หน้า 1 จากทั้งหมด 1

บทสัมภาษณ์ Philip Fisher ( A Talk with Philip Fisher)

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ค. 10, 2005 11:06 am
โดย PP
INVESTING; The Money Men; Pg. 41


HEADLINE: A talk with Philip Fisher

By Thomas Jaffe

Philip Fisher doesn't try to impress you with lavish offices. He works out of a nondescript nine-story office building in San Mateo, Calif., a 30-minute drive -- when the traffic's light -- south of San Francisco. There's a small outer office with a desk where his secretary sits, a couple of filing cabinets, a phone, an answering machine and not much else. No computers, no Quotron machines, no elaborate library; just a refined and practiced mind. Fisher apologizes for the messy state his desk is in; he's been away paying calls on companies in New England for the previous week and has just gotten home. Having just turned 800 this September, Fisher is as vibrant as they come, his intellect keen and his wit as sharp as a tack. He's still managing money, still learning how to do it better with every new day. If it is possible for Wall Street, even out here in California, to have produced the equivalent of what the Japanese call a national treasure, then Phil Fisher fits the bill admirably.
FORBES: What signals are your antennas receiving these days?
Fisher: I see new issues of companies that don't look all that outstanding coming at maybe five and six times sales, and things that look totally prosaic coming at three and four times sales. I think this is always the sign of potential danger. I am not calling doom within the next month. I just don't know. But it's a time to be cautious.

I see a huge overextension of credit in all directions. If the banks of the country were held to the same accounting principle that other companies are held to, and had to write down their inventory, their bank loans, to market, they would be in a simply incredible position.

The consumer has a degree of loans outstanding that to me looks abnormally high in relation to his income. People are saying it isn't high in relation to his assets. What are these? Residential real estate is fundamentally higher than the stock market is.

You have an impasse in the government where nothing is being done. You have this trade-deficit situation, which I think is rampant with potential trouble.

The policy of the Federal Reserve and of our government is to encourage foreign lending to support the government bond market. I mean, to encourage foreigners to buy into our ownership of American assets is damnable, to put it mildly. It is so shortsighted. Sooner or later a situation is going to come when these foreigners will want their money back. When they do, what can happen to the dollar, to our markets, is frightening.

บทสัมภาษณ์ Philip Fisher ( A Talk with Philip Fisher)

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ค. 10, 2005 11:07 am
โดย PP
And yet you hear these monkeys in Washington saying we've got to make government bonds attractive so that foreigners will buy more of them.

Put all this together with the desperate financial condition of much of the Third World, and currently you have a situation that is not too different from what happened in the late 1920s.

In 1929-33 we went through four years of such economic hell that people who went through it have been psychologically scarred ever since. You saw people who were well-fixed lose jobs, people who had been wealthy going through their homes taking out every light bulb except one in each room. I knew a manufacturing executive who went to work as a watchman, and his wife took a job cleaning and cooking.

When will the crash come?
I haven't the faintest idea whether we are in 1927 or 1929. Some awfully bright, able, sound people were scared as hell in 1927. But the thing rolled on for two more years, and that may happen here. I don't know.

We have learned how to take dope and stop the pain. That dope is very simple. You run the printing presses or run the credit machine, to have huge, huge expenditures of government money and expansion of credit.

Instead of a crash, what will happen is exactly the kind of hyperinflation that you have seen in Argentina and Brazil. I think in two years, one or two years, it will start and then run on for maybe four or five years.

If that's what's coming, how does one protect oneself against this hyperinflation?
I made as deep a study as I could of what happened after World War I in France, where there was lots of inflation, and in Germany, where there was inflation into infinity. And in both countries the same thing happened. If you bought the very best stocks, according to my definition -- not just any stocks -- you were still darned uncomfortable during that period of the spiraling inflation. But when the inflation was over, you came out of it with about 80% of the real purchasing power intact.

If I can come out of it with 80% of my present assets in real money, and my people can do that, that is fine. Until then I'm keeping a fair amount in Treasury bills.

Timing these things is so damnably difficult. I don't want to be the smart guy with too much cash because I think a big break is coming. Nor do I want, once it comes, to spend too long getting myself ready. When you're not sure, you hedge. Very roughly, I have between 65% and 68% in the four stocks I really like, between 20% and 25% in cash and equivalents, and the balance in the five

บทสัมภาษณ์ Philip Fisher ( A Talk with Philip Fisher)

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ค. 10, 2005 11:07 am
โดย ปรัชญา
ขอภาษาไทยด้วยครับ
ผมภาษาอังกฤษไม่ค่อยแข็งแรง

ขอบคุณครับ

บทสัมภาษณ์ Philip Fisher ( A Talk with Philip Fisher)

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ค. 10, 2005 11:10 am
โดย PP
stocks that are in the grooming stage.

You don't own or buy a large number of issues.
I have four core stocks that are exactly the thing I want. They represent the bulk of my holdings. I have five others in much smaller dollar amounts that are potential candidates to enter this group. But I'm not sure yet. If I were betting today, I'd bet on two and not on the other three.

Each decade up to this one -- there hasn't been time to work it out for the Eighties -- I have found a very small number of stocks, 14 in all, starting with 2 in the Thirties, that over a period of years made a profit for me of a minimum seven times the funds I put in a maximum of many thousands of times my investment.

Now I have gone into about three to four times as many additional securities in which I've made more money than I've lost. I've had losses, in two cases as high as 50%. There also have been a number where I have made or lost 10%. That's almost the cost of being in business. But there are lots of cases where a stock has gone down moderately, and I've bought more, and it's paid off for me enormously.

These efforts were necessary to weed out the 14 where I have made the real gains. I've held those 14 from a minimum of 8 or 9 years to a maximum of 30 years. I don't want to spend my time trying to earn a lot of little profits. I want very, very big profits that I'm ready to wait for.

What do you look for in a core stock?
They are all low-cost producers; they are all either world leaders in their fields or can fully measure up to another of my yardsticks, the Japanese competition. They all now have promising new products, and they all have managements of above-average capabilities by a wide margin.

You place a lot of emphasis on management, don't you?
Getting to know the management of a company is like getting married. You never really know the girl until you live with her. Until you've lived with a management, you don't really know them to that same degree.

Getting back to the kinds of companies you like, the ones that will help get you and your clients through the bustup. . . .
My own interests essentially are in manufacturing companies that in one way or another -- I hate the buzzword "technology" -- can expand their markets by taking advantage of the discoveries of natural science.

In other fields, such as retailing and finance, there are excellent opportunities, but I feel this is one where I am more qualified. I think a weakness of many people's approach to investment is that they try to be jacks of all trades and masters of none.

บทสัมภาษณ์ Philip Fisher ( A Talk with Philip Fisher)

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ค. 10, 2005 11:11 am
โดย PP
Are you looking at other stocks?
I am spending time looking at situations that I'm not eager to buy today. But under the strain of a rapidly falling market, I don't want to have to act with too much speed on stocks that I'm not more familiar with.

Can I get you to name your nine stocks?
In the case of the five smaller ones, I don't want to. I will identify two of my four core stocks -- Motorola and Raychem. The third is a small-cap where there's been steady accumulation of shares by other long-range investors besides myself, so the floating supply of shares is abnormally small. A mention in FORBES would make the thing go whoosh up. But until the earnings have started to materialize, it would whoosh down again. I don't want to cause that.

Number four has an excellent record of making products allied to what it already has, but it's now doing one so big in relation to the present company that, if this shouldn't work as well, there could be risk in the shares. And the stock is already up. So again I'll pass.

As for Motorola, Wall Street is just beginning to see how good management really is. In the recent semiconductor depression, it was the only major company to earn subnormal but not insignificant profits. Of the others, one just about broke even and three went heavily into the red. That kind of stuff attracts Wall Street, but not the reasons behind it. Wall Street should pay greater attention, for instance, to whether a company has its production under statistical quality control -- shortening the production cycle, thereby reducing inventories and cutting costs.

Motorola is also way above the average company in planning. One reason its semiconductor business has done so well in time of stress is that it picked the right areas to be in and didn't have the bulk of its effort in areas that ran into more trouble. Another reason it's so outstanding is due to the farsightedness and high moral standards of Bob Galvin, its chairman.

Now Motorola is not on the bargain counter today, but it will have very pleasing growth.

With Raychem you've got another situation. [With annual sales of $ 944 million, Raychem manufactures high-performance plastic products.] Several years back management recognized that its older product lines wouldn't keep growing the 20% to 25% a year that they had since the company was started. Raychem developed a whole series of new technologies. But it underestimated how long it would take to get prosperity out of them.

The last couple of years it's been bringing these into the market. Now people who are interested in growth but who aren't very sophisticated tend to measure it by how much you spend on R&D. Actually, when bringing on new products, R&D,

บทสัมภาษณ์ Philip Fisher ( A Talk with Philip Fisher)

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ค. 10, 2005 11:12 am
โดย PP
while important, is less costly than the combination of marketing money, when you're first introducing those new products, and the high-cost production when you first start to get those new products out but where you haven't yet come down the learning curve.

The fact these new products have been bunched together has resulted in several years of flat earnings. For a company that had steadily growing earnings before that, this three Wall Street, with its short-term outlook, for a loop. Now there is great suspicion. Is it really a growth company? To me, it epitomizes a growth company but sells at a price/earnings ratio that doesn't fully reflect this.

What else do you look at besides good management?
When I have to argue strongly wit [clients] to like something, and they say, "Well, all right, if you say so, we'll do it." I'm much more apt to be right than when, as sometimes happens, I say, "Let's buy 10,000 shares," and they say, "Why don't we buy 50,000?" That's usually a warning signal that it's too late to buy.

