจำปี 2548
   ที่ประชุมมีมติให้เสนอที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นพิจารณาการจ่ายเงินปันผลประจำปี สำหรับผลการ
ดำเนินงานตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2548 ถึงวันที่ 31  ธันวาคม 2548  โดยพิจารณาจ่ายเงินปันผล
ในอัตราหุ้นละ 3.20  บาท (สามบาทยี่สิบสตางค์) ให้แก่ผู้ถือหุ้นจำนวน 30,000,000 หุ้น โดยกำหนด
จ่ายในวันที่ 24 พฤษภาคม  2549
2.  พิจารณาเลือกตั้งกรรมการแทนกรรมการที่ต้องออกตามวาระ และ กำหนดค่าตอบแทนกรรมการ
ที่ประชุมได้พิจารณาตามข้อบังคับ ของบริษัท กรรมการต้องออกจากตำแหน่ง จำนวนหนึ่งในสามเป็นอัตรา
ของจำนวนกรรมการทั้งหมด ประกอบด้วย
     1.  นายพิพัฒ    พะเนียงเวทย์       3.    นายกำธร    ตติยกวี
     2.  นายอภิชาติ  ธรรมมโนมัย        4.    นายบุญเปี่ยม  เอี่ยมรุ่งโรจน์
     ที่ประชุมมีมติให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติแต่งตั้งกรรมการทั้ง 4 ท่าน ซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ
กลับเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทฯ อีกวาระหนึ่ง ดังนี้
     1.  นายพิพัฒ    พะเนียงเวทย์      เข้าดำรงตำแหน่งเป็น กรรมการบริษัท
     2.  นายอภิชาติ  ธรรมมโนมัย       เข้าดำรงตำแหน่งเป็น กรรมการบริษัท
     3.  นายกำธร     ตติยกวี         เข้าดำรงตำแหน่งเป็น กรรมการบริษัท
     4.  นายบุญเปี่ยม   เอี่ยมรุ่งโรจน์    เข้าดำรงตำแหน่งเป็น กรรมการบริษัท
     ส่วนค่าตอบแทนกรรมการ  จะนำเสนอในที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติ เป็นจำนวนเงิน
ไม่เกิน 8,000,000 บาท  เพื่อจ่ายเป็นเงินเดือน  เบี้ยประชุม  เบี้ยเลี้ยง  เบี้ยประกัน  บำเหน็จ
เงินอุดหนุน เงินรางวัล ค่ารักษาพยาบาล ค่าน้ำมัน และค่าพาหนะแก่กรรมการ โดยให้กรรมการนำไป
จัดสรรเอง ซึ่งไม่รวมถึงค่าตอบแทน หรือ สวัสดิการ ที่กรรมการได้รับในฐานะพนักงาน หรือลูกจ้างบริษัทฯ
     และคณะกรรมการได้พิจารณาแต่งตั้ง คณะกรรมการตรวจสอบ กรรมการอิสระ ดังนี้
     1.  นายพิมล  รัฐปัตย์          ดำรงตำแหน่งเป็น   ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ
                                                และกรรมการอิสระ
     2.  แพทย์หญิงยุพา  สุนทราภา    ดำรงตำแหน่งเป็น   กรรมการตรวจสอบและกรรมการอิสระ
     3.  รองศาสตราจารย์ ดร.กุลภัทรา  สิโรดม  ดำรงตำแหน่งเป็น  กรรมการตรวจสอบ
                                                        และกรรมการอิสระ
     4.  พลโทพิศาล  เทพสิทธา      ดำรงตำแหน่งเป็น   กรรมการอิสระ
โดยมีนางสาวอริยา  ตั้งชีวินศิริกุล เป็น เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ

