ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14783
ผู้ติดตาม: 0

ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

โค้ด: เลือกทั้งหมด

ส่วนยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 กันยายน 2548 มีจำนวน 3,277,498 ล้านบาท หรือร้อยละ 45.89 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 1,826,994 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1,012,765 ล้านบาท และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ 437,739 ล้านบาท 
ประเทศต้องจ่ายดอกเบี้ยปีละเท่าไร

ในขณะที่กิจการต่างๆในประเทศได้กำไร

โค้ด: เลือกทั้งหมด

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) จำนวน 465 บริษัท หรือร้อยละ 96 ของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด 486 บริษัท ได้ส่งงบการเงินงวดสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2548 มายังตลาดหลักทรัพย์แล้ว โดยมีกำไรรวมกัน 363,936 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 322,440 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 13 โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีกำไรสุทธิสูงสุด 3 อันดับแรก คือ กลุ่มทรัพยากร กลุ่มธุรกิจการเงิน และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง บริษัทที่มีกำไรสุทธิสูงสุด 5 อันดับแรก คือ บมจ.ปตท. บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม บมจ.ธนาคารกรุงเทพ และ บมจ.ไทยพาณิชย์ 
แต่ให้ต่างชาติเข้ามาถือหุ้นตั้งเยอะ

อืม แล้วจะรอดได้ไง

ส่วนกำไรยกให้ต่างชาติ แต่กู้เงินมาทำโครงการต่างๆต้องจ่ายดอกเบี้ย

นักเศรษฐศาสตร์ในเว็บมีปะ ช่วยอธิบายให้ฟังหน่อยดิ ว่าดี หรือไม่ดี

ในด้านเศรษฐกิจนะ ไม่เอาการเมือง
ภาพประจำตัวสมาชิก
LOSO
Verified User
โพสต์: 2512
ผู้ติดตาม: 0

ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

อ้าว  พี่เจ๋งไม่ได้ไปมาววววววววววววว เหรอ ..........อิอิ
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14783
ผู้ติดตาม: 0

ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

พิจารณาดูจากฝนตกหนักขนาดนี้แย้ว มาวที่บ้านดีกว่า
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปรัชญา
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 18252
ผู้ติดตาม: 0

ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

อยากเห็นราคาหุ้นเมื่อ9ปีก่อน
ShexShy
Verified User
โพสต์: 577
ผู้ติดตาม: 0

ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

มองไปข้างหน้าด้วยหรือเปล่าครับ
จะมีหนี้ที่เกิดจาก Maga Project อีก

:D  :D  :D
Supra
Verified User
โพสต์: 479
ผู้ติดตาม: 0

ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

:cry:  :cry:

      ทำไมไม่ส่งเสริมในการศึกษา   ความรู้   ให้แก่ประชาชน แต่กลับใช้ทุนหว่านอย่างกะแจกฟรี  อนาคตจะเป็นอย่างไร  น่าห่วง.... :cry:
*****
ภาพประจำตัวสมาชิก
สามัญชน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 5162
ผู้ติดตาม: 0

ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ส่วนยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 กันยายน 2548 มีจำนวน 3,277,498 ล้านบาท หรือร้อยละ 45.89 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 1,826,994 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1,012,765 ล้านบาท และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ 437,739 ล้านบาท
พี่เจ๋งเอามาจากไหนอ่ะ....

แล้วมีข้อมูลย้อนหลังให้ดูเปรียบเทียบไหมครับ

จำได้ลางๆว่า  ปลดหนี้ IMF แล้วไม่ใช่หรือ  แล้วก่อนหน้านี้มีหนี้เท่าไหร่ครับ
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
โป้ง
Verified User
โพสต์: 2326
ผู้ติดตาม: 0

ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ลองมาดูตัวเลขที่เวปนี้ครับ

www.pdmo.mof.go.th/

แต่สัดส่วนร้อยละหนี้สาธารณะ/GDP ยังสูงอย่างต่อเนื่องอยู่นิครับ

ใครพอรู้บ้างครับ หนี้ภาคครัวเรือน สามารถดูได้จากตรงไหน
งด เลิก เสพ สุรา บุหรี่ วันนี้ เพื่อชีวิตที่ดีของท่าน
โป้ง
Verified User
โพสต์: 2326
ผู้ติดตาม: 0

ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ครุกแมน คราวที่มาไทย ก็มีคนถามเกี่ยวกับหนี้สาธารณะครับ
เขาบอกหนี้สาธารณะไทยยังไม่เข้าขั้นวิกฤติตราบที่อัตราการเติบโตทางเศษรฐกิจยังมีอย่างต่อเนื่อง

แต่ที่เขาคิดว่าน่าจะมีปัญหา คือหนี้ภาคครัวเรือน ครับ
งด เลิก เสพ สุรา บุหรี่ วันนี้ เพื่อชีวิตที่ดีของท่าน
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11443
ผู้ติดตาม: 0

ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ

โพสต์ที่ 10

โพสต์

หนี้สาธารณะไม่ใช่หนี้ต่างประเทศนี้ครับ

แล้วคนก็ชอบเอาหนี้สินไปเปรียบเทียบกับรายได้ต่อปี  ตัวเลขเลยดูเหมือนเยอะ

ผมถามว่าคนกู้เงินซื้อบ้านเป็นเรื่องปรกติไหมครับ  แล้วถ้าเอายอดหนี้เทียบกับรายได้ต่อปีจะกี่เท่าละครับ

เวลาพิจารณาความมั่นคงทางการเงินของบริษัท  เราพิจารณายอดหนี้เทียบกับทุน  ใช่ไหมครับ  มีใครเทียบยอดหนี้กับรายได้ต่อปี  หรือกำไรต่อปีไหมครับ
ForrestGump
Verified User
โพสต์: 1435
ผู้ติดตาม: 0

ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ

โพสต์ที่ 11

โพสต์

แต่พี่ฉัตรชัยครับ ที่พี่เจ๋งพูด ก็คือ ภาระผูกพันการชำระดอกเบี้ยและเงินต้น ที่ต้องจ่ายแต่ละปี ก็ค่อนข้างมาก

แถมยังเรื่อง คุณภาพ การใช้เงินที่กู้มาอีกนะครับว่า จะไปก่อให้เกิดประโยชน์มากแค่ไหน และ แต่ละ project สามารถเลี้ยงตัวเองได้แค่ไหน

รวมถึง เม็ดเงินที่หายไปจากระบบโดยการทุจริต คอรัปชั่น อีกเท่าไหร่

พี่เจ๋งถึงว่า ประเทศไทยถึงน่าเป็นห่วง

ไม่รู้ผมมองโลกแง่ร้ายไปป่าว แต่ ยอดน้ำแข็งที่โผล่มานิดเดียว ยังมีเรื่องที่เราไม่รู้อีกเยอะนะ
กฎข้อที่1 อย่ายอมขาดทุน กฎข้อที่2 กลับไปดูกฎข้อที่ 1
ภาพประจำตัวสมาชิก
Willpower
Verified User
โพสต์: 87
ผู้ติดตาม: 0

ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ไม่ใช่นักเศรษฐศาสตร์นะครับแต่ขอตอบเนื่องจากพัวพันและทำงานกับเรื่องพวกนี้อยู่การ Debt/GDP นี่จะเปรียบเทียบกับ Private Sector ค่อนข้างยากครับ ญี่ปุ่นมี Debt/GDP เป็นร้อยละร้อยลองดูข้อมูลด้านล่างนะครับ

http://www.cia.gov/cia/publications/fac ... /2186.html

ปกติเงินกู้นี่รัฐบาลจะกู้จาก พวก JBIC Worldbank หรือไม่ก็ ADB
เป็นส่วนใหญ่พวกนี้ถ้าดอก ร้อยละ 1 อย่าง JBIC จะเป็น Supplyer Contract
เวลากู้เราจะกู้เยอะมาก การกู้ในประเทศมากเกินไปจะเกิด Crowding out effect หรือเรียกว่าแย่งเงินจากภาคเอกชนทำให้ดอกเบี้ยในประเทศสูง

เหตุที่เราใช้ Debt/GDP อันนี้ก็เพราะนักวิชาการ IMF อยากดูว่าเราจ่ายเงินกู้เขาได้หรือเปล่า หนี้สาธารณะที่เราเห็นอยู่เป็นหนี้สาธารณะในความหมายกว้างคือรวม หนี้ที่รัฐไม่ได้ค้ำประกันด้วย พูดง่าย ๆ คือนับการค้ำประกันด้วย เหตุที่ต้องนับหนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำที่รัฐวิสาหกิจเป็นคนกู้ก็เนื่องจากถ้า รัฐวิสาหกิจไม่ปัญญาใช้ รัฐบาลก็ต้องใช้ให้อยู่ดี

สัดส่วนของ Debt/GDP ลดลงจากร้อยละ 60 กว่ามาเหลือร้อยละ 45 มีแนวโน้มลดลง แต่อย่างไรก็ตาม อาจจะเป็นเพราะ จีดีพี มันโต สัดส่วนหนี้โตช้ากว่า นั่นเอง เป็นเหตุให้รัฐบาลต้องปั๊ม จีดีพี เพราะ เศรษฐกิจยิ่งโต รายได้จากภาษียิ่งเพิ่ม ทำให้มี รูมพอที่จะใช้หนี้ได้ไวขึ้นและนำเงินส่วนเหลือมาใช้เอง
GDP เป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจแต่ถ้ากิจกรรมมากภาษีมาก รายได้มาก
นั่นเอง
ถูกผิดขออภัย ฟัง ๆมาเป็นแบบนี้ละครับ


[/img]
ภาพประจำตัวสมาชิก
Willpower
Verified User
โพสต์: 87
ผู้ติดตาม: 0

ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ส่วน เจ้าหนี้พวก IMF ADB Worldbank JBIC ชอบให้เรากู้หรือแย่งกันให้กู้
เพราะรัฐ มันอำนาจในการเก็บภาษีและรัฐไม่มีคำว่าเจ๊ง
แต่แย่ ก็ไม่แน่หนะ :D
ส่วนการกู้รัฐบาลจะกู้ได้เงื่อนไขดีกว่าเอกชน ดอกถูกกว่า เทอมก็ยาวกว่า
พวก JBIC มันให้เรากู้ตั้ง 30 ปีหนะ

แต่อย่างไรก็ตามถ้าจะได้ดี หนี้มันควรลดไปเรื่อย ๆ หนะเซฟกว่ากันเยอะ :D
MisterK
Verified User
โพสต์: 857
ผู้ติดตาม: 0

ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ

โพสต์ที่ 14

โพสต์

บอร์ดนี้ผู้รู้เยอะและกว้างขวางในแขนงต่าง ๆ จริง ๆคับ  

:bow:  :bow:
M149
Verified User
โพสต์: 1477
ผู้ติดตาม: 0

ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ

โพสต์ที่ 15

โพสต์

โอ้ว...ผมพลาดประเด็นนี้ไปได้ยังไงเนี่ย เดี๋ยวขอหาข้อมูลแป๊บนึงครับแล้วจะมาตอบ  :wink:
M149
Verified User
โพสต์: 1477
ผู้ติดตาม: 0

ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ

โพสต์ที่ 16

โพสต์

จากหนังสือเรื่อง ทะลุมิติเศรษฐกิจการคลังไทย เขียนโดย ดร.สมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง แหะๆอาจารย์อู้ของผมเอง ได้เขียนเรื่อง กรอบความยั่งยืนทางการคลัง ซึ่งกำหนดโดยกระทรวงการคลัง(ในคลาสแกบอกมาอีกทีว่าอิงมาจากหลักเกณฑ์ของIMFอีกทีนึง)มีด้วยกันทั้งหมด 4 เกณฑ์ ดังต่อไปนี้ครับ
1.สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP จะต้องไม่เกินร้อยละ50
2.ภาระหนี้ต่องบประมาณรายจ่ายประจำปีไม่เกินร้อนละ15
3.รัฐบาลสามารถจัดทำงบประมาณสมดุลได้ภายในปีงบประมาณ2548
และ4.งบลงทุนต่องบประมาณของรัฐบาลไม่ต่ำกว่าร้อยละ25
M149
Verified User
โพสต์: 1477
ผู้ติดตาม: 0

ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ

โพสต์ที่ 17

โพสต์

ดังนั้นในประเด็นที่พี่เจ็งเป็นห่วงต้องดูที่หลักเกณที่2ครับ เพราะหลักเกณฑ์ที่2จะเป็นการบอกว่า ประเทศไทยมีปัญญาใช้ภาระหนี้ ณ วันนี้รึเปล่า หรือคิดให้ง่ายๆหน่อย ใบแจ้งหนี้บัตรมาแล้วครับคุณมีปัญญาชำระขั้นต่ำรึเปล่าคุณเลือกได้ 1.ปิดบัญชี 2.ชำระมาก 3.ชำระขั้นต่ำ 4.โดนปรับผิดหนี้ สมัครปุ๊บเป็นหนี้ปั๊บรับง่ายๆครับ  :lovl:
M149
Verified User
โพสต์: 1477
ผู้ติดตาม: 0

ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ

โพสต์ที่ 18

โพสต์

นี่คือสัดส่วนหนี้ภาครัฐของไทยครับ http://www.bot.or.th/bothomepage/databa ... ab37-1.asp
M149
Verified User
โพสต์: 1477
ผู้ติดตาม: 0

ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ

โพสต์ที่ 19

โพสต์

อันนี้อีกอัน http://www.bot.or.th/bothomepage/databa ... ndex06.htm
M149
Verified User
โพสต์: 1477
ผู้ติดตาม: 0

ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ

โพสต์ที่ 20

โพสต์

ดูtableนี้นะครับ ว่ายังอยู่ในหลักเกณฑ์ที่2รึเปล่า http://www.fpo.go.th/fiscaldata.php?act ... &section=1 ซึ่งในตารางอยู่ที่ 2.9% ก็ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดนะครับ :wink:
M149
Verified User
โพสต์: 1477
ผู้ติดตาม: 0

ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ

โพสต์ที่ 21

โพสต์

เอ้ามาดูซิ กระทรวงการคลังเขาว่ามาว่ายังไง

ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2548 (ณ เดือนสิงหาคม 2548)

                 สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) คาดว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2548 จะมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 4.1-4.6 ต่อปี ปรับลดลงจากประมาณการครั้งก่อนที่ร้อยละ 4.6-5.1   ต่อปี เนื่องจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับเศรษฐกิจในไตรมาส 1 ขยายตัวเพียงร้อยละ 3.3 ต่อปี อย่างไรก็ตาม จากเครื่องชี้เศรษฐกิจต่างๆ ในไตรมาส 2 ที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น ทำให้ สศค. มั่นใจว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาส 2 จะขยายตัวดีกว่าไตรมาส 1 และในครึ่งหลังของปี หากนโยบายบริหารการส่งออกทำได้ตามเป้า และสามารถควบคุมการนำเข้าไม่ให้สูงเกินไป เศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังจะขยายตัวได้ดีขึ้นมาก

                ดร. สมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) แถลงข่าว ประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2548 ว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2548 จะขยายตัวได้ร้อยละ 4.1-4.6 ต่อปี เนื่องจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กอปรกับเศรษฐกิจในไตรมาส 1 ขยายตัวเพียงร้อยละ 3.3 ต่อปี แต่จากเครื่องชี้เศรษฐกิจมหภาคหลายตัว เช่น ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตภาคเกษตร จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ จำนวนการจ้างงาน เป็นต้น บ่งชี้ว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาส 2 จะดีกว่าไตรมาส 1 อีกทั้งคาดว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปีจะสูงกว่าครึ่งแรกของปี เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายบริหารการส่งออก ท่องเที่ยว และนำเข้า ซึ่งจะช่วยให้ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดดีขึ้นด้วย นอกจากนี้รัฐบาลยังมีการตั้งงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมกลางปี มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น และมีเม็ดเงินลงทุนในโครงการ Mega Projects กอปรกับปัจจัยลบต่างๆ ในประเทศเริ่มคลี่คลายลง เช่น  คลื่นยักษ์ Tsunami ภัยแล้ง ไข้หวัดนก ประกอบกับการเข้าสู่ฤดูฝน และนโยบายการเร่งแก้ปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำในภาคตะวันออกจะช่วยให้สถานการณ์ขาดแคลนน้ำดีขึ้น