Nor will I buy market-favored stocks. I particularly notice it when I attend meetings for technology stocks and see all the people crowding into the room and so on. If there's standing room only, that's usually a pretty fair sign it's not a good time to buy the stock.

You sound like a contrarian
Part of real success is not being a 100% contrarian. When people saw that the automobile was going to obsolete the old streetcar system in the cities, some decided that since nobody would want streetcar stocks, they'd buy them. That is ridiculous. But being able to tell the fallacy in an accepted way of doing things, that's one of the elements in the investment business of big success

What's the single most important lesson to be learned from your career as an investor?
It is just appalling the nerve strain people put themselves under trying to buy something today and sell it tomorrow. It's a small-win proposition. If you are a truly long-range investor, of which I am practically a vanishing breed, the profits are so tremendously greater. One of my early clients made a remark that, while it is factually correct, is completely unrealistic when he said, "Nobody ever went broke taking a profit."

Well, it is true that you don't go broke taking a profit, but that assumes you will make a profit on everything you do. It doesn't allow for the mistakes you're bound to make in the investment business.

Funny thing is, I know plenty of guys who consider themselves to be long-term investors but who are still perfectly happy to stocks.
Some years ago I was the adviser to a profit-sharing trust for a profit-sharing trust for a large commodities dealer. I bought for them -- I think the stock has been

บทสัมภาษณ์ Philip Fisher ( A Talk with Philip Fisher)

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ค. 10, 2005 11:13 am
โดย PP
split 15 times since then -- a block of Texas Instruments at $ 14 a share. When the stock got up to $ 28, the pressure got so strong ("Well, why don't we sell half of it, so as to get our bait back?") I had all I could do to hold them until it got to $ 35. Then the same argument: "Phil, sell some of it; we can buy it back when it gets down again."

That is a totally ridiculous argument. Either this is a better investment than another one or a worse one. Getting your bait back is just a question of psychological comfort. It doesn't have anything to do with whether it is the right move or not.

But, at any rate, we did that. The stock subsequently went above $ 250 within two or three years. Then it had a wide open break and fell to the mid-50s. But it didn't go down to $ 35.

What turned you off the short term?
Let me go back to the 1930s. The company I really started my business on was FMC Corp., then called Food Machinery. Two-thirds of its business was in selling to fruit and vegetable canners. So I started learning a fair amount about the canning business. Three different times in the Thirties I bought California Packing -- that's the Del Monte line -- at a low price, when the outlook for canning looked poor, and sold it at a high price. I also bought, for any client who I could get to buy it, as much Food Machinery stock as they would let me.

Then in 1940 or 1941 I reviewed the bidding and found that the effort I had put into the timing of buying and selling California Packing shares considerably exceeded the time I had spent learning about and watching Food Machinery stock. Yet already by 1940 my profits in Food Machinery dwarfed the ins and outs of California Packing.

That episode finally made me decide not to follow the almost accepted policy at the time that you should buy low and sell high and make a profit and bring it in. This just isn't valid.

Warren Buffett once said his investment philosophy was 85% Ben Graham, 15% Phil Fisher. What's the difference between Grahamism and Fisherism?
There are two fundamental approaches to investment. There's the approach Ben Graham pioneered, which is to find something intrinsically so cheap that there is little chance of it having a big decline. He's got financial safeguards to that. It isn't going to go down much, and sooner or later value will come into it.

Then there is my approach, which is to find something so good -- if you don't pay too much for it -- that it will have very, very large growth. The advantage is that a bigger percentage of my stocks is apt to perform in a smaller period of time -- although it has taken several years for some of these to even start, and you're bound to make some mistakes at it. [But] when a stock is really unusual, it makes

บทสัมภาษณ์ Philip Fisher ( A Talk with Philip Fisher)

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ค. 10, 2005 11:15 am
โดย PP
the bulk of its moves in a relatively short period of time.

The disadvantage of Ben Graham's approach as he preached it, is it is such a good method that practically everybody knows it and has picked up the things that meet his formula.

I don't want to say that mine is the only formula for success. But I think, and I may be conceited about this, that I started my business before the term growth stock was thought of.

How many clients do you have?
The Grim Reaper has cut into my client list. I've actually got only nine at the present time.

I wondered as I turned 80 if some of my clients would begin to worry, well, should we leave our investments with a man whose life expectancy is obviously shorter than it was some years back? I was amazed to find the majority are not at all concerned. The reason is rather basic. The stocks I have put their funds in have certain common characteristics that I referred to earlier. If they're going to start going downhill, which many companies do sooner or later, that might be a minimum five years off.

If I were to pass out of this world tomorrow, my people would have plenty of time before they'd have to worry about these stocks and would still benefit from them as the present momentum carries on.

Doesn't sound like you're about to retire.
I could wax for a half-hour on the utter folly of people being forced to retire at the age of 65. I think I have produced better results in the last five years than in any other five-year period. The refinement that comes from contemplating your own mistakes and improving yourself has continued.

I have seen enough people start to go senile as they get older that if it should happen to me, with my responsibilities, I would cut myself off. But unless that happens, I think it's ridiculous to stop the work I enjoy.

For our readers who won't have the benefit of having you run their money, how about some advice on choosing a portfolio manager?
The only way that I've suggested is get them to give you a transcript of what they actually have done. And if they take losses and small losses, quickly and let their profits run, give them a gold star. If they take their profits quickly and let their losses run,don't go near them.

บทสัมภาษณ์ Philip Fisher ( A Talk with Philip Fisher)

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ค. 10, 2005 11:27 am
โดย PP
ปรัชญา เขียน:ขอภาษาไทยด้วยครับ
ผมภาษาอังกฤษไม่ค่อยแข็งแรง

ขอบคุณครับ
ผมอยากให้มีอาสาสมัครที่สามารถเขียนภาษาแปลเก่งๆมาช่วยแปลบทสัมภาษณ์นี้นะครับ เพราะผมเองพออ่านภาษาอังกฤษเข้าใจได้ แต่ให้ถอดความให้ได้ความหมายเหมือนหรือใกล้เคียงกับเจ้าของคำพูด..อาจผิดเพี้ยนจนทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิดคลาดเคลื่อนได้นะครับ

เท่าที่พอมองหน่วยกล้าตายแปลบทความนี้เห็นจะได้แก่
- เฮียคลายเครียด (จะได้ต่อสู้กันทางความคิดเรื่อง KKR ครับ ผมรอฟังด้วยคนครับ)
- คุณCK
- คุณคัดท้าย
- คุณ WEB (มืออาชีพตัวจริงเสียงจริง)

ฯลฯ
ขอบคุณล่วงหน้าครับ

บทสัมภาษณ์ Philip Fisher ( A Talk with Philip Fisher)

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ค. 10, 2005 9:50 pm
โดย ลูกอิสาน
ขอบคุณครับคุณ PP (ที่แหย่ขาเข้าตะรางไปแล้วข้างนึง :lol: )

ผมขอแหย่อีกด้วยคน อาสาช่วยแปลตอน 1 และ 2 ครับ

บทสัมภาษณ์ Philip Fisher ( A Talk with Philip Fisher)

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ค. 11, 2005 12:06 pm
โดย PP
ลูกอิสาน เขียน:ขอบคุณครับคุณ PP (ที่แหย่ขาเข้าตะรางไปแล้วข้างนึง :lol: )
:roll: :roll: :roll:

นอกจากคุณลูกอีสานแล้วยังไม่ปรากฏมีผู้อาสากล้าตายมาช่วยแปล งั้นผมขอร่วมด้วยช่วยกันพยายามแปลหน้า 3 และ 4 แล้วกัน เผื่อเจ้าของนิตยสาร Forbes จะเห็นใจจ่ายค่าสปอนเซอร์ให้แทนเข้าตะราง เพราะอุตสาห์ประชาสัมพันธ์นิตยสารให้เขาฟรีๆ

บทสัมภาษณ์ Philip Fisher ( A Talk with Philip Fisher)

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ค. 11, 2005 9:30 pm
โดย ลูกอิสาน
หน้าที่ 1

ฟิลลิป ฟิชเชอร์ ไม่ได้พยายามที่จะทำให้คุณประทับใจด้วยการนั่งทำงานในออฟฟิศหรูๆ ที่จริงฟิลทำงานอยู่ในออฟฟิศเก้าชั้นธรรมดาๆ ในซานเมทติโอ รัฐแคลิฟอร์เนีย ทางใต้ของซาน ฟรานซิสโก ขับรถไปเพียง 30 นาที ถ้าไม่ติดไฟแดง

ห้องทำงานของฟิลเป็นห้องเล็กๆ ประกอบไปด้วยโต๊ะของเลขา ตู้เอกสาร 2 ตู้ โทรศัพท์และเครื่องตอบรับ ไม่มีอะไรไปมากกว่านั้นไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่มีเครื่องโควตรอน(น่าจะเป็นเครื่องดูราคาหุ้นสมัยนั้น) ดูเหมือนฟิลจะทำงานด้วยใจและความคิดที่ตกผลึกแล้ว เมื่อเราไปถึง ฟิลขอโทษที่โต๊ะทำงานเขาดูรกไปสักหน่อย เขาเพิ่งกลับมาจากการเยี่ยมชมกิจการในรัฐนิวอิงแลนด์เมื่ออาทิตย์ ที่แล้ว และเพิ่งกลับถึงบ้าน ขณะที่อายุของเขากำลังก้าวล่วงเข้าสู่ปีที่ 80 ในเดือนพฤศจิกายนนี้ ฟิชเชอร์ยังคงมีความกระฉับกระเฉงเพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามอายุ ความฉลาดปราชญ์เปรื่องด้านสติปัญญาและความสามารถในการแสดงความคิดเห็นของเขายังคงแหลมคมเหมือนดั่งปลายมีดดาบ เขายังคงบริหารเงินกองทุน และยังคงศึกษาเรียนรู้ที่จะพัฒนาการจัดการเงินกองทุนให้ดีขึ้นเรื่อยๆในทุกวันใหม่ที่ผ่านเข้ามา"

