สถานการณ์หวัดนก ยิ่งนับวันยิ่งเลวร้าย !!!!
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ต.ค. 16, 2005 1:07 am
สถานการณ์หวัดนก ยิ่งนับวันยิ่งเลวร้าย
สหรัฐอเมริกา กระโดดลงมาผลักดันแผนการรับมือกับการแพร่ระบาดของไข้หวัดนกอย่างเต็มตัวเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ข้อเท็จจริงเรื่องนี้ สะท้อนให้เห็นสถานการณ์ที่ยิ่งเลวร้ายลงเรื่อยๆ ของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ย่อย เอชไฟว์เอ็นวัน หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อ ไข้หวัดนก
ยูเอสเอ ทูเดย์ รายงานไว้ในฉบับประจำวันที่ 10 ตุลาคม 2548 ว่า ความเอาจริงเอาจังเรื่องนี้สืบเนื่องมาจากการที่ประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู. บุช ใช้เวลาระหว่างการพักผ่อนประจำปี (ช่วงที่ถูกด่าจมหูเพราะไม่ยอมขยับทำอะไรสืบเนื่องจากเรื่องเฮอร์ริเคนแคทรีนานั่นแหละ) นั่งอ่านรายงานหนา 546 หน้า ที่เป็นงานเขียนเชิงพรรณนาของ จอห์น เอ็ม. แบร์รี่ ชื่อ "เดอะ เกรต อินฟลูเอนซ่า" หนังสือเล่มนั้นบรรยายเรื่องราวการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสตระกูลเดียวกันและสายพันธุ์ย่อยใกล้เคียงกันที่เกิดขึ้นเมื่อปี 1918 ตอนนั้นมันถูกขนานนามว่า "สเปนิช ฟลู" (ว่ากันว่าเป็นเพราะกษัตริย์สเปนล้มป่วยและเสียชีวิตลงด้วยไวรัสตัวนี้)
การระบาดของ สเปนิช ฟลู ที่ จอร์จ ดับเบิลยู. บุช อ่านนั้น คือเหตุการณ์ของโรคระบาดครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของโลก เหตุการณ์เกิดขึ้นต่อเนื่องข้ามปีมาถึงปี 1919 ทั่วโลกมีผู้คนล้มป่วยมากมายมหาศาล จำเพาะที่เสียชีวิตนั้นมีมากถึง 40-50 ล้านคน ในสหรัฐอเมริกาที่ถือว่าห่างไกลมากในยุคนั้นก็ยังไม่พ้นการระบาด สเปนิช ฟลู ทำให้คนอเมริกันตายไปในช่วงนั้น 150,000 คน
ยูเอสเอ ทูเดย์ บอกว่าเรื่องนี้น่าจะจำหลักอยู่ในห้วงคำนึงของบุช เพราะหลังจากว่างเว้นจากการรับมือกับแม่ แคทรีนา และ ริต้า เสร็จสรรพ ผู้นำสหรัฐอเมริกาไม่เพียงเรียกประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องนี้ ส่งผลให้ นายไมเคิล เลวิตต์ รัฐมนตรีสาธารณสุข ต้องระเห็จมาทัวร์ "แหล่งไข้หวัดนก" ในเวลาต่อมาเท่านั้น หากแต่ผู้นำสหรัฐอเมริกายังเรียกผู้บริหารระดับสูงของบริษัทผู้ผลิตวัคซีนต่างๆ มาหารืออีกด้วย
