ก.ล.ต. ฉบับที่ 67/2548 เรื่อง ก.ล.ต. กล่าวโทษผู้บริหาร PICNI
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มิ.ย. 30, 2005 9:25 am
ฉบับที่ 67/2548 วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน 2548
ก.ล.ต. กล่าวโทษผู้บริหาร PICNI 2 ราย
ในวันนี้ (30 มิถุนายน 2548) ก.ล.ต. ได้กล่าวโทษนายธีรัชชานนท์ ลาภวิสุทธิสิน อดีตกรรมการผู้จัดการ
และนางสาวสุภาพร ลาภวิสุทธิสิน รองกรรมการผู้จัดการ ซึ่งรับผิดชอบการดำเนินงานของบริษัทปิคนิค
คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (PICNI) ต่อพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ กรณีจัดทำเอกสารและบัญชี
ไม่ถูกต้อง รวมทั้งการกระทำหน้าที่โดยทุจริต พร้อมกันนี้ ได้กล่าวโทษผู้ที่เกี่ยวข้องอีกจำนวน 8 ราย
กรณีให้ความช่วยเหลือผู้บริหารดังกล่าว
จากการตรวจสอบงบการเงินของ PICNI และเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ก.ล.ต. พบว่า ผู้บริหารของ PICNI ได้กระทำความผิด ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ) ดังนี้
กรณีการทำสัญญาและการรับรู้รายได้จากการให้เช่าถังแก๊ส ทำให้รายได้และกำไรสูงกว่าความเป็นจริง
(1) นายธีรัชชานนท์ ลาภวิสุทธิสิน อดีตกรรมการผู้จัดการ และ (2) นางสาวสุภาพร ลาภวิสุทธิสิน
รองกรรมการผู้จัดการ ได้ร่วมกันลงนามในสัญญาให้เช่าถังแก๊สแก่โรงบรรจุแก๊ส 10 แห่ง ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้บริหารของ PICNI และอยู่ภายใต้การควบคุมทางการเงินของนายธีรัชชานนท์
ซึ่งการทำสัญญาให้เช่าดังกล่าว ผิดไปจากการดำเนินการกับลูกค้ารายอื่นที่อยู่ในรูปเงินมัดจำค่าถังแก๊ส และเป็นเหตุอ้างให้ PICNI รับรู้รายได้และกำไรในงบการเงินประจำปี 2547 เพิ่มขึ้น 178.4 ล้านบาท
คิดเป็นร้อยละ 2.43 ของรายได้รวม และร้อยละ 24.26 ของกำไรสุทธิ ทำให้งบการเงินของ PICNI
แสดงฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานดีกว่าความเป็นจริง การกระทำของบุคคลดังกล่าว
จึงเข้าข่ายเป็นการปฏิบัติฝ่าฝืนมาตรา 312 แห่ง พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ
นอกจากนี้ การกระทำของผู้บริหาร PICNI ข้างต้นได้รับการสนับสนุนจาก (3) นายอนุกูล ตั้งเรืองเกียรติ (4) นายพิริยะ ถาวร (5) นายเฉลิมชัย ชุบผา (6) นางสาวนุชนาฎ ปริกสุวรรณ (7) นายปรเมษ
ลอองสุวรรณ (8) นายทวีทรัพย์ เกริกเกียรติศักดิ์ และ (9) นายกฤษณ์ โปรยเจริญ ซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของโรงบรรจุแก๊ส 10 แห่ง และ/หรือ เป็นกรรมการที่ลงนามในสัญญาเช่าถังแก๊สของโรงบรรจุแก๊ส
ดังกล่าว บุคคลทั้ง 7 รายจึงเข้าข่ายเป็นผู้ช่วยเหลือ และ/หรือให้ความสะดวกในการกระทำข้างต้น
อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 315 แห่ง พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ
กรณีการทำหน้าที่โดยทุจริต และจัดทำเอกสารและบัญชีไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับการทำสัญญาให้กู้ยืมเงินแก่
นิติบุคคลอื่น
นายธีรัชชานนท์ และนางสาวสุภาพร ได้ร่วมกันลงนามในสัญญาให้กู้ยืมเงินจำนวน 85 ล้านบาท