3.  พิจารณาแต่งตั้งผู้สอบบัญชี และ กำหนดค่าสอบบัญชี ประจำปี 2549
   ที่ประชุม มีมติเสนอชื่อผู้สอบบัญชี ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2549 เป็นท่านเดิม คือ
นางสายฝน อินทร์แก้ว  ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขทะเบียน 4434 หรือ นางสาวรัตนา  จาละ
ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขทะเบียน3734 หรือ นางสาววิสสุตา  จริยธนากร  ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
เลขทะเบียน 3853 แห่งบริษัท สำนักงาน เอินส์ท แอนด์ ยัง จำกัด เป็นผู้สอบบัญชีประจำปี 2549
ของบริษัท โดยให้คนใดคนหนึ่งเป็นผู้ทำการตรวจสอบ และแสดงความเห็นต่องบการเงินของบริษัทฯ
และในกรณีที่ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ดังกล่าว ไม่สามารถปฏิบัติงานได้  ให้บริษัทสำนักงาน
เอินส์ท แอนด์ ยัง จำกัด จัดหาผู้สอบบัญชีรับอนุญาตอื่น ของบริษัทสำนักงาน แทนได้โดยมีค่าตอบแทน
สำหรับค่าสอบบัญชีประจำปี 2549 รวมถึง ค่าสอบบัญชีรายไตรมาส เป็นเงิน 790,000  บาท
4.  พิจารณาอนุมัติการเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัท
ที่ประชุมมีมติอนุมัติให้มีการเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัท จากจำนวน 300,000,000 บาท เป็น
450,000,000 บาท  โดยการออกหุ้นสามัญใหม่ จำนวน 15,000,000 หุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ
10 บาท
5.  พิจารณาการจัดสรรหุ้นสามัญใหม่ จากการเพิ่มทุนจดทะเบียน
   ที่ประชุมมีมติพิจารณาอนุมัติ การจัดสรรหุ้นสามัญจากการเพิ่มทุนจำนวน 15,000,000 หุ้น
มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท ให้กับผู้ถือหุ้นเดิมที่มีรายชื่อปรากฏในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น ณ วันที่
3  พฤษภาคม  2549 เวลา 12.00 น. ในอัตราส่วน 2 หุ้นเดิม ต่อ 1 หุ้นใหม่  ในราคาเสนอขาย
หุ้นละ  40  บาท  ในกรณีมีเศษหุ้นให้ปัดทิ้ง   โดยกำหนดระยะเวลาการจองซื้อ และชำระค่าหุ้น
เป็นวันที่  29,30,31  พฤษภาคม  2549  และ วันที่ 1,2  มิถุนายน  2549
   หากมีหุ้นที่เหลือจากการจัดสรรในครั้งนี้  ให้อยู่ในอำนาจของ คณะกรรมการเพื่อจัดสรรให้แก่
ผู้ถือหุ้นเดิมที่มิใช่กรรมการ และ/หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงาน บริษัท เพรซิเดนท์เบเกอรี่  จำกัด
(มหาชน ) สำหรับจำนวนหุ้นที่จะนำเสนอขาย  ราคาที่เสนอขาย ระยะเวลาที่เสนอขาย และเงื่อนไขอื่นๆ
ที่เกี่ยวกับ การนำหุ้นออกเสนอขายมอบให้อยู่ในดุลยพินิจ
ของคณะกรรมการที่จะพิจารณาและกำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ ได้ตามที่เห็นสมควร
6.  พิจารณาอนุมัติการแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ.4 เรื่องทุนจดทะเบียน เพื่อให้สอดคล้อง
กับการเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทฯ
   ที่ประชุมมีมติให้แก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 4 เรื่องทุนจดทะเบียน เพื่อให้สอดคล้องกับการ
เพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัท ดังนี้
   จากเดิมที่กำหนดไว้
     ข้อ.4         ทุนจดทะเบียน  จำนวน  300,000,000 บาท  (สามร้อยล้านบาท)
                  แบ่งออกเป็น           30,000,000 หุ้น   (สามสิบล้านหุ้น)
                  มูลค่าหุ้นละ                    10 บาท  (สิบบาท)
   โดยแยกออกเป็น
                  หุ้นสามัญ              30,000,000 หุ้น   (สามสิบล้านหุ้น)
                  หุ้นบุริมสิทธิ                  -         (   -      )
   เป็นข้อความใหม่ดังนี้
     ข้อ.4         ทุนจดทะเบียน  จำนวน  450,000,000 บาท  (สี่ร้อยห้าสิบล้านบาท)
                  แบ่งออกเป็น           45,000,000 หุ้น   (สี่สิบห้าล้านหุ้น)
                  มูลค่าหุ้นละ                    10 บาท  (สิบบาท)
    โดยแยกออกเป็น
                  หุ้นสามัญ              45,000,000 หุ้น   (สี่สิบห้าล้านหุ้น)
                  หุ้นบุริมสิทธิ                -           (  -       )

