ข่าวคราว CEI
โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ค. 30, 2005 11:20 am
คัดลอกจาก bizweek ครับ
หลังจากแจ้งข่าวตลาด ครั้งสุดท้าย ก็ไม่มีข่าวอีกเลย
ล่าสุดก็มีสกู๊ปจาก bizweek ในขณะที่ตัวบริษัทไม่เคยแจ้งความคืบหน้าในการแก้ปัญหา
(แต่หากทราบข่าววงใน คงต้องกระซิบถาม ท่าน FE นะครับ :lol: )
กะเทาะเปลือก CEI อาการ 'น่าห่วง' ลือ 'ไต้หวัน' ทิ้ง..ยอดขาย 'วูบหนัก'
อนาคต CEI น่าห่วงหลังขัดแย้งกับ 'คู่ค้า' รายใหญ่ในสหรัฐที่ป้อนออเดอร์ให้ 93% ของยอดขายรวม กำไรปีนี้ส่อเค้า 'ทรุดหนัก' เจออีกเด้งถูกพัดลมราคาถูกจีนตีตลาด ...กรรมการบริษัทตบเท้าลาออก ขณะที่ทิศทางการดำเนินงานไม่ชัดเจน วงในลือผู้ถือหุ้นใหญ่ 'กลุ่มไต้' มีแนวโน้มหนีไทยหันซบจีน ประเมินราคาหุ้น 3.60 บาท ยังเสี่ยง!!
เกิดอะไรขึ้นกับ 'บริษัท คอมพาสส์ อีสต์ อินดัสตรี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)' หรือ CEI ผู้ผลิตพัดลมเพดาน และโคมไฟติดพัดลม ที่เคยเป็น 'ขวัญใจ' ของเหล่านักลงทุน ประเภท 'แวลูอินเวสเตอร์' วันนี้ราคาหุ้นทรุดหนักจากเมื่อต้นปีซื้อขาย 8.50-9 บาท ราคาร่วงลงมาเหลือ 3.50-3.60 บาท
ปมปัญหาที่เกิดขึ้นกับ CEI เกิดจากความขัดแย้งอย่างรุนแรง กับ 'บริษัท ฮันเตอร์ แฟน' ลูกค้ารายใหญ่จากสหรัฐอเมริกา ซึ่งมียอดสั่งซื้อสินค้าในอัตรา 93% ของยอดขายรวมสำหรับงวด 6 เดือนสิ้นสุดวันที่ 31 ม.ค. 2548 โดยเมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2548 ฮันเตอร์ แฟนได้ฟ้องร้องบริษัทไม่ปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายผลิตภัณฑ์พัดลมติดเพดาน โดยเรียกค่าเสียหายประมาณ 2.3 ล้านดอลลาร์ หรือราว 92 ล้านบาท
การที่ CEI ไม่ปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวเป็นเหตุให้ 'ฮันเตอร์ แฟน' สามารถยกเลิกสัญญาได้ทันที และแสดงความตั้งใจที่จะไม่ดำเนินธุรกิจกับ CEI อีก
การฟ้องร้องดังกล่าวเกิดจากการที่ CEI ได้ปรับขึ้นราคาสินค้า 5% ตั้งแต่ 1 มี.ค. 2547 โดยให้เหตุผลว่าราคาวัตถุดิบ เช่น เหล็กแผ่นรีดร้อนและรีดเย็น รวมทั้งไม้ ปรับตัวสูงขึ้นค่อนข้างมาก แต่ 'ฮันเตอร์ แฟน' เห็นว่า CEI ยังสามารถทำกำไรได้ค่อนข้างมาก จึงฟ้องร้อง และอ้างว่า CEI ผิดสัญญาซื้อขายผลิตภัณฑ์ เพราะในขณะนี้มีสินค้าจากประเทศจีนซึ่งมีคุณภาพใกล้เคียงกัน แต่มีราคาถูกกว่าเป็นทางเลือกใหม่...ปัจจุบันทางบริษัทแจ้งว่ากำลังอยู่ในระหว่างการเจรจากับลูกค้ารายนี้แต่ยังไม่มีความคืบหน้า
