ทุนจดทะเบียน กับ ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

ล็อคหัวข้อ
ภาพประจำตัวสมาชิก
xcha
Verified User
โพสต์: 160
ผู้ติดตาม: 0

ทุนจดทะเบียน กับ ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว

โพสต์ที่ 1

โพสต์

สงสัยครับว่า มันมีกฎหรือเปล่าว่า ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว จะต้องเป็นกี่ % ของทุนจดทะเบียน
และการมีทุนจดทะเบียนสูงๆจะมีประโยชน์อย่างไรบ้าง (นอกจากใช้เข้าตลาดฯได้) แล้วก็ปกติเค้าใช้ทุนอันไหนอ้างอิงครับ
M149
Verified User
โพสต์: 1477
ผู้ติดตาม: 0

ทุนจดทะเบียน กับ ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว

โพสต์ที่ 2

โพสต์

OK ขอแตกคำถามก่อนนะ
1.มีกฎหรือไม่ในการกำหนดทุนชำระแล้ว
ตอบ: อันนี้ขอให้เช็คอีกที ถ้าจำไม่ผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จะจดทะเบียนบริษัทจะต้องมีทุนชำระแล้วไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของทุนจดทะเบียน แต่ยังไงขอให้ไปเช็คในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อีกทีนะครับ
2.ทุนจดทะเบียนสูงๆมีประโยชน์อะไร
ตอบ: ใช้ในกรณีรับงานครับ คือผู้จ้างจะประเมินความเสี่ยงของผู้รับจ้างว่าทิ้งงานหรือไม่ ส่วนนึงจะพิจารณาจากตรงนี้ครับ เพราะการจดในรูปบริษัทจะถูกจำกัดการรับผิดชอบหนี้ตามทุนจดทะเบียน ดังนั้นสมมุติคุณเป็นผู้ว่าจ้าง จะจ้างงานระดับ 100ล้าน แต่บริษัทมีทุนจดทะเบียนแค่แสนเดียวและมีกำไรสะสมอีกไม่กี่หมื่น ไอ้อย่างงี้ถ้าผู้รับจ้างทิ้งงานผู้ว่าจ้างก็ฟ้องได้แต่ตามทุนที่มี เกินกว่านั้นก็หนี้สูญไงครับ
3.ปกติใช้อันไหนอ้างอิง
ตอบ: ใช้ทั้งสองอันนั่นแหล่ะครับ โดยที่ชำระแล้วเนี่ยทุนที่ชำระมาจะอยู่ในทรัพย์สินบริษัท(ใส่ทุนเข้ามาเงินสดเพิ่มขึ้น) แต่ถ้ายังไม่ชำระก็หมายความว่าเงินบางส่วนยังไม่ได้ลงมาในบริษัท ถ้าการดำเนินการเป็นปกติอยู่ก็ไม่เป็นผลอะไร แต่ถ้ามีการฟ้องร้องเรียกชำระหนี้ ผู้ถือหุ้นจะต้องชำระหนี้ตามส่วนที่ยังไม่ได้มีการชำระทุน ยกตัวอย่างเช่น ราคาหน้าตั๋ว 10 บาท แต่คุณชำระแล้ว 4 บาท ถ้ามีการเรียกหนี้ คุณต้องควักอีกหกบาทออกมาชำระด้วย แต่สำหรับหุ้นที่จดทะเบียนคุณไม่ต้องไปกังวลเรื่องใครจะมาตามหนี้เพิ่มเติมหากหุ้นคุณเจ้ง เพราะราคาที่คุณจ่ายในการซื้อหุ้นนั้นเป็นการซื้อเต็มราคาหน้าตั๋ว หรือที่บอกว่าพาร์10บาทหรือ1บาทนั่นแหละครับ

พอตอบประเด็นข้อสงสัยไหมครับ  :wink:
ภาพประจำตัวสมาชิก
chansaiw
Verified User
โพสต์: 703
ผู้ติดตาม: 0

ทุนจดทะเบียน กับ ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว

โพสต์ที่ 3

โพสต์

เอ๊ะ ข้อ 1ไม่ใช่ 25% เหรอครับคุณ genie
"Failure is the only way to start again intelligently"
ภาพประจำตัวสมาชิก
xcha
Verified User
โพสต์: 160
ผู้ติดตาม: 0

ทุนจดทะเบียน กับ ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอบคุณมากครับ คุณ genie
กระจ่างขึ้นเยอะเลยครับ

แต่ยังงงเรื่องราคาหน้าตั๋วของหุ้นจดทะเบียนที่คุณ genie อธิบายมานิดนึงครับ
คือ พวกบริษัทจดทะเบียนนี่ มูลค่าหุ้นที่อยู่ในตลาดฯ มันจะอิงไปกับทุนจดทะเบียนชำระแล้ว (เช่น AP ซึ่ง par 1 บาท ก็จะมีจำนวนหุ้น = 2,271,887,620 หุ้น ซึ่งจะไปเท่ากับ ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 2,271,887,620.00 บาท)
อย่างนี้หนี้ของส่วนทุนที่ยังไม่ได้ชำระ ผู้ถือหุ้นจะโดนตามเก็บด้วยหรือเปล่าครับ
JoJotaro
Verified User
โพสต์: 213
ผู้ติดตาม: 0

ทุนจดทะเบียน กับ ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ผมคิดว่าต้องถูกเก็บตาม ทุนที่จดเอาไว้นะ
เพราะ บริษัท ทำเอาไว้จำกัดความเสี่ยง
to be the best professional golfer.
M149
Verified User
โพสต์: 1477
ผู้ติดตาม: 0

