กลยุทธ์เจ้าสัว
โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ค. 23, 2005 6:34 pm
เปิดกลยุทธ์ "ซีพี กรุ๊ป" (เครือเจริญโภคภัณฑ์) ใช้วิธีการหมุนเงินแบบใหม่ออกหุ้นปันผลให้กับ "เซเว่นอีเลฟเว่น" (CP7-11) ในอัตรา 1 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ แล้วเอาหุ้นฟรีไปขายต่อให้กับ "ซีพีเอฟ" (CPF) จำนวน 120 ล้านหุ้นในราคาหุ้นละ 5 บาทรับเงินสดๆ ไปหมุนทันที 600 ล้านบาท
บนความเคลื่อนไหวอย่างเงียบๆ ของบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี กรุ๊ป) เมื่อวันที่ 18 ก.ค.2548 ผ่านมา "ซีพี กรุ๊ป" ขายหุ้นบริษัท ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น (CP7-11) ให้กับ "CPF Investment Limited" ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF)..จำนวน 120 ล้านหุ้น (2.72%) ที่ราคาหุ้นละ 5 บาท มูลค่าทั้งสิ้น 600 ล้านบาทนั้น
หากมองเพียงผิวเผินอาจคิดว่านี่เป็นแค่ดีลธรรมดาๆ เท่านั้น แต่ถ้ามองลึกลงไปกลับพบว่า..นี่คือ กลยุทธ์การ "หมุนเงิน" ภายในเครือซีพีที่น่าสนใจยิ่ง ภายใต้แนวคิดง่ายๆ ถ่ายเทสภาพคล่องจากบริษัทในเครือมาไว้กับบริษัทแม่ (ซีพี กรุ๊ป) โดยไม่สูญเสียอำนาจการบริหารภายในกลุ่ม
ทีมข่าว "กรุงเทพธุรกิจ BizWeek" ค้นข้อมูลย้อนหลังกลับไปเมื่อวันที่ 24 ก.พ.2548 พบว่าเซเว่นอีเลฟเว่นประกาศจ่ายเงินปันผลเป็น "หุ้นสามัญ" ในอัตรา 1 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ (ในราคา 0 บาท) จำนวน 440 ล้านหุ้น ขณะนั้น เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี กรุ๊ป) ถือหุ้นทางตรงอยู่ใน CP7-11 จำนวน 114.16 ล้านหุ้น หรือ 25.95% (ทั้งเครือถือหุ้นรวมกันประมาณ 46%)..ฉะนั้นซีพี กรุ๊ปจะได้รับหุ้น CP7-11 จำนวนเท่ากันที่ 114.16 ล้านหุ้นโดยไม่มีต้นทุนรวมกับหุ้นเดิมจะเป็น 228.32 ล้านหุ้น
แต่เกมนี้ที่ลึกกว่านั้นก็ตรงที่หลังจากจ่ายหุ้นปันผล (ฟรี) แล้ว CP7-11 ก็แตกพาร์จาก 5 บาทเหลือ 1 บาท เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2548 เพราะฉะนั้นซีพี กรุ๊ปจะมีหุ้นเพิ่มขึ้นอีก 5 เท่าจาก 228.32 ล้านหุ้น เพิ่มขึ้นเป็น 1,141.60 ล้านหุ้นทันที ขณะที่ทุนจดทะเบียนเพิ่มขึ้นจาก 2,250 ล้านบาทเป็น 4,500 ล้านบาท
อธิบายโจทย์นี้อย่างง่ายๆ..ก่อนแตกพาร์ซีพี กรุ๊ปมีหุ้นเดิมเพียง 114.16 ล้านหุ้น ทันทีที่แตกพาร์จาก 5 บาทเหลือ 1 บาทจะมีหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 570.80 ล้านหุ้น..ถ้าซีพี กรุ๊ปได้รับหุ้นปันผลฟรีมาอีก 114.16 ล้านหุ้น (1 ต่อ 1) เมื่อแตกพาร์เสร็จแล้วจะได้หุ้นเพิ่มขึ้นมาอีก 570.80 ล้านหุ้น รวมกันเป็น 1,141.60 ล้านหุ้น