'กรุงเทพธุรกิจ BizWeek' ประเมินว่าความเสี่ยงของ CEI มาจาก 2 ประเด็นหลัก คือ 'หนึ่ง'..บริษัทมีแนวโน้มสูญเสียตลาดสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดหลัก และ 'สอง'..บริษัทกำลังเผชิญกับการแข่งขันของสินค้าราคาถูกจากประเทศจีน
สถานการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความไม่แน่นอนที่เป็นสาระสำคัญมาก และอาจกระทบต่อความสามารถในการดำเนินงานของบริษัทในอนาคต
ประเด็นที่ถูกซ่อนอยู่ข้างในยังรวมถึงบริษัทอาจไม่สามารถ 'เรียกคืนสินทรัพย์' และ 'ชำระหนี้สิน' ได้ตามปกติ
จากรายงานชี้แจงสถานการณ์บริษัทต่อตลาดหลักทรัพย์ ผู้บริหาร CEI ยอมรับว่าอาจจะต้องสูญเสียความสัมพันธ์กับลูกค้ารายนี้
'จำนวนเงินดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อฐานการเงินของบริษัท แต่มีความเป็นไปได้ที่บริษัทจะสูญเสียการทำธุรกิจกับลูกค้ารายนี้ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการเจรจากับลูกค้ารายดังกล่าว คาดว่าจะสิ้นสุดประมาณเดือนกรกฎาคม 2548'
จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นบริษัทได้จัดทำแผนงานทางธุรกิจในด้านการขยายตลาดในประเทศสหรัฐอเมริกา การขยายตลาดในประเทศ การขยายฐานธุรกิจในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศอื่นๆ นอกเหนือจากสหรัฐอเมริกา รวมทั้งการรับจ้างผลิตชิ้นส่วนจากบริษัทต่างๆ ในประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม หากมองย้อนกลับไปนั้น จะเห็นได้ว่า 'ความรุ่งเรือง' ของ CEI ได้กลายเป็น 'อดีต' มานานแล้ว
นับตั้งแต่ กลุ่ม 'บริษัท ฮันเตอร์ แฟน' ลูกค้ารายใหญ่ของบริษัทที่เข้าร่วมทุนเมื่อปี 2540 ได้ถอนหุ้นออกไป เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2545 โดย 'ตระกูลไต้' นักธุรกิจชาวไต้หวันได้กลับเข้ามารับช่วงต่อ ถือหุ้นในนาม 'Summax Investment Limited'
แม้ขณะนั้น CEI จะมีสัญญากับ 'กลุ่มฮันเตอร์' จะต้องซื้อสินค้าจากบริษัทในระยะเวลา 3 ปี นับจากปี 2545 แต่ถึงกำไรของ CEI ก็ลดลงมาโดยตลอด
ล่าสุดผลการดำเนินงานรอบ 6 เดือนแรก 2548 ก็ยังคงลดลงต่อเนื่อง (ส.ค. 2547-ม.ค. 2548) ขาดทุน 75.18 ล้านบาท ลดลง 154.15%
นักวิเคราะห์ บล.ซีมิโก้ คาดว่า ผลประกอบการไตรมาส 3 ปี 2548 (ก.พ.-เม.ย.2548) ที่จะประกาศในเดือนมิถุนายนนี้ จะลดต่ำลงอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากบริษัทได้สูญเสียคำสั่งซื้อจากบริษัทฮันเตอร์แฟนไปจากกรณีการฟ้องร้อง แม้ว่า CEI จะมีลูกค้าใหม่คือ Honey Well แต่ยอดสั่งซื้อของ Honey Well ก็ยังน้อยมาก ขณะที่ธุรกิจอื่น อาทิ ปั๊มน้ำ บริษัทก็ยังไม่มีฐานลูกค้า