ฟอร์บ: คุณเห็นสัญญานอะไรในภาวะเศรษกิจทุกวันนี้หรือเปล่า

ฟิล: ผมเห็นหลายบริษัทที่ไม่ได้โดดเด่นมากนัก เข้ามาในตลาด(หลักทรัพย์) และซื้อขายกันที่มูลค่าตลาด 5-6 เท่าของยอดขาย และหลายๆบริษัทที่ธรรมดาๆแต่มีมูลค่าตลาดถึง 3-4เท่าของยอดขาย ผมไม่ได้กำลังจะบอกว่าเศรษกิจกำลังจะตกต่ำในเร็ววันนี้ เพราะผมคงไม่รู้ แต่เป็นสัญญานว่าเราควรระวัง

ผมเห็นการปล่อยสินเชื่ออย่างมโหฬารของธนาคาร ซึ่งหากมีการบันทึกค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญตามมาตรฐานของบริษัททั่วไปที่มีการตั้งค่าเสื่อมสินค้า สินเชื่อหรือธนาคารเหล่านั้นน่าจะอยู่ในสภาวะที่เรียกว่าไม่น่าเชื่อถือได้อีกต่อไปผมมองว่าประชาชนทั่วไปมีระดับหนี้ที่สูงเกินไปเมื่อเปรียบเทียบกับระดับรายได้ของเขา แม้หลายคนพูดว่าหนี้เหล่านั้นไม่ได้สูงเกินไปเมื่อเปรียบเทียบกับระดับทรัพย์สินที่มี ซึ่งผมไม่เห็นด้วยอย่างนั้น ปกติมูลค่าของตลาดที่อยู่อาศัยต้องสูงกว่ามูลค่าตลาดของตลาดหุ้นอยู่แล้ว

คุณมีรัฐบาลที่มีแต่การถกเถียงแต่ไม่มีมาตรการอะไรที่ออกมาเป็นรูปธรรม คุณมีปัญหาขาดดุลการค้า ซึ่งผมคิดว่าอาจจะกลายเป็นหายนะต่อเศรษกิจได้ นโยบายของคณะกรรมการทางการเงินของรัฐบาลกลาง คือพยายามที่จะสนับสนุนให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาซื้อพันธบัตรของรัฐบาลหรือที่ผมหมายถึงการสนับสนุนให้ขายสมบัติของชาติ ซึ่งเป็นนโยบายที่สมควรจะโดนด่าถ้าพูดให้ดีหน่อย นโยบายนี้เป็นการมองผลในระยะสั้นๆเท่านั้นเพราะในไม่ช้าก็เร็ว หากนักลงทุนต่างชาติเหล่านั้นต้องการเงินของเค้าคืนอะไรจะเกิดขึ้น การเทขายจะทำให้ค่าเงินดอลล์ล่าตกต่ำไปแค่ไหน ตลาดหุ้นจะเป็นอย่างไร เหล่านี้เป็นสิ่งที่ผมคิดว่าเราควรจะกลัว



แปลแบบมื่อใหม่นะครับ ผิดถูกอย่าว่ากันและช่วยทักท้วงด้วยครับ

บทสัมภาษณ์ Philip Fisher ( A Talk with Philip Fisher)

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ค. 11, 2005 10:28 pm
โดย ปรัชญา
ลูกอิสาน เขียน:ขอบคุณครับคุณ PP (ที่แหย่ขาเข้าตะรางไปแล้วข้างนึง :lol: )

ผมขอแหย่อีกด้วยคน อาสาช่วยแปลตอน 1 และ 2 ครับ

ขอบคุณครับ คุณPP และคุณลูกอีสาน
ที่อนุเคราะห์มาแปลบทความ

ผมเตรียมส่ัง ข้าวผัด+น้ำ1ขวด ไว้แล้ว

หากจำเป็นต้องเยี่ยมกันครับ

บทสัมภาษณ์ Philip Fisher ( A Talk with Philip Fisher)

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ค. 11, 2005 10:52 pm
โดย ลูกอิสาน
หน้าที่ 2

คุณได้ยินพวกงี่เง่าในวอชิงตันกำลังพูดหรือเปล่า เค้าพูดว่า เราควรจะออกพันธบัตรที่มีเงื่อนใขน่าสนใจขึ้น เผื่อพวกนั้น(นักลงทุนต่างชาติ) จะได้สนใจซื้อเพิ่มขึ้น

เมื่อเรามองภาพรวมทั้งหมด สถาวะทางการเงินที่ไร้ทางออกในตอนนี้ ช่างเหมือนกับประเทศโลกที่ 3 และไม่ได้ต่างกันมากนักกับสภาวะที่เกิดขึ้นในช่วงปีทศวรรษ 1920 เลย ในช่วง 4 ปีระหว่างปี 1929 ถึง 1933 เราผ่านสภาวะเศรษกิจตกต่ำอย่างหนักที่สุด ทุกคนที่ผ่านช่วงนั้นมา ไม่มีใครที่จะลืมความยากลำบากในขณะนั้นได้ คุณได้เห็นคนที่มีการมีงานมั่นคงต้องมาตกงาน คนที่ร่ำรวยต้องโดนยึดบ้าน ผมรู้จักคนระดับผู้บริหารในอุตสาหกรรมผลิต ต้องไปเป็นช่างซ่อมนาฬิกา ภรรยาต้องไปทำงานทำความสะอาดและเป็นแม่บ้าน


ฟอร์บ: แล้ววิกฤิตเศรษกิจจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่
ฟิล: ผมไม่แน่ใจเช่นกันว่าเราอยู่ในช่วงปี 1927 ถึงปี 1929 หรือเปล่า หลายคนที่ฉลาดและมีความรู้ดีเริ่มรู้สึกกลัวกันแล้วในปี 1927 แต่เศรษกิจโดยรวมยังก็ดำเนินต่อไปได้อีก 2 ปี ก่อนจะตกต่ำอย่างหนัก และหากถามว่าเรากำลังอยู่ในช่วง 2 ปีก่อนวิกฤติหรือเปล่า ผมก็ไม่รู้เช่นกัน ที่จริงเราน่าจะรู้ว่าจะป้องกันและหยุดยั้งวิกฤติได้อย่างไร มันไม่ได้เป็นเรื่องที่ยากเย็น คุณพิมพ์เงิน และนำเงินเหล่านั้นไปปล่อยสินเชื่ออย่างมากมายและผ่านการใช้จ่ายมหาศาลของหน่วยงานภาครัฐ สิ่งเหล่านี้มันอาจจะไม่ได้ทำให้เกิดวิกฤติเศรษกิจ แต่อาจจะเกิดสภาวะที่เรียกว่าเงินเฟ้ออย่างรุนแรง เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในบราซิลและอาเจนตินา ผมคิดว่าสิ่งเหล่านี้อาจจะเริ่มเกิดขึ้นภายใน 1-2 ปีนี้ และจะลากยาวไปประมาณ 4-5 ปี


ฟอร์บ: แล้วถ้าสิ่งที่คุณคาดเป็นจริง เราจะปกป้องตัวเราเองได้อย่างไร จากสภาวะที่เกิดเงินเฟ้ออย่างรุนแรง
ฟิล: ผมเคยศึกษาอย่างละเอียดเท่าที่จะทำได้ในประเด็นนี้ โดยศึกษาจากประเทศฝรั่งเศสหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งเกิดเงินเฟ้ออย่างรุนแรง และประเทศเยอรมนีซึ่งเกิดเงินเฟ้อชนิดที่ว่าเงินแทบกลายเป็นกระดาษ และทั้งสองประเทศ สิ่งที่เกิดขึ้นเหมือนๆกันคือ ถ้าคุณซื้อหุ้นที่ดี (ตามนิยามของผม ไม่ใช่ซื้อหุ้นอะไรก็ได้) คุณจะพบว่าแม้จะเป็นช่วงเวลาที่ลำบากอย่างมากในสภาวะเงินเฟ้อเช่นนั้น แต่เมื่อสภาวะเงินเฟ้อผ่านไป คุณกลับมาดูที่หุ้นและจะพบว่าหุ้นเหล่านั้นยังมีมูลค่าถึงประมาณ 80% ของเงินต้นที่ลงไป(หลังปรับเงินเฟ้อแล้ว) ซึ่งหากเป็นอย่างนั้นผมคิดว่าไม่เลวทีเดียว วิธีนี้ประชาชนทั่วไปก็น่าจะทำได้เช่นกัน และก่อนจะเกิดสภาวะอย่างนั้นผมคงสนใจที่จะลงทุนบางส่วนในตั๋วเงินคลังบ้าง

การเดาว่าเศรษกิจจะเป็นอย่างไรในอนาคตเป็นเรื่องที่ยากมาก ผมไม่อยากเป็นคนที่ฉลาดเกินไป คิดว่าจะเป็นอย่างโน้นอย่างนั้น จนต้องถือแต่เงินสดในมือ หรือถ้าผมต้องการให้มันเกิดขึ้นจริงๆ เมื่อวันนั้นมาถึงผมคงรอไม่ไหวไปแล้ว วิธีที่ดีที่สุดเมื่อคุณไม่แน่ใจในอะไรบางอย่าง คุณต้องปกป้องความเสี่ยง ง่ายๆ ที่สุดอย่างผมจะจัดพอร์ตโดยถือหุ้นที่ดีที่สุดประมาณ 4 ตัว สัดส่วน 65-68% ถือเงินสดหรือสินทรัพย์ที่เปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่ายสัก 20-25%