7.  พิจารณากำหนดวัน เวลา และสถานที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 27
   ที่ประชุมกำหนดให้มีการเรียกประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 27  ในวันอังคารที่  25  เมษายน
2549  เวลา  10.30 น.  ณ ห้องบุษราคัม บอลรูม 2, 3 ชั้น 2 โรงแรมอมารีเอเทรียม เลขที่
1880   ถนนเพชรบุรีตัดใหม่  แขวงบางกะปิ  เขตห้วยขวาง  กรุงเทพฯ  10320
8.  พิจารณากำหนดวันปิดสมุดทะเบียน
   ที่ประชุมกำหนดวันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้น เพื่อสิทธิในการเข้าร่วมประชุมสามัญผู้ถือหุ้น
ในวันที่  4  เมษายน  2549  ตั้งแต่ เวลา  12.00 น.  เป็นต้นไป  จนกว่าการประชุมจะแล้วเสร็จ
       และปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้น เพื่อสิทธิในการรับเงินปันผล และสิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน
ในวันที่ 3 พฤษภาคม 2549  เวลา 12.00 น.  เป็นต้นไป
9.  พิจารณากำหนดวาระการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นมีดังนี้ :-
วาระที่ 1  พิจารณารับรองรายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 26 เมื่อวันที่ 26 เมษายน  2548
วาระที่ 2  รับทราบผลการดำเนินงานของบริษัทในรอบปีบัญชี 2548
วาระที่ 3  พิจารณาอนุมัติงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุน ซึ่งผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชี   ประจำปี
        สิ้นสุดวันที่ 31  ธันวาคม  2548
วาระที่ 4  พิจารณาจัดสรรเงินกำไร และอนุมัติการจ่ายเงินปันผลสำหรับผลการดำเนินงาน
        ตั้งแต่วันที่ 1  มกราคม  2548  ถึงวันที่  31  ธันวาคม  2548
วาระที่ 5  พิจารณาเลือกตั้งกรรมการแทนกรรมการที่ออกตามวาระ และ กำหนดค่าตอบแทนกรรมการ
วาระที่ 6  พิจารณาแต่งตั้งผู้สอบบัญชี และกำหนดค่าสอบบัญชี  ประจำปี 2549
วาระที่ 7  พิจารณาอนุมัติการเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทจากจำนวน 300,000,000 บาท เป็น
        450,000,000 บาท โดยการออกหุ้นสามัญใหม่ จำนวน 15,000,000 หุ้น มูลค่าหุ้นที่ตรา
        ไว้หุ้นละ 10 บาท
วาระที่ 8  พิจารณาอนุมัติการจัดสรรหุ้นสามัญใหม่ จากการเพิ่มทุนจดทะเบียน
วาระที่ 9  พิจารณาอนุมัติการแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ.4 เรื่องทุนจดทะเบียน เพื่อให้สอด
        คล้องกับการเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทฯ
วาระที่ 10  พิจารณาเรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี)

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ

                                  ขอแสดงความนับถือ


                             (นางสาวเพชรรัตน์  อนันตวิชัย)
                     กรรมการและผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายบัญชีและการเงิน

ขนมปังนี่สุดยอดจริงๆ

โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 22, 2006 9:47 am
โดย fantasia
เพิ่มทุนแล้วครับ 2:1 ที่ 40 บาท

ขนมปังนี่สุดยอดจริงๆ

โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 22, 2006 10:41 am
โดย วัวแดง
fantasia เขียน:มาแนวเดียวกับ SVOA-IT อีกแล้วครับ

มูลค่าหุ้นตามราคาตลาดของ PB ที่ PR ถืออยู่ = 1050 ล้าน
Market Cap ของ PR = 1176 ล้าน
ตลาดตีมูลค่าธุรกิจเฉพาะมาม่าเส้นขาว, โจ๊กมาม่าแค่ 126 ล้านเองหรือนี่
ไม่เหมือนกันนะครับ pr ขาย pb  ได้ 1080 ล้าน - หนี้129 เหลือ 951 ล้าน
ส่วน svoa หนี้เยอะกว่าราคาขาย it มาก   ถึงแม้จะมาแนวเดียวกันก็ตาม :lol:

ส่วนตัวนะครับ ผมขายpb(ซื้อมาตอน 40 กว่าๆ) มาถือทางอ้อมดีกว่า :D

ขนมปังนี่สุดยอดจริงๆ

โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 22, 2006 12:36 pm
โดย CEO
ขายทิ้งให้หมดเถอะครับ

ต่อไปนี้คนจะเลิกกินจขนมปังลงเรื่อยๆ

คุณที่ถือหุ้นรู้ไหม ขนมปังมีประโยชน์อะไรบ้างนอกจากทำให้ท้องอิ่มอย่างเดียว

คนสมัยนี้สนใขสุขภาพมากขึ้น อีกหน่อย พวกที่ทำขนมปังขายจะเจ๊งครับ

ขนมปังนี่สุดยอดจริงๆ

โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 22, 2006 2:16 pm
โดย Sriracha
วัวแดง เขียน:
ไม่เหมือนกันนะครับ pr ขาย pb

