ไร้ฝีมือ มากับ"ดวง"
โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ค. 30, 2005 11:04 pm
ชำแหละนโยบายศก.แม้ว ไร้ฝีมือ มากับ"ดวง"ระวังเมกกะโปรเจ็คต์อาจเจ๊ง
"สาเหตุที่เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวและขยายตัวเร็วช่วง 5 ปีที่ผ่านมาที่จริงแล้วมาจากเศรษฐกิจโลกเป็นหลัก และไม่ใช่ไทยประเทศเดียว ประเทศอื่นๆ ในเอเชียขยายตัวสูงเหมือนกัน เป็นการขยายตัวแทบทุกภูมิภาคของโลก ฉะนั้น เมืองไทยเศรษฐกิจดีขึ้น ไม่ได้แปลกกว่าคนอื่น"
เป็นคำวิพากษ์ต่อผลงานของรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร จากคนระดับประธานกรรมการบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กสิกรไทยชื่อ นายปิยะสวัสดิ์ อัมระนันทน์ แล้วยิ่งการันตีความเผ็ดร้อน
บลจ.กสิกรไทยถือได้ว่า เป็น บลจ. ที่บริหารกองทุนที่ใหญ่ระดับต้นของเมืองไทย อาชีพหลักบริหารกองทุนประเภทต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขายหน่วยลงทุนให้กับนักลงทุนรวมทั้งเป็นผู้จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้กับบริษัทต่างๆ และกองทุนส่วนบุคคล ฉะนั้น ที่นี่จึงเป็นแหล่งดูดซับข้อมูลจากทั่วทุกสารทิศ
"การส่งออกที่เพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก ไม่ได้มาจากการปรับตัวของประสิทธิภาพในการผลิตการปรับประสิทธิภาพอาจจะมีบ้างแต่ไม่มากเท่าไหร่"
เป็นอีกประโยคหนึ่งที่เหมือนบอกเป็นนัยว่า รัฐบาลทักษิณนั้นมากับ "ดวง" มากกว่า "ฝีมือ"
"หลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ (ปี 2540) เราลดการลงทุนเยอะ กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรมเหลือ ไม่มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ ไฟฟ้า ระบบธนาคารมีสภาพคล่องเยอะ ดอกเบี้ยต่ำ เพราะฉะนั้น การนำเข้าสินค้าทุนลดลง ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล และรัฐบาลกระตุ้นให้มีการบริโภคเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจขายตัวเร็วขึ้น"
"ครั้นมาถึงจุดที่จะต้องลงทุนใหม่ มาเจอภาวะราคาน้ำมันแพง ทำให้ดุลการค้าขาดดุล ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลอย่างรวดเร็ว จริงๆ แล้วไม่ใช่เรื่องแปลกที่เมืองไทยจะกลับมาขาดดุล ปีนี้เป็นปีแรกหลังวิกฤตเศรษฐกิจประเทศในเอเชียยกเว้นจีน การค้าไม่เกินดุลอีกแล้ว ใกล้ๆ จะสมดุลทั้งที่ก่อนหน้านี้เกินดุลมาตลอด เนื่องจากที่ผ่านมาเราไม่ได้ปรับประสิทธิภาพการผลิต ไม่ได้ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ เมื่อเศรษฐกิจโลกชะลอลง น้ำมันราคาแพง ปัญหาจะกลับมาใหม่"
คำว่า "ปัญหาจะกลับมาใหม่" ในความหมายของเขาคือ การส่งสัญญาณถึงรัฐบาลทักษิณที่กำลังจะเผชิญหน้ากับคู่ต่อสู้ที่แข็งแกร่ง ไม่ว่าจะเป็น ราคาน้ำมัน ค่าเงินบาท และดอกเบี้ย ฯลฯ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในแสวงหาเงินตราต่างประเทศของเมืองไทย
แล้วอะไรคืออาการไข้ที่จะบ่งเป็นรูปธรรมว่า ปัญหาจะกลับมาใหม่