                ผลการประมาณการด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ในกรณีสูง (กระตุ้นให้มูลค่าสินค้าส่งออกในครึ่งหลังของปีขยายตัวได้ร้อยละ 20 ต่อปี ตามเป้าหมาย และควบคุมสินค้านำเข้าไม่ให้มูลค่าสินค้านำเข้าขยายตัวเกินกว่าร้อยละ 26.4) พบว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจทั้งปีจะอยู่ที่ร้อยละ 4.6 ต่อปี ส่วนในกรณีต่ำ (มูลค่าสินค้าส่งออกในครึ่งหลังของปีขยายตัวได้ร้อยละ 18 ต่อปี มูลค่าสินค้านำเข้าขยายตัวร้อยละ 26.0) พบว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจทั้งปีจะอยู่ที่ ร้อยละ 4.1 ต่อปี  

                ผลการประมาณการด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ในกรณีสูง (กระตุ้นให้มูลค่าสินค้าส่งออกในครึ่งหลังของปีขยายตัวได้ร้อยละ 20 ต่อปี ตามเป้าหมาย และควบคุมสินค้านำเข้าไม่ให้มูลค่าสินค้านำเข้าขยายตัวเกินกว่าร้อยละ 26.4) พบว่า ดุลบัญชีเดินสะพัดทั้งปีขาดดุลประมาณ -3.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ -2.2 ของ GDP ส่วนในกรณีต่ำ (มูลค่าสินค้าส่งออกในครึ่งหลังของปีขยายตัวได้ร้อยละ 18 ต่อปี มูลค่าสินค้านำเข้าขยายตัวร้อยละ 26.0) พบว่า ดุลบัญชีเดินสะพัดทั้งปีขาดดุลประมาณ -4.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ -2.8 ของ GDP ทั้งนี้ ดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วงครึ่งหลังของปีจะกลับมาเกินดุลได้ประมาณ 1.2-2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากที่ขาดดุลถึง -6.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในครึ่งแรกของปี ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปทั้งปีจะอยู่ที่ร้อยละ 4.5 ต่อปี เร่งตัวขึ้นตามการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก

ดูเพิ่มเติมที่นี่ครับ http://www.fpo.go.th/content.php?action ... 000&id=795
M149
Verified User
โพสต์: 1477
ผู้ติดตาม: 0

ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ

โพสต์ที่ 22

โพสต์

อันนี้อีกอัน

รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง เดือนกันยายน 2548

                    เศรษฐกิจไทยโดยรวมในเดือนกันยายน พบว่าเศรษฐกิจภาคอุปทานปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากระดับการจ้างงานในระบบเศรษฐกิจโดยรวม ที่ยังคงอยู่ในระดับสูง และมีแนวโน้มที่สามารถขยายตัวได้ดีในไตรมาสที 4 อันเป็นผลจากการฟื้นตัวของการจ้างงานในภาคเกษตร โดยสามารถกลับมาขยายตัวสูงกว่าภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2  ประกอบกับการจ้างงานภาคการโรงแรมปรับตัวดีขึ้น ตามการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ โดยเฉพาะจากประเทศจีน กลับมาขยายตัวสูงขึ้น ขณะที่เศรษฐกิจภาคอุปสงค์ภายในประเทศ ทั้งการบริโภค และการลงทุนภาคเอกชนยังคงทรงตัว สำหรับภาคการค้าต่างประเทศยังคงส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ  โดยมีแรงผลักดันจากการขยายตัวสูงของการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้น และการนำเข้าชะลอตัวลงตามเป้าหมายของนโยบายบริหารการนำเข้า โดยการนำเข้าน้ำมันดิบลดลงอย่างต่อเนื่อง ตามการบริโภคภายในประเทศที่ลดลง รวมถึงสินค้าที่เคยขยายตัวสูง ได้แก่ เหล็ก และทองคำ นอกจากนี้ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และภาคธุรกิจต่อเศรษฐกิจไทย ได้เริ่มฟื้นตัว โดยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคกลับมาปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีต่อแนวโน้มของเศรษฐกิจในอนาคต

                   อย่างไรก็ตาม เสถียรภาพเศรษฐกิจต่างประเทศ สะท้อนจากทุนสำรองระหว่างประเทศยังคงอยู่ในเกณฑ์ดีขณะที่ระดับราคาภายในประเทศปรับตัวสูงตามแรงกดดันของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และอาหาร                

                  ระดับการจ้างงานในระบบเศรษฐกิจโดยรวม ยังคงอยู่ในระดับสูง และการจ้างงานในไตรมาสที่ 4 จะยังคงขยายตัวต่อเนื่อง โดย ระดับการจ้างงานในระบบเศรษฐกิจที่อยู่ในระดับสูงสะท้อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจากไตรมาสที่ 1 และ 2 โดยอัตราการว่างงานในเดือนกันยายน อยู่ที่ร้อยละ 1.3 ต่ำกว่าทั้งช่วงเดียวกันของปีก่อน และเดือนก่อน ส่วนหนึ่งเกิดจากแรงผลัดดันของการฟื้นตัวของการจ้างงานในภาคเกษตร หลังจากที่ประสบกับภาวะภัยแล้งในช่วงที่ผ่านมา ขณะที่ ในช่วงไตรมาส
ที่สุดท้ายของปี จะเป็นช่วง High Season ของการท่องเที่ยว และภาคการผลิต จะมีเพิ่มการผลิตเพื่อรองรับกับคำสั่งซื้อในช่วงเทศกาลสิ้นปี ทำให้คาดว่าแนวโน้มการจ้างงานในช่วงไตรมาสที่เหลือของปีจะปรับตัวดีขึ้น