ขนมปังนี่สุดยอดจริงๆ

โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 22, 2006 3:12 pm
โดย วัวแดง
Sriracha เขียน:
ไม่เหมือนกันนะครับ pr ขาย pb

ขนมปังนี่สุดยอดจริงๆ

โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 22, 2006 10:27 pm
โดย ROGER
สัญญาณขายมาแล้วครับทุกท่าน

การเพิ่มทุนแสดงว่า

หุ้นนั้น  ราคาเกินมูลค่าที่แท้จริง

แล้วแต่พิจารณานะครับ  ผมไม่มีหุ้นตัวนี้อยู่ และไม่คิดจะซื้อด้วยที่ราคาเกิน 50 บาท

ขนมปังนี่สุดยอดจริงๆ

โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 22, 2006 10:34 pm
โดย nana
คุณ ROGER ขอความรู้หน่อยนะคะ
เค้าขายหุ้นให้ผู้ถือหุ้นเดิมที่ ราคา 40 บาท
แล้วราคาหุ้นเกินมูลค่ายังไงคะ

ขนมปังนี่สุดยอดจริงๆ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มี.ค. 23, 2006 9:13 am
โดย chatchai
fantasia เขียน:มาแนวเดียวกับ SVOA-IT อีกแล้วครับ

มูลค่าหุ้นตามราคาตลาดของ PB ที่ PR ถืออยู่ = 1050 ล้าน
Market Cap ของ PR = 1176 ล้าน
ตลาดตีมูลค่าธุรกิจเฉพาะมาม่าเส้นขาว, โจ๊กมาม่าแค่ 126 ล้านเองหรือนี่
ผมไม่แนะนำให้คำนวณราคาด้วยวิธีนะครับ

เราควรคำนวณหามูลค่าที่แท้จริงของ PB มากกว่าที่จะใช้ราคาตลาดที่ขึ้นลงตลอดเวลา

แต่ถ้าคิดจะใช้วิธีนี้เพื่อการเก็งกำไรก็ไม่ว่ากันครับ

ขนมปังนี่สุดยอดจริงๆ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มี.ค. 23, 2006 9:23 am
โดย ต.หยวนเปียว
chatchai เขียน: ผมไม่แนะนำให้คำนวณราคาด้วยวิธีนะครับ

เราควรคำนวณหามูลค่าที่แท้จริงของ PB มากกว่าที่จะใช้ราคาตลาดที่ขึ้นลงตลอดเวลา

แต่ถ้าคิดจะใช้วิธีนี้เพื่อการเก็งกำไรก็ไม่ว่ากันครับ
:bow:  :bow:

ขนมปังนี่สุดยอดจริงๆ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มี.ค. 23, 2006 10:19 am
โดย fantasia
chatchai เขียน: ผมไม่แนะนำให้คำนวณราคาด้วยวิธีนะครับ

เราควรคำนวณหามูลค่าที่แท้จริงของ PB มากกว่าที่จะใช้ราคาตลาดที่ขึ้นลงตลอดเวลา

แต่ถ้าคิดจะใช้วิธีนี้เพื่อการเก็งกำไรก็ไม่ว่ากันครับ
ผมไม่ได้หมายถึงให้เก็งกำไรจากราคาตลาดของ PB ที่ PR ถืออยู่นะครับ
แต่ผมพยายามที่จะบอกคนที่อยากซื้อหุ้น PB ที่ราคาปัจจุบัน
หรือคนที่ไม่ยอมขาย PB ไม่ว่าราคาจะขึ้นไปสูงเท่าไรว่า
ทำไม่ไม่ซื้อหุ้น PR แทนในเมื่อ PR ก็ถือหุ้น PB อยู่
ซึ่งจะทำให้คุณได้หุ้น PB เหมือนเดิมโดยทางอ้อม แถมยังได้
กิจการมาม่าเส้นขาว และ โจ๊กมาม่า แถมมาด้วยในราคาถูกสุด ๆ

แถมกรณีการเพิ่มทุนที่เพิ่งเกิดขึ้น คนถือ PR ก็ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่มเพื่อให้ PR ไปซื้อหุ้นเพิ่มทุน PB ด้วย

ขนมปังนี่สุดยอดจริงๆ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มี.ค. 23, 2006 11:36 am
โดย adi
chatchai เขียน: ผมไม่แนะนำให้คำนวณราคาด้วยวิธีนะครับ

เราควรคำนวณหามูลค่าที่แท้จริงของ PB มากกว่าที่จะใช้ราคาตลาดที่ขึ้นลงตลอดเวลา

แต่ถ้าคิดจะใช้วิธีนี้เพื่อการเก็งกำไรก็ไม่ว่ากันครับ
ผมว่าวิธีนี้ใช้เพื่อตัดสินใจว่าจะลงทุนโดยตรง หรือลงทุนผ่าน pr ได้ แต่ก็ต้องหามูลค่ากิจการ pb ก่อนอยู่ดี