ในเวลาไล่เลี่ยกับที่ผู้นำอเมริกันออกมาแถลงเกี่ยวกับแผนการรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกนั้น รายงานผลการศึกษาของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐอเมริกาว่าด้วยผลกระทบหากเกิดการระบาดของไข้หวัดนกในระดับโลกจากคนสู่คนก็เผยแพร่ออกมา สรุปง่ายๆ ได้ใจความชัดเจนว่า ในกรณีที่มีการแพร่ระบาดขนาดใหญ่ หรือที่ในรายงานดังกล่าวใช้คำว่า "เมเจอร์ เอ๊าต์เบรก" นั้น อาจมีคนอเมริกันตายเพราะไข้หวัดนกนี้มากถึง 2 ล้านคน
ในห้วงเวลาที่มีการแถลงข่าวเรื่องนี้กันในสหรัฐอเมริกานั้น หายนะที่ใหญ่หลวงที่สุดที่ประทับอยู่ในใจของคนอเมริกันทั้งชาติก็คือ หายนภัยที่เกิดขึ้นกับนครนิวออร์ลีนส์ รัฐหลุยเซียนา สหรัฐอเมริกา ไมเคิล เลวิตต์ เลยหยิบหายนะที่นิวออร์ลีนส์มาเปรียบเทียบให้เห็นถึงความน่ากลัวของไข้หวัดนกไว้อย่างน่าสนใจ
เขาบอกว่า ถ้าไข้หวัดนกระบาด หายนะแบบล้างเมืองอย่างที่เกิดขึ้นกับนิวออร์ลีนส์ จะไม่เกิดขึ้นและจำกัดอยู่แค่เมืองเมืองเดียวเท่านั้น แต่อาจหมายถึงเมืองใหญ่ๆ ทุกเมืองเท่าที่อเมริกันทั้งหลายจะนึกออกมาได้ในพริบตานั้น ไม่ว่าจะเป็น ซีแอตเติล ซานดิเดอโก เดนเวอร์ ชิคาโก หรือ นิวยอร์ก
แคทรีนา ทำลายล้างแค่นิวออร์ลีนส์ แต่หวัดนกจะทำลายทุกเมืองในสหรัฐอเมริกาให้หลงเหลือสภาพเหมือนนิวออร์ลีนส์ยังไงยังงั้น !
ในผลการศึกษาด้วยการสร้างแบบจำลองของการแพร่ระบาด ทีมศึกษาวิจัยของประธานาธิบดีบุช พบว่ามี 15 รัฐของสหรัฐอเมริกาที่จะมีคนตายเพราะไข้หวัดนกมากกว่า 1 หมื่นคนขึ้นไป ในจำนวนนี้มีอยู่ 4 รัฐที่ถือว่าจะมีการล้มตายสูงเกิน3 หมื่นคน โดยแคลิฟอร์เนียจะครองแชมป์ตายมากที่สุดที่ 60,875 คน โดยที่ที่รัฐนี้ทั้งรัฐจะมีคนล้มป่วยมากกว่า 8 ล้านคน
สหรัฐอเมริกาเตรียมแผนรับมือไว้แล้ว ส่วนหนึ่งของแผนที่ว่าเท่าที่เปิดเผยออกมาใน ซานฟรานซิสโก โครนิเคิล ฉบับประจำวันที่ 9 ตุลาคมที่ผ่านมานั้น มีการใช้เงินเพื่อการนี้ 3,900 ล้านดอลลาร์ ซึ่งส่วนมากของเงินก้อนดังกล่าวคือ 3,000 ล้านดอลลาร์นั้นจะถูกนำไปใช้เพื่อซื้อ "ทามิฟลู" ยาต้านไวรัสไข้หวัดนก อีกราว 900 ล้านดอลลาร์จะถูกโยกย้ายมาให้การสนับสนุนประเทศที่อาจเป็นต้นตอของการแพร่ระบาด ทั้งที่เป็นการให้การสนับสนุนในการต่อต้านการระบาดในสัตว์ปีก และการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับการระบาดตั้งแต่แรกเริ่ม
ท่านรัฐมนตรีเลวิตต์ เดินทางมาเยือนไทย หารือกับกระทรวงสาธารณสุขบ้านเราเกี่ยวกับแผนการรับมือที่เตรียมการไว้ เปรียบเทียบกับแผนรับมือของตนเอง แล้วก็ตรวจสอบร่วมกันว่าตรงไหนมีช่องโหว่ มีช่องว่างให้ช่วยเหลือเพื่อแก้ไขกันในขณะนี้หรือไม่
เชื่อว่าสหรัฐอเมริกาจะทำเช่นเดียวกันนี้กับ เวียดนาม อินโดนีเซีย และกัมพูชาด้วยเช่นเดียวกันแต่หลักๆ แล้วจะอยู่ที่ไทยกับอินโดนีเซีย