                   การจ้างงานในภาคเกษตรสามารถกลับมาขยายตัวสูงกว่าในภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 โดยปัจจัยหลักที่ส่งผลให้ความต้องงานแรงงานในภาคเกษตรสูงขึ้น เนื่องจากฝนที่ตกอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ได้บรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำ ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในช่วงฤดูการเพาะปลูกในที่ผ่านมา แม้ว่าในพื้นที่ภาคเหนือจะประสบปัญหาน้ำท่วม ประกอบกับระดับราคาสินค้าเกษตรหลักได้ปรับเพิ่มขึ้น ทั้งราคาข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง และอ้อย ช่วยเพิ่มแรงจูงใจให้เกษตรกรเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น นอกจากนี้ ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรหลักในเดือนสิงหาคม ปรับตัวขึ้นเล็กน้อย โดยขยายตัวร้อยละ 3.6 เป็นผลจากผลผลิตข้าวนาปีในฤดูกาลเพาะปลูกใหม่เริ่มออกสูงตลาด ขณะที่พืชผลหลักอื่นส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง เนื่องจากอยู่ในช่วงหลังฤดูเก็บเกี่ยวเป็นส่วนใหญ่ ประกอบกับผลผลิตลดลงจากภาวะภัยแล้งในช่วงที่ผ่านมา แต่ในฤดูเก็บเกี่ยวหน้า คาดว่าผลผลิตที่ได้จะเพิ่มขึ้นจากภาวะภัยแล้งได้คลี่คลายแล้ว แต่ผลผลิตที่ออกมามากอาจจะกดดันให้ราคาสินค้าเกษตรขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงได้

                  ภาคอุตสาหกรรมโดยรวมยังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนสิงหาคมขยายตัวได้ร้อยละ 10.6 โดยเฉลี่ย 8 เดือนแรก ของปี 2548 ดัชนีผลผลิตสามารถขยายตัวได้ร้อยละ 6.4 โดยอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่ขยายตัวถึงร้อยละ 27.6 โดยเฉพาะ Hard Disk Drive ที่ขยายตัวได้ถึงร้อยละ 40 ขณะที่อุตสาหกรรมก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 10.0 นอกจากนี้ ยังมีอุตสาหกรรมที่เริ่มมีการปรับตัวดีขึ้น ประกอบด้วย อุตสาหกรรมอาหารที่ขยายตัวร้อยละ 16.2 อุตสาหกรรมยานยนต์ขยายตัวร้อยละ 24.1 โดยเฉพาะการผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ขยายตัวอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 85.3 ขณะที่การผลิตรถยนต์นั่งส่วนบุคคลกลับมาปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยขยายตัวร้อยละ 6.1 ขณะที่อุตสาหกรรมสิ่งทอ เริ่มกลับมาขยายได้ดีขึ้น หลังจากที่มีการส่งออกสินค้าไปยังประเทศจีนได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมหมวดเหล็กชะลอตัวลง ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนสิงหาคมอยู่ที่ร้อยละ 70.5


ดูรายละเอียดhttp://www.fpo.go.th/content.php?action ... 000&id=957
ภาพประจำตัวสมาชิก
Rocker
Verified User
โพสต์: 4526
ผู้ติดตาม: 0

ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ

โพสต์ที่ 23

โพสต์

พี่ genie เซียนตัวจริงมา อีกแย้วว เย้

นั่นสิ พลาดไปได้งพี่ !!!!
:lol:
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11443
ผู้ติดตาม: 0

ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ

โพสต์ที่ 24

โพสต์

genie เขียน:1.สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP จะต้องไม่เกินร้อยละ50
2.ภาระหนี้ต่องบประมาณรายจ่ายประจำปีไม่เกินร้อนละ15
3.รัฐบาลสามารถจัดทำงบประมาณสมดุลได้ภายในปีงบประมาณ2548
และ4.งบลงทุนต่องบประมาณของรัฐบาลไม่ต่ำกว่าร้อยละ25
ขอสอบถามหน่อยนะครับว่า  ตัวเลขที่กำหนดในแต่ละข้อนั้น  มีเหตุผลอะไรอยู่เบื้องหลังบ้างครับ

เช่น  สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP จะต้องไม่เกินร้อยละ50

ทำไมต้องไม่เกินร้อยละ 50  พอทราบไหมครับ
thaistock2005
Verified User
โพสต์: 424
ผู้ติดตาม: 0

ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ

โพสต์ที่ 25

โพสต์

อยากให้คิดถึงเงินที่ไหลออกจากกำไรของบริษัทต่างชาติด้วยครับ
เช่น lotus bigc ผมว่าบริษัทที่เข้ามาเปิดและโกยกำไรกลับไป
อีก เป็นอีกอันที่ผมวิตก ก็ไม่เคยเห็นรัฐจะเข้ามาคิดถึงตรงนี้บ้างเลย
คิดถึงแต่นโยบายประชานิยม คิดถึงตรงนี้ด้วยก็จะดีมาครับ
WaveRider965
Verified User
โพสต์: 84
ผู้ติดตาม: 0

ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ

โพสต์ที่ 26

โพสต์

เยี่ยมๆ ขอความรู้ด้วยคนกับ GDP และหนี้สาธารณะ
ไม่รู้ว่าตัวเลขทั้งสองตัวนี้ เป็นตัวแทนของคนในประเทศได้ดีแค่ไหน
อะไรเป็นข้อสมมติฐานของค่าทั้งสอง

มีคำถามโง่ๆที่อยู่ในใจ เช่น
GDP เพิ่มขึ้น แต่ทำไมเงินได้ของผมไม่เพิ่ม
หนี้สาธารณะเพิ่ม แต่ผมไม่เห็นจะมีหนี้อะไรเลย