ขนมปังนี่สุดยอดจริงๆ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มี.ค. 23, 2006 12:32 pm
โดย chatchai
fantasia เขียน: แถมกรณีการเพิ่มทุนที่เพิ่งเกิดขึ้น คนถือ PR ก็ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่มเพื่อให้ PR ไปซื้อหุ้นเพิ่มทุน PB ด้วย
คนถือ PR ไม่ต้องจ่าย  แต่ PR ต้องจ่ายนะครับ

ขนมปังนี่สุดยอดจริงๆ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มี.ค. 23, 2006 1:50 pm
โดย CK
[quote="chatchai"]คนถือ PR ไม่ต้องจ่าย

ขนมปังนี่สุดยอดจริงๆ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มี.ค. 23, 2006 2:51 pm
โดย ลูกอิสาน
ในอดีตหรือปัจจุบันมีการถือหุ้นลักษณะอย่างนี้ครับ

tr-tcb
svoa-it
tipco-tasco
shin-advance
minor-mint

เรียกว่า asset play หรือเปล่าไม่แน่ใจ
และก็ทำให้คนลงทุนผิดหวังมาหลายท่านแล้ว รวมถึงดร.นิเวศน์ด้วยครับ (tipco-tasco)

เหตุผลคือราคาตลาดของหุ้นที่ขึ้นๆลงๆ ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกำไรที่บริษัทแม่รับรู้ เช่น ไม่ว่าราคาหุ้น tcb จะขึ้นไปเท่าไหร่ แต่ tr ก็รับรู้กำไรเฉพาะกำไรตามสัดส่วนที่ถือหุ้นเท่านั้น

และหากบริษัทแม่ถือหุ้นโดนเหตุผลตามกลยุทธิ์ทางธุรกิจ ไม่ได้ถือเพื่อรอขาย  การรอคอยของนักลงทุนรายย่อย ก็จะไม่มีประโยชน์อะไร

ขนมปังนี่สุดยอดจริงๆ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มี.ค. 23, 2006 4:21 pm
โดย fantasia
[quote="chatchai"]คนถือ PR ไม่ต้องจ่าย

ขนมปังนี่สุดยอดจริงๆ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มี.ค. 23, 2006 4:32 pm
โดย ksnk
tr-tcb
svoa-it
tipco-tasco
shin-advance
minor-mint
ขอเพิ่ม NEP-NNCL อีกตัวด้วยครับ :lol:

ขนมปังนี่สุดยอดจริงๆ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มี.ค. 23, 2006 5:18 pm
โดย ลูกอิสาน
คนถือ PR ไม่ต้องจ่าย  แต่ PR ต้องจ่ายนะครับ
ถูกต้องครับ แต่คนถือ PR ไม่ต้องจ่ายเนื่องจาก PR ยังมีกระแสเงินสด
จากกิจการหลักเพียงพอที่จะซื้อหุ้นเพิ่มทุน โดยไม่จำเป็นต้องเรียกเงิน
เพิ่มทุนจากผู้ถือหุ้น ในขณะที่คนถือหุ้น PB ต้องควักเนื้อตัวเองหรือขายหุ้น
PB ออกไปบางส่วน
PR ต้องใช้เงินทุนในอนาคตพอสมควรนะครับ
-โรงงานใหม่ประมาณ 600 ล้าน จ่ายไปแล้วประมาณ 400 ล้าน
-เงินปันผล 50% ของกำไรบริษัทแม่ บวกเงินปันผล PB
-ซื้อหุ้นเพิ่มทุน PB 200 ล้าน

จะดีหน่อยตรงที่
-โรงงานใหม่ลดภาษีได้ แต่เราเครดิตภาษีไม่ได้
-อนาคตของโรงงานใหม่ ไม่รู้ว่าจะดีเหมือนที่ผู้บริหารคาดหรือเปล่า เพราะสินค้าอาหาร ไม่ได้มีปัญหาที่การผลิตครับ แต่อยู่ที่ว่าผลิตมาแล้วขายได้หรือเปล่า