นอกเหนือจากประเด็นเรื่องการศึกษาวิจัยและการอ่านรายงานสแปนิช ฟลู ของผู้นำมะกันแล้ว ยังมีสัญญาณอันตรายที่แสดงให้เห็นความเลวร้ายลงเรื่อยๆ ของสถานการณ์โรคร้ายนี้และทำให้ฝรั่งมังค่าเริ่มตาหูเหลือกไปตามๆ กัน
ประการแรกก็คือ การแพร่ระบาดของไวรัสไข้หวัดนกเข้าไปในหลายพื้นที่ในยุโรป เรียกว่าคืบเข้าใกล้หลังบ้านของประเทศพัฒนาแล้วเหล่านั้นมากขึ้นทุกขณะ รายงานล่าสุดนั้น ไม่เพียงพบไวรัสนี้ในสัตว์ปีกที่โรมาเนีย รัสเซีย และตุรกีเท่านั้น มันยังไปอวดโฉมให้เห็นในบัลแกเรียเข้าให้แล้วด้วย
ประการถัดมาก็คือการที่ทีมศึกษาวิจัยของศูนย์เพื่อการควบคุมและป้องกันโรค (ซีดีซี) ของสหรัฐอเมริกา สร้างไวรัสสแปนิช ฟลู ขึ้นมาใหม่เพื่อมาศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้างทางพันธุกรรมกับไวรัสที่ระบาดอยู่ในปัจจุบัน พวกเขาไม่เพียงพบว่า โครงสร้างทางพันธุกรรมของไวรัสทั้ง 2 ยุคนั้นใกล้เคียงกัน คือเป็นอินฟลูเอนซ่า สายพันธุ์เอ เหมือนกันเท่านั้น
แต่พวกเขายังพบข้อมูลน่าตระหนกที่ว่า ไวรัสเมื่อปี 1918 นั้นกลายพันธุ์ได้โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยตัวพาหะผสม (คือตัวพาหะที่รับเชื้อไวรัสได้ทั้งชนิดที่ระบาดในสัตว์ และระบาดในคนได้พร้อมๆ กัน ทำให้ไวรัสทั้ง 2 สายพันธุ์แลกเปลี่ยนพันธุกรรมกันได้และกลายพันธุ์เป็นไวรัสร้ายแรงที่ระบาดจากคนสู่คน พาหะผสมที่กังวลกันก่อนหน้านี้ก็คือหมู)
นั่นตีความได้ว่า ไข้หวัดนกในปัจจุบันก็สามารถกลายพันธุ์ของมันให้ระบาดจากคนไปสู่คนได้โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยพาหะผสมได้เหมือนกัน
เมื่อไหร่มันทำได้อย่างนั้นแล้วละก็ เมื่อนั่นแหละหายนะมาเยือนจริงๆ แน่นอน
สหรัฐอเมริกา กระโดดลงมาผลักดันแผนการรับมือกับการแพร่ระบาดของไข้หวัดนกอย่างเต็มตัวเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ข้อเท็จจริงเรื่องนี้ สะท้อนให้เห็นสถานการณ์ที่ยิ่งเลวร้ายลงเรื่อยๆ ของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ย่อย เอชไฟว์เอ็นวัน หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อ ไข้หวัดนก
ยูเอสเอ ทูเดย์ รายงานไว้ในฉบับประจำวันที่ 10 ตุลาคม 2548 ว่า ความเอาจริงเอาจังเรื่องนี้สืบเนื่องมาจากการที่ประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู. บุช ใช้เวลาระหว่างการพักผ่อนประจำปี (ช่วงที่ถูกด่าจมหูเพราะไม่ยอมขยับทำอะไรสืบเนื่องจากเรื่องเฮอร์ริเคนแคทรีนานั่นแหละ) นั่งอ่านรายงานหนา 546 หน้า ที่เป็นงานเขียนเชิงพรรณนาของ จอห์น เอ็ม. แบร์รี่ ชื่อ "เดอะ เกรต อินฟลูเอนซ่า" หนังสือเล่มนั้นบรรยายเรื่องราวการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสตระกูลเดียวกันและสายพันธุ์ย่อยใกล้เคียงกันที่เกิดขึ้นเมื่อปี 1918 ตอนนั้นมันถูกขนานนามว่า "สเปนิช ฟลู" (ว่ากันว่าเป็นเพราะกษัตริย์สเปนล้มป่วยและเสียชีวิตลงด้วยไวรัสตัวนี้)
