นักธุรกิจUSเชื่อมั่นอนาคตศก.เอเชีย
โพสต์แล้ว: อังคาร มิ.ย. 28, 2005 7:38 pm
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 28 มิถุนายน 2548 18:39 น.
เอเอฟพี ผลสำรวจผู้บริหารธุรกิจสหรัฐฯเผย เอเชียยังเป็นภูมิภาคที่น่าดึงดูดใจสำหรับนักลงทุนอเมริกัน แม้ยังมีความกังวลเกี่ยวกับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงก็ตาม
ผลสำรวจของหอการค้าอเมริกันของสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) เผยวานนี้ (28) ว่า บรรดาผู้บริหารในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีแผนที่จะเพิ่มการจ้างงานและขยายธุรกิจออกไป และเชื่อว่าบริษัทจะมีผลกำไรในปีนี้ แม้ว่าทัศนคติในทางบวกเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลกและแนวโน้มในแต่ละประเทศที่มีการลงทุนอยู่ลดน้อยลงก็ตาม
กระนั้นก็ดี การคอร์รัปชั่นยังคงเป็นปัญหาสำคัญประการหนึ่งในหลายประเทศ อาทิ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย
นิโคลัส เดอ บูร์แซค ผู้อำนวยการบริหารของหอการค้าอเมริกันในสิงคโปร์กล่าวว่า สมาชิกของเรามีความระวังระไวมากขึ้นเกี่ยวกับแนวโน้มในอนาคตของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจท้องถิ่น แต่เชื่อว่าเอเชียยังมีโอกาสในการเติบโตต่อไป
เห็นได้ชัดเจนว่าตลาดเอเชียกลายเป็นตลาดที่มีความสำคัญมากขึ้นต่อศักยภาพการแข่งขันระหว่างประเทศและการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และนี่คือความรู้สึกร่วมกันของสมาชิกส่วนใหญ่ในกลุ่มประเทศอาเซียนที่เข้าร่วมการสำรวจครั้งนี้
ทั้งนี้ผู้บริหารเพียง 29% เชื่อว่า เศรษฐกิจโลกจะปรับตัวดีขึ้น ซึ่งลดลงจาก 66% ในการสำรวจปี 2004 และเพียง 36% เชื่อว่าสภาพเศรษฐกิจท้องถิ่นในประเทศจะดีขึ้น ซึ่งลดลงจาก 69% ในปีที่ผ่านมา ขณะที่ 38% คาดว่า สภาพการณ์ในปัจจุบันจะดำเนินต่อไปเช่นเดิม
เดอ บูร์แซคแจงว่า การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ ตลอดจนการขาดดุลการค้าของเมืองลุงแซมเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นทางธุรกิจ
รายงานชี้ว่า แม้ผู้บริหารจะมีทัศนคติแง่บวกเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจลดน้อยลง แต่ 81% ของผู้ถูกสำรวจเชื่อว่า สัดส่วนการสร้างรายได้ของเอเชียและการปฏิบัติการทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นในอีก 2 ปีข้างหน้า ขณะที่ 80% ระบุว่า มีแผนที่จะขยายธุรกิจในภูมิภาคนี้
นอกจากนี้กว่าครึ่งของผู้บริหารคาดว่าจะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ขณะที่ 61% เชื่อว่าบริษัทจะมีผลกำไรสูงขึ้นในปีนี้ โดยจะเพิ่มขึ้นเป็น 80% ในปี 2006
ผลสำรวจระบุอีกว่า ผู้บริหารอเมริกันในเวียดนามเป็นกลุ่มที่มีทัศนคติแง่บวกสูงสุดถึง 78% ที่คาดว่า เศรษฐกิจเวียดนามจะปรับตัวดีขึ้นในปีนี้ ขณะที่สมาชิกหอการค้าอเมริกันในอินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์เชื่อว่า เศรษฐกิจในประเทศจะยังอยู่ในระดับเดิมต่อไป หากไม่ดีกว่าปีที่ผ่านมา ส่วนสมาชิกจากฟิลิปปินส์และไทยจำนวนมากเชื่อว่า เศรษฐกิจของประเทศจะชะลอตัวลงในปีนี้
เดอ บูร์แซคทิ้งท้ายว่า การคอร์รัปชั่นเป็นอุปสรรคหลักต่อการลงทุนในภูมิภาค และเมื่อผนวกกับการมีกฎข้อบังคับที่อ่อนแอ จึงส่งผลกระทบอย่างมากต่อการตัดสินใจลงทุนและกีดขวางศักยภาพการแข่งขันทางธุรกิจ
ผลสำรวจพบว่า 96% ของผู้ตอบคำถามในอินโดนีเซียกล่าวว่า พวกเขารู้สึกไม่พอใจหรือขุ่นเคืองใจมากกับปัญหาคอร์รัปชั่นในประเทศ รองลงมาคือ ฟิลิปปินส์ที่ 88% เวียดนาม 66% ไทย 63% และมาเลเซียที่ 46%
สำหรับสิงคโปร์เป็นประเทศที่ได้คะแนนสูงสุดที่ไม่มีการคอร์รัปชั่น แต่ภาคธุรกิจอเมริกันในประเทศมีความกังวลในเรื่องค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงในด้านแรงงาน ที่อยู่อาศัย และการเช่าสำนักงานมากกว่า
อนึ่ง การสำรวจกลุ่มธุรกิจอเมริกันครั้งนี้ดำเนินการโดยกัลลัป ออร์แกนไนเซชัน ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำโพลระหว่างวันที่ 19 เม.ย.-10 พ.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงก่อนหน้าที่ราคาน้ำมันจะพุ่งทะลุ 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยทำการสำรวจสมาชิกหอการค้าอเมริกันเกือบ 370 รายในอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย สิงคโปร์ และเวียดนาม