ตอนนี้ PR มีเงินสดประมาณเกือบๆ 400 ล้าน แต่ยังไม่จ่ายปันผลงวดครึ่งปีหลัง  ดังนั้นเงินสด PR ก็ไม่ได้เหลือมากมายนะครับ เงินปันผลอาจจะลดลงได้ ส่วนธุรกิจมาม่า ก็ทรงๆทรุดๆ เข้าใจว่าปี 48 กำไรจากส่วนนี้ลดลง เพราะการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ การสูญเสียลูกค้าที่มาเลเซีย และที่สำคัญคือปลายข้าวราคาสูงขึ้นมาก และปีนี้ก็ยังไม่มีแนวโน้มลดลง
ในกรณีของ PR ผมกลับมองว่าตราบเท่าที่ยังไม่ขาย PB ออกไป และกิจการมาม่า ยังสามารถทำกำไรได้ต่อเนื่อง
ผลตอบแทนระยะยาวของคนถือหุ้น PR ณ ราคาปัจจุบัน ยังไงก็ต้องสูงกว่า
ผลตอบแทนของคนถือหุ้น PB แน่นอนครับ
คุณแฟนตาเซีย มองประเด็นนี้อย่างไรครับ เพราะกำไรของบริษัทแม่มีแนวโน้มลดลง แต่ที่กำไรเพิ่ม เพราะมีกำไรจากบริษัทลูกคือ PB ที่ถืออยู่แค่ 37% ในขณะที่ผู้ถือหุ้น PB จะได้รับกำไรเต็มๆหากกำไรเพิ่ม และอนาคตของ PB ก็ดูจะดีกว่า แม้ pb จะเทรดที่ p/e สูงกว่า pr แต่ในระยะยาวแล้วผมก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าตัวไหนจะให้ผลตอบแทนสูงกว่า
กรณีของ ดร.นิเวศน์
ผมมองว่าถ้าตอนนั้นท่านซื้อ TASCO โดยตรงจะบาดเจ็บมากกว่าเดิมอีกครั้ง
กรณีของ SHIN-ADVANCE ในที่สุดผู้ถือหุ้น SHIN ได้ tender offer ที่ราคาสูงกว่าตลาด แต่ ADVANCE ได้ราคาต่ำกว่า
ผมมองว่า tipco พื้นฐานดีกว่า tasco ครับ ผลลัพธ์ก็เลยเป็นอย่างนั้น แต่สำหรับ PR & PB ผมคิดว่า PB น่าจะดีกว่า กรณี shin-advance มีเหตุมีผลของมันครับที่เป็นอย่างนั้น กรณีนี้ shin ก็ไม่ได้ขาย advance

ดังนั้นการซื้อหุ้น asset play เพื่อรอให้ unlock ออกมา ต้องอาศัยความอดทนสูงสุด และก็มีความเสี่ยงว่าจะไม่เป็นไปตามที่เราคาด  การมองไปที่ผลประกอบการของหุ้นที่จะลงทุนโดยตรง น่าจะมีความเสี่ยงน้อยกว่าครับ


ผมก็ไม่ได้ถือหุ้นทั้งคู่นะครับ แต่หลายวันก่อน คิดถึงประเด็นนี้ (การถือหุ้น pb ของ pr) แต่มองในรายละเอียดแล้ว มีข้อจำกัดหลายประเด็นตามที่โพสต์ครับ

ขนมปังนี่สุดยอดจริงๆ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มี.ค. 23, 2006 8:55 pm
โดย fantasia
ลูกอิสาน เขียน:
คุณแฟนตาเซีย มองประเด็นนี้อย่างไรครับ เพราะกำไรของบริษัทแม่มีแนวโน้มลดลง แต่ที่กำไรเพิ่ม เพราะมีกำไรจากบริษัทลูกคือ PB ที่ถืออยู่แค่ 37% ในขณะที่ผู้ถือหุ้น PB จะได้รับกำไรเต็มๆหากกำไรเพิ่ม และอนาคตของ PB ก็ดูจะดีกว่า แม้ pb จะเทรดที่ p/e สูงกว่า pr แต่ในระยะยาวแล้วผมก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าตัวไหนจะให้ผลตอบแทนสูงกว่า
อ่าน post ของคุณลูกอีสาน ผมชักเริ่มงง + ไม่มั่นใจ แล้วล่ะครับ
ผมจะอธิบายเหตุผลที่ทำให้ผมมั่นใจว่า PR ดีกว่า PB ก็แล้วกันครับ
สมมุติว่า ผมเป็นเจ้าของ PR โดยใช้เงินลงทุน 1212 ล้านบาท (market cap PB)
คุณลูกอีสานเป็นเจ้าของ PB โดยใช้เงินลงทุน 2880 ล้านบาท
(อาจดูขัดแย้งนิดนึงตรงที่ PR ไปถือหุ้น PB ร่วมกับคุณลูกอีสานด้วย แต่เป็นการสมมุติเพื่อให้ง่ายต่อการอธิบาย)