บทสัมภาษณ์ Philip Fisher ( A Talk with Philip Fisher)

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ค. 12, 2005 10:50 am
โดย PP
ส่วนที่เหลือเป็นการลงทุนในหุ้นอีก 5 ตัวซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการเลี้ยงต้อย(ระยะปะคบปะหงมให้เติบโต)

หน้า 3
คุณไม่ได้ถือหรือซื้อหุ้นไว้จำนวนหลายตัวใช่หรือเปล่า

ผมถือหุ้นหลักๆเพียง 4 ตัวที่ผมอยากได้จริงๆเท่านั้น หุ้น 4 ตัวนี้ถือว่ามีปริมาณเป็นส่วนใหญ่ของหุ้นทั้งหมดที่ผมถือออยู่ ผมมีอีก 5 ตัวที่เมื่อคิดเป็นจำนวนเงินดอลลาร์ก้อไม่มากนักซึ่งมีศักยภาพที่จะเข้าไปเป็นหุ้นกลุ่มหลักของผม แต่ผมก็ยังไม่มั่นใจนัก หากให้ผมพนันเลือกซื้อหุ้น ณ วันนี้ ผมจะเลือกพนันเลือกซื้อแค่สองตัวและอีก 3 ตัวนั้นทิ้งไว้ก่อน

ในช่วงแต่ละทศวรรษที่ผ่านมาจนถึงทศวรรษปัจจุบัน ช่วงทศวรรษที่ 80 (1980-1990) ไม่มีเวลาศึกษาหุ้นเลย ผมได้พบว่ามีหุ้นเพียงจำนวนน้อยมากที่เหมาะต่อการลงทุน, นั่นคือ 14 ตัวจากหุ้นที่มีอยู่ในตลาดทั้งหมด ผมเริ่มลงทุนในหุ้น 2 ตัวในทศวรรษที่ 30 นับจากนั้นมาเป็นเวลาหลายปีจวบจนปัจจุบัน หุ้นดังกล่าวทำกำไรให้ผมอย่างต่ำ 7 เท่าของทุนที่ลงไปเป็นอย่างต่ำ และที่สูงสุดก้อทำกำไรให้ผมหลายพันเท่าของเงินที่ลงทุนไป

ขณะนี้ผมได้ลงทุนเพิ่มเติมในหุ้นใหม่อีกราว 3-4 ตัวซึ่งสรุปแล้วทำกำไรให้ผมมากกว่าขาดทุน ผมก้อเคยขาดทุน โดยเฉพาะใน 2 กรณีผมขาดทุนสูงถึง 50% มีจำนวนหนึ่งเช่นกันที่ผมได้กำไรหรือขาดทุนแค่ 10% ผลการขาดทุนเช่นนี้เปรียบเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องเกิดขึ้นเมื่อต้องลงทุนทำธุรกิจ ในหลายกรณีที่ราคาหุ้นตกลงพอประมาณและผมได้ลงทุนซื้อเพิ่มและปรากฏว่าการลงทุนดังกล่าวให้กำไรแก่ผมอย่างมากมาย

ความพยายามต่างๆอย่างยิ่งยวดที่ทำมาเป็นเรื่องจำเป็นเพื่อจะได้สามารถคัดแยกหุ้นตัวไม่ดีออกไปจากที่มีอยู่ทั้งหมด 14 ตัว ซึ่งก็ทำให้ผมได้ผลตอบแทนจริงๆ ในบรรดาหุ้น 14 ตัวนี้อย่างต่ำที่สุดผมจะถือนาน 8 ถึง 9 ปีจนถึงสูงสุดนาน 30 ปี ผมไม่ต้องการเสียเวลาไปกับการทำกำไรทีละน้อยๆหลายๆครั้ง ผมต้องการกำไรแต่ละครั้งๆละมากๆซึ่งผมก้อพร้อมที่จะรอให้ช่วงทำกำไรเช่นนั้นมาถึง

คุณพิจารณาถึงอะไรบ้างที่เป็นคุณสมบัติที่ต้องมีอยู่ในหุ้นหลักของคุณ

หุ้นดังกล่าวทั้งหมดเป็นหุ้นบริษัทที่เป็นผู้ผลิตต้นทุนต่ำ หุ้นทั้งหมดเหล่านี้เป็นทั้งผู้นำในอุตสาหกรรมนั้นๆ หรือไม่ก้อต้องสามารถแข่งขันได้อย่างเต็มที่กับบริษัทอื่นๆสำหรับผมแล้วถือเป็นบรรทัดฐานว่าต้องแข่งกับคู่แข่งขันจากญี่ปุ่นได้ ปัจจุบันหุ้นทุกตัวเหล่านี้มีผลิตตัวใหม่ที่มีอนาคต และ ผู้บริหารบริษัทที่ผมถือหุ้นทั้งหมดทุกตัวมีความสามารถสูงเกินกว่าความสามารถเฉลี่ยในระดับแตกต่างที่สูงมาก

คุณเน้นย้ำอย่างมากเกี่ยวกับผู้บริหารใช่หรือไม่

การรู้จักมักคุ้นกับผู้บริหารของบริษัทก็เหมือนกับการที่จะแต่งงานนั่นแหละ คุณจะไม่รู้จักตัวตนที่แท้จริงของผู้หญิงจนกว่าคุณได้มีโอกาสอยู่กินกับเธอ ในทำนองเดียวกันคุณจะไม่มีทางรู้จักผู้บริหารเหล่านั้นดีอย่างแท้จริงจนกว่าคุณได้เข้าไปสัมผัสคลุกคลีอยู่กับผู้บริหารดังกล่าว

คราวนี้กลับไปพูดถึงหลายๆบริษัทที่คุณชื่นชอบ นั่นคือเหล่าบริษัทที่จะช่วยคุณและลูกค้าของคุณให้ผ่านพ้นความแตกแยกไปได้
ที่สำคัญที่สุดผมสนใจบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมการผลิตซึ่งไม่ทางใดก็ทางหนึ่งสามารถขยับขยายตลาดให้เติบโตขึ้นโดยถือเอาประโยชน์จากการค้นพบต่างๆทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ(Natural science) - ผมไม่ชอบ คำว่า เทคโนโลยี่

ในสาขาอื่นๆ ได้แก่ การค้าปลีก และ การเงิน เหล่านี้มีโอกาสที่ยอดเยี่ยมอยู่เยอะ แต่ผมรู้สึกว่าสาขานี้ผมมีความรู้ความสามารถที่จะเข้าใจได้มากกว่า ผมคิดว่าจุดอ่อนของวิธีการลงทุนของหลายๆคนก็คือ เขาเหล่านั้นพยายามที่จะเป็นแจ๊คผู้ฆ่ายักษ์ในการซื้อขายหุ้นทั้งหมดทุกตัวและไม่ได้รู้จริงในหุ้นตัวใดตัวหนึ่งแม้แต่ตัวเดียว

หน้า4
คุณกำลังมองหาหุ้นตัวอื่นๆอยู่บ้างหรือเปล่า

ผมกำลังใช้เวลาสอดส่องดูสถานะการณ์ที่ผมยังไม่มีความอยากที่จะซื้อในวันนี้ แต่เมื่อใดก็ตามที่เกิดภาวะกดดันทำให้ตลาดหุ้นรูดต่ำลงอย่างรวดเร็ว ผมก้อไม่ต้องการที่จะลงมือปฎิบัติการอย่างฉับไวกับหุ้นที่ผมยังไม่ได้รู้จักคุ้นเคยมากนัก

คุณพอที่จะเปิดเผยชื่อหุ้น 9 ตัวของคุณได้หรือไม่

ในส่วนของหุ้นขนาดเล็ก 5 ตัว ผมยังไม่อยากบอกให้ทราบตอนนี้ ผมจะบอกชื่อหุ้น 2 ใน 4 ตัวหลักของผม - นั่นคือ มอโตรอล่า และ เรย์เคม หุ้นตัวที่ 3 เป็นหุ้นขนาดเล็ก(small-cap) ซึ่งก็มีนักลงทุนขาใหญ่หลายรายได้ทยอยเก็บสะสมเหมือนกับผม ดังนั้นปริมาณหุ้นที่มีหมุนเวียนในตลาดจึงมีจำนวนน้อยลงไปอย่างผิดถนัด การกล่าวถึงชื่อหุ้นในนิตยสารชื่อดังอย่าง ฟอร์บ ย่อมจะทำให้ราคาหุ้นตัวนั้นๆเคลื่อนไหวอย่างรุนแรงไปในทางขึ้นได้ จากนั้นราคาหุ้นจะเคลื่อนไหวเป็นขาลงอีกครั้งเมื่อมีการประกาศผลประกอบการ(earnings)ออกมาแล้ว ผมเองไม่อยากเป็นตัวการทำให้เกิดภาวะอย่างนั้น

หุ้นตัวที่ 4 มีผลการดำเนินงานยอดเยี่ยมจากการผลิตสินค้าต่างๆที่เกี่ยวข้องกับตัวสินค้าที่มีอยู่ และขณะนี้บริษัทกำลังลงทุนในโครงการขนาดใหญ่มากเทียบกับที่เคยทำมา หากโครงการนี้ล้มเหลวไปด้วยแล้ว ย่อมก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการซื้อขายหุ้นของบริษัท และราคาหุ้นบริษัทนี้ได้ขยับขึ้นไปแล้ว
ฉนั้นผมจะขอผ่านไม่เอื้อนเอ่ยชื่อหุ้นตัวนี้