"ดุลบัญชีเดินสะพัดที่ขาดดุลเป็นอาการที่ไม่ดีแล้ว"
หากยึดถือตามคำแถลงของแบงก์ชาติ เท่ากับเมืองไทยเริ่มเจ็บป่วยมาแล้วหลายเดือน
ภูมิหลังของนายปิยะสวัสดิ์ หลายคนรับรู้ว่าเขาเป็นผู้ชำนาญที่รู้เรื่อง "น้ำมัน" ดีคนหนึ่งของเมืองไทย แต่เนื้อแท้แล้วนายปิยะสวัสดิ์ เป็นนักเศรษฐศาสตร์มหภาคที่ ดร.วีรพงษ์ รามางกูร ให้การยอมรับและร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างสม่ำเสมอ
เขาจบปริญญาโทและเอกทางเศรษฐศาสตร์จาก London School of Economics แล้วกลับมาทำงานที่สภาพัฒน์ยุค ดร.เสนาะ อูนากูล เป็นเลขาธิการสภาพัฒน์ เป็นหนึ่งในทีมงานของรัฐบาล พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ที่ปลดราคาน้ำมันออกจากการเมืองโดยใช้นโยบายลอยตัวราคาน้ำมัน จากนั้นมาเป็นเลขาธิการสำนักงานนโยบายพลังงานแห่งชาติ เป็นอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ก่อนที่จะถูกปลดออกจากตำแหน่งเลขาธิการสำนักนโยบายพลังงานแห่งชาติ
นายปิยะสวัสดิ์ กล่าวอีกว่า พฤติกรรมของเรายังเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง เรามีการออมที่ไม่เพียงพอ หากเราจะลงทุนเยอะเราต้องออมเยอะด้วย ไม่งั้นจะมีปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ที่ผ่านเราเกินดุลไม่ใช่เพราะออมเยอะ แต่เราลงทุนน้อยต่างหาก สัดส่วนการออมไทยเทียบจีดีพีลดลงมาก อาจจะเพราะนโยบายรัฐ อีกส่วนเพราะดอกเบี้ยต่ำ ทำให้ประชาชนกู้เงินมาใช้จ่าย แต่ออมเงินน้อยลง
ทัศนะเรื่องเงินออมของนายปิยะสวัสดิ์ สอดคล้องกับ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการแบงก์ชาติอย่างยิ่ง ม.ร.ว.ปรีดิยาธร บอกว่า ตอนนี้สัดส่วนการออมภาคครัวเรือนเทียบกับจีดีพี เหลือ 4% ขณะที่อดีตที่ผ่านมานั้นมีสัดส่วนสูงถึง 10% ตอนนี้เขากำลังทำแผนเพื่อเพิ่มสัดส่วนการออมภาคครัวเรือน รวมทั้งแผนรณรงค์ให้บริษัทเอกชนที่มีเงินออมเยอะนำเงินกลับมาลงทุนใหม่
หนึ่งในแผนนั้นคือ การปรับนโยบายภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามแนวทางใหม่เกี่ยวกับทฤษฎีการเก็บภาษีของหลายๆ ประเทศ
ต่อนโยบายมงฟอร์ต และแนวทางการบริหารเศรษฐกิจตามทฤษฎีรักษาโรคเบาหวานของนายกฯ ทักษิณนั้น ประธานกรรมการ บลจ.กสิกรไทย กล่าวว่า นโยบายที่ดีขึ้นคือ เลิกอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซล เหลือแต่เรื่องราคาแก๊สหุงต้มกับค่าไฟฟ้าที่ยังไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง แต่นโยบายบางเรื่องที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจนั้นหากไม่มากเกินยังพอไปไหวและควรเลือกวิธีกระตุ้นให้เหมาะสม
"การลงทุน (สาธารณูปโภค) ควรเน้นเรื่องที่เกิดปัญหาขาดแคลนและเป็นข้อจำกัดในการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แล้วต้องทำให้เกิดประสิทธิภาพ ให้เกิดการแข่งขันเพื่อให้ต้นทุนต่ำที่สุด บางโครงการในเมกะโปรเจ็คต์ 1.7 ล้านล้านบาท หากไม่ชัดเจนควรยกเลิก"