ณ ปี 48 PB กำไร 191.49 ล้านคิดเป็นผลตอบแทน  6.65% จากเงินลงทุน
ณ ปี 48 PR มีส่วนแบ่งกำไรจากการลงทุนใน PB 71.85 ล้านบาท กำไรจากกิจการ มาม่า 68.65 ล้านบาท รวมเป็น 140.5 ล้านบาท
คิดเป็นผลตอบแทน 11.59%

สมมุติว่ากำไรของ PB เติบโตในอัตรา 15% ทุกปี ในขณะที่กิจการมาม่าของ PR ไม่มีอัตราการเติบโตเลย
อีก 15 ปีข้างหน้า PB จะมีกำไร 1558 ล้านบาท คิดเป็นผลตอบแทนจากเงินลงทุนเริ่มต้น 54.1%
ส่วน PR จะมีกำไรจากการถือหุ้น PB 584 ล้านบาท กำไรจากกิจการมาม่า 68 ล้านบาท คิดเป็นผลตอบแทน 53.9% จากเงินเริ่มต้น

นั้นหมายถึงต้องใช้เวลาถึง 15 ปีตามสมมุติฐานข้างต้นจึงจะทำให้ผลตอบแทนในปีที่ 15 ของคุณลูกอีสานมากกว่าผลตอบแทนของผม
ซึ่ง 14 ปีก่อนหน้านั้นผมได้รับผลตอบแทนมากกว่ามาโดยตลอด ถ้าเป็นเงินปันผล ผมก็สามารถนำไปลงทุนต่อทำให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นได้อีก
ในขณะที่ถ้า PR นำกำไรไปลงทุนต่อก็จะทำให้กำไรจากกิจการหลักของ PR สูงขึ้นไปอีก (ไม่ใช่ 0% ตามสมมุติฐาน)

แต่ถ้ามองว่า growth ของ PB จะมากกว่า Growth ของกิจการหลักของ PR
ไปเรื่อย ๆ ในที่สุดผลตอบแทนของ PB ก็ต้องมากกว่า PR อยู่ดีแหละครับ
แต่ผมมองตรงข้ามกับคุณลูกอีสานอย่างนึงว่ากิจการมาม่าของ PR คงไม่ได้มีแนวโน้มกำไรลดลงหรอกครับ

ขนมปังนี่สุดยอดจริงๆ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มี.ค. 23, 2006 9:13 pm
โดย fantasia
ลูกอิสาน เขียน: กรณี shin-advance มีเหตุมีผลของมันครับที่เป็นอย่างนั้น กรณีนี้ shin ก็ไม่ได้ขาย advance
เหตุผลที่เป็นอย่างนั้นก็เพราะราคาที่ได้มาของ advanc ผ่านการซื้อ SHIN ของเทมาเสก มันต่ำกว่าราคาตลาดไงครับ
ซึ่งก่อนหน้านั้นถ้าคนที่คิดจะลงทุนในหุ้น advanc ได้มองหุ้น SHIN เปรียบเทียบ และเปลี่ยนมาลงทุนถือ advanc ผ่าน SHIN
ก็จะทำให้ไม่เสียผลประโยชน์ตรงนี้
(ก่อนหน้านั้นบางช่วงมูลค่าหุ้น advanc ที่ SHIN ถืออยู่มากกว่า market cap ของหุ้น SHIN ด้วยซ้ำ)
ลูกอิสาน เขียน:การซื้อหุ้น asset play เพื่อรอให้ unlock ออกมา ต้องอาศัยความอดทนสูงสุด และก็มีความเสี่ยงว่าจะไม่เป็นไปตามที่เราคาด  การมองไปที่ผลประกอบการของหุ้นที่จะลงทุนโดยตรง น่าจะมีความเสี่ยงน้อยกว่าครับ
เห็นด้วยครับ ที่ผมเขียนมาทั้งหมดก็ต้องเริ่มต้นจากการที่ผู้ลงทุนชอบหุ้น PB ก่อน
ไม่ใช่ว่าเพราะแค่เห็นมูลค่าหุ้น PB ที่ PR ถืออยู่ก็รีบเข้าไปซื้อ PR
ผมเองก็มีประสพการณ์ไม่ดีจากการเล่นหุ้น asset play มาเหมือนกันกับ ASL, THIP

ขนมปังนี่สุดยอดจริงๆ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มี.ค. 23, 2006 10:30 pm
โดย ลูกอิสาน
ผมไปคำนวณคร่าวๆ ก็ได้ตัวเลขถูกต้องตามที่คุณแฟนตาเซียคำนวณครับ :lol: โดยกำไร 15 ข้างหน้าเปรียบเทียบกับเงินลงทุนจะพอๆกัน หรือ pr จะทำได้ดีกว่านิดหน่อย

