ข่าวนี้มีผลต่อ ticon ยังไงบ้างคะ
โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ค. 17, 2005 9:33 am
จูงใจต่างชาติลงทุนในนิคมอุตฯ -กนอ.เล็งแก้เกณฑ์-สิทธิประโยชน์เอื้อ
"วัฒนา"จี้สรรพากรเร่งคืนภาษีวีเอทีเอกชน สมาคมนิคมอุตฯ โวยรัฐรื้อเขตส่งเสริมลงทุนบ่อย กระทบเอกชนหนักขายพื้นที่ไม่ได้ ระบุมีพื้นที่เหลือกว่า 3 หมื่นไร่
วัฒนา สั่งกนอ. เจรจาสรรพากรเร่ง "คืนภาษีแวต" ให้นักลงทุนในนิคมฯเร็วขึ้น พร้อมอำนวยความสะดวกโครงสร้างพื้นฐาน จูงใจผู้ประกอบการต่างลงทุนตั้งโรงงานในพื้นที่นิคม ขณะที่ กนอ. เตรียมแก้หลักเกณฑ์และสิทธประโยชน์ใหม่ วันที่ 18 พ.ค.นี้หวัง กระตุ้นการลงทุน
นายวัฒนา เมืองสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้สั่งให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เจรจากับกรมสรรพากรให้เร่งคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแก่ผู้ประกอบการที่ลงทุนในนิคมเร็วขึ้นกว่าเดิม ที่ใช้เวลานานถึง 60 วัน โดย กนอ. จะค้ำประกันให้ผู้ประกอบการ และแก้ไขหลักเกณฑ์ เพื่อจูงใจนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนในนิคมฯมากขึ้น หลังจากสมาคมนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้ร้องเรียนปัญหาและอุปสรรคของนักลงทุนที่จะลงทุนในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม
ทั้งนี้การกระตุ้นผู้ประกอบการต่างชาติ ให้เข้ามาลงทุนในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมากขึ้นนั้น จำเป็นต้องสร้างแรงจูงใจโดยเฉพาะเรื่องภาษีและการอำนวยความสะดวกด้านโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งที่ผ่านมาผู้ประกอบการยังประสบปัญหาเหล่านี้อยู่ จึงสั่งให้สมาคมนิคมฯไปรวบรวมประเด็นปัญหาอุปสรรคต่อการขยายการลงทุนกลับมาเสนออีกครั้ง เพื่อกระทรวงจะเร่งดำเนินการ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้ง กนอ. และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในการกำหนดมาตรการอำนวยความสะดวกและแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนต่อไป
ด้านนายอุทัย จันทิมา ผู้ว่าการ กนอ. กล่าวว่า กนอ. เตรียมจัดประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ บีโอไอ และสมาคมนิคมฯในวันที่ 18 พ.ค.นี้ เพื่อแก้ไขหลักเกณฑ์และกฎเกณฑ์ต่างๆ ในการเข้ามาลงทุนในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม เช่น การจัดสรรที่ดิน การวางหนังสือค้ำประกันที่ดิน เป็นต้น เนื่องจาก กนอ.ได้จัดให้กลุ่มนักลงทุนในนิคมฯ เป็นลูกค้าชั้นดี และต้องให้สิทธิประโยชน์มากกว่าขอบเขตปกติ
ส่วนปัญหาการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่มีความล่าช้านั้น ขณะนี้ ได้ประสานกับกรมสรรพากรเรียบร้อยแล้ว รอการตอบรับจากอธิบดีกรมสรรพากร เพื่อพิจารณาลดระยะเวลาคืนภาษีให้เหลือเพียง 30 วัน จากเดิม 60 วัน ซึ่งเชื่อว่าจะเกิดประโยชน์ต่อนักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุนในนิคมอุตฯได้มากขึ้น โดยเฉพาะญี่ปุ่น และ จีน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทต่างชาติรายใหญ่ เนื่องจากเห็นว่าหากมาลงทุนในเขตพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมจะคุ้มค่าการลงทุนมากกว่า