"อะไรก็ตามที่กระตุ้นการบริโภคควรกระทำด้วยความระมัดระวัง เพราะปัจจัยบวกหายไปแล้วมีแต่ปัจจัยลบเต็มไปหมด" เป็นคำเตือนระดับประธานที่มีถึงรัฐบาล เพราะเขาเป็นคนหนึ่งที่สัมผัสกับนักลงทุนต่างประเทศระดับโลกมากหน้าหลายตัว
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากเสร็จสิ้นจากงาน "ไทยแลนด์โฟกัส" งานขายโครงการลงทุนหรือขายฝันของรัฐบาล เขาย้ำว่า "ผมยังไม่เจอใครที่พูดในทางที่ดีขึ้นว่า เขาฟังแล้วมีความมั่นใจ มีแต่เจอในทางตรงข้าม เขาบอกว่าไปที่อื่นดีกว่า เช่น เกาหลี ผมถามว่าเกาหลีก็แย่ไม่ใช่หรือ เขาบอกว่าบรรยากาศตอนนี้ไทยไม่ต่างจากเกาหลี"
"การชี้แจงไม่ว่าเรื่องอะไรเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล อาทิ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การขายพันธบัตรรัฐบาล หรืออะไรก็แล้วแต่ ประเด็นที่ชี้แจงต้องแม่นชัดเจน หากไม่ชัดเจนอย่าชี้แจงดีกว่า"
"คุณปิยะสวัสดิ์ มองทุกอย่างในแง่ลบเกินไปหรือไม่" หากไม่ตั้งคำถามนี้แทนคนของรัฐบาล เราอาจจะไม่ได้รับฟังคำตอบนี้
"ผมเป็นคนมองโลกในแง่ดีเสมอมา เพียงแต่ตอนนี้มองค่อนข้างลบ อย่างราคาน้ำมันผมมองว่าจะลงเพียงแต่ไม่แน่ใจว่าจะลงเมื่อไหร่เท่านั้นเอง ไม่เชื่อว่าจะขึ้นไป 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เพราะระดับราคาที่เกินกว่า 40 ดอลลาร์จะส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาพลังงานทดแทนและมีการประหยัด"
เป็นคำตอบที่บ่งบอกว่า ยังมีแสงสว่างที่ปลายถ้ำ เพียงแต่รัฐบาลต้องรู้จักบริหารจัดการ ท่ามกลางปัจจัยลบที่แข่งแกร่งอย่างยิ่ง
"สาเหตุที่เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวและขยายตัวเร็วช่วง 5 ปีที่ผ่านมาที่จริงแล้วมาจากเศรษฐกิจโลกเป็นหลัก และไม่ใช่ไทยประเทศเดียว ประเทศอื่นๆ ในเอเชียขยายตัวสูงเหมือนกัน เป็นการขยายตัวแทบทุกภูมิภาคของโลก ฉะนั้น เมืองไทยเศรษฐกิจดีขึ้น ไม่ได้แปลกกว่าคนอื่น"
เป็นคำวิพากษ์ต่อผลงานของรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร จากคนระดับประธานกรรมการบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กสิกรไทยชื่อ นายปิยะสวัสดิ์ อัมระนันทน์ แล้วยิ่งการันตีความเผ็ดร้อน
บลจ.กสิกรไทยถือได้ว่า เป็น บลจ. ที่บริหารกองทุนที่ใหญ่ระดับต้นของเมืองไทย อาชีพหลักบริหารกองทุนประเภทต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขายหน่วยลงทุนให้กับนักลงทุนรวมทั้งเป็นผู้จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้กับบริษัทต่างๆ และกองทุนส่วนบุคคล ฉะนั้น ที่นี่จึงเป็นแหล่งดูดซับข้อมูลจากทั่วทุกสารทิศ
"การส่งออกที่เพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก ไม่ได้มาจากการปรับตัวของประสิทธิภาพในการผลิตการปรับประสิทธิภาพอาจจะมีบ้างแต่ไม่มากเท่าไหร่"
เป็นอีกประโยคหนึ่งที่เหมือนบอกเป็นนัยว่า รัฐบาลทักษิณนั้นมากับ "ดวง" มากกว่า "ฝีมือ"
"หลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ (ปี 2540) เราลดการลงทุนเยอะ กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรมเหลือ ไม่มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ ไฟฟ้า ระบบธนาคารมีสภาพคล่องเยอะ ดอกเบี้ยต่ำ เพราะฉะนั้น การนำเข้าสินค้าทุนลดลง ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล และรัฐบาลกระตุ้นให้มีการบริโภคเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจขายตัวเร็วขึ้น"
"ครั้นมาถึงจุดที่จะต้องลงทุนใหม่ มาเจอภาวะราคาน้ำมันแพง ทำให้ดุลการค้าขาดดุล ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลอย่างรวดเร็ว จริงๆ แล้วไม่ใช่เรื่องแปลกที่เมืองไทยจะกลับมาขาดดุล ปีนี้เป็นปีแรกหลังวิกฤตเศรษฐกิจประเทศในเอเชียยกเว้นจีน การค้าไม่เกินดุลอีกแล้ว ใกล้ๆ จะสมดุลทั้งที่ก่อนหน้านี้เกินดุลมาตลอด เนื่องจากที่ผ่านมาเราไม่ได้ปรับประสิทธิภาพการผลิต ไม่ได้ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ เมื่อเศรษฐกิจโลกชะลอลง น้ำมันราคาแพง ปัญหาจะกลับมาใหม่"
คำว่า "ปัญหาจะกลับมาใหม่" ในความหมายของเขาคือ การส่งสัญญาณถึงรัฐบาลทักษิณที่กำลังจะเผชิญหน้ากับคู่ต่อสู้ที่แข็งแกร่ง ไม่ว่าจะเป็น ราคาน้ำมัน ค่าเงินบาท และดอกเบี้ย ฯลฯ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในแสวงหาเงินตราต่างประเทศของเมืองไทย
แล้วอะไรคืออาการไข้ที่จะบ่งเป็นรูปธรรมว่า ปัญหาจะกลับมาใหม่
"ดุลบัญชีเดินสะพัดที่ขาดดุลเป็นอาการที่ไม่ดีแล้ว"
หากยึดถือตามคำแถลงของแบงก์ชาติ เท่ากับเมืองไทยเริ่มเจ็บป่วยมาแล้วหลายเดือน
ภูมิหลังของนายปิยะสวัสดิ์ หลายคนรับรู้ว่าเขาเป็นผู้ชำนาญที่รู้เรื่อง "น้ำมัน" ดีคนหนึ่งของเมืองไทย แต่เนื้อแท้แล้วนายปิยะสวัสดิ์ เป็นนักเศรษฐศาสตร์มหภาคที่ ดร.วีรพงษ์ รามางกูร ให้การยอมรับและร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างสม่ำเสมอ
เขาจบปริญญาโทและเอกทางเศรษฐศาสตร์จาก London School of Economics แล้วกลับมาทำงานที่สภาพัฒน์ยุค ดร.เสนาะ อูนากูล เป็นเลขาธิการสภาพัฒน์ เป็นหนึ่งในทีมงานของรัฐบาล พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ที่ปลดราคาน้ำมันออกจากการเมืองโดยใช้นโยบายลอยตัวราคาน้ำมัน จากนั้นมาเป็นเลขาธิการสำนักงานนโยบายพลังงานแห่งชาติ เป็นอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ก่อนที่จะถูกปลดออกจากตำแหน่งเลขาธิการสำนักนโยบายพลังงานแห่งชาติ
นายปิยะสวัสดิ์ กล่าวอีกว่า พฤติกรรมของเรายังเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง เรามีการออมที่ไม่เพียงพอ หากเราจะลงทุนเยอะเราต้องออมเยอะด้วย ไม่งั้นจะมีปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ที่ผ่านเราเกินดุลไม่ใช่เพราะออมเยอะ แต่เราลงทุนน้อยต่างหาก สัดส่วนการออมไทยเทียบจีดีพีลดลงมาก อาจจะเพราะนโยบายรัฐ อีกส่วนเพราะดอกเบี้ยต่ำ ทำให้ประชาชนกู้เงินมาใช้จ่าย แต่ออมเงินน้อยลง