หากคำถามเหล่านี้ เป็นสัดส่วนน้อยในประชากรทั้งหมด คงไม่มีปัญหา
แต่หากมันมีสัดส่วนมาก จะเป็นอย่างไร ?  หากส่วนน้อยแต่มีผลมาก จะเป็นอย่างไร ?
แล้วจริงๆมันเป็นเช่นไรหรือ

thaistock2005 พูดถึงบริษัทข้ามชาติ อันนี้น่าสนใจ ...
ทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็น ทุนข้ามชาติ ได้ต่อเชื่อมเข้าสู่ไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
(บางทีก็จงใจไม่หลีกเลี่ยงกัน)
คิดแล้วให้นึกถึง MLM ...
ระดับธรรมดา ก็คือคนทั่วไปที่ช่วยจ่ายและลงแรง
ระดับไทเทเนี่ยม ก็ชนชั้นกลางทั่วไป ที่ช่วยขับดัน GDP
ระดับเพชร ก็คือคนบนยอดของสังคม ที่มีสายเชื่อมโยงสู่ต่างประเทศ
ระดับมณีบุศราคัมสุกสกาว ก็นั่งๆนอนๆอยู่ที่เมืองนอกโน้นนนน

นั่นเป็นกติกามารยาท ของทุนนิยม อันที่จะโวยวายมิได้
หากแต่คนระดับไทเทเนี่ยม สามารถช่วยกันคิด ช่วยกันสร้าง ภูมคุ้มกันแก่คนระดับธรรมดาได้
คนระดับเพชร ต้องบีบท่อ อันจะเป็นทางลำเลียงผลประโยชน์ ออกภายนอกให้ได้
เราทำได้ แต่ความยากลำบากย่อมมีเพราะต้องต่อสู้
ทั้งแรงผลักดันจากภายนอกที่นับวันจะทวีความรุนแรง
และแรงผลักดันภายใน จากผลประโยชน์ที่เย้ายวนให้คิดถึงตัวเองก่อนคิดถึงคนอื่น

เออ ... เห็นการพัฒนาชาติ มุ่งไปที่ GDP เพิ่มกันทุกยุคทุกสมัย
ก็คิดหวังกับมันมาก เพราะไม่ค่อยมีความรู้กับมัน ว่า
มันคงทำให้ เราร่ำรวยขึ้นสิน่ะ
มันคงทำให้ สังคมดีขึ้นสิน่ะ
มันคงทำให้ สิ่งแวดล้อมสะอาดสิขึ้นน่ะ
มันคงทำให้ ชีวิตเราดีขึ้น ... แน่นอน ...

คอยฟังผู้รู้มาบรรยายดีกว่า  :idea:
ด๊กดิงด่าง
Verified User
โพสต์: 312
ผู้ติดตาม: 0

ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ

โพสต์ที่ 27

โพสต์

คิดว่าไม่น่าเป็นห่วง  แต่ในระยะยาวหากเรายังเน้นแต่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างเดียวแต่ไม่ให้ความสมดุลย์ระหว่างภาคเมืองกับภาคชนบทที่มีการพึ่งพิงปัจจัยพื้นฐานที่ต่างกัน(ธุรกิจการค้าอุตสาหกรรมและการเกษตรเพื่อการยังชีพตามลำดับ)ไม่นานภาคชนบทจะค่อยๆถูกเปลี่ยนให้มีวิถีแบบภาคเมืองจนหมด(ทุกวันนี้แรงงานภาคเกษตรถูกดูดเข้าสู่ภาคการค้าอุตสาหกรรมมากขึ้นเรื่อยๆจนไม่สามารถจ้างงานราคาถูกในภาคเกษตรได้อีกต่อไปมองในแง่บุคคลแล้วเป็นเรื่องที่ดีเพราะรายได้เพิ่ม  แต่ดีจริงหรือที่ต้องอพยพย้ายถิ่นค่าใช้จ่ายกลับเพิ่มขึ้นกลายเป็นคนจนเมืองทำให้มีต้นทุนทางสังคมเพิ่มขึ้น)  ผลกระทบที่เกิดขึ้นคือต้องเปลี่ยนไปใช้เครื่องจักรและพลังงานน้ำมัน  ความสามารถในการพึ่งตนเองจะค่อยๆลดลงเพราะต้องอาศัยปัจจัยภายนอกเพื่อการผลิตและการบริโภค(ตัวอย่างที่เห็นปัจจุบันที่เกือบไม่มีการใช้วัวและควายแต่กลับใช้ควายเหล็กและน้ำมันซึ่งเป็นปัจจัยจากภายนอกที่ควบคุมได้ยากเพราะขึ้นอยู่กับกระแสหลักของโลก ข้าวขึ้นราคาแต่ชาวนามีกำไรไม่มากอย่างที่คิดถ้ารัฐบาลไม่ประกันมีหวังวุ่นแน่แต่รัฐบาลจะประกันได้ทุกพืชผลหรือ)ทั้งๆที่เรามีปัจจัยทางธรรมชาติหรือนิเวศน์ที่ทำให้ภาคชนบทอยู่รอดได้อย่างสบายหากเรารักษาและฟื้นฟูไว้ตลอดเวลาเช่นการปลูกป่าทดแทนส่วนที่ถูกตัดไปใช้  การพัฒนาแหล่งน้ำ  หากเราฟื้นฟูระบบนิเวศน์ภาคชนบทเพื่อคงศักยภาพในการพึ่งตนเองไว้  ปัญหาการแกว่งตัวของภาวะเศรษฐกิจตามกระแสโลกก็จะกระทบกับเรา(ประเทศไทย)ไม่มากนัก  วิกฤติเศรษกิจคราวที่แล้วเพราะมีภาคชนบท(เกษตรเพื่อการยังชีพ)คนที่หลุดออกจากภาคอุตสาหกรรมยังสามารถอยู่รอดได้(ไม่ได้เงิน=GDPลดแต่มีอยู่มีกิน)เราไม่ต้องเข้าคิวรับส่วนแบ่งอาหารเหมือนบางประเทศ