ถ้าถอดสมการในสูตรนี้ ซีพี กรุ๊ป จะมีหุ้น CP7-11 เพิ่มขึ้น 10 เท่า จาก 114.16 ล้านหุ้น เป็น 1,141.60 ล้านหุ้น..โดยซีพี กรุ๊ปจะได้หุ้นเพิ่มขึ้นมาจำนวน 570.80 ล้านหุ้น (114.16 ล้านหุ้นคูณ 5)..นี่คือ วิธีการใช้กลยุทธ์ทางการเงินชั้นเซียน
หลังจากนั้นซีพี กรุ๊ปก็เอาหุ้นที่ไม่มีต้นทุนในส่วน 570.80 ล้านหุ้นนี้ขายต่อให้กับ "CPF Investment Limited" (CPF ถือหุ้น 100%) จำนวน 120 ล้านหุ้น ที่ราคา 5 บาท เท่ากับว่าไปดูดสภาพคล่องจากบริษัทลูกกลับออกไปหมุนได้ทันที 600 ล้านบาท
"กรุงเทพธุรกิจ BizWeek" ยังตรวจพบอีกว่าหลังแตกพาร์เสร็จซีพี กรุ๊ปควรจะมีหุ้น CP7-11 จำนวน 1,141.60 ล้านหุ้น เมื่อตรวจสอบโครงสร้างผู้ถือหุ้น (ก่อนขาย 120 ล้านหุ้นออกไป) ซีพี กรุ๊ปเหลือหุ้นเพียงแค่ 1,059.71 ล้านหุ้น แสดงว่าก่อนหน้านี้ได้มีการขายหุ้น CP7-11 ออกไปแล้วล็อตหนึ่งจำนวนประมาณ 82 ล้านหุ้น (ก่อนแตกพาร์คือ 8.19 ล้านหุ้น) คาดว่าขายก่อน XD ที่ราคาระหว่าง 57-62 บาท
จะได้รับเงินเข้ามา "รอบแรก" ประมาณ 466-507 ล้านบาท บวกกับที่ขาย "รอบสอง" จำนวน 600 ล้านบาท..คาดว่าซีพี กรุ๊ป จะได้เงินกำไร (ฟรีๆ) จากการขายหุ้น CP7-11 โดยไม่มีต้นทุนออกไป "หมุน" ในธุรกิจอื่นรวมประมาณ 1,066-1,107 ล้านบาท
แม้วิธีการจะ "ซับซ้อน" แต่ก็ถือว่าเป็นประโยชน์กับ CPF หลังจากการรับซื้อหุ้นล็อตใหญ่จากบริษัทแม่จำนวน 120 ล้านหุ้น (2.72%) CPF จะถือหุ้นใหญ่ที่สุดใน 7-Eleven จำนวน 24.95% ขณะที่ซีพี กรุ๊ป จะเหลือหุ้นเพียง 20.96% แต่ถึงอย่างไรทั้งเครือยังถือหุ้นใหญ่ใน 7-Eleven รวมกันมากถึง 45.91%
เกมนี้ไม่ใช่แค่ ซีพี กรุ๊ปเท่านั้นที่เล่น แม้แต่ "กอฟเวอร์เม้นท์ ออฟ สิงคโปร์ อินเวสเม้นท์ คอร์ปอเรชั่น" (GIC) กองทุนรัฐบาลสิงคโปร์หลังจากได้หุ้นปันผลฟรีก็ "ขาย" หุ้น CP7-11ออกมาเช่นเดียวกันจากเดิมที่ถือหุ้นอยู่ 375 ล้านหุ้น (พาร์ 1 บาท) หรือ 8.5% ล่าสุดพบว่าเหลือหุ้นในชื่อ GIC จำนวนเพียง 112 ล้านหุ้น และถือผ่าน "กองทุน ไทยเวส พีทีอี ลิมิเต็ด" เหลืออีก 44 ล้านหุ้น (เมื่อวันที่ 3 พ.ค.2548 เพิ่งขายออกไป 23 ล้านหุ้น)
กองทุนรัฐบาลสิงคโปร์ (GIC) จะเหลือหุ้น CP7-11 รวมกันประมาณ 156 ล้านหุ้น ภายหลังขายหุ้นล็อตใหญ่ออกไปแล้วประมาณ 218 ล้านหุ้น (คาดว่ามีมูลค่าประมาณ 1,200-1,300 ล้านบาท)
อย่างไรก็ตามอนาคต CP7-11 นับว่าน่าสนใจทีเดียวไม่เพียงมีสาขา "7-Eleven" ในประเทศไทยจำนวนมากถึง 2,861 สาขา (สิ้นปี 2547) มากเป็นอันดับที่ 4 ของโลกรองจากญี่ปุ่น, สหรัฐอเมริกา และไต้หวัน..เมื่อปีที่ผ่านมาทำยอดขายรวมได้ 78,365 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 1,695 ล้านบาท