การระบาดของ สเปนิช ฟลู ที่ จอร์จ ดับเบิลยู. บุช อ่านนั้น คือเหตุการณ์ของโรคระบาดครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของโลก เหตุการณ์เกิดขึ้นต่อเนื่องข้ามปีมาถึงปี 1919 ทั่วโลกมีผู้คนล้มป่วยมากมายมหาศาล จำเพาะที่เสียชีวิตนั้นมีมากถึง 40-50 ล้านคน ในสหรัฐอเมริกาที่ถือว่าห่างไกลมากในยุคนั้นก็ยังไม่พ้นการระบาด สเปนิช ฟลู ทำให้คนอเมริกันตายไปในช่วงนั้น 150,000 คน
ยูเอสเอ ทูเดย์ บอกว่าเรื่องนี้น่าจะจำหลักอยู่ในห้วงคำนึงของบุช เพราะหลังจากว่างเว้นจากการรับมือกับแม่ แคทรีนา และ ริต้า เสร็จสรรพ ผู้นำสหรัฐอเมริกาไม่เพียงเรียกประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องนี้ ส่งผลให้ นายไมเคิล เลวิตต์ รัฐมนตรีสาธารณสุข ต้องระเห็จมาทัวร์ "แหล่งไข้หวัดนก" ในเวลาต่อมาเท่านั้น หากแต่ผู้นำสหรัฐอเมริกายังเรียกผู้บริหารระดับสูงของบริษัทผู้ผลิตวัคซีนต่างๆ มาหารืออีกด้วย
ในเวลาไล่เลี่ยกับที่ผู้นำอเมริกันออกมาแถลงเกี่ยวกับแผนการรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกนั้น รายงานผลการศึกษาของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐอเมริกาว่าด้วยผลกระทบหากเกิดการระบาดของไข้หวัดนกในระดับโลกจากคนสู่คนก็เผยแพร่ออกมา สรุปง่ายๆ ได้ใจความชัดเจนว่า ในกรณีที่มีการแพร่ระบาดขนาดใหญ่ หรือที่ในรายงานดังกล่าวใช้คำว่า "เมเจอร์ เอ๊าต์เบรก" นั้น อาจมีคนอเมริกันตายเพราะไข้หวัดนกนี้มากถึง 2 ล้านคน
ในห้วงเวลาที่มีการแถลงข่าวเรื่องนี้กันในสหรัฐอเมริกานั้น หายนะที่ใหญ่หลวงที่สุดที่ประทับอยู่ในใจของคนอเมริกันทั้งชาติก็คือ หายนภัยที่เกิดขึ้นกับนครนิวออร์ลีนส์ รัฐหลุยเซียนา สหรัฐอเมริกา ไมเคิล เลวิตต์ เลยหยิบหายนะที่นิวออร์ลีนส์มาเปรียบเทียบให้เห็นถึงความน่ากลัวของไข้หวัดนกไว้อย่างน่าสนใจ
เขาบอกว่า ถ้าไข้หวัดนกระบาด หายนะแบบล้างเมืองอย่างที่เกิดขึ้นกับนิวออร์ลีนส์ จะไม่เกิดขึ้นและจำกัดอยู่แค่เมืองเมืองเดียวเท่านั้น แต่อาจหมายถึงเมืองใหญ่ๆ ทุกเมืองเท่าที่อเมริกันทั้งหลายจะนึกออกมาได้ในพริบตานั้น ไม่ว่าจะเป็น ซีแอตเติล ซานดิเดอโก เดนเวอร์ ชิคาโก หรือ นิวยอร์ก
แคทรีนา ทำลายล้างแค่นิวออร์ลีนส์ แต่หวัดนกจะทำลายทุกเมืองในสหรัฐอเมริกาให้หลงเหลือสภาพเหมือนนิวออร์ลีนส์ยังไงยังงั้น !