     ไม่ได้ปฏิเสธการเติบโตของเศรษฐกิจแต่เป็นห่วงเรื่องความสมดุลย์ระหว่างเมืองกับชนบทและความสามารถในการพึ่งตนเองของประเทศจะลดลง เห็นงบเมกกะโปรเจ็คแล้วเสียดายมาก เพราะอีกไม่นานความหนาแน่นของเมืองก็จะเพิ่มขึ้นจากความสะดวกของการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนที่ทันสมัย  แล้วเราจะต้องลงทุนเมกกะโปรเจ็คอีก  ไม่ทราบโครงการใหญ่ๆเช่นนี้ต้องนำเข้าปัจจัยภายนอกแค่ไหนแทนที่จะเอาเงินส่วนนี้พัฒนาฟื้นฟูปัจจัยภายในรัฐบาลน่าจะมีนโยบายจำกัดความหนาแน่นหรือการเติบโตของเมืองอย่างจริงจังแล้วนำงบประมาณไปใช้ในภาคชนบทในสัดส่วนที่มากขึ้น  โดยเฉพาะการรักษาฟื้นฟูระบบนิเวศน์และการเกษตรเพื่อการยังชีพหรืออุตสาหกรรมระดับชุมชนเพื่อตรึงคนไม่ให้อพยพเข้าเมือง
การทำอะไรแบบเดิมๆเป็นเวลานานๆทำให้ชีวิตเสียหาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
Willpower
Verified User
โพสต์: 87
ผู้ติดตาม: 0

ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ

โพสต์ที่ 28

โพสต์

อืม คุณ Genie เป็นลูกศิษย์อาจารย์อู้ นี่เองผมคงไม่ขอตอบเพิ่มอะไรมาก

แต่ขอเสริมคือเหตุที่กำหนดหนี้สาธารณะไม่เกินร้อยละ 50 คือจริงในทางปฏิบัติเราจะไม่รู้แน่ชัดว่าหนี้สาธารณะของประเทศควรอยู่ที่ระดับใดจะสังเกตได้ว่าแต่ละประเทศมีระดับหนี้ที่แตกต่างกันมาก แต่เหตุที่กำหนดให้ไม่เกินก็เพื่อที่รัฐบาลจะได้ไม่ก่อหนี้มากเกินไปหรือใช้เงินเกินตัวนั่นเองเพราะก่อนหน้านี้หนี้สาธาณะสูงสุดที่ประมาณร้อยละ 60 หนะครับ ส่วนอัตราส่วนภาระหนี้ต่องบประมาณคือ การจ่ายเงินต้นและดอกเบี้ยเรากำหนดให้ไม่เกินร้อยละ 15 ก็เพราะเราอยากให้ประเทศเหลือเงินส่วนหนึ่งไว้พัฒนาประเทศ ในแต่ละปี ไม่งั้นก็วัน ๆ เอาแต่ใช้หนี้หมดเป็นวิธีการแบบญี่ปุ่น

คำถามของคุณ waverider ส่วนหนี้สาธาณะเพิ่มแต่หนี้เราไม่เพิ่ม เอแล้วมันยังไง อันนี้คือพูดง่ายคือ รัฐบาลต้องเอาเงินภาษีของเราท่าน ๆ ไปใช้หนี้ แทนที่จะมาสร้างรถไฟฟ้าหรือถนน ไม่นับการสูญเสียระหว่างทางหนะครับ  :evil: อิอิ
ก็เหมือน ตอนนี้เราควรที่จะได้รถไฟฟ้าหรือ สาธารณูปโภค หรือ เรียนฟรี แต่กลับไม่ได้หนะครับ เพราะเราต้องไปใช้หนี้ ภาษีที่เราจ่ายไม่ได้ย้อนกลับมาพัฒนาให้เราดีขึ้นแต่ต้องไปใช้หนี้หนะครับ หรือจ่ายดอกหนะครับ บางส่วนเราจ่ายหนี้เพิ่มมากเนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจเพราะอัตราแลกเปลี่ยนหนะครับ
หนี้สาธาณะต่อจีดีพี ควรจะต่ำ ยิ่งต่ำยิ่งดีจะได้มีเงินไปพัฒนาประเทศหนะครับ Free Cash flow อะไรประมาณนั้น

เขาจึงเรียกเป็น หนี้สาธารณะเพราะทุกคนต้องจ่าย แบบผ่านภาษีหนะครับ
และทุกคนในคนไทยก็จ่ายภาษีทุกคน เพราะ แบบถ้าคนรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ยังไงต้องเสียภาษี vat จากการซื้อสินค้าอยู่ดี นอกจากอยู่บนเขาอันนี้ก็ไม่แน่หนะ :D  แต่ถ้าซื้อยาสีฟันหรือสบู่ก็เสียทันทีหนะครับพวกนี้เป็นภาษีทางอ้อม
มันแอบแฝงและกินเงียบหนะครับ

ส่วนคุณ ดกดิ๊งด่าง เรื่องการกระจายความเจริญนี่เห็นด้วยจริง ๆ

เรื่องจีดีพี นี่ก็บอกไม่ได้ว่ามันจะทำให้รวยขึ้นหรือเปล่าหรือมีผลต่อสังคมหรือไม่ เป็นเรื่องที่พวกฝรั่งเท่าที่ท่านมันก็เถียงกันอยู่ บางพวกก็ต้องปั๋มแต่บางพวกบอกไม่จำเป็น