'ไตรมาส 3 นี้จะเห็นถึงความแตกต่างอย่างชัดเจน รายได้จาก 100% ของ CEI คราวนี้จะหายไปถึง 90% เหลือเพียง 10% เท่านั้น โดยขณะนี้ ฮันเตอร์แฟน ก็ลดคำสั่งซื้อลงไปมากทั้งๆ ที่ช่วงนี้เป็นช่วงไฮซีซัน'
แหล่งข่าวรายหนึ่งได้ให้มุมมองไว้อย่างน่าสนใจว่า มีความเป็นไปได้ว่า ตระกูลไต้ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อาจจะหันไปทำธุรกิจที่ประเทศจีนแทน เนื่องจากมีต้นทุนที่ต่ำกว่า
'ในอดีตที่ CEI มีการเติบโตสูงก็เพราะได้กลุ่ม ฮันเตอร์ แฟนเข้ามาถือหุ้น เมื่อมีการถอนหุ้นออกไป ก็ทำให้รายได้ของบริษัทลดลงไปเรื่อยๆ ถึงไม่เกิดเหตุการณ์ฟ้องร้องกันสัญญาการซื้อขายก็จะหมดในปีนี้อยู่แล้ว และมีความเป็นไปได้ที่ ฮันเตอร์ แฟน จะไม่ต่อสัญญา เพราะสามารถหาแหล่งผลิตที่ถูกกว่าได้'
แหล่งข่าวรายเดิม บอกว่า ความชัดเจนในการทำธุรกิจในจีนนั้นได้ถูกแสดงให้เห็นผ่านการซื้อ บริษัทแอร์ บรีซ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตพัดลมติดเพดานที่จดทะเบียนจัดตั้งอยู่ในประเทศจีน มูลค่ารวม 3 ล้านดอลลาร์ ผ่านบริษัท แวนการ์ด คอเปอร์เรชั่น ตั้งอยู่ที่เกาะเคย์แมน CEI ถือหุ้นทั้งหมด 100%
'เชื่อว่าตระกูลนี้อยากที่จะไปลงทุนในจีน และได้มีการสร้างโรงงานในจีนแล้ว ขณะที่โรงงานในไทยนั้นอาจจะมีการเปลี่ยนไปผลิตอย่างอื่น'
ขณะเดียวกันมองว่าการลาออกของ 'กรรมการบริษัท' หลายรายในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งมี 'ตระกูลไต้' เข้ามานั่งตำแหน่งแทน ก็อาจเป็นเพราะเพื่อเตรียมตัวเข้าไปสู่ประเทศจีน แต่ทั้งหมดนี้จะต้องรอดูความชัดเจนของผู้บริหาร ซึ่งยังไม่ได้ออกมาเปิดเผยแต่อย่างใด
ขณะที่นักวิเคราะห์จาก บล.ซีมิโก้ ประเมินว่า เนื่องจากผู้บริหารยังไม่ได้ให้ความชัดเจนต่อการทำธุรกิจในประเทศไทย และรายได้ที่จะเข้ามาก็ยังไม่สามารถประเมินได้ แม้ว่าราคาในปัจจุบันประมาณ 3.60 บาท จะซื้อขายต่ำกว่ามูลค่าหุ้นทางบัญชี (Book Value) ที่หุ้นละ 6.55 บาท แต่ราคาหุ้นยังสามารถลงต่ำกว่านี้ได้ เนื่องจากบริษัทไม่สามารถรับประกันได้ว่าจะทำยอดขายมาทดแทนรายได้ส่วนที่หายไปอย่างไร
'การซื้อขายที่มูลค่าทางบัญชี 0.1 - 0.2 เท่า เป็นไปได้ แม้ราคานี้จะถือว่าต่ำกว่ามูลค่ากิจการมาก แต่ที่น่าสงสัยทำไมไม่มีใครเข้ามากว้านซื้อหุ้น เพราะถึงที่สุดแล้วบริษัทก็มีโอกาสหยุดดำเนินงานได้เหมือนกัน'
ผลการดำเนินงานของ CEI
ปี 2547 เปลี่ยนแปลง ปี 2546 เปลี่ยนแปลง ปี 2545