ในผลการศึกษาด้วยการสร้างแบบจำลองของการแพร่ระบาด ทีมศึกษาวิจัยของประธานาธิบดีบุช พบว่ามี 15 รัฐของสหรัฐอเมริกาที่จะมีคนตายเพราะไข้หวัดนกมากกว่า 1 หมื่นคนขึ้นไป ในจำนวนนี้มีอยู่ 4 รัฐที่ถือว่าจะมีการล้มตายสูงเกิน3 หมื่นคน โดยแคลิฟอร์เนียจะครองแชมป์ตายมากที่สุดที่ 60,875 คน โดยที่ที่รัฐนี้ทั้งรัฐจะมีคนล้มป่วยมากกว่า 8 ล้านคน
สหรัฐอเมริกาเตรียมแผนรับมือไว้แล้ว ส่วนหนึ่งของแผนที่ว่าเท่าที่เปิดเผยออกมาใน ซานฟรานซิสโก โครนิเคิล ฉบับประจำวันที่ 9 ตุลาคมที่ผ่านมานั้น มีการใช้เงินเพื่อการนี้ 3,900 ล้านดอลลาร์ ซึ่งส่วนมากของเงินก้อนดังกล่าวคือ 3,000 ล้านดอลลาร์นั้นจะถูกนำไปใช้เพื่อซื้อ "ทามิฟลู" ยาต้านไวรัสไข้หวัดนก อีกราว 900 ล้านดอลลาร์จะถูกโยกย้ายมาให้การสนับสนุนประเทศที่อาจเป็นต้นตอของการแพร่ระบาด ทั้งที่เป็นการให้การสนับสนุนในการต่อต้านการระบาดในสัตว์ปีก และการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับการระบาดตั้งแต่แรกเริ่ม
ท่านรัฐมนตรีเลวิตต์ เดินทางมาเยือนไทย หารือกับกระทรวงสาธารณสุขบ้านเราเกี่ยวกับแผนการรับมือที่เตรียมการไว้ เปรียบเทียบกับแผนรับมือของตนเอง แล้วก็ตรวจสอบร่วมกันว่าตรงไหนมีช่องโหว่ มีช่องว่างให้ช่วยเหลือเพื่อแก้ไขกันในขณะนี้หรือไม่
เชื่อว่าสหรัฐอเมริกาจะทำเช่นเดียวกันนี้กับ เวียดนาม อินโดนีเซีย และกัมพูชาด้วยเช่นเดียวกันแต่หลักๆ แล้วจะอยู่ที่ไทยกับอินโดนีเซีย
นอกเหนือจากประเด็นเรื่องการศึกษาวิจัยและการอ่านรายงานสแปนิช ฟลู ของผู้นำมะกันแล้ว ยังมีสัญญาณอันตรายที่แสดงให้เห็นความเลวร้ายลงเรื่อยๆ ของสถานการณ์โรคร้ายนี้และทำให้ฝรั่งมังค่าเริ่มตาหูเหลือกไปตามๆ กัน
ประการแรกก็คือ การแพร่ระบาดของไวรัสไข้หวัดนกเข้าไปในหลายพื้นที่ในยุโรป เรียกว่าคืบเข้าใกล้หลังบ้านของประเทศพัฒนาแล้วเหล่านั้นมากขึ้นทุกขณะ รายงานล่าสุดนั้น ไม่เพียงพบไวรัสนี้ในสัตว์ปีกที่โรมาเนีย รัสเซีย และตุรกีเท่านั้น มันยังไปอวดโฉมให้เห็นในบัลแกเรียเข้าให้แล้วด้วย
ประการถัดมาก็คือการที่ทีมศึกษาวิจัยของศูนย์เพื่อการควบคุมและป้องกันโรค (ซีดีซี) ของสหรัฐอเมริกา สร้างไวรัสสแปนิช ฟลู ขึ้นมาใหม่เพื่อมาศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้างทางพันธุกรรมกับไวรัสที่ระบาดอยู่ในปัจจุบัน พวกเขาไม่เพียงพบว่า โครงสร้างทางพันธุกรรมของไวรัสทั้ง 2 ยุคนั้นใกล้เคียงกัน คือเป็นอินฟลูเอนซ่า สายพันธุ์เอ เหมือนกันเท่านั้น
แต่พวกเขายังพบข้อมูลน่าตระหนกที่ว่า ไวรัสเมื่อปี 1918 นั้นกลายพันธุ์ได้โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยตัวพาหะผสม (คือตัวพาหะที่รับเชื้อไวรัสได้ทั้งชนิดที่ระบาดในสัตว์ และระบาดในคนได้พร้อมๆ กัน ทำให้ไวรัสทั้ง 2 สายพันธุ์แลกเปลี่ยนพันธุกรรมกันได้และกลายพันธุ์เป็นไวรัสร้ายแรงที่ระบาดจากคนสู่คน พาหะผสมที่กังวลกันก่อนหน้านี้ก็คือหมู)
นั่นตีความได้ว่า ไข้หวัดนกในปัจจุบันก็สามารถกลายพันธุ์ของมันให้ระบาดจากคนไปสู่คนได้โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยพาหะผสมได้เหมือนกัน
เมื่อไหร่มันทำได้อย่างนั้นแล้วละก็ เมื่อนั่นแหละหายนะมาเยือนจริงๆ แน่นอน