ทัศนะเรื่องเงินออมของนายปิยะสวัสดิ์ สอดคล้องกับ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการแบงก์ชาติอย่างยิ่ง ม.ร.ว.ปรีดิยาธร บอกว่า ตอนนี้สัดส่วนการออมภาคครัวเรือนเทียบกับจีดีพี เหลือ 4% ขณะที่อดีตที่ผ่านมานั้นมีสัดส่วนสูงถึง 10% ตอนนี้เขากำลังทำแผนเพื่อเพิ่มสัดส่วนการออมภาคครัวเรือน รวมทั้งแผนรณรงค์ให้บริษัทเอกชนที่มีเงินออมเยอะนำเงินกลับมาลงทุนใหม่
หนึ่งในแผนนั้นคือ การปรับนโยบายภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามแนวทางใหม่เกี่ยวกับทฤษฎีการเก็บภาษีของหลายๆ ประเทศ
ต่อนโยบายมงฟอร์ต และแนวทางการบริหารเศรษฐกิจตามทฤษฎีรักษาโรคเบาหวานของนายกฯ ทักษิณนั้น ประธานกรรมการ บลจ.กสิกรไทย กล่าวว่า นโยบายที่ดีขึ้นคือ เลิกอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซล เหลือแต่เรื่องราคาแก๊สหุงต้มกับค่าไฟฟ้าที่ยังไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง แต่นโยบายบางเรื่องที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจนั้นหากไม่มากเกินยังพอไปไหวและควรเลือกวิธีกระตุ้นให้เหมาะสม
"การลงทุน (สาธารณูปโภค) ควรเน้นเรื่องที่เกิดปัญหาขาดแคลนและเป็นข้อจำกัดในการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แล้วต้องทำให้เกิดประสิทธิภาพ ให้เกิดการแข่งขันเพื่อให้ต้นทุนต่ำที่สุด บางโครงการในเมกะโปรเจ็คต์ 1.7 ล้านล้านบาท หากไม่ชัดเจนควรยกเลิก"
"อะไรก็ตามที่กระตุ้นการบริโภคควรกระทำด้วยความระมัดระวัง เพราะปัจจัยบวกหายไปแล้วมีแต่ปัจจัยลบเต็มไปหมด" เป็นคำเตือนระดับประธานที่มีถึงรัฐบาล เพราะเขาเป็นคนหนึ่งที่สัมผัสกับนักลงทุนต่างประเทศระดับโลกมากหน้าหลายตัว
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากเสร็จสิ้นจากงาน "ไทยแลนด์โฟกัส" งานขายโครงการลงทุนหรือขายฝันของรัฐบาล เขาย้ำว่า "ผมยังไม่เจอใครที่พูดในทางที่ดีขึ้นว่า เขาฟังแล้วมีความมั่นใจ มีแต่เจอในทางตรงข้าม เขาบอกว่าไปที่อื่นดีกว่า เช่น เกาหลี ผมถามว่าเกาหลีก็แย่ไม่ใช่หรือ เขาบอกว่าบรรยากาศตอนนี้ไทยไม่ต่างจากเกาหลี"
"การชี้แจงไม่ว่าเรื่องอะไรเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล อาทิ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การขายพันธบัตรรัฐบาล หรืออะไรก็แล้วแต่ ประเด็นที่ชี้แจงต้องแม่นชัดเจน หากไม่ชัดเจนอย่าชี้แจงดีกว่า"
"คุณปิยะสวัสดิ์ มองทุกอย่างในแง่ลบเกินไปหรือไม่" หากไม่ตั้งคำถามนี้แทนคนของรัฐบาล เราอาจจะไม่ได้รับฟังคำตอบนี้
"ผมเป็นคนมองโลกในแง่ดีเสมอมา เพียงแต่ตอนนี้มองค่อนข้างลบ อย่างราคาน้ำมันผมมองว่าจะลงเพียงแต่ไม่แน่ใจว่าจะลงเมื่อไหร่เท่านั้นเอง ไม่เชื่อว่าจะขึ้นไป 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เพราะระดับราคาที่เกินกว่า 40 ดอลลาร์จะส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาพลังงานทดแทนและมีการประหยัด"
เป็นคำตอบที่บ่งบอกว่า ยังมีแสงสว่างที่ปลายถ้ำ เพียงแต่รัฐบาลต้องรู้จักบริหารจัดการ ท่ามกลางปัจจัยลบที่แข่งแกร่งอย่างยิ่ง