แต่อีกมุมมองนึงกำไรที่ทำได้ข้างต้น (ส่วนที่ไม่จ่ายปันผล)จะสะสมเป็นส่วนผู้ถือหุ้น ซึ่งก็คือ bv นั่นเอง และในตลาดหุ้น นักลงทุนจะเทรดหุ้นโดยให้พรีเมี่ยมที่ไม่เท่ากัน หุ้นที่ไม่เร้าใจ ไม่เติบโต ตลาดจะให้ pe และ pb ต่ำ  ซึ่งแตกต่างจากหุ้นเติบโต ที่จะซื้อขายที่ pe p/b สูงกว่าเพื่อสะท้อนการเติบโตนั้น

ปัจจุบัน PR ซื้อขายที่ PE~8 เท่า P/B~0.82 เท่า
PB ซื้อขายที่ PE~15 เท่า P/B~2.9 เท่า


หากพิจารณาจากมุมมองธุรกิจ ดูกำไรผมเห็นด้วยครับว่าถือ PR น่าจะดีกว่า PB

แต่หากมองในความเป็นจริง ราคาหุ้นที่ซื้อขาย ผมคิดว่า PB น่าจะให้ผลตอบแทน ไม่ด้อยกว่า PR ครับ




ส่วนกรณี shin ที่ต้องซื้อ shin เหตุผลที่ผมก็ไม่แน่ใจครับ อ่านผ่านๆ ทำนองว่าบริษัทลูกเหล่านั้นเป็นผู้ถือสัมปทานซึ่งห้ามต่างชาติถือครอง ทำให้ต้องมาซื้อบริษัทแม่แทนไงครับ เหมือนกรณีเทเลนอร์ซื้อ UCOM แทนที่จะซื้อ TAC

ขนมปังนี่สุดยอดจริงๆ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ มี.ค. 24, 2006 9:45 am
โดย chatchai
แล้วถ้ามองในแง่กระแสเงินสดที่ได้รับจากการดำเนินงานละครับ  บริษัทไหนน่าลงทุนมากกว่ากัน

และถ้ามีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ทางบัญชีในการรับรู้ผลกำไรของบริษัทร่วมละครับ  เช่น  จากการรับรู้กำไรตามสัดส่วนรายได้  เป็นรับรู้ต่อเมื่อได้รับเงินปันผลละครับ  PR จะมีกำไรลดลงอย่างมาก  P/E ก็สูงขึ้นเกือบตัว  PR ยังน่าลงทุนต่อไหม

ขนมปังนี่สุดยอดจริงๆ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ มี.ค. 24, 2006 10:25 am
โดย คลายเครียด
ขอบคุณสำหรับทุกความเห็นครับ
ผมก็กำลังคิดๆอยู่เหมือนกันว่า
จะเปลี่ยนจาก pb  กลับไปถือ pr ดีหรือไม่
ตอนผมเริ่มขาย pr มาซื้อ pb
pb อยู่ที่ ๒๘   pr  น่าจะประมาณ ๗๐ กว่า ???

ผมมีความเห็นว่า
ราคาของหุ้น ตอนที่เราซื้อในตลาดฯต่างหาก
จะเป็นตัวเครื่องชี้วัดว่า  
เราจะได้ผลตอบแทนเท่าไร
จากหุ้นตัวนั้นครับ  
ไม่ใช่ผลประกอบการเพียงอย่างเดียว

:lol:  :lol:  :lol:  :lol:  :lol:  :lol:  :lol:  :lol:

ที่ผมแปลกใจก็คือ
ทำไมนักลงทุนแนววีไอ
พึ่งจะมาสนใจหุ้น pb
ตอนที่มันราคาขึ้นมาจากไอพีโอตั้งเกือบ ๓ เท่าแล้ว
แต่คนที่ซื้อเยอะที่สุด นับแสนหุ้น  
เท่าที่ผมรู้จัก
คือคุณจรัญ สมาชิกขาจรของทีวีไอ
กลับไม่เคยโพสออกความเห็นอะไรเลย
ทั้งๆที่เป็นคนซื้อสะสมมาตั้งแต่
ยี่สิบปลายๆ ไปถึง สี่สิบต้น

:roll:  :roll:  :roll:  :roll:  :roll:  :roll:  :roll:  :roll:

ขนมปังนี่สุดยอดจริงๆ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ มี.ค. 24, 2006 11:00 am
โดย fantasia
[quote="chatchai"]แล้วถ้ามองในแง่กระแสเงินสดที่ได้รับจากการดำเนินงานละครับ