"วัฒนา"จี้สรรพากรเร่งคืนภาษีวีเอทีเอกชน สมาคมนิคมอุตฯ โวยรัฐรื้อเขตส่งเสริมลงทุนบ่อย กระทบเอกชนหนักขายพื้นที่ไม่ได้ ระบุมีพื้นที่เหลือกว่า 3 หมื่นไร่
วัฒนา สั่งกนอ. เจรจาสรรพากรเร่ง "คืนภาษีแวต" ให้นักลงทุนในนิคมฯเร็วขึ้น พร้อมอำนวยความสะดวกโครงสร้างพื้นฐาน จูงใจผู้ประกอบการต่างลงทุนตั้งโรงงานในพื้นที่นิคม ขณะที่ กนอ. เตรียมแก้หลักเกณฑ์และสิทธประโยชน์ใหม่ วันที่ 18 พ.ค.นี้หวัง กระตุ้นการลงทุน
นายวัฒนา เมืองสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้สั่งให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เจรจากับกรมสรรพากรให้เร่งคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแก่ผู้ประกอบการที่ลงทุนในนิคมเร็วขึ้นกว่าเดิม ที่ใช้เวลานานถึง 60 วัน โดย กนอ. จะค้ำประกันให้ผู้ประกอบการ และแก้ไขหลักเกณฑ์ เพื่อจูงใจนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนในนิคมฯมากขึ้น หลังจากสมาคมนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้ร้องเรียนปัญหาและอุปสรรคของนักลงทุนที่จะลงทุนในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม
ทั้งนี้การกระตุ้นผู้ประกอบการต่างชาติ ให้เข้ามาลงทุนในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมากขึ้นนั้น จำเป็นต้องสร้างแรงจูงใจโดยเฉพาะเรื่องภาษีและการอำนวยความสะดวกด้านโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งที่ผ่านมาผู้ประกอบการยังประสบปัญหาเหล่านี้อยู่ จึงสั่งให้สมาคมนิคมฯไปรวบรวมประเด็นปัญหาอุปสรรคต่อการขยายการลงทุนกลับมาเสนออีกครั้ง เพื่อกระทรวงจะเร่งดำเนินการ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้ง กนอ. และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในการกำหนดมาตรการอำนวยความสะดวกและแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนต่อไป
ด้านนายอุทัย จันทิมา ผู้ว่าการ กนอ. กล่าวว่า กนอ. เตรียมจัดประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ บีโอไอ และสมาคมนิคมฯในวันที่ 18 พ.ค.นี้ เพื่อแก้ไขหลักเกณฑ์และกฎเกณฑ์ต่างๆ ในการเข้ามาลงทุนในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม เช่น การจัดสรรที่ดิน การวางหนังสือค้ำประกันที่ดิน เป็นต้น เนื่องจาก กนอ.ได้จัดให้กลุ่มนักลงทุนในนิคมฯ เป็นลูกค้าชั้นดี และต้องให้สิทธิประโยชน์มากกว่าขอบเขตปกติ
ส่วนปัญหาการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่มีความล่าช้านั้น ขณะนี้ ได้ประสานกับกรมสรรพากรเรียบร้อยแล้ว รอการตอบรับจากอธิบดีกรมสรรพากร เพื่อพิจารณาลดระยะเวลาคืนภาษีให้เหลือเพียง 30 วัน จากเดิม 60 วัน ซึ่งเชื่อว่าจะเกิดประโยชน์ต่อนักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุนในนิคมอุตฯได้มากขึ้น โดยเฉพาะญี่ปุ่น และ จีน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทต่างชาติรายใหญ่ เนื่องจากเห็นว่าหากมาลงทุนในเขตพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมจะคุ้มค่าการลงทุนมากกว่า