แต่เหตุรัฐบาลปั๊มจีดีพีส่วนหนึ่งคือจะได้รายได้เพิ่มขึ้นหนะครับ เพราะปกติการประมาณการรายได้จากภาษีรัฐบาลเราจะใช้ ค่าตัวหนึ่งคือ Buoyancy ratios คือ ถ้า จีดีพี growth 1 ภาษีน่าจะเพิ่ม 1 โดยปกติตามข้อมูลในอดีตจะเพิ่มประมาณ 1.1-1.8  ถ้าจีดีพีเพิ่ม ภาษีก็เพิ่ม ทำให้อัตราส่วนหนี้ต่อ จีดีพี ลด ทั้งที่หนี้ไม่ได้ลด :D  แต่มีรูมในการใช้หนี้เพิ่มขึ้นด้วย  :roll: เหตุที่ภาษีมันมาลิ๊งกับจีดีพี ก็เนื่องจากภาษีรายได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มจะมีความเชื่อมโยงกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจสูง(จีดีพี) ก็มีกิจกรรมมาก ก็มีการซื้อ ๆ ขาย กันเยอะ ทำให้ได้ vat รายได้บริษัทเพิ่ม ได้ coporate Tax เพิ่ม บริษัทแจกโบนัส ภาษีบุคคลธรรมดาเพิ่ม เป็นลำดับหนะครับ
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14783
ผู้ติดตาม: 0

ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ

โพสต์ที่ 29

โพสต์

ถามผู้รู้ต่ออีกนิดนะครับ ทุกประเทศกู้เงินกันหมดเลย ทั้งเมกา ทั้งญี่ปุ่น และทั่วโลก

แล้วใครเป็นผู้ให้กู้ครับ ในเมื่อทุกประเทศกู้กันหมดเลย
ด๊กดิงด่าง
Verified User
โพสต์: 312
ผู้ติดตาม: 0

ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ

โพสต์ที่ 30

โพสต์

รัฐควรใช้โอกาสที่ประเทศเริ่มมีความแข็งแรงทางเศรษฐกิจเอารายได้จากภาคธุรกิจอุตสาหกรรมกลับไปฟื้นฟูภาคชนบทเพื่อความมั่นคงในระยะยาว  โดยอิงอยู่กับการเกษตรเพื่อการยังชีพซึ่งมีประชาชนส่วนใหญ่พึ่งพิงอยู่  ผมมองว่าอีกไม่นานการค้าเสรีทีเข้ามาทลายความตีบตันของธุระกิจอุตสาหกรรมก็จะตีบตันเช่นกัน(อาจไม่ได้เห็นในรุ่นเรา แต่มาแบบปัญหาโลกร้อน)  ลองคิดดูถ้าทุกภูมิภาคของโลกต่างก็ผลิตสินค้ามายันกันอย่างมากมายจนล้นตลาดแล้วจะไปขายให้ใคร  ถ้าธุระกิจอุตสาหกรรมล่มคนที่อยู่ภาคอุตสาหกรรมจะไปไหนต่อถ้าชนบทก็แย่  ถ้าสังเกตุคนภาคเมืองจะมีความสุขน้อยกว่าคนภาคชนบทอยู่แล้ว(หมายถึงชนบทที่มีอยู่มีกินเป็นปกติ)เพราะชีวิตประจำวันที่ค่อนข้างเป็นโมโนโทน  ความสามารถเฉพาะตัวจะถูกจำกัดให้แคบลงเรื่อยๆ(ลองนึกภาพคนงานทีเอาแต่เย็บผ้าอยู่ยี่สิบปี)ไม่หลากหลายเหมือนคนชนบท  เพราะเราทำงานอย่างเดียวเพื่อให้ได้เงินไปแลกสินค้าและบริการหลายอย่าง  แต่คนชนบททำหลายอย่างเพื่อให้อยู่ได้ด้วยปัจจัย๔เท่าที่จำเป็นจริงๆ(ไม่นับวัตถุจากอุตสาหกรรมที่เข้าไปมากขึ้น ซึ่งจะเป็นตัวสร้างกระแสให้คนชนบทมาดำเนินชีวิตแบบคนเมืองในที่สุด)  ถ้ารักษาภาคชนบทแบบการเกษตรเพื่อการยังชีพไว้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นคงไม่รุนแรง

      จีดีพีที่เราเองก็คาดหวังเหมือนฝรั่งว่าจะทำให้คนส่วนใหญ่มีชีวิตที่ดีขึ้นก็คงจริงแต่บางส่วนเท่านั้นไม่ทั่วถึงเพราะต้องยืนอยู่บนพื้นฐานของทุนนิยมแบบเสรี  คนที่มีความสามารถน้อยต้องตกเป็นเบี้ยล่างคนที่เหนือกว่า  ถามว่าคนกินค่าแรงขั้นต่ำตอนนี้ในกทม.มีความเป็นอยู่อย่างไร  แต่ถ้าคนเรามีกินมีอยู่ในชนบทไม่ต้องถูกบีบให้เข้ามาเป็นคนเมือง(เพราะระบบนิเวศน์เสื่อมถอย)ถึงแม้จีดีพีโตไม่มากแต่ปัญหาต้นทุนทางสังคมก็ไม่มากเช่นกัน  เมกกะโปรเจ็คที่ต้องนำเข้าปัจจัยภายนอกประเทศก็จำเป็นน้อยลง  ที่สำคัญประเทศไม่ต้องเป็นหนี้  ถ้าเลือกได้ผมเชื่อว่าคนชนบทส่วนใหญ่คงไม่อยากทิ้งบ้านมา  สรุปว่าเอาความแข็งแรงภาคเมืองไปรักษาภาคเกษตรเพื่อการยังชีพไว้เพื่อความมั่นคงระยะยาว
การทำอะไรแบบเดิมๆเป็นเวลานานๆทำให้ชีวิตเสียหาย