แก่นิติบุคคลอื่น 2 ราย แต่กลับปรากฏว่า เงินที่ให้กู้ยืมนั้นถูกนำไปเข้าบัญชีส่วนตัวของนายธีรัชชานนท์ นายธีรัชชานนท์จึงเข้าข่ายกระทำผิดหน้าที่ โดยได้เบียดบังทรัพย์สินของ PICNI เพื่อแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายแก่ตนเองหรือผู้อื่น อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 307 308 และ 311
แห่ง พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ
นอกจากนี้ การกระทำของผู้บริหารทั้ง 2 ราย ที่ได้ร่วมกันลงนามในสัญญาให้กู้ยืมเงินนั้น ยังเป็นเหตุให้ PICNI มีการจัดทำเอกสารหลักฐานและบัญชีไม่ถูกต้อง ไม่ตรงต่อความเป็นจริง จึงเข้าข่ายฝ่าฝืนมาตรา 312 แห่ง พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ
การกระทำข้างต้นมี (10) นายพินิจ พุทธศาสตร์ (กรรมการของนิติบุคคลอื่น) เป็นผู้ช่วยเหลือ และ/หรือให้ความสะดวก จึงเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 315 แห่ง พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ
เนื่องจากคดีข้างต้นมีความซับซ้อน ทั้งในด้านธุรกรรมและมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง ในการกล่าวโทษคดีดังกล่าวต่อพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ก.ล.ต. จึงได้ขอให้กรมสอบสวนคดีพิเศษพิจารณาดำเนินการตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 เพื่อให้มีการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของ ก.ล.ต. รวมทั้งหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อเข้าร่วมสอบสวนคดีนี้ให้เป็นไปโดยรอบคอบ ครบถ้วนยิ่งขึ้นด้วย
ทั้งนี้ การดำเนินคดีข้างต้นเป็นผลจากการตรวจสอบส่วนหนึ่งที่เสร็จแล้ว โดยยังมีประเด็นที่ ก.ล.ต.
อยู่ระหว่างตรวจสอบเพิ่มเติม
ก.ล.ต. กล่าวโทษผู้บริหาร PICNI 2 ราย
ในวันนี้ (30 มิถุนายน 2548) ก.ล.ต. ได้กล่าวโทษนายธีรัชชานนท์ ลาภวิสุทธิสิน อดีตกรรมการผู้จัดการ
และนางสาวสุภาพร ลาภวิสุทธิสิน รองกรรมการผู้จัดการ ซึ่งรับผิดชอบการดำเนินงานของบริษัทปิคนิค
คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (PICNI) ต่อพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ กรณีจัดทำเอกสารและบัญชี
ไม่ถูกต้อง รวมทั้งการกระทำหน้าที่โดยทุจริต พร้อมกันนี้ ได้กล่าวโทษผู้ที่เกี่ยวข้องอีกจำนวน 8 ราย
กรณีให้ความช่วยเหลือผู้บริหารดังกล่าว
จากการตรวจสอบงบการเงินของ PICNI และเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ก.ล.ต. พบว่า ผู้บริหารของ PICNI ได้กระทำความผิด ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ) ดังนี้
กรณีการทำสัญญาและการรับรู้รายได้จากการให้เช่าถังแก๊ส ทำให้รายได้และกำไรสูงกว่าความเป็นจริง
(1) นายธีรัชชานนท์ ลาภวิสุทธิสิน อดีตกรรมการผู้จัดการ และ (2) นางสาวสุภาพร ลาภวิสุทธิสิน
รองกรรมการผู้จัดการ ได้ร่วมกันลงนามในสัญญาให้เช่าถังแก๊สแก่โรงบรรจุแก๊ส 10 แห่ง ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้บริหารของ PICNI และอยู่ภายใต้การควบคุมทางการเงินของนายธีรัชชานนท์
ซึ่งการทำสัญญาให้เช่าดังกล่าว ผิดไปจากการดำเนินการกับลูกค้ารายอื่นที่อยู่ในรูปเงินมัดจำค่าถังแก๊ส และเป็นเหตุอ้างให้ PICNI รับรู้รายได้และกำไรในงบการเงินประจำปี 2547 เพิ่มขึ้น 178.4 ล้านบาท