กำไร (ล้านบาท) 244.6 33.51% 361.9 51.65% 748.56
หลังจากแจ้งข่าวตลาด ครั้งสุดท้าย ก็ไม่มีข่าวอีกเลย
ล่าสุดก็มีสกู๊ปจาก bizweek ในขณะที่ตัวบริษัทไม่เคยแจ้งความคืบหน้าในการแก้ปัญหา
(แต่หากทราบข่าววงใน คงต้องกระซิบถาม ท่าน FE นะครับ :lol: )
กะเทาะเปลือก CEI อาการ 'น่าห่วง' ลือ 'ไต้หวัน' ทิ้ง..ยอดขาย 'วูบหนัก'
อนาคต CEI น่าห่วงหลังขัดแย้งกับ 'คู่ค้า' รายใหญ่ในสหรัฐที่ป้อนออเดอร์ให้ 93% ของยอดขายรวม กำไรปีนี้ส่อเค้า 'ทรุดหนัก' เจออีกเด้งถูกพัดลมราคาถูกจีนตีตลาด ...กรรมการบริษัทตบเท้าลาออก ขณะที่ทิศทางการดำเนินงานไม่ชัดเจน วงในลือผู้ถือหุ้นใหญ่ 'กลุ่มไต้' มีแนวโน้มหนีไทยหันซบจีน ประเมินราคาหุ้น 3.60 บาท ยังเสี่ยง!!
เกิดอะไรขึ้นกับ 'บริษัท คอมพาสส์ อีสต์ อินดัสตรี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)' หรือ CEI ผู้ผลิตพัดลมเพดาน และโคมไฟติดพัดลม ที่เคยเป็น 'ขวัญใจ' ของเหล่านักลงทุน ประเภท 'แวลูอินเวสเตอร์' วันนี้ราคาหุ้นทรุดหนักจากเมื่อต้นปีซื้อขาย 8.50-9 บาท ราคาร่วงลงมาเหลือ 3.50-3.60 บาท
ปมปัญหาที่เกิดขึ้นกับ CEI เกิดจากความขัดแย้งอย่างรุนแรง กับ 'บริษัท ฮันเตอร์ แฟน' ลูกค้ารายใหญ่จากสหรัฐอเมริกา ซึ่งมียอดสั่งซื้อสินค้าในอัตรา 93% ของยอดขายรวมสำหรับงวด 6 เดือนสิ้นสุดวันที่ 31 ม.ค. 2548 โดยเมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2548 ฮันเตอร์ แฟนได้ฟ้องร้องบริษัทไม่ปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายผลิตภัณฑ์พัดลมติดเพดาน โดยเรียกค่าเสียหายประมาณ 2.3 ล้านดอลลาร์ หรือราว 92 ล้านบาท
การที่ CEI ไม่ปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวเป็นเหตุให้ 'ฮันเตอร์ แฟน' สามารถยกเลิกสัญญาได้ทันที และแสดงความตั้งใจที่จะไม่ดำเนินธุรกิจกับ CEI อีก
การฟ้องร้องดังกล่าวเกิดจากการที่ CEI ได้ปรับขึ้นราคาสินค้า 5% ตั้งแต่ 1 มี.ค. 2547 โดยให้เหตุผลว่าราคาวัตถุดิบ เช่น เหล็กแผ่นรีดร้อนและรีดเย็น รวมทั้งไม้ ปรับตัวสูงขึ้นค่อนข้างมาก แต่ 'ฮันเตอร์ แฟน' เห็นว่า CEI ยังสามารถทำกำไรได้ค่อนข้างมาก จึงฟ้องร้อง และอ้างว่า CEI ผิดสัญญาซื้อขายผลิตภัณฑ์ เพราะในขณะนี้มีสินค้าจากประเทศจีนซึ่งมีคุณภาพใกล้เคียงกัน แต่มีราคาถูกกว่าเป็นทางเลือกใหม่...ปัจจุบันทางบริษัทแจ้งว่ากำลังอยู่ในระหว่างการเจรจากับลูกค้ารายนี้แต่ยังไม่มีความคืบหน้า