นอกจากนี้ CP7-11 ยังถือหุ้น 29% ใน "บริษัทเซี่ยงไฮ้ โลตัส ซูเปอร์มาร์เก็ต เชนสโตร์" เปิดห้าง "โลตัส" จำนวน 25 สาขาในประเทศจีนที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว..แต่ถึงแม้ CP7-11 จัดเป็นหุ้นปัจจัยพื้นฐานยอดเยี่ยมเพียงใด แต่การเพิ่มทุนขึ้นมากถึง 1 เท่าตัว (จากการแจกหุ้นปันผลฟรี) กำไรย่อมเติบโตไม่ทันกับจำนวนหุ้นที่เพิ่มขึ้นมหาศาล
บนความเคลื่อนไหวอย่างเงียบๆ ของบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี กรุ๊ป) เมื่อวันที่ 18 ก.ค.2548 ผ่านมา "ซีพี กรุ๊ป" ขายหุ้นบริษัท ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น (CP7-11) ให้กับ "CPF Investment Limited" ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF)..จำนวน 120 ล้านหุ้น (2.72%) ที่ราคาหุ้นละ 5 บาท มูลค่าทั้งสิ้น 600 ล้านบาทนั้น
หากมองเพียงผิวเผินอาจคิดว่านี่เป็นแค่ดีลธรรมดาๆ เท่านั้น แต่ถ้ามองลึกลงไปกลับพบว่า..นี่คือ กลยุทธ์การ "หมุนเงิน" ภายในเครือซีพีที่น่าสนใจยิ่ง ภายใต้แนวคิดง่ายๆ ถ่ายเทสภาพคล่องจากบริษัทในเครือมาไว้กับบริษัทแม่ (ซีพี กรุ๊ป) โดยไม่สูญเสียอำนาจการบริหารภายในกลุ่ม
ทีมข่าว "กรุงเทพธุรกิจ BizWeek" ค้นข้อมูลย้อนหลังกลับไปเมื่อวันที่ 24 ก.พ.2548 พบว่าเซเว่นอีเลฟเว่นประกาศจ่ายเงินปันผลเป็น "หุ้นสามัญ" ในอัตรา 1 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ (ในราคา 0 บาท) จำนวน 440 ล้านหุ้น ขณะนั้น เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี กรุ๊ป) ถือหุ้นทางตรงอยู่ใน CP7-11 จำนวน 114.16 ล้านหุ้น หรือ 25.95% (ทั้งเครือถือหุ้นรวมกันประมาณ 46%)..ฉะนั้นซีพี กรุ๊ปจะได้รับหุ้น CP7-11 จำนวนเท่ากันที่ 114.16 ล้านหุ้นโดยไม่มีต้นทุนรวมกับหุ้นเดิมจะเป็น 228.32 ล้านหุ้น
แต่เกมนี้ที่ลึกกว่านั้นก็ตรงที่หลังจากจ่ายหุ้นปันผล (ฟรี) แล้ว CP7-11 ก็แตกพาร์จาก 5 บาทเหลือ 1 บาท เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2548 เพราะฉะนั้นซีพี กรุ๊ปจะมีหุ้นเพิ่มขึ้นอีก 5 เท่าจาก 228.32 ล้านหุ้น เพิ่มขึ้นเป็น 1,141.60 ล้านหุ้นทันที ขณะที่ทุนจดทะเบียนเพิ่มขึ้นจาก 2,250 ล้านบาทเป็น 4,500 ล้านบาท
อธิบายโจทย์นี้อย่างง่ายๆ..ก่อนแตกพาร์ซีพี กรุ๊ปมีหุ้นเดิมเพียง 114.16 ล้านหุ้น ทันทีที่แตกพาร์จาก 5 บาทเหลือ 1 บาทจะมีหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 570.80 ล้านหุ้น..ถ้าซีพี กรุ๊ปได้รับหุ้นปันผลฟรีมาอีก 114.16 ล้านหุ้น (1 ต่อ 1) เมื่อแตกพาร์เสร็จแล้วจะได้หุ้นเพิ่มขึ้นมาอีก 570.80 ล้านหุ้น รวมกันเป็น 1,141.60 ล้านหุ้น
ถ้าถอดสมการในสูตรนี้ ซีพี กรุ๊ป จะมีหุ้น CP7-11 เพิ่มขึ้น 10 เท่า จาก 114.16 ล้านหุ้น เป็น 1,141.60 ล้านหุ้น..โดยซีพี กรุ๊ปจะได้หุ้นเพิ่มขึ้นมาจำนวน 570.80 ล้านหุ้น (114.16 ล้านหุ้นคูณ 5)..นี่คือ วิธีการใช้กลยุทธ์ทางการเงินชั้นเซียน