เอเอฟพี ผลสำรวจผู้บริหารธุรกิจสหรัฐฯเผย เอเชียยังเป็นภูมิภาคที่น่าดึงดูดใจสำหรับนักลงทุนอเมริกัน แม้ยังมีความกังวลเกี่ยวกับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงก็ตาม
ผลสำรวจของหอการค้าอเมริกันของสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) เผยวานนี้ (28) ว่า บรรดาผู้บริหารในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีแผนที่จะเพิ่มการจ้างงานและขยายธุรกิจออกไป และเชื่อว่าบริษัทจะมีผลกำไรในปีนี้ แม้ว่าทัศนคติในทางบวกเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลกและแนวโน้มในแต่ละประเทศที่มีการลงทุนอยู่ลดน้อยลงก็ตาม
กระนั้นก็ดี การคอร์รัปชั่นยังคงเป็นปัญหาสำคัญประการหนึ่งในหลายประเทศ อาทิ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย
นิโคลัส เดอ บูร์แซค ผู้อำนวยการบริหารของหอการค้าอเมริกันในสิงคโปร์กล่าวว่า สมาชิกของเรามีความระวังระไวมากขึ้นเกี่ยวกับแนวโน้มในอนาคตของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจท้องถิ่น แต่เชื่อว่าเอเชียยังมีโอกาสในการเติบโตต่อไป
เห็นได้ชัดเจนว่าตลาดเอเชียกลายเป็นตลาดที่มีความสำคัญมากขึ้นต่อศักยภาพการแข่งขันระหว่างประเทศและการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และนี่คือความรู้สึกร่วมกันของสมาชิกส่วนใหญ่ในกลุ่มประเทศอาเซียนที่เข้าร่วมการสำรวจครั้งนี้
ทั้งนี้ผู้บริหารเพียง 29% เชื่อว่า เศรษฐกิจโลกจะปรับตัวดีขึ้น ซึ่งลดลงจาก 66% ในการสำรวจปี 2004 และเพียง 36% เชื่อว่าสภาพเศรษฐกิจท้องถิ่นในประเทศจะดีขึ้น ซึ่งลดลงจาก 69% ในปีที่ผ่านมา ขณะที่ 38% คาดว่า สภาพการณ์ในปัจจุบันจะดำเนินต่อไปเช่นเดิม
เดอ บูร์แซคแจงว่า การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ ตลอดจนการขาดดุลการค้าของเมืองลุงแซมเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นทางธุรกิจ
รายงานชี้ว่า แม้ผู้บริหารจะมีทัศนคติแง่บวกเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจลดน้อยลง แต่ 81% ของผู้ถูกสำรวจเชื่อว่า สัดส่วนการสร้างรายได้ของเอเชียและการปฏิบัติการทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นในอีก 2 ปีข้างหน้า ขณะที่ 80% ระบุว่า มีแผนที่จะขยายธุรกิจในภูมิภาคนี้
นอกจากนี้กว่าครึ่งของผู้บริหารคาดว่าจะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ขณะที่ 61% เชื่อว่าบริษัทจะมีผลกำไรสูงขึ้นในปีนี้ โดยจะเพิ่มขึ้นเป็น 80% ในปี 2006
ผลสำรวจระบุอีกว่า ผู้บริหารอเมริกันในเวียดนามเป็นกลุ่มที่มีทัศนคติแง่บวกสูงสุดถึง 78% ที่คาดว่า เศรษฐกิจเวียดนามจะปรับตัวดีขึ้นในปีนี้ ขณะที่สมาชิกหอการค้าอเมริกันในอินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์เชื่อว่า เศรษฐกิจในประเทศจะยังอยู่ในระดับเดิมต่อไป หากไม่ดีกว่าปีที่ผ่านมา ส่วนสมาชิกจากฟิลิปปินส์และไทยจำนวนมากเชื่อว่า เศรษฐกิจของประเทศจะชะลอตัวลงในปีนี้
เดอ บูร์แซคทิ้งท้ายว่า การคอร์รัปชั่นเป็นอุปสรรคหลักต่อการลงทุนในภูมิภาค และเมื่อผนวกกับการมีกฎข้อบังคับที่อ่อนแอ จึงส่งผลกระทบอย่างมากต่อการตัดสินใจลงทุนและกีดขวางศักยภาพการแข่งขันทางธุรกิจ
ผลสำรวจพบว่า 96% ของผู้ตอบคำถามในอินโดนีเซียกล่าวว่า พวกเขารู้สึกไม่พอใจหรือขุ่นเคืองใจมากกับปัญหาคอร์รัปชั่นในประเทศ รองลงมาคือ ฟิลิปปินส์ที่ 88% เวียดนาม 66% ไทย 63% และมาเลเซียที่ 46%
สำหรับสิงคโปร์เป็นประเทศที่ได้คะแนนสูงสุดที่ไม่มีการคอร์รัปชั่น แต่ภาคธุรกิจอเมริกันในประเทศมีความกังวลในเรื่องค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงในด้านแรงงาน ที่อยู่อาศัย และการเช่าสำนักงานมากกว่า
อนึ่ง การสำรวจกลุ่มธุรกิจอเมริกันครั้งนี้ดำเนินการโดยกัลลัป ออร์แกนไนเซชัน ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำโพลระหว่างวันที่ 19 เม.ย.-10 พ.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงก่อนหน้าที่ราคาน้ำมันจะพุ่งทะลุ 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยทำการสำรวจสมาชิกหอการค้าอเมริกันเกือบ 370 รายในอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย สิงคโปร์ และเวียดนาม