ในกรณีของบริษัท โมโตรอล่า นักลงทุนในวอลล์สตรีตเริ่มมองเห็นว่าผู้บริหารมีความสามารถมากจริงๆ ในภาวะตกต่ำของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์เมื่อเร็วๆนี้ บริษัทนี้เป็นเพียงบริษัทเดียวในบรรดาผู้นำอุตสาหกรรมด้านนี้ที่ผลประกอบการต่ำการปกตินิดหน่อยแต่ก็ไม่ได้ทำให้ผลกำไรลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนรายอื่นๆ พบว่า มีเพียงหนึ่งบริษัทที่มีผลประกอบการเกือบเสมอตัว และอีก 3 รายผลประกอบการติดลบอย่างมากๆ เมื่อผลเป็นเช่นนี้บริษัทจึงเป็นที่สนใจของนักลงทุนในวอลล์สตรีต ทั้งนี้นักลงทุนเหล่านี้ก้อมิได้หาเหตุผลมาสนับสนุนผลประกอบการที่ดีดังกล่าวของบริษัทแต่อย่างใด นักลงทุนในวอลล์สตรีตวรที่จะให้ความเอาใจใส่ให้มากกว่านี้ ตัวอย่างเช่น ตรวจสอบดูว่าบริษัทมีขบวนการผลิตที่มีการควบคุมคุณภาพทางสถิติหรือไม่ย่นระยะเวลาการผลิตให้สั้นลงทั้งนี้เพื่อลดปริมาณสินค้าคงคลังลงและลดสิ่งที่เป็นต้นทุนต่างๆลง

ในเรื่องการวางแผนแล้วโมโตรอล่ายังถือได้ว่าเหนือกว่าบริษัททั่วๆไป เหตุผลอย่างหนึ่งที่ทำให้ธุรกิจการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ของบริษัทเป็นไปได้ดีอย่างยิ่งในภาวะกดดันและตกต่ำก็เนื่องด้วยบริษัทเลือกที่จะลงทุนในกลุ่มสินค้าที่เหมาะสมและก้อมิได้ทุ่มเทความพยายามอย่างมหาศาลลงไปในกลุ่มสินค้าที่กำลังมีปัญหา เหตุผลอีกประการก็คือ บริษัทนี้โดดเด่นอย่างมากในเรื่องของวิสัยทัศน์มองกาลไกลรวมทั้งมาตรฐานด้านจริยธรรมของบ๊อบ แกลวิน ผู้ซึ่งเป็นประธานบริษัท

ปัจจุบันโมโตรอล่ายังไม่ได้เปรียบถึงขั้นต่อรองกับคู่ค้าได้ในขณะนี้ แต่แน่นอนว่าจะเป็นบริษัทอนาคตของบริษัทจะเติบโตได้ในระดับที่น่าพอใจ

สำหรับบริษัทเรย์เคม มีสถานะการณ์อีกแบบที่ต่างไป (ด้วยยอดขายต่อปี 944 ล้านเหรียญสหรัฐ เรย์เคมเป็นบริษัทผลิตสินค้าพลาสติกคุณภาพสูง) ย้อนหลังกลับไปหลายปีก่อนผู้บริหารมองเห็นแล้วว่าจะไม่สามารถรักษาอัตราการเติบของสินค้ารุ่นเก่าให้อยู่ที่ 20 ถึง 25%ต่อปีเฉกเช่นที่เกิดขึ้นมานับแต่เริ่มก่อตั้งบริษัทฯจนถึงขณะหลายปีก่อนนั้น เรย์เคมจึงได้พัฒนาซีรี่ของเทคโนโลยี่ขึ้นมาใหม่หมด แต่บริษัทฯประเมินช่วงระยะเวลาที่จะเฟืองฟูของผลิตภัณฑ์จากเทคโนโลยี่ใหม่ต่ำเกินไป

เมื่อสองปีก่อนบริษัทฯได้นำสินค้าใหม่นี้ออกสู่ตลาด ปัจจุบันผู้คนที่สนใจแต่เรื่องของการเติบโตของบริษัทฯแต่ไม่ใคร่พินิจพิเคราะห์อย่างละเอียดนักมักตรวจเช็คดูว่าบริษัทฯลงทุนใช้งบประมาณไปในด้านการวิจัยและพัฒนา(R&D)มากน้อยเท่าใด อันที่จริงแล้ว เมื่อจะออกสินค้าตัวใหม่สู่ตลาด พบว่า

หน้า5
งบ R&D แม้ว่าจะสำคัญ แต่จะใช้ไปน้อยกว่าเงินที่ต้องลงทุนทั้งหมดรวมกันในเรืองการตลาด เมื่อคุณเริ่มแนะนำสินค้าตัวใหม่เหล่านั้นเป็นครั้งแรกเข้าสู่ตลาด และต้นทุนการผลิตที่สูงสิ่วเมื่อเริ่มผลิตสินตัวใหม่เหล่านั้นออกสู่ตลาดเพราะคุณต้องผ่านขบวนการเรียนรู้ไปช่วงระยะหนึ่งเสียก่อนกว่าจะเข้าที่เข้าทาง

บทสัมภาษณ์ Philip Fisher ( A Talk with Philip Fisher)

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ค. 12, 2005 8:32 pm
โดย ลูกอิสาน
:D ขอบคุณคุณ PP ที่ช่วยแก้ไข ส่วนที่ผมแปลผิดไปครับ
เพื่อให้มีความต่อเนื่อง ผมขอแปลหน้า 5 ต่อไปเลยนะครับ

Re: บทสัมภาษณ์ Philip Fisher ( A Talk with Philip Fisher)

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ค. 13, 2005 10:53 am
โดย PP
A Talk with Philip Fisher เขียน:INVESTING; The Money Men; Pg. 41
.......................................................................................................

Having just turned 800this September, Fisher is as vibrant as they come, his intellect keen and his wit as sharp as a tack. He's still managing money, still learning how to do it better with every new day.. ...
................................................................................................
คุณลูกอีสานครับ ผมขอตั้งสังเกตตรงหน้า 1 ส่วนที่ผมตัดเอามาข้างบนนี่ เข้าใจว่าคนพิมพ์บทความผิดพลาด(ฝรั่งที่พิมพ์นะครับ) ผมว่าน่าจะเป็น 80 แทนที่จะเป็น 800 และถ้าให้ตีความน่าจะเป็นดังนี้นะครับ
.... "ขณะที่อายุของเขากำลังก้าวล่วงเข้าสู่ปีที่ 80 ในเดือนพฤศจิกายนนี้ ฟิชเชอร์ยังคงมีความกระฉับกระเฉงเพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามอายุ ความฉลาดปราชญ์เปรื่องด้านสติปัญญาและความสามารถในการแสดงความคิดเห็นของเขายังคงแหลมคมเหมือนดั่งปลายมีดดาบ เขายังคงบริหารเงินกองทุน และยังคงศึกษาเรียนรู้ที่จะพัฒนาการจัดการเงินกองทุนให้ดีขึ้นเรื่อยๆในทุกวันใหม่ที่ผ่านเข้ามา".....

ยังไงลองทบทวน และทักท้วงอีกครั้งก็แล้วกันนะครับ :?:

ข้อสังเกตจากประโยคดังกล่าว: จะเห็นว่านักลงทุนในตลาดหุ้นจะสามารถทำงานได้ไปจวบจนแก่ชราตราบใดที่นักลงทุนผู้นั้นสามารถรักษาสุขภาพกายใจให้แข็งแรงอยู่เสมอ ทั้งนี้เนื่องจากมันเป็นงานที่ใช้มันสมองความขยันอดทน หาใช่เป็นงานที่ต้องใช้แรงงานเข้าแลกผลตอบแทน ผมว่านี่คือเสน่ห์อย่างหนึ่งของการลงทุนในตลาดหุ้นครับ ต่างจากการซื้อขายเก็งกำไรหุ้นนะครับผมว่าหัวใจจะวายตายเร็ว หรือไม่ก็เครียดจนประสาทเสีย พาลมีปัญหากับผู้คนรอบข้าง

ปล. ส่วนที่เหลือผมจะพยายามหาเวลาที่ว่างมาช่วยแปลเพิ่มเติมถ้าหากยังไม่มีสมาชิกท่านอื่นเข้ามาเสี่ยงคุกตะรางกับคุณลูกอีสานและผม ยังไงๆ ก็มีคนคอยส่งน้ำส่งข้าวแน่ 1 ท่าน คือ คุณปรัชญา เพราะท่านรับปากไว้แล้ว 555555

บทสัมภาษณ์ Philip Fisher ( A Talk with Philip Fisher)

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ค. 13, 2005 11:14 am
โดย ลูกอิสาน
ขอบคุณครับคุณ PP
มิน่าผมรู้สึกว่าบางประโยคแปลแล้วมันแปลกๆชอบกล
ผมขอแก้ใขเลยนะครับ
คุณ PP แปลได้เก่งกว่าผมมากเลยครับ :oops:


แปลแล้วก็ได้ข้อคิดดีๆมากนะครับ
รู้สึกอายตัวเองเหมือนกันครับ ที่บอกว่าเป็นนักลงทุนระยะยาว แต่กลับซื้อขายบ่อยเหมือนกัน ในขณะที่อย่างพี่ปรัชญา ไม่เคยบอกว่าตัวเองเป็นวิ แต่ถือหุ้น UGP อยู่ตั้ง 5 ปี กำไรเกือบ 20 เท่า ขอคารวะจริงๆ :bow: :bow:

บทสัมภาษณ์ Philip Fisher ( A Talk with Philip Fisher)

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ค. 13, 2005 11:23 am
โดย ลูกอิสาน
หน้าที่ 5

ความจริงก็คือกำไรจากผลิตภัณฑ์ใหม่เหล่านี้ ยังคงมีสัดส่วนที่น้อยเมื่อเปรียบเทียบกับกำไรรวมทั้งบริษัท เพราะเหตุนี้ส่งผลให้กำไรของบริษัทจะยังไม่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนบางครั้งเป็นเวลาหลายปี ถึงตอนนี้นักลงทุนในตลาดซึ่งมักจะมองอะไรสั้นๆ ก็จะตั้งคำถามทันทีว่า "บริษัทนี้ยังเป็นบริษัทที่เติบโตได้อีกหรือเปล่า" คำถามนี้หากถามผม ผมมองว่ายังเป็นบริษัทเติบโตเร็วอย่างแน่นอน และกำลังซื้อขายที่พีอีที่ไม่ได้สะท้อนการเติบโตนั้น


ฟอร์บ : ปัจจัยอื่นๆอะไรบ้างที่คุณพิจารณา นอกเหนือจากผู้บริหารที่ดี
ฟิล : อย่างเมื่อผมถกเถียงอย่างหนักกับลูกค้าของผม เรื่องการซื้อหุ้นและเค้าพูดว่า "เอาละ ถ้าคุณเห็นเป็นอย่างนั้น เราก็เห็นดีด้วย" หรืออย่างกรณีที่ ความคิดเห็นของผมมักถูกมองว่าจะต้องถูกต้องเสมอ เมื่อผมพูดว่า "เราควรจะซื้อหุ้นตัวนี้สัก 10,000 หุ้นนะ" และลูกค้าของผมตอบกลับมาว่า "ทำไมเราไม่ซื้อ 50,000 หุ้นซะเลยล่ะ" เหล่านี้เป็นสัญญานเตือนผมว่าเวลาที่ดีที่จะซื้อหุ้นได้ผ่านไปแล้ว

หรือหากถามผมว่า คุณควรจะซื้อหุ้นที่กำลังนิยมกันหรือเปล่า ผมจะให้ข้อสังเกตุอย่างนี้ว่าหากคุณไปงานสัมมนาที่เกี่ยวกับหุ้นเทคโนโลยี และพบว่ามีนักลงทุนแห่มากันเป็นจำนวนมาก จนแทบไม่มีที่จะยืน เมื่อนั้นเป็นสัญญาณชัดเจนว่าไม่ใช่ช่วงเวลาที่ดีที่จะซื้อหุ้นแล้ว

ฟอร์บ : ดูเหมือนคุณเป็นคนชอบทวนกระแส
ฟิล : ความสำเร็จไม่ได้มาจากการเป็นคนชอบทวนกระแสเพียงอย่างเดียว อย่างถ้าหุ้นของบริษัทรถรางไฟฟ้ากำลังตกต่ำ เพราะคนมองว่ารถยนต์กำลังจะมาแทนที่รถรางไฟฟ้า แล้วคุณไปซื้อหุ้นที่กำลังตกนั้น เพียงเพราะคุณเห็นว่าหุ้นนั้นไม่มีคนสนใจ คุณจะทวนกระแส อย่างนี้ผมคิดว่าเป็นเหตุผลที่แปลกและไม่เข้าท่า แต่ถ้าเมื่อไหร่คุณกล้าที่จะยืนยันในความไม่ถูกต้อง แม้ว่าสิ่งนั้นสังคมจะมองว่าเป็นสิ่งที่ใครๆก็ทำกัน เมื่อนั้นคุณมีคุณสมบัติประการหนึ่ง ในการที่จะเป็นนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ

ฟอร์บ : อะไรเป็นบทเรียนที่สำคัญที่สุดที่คุณได้รับในฐานะนักลงทุน
ฟิล : คนทั่วไปมักชอบความตื่นเต้นโดยมักซื้อหุ้นวันนี้ และพยายามขายทำกำไรในวันรุ่งขึ้นซึ่งหากคุณกำไรก็เป็นกำไรที่เล็กน้อยๆ แต่หากคุณเป็นนักลงทุนระยาวเหมือนผมซึ่งมีน้อยคนนัก กำไรที่คุณทำได้จะมหาศาล ผมจำลูกค้ารายแรกๆของผมพูดได้ว่า " ไม่มีใครที่จะเจ๊ง เพราะการขายทำกำไรหรอก" ฟังดูแล้วมันก็จริง แต่มันไม่สมเหตุสมผลเอาซะเลย เพราะแม้คุณจะไม่เจ๊งหุ้นเพราะการขายทำกำไร แต่คุณต้องกำไร(เล็กๆน้อยๆ) อย่างนั้นให้ได้ทุกครั้งไป และคุณจะขาดทุนหนักๆไม่ได้เลย ซึ่งในความเป็นจริงการขาดทุนเป็นสิ่งที่คุณต้องเจอะเจออยู่แล้วในชีวิตการลงทุน

ที่ตลกคือผมรู้จักผู้คนหลายคน ที่เที่ยวบอกว่าตัวเองเป็นนักลงทุนระยะยาว แต่เขาเหล่านั้นกลับชอบที่จะซื้อขายหุ้นบ่อยๆ เมื่อหลายปีก่อน ผมเคยเป็นที่ปรึกษาให้กับทรัสต์แบ่งปันผลกำไรของดีลเลอร์ค้าโภคภัณฑ์แห่งหนึ่ง ผมได้ซื้อหุ้นตัวหนึ่งคือ Texas Instruments ที่ราคา 14 เหรียญ ถ้าผมจำไม่ผิดหลังจากนั้นหุ้นตัวนี้ผ่านการแตกพาร์มาแล้วถึง 15 ครั้ง แต่ในตอนนั้นหลังจากซื้อ และหุ้นขึ้นไปที่ 28 เหรียญ ก็มีเสียงบอกผมว่า (อืม..ทำไมคุณไม่ขายไปซะครึ่งนึงล่ะ อย่างน้อยก็เอาทุนคืนก่อน) แต่ผมไม่ได้สนใจ และยังคงถือต่อไปจนราคาไปที่ 35 เหรียญ และเหมือนเดิมก็มีเสียงกระซิบเชิงแนะนำว่า "ฟิล
ขายมันออกไปบ้างซิ แล้วค่อยกลับไปซื้อคืนที่ราคาต่ำๆ"

บทสัมภาษณ์ Philip Fisher ( A Talk with Philip Fisher)

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ค. 13, 2005 6:17 pm
โดย MO101
"ฟิล ขายมันออกไปบ้างซิ แล้วค่อยกลับไปซื้อคืนที่ราคาต่ำๆ"
คล้ายๆ DSM เลยนะนี่ :lol:

บทสัมภาษณ์ Philip Fisher ( A Talk with Philip Fisher)

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ค. 13, 2005 7:13 pm
โดย iscssn
ขอบคุณครับ

บทสัมภาษณ์ Philip Fisher ( A Talk with Philip Fisher)

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.ค. 14, 2005 12:11 pm
โดย PP
หน้าที่ 6
คำพูดประโยคนั้นเป็นการแสดงความเห็นแตกต่างที่น่าอดสูอย่างสิ้นเชิง เป็นไปได้ทั้งสองทางว่าวิธีนี้เป็นวิธีการลงทุนที่ดีกว่าอีกแบบหนึ่งหรือแย่กว่าก็เป็นได้ ผมเพียงอยากจะถามว่าวิธีการดึงเอาเหยื่อล่อคืนกลับมาไว้เช่นนี้ทำเพื่อความสบายใจใช่หรือไม่ จริงๆแล้วมันไม่ได้เกี่ยวหรอกว่าแนวทางปฏิบัติดังกล่าวเป็นวิธีที่ถูกหรือผิด

แต่เราก็ได้ตัดสินใจขายไป ณ ที่กำไรอัตราต่างๆ ต่อมาราคาหุ้นตัวนี้ได้พุ่งทะยานขึ้นไปสูงถึงกว่า 250 เหรียญสหรัฐภายในช่วง 2 หรือ 3 ปี จากนั้นราคาได้พุ่งสูงทำลายสถิติอย่างมากและลดต่ำลงมาที่ราคา 50 กว่าๆ แต่ว่าราคาไม่เคยลดลงมาที่ 35 เหรียญสหรัฐเลย

อะไรเป็นเหตุจูงใจให้คุณเลิกใช้วิธีการเล่นหุ้นแบบระยะสั้น ?