'กรุงเทพธุรกิจ BizWeek' ประเมินว่าความเสี่ยงของ CEI มาจาก 2 ประเด็นหลัก คือ 'หนึ่ง'..บริษัทมีแนวโน้มสูญเสียตลาดสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดหลัก และ 'สอง'..บริษัทกำลังเผชิญกับการแข่งขันของสินค้าราคาถูกจากประเทศจีน
สถานการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความไม่แน่นอนที่เป็นสาระสำคัญมาก และอาจกระทบต่อความสามารถในการดำเนินงานของบริษัทในอนาคต
ประเด็นที่ถูกซ่อนอยู่ข้างในยังรวมถึงบริษัทอาจไม่สามารถ 'เรียกคืนสินทรัพย์' และ 'ชำระหนี้สิน' ได้ตามปกติ
จากรายงานชี้แจงสถานการณ์บริษัทต่อตลาดหลักทรัพย์ ผู้บริหาร CEI ยอมรับว่าอาจจะต้องสูญเสียความสัมพันธ์กับลูกค้ารายนี้
'จำนวนเงินดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อฐานการเงินของบริษัท แต่มีความเป็นไปได้ที่บริษัทจะสูญเสียการทำธุรกิจกับลูกค้ารายนี้ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการเจรจากับลูกค้ารายดังกล่าว คาดว่าจะสิ้นสุดประมาณเดือนกรกฎาคม 2548'
จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นบริษัทได้จัดทำแผนงานทางธุรกิจในด้านการขยายตลาดในประเทศสหรัฐอเมริกา การขยายตลาดในประเทศ การขยายฐานธุรกิจในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศอื่นๆ นอกเหนือจากสหรัฐอเมริกา รวมทั้งการรับจ้างผลิตชิ้นส่วนจากบริษัทต่างๆ ในประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม หากมองย้อนกลับไปนั้น จะเห็นได้ว่า 'ความรุ่งเรือง' ของ CEI ได้กลายเป็น 'อดีต' มานานแล้ว
นับตั้งแต่ กลุ่ม 'บริษัท ฮันเตอร์ แฟน' ลูกค้ารายใหญ่ของบริษัทที่เข้าร่วมทุนเมื่อปี 2540 ได้ถอนหุ้นออกไป เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2545 โดย 'ตระกูลไต้' นักธุรกิจชาวไต้หวันได้กลับเข้ามารับช่วงต่อ ถือหุ้นในนาม 'Summax Investment Limited'
แม้ขณะนั้น CEI จะมีสัญญากับ 'กลุ่มฮันเตอร์' จะต้องซื้อสินค้าจากบริษัทในระยะเวลา 3 ปี นับจากปี 2545 แต่ถึงกำไรของ CEI ก็ลดลงมาโดยตลอด
ล่าสุดผลการดำเนินงานรอบ 6 เดือนแรก 2548 ก็ยังคงลดลงต่อเนื่อง (ส.ค. 2547-ม.ค. 2548) ขาดทุน 75.18 ล้านบาท ลดลง 154.15%
นักวิเคราะห์ บล.ซีมิโก้ คาดว่า ผลประกอบการไตรมาส 3 ปี 2548 (ก.พ.-เม.ย.2548) ที่จะประกาศในเดือนมิถุนายนนี้ จะลดต่ำลงอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากบริษัทได้สูญเสียคำสั่งซื้อจากบริษัทฮันเตอร์แฟนไปจากกรณีการฟ้องร้อง แม้ว่า CEI จะมีลูกค้าใหม่คือ Honey Well แต่ยอดสั่งซื้อของ Honey Well ก็ยังน้อยมาก ขณะที่ธุรกิจอื่น อาทิ ปั๊มน้ำ บริษัทก็ยังไม่มีฐานลูกค้า