คิดเป็นร้อยละ 2.43 ของรายได้รวม และร้อยละ 24.26 ของกำไรสุทธิ ทำให้งบการเงินของ PICNI
แสดงฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานดีกว่าความเป็นจริง การกระทำของบุคคลดังกล่าว
จึงเข้าข่ายเป็นการปฏิบัติฝ่าฝืนมาตรา 312 แห่ง พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ
นอกจากนี้ การกระทำของผู้บริหาร PICNI ข้างต้นได้รับการสนับสนุนจาก (3) นายอนุกูล ตั้งเรืองเกียรติ (4) นายพิริยะ ถาวร (5) นายเฉลิมชัย ชุบผา (6) นางสาวนุชนาฎ ปริกสุวรรณ (7) นายปรเมษ
ลอองสุวรรณ (8) นายทวีทรัพย์ เกริกเกียรติศักดิ์ และ (9) นายกฤษณ์ โปรยเจริญ ซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของโรงบรรจุแก๊ส 10 แห่ง และ/หรือ เป็นกรรมการที่ลงนามในสัญญาเช่าถังแก๊สของโรงบรรจุแก๊ส
ดังกล่าว บุคคลทั้ง 7 รายจึงเข้าข่ายเป็นผู้ช่วยเหลือ และ/หรือให้ความสะดวกในการกระทำข้างต้น
อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 315 แห่ง พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ
กรณีการทำหน้าที่โดยทุจริต และจัดทำเอกสารและบัญชีไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับการทำสัญญาให้กู้ยืมเงินแก่
นิติบุคคลอื่น
นายธีรัชชานนท์ และนางสาวสุภาพร ได้ร่วมกันลงนามในสัญญาให้กู้ยืมเงินจำนวน 85 ล้านบาท
แก่นิติบุคคลอื่น 2 ราย แต่กลับปรากฏว่า เงินที่ให้กู้ยืมนั้นถูกนำไปเข้าบัญชีส่วนตัวของนายธีรัชชานนท์ นายธีรัชชานนท์จึงเข้าข่ายกระทำผิดหน้าที่ โดยได้เบียดบังทรัพย์สินของ PICNI เพื่อแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายแก่ตนเองหรือผู้อื่น อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 307 308 และ 311
แห่ง พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ
นอกจากนี้ การกระทำของผู้บริหารทั้ง 2 ราย ที่ได้ร่วมกันลงนามในสัญญาให้กู้ยืมเงินนั้น ยังเป็นเหตุให้ PICNI มีการจัดทำเอกสารหลักฐานและบัญชีไม่ถูกต้อง ไม่ตรงต่อความเป็นจริง จึงเข้าข่ายฝ่าฝืนมาตรา 312 แห่ง พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ
การกระทำข้างต้นมี (10) นายพินิจ พุทธศาสตร์ (กรรมการของนิติบุคคลอื่น) เป็นผู้ช่วยเหลือ และ/หรือให้ความสะดวก จึงเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 315 แห่ง พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ
เนื่องจากคดีข้างต้นมีความซับซ้อน ทั้งในด้านธุรกรรมและมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง ในการกล่าวโทษคดีดังกล่าวต่อพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ก.ล.ต. จึงได้ขอให้กรมสอบสวนคดีพิเศษพิจารณาดำเนินการตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 เพื่อให้มีการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของ ก.ล.ต. รวมทั้งหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อเข้าร่วมสอบสวนคดีนี้ให้เป็นไปโดยรอบคอบ ครบถ้วนยิ่งขึ้นด้วย
ทั้งนี้ การดำเนินคดีข้างต้นเป็นผลจากการตรวจสอบส่วนหนึ่งที่เสร็จแล้ว โดยยังมีประเด็นที่ ก.ล.ต.
อยู่ระหว่างตรวจสอบเพิ่มเติม