ผมขอเล่าย้อนหลังกลับไปในช่วงปีทศวรรษ 1930 บริษัทที่ผมเริ่มซื้อเป็นครั้งแรกในธุรกิจค้าหุ้น คือ FMC corp., ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น Food Machinery สองในสามส่วนของสินค้าผลิตจากบริษัทนี้ขายให้แก่ลูกค้าผู้ผลิตผลไม้และพืชผักกระป๋อง ดังนั้นผมจึงเริ่มได้เรียนรู้ธุรกิจเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ด้วยกระป๋องพอประมาณ ในช่วงปีทศวรรษที่30(1930-40) ผมได้เปิดฉากซื้อขายหุ้น 3 หนในระยะเวลาต่างๆกันไป เริ่มจากการซื้อ California Packing เป็นสายการผลิตของบริษัท Del Monte ในราคาที่ถูก ซึ่งเป็นช่วงที่แนวโน้มของธุรกิจบรรจุกระป๋องตกต่ำ แล้วก็ขายไปเมื่อราคาเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ผมยังได้ซื้อหุ้นของบริษัท Food Machinery ให้ได้ปริมาณมากเท่าที่บรรดาลูกค้าทั้งหลายต้องการและสั่งให้ผมซื้อให้

จากนั้นพอถึงปี 1940 หรือ 1941 โน่นแหละผมได้ลองกลับมาทบทวนรายการตั้งซื้อหุ้นต่างๆและก็พบว่าผมได้ทุ่มเทใช้สรรพกำลังที่จำเป็นเพื่อหาจังหวะเวลาที่เหมาะสมในการเข้าซื้อและขายหุ้นของบริษัท California Packing ไปในปริมาณที่มากเกินกว่าอย่างเห็นได้ชัดเทียบกับที่ต้องใช้ไปเพื่อศึกษาและเฝ้าดูหุ้นของบริษัท Food Machinery และเมื่อถึงปี 1940 กำไรที่ได้จากการถือหุ้น Food Machinery มีมากกว่ากำไรที่ได้จากหุ้น California Packing ที่ใช้วิธีการซื้อมาขายไป เข้าๆ-ออกๆ อย่างมาก

ในที่สุดแล้วประสบการณ์ช่วงดังกล่าวได้ทำให้ผมตัดสินใจที่จะไม่ยึดแนวนโยบายซึ่งเกือบเป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ในวงการขณะนั้น นั่นคือ ซื้อถูกและขายแพงและทำกำไรและนำกลับเข้าไปซื้อใหม่อีก ผมเห็นว่าวิธีนี้ไม่ถูกต้อง

ครั้งหนึ่งวอร์เร็น บัฟเฟตต์ เคยพูดว่า ปรัชญาการลงทุนของเขาเป็นแนวของ เบน แกรฮ์ม 85% และของ ฟิล ฟิชเชอร์ 15% มีอะไรที่แตกต่างกันบ้างระหว่างผู้นิยมแนวของแกรฮ์ม กับผู้นิยมแนวของฟิชเชอร์

มีวิธีการลงทุนด้านพื้นฐานอยู่ 2 แบบ วิธีแรกริเริ่มโดย เบน แกรฮ์ม ซึ่งเป็นการหาซื้อหุ้นที่ราคาถูกๆเมื่อเทียบกับมูลค่าแฝงซึ่งพบว่ามีโอกาสน้อยมากที่ราคาจะลดต่ำลงมามากๆจนน่าซื้อ เขาเน้นเรื่องความปลอดภัยด้านการเงินของบริษัทเป็นสำคัญ ราคาของหุ้นจะไม่ใคร่ลดต่ำลงมามากนัก และในไม่ช้าไม่นานราคาก็จะขยับมาใกล้กับมูลค่าของหุ้นนั้นๆ

จากนั้นก็มีวิธีการของผม ซึ่งเป็นวิธีการค้นหาหุ้นของบริษัทที่ดีจริงๆ หากคุณไม่ซื้อในราคาที่สูงเกินไปมากนัก ในที่สุดหุ้นนั้นจะกลายเป็นหุ้นเติบโตอย่างมากๆเลยทีเดียว ข้อดีของแนวทางของผมก็คือหุ้นส่วนใหญ่มักจะแสดงผลงานภายในระยะเวลาไม่นานนัก อย่างไรก็ตามมีหุ้นบางตัวที่ต้องรอเวลานานเป็นหลายปีกว่าจะเริ่มแสดงผลงาน และแน่นอนว่าคุณจะผิดพลาดบ้างในหุ้นบางตัว (แต่)เมื่อหุ้นมีการเคลื่อนไหวของราคาไม่ปกติ (หน้า 7>) พบว่าความผันผวนของหุ้นดังกล่าวจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ

ข้อด้อยของวิธที่ เบน แกรฮ์ม สั่งสอนไว้ ก็คือ วิธีนี้เป็นวิธีที่ดีจนกระทั่งว่าใครๆก็ทราบและสามารถเลือกหาหุ้นต่างๆตามเกณฑ์ที่เขาตั้งไว้และใช้นำไปปฏิบัติได้

ผมไม่ต้องการโอ้อวดว่าวิธีของผมเป็นเพียงวิธีเดียวที่จะประสบความสำเร็จ แต่ผมคิดว่า ผมอาจอวดตัวเกี่ยวกับเรื่องนี้ ผมริเริ่มการลงทุนแนวนี้ก่อนที่คำว่าหุ้นเติบโตจะเป็นกล่าวขวัญถึงเสียอีก

คุณมีลูกค้าอยู่กี่คน

บริษัท Grim Reaper ได้แย่งลูกค้าของผมไป ตอนนี้ผมเหลือลูกค้าเพียง 9 ราย

ขณะที่ผมอายุย่างเข้าปีที่ 80 ผมยังสงสัยเหมือนกันว่าลูกค้าผมจะต้องเริ่มกังวลว่า เอ เราควรจะให้คนแก่ซึ่งแน่ชัดแล้วว่าช่วงอายุที่เหลือมีไม่มากนักเป็นผู้ดูแลบริหารการลงทุนของเราดีไหมหนอ ผมเองก็ฉงนเหมือนกันเพราะส่วนใหญ่ลูกค้าก็ไม่ได้วิตกกังวลแต่อย่างใด เหตุผลก็พื้นๆง่ายๆ โดยเนื่องจากเงินทุนของลูกค้าที่ผมนำไปซื้อหุ้นต่างๆเพื่อลงทุนนั้นจะมีคุณสมบัติเฉพาะต่างๆที่เหมือนกันตามที่ผมกล่าวไว้แต่แรก หากว่าราคาหุ้นเหล่านี้จะเริ่มตกต่ำลง ซึ่งหลายบริษัทจะเป็นเช่นนี้ในไม่ช้าก็เร็ว- อาจกินเวลา 5 ปีเป็นอย่างต่ำ

ถ้าผมต้องจากโลกนี้ไปในวันพรุ่งนี้ ลูกค้าของผมน่าจะมีเวลาเหลือเฝือก่อนที่จะต้องกังวลใจกับหุ้นเหล่านี้และทั้งนี้จะยังคงได้รับผลประโยชน์จากแรงหนุนนำในปัจจุบันอยู่ไปเรื่อยๆ

ดูเหมือนว่าคุณไม่มีทีท่าจะยอมเกษียณตัวเองเลยนะ

ผมจะมีอาการขุ่นเคืองบ้างราวครึ่งชั่วโมงหากมีคนมากล่าวอุทานแบบไม่เข้าท่าว่าถูกบังคับให้เกษียณตัวเองที่อายุ 65 ปี ผมคิดว่าผลงานในช่วง 5 ปีล่าสุดของผมดีกว่าผลงานก่อนหน้านั้นนับเป็นทุกระยะ 5 ปีทั้งหมดเสียอีก พัฒนาการในทางที่ดีอันเกิดจากการคาดหวังว่าจะมีความผิดพลาดเกิดจากตัวคุณเองแล้วทำการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นจะยังคงดำเนินต่อไปเรื่อยๆ

ผมพบเห็นผู้คนที่เริ่มแสดงความหย่อนสมรรถภาพทางสติปัญญาและร่างกายเมื่ออายุมากขึ้นจำนวนมากพอ ซึ่งหากมันเกิดขึ้นกับผม ด้วยความรับผิดชอบของผมเอง ผมจะเลิกทำงานนี้ทันที ผมว่าเป็นเรื่องน่าอดสูที่จะเลิกทำงานที่ผมชื่นชอบถ้าหากเหตุการณ์นั้นยังมาไม่ถึง

ผมขอให้คุณกรุณาชี้แนะเกี่ยวกับการเลือกสรรหาผู้จัดการพอร์ต แก่บรรดาผู้อ่านนิตยสารของเราที่ไม่มีโอกาสได้รับประโยชน์จากการให้คุณเป็นผู้บริหารเงินของเขาด้วยครับ

ผมขอชี้แนะว่าให้ขอดูบันทึกผลงานของผู้จัดการเหล่านั้นว่าได้ทำผลงานไว้ดีอย่างไร และหากผู้จัดการเหล่านั้นมีพฤติกรรมยอมขายทิ้งหุ้นที่ราคาตกและขาดทุนไม่มากนักอย่างรวดเร็ว และให้หุ้นที่มีกำไรทำกำไรต่อไป ผมแนะให้คุณให้เหรียญทองแก่เขาได้เลย แต่ถ้าผู้จัดการเหล่านี้รีบขายหุ้นที่ได้กำไรอย่างรวดเร็วและปล่อยให้หุ้นขาดทุนยังคงขาดทุนแช่อยู่อย่างนั้น ก้ออย่าเข้าไปข้องแวะกับผู้จัดการกลุ่มนี้

บทสัมภาษณ์ Philip Fisher ( A Talk with Philip Fisher)

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.ค. 14, 2005 12:20 pm
โดย PP
เหนื่อยแฮะ :cry: :cry: เป็นคนแปลสมัครเล่นนี่ มึนตึบจริงๆ

ประกาศ: หากแปลผิดพลาดประการใด แล้วทำให้ท่านนักทุนเข้าใจผิดนำเอาวิธีการที่แปลพลาดจากความเป้นจริงไปใช้แล้วเกิดความเสียหายต่อการลงทุนของท่าน กระผมไม่ขอรับผิดชอบใดๆนะครับ การลงทุนมีความเสี่ยงโปรดศึกษาจนกว่าจะเข้าใจอย่างถ่องแท้ก่อนลงมือ โปรดอย่าคันมือขณะที่ยังไม่เชี่ยวชาญจริงครับ ขอให้โชคดีในการลงทุน