หลังจากนั้นซีพี กรุ๊ปก็เอาหุ้นที่ไม่มีต้นทุนในส่วน 570.80 ล้านหุ้นนี้ขายต่อให้กับ "CPF Investment Limited" (CPF ถือหุ้น 100%) จำนวน 120 ล้านหุ้น ที่ราคา 5 บาท เท่ากับว่าไปดูดสภาพคล่องจากบริษัทลูกกลับออกไปหมุนได้ทันที 600 ล้านบาท
"กรุงเทพธุรกิจ BizWeek" ยังตรวจพบอีกว่าหลังแตกพาร์เสร็จซีพี กรุ๊ปควรจะมีหุ้น CP7-11 จำนวน 1,141.60 ล้านหุ้น เมื่อตรวจสอบโครงสร้างผู้ถือหุ้น (ก่อนขาย 120 ล้านหุ้นออกไป) ซีพี กรุ๊ปเหลือหุ้นเพียงแค่ 1,059.71 ล้านหุ้น แสดงว่าก่อนหน้านี้ได้มีการขายหุ้น CP7-11 ออกไปแล้วล็อตหนึ่งจำนวนประมาณ 82 ล้านหุ้น (ก่อนแตกพาร์คือ 8.19 ล้านหุ้น) คาดว่าขายก่อน XD ที่ราคาระหว่าง 57-62 บาท
จะได้รับเงินเข้ามา "รอบแรก" ประมาณ 466-507 ล้านบาท บวกกับที่ขาย "รอบสอง" จำนวน 600 ล้านบาท..คาดว่าซีพี กรุ๊ป จะได้เงินกำไร (ฟรีๆ) จากการขายหุ้น CP7-11 โดยไม่มีต้นทุนออกไป "หมุน" ในธุรกิจอื่นรวมประมาณ 1,066-1,107 ล้านบาท
แม้วิธีการจะ "ซับซ้อน" แต่ก็ถือว่าเป็นประโยชน์กับ CPF หลังจากการรับซื้อหุ้นล็อตใหญ่จากบริษัทแม่จำนวน 120 ล้านหุ้น (2.72%) CPF จะถือหุ้นใหญ่ที่สุดใน 7-Eleven จำนวน 24.95% ขณะที่ซีพี กรุ๊ป จะเหลือหุ้นเพียง 20.96% แต่ถึงอย่างไรทั้งเครือยังถือหุ้นใหญ่ใน 7-Eleven รวมกันมากถึง 45.91%
เกมนี้ไม่ใช่แค่ ซีพี กรุ๊ปเท่านั้นที่เล่น แม้แต่ "กอฟเวอร์เม้นท์ ออฟ สิงคโปร์ อินเวสเม้นท์ คอร์ปอเรชั่น" (GIC) กองทุนรัฐบาลสิงคโปร์หลังจากได้หุ้นปันผลฟรีก็ "ขาย" หุ้น CP7-11ออกมาเช่นเดียวกันจากเดิมที่ถือหุ้นอยู่ 375 ล้านหุ้น (พาร์ 1 บาท) หรือ 8.5% ล่าสุดพบว่าเหลือหุ้นในชื่อ GIC จำนวนเพียง 112 ล้านหุ้น และถือผ่าน "กองทุน ไทยเวส พีทีอี ลิมิเต็ด" เหลืออีก 44 ล้านหุ้น (เมื่อวันที่ 3 พ.ค.2548 เพิ่งขายออกไป 23 ล้านหุ้น)
กองทุนรัฐบาลสิงคโปร์ (GIC) จะเหลือหุ้น CP7-11 รวมกันประมาณ 156 ล้านหุ้น ภายหลังขายหุ้นล็อตใหญ่ออกไปแล้วประมาณ 218 ล้านหุ้น (คาดว่ามีมูลค่าประมาณ 1,200-1,300 ล้านบาท)
อย่างไรก็ตามอนาคต CP7-11 นับว่าน่าสนใจทีเดียวไม่เพียงมีสาขา "7-Eleven" ในประเทศไทยจำนวนมากถึง 2,861 สาขา (สิ้นปี 2547) มากเป็นอันดับที่ 4 ของโลกรองจากญี่ปุ่น, สหรัฐอเมริกา และไต้หวัน..เมื่อปีที่ผ่านมาทำยอดขายรวมได้ 78,365 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 1,695 ล้านบาท
นอกจากนี้ CP7-11 ยังถือหุ้น 29% ใน "บริษัทเซี่ยงไฮ้ โลตัส ซูเปอร์มาร์เก็ต เชนสโตร์" เปิดห้าง "โลตัส" จำนวน 25 สาขาในประเทศจีนที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว..แต่ถึงแม้ CP7-11 จัดเป็นหุ้นปัจจัยพื้นฐานยอดเยี่ยมเพียงใด แต่การเพิ่มทุนขึ้นมากถึง 1 เท่าตัว (จากการแจกหุ้นปันผลฟรี) กำไรย่อมเติบโตไม่ทันกับจำนวนหุ้นที่เพิ่มขึ้นมหาศาล