'ไตรมาส 3 นี้จะเห็นถึงความแตกต่างอย่างชัดเจน รายได้จาก 100% ของ CEI คราวนี้จะหายไปถึง 90% เหลือเพียง 10% เท่านั้น โดยขณะนี้ ฮันเตอร์แฟน ก็ลดคำสั่งซื้อลงไปมากทั้งๆ ที่ช่วงนี้เป็นช่วงไฮซีซัน'
แหล่งข่าวรายหนึ่งได้ให้มุมมองไว้อย่างน่าสนใจว่า มีความเป็นไปได้ว่า ตระกูลไต้ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อาจจะหันไปทำธุรกิจที่ประเทศจีนแทน เนื่องจากมีต้นทุนที่ต่ำกว่า
'ในอดีตที่ CEI มีการเติบโตสูงก็เพราะได้กลุ่ม ฮันเตอร์ แฟนเข้ามาถือหุ้น เมื่อมีการถอนหุ้นออกไป ก็ทำให้รายได้ของบริษัทลดลงไปเรื่อยๆ ถึงไม่เกิดเหตุการณ์ฟ้องร้องกันสัญญาการซื้อขายก็จะหมดในปีนี้อยู่แล้ว และมีความเป็นไปได้ที่ ฮันเตอร์ แฟน จะไม่ต่อสัญญา เพราะสามารถหาแหล่งผลิตที่ถูกกว่าได้'
แหล่งข่าวรายเดิม บอกว่า ความชัดเจนในการทำธุรกิจในจีนนั้นได้ถูกแสดงให้เห็นผ่านการซื้อ บริษัทแอร์ บรีซ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตพัดลมติดเพดานที่จดทะเบียนจัดตั้งอยู่ในประเทศจีน มูลค่ารวม 3 ล้านดอลลาร์ ผ่านบริษัท แวนการ์ด คอเปอร์เรชั่น ตั้งอยู่ที่เกาะเคย์แมน CEI ถือหุ้นทั้งหมด 100%
'เชื่อว่าตระกูลนี้อยากที่จะไปลงทุนในจีน และได้มีการสร้างโรงงานในจีนแล้ว ขณะที่โรงงานในไทยนั้นอาจจะมีการเปลี่ยนไปผลิตอย่างอื่น'
ขณะเดียวกันมองว่าการลาออกของ 'กรรมการบริษัท' หลายรายในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งมี 'ตระกูลไต้' เข้ามานั่งตำแหน่งแทน ก็อาจเป็นเพราะเพื่อเตรียมตัวเข้าไปสู่ประเทศจีน แต่ทั้งหมดนี้จะต้องรอดูความชัดเจนของผู้บริหาร ซึ่งยังไม่ได้ออกมาเปิดเผยแต่อย่างใด
ขณะที่นักวิเคราะห์จาก บล.ซีมิโก้ ประเมินว่า เนื่องจากผู้บริหารยังไม่ได้ให้ความชัดเจนต่อการทำธุรกิจในประเทศไทย และรายได้ที่จะเข้ามาก็ยังไม่สามารถประเมินได้ แม้ว่าราคาในปัจจุบันประมาณ 3.60 บาท จะซื้อขายต่ำกว่ามูลค่าหุ้นทางบัญชี (Book Value) ที่หุ้นละ 6.55 บาท แต่ราคาหุ้นยังสามารถลงต่ำกว่านี้ได้ เนื่องจากบริษัทไม่สามารถรับประกันได้ว่าจะทำยอดขายมาทดแทนรายได้ส่วนที่หายไปอย่างไร
'การซื้อขายที่มูลค่าทางบัญชี 0.1 - 0.2 เท่า เป็นไปได้ แม้ราคานี้จะถือว่าต่ำกว่ามูลค่ากิจการมาก แต่ที่น่าสงสัยทำไมไม่มีใครเข้ามากว้านซื้อหุ้น เพราะถึงที่สุดแล้วบริษัทก็มีโอกาสหยุดดำเนินงานได้เหมือนกัน'
ผลการดำเนินงานของ CEI
ปี 2547 เปลี่ยนแปลง ปี 2546 เปลี่ยนแปลง ปี 2545
กำไร (ล้านบาท) 244.6 33.51% 361.9 51.65% 748.56