บทสัมภาษณ์ Philip Fisher ( A Talk with Philip Fisher)

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.ค. 14, 2005 2:39 pm
โดย ลูกอิสาน
ขอบคุณครับคุณ PP ที่แปลจนจบเลย
ผมแปลแค่ไม่กี่หน้า ก็ปวดหัวแล้วเช่นกัน :oops:
แปลคำพูดแล้ว ยังต้องมาทำความเข้าใจอีก
คุณเวปก็คงปวดหัวเช่นกัน แต่แกคงเก่งกว่าเรามากครับ


จากที่อ่านบทความและเท่าที่ติดตาม ผมพอจะเข้าใจความแตกต่างของแนวทางการลงทุนของกูรู 2 ท่านคือเบน แกรแฮมและฟิลลิป ฟิชเชอร์ได้ชัดเจนมากขึ้นครับ ทั้งสองท่านก็มีแนวทางที่ดีและมีประโยชน์มากทั้งคู่ อยู่ที่ว่าเราจะนำแนวทางมาผสมผสานและประยุกต์ได้อย่างไร

วอร์เรนเป็นส่วนผสมของเบน เกรแฮม 85% และฟิชเชอร์ 15% ซึ่งผมไม่เห็นด้วยกับคำกล่าวนี้ ผมมองว่าวอร์เรนคือฟิชเชอร์ 85% และเบน 15% มากกว่า ส่วนตัวผมยกย่องเบนที่เป็นผู้บุกเบิกในการวิเคราะห์หุ้นแบบพื้นฐาน และผมก็ชื่นชมแนวทางการวิเคราะห์หุ้นแบบคุณภาพของฟิชเชอร์เช่นกัน ถ้าเป็นได้ผมขอเป็น 80% ฟิชเชอร์ และ 20% เบน ครับ

Performance the name of the game..
เกมนี้วัดกันที่ผลตอบแทนเท่านั้น
คำพูดสวยหรูหรือจะสู้ผลงานจริงๆ
คงต้องรอดูต่อไปครับว่า การลงทุนตามแนวคิดของผู้รู้ทั้ง 2 ท่านจะเป็นอย่างไร จบปีแต่ละปีเราคงได้ตัวเลขคร่าวๆ 10 ปีเราก็คงได้รู้ว่าแนวคิดไหนที่จะให้ผลตอบแทนที่ดี และเหมาะสมกับตัวเรา :D

บทสัมภาษณ์ Philip Fisher ( A Talk with Philip Fisher)

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.ค. 14, 2005 4:42 pm
โดย PP
ลูกอีกสาน เขียน:.............คุณเวปก็คงปวดหัวเช่นกัน แต่แกคงเก่งกว่าเรามากครับ
คุณWEB ท่านขึ้นชั้นมือโปรแล้วครับ อายครับไม่ขอเปรียบเทียบ ผมว่ามันคล้ายกับประสบการณ์ลงทุนในตลาดหุ้น ผู้ที่ศึกษาและลงทุนมานานกว่าย่อมเก่งกว่ามือใหม่หัดขับครับ :D

ลูกอีกสาน เขียน:.....................จบปีแต่ละปีเราคงได้ตัวเลขคร่าวๆ 10 ปีเราก็คงได้รู้ว่าแนวคิดไหนที่จะให้ผลตอบแทนที่ดี และเหมาะสมกับตัวเรา
ที่ผ่านมาเห็นคนใน TVI แห่งนี้เล่าขานกันว่า คุณลูกอีสานมีผลงานงดงามในช่วงที่ผ่านมา พอร์ตใกล้ตัวเลข 8 หลักเข้าไปแล้วจากทุนเริ่มต้นไม่กี่หลักใช่ไหมเอ่ย แล้วที่ผ่านมานี่ใช้อัตราส่วนเบนและฟิชเชอร์อย่างละเท่าใดครับ น่านับถือๆ

ผมเพิ่งเข้ามาสัมผัสเรื่องตลาดหุ้นราว 2 ปี แต่เน้นเสาะหาแก่นของวิถีแห่ง VI ตามที่จะหาได้ เลยยังไม่ได้ลงมือศึกษาบริษัทต่างๆในตลาดหุ้นเป็นเรื่องเป็นราวสักที กะว่าพออิ่มตัวและแน่นในหลักการจะลงมือเอาจริงเสียทีซึ่งก็เป็นช่วงระหว่างรอสะสมกระสุนก่อนด้วยไปด้วยในตัว ทุนน้อยครับ คงอีกนานกว่าจะเข้าที่เข้าทาง ทฤษฎีหลักการต่างจากภาคปฏิบัติอันผมเข้าใจดีครับ

บทสัมภาษณ์ Philip Fisher ( A Talk with Philip Fisher)

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.ค. 14, 2005 5:55 pm
โดย ลูกอิสาน
ที่ผ่านมาเห็นคนใน TVI แห่งนี้เล่าขานกันว่า คุณลูกอีสานมีผลงานงดงามในช่วงที่ผ่านมา พอร์ตใกล้ตัวเลข 8 หลักเข้าไปแล้วจากทุนเริ่มต้นไม่กี่หลักใช่ไหมเอ่ย แล้วที่ผ่านมานี่ใช้อัตราส่วนเบนและฟิชเชอร์อย่างละเท่าใดครับ น่านับถือๆ ผมเพิ่งเข้ามาสัมผัสเรื่องตลาดหุ้นราว 2 ปี แต่เน้นเสาะหาแก่นของวิถีแห่ง VI ตามที่จะหาได้ เลยยังไม่ได้ลงมือศึกษาบริษัทต่างๆในตลาดหุ้นเป็นเรื่องเป็นราวสักที กะว่าพออิ่มตัวและแน่นในหลักการจะลงมือเอาจริงเสียทีซึ่งก็เป็นช่วงระหว่างรอสะสมกระสุนก่อนด้วยไปด้วยในตัว ทุนน้อยครับ คงอีกนานกว่าจะเข้าที่เข้าทาง ทฤษฎีหลักการต่างจากภาคปฏิบัติอันผมเข้าใจดีครับ
คงเป็นการเล่าขานที่เกินความจริงครับ ผมไม่ได้มีพอร์ตใหญ่ขนาดนั้น และยังไม่เก่งหรอกครับ เดี๋ยวปลายปีผมจะโพสต์ผลตอบแทนการลงทุนของผมย้อนหลังเปรียบเทียบกับ ดร.นิเวศน์ และวอร์เรนครับ (เพราะเราพอทราบตัวเลขของผู้รู้เหล่านี้) แล้วเพื่อนๆจะรู้ว่าผมยังไม่เก่งจริงหรอกครับ

ตอนลงทุนเริ่มแรกผมศึกษาเทคนิคอลครับ เพราะเป็นศาสตร์ที่น่าหลงไหลมาก อ่านจาก BKK ของทิสโก้ครับ แต่พอศึกษาไปได้ไม่เท่าไหร่ ผมโชคดีได้อ่านบทความของ Peter Dennis ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ได้รู้จักแนวคิดของ Paul Renold ของ Thaistocks.com ก็เลยเริ่มสนใจลงทุนตามแนวปัจจัยพื้นฐาน ต่อมาได้อ่านหนังสือ ดร.นิเวศน์ ได้รู้จักเพื่อนๆ ก็เลยหลงไหลในแนวทางนี้ตลอดมา และคิดว่าตลอดไปในชีวิตการลงทุนครับ

ลงทุนตามปัจจัยพื้นฐานระยะแรก ผมเน้นตัวเลข เงินปันผล อัตราส่วนแปลกๆ เช่น PE ROE EV ROCE EVA แม้จะได้รับผลตอบแทนที่ดีพอสมควร แต่หลังจากตลาดรวมขึ้นมาก หุ้นที่มีอัตราส่วนทางการเงินที่น่าสนใจก็ลดลงไปมาก ต่อมาได้อ่านการเลือกหุ้นตามแนวทางของวอร์เรน ของฟิชเชอร์ ผมก็สนใจครับ และนำมาผสมผสานกับแนวคิดเดิม รู้สึกว่าน่าจะไปได้ดีครับ ตอนนี้น่าจะเป็น 50 ฟิชเชอร์ 50 เกรแฮมครับ

แต่ยังไงก็ต้องรอดูผล เพราะการลงทุนแนวนี้ต้องใช้เวลาครับ กว่าที่จะรู้ว่าได้ผลหรือเปล่า แต่ผมมองในแง่ดีว่า สุดท้ายน่าจะได้ผลลัพธ์ที่ดี

สิ่งที่ผมเรียนรู้ในระยะสั้นๆจากประสบการณ์การลงทุนคือ
1. ผมซื้อหุ้นที่ราคาถูก(พีอีต่ำ-ปันผลสูง) แต่คุณภาพไม่ดี มากเกินไป
2. ผมขายหุ้นที่ดีเร็วเกินไป


สรุปว่ายังคงต้องเรียนรู้ต่อไปครับ และขอบคุณคุณ PP
ที่ได้ศึกษาอย่างลึกซึ้งและยังมีน้ำใจนำมาแบ่งปันให้เพื่อนๆ
ได้รับรู้แนวคิดการลงทุนจากเหล่าปรมจารย์ทั้งหลายครับ :D

บทสัมภาษณ์ Philip Fisher ( A Talk with Philip Fisher)

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ค. 18, 2005 4:34 pm
โดย Tiger
ขอบคุณพี ๆ ครับ สำหรับ บทความ และน้ำใจ ดีๆ