ทุนจดทะเบียน กับ ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ตกลงเป็น25%ใช่ไหมครับคุณsanchaiw อันนี้ผมไม่แน่ใจ
สำหรับเรื่องราคาหน้าตั๋วไอ้ที่ชำระไม่เต็มโดยมาก(หรือทั้งหมด) จะเป็นหุ้นของพวกถือหุ้นก่อนเข้าตลาด หรือกรรมการก่อตั้งนั่นแหละครับ สำหรับพวกหุ้นที่ผ่านIPOในทางปฏิบัติจะชำระเต็มเสมอ(เพราะไม่รู้จะไปตามค่าหุ้นค้างชำระได้อย่างไร) ดังนั้นในส่วนที่ยังไม่ได้ชำระจะเป็นตัวหุ้นส่วนที่ไม่ได้เข้าตลาด แตไอ้ที่เป็นหุ้นเพิ่มทุน(หุ้นที่เข้าตลาด)ก็จะเป็นห้นที่ชำระเต็มมูลค่าครับ ดังนั้นในการคิดหุ้นที่ชำระแล้วต้องแบ่งออกเป็นสองกอง กองแรกคือหุ้นก่อตั้งซึ่งอาจจะชำระเต็มหรือไม่เต็มก็ได้ กับหุ้นเพิ่มทุนซึ่มโดยปกติจะชำระเต็มมูลค่าแล้ว ถ้าจะเขียนเป็นสมการก็คือ
หุ้นที่ชำระแล้ว= (หุ้นก่อตั้ง x ราคาที่ชำระ) + (หุ้นเพิ่มทุน x ราคาหน้าตั๋ว) ประมาณนี้นะครับ  :wink:
หมายเหตุ
หากอยากเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นลองdownloadหนังสือชี้ชวนมาดูนะครับ ในบทแรกเขาจะเขียนจำนวนหุ้นเดิมกับ จำนวนหุ้นที่จะเพิ่มทุนเอาไว้ครับ  :wink:
ภาพประจำตัวสมาชิก
xcha
Verified User
โพสต์: 160
ผู้ติดตาม: 0

ทุนจดทะเบียน กับ ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว

โพสต์ที่ 7

โพสต์

เข้าใจแล้วครับ
ขอบคุณมากครับ คุณ genie, คุณ Jojotaro, คุณ chansaiw
ภาพประจำตัวสมาชิก
nana
Verified User
โพสต์: 209
ผู้ติดตาม: 0

ทุนจดทะเบียน กับ ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ปกติจะใช้ ทุนชำระแล้วในการอ้างอิงนะ
เช่น บริษัทที่จะนำหุ้นจดทะเบียนในตลาดต้องมี
ทุนชำระแล้วไม่น้อยกว่า 300 ล้าน
หรือไม่น้อยกว่า 20 ล้านหากเป็นตลาดใหม่

อย่าลืมว่า บริษัทเอกชนกับบริษัทมหาชน
ใช้กฎหมายบังคับคนละฉบับ

กรณีบริษัทมหาชน กฎหมายบังคับให้
ต้องชำระค่าหุ้นครั้งเดียวเต็มมูลค่าเสมอ
(ม.54 พรบ.บริษัทมหาชนจำกัด 2535)
จะแบ่งชำระไม่ได้ (และเงินที่ชำระนี้ก็จะไปอยู่ใน
ส่วนทุนชำระแล้ว) จึงไม่มีกรณีการเรียกให้ชำระค่าหุ้นเพิ่ม
ภายหลัง ในขณะที่บริษัทเอกชนกฎหมายบอกว่า ต้องชำระค่าหุ้น
อย่างน้อย 25% ของมูลค่าหุ้นที่ตั้งไว้ (Par)
(ม.1105 ปพพ.)

ส่วนการนำหุ้นมาจดทะเบียนในตลาดต้องเอา
หุ้นสามัญทั้งหมดที่ออกมาจดทะเบียน และบริษัทในตลาด
ก็ต้องเป็นบริษัทมหาชนเท่านั้น

กรณี AP ที่คุณยกมานั้น
มีทุนจดทะเบียน 2,343,150,000 บาท ประกอบด้วย
หุ้นที่จดทะเบียนไว้ 2,343,150,000 หุ้น ราคา Par 1 บาท
ซึ่งมากกว่าีทุนชำระแล้วซึ่งมี 2,271,887,620 บาท ประกอบด้วย
หุ้นที่ออกไปแล้ว 2,271,887,620 หุ้น ราคา Par 1 บาท
หากบริษัทขายหุ้นในราคาสูงกว่า
Par ก็จะมีส่วนล้ำมูลค่าหุ้นเพิ่มอีก

ทุนชำระแล้วและส่วนล้ำมูลค่าหุ้นคือเงินที่บริษัทได้รับ

ทุนจดทะเบียนช่วยให้เราทราบว่า AP
ยังสามารถออกหุ้นได้อีก 71,262,380 หุ้น (มีสำรองไว้)
แต่หากต้องการออกหุ้นจำนวนมากกว่านี้ AP จะต้องทำการ
เพิ่มทุน(จดทะเบียน) ซึ่งอย่างน้อย ต้องได้คะแนนเสียงจาก
ผู้ถือหุ้นไม่น้่อยกว่า 3/4 และมีขั้นตอนอื่นๆอีก

การเปลี่ยนแปลงทั้งทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้ว
ต้องนำไปจดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ทั้งคู่
Markets can remain irrational longer than you can remain solvent. -John Maynard Keynes
ล็อคหัวข้อ